directions_run

สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 คนในชุมชนต้องรับรู้ เห็นความสำคัญ ตระหนัก และมีส่วนรวมต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน และการดูแลเด็กและเยาวชนของชุมชน
ตัวชี้วัด : ชุมชนต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการต่อไปนี้ 1. ชุมชนต้องร่วมสร้างและพัฒนาสภาผู้นำจากตัวแทนกลุ่ม องค์กรต่างในชุมชนจากคนทุกกลุ่มอายุคือ ปราชญ์ชุมชน/ผู้สูงอายุ 5 คน ผู้แทนกลุ่มองค์กรในชุมชน 5 คน ผู้แทนจากคณะกรรมการหมู่บ้าน 5 คน เด็กและเยาวชน 10 คน รวม 25 คนและคณะทำงาน 5 คน รวม 30 คนเป็นสภาผู้นำขับเคลื่อนโครงการ และสร้างความเข้าใจกระบวนการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ 2. พัฒนาศักยภาพกสภาผู้นำ ด้วยการเรียนรู้ดูงาน จากพื้นที่สำเร็จ 1 ครั้ง และการศึกษาเรียนรู้ในชุมชน 3. สภาผู้นำร่วมวิเคราะห์ วางแผน ดำเนินการ ติดตาม และประเมินผลในทุกกิจกรรมของโครงการ 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านสื่อทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง ผ่านหอกระจายข่าว 5ครั้ง ผ่านป้ายประชาสัมธ์ 2ป้าย ที่ประชุมหมู่บ้าน 1ครั้ง สร้างแนวร่วมดำเนินงานตามโครงการทุกครัวเรือน 5. สภาผู้นำจัดเวทีสร้างความเข้าใจกระบวนการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการต่อประชาชนทุกครัวเรือน

 

 

สภาผู้นำขับเคลื่อนงานแนวร่วม กลุ่มเด็กและเยาวชนผู้แทนกรรมการหมู่บ้าน ประชาชนที่ให้ความสนใจร่งวมกิจกรรมโครงการอย่างดียิ่ง พร้อมกับภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกชุมชน จนบรรลุผลตามตัวชี้วัด

2 มีกระบวนหนุนเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะ Learning by Doing (ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อของชุมชน)
ตัวชี้วัด : 1. จัดเวทีการเรียนรู้ภูมินิเวศน์ชุมชน ให้สภาผู้นำ และเยาวชนในชุมชน 20 คน รวม 50 คน ใช้เวลา ครึ่งวัน 2. สนับสนุนสภาผู้นำหลักและเยาวชน ให้สำรวจพื้นที่เสี่ยง สำรวจภูมินิเวศน์ และเฝ้าระวัง ลำธาร สายน้ำ ต้นไม้ ที่ต้องจัดการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม 2 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน 3. สนับสนุนสภาผู้นำ นักเรียน และเยาวชนในชุมชนและผู้แทนครัวเรือน 100 คน ร่วม พิธีบวชป่า ป้องกันการตัดต้นไม้ริมห้วย ริมธาร 1 ครั้ง/1วัน 4. สนับสนุนสภาผู้นำ นักเรียน เยาวชน และสมาชิกกลุ่ม 100คน จัดทำฝายชลอน้ำ 8จุด 5. สนับสนุนการเรียนรู้กระบวนการจัดการขยะครัวเรือน และขยะชุมชน 1 ครั้ง 6. สนับสนุนการทำประชาคมสร้างมาตรการทางสังคม 1 ครั้ง 100 คน 7. สนับสนุนให้เด็กแและเยาวชนเรียนรู้และทำสื่อท้องถิ่น สื่อสาธารณะ วีดีอาร์ 10 คน 8. สนับสนุนให้สภาผู้นำ เด็กและเยาวชนร่วมพัฒนาความสะอาดถนนในหมู่บ้าน 2ครั้ง 9. จัดตั้งกลุ่มคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพบ้านทุ่งยาว เพื่อฟื้นฟู แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน

 

 

คณะทำงานได้สนับสนุนให้ชุมชนได้เรียนรุ็กระบวนการ และทำกิจกรรมตามกระบวนการนั้นจนครบถ้วน ภายใต้ความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดียิ่ง และได้ประสานงานกับภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมาเป็นแนวร่วมสนับสนุนกระบวนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งยังได้จัดตั้งกองทุน ระดมทุนจากชุมชนไว้สำหรับการดำเนินงานของกลุ่มคนรักษ์สิ่งแวดล้อม และยึดแนวทางตามมติประชาคมที่ได้วางกฏระเบียบการดูแลสิ่งแวดล้อมห้วยสังแก และได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกันแล้ว

3 3. สภาผู้นำและกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมเป้็นกลไกหลักในการแหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน และ เฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนาเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด
ตัวชี้วัด : สภาผู้นำ 30 คน กลไก 30 คนสมาชิกโครงการ 50 คน เยาวชน 20คน ผู้นำชุมชน 4 คน สมาชิกเทศบาลในพื้นที่ 3 คน ผู้บริหารท้องถิ่น ครู นักเรีบน43คน รวม 150 คน

 

 

กลไกที่เกิดจากกระบวนงานตามโครงการ ได้ประสานงานกับภาคีมาร่วมกิจกรรมจนบรรลุวัตถุประสงคืและตัวชี้วัด

4 เพื่อการประเมินผลโครงการและการบริหารจัดการโครงการ
ตัวชี้วัด : เข้าร่วมประชุมรับฟังคำชี้แจงในการเข้าร่วมโครงการกับ สสส. และ สจรส.จำนวน4ครั้ง

 

 

หัวหน้าโครงการ/และผู้รับผิดชอบโครงการ/การเงิน/บัญชี สามารถนำความรู้จากการที่ได้เข้าร่วมประชุมรับฟังคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ สจรส/พี่เลี้ยงในพื้นที่เอาไปปรับใช้ในการลงเวปไซด์/บันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรมตลอดจนถึงการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนสามารถตรวจได้อย่างง่ายและรวดเร็ว รวมถึงเป็นการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพแก่ผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย