แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ ”

บ้านปากคลองวัดแดง หมู่ที่ 6 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นางศรีวิไล ทองใสพร

ชื่อโครงการ ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ

ที่อยู่ บ้านปากคลองวัดแดง หมู่ที่ 6 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 56-01497 เลขที่ข้อตกลง 56-00-0934

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2556 ถึง 30 กันยายน 2557


กิตติกรรมประกาศ

"ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านปากคลองวัดแดง หมู่ที่ 6 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ



บทคัดย่อ

โครงการ " ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านปากคลองวัดแดง หมู่ที่ 6 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 56-01497 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2556 - 30 กันยายน 2557 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 213,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 140 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดอุบัติเหตุของชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง
  2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายจราจร
  3. เพื่อปรับปรุงและแก้ปัญหาจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในชุมชน
  4. เพื่อสนับสนุนการบริหารและการดำเนินงานโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

    วันที่ 8 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมประชุม กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงาน ติดตามความก้าวหน้า ตลอดจนรับฟังข้อเสนอแนะจากทีมงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทเรียนในการพัฒนา 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วาระที่ 1วันนี้เป็นการประชุมโดยพี่เลี้ยงได้แนะนำโครงการให้คณะกรรมการได้รับทราบ มีการกำหนดวันเวลาการประชุมแต่ละครั้งโดยการจัดตารางวันประชุม มีรายละเอียดและกำหนดการประชุมที่ชัดเจน และร่วมกันหาแนวทางในการทำงาน แบ่งหน้าที่ในการทำงาน วาระที่ 2 ประธานโครงการพูดคุยให้ฟังเกี่ยวกับความปลอดภัยของคนในชุมชนโดยขอความร่วมมือลดอุบัติเหตุให้ได้เพื่อลดการสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน วาระที่ 3 คณะทำงานลงความเห็นกันว่าเป็นโครงการที่ดี และพร้อมที่จะทำงาน ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ประชาชนในชุมชนจะได้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ และลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน วาระที่ 4 พี่เลี้ยงสรุปโครงการให้ฟังว่า โครงการนี้พวกเราทุกคนจะต้องให้คนในชุมชนมาร่วมมือ ร่วมใจกันให้สำเร็จเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชนบ้านปากคลองวัดแดงให้ได้ และทุกครั้งที่มีการประชุมทุกคนต้องออกกำลังกาย ลดบุรี่เพื่อสุขภาพของทุกคน

     

    30 30

    2. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมประชุม กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงาน ติดตามความก้าวหน้า ตลอดจนรับฟังข้อเสนอแนะจากทีมงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทเรียนในการพัฒนา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ประธานโครงการพูดเรื่องการดำเนินงานในการจัดประสานงานคณะทำงานเป็นไปด้วยดี ทุกท่านทำงานด้วยความตั้งใจและให้ความร่วมมือ ตลอดจนประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    2.พี่เลี้้ยงได้แนะนำให้มีการการวางแผน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามทิศทางของโครงการ  การที่ทำงานจะสำเร็จได้ต้องมีความสามัคคีและช่วยกันทำงาน เมื่อเจอปัญหาอย่าท้อถอย
    3.คณะทำงานบอกว่าบางก็เกิดอาการท้อ แต่ก็ไม่ถอย จะทำให้ดีที่สุดเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชนให้ได้จริง พวกเราคณะทำงานต้องปฏิบัติตัวให้คนในชุมชนเห็นก่อน เช่นใส่หมวกกันน้อค แล้วขี่มอเตอร์ไซด์และไม่ขับรถย้อนศร จะช่วยกันพูดกับคนในชุมชนให้ระวังเรื่องอุบัติเหตุในฃุมชน สรุปการประชุมว่ในคณะทำงานต้องทำตัวเอง ให้เป็นตัวอย่างก่อน แล้วคนในชุมชนเห็น จึงจะสำเร็จ

     

    30 30

    3. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

    วันที่ 8 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมประชุม กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงาน ติดตามความก้าวหน้า ตลอดจนรับฟังข้อเสนอแนะจากทีมงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทเรียนในการพัฒนา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ประธานได้พูดถึงกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการในวันสิ้นปี ต้อนรับปีใหม่ พวกเราจะทำกันอย่างไรในการลดอุบัติเหตุในชุมชน
    2.ทีมงานได้เสนอแนะให้ทำป้ายเตือน เพื่อจะได้ลดอุบัติเหตุในชุมชนได้ เพราะหมุ่ที่ 6 ของเราเป็นทางผ่าน ของคนหลายชุมชน เป็นถนนสายหลัก ถ้าเราทำป้ายเตือนอาจจะลดอุบัติเหตุได้ ถึงจะไม่ร้อยเปอร์เซนต์ก็ตาม เพราะปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุหลายของ ขอปีนี้อย่าให้เกิดอุับัติเหตุเลย สมาชิกทุกคนเห็นด้วยและพร้อมที่จะช่วยกัน 3.ประธานเสริมว่า ให้มีการออกกำลังกายเพื่อสร้างสุขภาพด้วย ปิดประชุม หวังว่าปีนี้คงไม่มีอุบัติเหตุในบ้านปากคลองวัดแดง 3.วันนี้พี่เลี้ยงได้ติดตามโครงการ พร้อมทั้งให้คำแนะนำเรื่องการจัดทำรายงาน และการจัดทำหลักฐานให้ถูกต้อง

     

    30 30

    4. ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ ครั้งที่ 1

    วันที่ 17 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมคณะกรรมการทำงานที่ปรึกษาเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมลดอุบัติเหตุในชุมชนพร้อมทั้งแต่งตั้งคณะโดยประสานผ่าน อบต. เพื่อทำงานร่วมกัน 2.คณะกรรมการบริหารโครงการ ร่วมประชุมเพื่อติดตามโครงการเพื่อความก้าวหน้าของกิจกรรม 3.กำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกัน เช่น สถานที่ราชการและโรงเรียนมีป้ายห้ามสูบบุหรี่และรณรงค์ลดสุรา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

                  นายยงยุทธ  สุขพิทักษ์ แนะนำโครงการให้แก่คระกรรมการ ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ ขั้นตอนการทำงานทุกอย่างการที่จะทำโครงการต้องมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทน อบต. หมู่บ้านคือทุกคนที่มีส่วนร่วมต้องมีชื่ออยู่ในหมู่ที่ 6 ยุทธศาสตร์ของ สส  เน้นพื้นที่ภาคใต้ปีนี้ ปี 56 เราได้งบ 200000 บาท มีอยู่ 2 โครงการที่เราได้งบ200000 เต็มเพราะเรารณรงค์โยตรง งดสูบบุหรี่และการออกกำลังกายก่อนประชุมโครงการแต่ละครั้ง เน้นที่การลดอุบัติเหตุในหมู่ที่ 6 เพราะ หมู่ที่ 6 เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ คนจะต้องมีความรู้ในการใช้กฎจราจร ส่งเสริมให้คนมีคุณภาพเข้าใจอย่างจริงจังของกฎจราจรทุกๆส่วนทุกๆฝ่าย ต้องช่วยกันดูแล               ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในโครงการปีที่หนึ่ง ต้องให้ได้ 100 ครั้ง ปีที่ 2 ต้องให้ได้ 80 ครั้ง ปีที่ 3 ต้องเต็มร้อย ต้องมีกติการ่วมกันในหมู่ที่ 6 ต้องมีข้อตกลงกัน ให้มีความรู้ในการใช้กฎหมายจราจรจะต้องไม่มีการขับย้อนสร คนปากคลองวัดแดงจะต้องใช้หมวกกันน็อค 100% ใช้ป้ายเตือนได้ 100%ห้ามติดป้ายมั่วเพราปิดทัศนียภาพ ลดอุบัติเหตุวันละ 1 ราย ได้เหลือ 1 เดือน สัก 4-5 ราย มีกรรมการ 30 คน เน้นติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในที่ราชการที่สาธารณแบ่งคณะบริหารออกเป็น 2  ชุดประชุมร่วมกันอย่างน้อย 5 ครั้ง ก่อนจะปิดโครงการสิ้นเดือนธันวาคม เชิญคนในชุมชน 130 ครัวเรือน ร่วมกิจกรรมของโครงการอย่างต่อเนื่อง เช่น เด็กอายุไม่ถึง 15 ปีห้ามขับรถ ไฟรถต้องมีครบเพื่อความปลอดภัยมีชุดตรวจการของชุมชน เดือนมีนาคมเริ่มทำมาตรการบังคับใช้ โดยพาเด็กและผู้ปกครองไปดูห้องฉุกเฉินที่ รพ. เชียรใหญ่ นำบทสรุปจากผู้ปกครองและผู้เข้าร่วมให้ใส่หมวกกันน็อคพร้อมกันในชุมชน 100% จากนั้นประกาศใช้กติกาในชุมชนจะต้องเกิดขึ้น เดือน มี.ค./เม.ย. /พ.ค. จะต้องเสร็จมีการปรับ จับ เกิดขึ้น จากนั้นในปีที่ 2 เราจะทำการดำเนินโครงการต่อไปหรือไม่โดยการพิจารณาจากโครงการว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ดีกว่านี้หรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับเจ้าของโครงการโดยมีหมอมนูญ พลายชุม เป็นคนต่อยอดในวันที่ 25 มีประชาชน 130 คนต้องมาประชุมกันของโครงการ

    มีการสำรวจสุขภาพภายใน 1 ปี คณะกรรมการทุกคนจะต้องมีสุขภาพที่ดีขึ้นส่วนราชการจะต้องมีส่วนร่วมในการรณรงค์ เช่นติดป้ายประกาศต่างๆในการช่วยลดอุบัติเหตุในชุมชน   นายกบริหารส่วนตำบลมีคำแนะนำและพูดคุยแลกเปลี่ยนและเสนอข้อดีข้อเสีย พุดประสบการณ์ในการใช้รถบนถนน ว่ามีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้จากทุกวินาทีที่เกิดขึ้นได้ ทุกคนต้องระมัดระวัง โดยส่วนมากทุกคนจะอาศัยความสะดวกของตนเองมากเป็นบ่อเกิดที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ห้ามทุกคนประมาทโดยเด็ดขาด และเชิญชวนให้ทุกคน เข้าโครงการเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่เราได้ร่วมกันทำโครงการ เตือนทุกคนห้ามขับรถย้อนสร ห้ามข้ามสะพานคอนกรีตที่ทำไว้สำหรับคนข้ามถนน นายกกล่าวขอบคุนคระที่มาประชุมทั้งส่วนรัฐและประชาชน   ผอ. รร. วัดแดง โดยนายอมร สดศรี เข้าร่วมโครงการโดยมีความคิดเห็นที่ยินดีในโครงการ ว่าเป็นโครงการที่ดีมาก ซึ่งเห็นแล้วว่าอุบัติเหตุมีมากในสังคมบ้านเราและใน ม.6 มีจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ พื้นฐานในการใช้กฎจราจร คนในชุมชนต้องมีความรู้ เช่น ใบขับขี่ กฎจราจร และการใช้ป้ายจราจรทุกคนต้องพยายามใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเช่น หน้าโรงเรียนวัดแดงไม่มีป้ายเตือนเกี่ยวกับการจราจร หน้าโรงเรียนต้องมีทางม้าลาย หรือไฟกระพริบเป็นการเตือนให้ระวัง ว่าเป็นเขตโรงเรียนเพราะสำคัญมากโดยพูดขอเสนอให้นายก อบต. รับฟังและรับไปทำเพื่อเด็กนักเรียนจะได้มีความปลอดภัย ตำรวจจราจรต้องมีความเข้มในการปฏิบัติหน้าที่และประชาชนต้องให้กำลังใจกับตำรวจด้วยโดยการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีวินัย ช่วยปลูกฝังให้เด็กมีจิตสำนึก  โดยจัดอบรมเข้าร่วมโครงการประชุมชี้แนะ  ให้มีความรู้ในการใช้กฎจราจร สร้างวินัยกับตัวเองและปลูกฝังผู้ใหญ่ในชุมชนให้มีนิสัยติดตัว  ท่าน ผอ. ได้ข้อเปรียบเทียบของตนเองที่เทศบาลตำบลการะเกดว่ามีการขัดแย้งกันภายในชุมชน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแตกแยกกับประชาชนเช่นประชาชนในชุมชนและเด็กนักเรียนไม่สะพานลอยใช้ในชุมชนเพราะ ความเห็นแก่ตัวของคนในชุมชน   นายอวยชัย อนุกูลเสนอความคิดว่าเป็นโครงการที่ดีมาก ในเมื่อเราได้ทำโครงการก็ต้องทำอย่างเต็มที่และปฏิบัติต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยทุกคนต้องพร้อมที่จะปฏิบัติอย่างจริงจังมีข้อเสนอที่จะให้คนในชุมชน  มีการอบรมเกี่ยวกับกฎจราจรปีละ 1 ครั้ง ผิวจราจรมีหลุม บ่อ มากถนนหนทางก็ยังไม่ดีพอ หมอมนูญ  พลายชุม พูดสรุปโดยรวมว่าที่ทุกคนเสนอมาเป็นสิ่งที่ดี พูดโดยเน้นที่ตัวบุคคลก่อนที่จะเน้นให้คนในชุมชนมาปฏิบัติ จะต้องมีการอบรมบ่อยๆครั้งถึงจะดีโดยเน้นไปในเรื่องวินัยจราจร ป้ายจราจร ไฟเตือน โดยบอกให้เด่นชัดถึงสัดส่วน ห้ามเด็กอายุไม่เกิน 15ปี ขับรถ ส่วนมากเดี่ยวนี้ผู้ปกครองปล่อยให้เด็กขับรถกันมากซึ่งก่อให้เกิดอุบัติเหตุตามมา จัดทัศนียภาพในชุมชนให้ดูดี เช่นตัดต้นไม้ข้างถนนเพื่อไม่ให้ปิดบังป้ายจราจร
    ครูอุไร พิมพ์พันธ์ พูดว่าการจอดรถที่สี่แยกปากคลองวัดแดงยังไม่เป็นระเบียบ ผู้ปกครองเป็นผู้นำทำให้เด็กเห็นในสิ่งที่ไม่ดี  ทำให้เด็กเอาเป็นแบบอย่าง  โดยขอความร่วมมือจากทางโครงการให้มีการจัดการอบรมให้เด็กซึ่งก็มีความเห็นด้วยพร้อมที่จะทำ นางศรีวิไล ทองใสพร ประธานโครงการกล่าวขอบคุนคณะกรรมการบุคคลที่เข้าร่วมประชุมโดยสรุปว่าทุกคนต้องทำกันอย่างจริงจังเสียที

     

    55 0

    5. จัดประชุมเวทีประชาคมเพื่อระดมความคิดเห็น

    วันที่ 25 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดทำเวทีระดมเพื่อย้ำและระดมความคิดเห็นของประชาชน หาแนวทางร่วมทำงานโดยทำการวิเคราะห์ -แนวทางการลดอุบัติในชุมชนโดยมีส่วนร่วม -การเฝ้าระวังและปรับปรุงจุดเสี่ยงภัย -มาตรการเฝ้าระวังอุบัติเหตุในชุมชน -สาเหตุการเกิดอุบัติจากท้องถนน 2.จัดทำเส้นทางการเฝ้าระวังและลดอุบัติเหตุในชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.หัวหน้าโครงการได้พูดคุยเกี่ยวกับความปลอดภัยบนท้องถนนให้ชุมชนฟังโดยขอความร่วมมือในการลดอุบัติเหตุในชุมชน พูดเชิญชวนให้ชาวบ้านเข้าใจหัวเรื่องโครงการ เพื่อพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน ปลุกระดมความคิดของชาวบ้านให้กระตือรือร้นในการปฏิบัติตนให้การเคารพกฎจราจรที่ถูกต้อง
    2.สารวัตรใหญ่ได้เสริมและอธิบายเกี่ยวกับกฎหมายจราจรที่พวกเราต้องทราบ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เคารพกฎจราจร การแก้ปัญหาจราจรต้องเกิดจากประชาชนชน ถ้าประชาชนไม่ให้ความร่วมมือก็ทำไม่ได้ เพราะการจับกุมถ้าไม่เข้าใจ ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เมื่อประชาชนเข้าใจ การแก้ปัญหาก็ง่าย
    3.ตำรวจจราจรได้เสริมว่า หมู่ที่ 6 เป็นจุดรวมของการใช้รถใช้ถนน ถ้าประชาชนเข้าใจ เคารพกฎ ตรวจสภาพรถ ก็ลดอัตราการสูญเสียไปได้มาก และรถทุกคนต้องมี พรบ.ด้วย ดังนั้นถ้าพวกเราพร้อมใจกันสวมหมวกกันน้อค เรียนรู้กฎจราจร คาดเข็มขัดนิรภัย ก็สามารถแก้ปัญหาได้เยอะ 4.ประชาชนได้ร่วมกันระดมความคิดเห็น 4.1ปัญหาอุบัติในชุมชนเกิดจากอะไร -ความประมาท -ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร -มีสิ่งกีดขวางหลายจุด -สภาพของรถ -สภาพของคนไม่พร้อม
    -ไม่มีน้ำใจ -ไม่มีสติ -เด็กอายุไม่ถึงเกณฑ์ขับขี่รถ -ขับรถซิ่ง
    -สภาพถนน ป้ายจราจรไม่ชัด -ไม่มีจิตสำนึก -ไม่สวมหมวกกันน้อค ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย

    4.2วิธีแก้ปัญหา -จัดอบรมกฎหมายจราจร -เรียนรุ้เรื่องการขับขี่ จัดอบรมพ่อแม่ ช่วยสั่งสอนลูกเรื่องจราจร -เชิญตำรวจมาให้ความรู้
    -เรียนรู้สัญญาณไฟ -สร้างวินัยให้กับตนเอง
    -เรียนรู้กฎจราจร และครอบครัวต้องช่วยกันกระต้นและชุมชนต้องช่วยกันเฝ้าระวัง

     

    140 140

    6. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4

    วันที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมประชุม กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงาน ติดตามความก้าวหน้า ตลอดจนรับฟังข้อเสนอแนะจากทีมงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทเรียนในการพัฒนา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการเสนอโดยหัวหน้าโครงการว่า เมื่อปีใหม่ที่ผ่านมาทางโครงการได้เสนอที่จะทำป้ายไวนิลเพื่อเตือนและให้ระวังในการใช้รถใช้ถนน ในช่วงต้นปี และปีนี้ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเลย จากการตรวจสอบข้อมุลของหน่วย EMS ถือว่าเป็นผลงานที่ดี ที่มีการทำป้ายเตือน และถือว่าคนในชุมชนได้เข้าใจ ร่วมมือกันทำงาน และปฏิบัติได้เป็นอย่างดี เราตั้งเป้าไว้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนในชุมชนพร้อม และปฏิบัติ 2.ประชาชนเริ่มขับขี่มอเตอร์ไซด์และใส่หมวกกันน้อคกันแล้ว  รู้จักทำตามกฎหมายจราจร ทำความเข้าใจป้ายที่ติดเตือนไว้แล้ว และระวังการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น เห็นคนขับรถย้อนศรน้อยลง คนเดิมข้ามถนนทางลัดน้อยลง ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก 3.คณะกรรมการและบุคคลเป้าหมายได้ร่วมกันและแสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีข้อโต้แย้งหรือข้อถกเถียงเหมือนก่อนเริ่มต้นทำโครงการ ทุกคนเข้าใจร่วมกันที่จะพัฒนา และทุกคนเห็นว่าชุมชนได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีึ้ขึ้น โดยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ ลดอัตราการตาย สรุปแล้วพวกเราทุกคนในโครงการพอใจ และเห็นว่าเป็นโครงการที่ีดี ก่อนเลิกประชุมกรรมการได้ร่วมกันออกกำลังกาย

     

    30 30

    7. ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ ครั้งที่ 2

    วันที่ 10 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการบริหารเข้าร่วมประชุม กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงาน ติดตามความก้าวหน้า ตลอดจนรับฟังข้อเสนอแนะจากทีมงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทเรียนในการพัฒนา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.หัวหน้าโครงการได้เปิดประชุม และรายงานว่า ในช่วงปีใหม่มีการจัดทำป้ายเตือน 10 ป้ายติดไว้ตลอดเส้นทางปากคลองวัดแดง  จากรายงานผล 7 วันอันตรายพบว่า ปีนี้ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ถือว่าประสบความสำเร็จ เป็นสิ่งที่พวกเราเกิดความภาคภูมิใจอย่างมาก 2.ส่ิงที่พวกเราจะต้องทำต่อไปคือ การสำรวจเส้นทางอันตราย และส่งมอบข้อมุลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ 3.สิ่งที่พบเห็นคือประชาชนสนใจที่จะใส่หมวกกันน้อคกันมากขึ้น และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 4.คณะทำงานได้ปรึกษาเรื่องถนนริมทางหลวง บริเวณขายลูกโหนด เพราะทำให้เกิดความวุ่นวายจราจร กีดขวางเส้นทางจราจร ดังนั้นถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการจัดระเบียบ โดยจัดทำเส้นทางการจอดรถ บริเวณไหล่ทาง และร้านไหนที่ไม่ใช้แล้ว ให้จัดการเก็บให้เรียบร้อย โดยฝากให้นายก อบต.ช่วยประสานงานให้

     

    55 55

    8. จัดประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจรแก่กลุ่มเป้าหมาย

    วันที่ 15 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดประชุมผู้สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน
    2.ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจร ตาม พรบ. 3.ป้ายสัญญาณเตือน ป้ายจราจร 4.ร่วมกันจัดทำแนวทางปฏิบัติลดอุบัติเหตุจราจรในชุมชนปากคลองวัดแดง โดยนำข้อมูลที่ได้จากประชาคมมาเป็นข้อมูลพื้นฐาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เริ่มประชุมเวลา 09.00 น. ประธานโครงการเปิดประชุมเรื่อง การลดอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ ในการรับ ส่งนักเรียน โดยมีมาตรการต้องใส่หมวกกันน้อค ทั้งผุ้ปกครองและนักเรียน รวมทั้งนักเรียนที่ขับขี่มอเตอร์ไซด์ไปโรงเรียนเอง  ผู้ปกครองก็ต้องดุแลและตักเตือนให้นักเรียนใส่หมวกกันน้อคด้วย และผู้ปกครองต้องเฝ้าระวังให้ด้วย อย่าให้ขับเร็ว ต้องสอนและฝึกการใช้กฎระเบียบจราจร
    2.ตำรวจได้แนะนำเรืองกฎหมายจราจร  ถ้าเป็นไปได้ห้ามเด็ก 15 ปีขับขี่รถ และจากสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาอุบัติภัยจากการจราจรเพิ่มสูงขึ้น ประเทศไทยอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสาเหตุการบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนถนนนั้น ที่สำคัญ 2 ประการคือ เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ พฤติกรรมต่างๆ อันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ความประมาท มักง่าย การฝ่าฝืนกฎระเบียบ เป็นต้น และเกิดจากสภาวะที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ถนนชำรุด แสงสว่างไม่เพียงพอ ทางโค้ง เป็นต้น โดยสรุปแล้วปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเกิดอุบัติเหตุในการจราจร ได้แก่ ถนน ยานพาหนะผู้ใช้รถใช้ถนนและสิ่งแวดล้อม การป้องกันอุบัติเหตุในการจราจรทางบก จึงต้องแก้ที่สาเหตุของปัญหาดังกล่าว โดยเน้นหลัก 3 ประการคือ การให้การศึกษาเกี่ยวกับการจราจรด้านความรู้ เจตคติและการปฏิบัติ การควบคุมบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย และการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างถนน 3.จราจรให้ความรุ้เรือ่งเครื่องหมายจราจร เรียนรู้สัญญาณไฟจราจร เรียกว่าสัญญาณไฟสามสี ติดตั้งตามทางแยกต่างเพื่อควบคุมการจราจรตามทางแยก โดยทั้งสามสี ได้แก่ สีแดงให้รถหยุด สีเหลืองให้รถระวัง เตรียมหยุด และสีเขียวคือให้รถไปได้ สำหรับสัญญาณไฟจราจรพิเศษอาจมีสีเหลืองเพียงสีเดียวจะกะพริบอยู่ ใช้สำหรับทางแยกที่ไม่พลุกพล่านหมายถึง ให้ระมัดระวังว่ามีทางแยก และดูความเหมาะสมในการออกรถได้เอง หรือ สัญญาณไฟจราจรสำหรับการข้ามถนน หรือ สัญญาณไฟจราจรไว้สำหรับเปลี่ยนเลน
    4.ป้ายจราจร เป็นป้ายควบคุมการจราจร แบ่งออกเป็นสามประเภท ป้ายบังคับ มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีแดง เป็นป้ายกำหนด ต้องทำตาม เช่น ห้ามเลี้ยวขวา ป้ายเตือน มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีดำ จะเป็นป้ายแจ้งเตือนว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า ป้ายแนะนำ เป็นป้ายที่แนะนำการเดินทางต่างๆ อาทิ ทางลัด ป้ายบอกระยะทาง เป็นต้น

     

    120 100

    9. ประชุมกับพี่เลี้ยง นครศรีฯ เพื่อปรึกษาการทำกิจกรรมโครงการ

    วันที่ 19 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานปรึกษาพี่เลี้ยงเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมในงวดที่ 2 และการจัดทำรายงานงวดที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พี่เลี้ยงได้ให้คำแนะนำในการออกแบบกิจกรรมในงวดที่ 2 และการจัดทำรายงาน

     

    5 5

    10. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และป้ายไวนิลโครงการ

    วันที่ 25 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายไวนิลและป้ายรณรงค์ปลอดบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำป้ายไวนิลและป้ายรณรงค์ปลอดบุหรี่ 

     

    5 5

    11. ประชุมกับ สจรส.มอ.เกี่ยวกับการบันทึกโปรแกรม

    วันที่ 26 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    21 ธันวาคม 2557 คณะทำงานได้ฝึกการบันทีกข้อมูลลงในโปรแกรมออนไลน์ และได้นำเอกสารให้พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบความถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เบิกเงินค่าเดินทางไปร่วมอบรม กับ สจรส.มอ. เมื่อ21 ธันวาคม 2557 คณะทำงานได้ฝึกการบันทีกข้อมูลลงในโปรแกรมออนไลน์ และได้นำเอกสารให้พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบความถูกต้อง

     

    5 5

    12. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมประชุม กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงาน ติดตามความก้าวหน้า ตลอดจนรับฟังข้อเสนอแนะจากทีมงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทเรียนในการพัฒนา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะทำงานได้พูดคุยและติดตามงานที่ผ่านมา กิจกรรมที่ผ่านไปแล้วคือการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเคารพกฏหมายจราจร  ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประชุมก็ครบตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่ต้องแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ครั้ง เพื่อเก็บตก ปัญหาที่พบคือประชาชนยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมาเน้นเรื่องกฎหมายจราจร ไม่เข้าใจเกี่ยวความรู้เรื่องกฎหมาย ได้พูดคุยกับคณะกรรมการบริหารโครงกาแล้ว  ให้ใช้เวลาในการปรับกิจกรรม และทางหน่วยงานราชการยินดทีที่จะช่วยเหลือ 2.คณะทำงานได้ร่วมกันกำหนดกิจกรรมการส่งเสริมออกกลังกายในกลุ่มประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าสุขภาพดี ก้ช่วยลดอุบัติได้
    3.การตอบรับตามโครงการดีขึ้น

     

    30 30

    13. ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ ครั้งที่ 3

    วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะกรรมการบริหารประชุมเพื่อวางแผนการทำงาน 2.แต่งตั้งบทบาทหน้าที่การทำงาน
    3.ติดตามความก้าวหน้าของการทำงาน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกเข้าร่วมประชุม 55 คน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการทำงานตามกิจกรรม เป็นการเปิดโอกาสให้คณะทำงานได้แสดงความคิดเห็น 2.ร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติและการขับเคลื่อนงานตามโครงการ
    3.ทบทวนแนวทางการลดอุบัตเหตุในชุมชน 4.วาระการประุชมประกอบด้วย วาระที่ 1 ประธานได้ชี้แจงเรื่องการแต่งตั้งคณะทำงาน และวัตถุประสงค์ของโครงการในการลอุบัติเหตุในชุมชน เพราะบ่อยครั้งที่ชุมชนมีอุบัติเหตุ แต่ขณะนี้ประชาชนเิริ่มให้ความสำคัญ ปัญหาที่เราพบคือ การไม่เคารพกฎระเบียบจราจร ไม่ชอบใส่หมวกกันน้อค และรถที่ใช้งานก็ไม่พร้อม ไม่มีการตรวจสภาพ เป็นอีกประเด็นที่เสี่ยงต่อการใช้รถใช้ถนน  ดังนั้นพวกเราต้องทำคือการให้ความรุ้แก่ประชาชน โดยจะต้องให้ความรู้แก่ประชาชน และจัดรณรงค์ลดอุบัติเหตุโดยการสวมหมวกกันน้อค วาระที่ 2 จัดให้มีการรณรงค์ขึั้นในโรงเรียน โดยขอความร่วมมือกับประชาชนและ้ประสานงานกับโรงเรียน กิจกรรมที่จะดำเนินงานคือ การจัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดแดง และจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่นักเรียนหลังจากอบรมให้ความรู้

     

    55 55

    14. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6

    วันที่ 8 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมติดตามความก้าวหน้าของงาน
    2.กำหนดกิจกรรมในการพัฒนา
    3.ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมที่จะต้องทำในครั้งต่อไปคือ 1.จัดทำเอกสารแนวทางการลดอุบัติเหตุเพื่อใช้ในการรณรงค์  2.กำหนดแนวทางรณรงค์ลดอุบัติเหตุจราจรและจัดตั้งจุดเตือนภัย  3.การรวบรวมำแผ่นผับให้ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร วาระที่พูดคุยกันวันนี้
    วาระที่ 1 เรื่องการลดอุบัติเหตุในชุมชนโดยมีมาตรการขับขี่ให้ปลอดภัย ต้องใส่มวกกันน็อกทังคนขับและคนซ้อนโดยเริ่มจากคณะกรรมการและผู้นำชุมชน วาระที่ 2 การใช้กฎหมายจราจร ในหมู่ที่ 6 เป็นจุดเริ่มร่วมของการใช้รถใช้ถนนของชุมชนการใช้รถบนถนนหรืออุบัติเหตุ เป็นเรื่องที่สูญเสียมากกว่าเรื่องอื่น การใช้รถต้องเช็คสภาพรถเป็นประจำเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ วาระที่ 3 จัดแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎจราจรและการขับขี่รถโดยถูกต้องไม่ฝ่าฝืนกฎจราจร

     

    30 30

    15. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7

    วันที่ 8 เมษายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ติดตามความก้าวหน้าของงาน
    2.สรุปผลการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.การดำเนินงานในช่วงเดือนที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการได้เพราะกลุ่มเป้าหมาย ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ แต่สิ่งที่ดำเนินการไปแล้วคือ การแจกแผ่นพับ การแจกป้ายประกาศและติดตั้งไวนิล
    2.วาระที่พูดคุย ประกอบด้วย วาระที่ 1 ประธานโครงการพูดเกี่ยวกับความปลอดภัยของคนในชุมชน โดยร่วมมือกันลดอุบัติเหตุในชุมชน เนื่องจากเดือนนี้เป็นช่วงเดือนเมษายน ต้องระวังเรื่องอุบัติเหตุ และประสานให้กับผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกับ ศูนย์กู้ชัพในการเฝ้าระวัง ส่ิงที่ทำได้คือ แจกแผ่นพับเพื่อรณรงค์ วาระที่ 2  ทีมงานได้ขอความร่วมมือกับกรรมการ ในการจัดกิจกรรมลดอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ ช่วงนี้ให้ตำรวจดำเนินงาน เพราะมีรถผ่านไปมาเยอะ การตั้งด่านให้ความรู้ น่าจะทำได้ยาก เสนอให้ผ่านไปก่อน
    วาระที่ 3 คณะทำงานลงความเห็นกันว่าเป็นโครงการที่ดี พร้อมจะทำงานและให้ความร่วมมือเป็นอย่างยิ่ง

     

    30 30

    16. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมตามโครงการ 2.กำหนดกิจกรมการเคลื่อนงานในเดือนถัดไป 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.จากการติดตามรายงานผลสงกรานต์ ปีนี้ อุบัติเหตุที่เกิดขึั้นไปในพื้นที่บ้านปากคลองวัดแดง ไม่มี แต่มีคนบ้านปากคลองวัดแดง ประสบเหตุ จากตำบลใกล้เคียง 1 ราย เนื่องจากรถยนต์ขับมาชน และขับผิดช่องทางจราจร เข้ามาพุ่งชนรถมอเตอร์ไซด์ ซึงเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้น ทางคณะทำงานจึงชวนไปเยี่ยมผู้ป่วยด้วยกัน
    2.กิจกรรมที่ต้องดำเนินการในเดือนนี้คือ 30 พฤษภาคม 2557 กำหนดให้มีกิจกรรมรณรงค์สวมหมวกกันน้อค โดยจัดเป็นมหกรรม "เปิดไฟ ใส่หมวกกันน้อค" 3.วา่ระที่พูดคุยคือ วาระที่ 1แนวทางการลดอุบัติเหตุ โดยการร่วมมือกับตำรวจจราจรตั้งด่านตำรวจ เพื่อให้ประชาชนใส่หมวกกันน็อก 100% วาระที่ 2 วางแผนการดำเนินงาน จัดคณะกรรมการ ตั้งด่านทุกวันพฤหัสบดี วาระที่ 3  จัดวางแผนประชาสัมพันธ์ เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุ แจกเอกสารทางบ้าน เพื่อรณรงค์ช่วยลดอุบัติเหตุ ปรับปรุงบริเวณบ้านปรับสภาพภูมิทัศน์ริมถนน

     

    30 30

    17. จัดประชุมเพื่อชี้แจงผู้ปกครองในการลดอุบัติเหตุ

    วันที่ 14 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมผู้ปกครอง เพื่อให้ความรู้  ชี้แจงกิจกรรมโครงการ และระดมหาแนวทางการลดอุบัติเหตุในกลุ่มนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันนี้มีการประชุมผู้ปกครอง  ตามโครงการบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ หมู่ที่ 6 ตำบลเขาพระบาท  อำเภอเชียรใหญ่ โดยชี้แจงให้ทราบวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดอุบัติเหตุของชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง 2.เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายจราจร 3.เพื่อปรับปรุงและแก้ปัญหาจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในชุมชน ระยะเวลาดำเนินงาน พฤศจิกายน 2556 – 30 กันยายน 2557 กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว 1.ประชุมคณะทำงาน ประกอบด้วย กลุ่ม อสม.และแกนนำประชาชน ประชุมไปแล้ว 6 ครั้ง 2.ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ ประกอบด้วย อบต.เขาพระบาท รพ.สต.เขาพระบาท โรงเรียนวัดแดง และ สถานีตำรวจการะเกด -ประชุมคณะกรรมการบริหาร จำนวน 4 ครั้ง -แต่งตั้งคณะทำงานแบบมีส่วนร่วม -หลังจากประชุมไปแล้ว อบต.เขาพระบาท ปรับพื้นที่ปากทางเข้าสี่แยกปากคลองฯ และถมถนนที่เป็นหลุมให้เรียบร้อยแล้ว -รพ.สต.เขาพระบาท ดำเนินการติดต่อหมวกกันน้อค โดยจำหน่ายครึ่งราคาใบละ 150 บาท (ไปซื้อได้ที่ รพ.สต.ตั้งแต่วันนี้) -คณะทำงานทำป้ายรณรงค์เรื่องอุบัติเหตุ 10ป้ายไวนิล ติดตั้งตลอดเส้นทางบนทางหลวง  ติดตั้งเมื่อ 26 ธันวาคม 2557 3.จัดทำเวทีระดมความคิดเห็นของประชาชน เมื่อ 24 ธันวาคม 2556 สิ่งที่ได้ -ทุกคนได้คิดปัญหาและสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความประมาท ไม่สวมหมวกกันน้อค ขับรถย้อนศร ไม่สนใจ มักง่าย และไม่มีใบขับขี่ -แนวทางการลดอุบัติในชุมชน คือให้มีการประชาสัมพันธ์ประมาณ 3 เดือนก่อน แล้วค่อยจับ หรือปรับ และให้มีการจำหน่ายหมวกกันน้อคแก่ประชาชน -ร่วมกันคิดและเสนอจุดเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงอุบัติเหตุ ได้แก่ ขับรถย้อนศร ขับรถปีนเกาะถนนขับรถซิ่ง ถนนเป็นหลุม เป็นบ่อ 4.ตำรวจการะเกดให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้รถ ใช้ถนน  กฎหมายจราจร พรบ.ที่ควรทราบเครื่องหมายจราจร สัญญาณมือ ไปแล้ว 2 ครั้ง 5.ร่วมกันคิดแนวทางเฝ้าระวังและลดอุบัติเหตุในชุมชน ดังนี้ -รณรงค์ไม่ขับรถย้อนศร -สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งทั้งคนขับ คนซ้อน -เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่ขับขี่รถตามลำพัง -รถทุกคัน ต้องมีไฟอยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งาน -ปรับปรุงป้ายสัญญาณจราจร 6.สภ.การะเกด แจกคู่มือให้ความรู้ กฎหมายจราจร แก่ประชาชน  เมื่อเดือนมกราคม 2557 การดำเนินการในรอบถัดไป (เดือนพฤษภาคม ถึง กันยายน 2557) 1.ให้ความรู้ประชาชนเพิ่มเติม เกี่ยวกับ กฎหมายจราจร ตาม พรบ.และประสานบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มาต่อทะเบียนรถเก่าให้ 2.รณรงค์ลดอุบัติเหตุในชุมชน ร่วมกัน ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 เวลา 09.00 น. เริ่มจาก รพสต. ไปสิ้นสุดที่โรงเรียนวัดแดง 4.จัดตั้งสารวัตรจราจรชุมชน ประกอบด้วยตำรวจ อปพร สอบต. อสม และแกนนำชุมชนทำหน้าที่ตักเตือนและตั้งจุดตรวจ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน2557 เป็นต้นไป -เดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม 2557 มีการตักเตือน โดยลงบันทึกสมุดสีเหลืองและให้ใบเตือน ถ้าครบ 3 ครั้ง ปรับตามกฎหมายตั้งด่านทุกสัปดาห์ -เดือนสิงหาคม 2557 ปรับตามกฎหมาย ตั้งด่านทุกสัปดาห์ 5.มีการจัดตั้งสารวัตรจราจรโรงเรียนวัดแดง ประกอบด้วยนักเรียน ครู ตัวแทนผู้ปกครอง เพื่อตักเตือนและตรวจก่อนเข้า-ออกโรงเรียน 6.สถานที่ราชการในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท เดือนมิถุนายน 57 ติดป้ายรณรงค์สวมหมวกกันน้อค ร้อยละ 100 กิจกรรมของโรงเรียนวัดแดง 1.โรงเรียนวัดแดง จะเข้าร่วมกิจกรรม โรงเรียนลดอุบัติเหตุทางจราจร โดย -จัดประชุมผู้ปกครองร่วมกับโรงเรียน เพื่อให้เข้าใจแนวคิดและร่วมทำกิจกรรม “โรงเรียนลดอุบัติเหตุ” เป็นการสร้างเครือข่ายทำงาน -กระตุ้นให้ผู้ปกครองและนักเรียน เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ 2.ให้ความรู้แก่นักเรียนทุกคน เรื่องการลดอุบัติเหตุจราจรและกฎหมายจราจรที่ควรรู้ 3.รับสมัครนักเรียน 50 คน ครั้งที่ 1 จัดกิจกรรมทัวร์ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้เห็นภาพความบาดเจ็บ อันตรายและความพิการที่เกิดขึ้น ครั้งที่ 2 นักเรียนสนทนากับผู้พิการที่ประสบเหตุ เพื่อเป็นการกระตุ้นและเรียนรู้ร่วมกัน 4.รณรงค์ให้นักเรียน ผู้ปกครอง มีการออกกำลังกายทุกวัน เพื่อสร้างสุขภาพให้แข็งแรง เป็นวิธีการลดอุบัติเหตุอีกทางหนึ่ง 5.แกนนำนักเรียนจัดเวร พูดคุยหน้าแถว เรื่องการลดอุบัติเหตุ รณรงค์ร่วมใจลดอุบัติเหตุ ภัยจากอุบัติเหตุ เพื่อสร้างความตระหนักและสร้างความยั่งยืน

     

    200 200

    18. จัดประชุมแกนนำนักเรียนเพื่อร่วมลดอุบัติเหตุ

    วันที่ 15 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมแกนนำนักเรียนและให้ความรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุ โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันนี้มีการสอนเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุ กฎจราจร และสัญญาณไฟจราจร  และให้นักเรียนช่วยกันคิดช่วยกันเขียน ดังนี้
    สรุปความคิดเห็นของนักเรียน  ทั้งหมด  (นักเรียนทั้งหมด 60 คน) พบว่า 1.ปัญหาอุบัติเหตุเกิดจาก เมาแล้วขับ ร้อยละ 51.67 ขับรถอย่างประมาท ร้อยละ 43.33 ขับรถด้วยความเร็วสูง ร้อยละ 38.33 ง่วงแล้วขับรถ ร้อยละ 16.67 ไม่ทำตามกฎจราจร  ฝ่าฝืนกฎจราจร ร้อยละ 51.67 คุยโทรศัพท์ขณะขับรถ ร้อยละ 45.00 ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 45.00 เป็นต้น
    2.สมาชิกในครอบครัวเกิดอุบัติเหตุแล้วเกิดอะไร นักเรียนให้ความเห็นว่า  เสียใจ ร้อยละ 45
    ไม่สามารถทำมาหากินได้ ร้อยละ 6.67 ทำให้คนในครอบครัวลำบาก ร้อยละ 36.67 สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ร้อยละ 26.67 เป็นต้น 3.นักเรียนมีวิธีลดอุบัติเหตุ หรือป้องกันอุบัติเหตุสำหรับตนเองอย่างไร นักเรียนเสนอว่า
    สวมหมวกกันน็อก ร้อยละ 90.00 ไม่ขับรถเร็ว ร้อยละ 23.33 ปฏิบัติตามกฎจราจร ร้อยละ 6.67
    ขับรถอย่างระมัดระวัง ร้อยละ 13.33

    4.นักเรียนมีวิธีลดอุบัติเหตุ หรือป้องกันอุบัติเหตุ ในโรงเรียนได้อย่างไร ไม่วิ่งเล่นบนถนนขณะรถวิ่ง ร้อยละ 23.33 สวมหมวกกันน็อกตอนมาโรงเรียน ร้อยละ 11.67
    ปฎิบัติตามกฎจราจร ร้อยละ 5.00

    5.คำขวัญในการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุ ต้องสวมหมวกนิรภัย หมวกนิรภัย ใส่แล้วจะปลอดภัย ขับรถอย่างระมัดระวัง ระวังวันละนิด ชีวิตจะปลอดภัย เมาแล้วห้ามขับ ช่วยกันสวมหมวกนิรภัย ป้องกันอุบัติเหตุพ่อแม่จะได้ไม่เสียใจ เมาไม่ขับกลับเท็กซี่ ขับรถปลอดภัยใส่หมวกกันน็อก ไม่ประมาทอาจปลอดภัย รักครอบครัวถ้าเมาไม่ขับ ร่วมกันสวมหมวก นิรภัย ทุกชีวิตจะมีความสุข ปลอดภัยในวันนี้จะดีในวันหน้า ขับรถดีๆ เมาไม่ขับช่วยชาติให้เจริญ

     

    50 60

    19. ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ ครั้งที่ 4

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรม และวางแผนขับเคลื่อนในรอบสุดท้ายของโครงการ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การประชุมครั้งนี้ มีการสรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้
    1.คณะทำงานมีการประชุม เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดแนวทางการลดอุบัติเหตุชุมชนและร่วมกันดำเนินกิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนา ผลงานมีการประชุม 6 ครั้ง (ร้อยละ 60) 2 ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ  ดังนี้ ประชุมคณะกรรมการบริหาร เป้าหมาย 5 ครั้ง ประชุมไปแล้ว  3 ครั้ง (ร้อยละ 60) และมีการจัดตั้งคณะทำงาน โดยทำประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโดย สาธารณสุขอำเภอเชียรใหญ่ ประกอบด้วย -ผู้แทนจาก อบต.เขาพระบาท สภ.การะเกด โรงเรียนวัดแดง ตัวแทนชุมชนและ รพ.สต.เขาพระบาท
    3.ผลการเปลี่ยนแปลงจากการประชุมคณะกรรมการบริหาร -อบต.เขาพระบาท ช่วยปรับพื้นที่บริเวณถนนทางเข้าสี่แยกไปวัดแดง -รพ.สต.เขาพระบาท ประสานเรื่องหมวกกันน้อค จำหน่ายครึ่งราคา ประสานได้ 500 ใบ ราคาใบละ 150 บาท (จำหน่ายไปแล้ว 200 ใบ) -คณะทำงานได้จัดทำป้ายรณรงค์เรื่องอุบัติเหตุ 10 ป้ายไวนิล ติดตั้งตลอดเส้นทางบนทางหลวง (ขณะนี้เหลือ 5 ป้าย) ติดตั้ง 26 ธันวาคม 2557 4 สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนี้ 4.1.จัดทำเวทีระดมความคิดเห็นของประชาชน เดือนธันวาคม 2556 สิ่งที่ได้ -ปัญหาและสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความประมาท ไม่สวมหมวกกันน้อค ขับรถย้อนศร ไม่สนใจ มักง่าย และไม่มีใบขับขี่ -แนวทางการลดอุบัติในชุมชน จากแนวคิดของประชาชน คือให้มีการประชาสัมพันธ์ประมาณ 3 เดือนแล้วค่อยจับ หรือปรับ และให้มีการจำหน่ายหมวกกันน้อคแก่ประชาชน -มีการเสนอจุดเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงอุบัติเหตุ ได้แก่ การขับรถย้อนศร ขับรถปีนเกาะถนนขับรถซิ่ง ถนนเป็นหลุม เป็นบ่อ (อบต.เขาพระบาท ได้ปรับถนนให้ทั้ง 2 ฝั่ง มีการกลบหลุม เกลี่ยถนนให้เรียบร้อย ปัจจุบันมีการขับรถย้อนศรน้อยลง จะมีแต่เฉพาะช่วงสั้นๆแถวร้านลูกโหนด และจัดหาที่พักสำหรับรอรถ) 4.2.มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้รถ ใช้ถนน  กฎหมายจราจร พรบ.ที่ควรทราบเครื่องหมายจราจร และสัญญาณมือ โดย สภ.การะเกด
    เสนอให้มีการจัดทำมาตรการเฝ้าระวังอุบัติเหตุในชุมชน 4.3. ร่วมกันจัดทำแนวทางเฝ้าระวังและลดอุบัติเหตุในชุมชน ดังนี้ -รณรงค์ไม่ขับรถย้อนศร  (โดยการแจกเอกสารความรู้ที่บ้าน โดย อสม) -สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งทั้งคนขับ คนซ้อน -เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่ขับขี่รถตามลำพัง -รถทุกคัน ต้องมีไฟอยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งาน -ปรับปรุงป้ายสัญญาณจราจร (ประสานงานกับทางหลวงชนบท) 4.4.สภ.การะเกด แจกคู่มือให้ความรู้ กฎหมายจราจร แก่ประชาชน  (มค.57)


    การวางแผนขับเคลื่อนงาน ดังนี้
    1.จัดประชุมผู้ปกครองร่วมกับโรงเรียน เพื่อจัดทำกิจกรรม “โรงเรียนลดอุบัติเหตุ”
    2.รับสมัครนักเรียน 50 คน ทำกิจกรรม ครั้งที่ 1 จัดกิจกรรมทัวร์ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน  ครั้งที่ 2 สนทนากับผู้พิการที่ประสบเหตุ เพื่อเป็นการกระตุ้นและเรียนรู้ร่วมกัน
    3.รณรงค์ให้นักเรียน ผู้ปกครอง มีการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5วัน เพื่อสร้างสมรรถภาพของร่างกาย ลดอุบัติเหตุ 4.นักเรียนแกนนำจัดเวร พูดคุยหน้าแถว วิธีการลดอุบัติเหตุ รณรงค์ร่วมใจลดอุบัติเหตุ ภัยจากอุบัติเหตุ เพื่อสร้างความตระหนักและสร้างความยั่งยืน 5.จัดตั้งสารวัตรจราจรชุมชน ประกอบด้วยตำรวจ อปพร สอบต. อสม และแกนนำชุมชนทำหน้าที่ตักเตือนและตั้งจุดตรวจ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน2557 เป็นต้นไป -เดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม 2557 มีการตักเตือน โดยลงบันทึกสมุดสีเหลืองและให้ใบเตือน ถ้าครบ 3 ครั้ง ปรับตามกฎหมายตั้งด่านทุกสัปดาห์ -เดือนสิงหาคม 2557 ปรับตามกฎหมาย ตั้งด่านทุกสัปดาห์ 6.มีการจัดตั้งสารวัตรจราจรโรงเรียนวัดแดง ประกอบด้วยนักเรียน ครู ตัวแทนผู้ปกครอง เพื่อตักเตือนและตรวจก่อนเข้า-ออกโรงเรียน 7.สถานที่ราชการในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท เดือนมิถุนายน 57 ติดป้ายรณรงค์สวมหมวกกันน้อค ร้อยละ 100

     

    55 50

    20. สร้างจิตอาสาและร่วมประชุมกับประชาชนเพื่อรณณงค์สวมหมวกกันน้อค

    วันที่ 17 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกิจกรรมให้ความรู้ และมอบหมายงาน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันนี้ประชุมเพื่อนำเสนอแนวทางการปฏิบัติในชุมชน ดังนี้ 1.คณะกรรมการบริหารโครงการ  จัดทำเป็นประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโดยสาธารณสุขอำเภอเชียรใหญ่ ประกอบด้วย ผู้แทนจาก อบต.เขาพระบาท สภ.การะเกด โรงเรียนวัดแดง ตัวแทนชุมชนและ รพ.สต.เขาพระบาท
    2.ตอนนี้ทาง อบต.เขาพระบาท  ได้ดำเนินการปรับพื้นที่บริเวณถนนทางเข้าสี่แยกไปวัดแดง 3.ทาง รพ.สต.เขาพระบาท  มีการจำหน่ายหมวกกันน้อค สนใจสั่งได้ ใบละ 150 บาท
    4.ตอนนี้คณะทำงานได้จัดทำป้ายรณรงค์เรื่องอุบัติเหตุติดตั้งตลอดเส้นทางบนทางหลวง เพื่อเป็นการเตือนสติ 5.ตอนนี้ได้มีการรณรงค์ในหมู่บ้านดังนี้
    -ขับรถทุกครั้ง ต้องสวมหมวกนิภัย -ไม่ขับรถย้อนศร
    -ต้องมีใบขับขี่ -ตั้งแต่เดือนสิงหาคม เป็นต้นไป จะมีการจับ ปรับตามกฎหมาย แต่จะมีการเตือนตั้งแต่เดือนมิถุนายน -ถ้าใครสนใจความรู้เกี่ยวกับการใช้รถ ใช้ถนน  กฎหมายจราจร พรบ.ที่ควรทราบเครื่องหมายจราจร และสัญญาณมือ มาเรียนรู้ได้ทุกวัน

    ข้อบังคับของชุมชน มีดังนี้
    -ไม่ขับรถย้อนศร
    -สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งทั้งคนขับ คนซ้อน -เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่ขับขี่รถตามลำพัง -รถทุกคัน ต้องมีไฟอยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งาน -ปรับปรุงป้ายสัญญาณจราจร (ประสานงานกับทางหลวงชนบท)

     

    120 120

    21. พี่เลี้ยง สจรส.มอ.ติดตามผลการดำเนินงาน

    วันที่ 19 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยง สจรส.มอ.ติดตามผลการดำเนินงานและตรวจสอบรายงาน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พี่เลี้ยง สจรส.ได้ตรวจสอบ ผลการดำเนินงานและรายงาน พบว่า พี่เลี้ยงแนะนำให้บันทึกกิจกรรมให้ละเอียด เพื่อความง่ายในการประเมินผลโครงการ

     

    5 5

    22. จัดกิจกรรมมอบหมายหน้าที่ในการลดอุบัติเหุตในชุมชน

    วันที่ 30 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมคณะทำงานเพื่อมอบหมายหน้าที่ และติดตั้งป้ายรณรงค์สวมหมวกกันน้อค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ประชุมคณะทำงานเพื่อรายงานความก้าวหน้า 2.มอบหมายหน้าที่การทำงาน
    3.จัดทำกำหนดการจัดกิจกรรมรณรงค์ตามโครงการบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุในชุมชน วันพุธ ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2557 ดังนี้ เวลา 09.00 น. ลงทะเบียน พร้อมกันที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาท เวลา 09.20 น. พิธีเปิดขบวนรณรงค์ชุมชนปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุในชุมชน -กล่าวความเป็นมาและปล่อยขบวนรณรงค์ (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท
    -กล่าวรายงานโดย หัวหน้าโครงการ (นางศรีวิไล ทองใสพร)
    เวลา 09.30 น. รูปแบบการ ปล่อยขบวนรณรงค์  จัดขบวน ดังนี้ แถวหน้า  นำหน้าขบวนโดยรถของสถานีตำรวจภูธรการะเกด แถวกลาง เป็นขบวนรถจักรยานยนต์ เปิดไฟ ใส่หมวกกันน้อค แถวหลัง  เป็นรถยนต์ติดป้ายรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยใส่หมวกกันน้อค ปิดท้ายแถวด้วยรถ EMS และมูลนิธิสยามฯ
    -ขบวนจะเริ่มจาก รพสต.เขาพระบาท ขับไปยังหัวเขาจุก แล้วเวียนไปกลุ่มปากช่อง
    แล้วมาเลี้ยวจุดยูเทิร์น เพื่อไปสิ้นสุดที่โรงเรียนวัดแดง เวลา 10.30 น. แถลงนโยบายร่วมรณรงค์ลดอุบัติเหตุ (หน่วยงานละ 5 นาที) - สถานีตำรวจภูธรการะเกด - สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียรใหญ่ - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
    เวลา 11.00 น. พิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ลดอุบัติเหตุ “โรงเรียนและชุมชนลดอุบัติเหตุ” ประธานในพิธีคือ นายอำเภอเชียรใหญ่
    กล่าวรายงานโดยผู้อำนวยการโรงเรียนวัดแดง -กล่าวคำพันธะสัญญาลดอุบัติเหตุ โดย นายก อบต.เขาพระบาท
    -ออกกำลังกายเพื่อสร้างสุขภาพ  นำออกกำลังกายโดย นักเรียนโรงเรียนวัดแดง
    ชมการแสดงผลงานของนักเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของ สสส. เวลา 12.00 น. รับประทานอาหารร่วมกัน


    ตารางแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
    1.การลงทะเบียน เอกสารประกอบด้วย (1)ใบลงทะเบียน (2)ป้ายไวนิลโครงการ (3)โต๊ะลงทะเบียน  (4)สติกเกอร์ติดรถมอเตอร์ไซด์ ใช้สถานที่ ห้องประชุมสุขภาพดีวิถีไทย มอบหน้าที่ นส.สุวลักษณ์ รักษ์หนู นส.สุนีย์ อักษรคง  นางอุทุมพร บูชากรณ์ และนางกมล บูชากรณ์ 2.พิธีเปิดขบวน ประกอบด้วย ( 1)คำกล่าวพิธีปล่อยขบวนรถของประธาน (2)คำกล่าวรายงาน ของหัวหน้าโครงการ (3)แฟ้มกล่าวรายงาน 2 อัน  (4)ไมค์ เครื่องขยายเสียง(ชุดเล็ก) (5)ซุ้มดอกไม้ ตัดริบบิ้น ปล่อยขบวนรถ ผู้รับผิดชอบนางศรีวิไล ทองใสพร นส.สุลาวัล ถนนทอง นายสุวิทย์ พรหมทองแก้ว  นางถนอม ชูฟอง
    3.เตรียมขบวนรถ ประกอบด้วย (1) รถมอเตอร์ไซด์ 200 คัน เปิดไฟ ใส่หมวกกันน้อค พร้อมติดสติกเกอร์ให้เรียบร้อย ตั้งแถว 2 จุดคือ หน้าอาคารแถวห้องฉุกเฉินและตั้งแต่บริเวณหน้าป้าย รพสต. ดังนี้ -ขบวนนำ เป็นรถตำรวจ  -ขบวนกลองยาว
    -ขบวนรถมอเตอร์ไซด์ 200 คัน  -ขบวนปิดท้ายคือรถมูลนิธิและ EMS  รับผิดชอบโดย นายจักรเทพ วัฒนสุข นางจินดา พังแพร่ นายกิ่งรักษ์ ย้อยไชยา และทีม EMS เขาพระบาท ทีมมูลนิธิสยามฯ วัดทองพูน (หลักการคือ รถมอเตอร์ให้แกนนำชุมชุมชนและ อสม.ติดต่อเพื่อนบ้านอีก 5 คัน พร้อมใส่หมวก) 4.ประสานรถตำรวจ ประสานงานโดย พ.ต.ท.จักรินทร์ อักษรรัตน์ 5.ประสานรถ EMS และมูลนิธิ ขออนุญาต ประสานงานโดย จ่าเอกคมกฤษณ์ สังข์อุ่น คุณชูศิษย์ ใจงาม 6.การแถลงนโยบาย รพสต.เขาพระบาท ทำหนังสือประสานกับ สวญ.สภ.การะเกด  สสอ.เชียรใหญ่และ สสส โดย นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์ 7.ประสานประธานในพิธี รพ.สต.เขาพระบาท ประสานผ่านทาง สสอ.เชียรใหญ่ เพื่อเชิญประธาน (ดำเนินการแล้ว) นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์ 8.เตรียมสถานที่พิธีเปิด ได้แก่ (1)เต้นท์สำหรับประธาน (2)เต้นท์สำหรับบริษัทกลาง  (3)เต้นท์สำหรับจัดนิทรรศการเด็ก (4)เต้นท์สำหรับประชาชน ( 5)คำกล่าวรายงาน คำกล่าวเปิด (6)แฟ้มกล่าวรายงาน 2 แฟ้ม (7)ซุ้มดอกไม้ และตีฆ้องเปิดงาน                (8)คำกล่าวพันธะ  ผู้รับผิดชอบงาน นายมนูญ พลายชุม นายสัมพันธ์ พูลเสน นายกัณฑ์ชนะพงศ์ พรมแก้ว นางทิพวรรณ แก้วบางพูด นส.จุฑามาศ ศรีวัง  นส.อรวรรณ สุขเกื้อ 9.ออกกำลังกายสร้างสุขภาพ ตัวแทน นักเรียน โรงเรียนวัดแดง เต้นนำเพื่อสุขภาพ 15 นาที อ.อุไร พิมพันธ์ รร.วัดแดง 10.เตรียมน้ำดื่ม น้ำดื่มสำหรับประธาน/ รร.วัดแดง ผู้รับผิดชอบ นส.น้ำอ้อย นางอำนวย สุขหวาน 11.อาหารเที่ยง สำหรับผู้เข้าร่วมพิธี ผู้รับผิดนางหนูฟอง หนูทอง นางโสภา บางหรง
    12.ประสานบริษัทกลาง โดย ( 1)ทำหนังสือประสาน (2)ขอสนับสนุนเอกสารความรู้  (3)ออกบู้ท ทำ พรบ.รถเก่า ผู้รับผิดชอบนางวันดี อักษรคง
    13.เต้นท์เผยแพร่ผลงานนักเรียน จัดนิทรรศการภาพวาด  นิทรรศการคำขวัญ และเตรียมรางวัลสำหรับนักเรียน 16 รางวัล โดยมี ครู รร.วัดแดง  นางกัณหา จงไกรจักร นางพิไลวรรณ พรายชุม 14.พิธีกร ที่บริเวณพิธีที่ รพ.สต.เขาพระบาทและ รร.วัดแดง รับผิดขอบโดย อ.อมร สดศรี และคุณอวยชัย อนุกูล

     

    20 50

    23. ติดตั้งป้ายและประกาศใช้ขัอปฏิบัติชุมชนลดอุบัติเหตุ

    วันที่ 1 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมงานร่วมกันติดตั้งป้ายรณรงค์และป้ายบังคับใช้ตามกฎหมาย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการติดตั้งป้ายรณรงค์สวมหมวกกันน้อค 10 ป้าย
    2.มีการติดตั้งป้ายบังคับใช้ตามกฎหมาย 

     

    10 20

    24. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9

    วันที่ 6 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานและคณะกรรมการบริหารร่วมกันประชุม เพื่อติดตามความก้าวหน้าของงาน และสรุปการจัดกิจกรรมรณรงค์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วาระที่ 1 สรุปวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมา กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว
    1.การประชุมคณะกรรมการบริหาร ประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง และเดือน พค.57 เป็นครั้งที่ 4 2.จัดทำประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโดย สสอ.เชียรใหญ่ 3.ประสานเรื่องการจำหน่ายหมวกนิรภัย และเริ่มจำหน่ายแล้ว ราคา 150 บาท (500 ใบ) 4.จัดทำป้ายรณรงค์ลดอุบัติเหตุ ตั้งแต่เดือนมกราคม 57 เป็นต้นมา 5.จัดทำเวทีระดมความคิดเห็นของประชาชน และให้ความรู้ด้านกฎหมาย เมื่อธันวาคม 56 6.มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมบนท้องถนน เช่น คันกั้นแนวถนน ป้ายจราจร ปรับถนน หลุม-บ่อ

    กิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป
    1.ประสานบริษัทกลาง จัดทำ พรบ.สำหรับรถที่หมดอายุ หรือรถเก่า
    2.ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง และนักเรียน
    3.จัดตั้งจุดเฝ้าระวัง “สารวัตรจราจรชุมชน”<br />
    4.จัดทำป้ายรณรงค์สวมหมวกนิรภัยและป้ายเตือน และจัดกิจกรรมรณรงค์สวมหมวกนิรภัย เดิมกำหนดวันที่ 30 พฤษภาคม 2557&nbsp; และขอเลื่อนเป็นวันพุธที่ 11 มิถุนายน 2557<br />
    5.แจกแผ่นพับรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน
    6.จัดกิจกรรมในกลุ่มนักเรียน เช่น ทัวร์ชุมชน&nbsp; อ่านข่าวหน้าแถวตอนเช้า ประกวดคำขวัญ
    7.จัดทำเอกสาร เคาะประตูบ้าน “ร่วมรณรงค์ลดอุบัติเหตุในชุมชน”
    8.ช้กชวนประชาชนร่วมกันปรับปรุงเส้นทางจราจร ความเสี่ยงบนท้องถนน และปรับปรุงหน้าบ้านให้ปลอดภัย ไม่มีสิ่งกีดขวาง ไม่มีขยะ
    9.ถอดบทเรียนการพัฒนา ในเดือนกรกฎาคม 2557<br />
    

    วาระที่ 2 กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว ช่วงเดือนพฤษภาคม 2557 1.ให้ความรู้แก่นักเรียน โรงเรียนวัดแดง และร่วมกันรณณงค์ลดอุบัติเหตุจราจรในโรงเรียน ชั้นประถมปีที่ 4 – 6  จำนวน 65 คน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2557
    2.ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและรณรงค์ลดอุบัติเหตุในชุมชนวันที่ 19 พฤษภาคม 2557 จำนวน 95 คน 3.จัดทำป้ายไวนิล รณรงค์สวมหมวกกันน้อคและป้ายสถานที่ราชการ จำนวน 10 แผ่น 4.จัดทำแผ่นป้ายสติกเกอร์ รณรงค์สวมหมวกกันน้อค จำนวน 200 ใบ

    วาระที่ 3 กิจกรรมการรณรงค์
    วันพุธที่ 11 มิถุนายน 2557 เป็นวันรณรงค์สวมหมวกกันน้อค เป้าหมายหลักคือพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านปากคลองวัดแดง  การขยายเป้าหมายคือ รณรงค์พร้อมกันทั้งตำบลทุกหมู่บ้าน  กำหนดการรณรงค์ ดังนี้

     

    30 50

    25. กิจกรรมรณรงค์ลดอุบัติในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย

    วันที่ 11 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.มีการรณรงค์เปิดไฟใส่หมวกกันน้อค
    2.กิจกรรมเผยแพร่ผลงานนักเรียนในการรรณงค์ 3.กิจกรรมการแสดงของเยาวชน เพลงบอกลดอุบัติเหตุ 4.การแสดงผลงานของหมู่บ้านใกล้เคียง 5.การออกกำลังกายสร้างสุขภาพ 6.การกล่าวคำพันธะสัญญาลดอุบัติเหตุ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการรณรงค์เปิดไฟใส่หมวกกันน้อค โดยมีมอเตอร์ไซด์ร่วมขบวน 200 คัน เริ่มต้นจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาท ทำพิธีเปิดโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท ไปสิ้นสุดที่สนามโรงเรียนวัดแดง
    2.กิจกรรมเผยแพร่ผลงานนักเรียนในการรรณงค์ มีการประกวดคำขวัญและภาพวาด ดังนี้ ประเภทคำขวัญ รางวัลที่ 1.เด็กหญิงขนิษฐา คงเย็น  ชั้นประถมปีที่ 5  " ก่อนขับมอเตอร์ไซด์  ต้องใส่กันน้อค  พ่อแม่จะช้อค  เพราะลูกน้อคคาถนน" รางวัลที่ 2 เด็กหญิง อิสราพร สงแก้ว  ชั้นประถมปีที่ 5  " สวมหมวกนิรภัย  มั่นใจเต็มที่  ทั้งคนขับคนขี่ ชีวีปลอดภัย" รางวัลที่ 3 เด็กชายวันชัย คงขลิบ  ชั้นประถมปีที่ 6 " เดินทางม้าลาย  มองซ้ายมองขวา  ถ้ารถไม่มา  รีบข้ามได้เลย"
    รางวัลชมเชย  มี 5 รางวัล เด็กชายสิทธิโชค  พรมแดง  ชั้นประถมปีที่ 3  " ชีวีปลอดภัย  ขับขี่มอเตอร์ไซด์ ต้องใส่หมวกกันน้อค"
    เด็กชายเกียรติศักดิ์  ทองสุข  ชั้นประถมปีที่ 5  " สวมหมวกนิรภัย กันภัยไว้ก่อน  คนขับคนซ้อน สวมหมวกนิรภัย" เด็กหญิงนันทิพัฒน์  ไชยโย  ชั้นประถมปีที่ 5  " สวมหมวกนิภัย ปลอดภัยไว้ก่อน อย่ามัวรีบร้อน  ก่อนสตาร์ทมอเตอร์ไซด์" เด็กหญิงศุภวรรณ ปานแก้ว  ชั้นประถมปีที่ 5  " สวมหมวกนิรภัย สบายใจทุกที่ ทั้งคนขับคนขี่ ชีวีปลอดภัย"
    เด็กชายอุทัย ไชรักษา ชั้นประถมปีที่ 3  " ประชาชนร่วมใจ  ขับขี่มอเตอร์ไซด์ ชีวิตจะปลอดภัย ต้องใส่หมวกกันน้อค"

    ประเภทภาพวาด รางวัลที่ 1  เด็กชายสิทธิโชค พรมแดง  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  " ชื่อภาพ สวมหมวกนิรภัย กันภัยอุบัติเหตุ" รางวัลที่ 2 นางสาวกัณฐิกา รอดแก้ว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  " ชื่อภาพ สวมหมวกนิรภัย กันไว้อุบัติเหตุ" รางวัลที่ 3 เด็กหญิงพลอยไพลิน  กิ่งแก้ว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  " ชื่อภาพ ขับขี่ปลอดภัย  ต้องสวมหมวกนิรภัย" รางวัลชมเชย มี 5 รางวัล
    นางสาวภัทรวดี  เพ็งแก้ว   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  " ชื่อภาพ รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย สบายใจทุกท้องถนน ประชาชนพารุ่งเรือง"
    เด็กหญิงอิสราพร  สงแก้ว  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  " ชื่อภาพ รณรงค์สวมหมวกกันน้อค" เด็กชายณัฎฐากร  เขาบาท  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  " ชื่อภาพ ขับรถ ยึดกฎจราจร"
    เด็กหญิงสุภาวรรณ  บุญจันทร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  " ชื่อภาพ ขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง"
    นางสาวภัททิยา เพ็งแก้ว  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  " ชื่อภาพ การสวมหมวกกันน้อค ปลอดภัยต่อประชาชนทุกคน"

    3.กิจกรรมการแสดงของเยาวชน เพลงบอกลดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 ถึง 6 จำนนวน 5 คน 4.การแสดงผลงานของหมู่บ้านใกล้เคียงคือหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 8 ซึ่งเป็นหมู่บ้านเครือข่ายทีรับงบของ สสส.เช่นกัน
    5.การออกกำลังกายสร้างสุขภาพ โดยแกนนำนักเรียนโรงเรียนวัดแดง 50 คน
    6.การกล่าวคำพันธะสัญญาลดอุบัติเหตุ โดยนายก อบต.เขาพระบาท  จำนวน 4 ข้อ

     

    500 500

    26. ปรึกษาพี่เลี้ยงนครศรีฯ เรื่องการทำรายงานและปิดโครงการ

    วันที่ 29 มิถุนายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าไปปรึกษาพี่เลี้ยง ของจังหวัดนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับการทำรายงาน การเตรียมเอกสารเพื่อปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานเข้าไปปรึกษาพี่เลี้ยง ของจังหวัดนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับการทำรายงาน การเตรียมเอกสารเพื่อปิดโครงการ พี่เลี้ยงแนะนำให้จัดทำงานรายงาน ส.2 ง.3 ส.3 และการเตรียมภาพถ่าย และข้อมูลในการทำ ส.4 ไปด้วย

     

    5 5

    27. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานและคณะกรรมการบริหารร่วมกันประชุม เพื่อติดตามความก้าวหน้าของงาน และสรุปการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วาระที่ 1 การประชุมคณะทำงานเพื่อหาแนวทางการลดอุบัติเหตุโดยการร่วมมือการ สภ.การะเกด เพื่อจัดตั้งด่านตรวจในชุมชุนพื้นที่ หมูที่ 6 จำนวน 3ครั้ง วาระที่ 2 นัดหมายคณะทำงานจัดทีมเด็กนักเรียน ไปเรียนรู้เรื่องอุบัติเหตุ ณ โรงพยาบาลเชียรใหญ่ วาระที่ 3 สรุปผลสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการดำเนินการโครงการ     -  ประชาชนหันมาใส่หมวกกันน็อคมากขึ้น     -  ประชาชนขับรถย้อนศร น้อยลง     -  ทางข้ามถนนทางลัด มีน้อยลงเพราะมีการรื้อถอนออก     -  ประชาชนเข้าใจกฎจราจรมากยิ่งขึ้น     -  ร้านค้าริมทางมีระเบียบมากขึ้น     -  สี่แยกปรับระดับไหล่ทางให้เสมอ  ไม่เสี่ยงต่อการขับขี่     -  การเผาขยะริมถนน น้อยลง     -  หน่วยงานราชการให้ความร่วมมือ     -  ประชาชนให้ความสำคัญเรื่องการขับขี่ปลอดภัย

     

    30 30

    28. จัดกิจกรรมรณรงค์ลดอุบัติเหตุในกลุ่มนักเรียน

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทัวร์ห้องอุบัติเหตุ ห้องฉุกเฉิน  รพ.เชียรใหญ่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันนี้ได้นำนักเรียนและกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจร สำหรับเยาวชน โดยพานักเรียนเข้ามาเรียนรู้ที่ห้องฉุกเฉิน ของโรงพยาบาล ซึ่งได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินกิจกรรมได้ แล้วนำนักเรียนมาร่วมกันเรียนรู้ โดยสอบถามดังนี้ 1.อะไรที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน (เขียนให้ได้มากที่สุด) ขับรถไม่สวมหมวกนิรภัย ขับรถซิ่ง  ขับรถประมาท ขับรถไม่ถูกกฎจราจร  ขับรถย้อนศร  เมาแล้วขับ ขับรถยกล้อ เลียนแบบเพื่อน
    2.เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนทำให้เกิดความเสียหายอย่างไร
    2.1 ตนเอง : เสียหายทั้งทรัพย์และชีวิตตนเอง  เสียเวลา เสียอนาคต ต้องนอนโรงพยาบาล 2.2ครอบครัว : ทำให้พ่อแม่เสียใจ  พ่อแม่สูญเสียค่าใช้จ่าย  พ่อแม่เสียเวลา ครอบครัวเสียเวลาต้องไปเฝ้า
    2.3ชุมชน : สังคมไม่ยอมรับ ทำให้คนในชุมชนเดือนร้อน เป็นคนกลุ่มเสี่ยงที่สร้างปัญหาสังคม

    3.พื้นที่บ้านปากคลองวัดแดง เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรอย่างไรบ้าง ขับรถไม่สวมหมวกนิรภัย  ขับรถเร็วเกินไป  ขับรถไม่รู้กฎจราจร  ขับรถซิ่ง  ขับรถย้อนศร ไม่มีไฟจราจร

    4.นักเรียนและเยาวชน จะมีวิธีการป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างไร
    สวมหมวกทุกครั้งเมื่อขับขี่รถ  ขับรถด้วยความระมัดระวัง  ขับรถไม่ประมาท ไม่ซิ่ง  ขับรถไม่เร็วจนเกินไป 5.นักเรียนอยากมีข้อเสนอแนะ ให้หน่วยงานราชการ และคนในตำบลเขาพระบาท ปรับปรุง หรือร่วมลดอุบัติเหตุอย่างไร
    อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎจราจร อยากให้มีการตั้งด่านสกัดจับเมื่อไม่สวมหมวกนิรภัย อยากให้มีการอบรมเพิ่มกว่านี้ อยากให้ทุกหน่วยราชการมาร่วมมือกัน

    6.ถ้าอยาก ลดอุบัติเหตุ หรือ รณรงค์เรื่องอุบัติเหตุจราจรให้ได้ผล ในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท ควรทำอย่างไร ให้มีการตั้งด่านตรวจทุกวัน เมื่อเตือนแล้วไม่ทำตามให้จับจริง
    ให้ทำตามกฎหมายไปเลย

     

    50 50

    29. สารวัตรชุมชนเฝ้าระวังและรณรงค์ลดอุบัติเหตุ ครั้งที่ 1

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการบริหารโครงหารและจิตอาสาพร้อมกับ สภ.การะเกด ตั้งด่านจุดตักเตือนที่กำหนดไว้โดยมีเอกสารพร้อมกับใบเหลืองเตือน ใบเขียวชื่นชมพร้อมกับ ลงชื่อ ชิงรางวัลสวมหมวกป้องกันอุบัติเหตุ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนในชุมชนใส่หมวกกันน็อคมากขึ้น  ไม่ขับรถย้อนศร ป้องกันการเิดอุบัติเหตุ

     

    50 50

    30. สารวัตรชุมชนเฝ้าระวังและรณรงค์ลดอุบัติเหตุ ครั้งที่ 2

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยตำรวจ กลุ่มจิตอาสา กู้ชีพ จำนวน 50 คน เข้าร่วมกิจกรรม จัดตั้งด่าน เพื่อให้ความรุ้แก่ประชาชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เป้าหมายในการจัดกิจกรรมในวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เวลา 10.00 - 17.00 น. โดยจัดตั้งจุดตักเตือนที่สี่แยกปากคลองวัดแดง และบริเวณหน้า รพ.สต.เขาพระบาท 2.กลุ่มเป้าหมาย คือ คณะทำงานตามโครงการ 20 คน ตำรวจ 5 นาย ทีมมูลนิธิอาสากู้ชีพสยามรวมใจ 20 คน เจ้าหน้าที่ รพ.สต.เขาพระบาทและ อบต.เขาพระบาท 5 คน
    หัวหน้าทีมคือ นางอุทุมพร บูชากรณ์  นางกมล บูชากรณ์  นางประคอง ถนนทอง
    หัวหน้าทีมของกู้ชีพ คือ นายสาธิต สมัย    นายสัตถยา ปานแก้ว  นายคมสันต์ ทองชิง 3.กิจกรรมที่ปฏิบัติคือ ใครที่ปฏิบัติดี จะได้ใบเขียว เป็นใบแสดงความชื่นชน ทั้งหมด 83 คน และเขียนบัตรชิงโชค หมวกกันน้อค 10 รางวัล ใบเหลือง เป็นเตือน พร้อมทั้งให้ความรู้ และมอบใบเหลืองให้กับเป้าหมาย 18 ราย

     

    50 50

    31. สารวัตรชุมชนเฝ้าระวังและรณรงค์ลดอุบัติเหตุ ครั้งที่ 3

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการบริหารโครงการและจิตอาสา พร้อมกับ สภ.การะเกดตั้งด่านจุดตักเตือนในเขตพื้นที่ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เป้าหมายในการจัดกิจกรรมในวันที่ 23 กรกฎาคม 2557 เวลา 10.00 - 17.00 น. โดยจัดตั้งจุดตักเตือนที่สี่แยกปากคลองวัดแดง
    2.กลุ่มเป้าหมาย คือ คณะทำงานตามโครงการ 20 คน ตำรวจ 5 นาย ทีมมูลนิธิอาสากู้ชีพสยามรวมใจ 20 คน เจ้าหน้าที่ รพ.สต.เขาพระบาทและ อบต.เขาพระบาท 5 คน
    หัวหน้าทีมคือ นางสาวกมล บูชากรณ์  นางสาวกมลทิพย์ ศรีส่งสุข นางสาวอรอุมา ไขแก้ว  นางจุฑาลักษณ์ สดไธสง
    หัวหน้าทีมของกู้ชีพ คือ นายสมศักดิ์ ปิติสุก นายสัตถยา ปานแก้ว  นายบุญเรือน ด้วงนก 3.กิจกรรมที่ปฏิบัติคือ ใครที่ปฏิบัติดี จะได้ใบเขียว เป็นใบแสดงความชื่นชน ทั้งหมด 56 คน และเขียนบัตรชิงโชค หมวกกันน้อค 5 รางวัล ใบเหลือง เป็นเตือน พร้อมทั้งให้ความรู้ และมอบใบเหลืองให้กับเป้าหมาย 12 ราย จัดตั้งด่านจุดตักเตือนในเขตพื่นที่ชุมชน สีี่แยกปากคลอง พร้อมแจกเอกสาร การขับขี่ปลอดภัยและแจกใบเหลืองตักเตือน ใบเขียวชื่นชมพร้อมลงชื่อเพื่อชิงรางวัลใส่หมวกกันน็อค

     

    50 0

    32. ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ ครั้งที่ 5

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมปรึกษา ระดมความคิด ในการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน โดยมีคณะกรรมการบริหารงานเสนอแนวทางเพื่อลดอุบัติเหตุในเขตพื้นที่ในชุมชน แจกเอกสาร โดยขอความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆในการจัดตั้งจุดตักเตือน จับปรับ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วาระที่ 1 สรุปวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมา กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว
    1.การประชุมคณะกรรมการบริหาร ประชุมไปแล้ว 4 ครั้ง และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 (ครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้) 2.ตอบขอบคุณที่ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ เปิดไฟ ใส่หมวกกันน้อค เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2557 -สภ.การะเกด เอื้ออำนวยความสะดวก และนำขบวน และสารวัตรกล่าวมอบนโยบาย -โรงเรียนวัดแดง เอื้ออำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่จัดกิจกรรม  นำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเปิดการรณรงค์  คุณครูช่วยจัดนิทรรศการ และผู้อำนวยการโรงเรียนวัดแดง กล่าวรายงาน -นายก อบต.เขาพระบาท เอื้ออำนวยการจัดกิจกรรม กล่าวเปิดและปล่อยขบวนรณรงค์  กล่าวนำมอบมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุ
    -อบต.เขาพระบาท  นำทีมงานจาก อบต.เขาพระบาท เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์
    -อสม.ตำบลเขาพระบาท เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ และเต้นแอร์โรบิกเปิดสนาม -ประชาชนบ้านปากคลองวัดแดง เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ -บ้านทองพูน ดอนโรง ไกรไทย นำนิทรรศการมาร่วมเผยแพร่
    -รพ.สต.เขาพระบาท เอื้ออำนวยสถานที่และช่วยบริหารจัดการในกิจกรรมรณรงค์ -กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาพระบาท ให้การสนับสนุนงบประมาณ -ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน ให้ความร่วมมือเข้าร่วมรณรงค์ -สสส. ขอบคุณ อ.พงศ์เทพ ที่มากล่าวมอบนโยบายและพบปะกับประชาชน -สสอ.เชียรใหญ่ กล่าวมอบนโยบายในการลดอุบัติเหตุ -ปลัดอำเภอเชียรใหญ่ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม

    วาระที่ 2 กิจกรรมที่กำลังดำเนินการ
    1.จุดตักเตือน
    เดือนกรกฎาคม 2557 ดำเนินการจัดตั้งด่านตักเตือนในการสวมหมวกกันน้อค จากผลการดำเนินงานพบว่า การตั้งจุดตักเตือนครั้งที่  1 มีผู้ที่ขับรถผ่านไม่สวมหมวกกันน้อค 54 คน  ครั้งที่ 2 จำนวน 19 คน  ครั้งที่ 3 จำนวน 12 คน โดยจัดตั้งจุดสกัดเวลา 14.00 – 17.00 น. กิจกรรมมี ดังนี้ -คนที่ขับรถแล้วสวมหมวก จะได้ใบเขียว เป็นใบชื่นชมความดี และให้เขียนบัตรชิงโชค เพื่อรับรางวัลหมวกกันน้อค ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2557 -คนที่ไม่สวมหมวกกันน้อค จะได้ใบเหลืองตักเตือน เพื่อให้รณรงค์สวมหมวกกันน้อค โดยกำหนดตักเตือน 3 ครั้ง ถ้าเกิน 3 ครั้ง บังคับใช้ตามกฎหมาย  พร้อมแจกแผ่นพับรณรงค์
    2.จากการสุ่มนับคนที่สวมหมวกกันน้อค หลังจากมีการรรณรงค์ มีผู้สวมหมวกกกันน้อค เพิ่มขึ้น จากเดิมร้อยละ 18 เดือนมิถุนายน 57 เพิ่มเป็นร้อยละ 32 และจะสุ่มนับอีกครั้งในเดือนนี้

    วาระที่ 3 การสรุปโครงการ วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 จะปิดโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงของ นครศรีฯ โดยให้ทุกคนร่วมกันพูดคุยถอดบทเรียน ในวันที่ 25 – 26 กรกฎาคม 2557 ให้เรียบร้อย หัวข้อในการพูดคุย ประกอบด้วย -ทำไมต้องทำโครงการนี้ -มุ่งอะไรจากโครงการนี้
    -โครงการนี้ทำแล้วได้อะไรบ้าง  (กลุ่มคน  สภาพแวดล้อม  กลไก) -โครงการนี้ใครมาช่วยบ้าง -โครงการนี้แบ่งหน้าที่กันอย่างไร -โครงการเกิดผลลัพธ์อะไรบ้าง
    -อะไรที่เกิดขึ้นเกินความคาดหวัง -อะไรที่เกิดขึ้นแล้วเป็นสิ่งดี
    -อะไรที่เกิดขึ้นแล้วต้องปรับปรุงต่อ -อะไรที่ไม่ควรทำ
    -บทเรียน/ ข้อคิดที่ได้รับจากโครงการนี้
    -จะต่อยอดอย่างไรจากโครงการนี้

     

    55 55

    33. พี่เลี้ยงนครศรีฯ ประชุมชี้แจงการทำรายงานและทำรายงาน

    วันที่ 25 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยง นครศรีฯ  พร้อมพี่เลี้ยงโครงการ ร่วมกันสรุปแนวทางการประเมินโครงการและปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ทีมงานร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าตามโครงการ 2.ตรวจการบันทึกข้อมูลออนไลน์ตามโปรแกรม 3.จัดทำสรุปรายงน ส.1 ส.2 และส.3 พร้อมทั้ง ส่ง ส.4
    ึค่าใช้จ่ายมี 2 รายการคือ ค่าจัดทำรายงาน 2000 บาท ค่าเปิดสมุดบัญชี 300 บาท รวมเป็นเงิน 2300 บาท

     

    5 5

    34. ถอดบทเรียนการพัฒนาโครงการ

    วันที่ 25 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม เข้าร่วมถอดบทเรียนผลการดำเนินงานตามโครงการที่ผ่านมา ระยะเวลา 1 ปี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถอดบทเรียนโดยพี่เลี้ยงพูดคุยว่าผลการดำเนินงานแต่ละครั้งของโครงการเป็นอย่างไรบ้างและสรุปผล และคุยเรื่องการต่อยอดโครงการต่อไป.   ฝ่ายตำรวจมาคุยผลของการตั้งด่านตรวจ มาสรุปว่า 3 วันที่ตั้งด่านตรวจมีปัญหาการสื่อสารนิดหน่อยแต่ผลของการดำเนินการไปได้ด้วยดี   ครูพี่เลี้ยงมาพูดผลผลของการตั้งด่านตรวจก็มีผลกระทบบ้าง คือ โดนประชาชนว่า แม่ค้าที่สามแยกบ่นว่าขายของไม่ได้ ไม่ชอบกับการใช้หมวกกันน็อก และขอบคุณ สภ.การะเกด ร.ร. วัดแดง นายกอบต.เขาพระบาท อบต.เขาพระบาท อสม.เขาพระบาท ประชาชน ต.เขาพระบาท บ้านทองพูน ไกรไทย ที่ให้ความร่วมมือในการรณรงค์ลดอุบัติเหตุ   ผลของการคาดหวังในโครงการต่อยอดจะมีการตั้งด่านตรวจเพื่อลดอุบัติเหตุเพิ่ม และมีจุดตักเตือนเพิ่มขึ้น
      การตั้งด่านตรวจ 3 วัน มีการลงทะเบียนรายชื่อใส่หมวกกันน็อกจะได้ใบเขียว คือใบชื่นชมความดีและเขียนบัตรส่งชิงโชค เพื่อรับรางวัล หมวกกันน็อกในวันที่ 25 ก.ค. 57 โดยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นคนจับรางวัลชิงโชค   ทางด้านสารวัตรสรุปผลการดำเนินงาน ลดอุบัติเหตุ ในช่วงแรก รณรงค์แจกหมวกกันน็อก แต่ก็ยังไม่พอในโครงการ เลยเป็นการตรวจจับหมวกกันน็อก ค่าปรับ 300 และอบรมเรื่องอุบัติเหตุในสถานศึกษาแต่ผลออกมาไม่ดี จนมีโครงการของ สสส. ทำให้ลดการเกิดอุบัติเหตุ โครงการจะทำให้คนปลูกจิตสำนึกในการใส่หมวกกันน็อกมากขึ้น. แต่ถ้าผลตอบรับยังไม่ดีขึ้นก็จะต้องใช้ มาตรการ ปรับ ตั้งแต่ 20- ข้อกำหนดสูงสุด เพื่อจะให้ใส่หมวกกันน็อกมากขึ้น ถ้าสามารถทำให้ดีขึ้นจะเอาไปใช้ในเขตพื้นที่การะเกดต่อไป 1ส.ค. นี้ จะมีการเสวนา กับ ผู้นำชุมชนคุยกันเรื่องดีๆในชุมชนเขาพระบาท สรุปโครงการ (มุ่งอะไรจากโครงการนี้) ทำให้ชุมชนรู้จักการใช้หมวกกันน็อกมากขึ้น ภูมิใจที่ลุกหลานหันมาใส่หมวกกันน็อกกันมากขึ้น ปลูกฝังให้ลูกหลานหันมาใส่หมวกกันน็อกกันมากขึ้น ประชาชนมีสุขภาที่ดีขึ้น ทุกคนหันมาดูแลสุขภาพกันมาขึ้น

     

    150 150

    35. มอบรางวัลคนต้นแบบในการสวมหมวกกันน้อค

    วันที่ 25 กรกฎาคม 2557 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จับรางวัลแก่คนที่เป็นต้นบบแที่ดีในชุมชน 2.มอบรางวัล คนที่ได้ใบเขียว (คนต้นบบ) โดยหยิบสลากรายชื่อในกล่องชิงโชค 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับรางวัล 5 รางวัลในวันนี้คือ
    คนที่ 1 นายเจริญ ไขแก้ว เลขที่ 271 หมู่ที่ 6 ต.เขาพระบาท โทร 084-0571516 คนที่ 2 นายจีรพจน์ ทองใสพร เลขทคี่ 22 หมู่ที่ 7 ต.เขาพระบาท โทร 082-4146755 คนที่ 3 นายสมใจ บุญแก้ว เลขที่ 228 หมู่ที่ 6 ต.เขาพระบาท โทร 085-8856447 คนที่ 4 นายสาย กรรมแต่ง เลขที่ 119 หมู่ที่ 6 ต.เขาพระบาท
    คนที่ 5 นยอำนาจ ชูเงิน เลขที่ 2/3 หมู่ที่ 6 ต.เขาพระบาท โทร 086-6872607

    ได้เชิญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาท มอบ 1 รางวัล คณะทำงาน มอบ 2 รางวัล
    สำหรับอีก 2 รางวัล แจ้งความประสงค์รับรางวัลในวันถัดไป

     

    10 10

    36. พี่เลี้ยง สจรส.มอ. พี่เลี้ยงนครศรีฯและพี่เลี้ยงโครงการสรุปรายงานและปิดงวดโครงการ

    วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยง สจรส.มอ.และพี่เลี้ยง นครศรีฯ  พร้อมพี่เลี้ยงโครงการ ร่วมกันสรุปแนวทางการประเมินโครงการและปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พี่เลี้ยง สจรส.มอ.และพี่เลี้ยง นครศรีฯ  พร้อมพี่เลี้ยงโครงการ ร่วมกันสรุปแนวทางการประเมินโครงการและปิดโครงการ

     

    5 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดอุบัติเหตุของชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง
    ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมลดอุบัติเหตุในชุมชน ทุกครั้ง ร้อยละ 85 2.สถานที่ราชการมีป้ายเตือนและป้ายรณรงค์ลดอุบัติเหตุในชุมชน ร้อยละ 100 3.มีกติกาชุมชนในการลดอุบัติเหตุ 1 เรื่อง

    1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ร้อยละ 95.71

    2.สถานที่ราชการมีป้ายเตือนและรณรงค์ลดอุบัติเหตุ ร้อยละ 100

    3.มีกติกาชุมชน  1 เรื่อง จำนวน 3 ข้อ ดังนี้ (1.พวกเราทุกคนจะสวมหมวกกันน้อคทุกครั้งที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์  2.พวกเราทุกคนจะปฏิบัติตาม กฎระเบียบจราจร อย่างเคร่งครัด 3.พวกเราทุกคนจะตักเตือนบุตรหลานไม่ขับรถซ่ิ่ิง ไม่ขับรถย้อนศร)

    2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายจราจร
    ตัวชี้วัด : 1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และปฏิบัติตามกฎจราจร ไม่ขับรถย้อนศร ร้อยละ 100 2. ประชาชนขับขี่มอเตอร์ไซด์ในพื้นที่บ้านปากคลองวัดแดงใส่หมวกกันนิรภัยทั้งคนขับและคนซ้อนท้าย ร้อยละ 100

    1.ประชาชนมีความรู้ตามกฎหมายจราจร ร้อยละ 100

    2.ประชาชนขับขี่มอเตอร์ไซด์ทั้งคนซ้อน คนขับ ร้อยละ 92

    3 เพื่อปรับปรุงและแก้ปัญหาจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1.ชุมชนร่วมกันปรับปรุงบริเวณจุดเสี่ยงและมีป้ายเตือนภัย ร้อยละ 100 2.อัตราการเกิดอุบัติเหตุน้อยลง จากเดิมเฉลี่ยวันละ 1 คน เหลือไม่เกิน 3 คนต่อสัปดาห์

    1.ชุมชนร่วมกันปรับปรุงจุดเสี่ยง ร้อยละ 100

    2.อัตราการเกิดอุบัติเหตุน้อยลง เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 คน

    4 เพื่อสนับสนุนการบริหารและการดำเนินงานโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. คณะทำงานโครงการเข้าร่วมการประชุมที่สสส./สจรส.ม.อ.จัดขึ้น 2. มีรายงานความก้าวหน้า และรายงานฉบับสมบูรณ์จัดส่งสสส. 3. มีการถ่ายภาพทุกกิจกรรมตลอดระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ และติดตั้งป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ในสถานที่จัดกิจกรรม

    1.คณะทำงานโครงการเข้าร่วมการประชุมที่สสส./สจรส.ม.อ.จัดขึ้น 3 ครั้ง และเข้าร่วมครบทุกครั้ง
    2.จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ส่ง สสส.จำนวน 1 ชุด พร้อมภาพถ่าย
    3.มีการถ่ายภาพทำกิจกรรม แต่ไม่ได้ถ่ายภาพตอนประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1และ 2  และติดตั้งป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ในสถานที่จัดกิจกรรม ทุกครั้ง

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดอุบัติเหตุของชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง (2) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายจราจร (3) เพื่อปรับปรุงและแก้ปัญหาจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในชุมชน (4) เพื่อสนับสนุนการบริหารและการดำเนินงานโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ

    รหัสโครงการ 56-01497 รหัสสัญญา 56-00-0934 ระยะเวลาโครงการ 1 กันยายน 2556 - 30 กันยายน 2557

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    1.ประชาชนได้เรียนรู้กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร การตัดสินทางกฎหมายถูุกผิด เมื่อขับขี่แล้วเกิดอุบัติเหตุ 2.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ พรบ.ตามกฎหมาย โดยบริษัทกลางมาช่วยสอน 3.ได้ต่อทะเบียนรถทุกชนิด

    1.บันทึกการประชุม 2.ภาพถ่ายกิจกรรม

    ต่อยอดฐานเรียนรุ้ชุมชนด้านกฎหมายจราจร

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    1.จัดทำป้ายเตือนจุดเสี่ยงจุดอันตราย 2.จัดโซนติดป้ายโฆษณา เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
    3.รณรงค์เปิดไฟหน้าบ้าน เพื่อส่องสว่างในชุมชน
    4.จัดโซนจอดรถที่จอดบริเวณริมถนน
    5.มีสารวัตรชุมชน ช่วยเหลือผู้ที่ข้ามถนน

    1.ภาพถ่ายกิจกรรม 2.บันทึกการประชุมคณะกรรมการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เดิมไ่มีมีทีมทำงาน มีบางครังที่ตำรวจมาตั้งจุดตักเตือน ปัจจุบัน มีภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมทำงานจากทุกภาคส่วนราชการในพื้นที่ และมีการจัดประชุมบ่อยขึั้น

    ประกาศแต่งตั้งคณะทำงานของคณะกรรมการบริหารโครงการ ออกโดยองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท ณ วันที่ 25 มกราคม 2557 ลงนามโดยนางฉวีวรรณ แก้วเขียว (นาก อบต.เขาพระบาท)

    ต่อยอดเป็นสภาชุมชนลดอุบัติเหตุ และศุนย์ลดอุบัติเหตุชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    1.มีการจัดประชุมต่อเนื่องโดยเลขาโครงการเป้นผู้ประสานงาน 2.นายก อบต.เขาพระบาท เป็นประธานในการจัดประชุม 3.มอบหมายหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน 4.มีการแต่งตั้งคณะการทำงานและประกาศแต่งตั้งคณะทำงาน

    1.คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน 2.บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    1.เกิดโครงสร้างการทำงานแบบภาคีเครือข่าย มาร่วมทำงานแบบสมานฉันท์และเป็นหนึ่งเดียว ประกอบด้วย -อบต.เขาพระบาท -สถานีตำรวจการะเกด -โรงเรียนวัดแดง -รพสต.เขาพระบาท -กลุ่มกู้ชีพ -กลุ่มผู้นำ -กลุ่ม อสม -ตัวแทนชุมชน

    1.โครงสร้างการทำงาน 2.ทะเบียนสมาชิกกลุ่ม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    1.เกิดห้องเรียนชุมชน ที่นักเรียนสามารถเข้าไปเรียนรุ้ได้โดยตรง เช่น ห้องฉุกเฉิน รพ.สต.เขาพระบาท  หรือภาพการทำงานของกู้ชีพชุมชน

    1.บันทึกการเก็บผลงาน 2.ภาพถ่ายกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    1.ประชาชนทุกคนได้รับความรู้เกี่ยวกับการลดอุบัติเหตุในชุมชนโดยตำรวจ 2.มีการรณรงค์ให้สวมหมวกกันน้อค ทุกคน ที่ขับขี่ในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท 3.มีการติดสติกเกอร์ รณรงค์ที่รถหรือที่หมวกกันน้อค

    1.ภาพถ่ายการทำกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    1.มีการรณรงค์ลด ละ สุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในขณะขับขี่รถทุกชนิด โดยการจัดทำเป็นแผ่นพับ แจกตามบ้านเรื่อน เพื่อสร้างกระแสและปลูกจิตสำนึก 2.หน่วยงานรัฐ มีป้ายไวนิลรณรงค์ร่วมด้วย

    1.แผ่นภาพพลิก สำหรับรณรงค์ 2.ไวนิลรณรงค์

    พัฒนาต่อยอดเป็นข้อบัญญัติชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    1.มีการทำป้ายไวนิล รณรงค์ขับขี่รถไม่ประมาท ใส่หมวกนิรภัย ไว้บริเวณทางแยกและจุดที่เป็นจุดเสี่ยง

    1.ป้ายไวนิล 2.ภาพถ่าย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    1.มีการรณรงค์ให้ใช้สติ ไม่ฉุนเฉียว ไม่ใช้อารมณ์ในการขับขี่รถ 2.ไม่เปิดเพลงเสียงดังรบกวนประชาชน

    1.บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    มีการจัดทำประชาคม และร่างเป็นข้อกำหนดของหมู่บ้าน 1.ทุกคนที่ขับขี่ทั้งคนซ้อนและคนขับ ต้องสวมหมวกนิรภัย ถ้าโดนจับปรับครั้งละ 500บาท โดยมีการเตือน 3 ครั้ง 2.ทุกหน่วยงานราชการ ติดป้ายเตือนและห้ามเข้าสถานที่ราชการ ถ้าไม่ใส่หมวกกันน้อค

    1.ป้ายประกาศ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    นายก อบต.เขาพระบาท ได้รับข้อเสนอจากเวทีประชาคม ทำให้เกิดมีการปรับสภาพถนน ถมดินที่เป็นหลุมเป็นบ่อ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่

    1.บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    ชุมชนร่วมกันหาช่องทางให้ประชาชนได้เรียนรู้และลดอุบัติเหตุโดย 1.จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการลดอุบัติเหตุในชุมชน 2.จัดกิจกรรมเคาะประตูบ้านเพื่อรณณงค์ลดอุบัติเหตุ 3.รณรงค์สวมหมวกกันน้อค
    4.จัดกิจกรรมถางป่าริมถนน เพื่อให้ริมถนนสะอาด ไม่รก 5.ร่วมสำรวจเส้นทางความเสี่ยง ในการใช้ถนนจราจร 6.จัดทำป้ายเตือนจุดเสี่ยงจุดอันตราย 7.จัดโซนติดป้ายโฆษณา เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
    8.รณรงค์เปิดไฟหน้าบ้าน เพื่อส่องสว่างในชุมชน
    9.มีสารวัตรชุมชน ช่วยเหลือผู้ที่ข้ามถนน 10.ชุมชนมีการประชุมและหามาตรการป้องกันลดอุบัติเหตุ

    1.บันทึกการประชุม 2.ภาพถ่ายการณรงค์

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    1.ลดค่าใช้จ่ายครัวเรือนได้ เพราะเดิมอัตราการเกิดอุบัติเหตุน้อยลง จากเดิมเฉลี่ยวันละ 1 คน ปัจจุบันเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 คน

    1.บันทึกการเกิดเหตุในชุมชน 2.บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    1.มีรถฉุกเฉินชุมชน ไว้คอยบริการผู้ที่เกิดเหตุอุบัติเหตุในชุมชน เป็นรถที่เกิดจากความสมัุครใจ

    1.ภาพถ่ายการปฏิบััติงาน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    1.ใบเตือนเขียว เหลือง แดง เป็นใบเตือนในกรณที่ทำผิดกฎจราจร ซึ่งมีความหมายดังนี้ 1.1 ใบเขียว เป็นคำชมสำหรับคนที่ประพฤติดี และให้เขียนสลากรายชื่อเพื่อจับรางวัลคนดี
    2.ใบเหลือง เป็นใบเตือนในกรณีที่ทำผิดกฎจราจร ถ้าทำผิด 3 ครั้ง จะกลายเป็นใบแดง 3.ใบแดง เป็นใบที่บังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากทำผิดกฏจราจร 3 ครั้ง ต้องไปเสียค่าปรับตามกฎหมาย

    1.บันทึกการประชุม 2.ภาพถ่ายการแจกใบเขียว ใบเหลือง

    พัฒนาเป็นข้อบัญญัติชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    นายก อบต.เขาพระบาท ได้นำประชาชน ร่วมกันประกาศเจตนารมย์ และมาตราการในการลดอุบัติเหตุชุมชนตำบลเขาพระบาท 4 ข้อ คือ
    (1)พวกเราทุกคนจะสวมหมวกกันน้อค เปิดไฟทุกครั้งที่ขับขี่
    (2)พวกเราทุกคนจะปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด
    (3)พวกเราทุกคนจะตักเตือนบุตรหลานไม่ขับรถซิ่ง ไม่ย้อนศร
    (4)พวกเราจะร่วมสร้างตำบลเขาพระบาทให้น่าอยู่

    1.บันทึกการประชุม 2.ไวนิลการรณรงค์

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมทำงานดังนี้ 1.เป็นการทำงานแบบภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ออกคำสั่งแต่งตั้งในลักษณะประกาศ โดยครั้งแรกออกในนามของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียรใหญ่ และครั้งต่อมาแต่งตั้งโดยนายอำเภอเชียรใหญ่  โดยมีนายก อบต.เขาพระบาท เป็นประธาน  มีสวป.สภ.การะเกด เป็นรองประธาน และ ผอ.โรงเรียน เป็นรองประธาน 2.ทีมข้าราชการในพื้นที่ แกนนำชุมชน เป็นคณะทำงาน 3.กำหนดให้มีการประชุม ทุก          1 - 2 เดือน และมีการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงาน

    1.คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    1.ทีมงานได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาและวิธีพัฒนาชุมชนร่วมกันทั้งภาครัฐและประุชาชน โดยการกำหนดแนวทางพัฒนา ใช้หลักการคือความสมัครใจ
    2.การวางแผน โดยการเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน และรับฟังทุกความคิด 3.การปฏิบัติการคือ ทุกคนต้องร่วมกันทำข้อมูล การทำอะไรต้องเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ไว้ การใช้จ่ายเงินต้องเคลียร์ โปร่งใส และชัดเจน 4.การประเมินผล ต้องมีการประเมินทั้งคนในชุมชนเองเพื่อดูการเปลี่ยนแปลง และเชิญคนภายนอกชุมชนร่วมประเมินเพื่อยืนยัน

    1.บันทึกการประชุม 2บันทึกแบ่งหน้าที่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    1.ด้านวิชาการ ได้เชิญ ตำรวจสถานีตำรวจการะเกดมาให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้รถ ใช้ถนน และกฎจราจร
    2.ด้าน พรบ.ได้เชิญบริษัทกลางมาให้ความรู้ 3.ด้านลดอุบัติเหตุ เชิญ เจ้าหน้าที่ รพสต.มาให้ความรู้ 4.ด้านการมอบนโยบาย เชิญ นายก อบต.เขาพระบาท มาให้แนวคิด และผลักดันเข้าสู่สภา

    1.บันทึกการทำกิจกรรม 2.ภาพถ่ายดำเนินงาน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    1.มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการซึ่งเป็นภาคีภายนอกและภายในพื้นที่ มีการมอบหมายหน้าที่ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดเวลา

    บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    1.มีการบันทึกการประชุม
    2.มีการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือแนวทางปฏิบัติทีเ่กิดจากชุมชน
    3.มีการพูดคุยสอบถามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม

    บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    1.คณะทำงานโครงการ ได้เรียนรุ้วิธีการประสานงาน การแต่งตั้งคณะทำงานจากองค์กรภายนอกร่วมกัน 2.คณะทำงานเรียนรู้วิธีการวิเคราะห์ปัญหา และการสร้างแนวทางแก้ปัญหา

    1.ภาพถ่ายกิจกรรม 2.บันทึกการเข้าร่วมประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    จากการดำเนินงาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ 1)สภาพแวดล้อมเปลี่ยนบริเวณหน้าบ้านถนนโล่ง ไม่มีขยะ
    2) สิ่งก่อสร้างที่กีดขวาง เช่น ร้านค้าริมถนน ก็ถูกจัดระเบียบ ไม่ให้ชิดถนนมากเกินไป
    3) มีการติดแผ่นป้ายไวนิล อย่างเป็นระเบียบ ไม่เกะเกะ
    4) การขับรถย้อนศร น้อยลง
    5)อุบัติเหตุลดลง
    6) มีป้ายเตือน ป้ายรณรงค์ ติดไว้ตลอดเวลา เป็นการเตือนสติ
    7) มีการสร้างจิตสำนึกตลอดเวลา
    8) ประชาชนเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนวิธีปฏิบัติ จากเดิมเคยต่อต้าน ปัจจุบันเข้าร่วมกิจกรรม
    9)ทุกคนได้มีส่วนร่วม
    10)กิจกรรมนี้เป็นอานิสงค์ทำให้มีการสวมหมวกทั้งตำบล
    11)คนยอมรับมากขึ้น

    1.จากไวนิลป้ายรณรงค์ 2.ภาพถ่ายการร่วมกิจกรรม 3.บันทึกสรุปถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    1.ทีมงาน ประกอบด้วย หน่วยงานของรัฐ สอบต. กลุ่มอสม.และทีมงาน ร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียว  ทำงานด้วยความเสียสละ ไม่มีค่าตอบแทน แต่ทุกคนมีจุดหมายเดียวกันคือ ทำเพื่อพี่น้องประชาชนให้มีความสุข บนพื้นฐานความพอเพียง

    บันทึกถอดบทเเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    1.ชุมชนได้ประสานงานกับบริษัทกลาง เพื่อขอซื้อหมวกกันน้อค มาจำหน่ายให้กับประชาชนในราคาครึ่งราคา ใบละ  100 บาท
    2.งบดำเนินงานในการจัดซื้อ ขอยืมมาจากชมรม อสม.ตำบลเขาพระบาท ซึ่งเป็นงบสวัสดิการ 3.เปิดจำหน่ายให้กับประชาชน โดยตั้งราคาดังนี้ สำหรับคณะกรรมการผู้ร่วมโครงการและ อสม.ใบละ 100 บาท  สำหรับประชาชนทั่วไปใบละ 150 บาท

    1.ภาพถ่ายกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    1.แกนนำและประชาชนมีการระดมความคิดในเวทีประชาคมและถอดบทเรียน โดยทุกคนมีสิทธิ์ออกความคิดเห็นและเคารพสิทธิระหว่างบุคคล 2.มีการนำทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในการพัฒนา ได้แก่ ประสานหน่วยงานรัฐมาร่วมทำงาน ประสานกู้ชีพชุมชนมาร่วมทำงาน เพื่อให้ประชาชนอุ่นใจ ปลอดภัยมากขึั้น

    1.บันทึกการประชุม 2.หน่วยกู้ชีพ 3.คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 56-01497

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางศรีวิไล ทองใสพร )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด