task_alt

สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว

ชุมชน หมู่ที่11 ตำบลโคกม่วง บ้านทุ่งยาวทั้งหมู่บ้าน

รหัสโครงการ 57-01414 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0957

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2557 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เรียนรู้ในเรื่องการดำเนินโครงการ

วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 08:30-15.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อการประเมินผลโครงการและการบริหารจัดการโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เพื่อให้ผู้รับผิดโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รับฟังคำชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการทำโครงการ/การทำบัญชี/การทำหลักฐานทางการเงิน/การเขียนรายงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ให้ความรู้กับผู้รับผิดชอบโครงการในเรื่องการรายงานของผู้รับผิดชอบโครงการ/ทำความเข้าใจกับการบันทึกหลักฐานการรับ-จ่ายเงินของเหรัญญิกโครงการ/ตลอดถึงขั้นตอนวิธีการการขอรับเบิกเงินโครงการในแต่ละงวด

 

2 4

2. ประชุมสภาผู้นำ จำนวน 30 คน คนเพื่อทำความเข้าใจโครงการและแบ่งบทบาทหน้าที่

วันที่ 22 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 -15.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คนในชุมชนต้องรับรู้ เห็นความสำคัญ ตระหนัก และมีส่วนรวมต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน และการดูแลเด็กและเยาวชนของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และกิจกรรมของโครงการ ที่ต้องดำเนินการ และสื่อสารให้แกนนำที่จะดำเนินโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  นั้นสามารถมองเห็นภาพกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงภาพความสำเร็จของโครงการ และได้คัดเลือกคณะกรรมการของโครงการดังนี้ 1นายมนูญ  สุขรัตน์ หัวหน้าโครงการ 2นายสมมิตร  ปานเพชร ผู้รับผิดชอบโครงการ 3นายสุธรรม  ประเสริฐ  เหรัญญิกโครงการ 4นายวิทยา  ชาตรี  กรรมการ 5นายจำลอง  เหตุทอง กรรมการ 6นายณรงค์  ปิ่่นมณี  กรรมการ 7นายพันธ์  นุ่นด้วง  กรรมการ 8นางวรรดี  นิ้มนุ้ย    กรรมการ 9นายเสริม  ทองขาว  กรรมการ 10นายสมชาย  เรืองพุทธ กรรมการ 11นายเอียด  ขาวสุด  กรรมการ 12นายจริเดช ศิริมณีกุล  กรรมการ 13นางสุณีย์  สุขรัตน์  เลขานุการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1 ประชุมสภาผู้นำ จำนวน 30 คนเพื่อทำความเข้าใจโครงการและแบ่งบทบาทหน้าที่

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดหาแกนนำในชุมชน กลุ่มต่างๆ ปราชญ์หรือผู้มีองค์ความรู้ องค์กรภาคีในชุมชน กำหนดวัน เวลา สถานที่ จัดทำเอกสารแจกผู้เข้าร่วมประชุม ทำความเข้าใจในตัวกิจกรรมต่างๆ ตลอดถึงมอบหมายหน้าที่แต่ละลุ่มเป้าหมายเตรียมตัวทำกิจกรรมต่อไป

 

30 39

3. ทำป้ายรณรงค์

วันที่ 22 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อการประเมินผลโครงการและการบริหารจัดการโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชาชนได้ตระหนักในพิษภัยของบุหรี่และการลดละเลิกบุหรี่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดป้ายเขตปลอดบุหรี่ในพื้นที่ดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ทำป้ายขนาด 49x130 เซ็นติเมตรจำนวน 2 ป้าย เพื่อเป็นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักพิษภัยของบุหรี่

 

0 0

4. ประชุมทำความเข้าใจโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการดำเนินงานโครงการกับคนในชุมชน จำนวน 217 คน

วันที่ 14 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คนในชุมชนต้องรับรู้ เห็นความสำคัญ ตระหนัก และมีส่วนรวมต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน และการดูแลเด็กและเยาวชนของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชาชนและผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดของโครงการและสร้างจิตสำนึกในการที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน และเกิดความรักสามัคคีขึ้นในชุมชน โดยจะเห็นได้จากการที่ทุกกลุ่มเป้าหมายในโครงการเข้าร่วมทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นจำนวนมากพอสมควร จึงมองได้ว่าในการทำกิจกรรมครั้งต่อไปจะมีผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างแน่นอนไ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมทำความเข้าใจโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการดำเนินงานโครงการกับคนในชุมชน จำนวน 217 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจถึงรายละเอียดของโครงการ และชี้แจงกระบวนการ วิธีการ การดำเนินโครงการและที่มาของงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส) ตลอดถึงการกระตุ้นให้ประชาชนให้มีความตระหนักในการมีส่วนร่วม ระวังป้องกัน พัฒนาฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม และการมีหน้าที่ที่จะรักษา ป้องกัน เฝ้าระวัง พัฒนาเหมือนกันทุกคน โดยมี ผู้ใหญ่บ้าน นักวิชาการชำนาญการสาธารณะสุขเทศบาลตำบลโคกม่วง และพี่เลี้ยงในพื้นที่(สมนึก  นุ่นด้วง) เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ในครั้งนี้

 

217 224

5. เรียนรู้ดูงานการจัดการสิ่งแวดล้อมเกษตรวิถีพุทธ(การจัดการป่ายางโดยระบบธรรมชาติ) การทำฝายชลอน้ำ และการจัดการธนาคารนำ้บ้านในโปะ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

วันที่ 20 กรกฎาคม 2557 เวลา 08:30 - 16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คนในชุมชนต้องรับรู้ เห็นความสำคัญ ตระหนัก และมีส่วนรวมต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน และการดูแลเด็กและเยาวชนของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำและสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ในการนำปรัชญาเศรษฐกิจไปปรับใช้ในดำรงค์ชีวิตประจำวันเกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียนกับสิ่งที่พบเห็นตลอดถึงเกิดการตระหนักในการที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการ คน ป่า น้ำ ให้อยู่ในความพอดีกับการดำรงค์ชีพ และเกิดการเรียนรู้ในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่แวดล้อมในการปลูกป่าร่วมยางหรือปลูกยางร่วมกับป่า

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ได้เรียนรู้และเข้าใจหลักคิด วิธีการ แผนงาน กระบวนการ การทำฝายแม้ว(ธนาคารน้ำ) ดูงานการจัดการป่าชุมชน การทำเกษตรวิถีพุทธ

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 น.สภาแกนนำและผู้สนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมออกเดินทางถึงศูนย์เรียนรู้ฯ เวลา10.00 น.โดยมีอาจารย์ คนึง  สหัสสธารา เป็นวิทยากรในเรื่องการดำชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การปลูกผักกินเอง การนำสิ่งเหลือใช้นำมาประยุกต์ใช้ใหม่ และมี นาย สมเกียรติ  บัญชาพัฒนศักดา (เม่น) เป็นวิทยากรในเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างมีระบบ การสร้างฝ่ายชลอน้ำโดยใช้วัสดุในชุมชนจนถึงเวลา 12.00น. พักรับประทานอาหารเที่ยง เวลา13.00 น.ไปเรียนรู้การดูแลป่ายางโดยใช้ระบบธรรมชาติ โดยมีนายวิทูรย์ มีเสน  เป็นวิทยากรตลอดจนเยี่ยมชมสวนยางที่เป็นการดูแลด้วยระบบธรรมชาติที่มีความสมดุลย์  เวลา14.30น. ไปดูงานการสร้างฝ่ายชลอน้ำที่บ้านในโป๊ โดยมีนายเสริญ  เป็นวิทยากรในการเยี่ยมชมฝ่ายชลอน้ำในพื้นที่จริงจนถึงเวลา 16.30 น.เดินทางกลับ

 

30 47

6. . สภาผุ้นำ30 คน ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมในชุมชนวางแผนจัดการสิ่งแวดล้อม ดำเนินการฟื้นฟูตามแผน ติดตามผล และประเมินผลในทุกกิจกรรมของโครงการ และปรับปรุงแผนตามความจำเป้็น

วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

.คนในชุมชนต้องรับรู้ เห็นความสำคัญ ตระหนัก และมีส่วนรวมต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน และการดูแลเด็กและเยาวชนของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำ ปราชญ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สามารถได้ข้อสรุปในการกำหนดพื้นที่ ที่จะดำเนินโครงการได้ตรงเป้าหมาย และได้รู้ภูมิศาสตร์ของชุมชนอย่างถูกต้อง สภาผู้นำได้สรุปผลการวิเคราะห์การสำรวจได้ว่าพื้นที่ของหมู่บ้านยังคงมีพื้นซึ่งยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มากเช่น ป่าไม้ ลำห้วย ร่องน้ำต่างๆและตลอดถึงถนนหนทางในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมแกนนำ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชน เพื่อวิเคราะสภาพภูมิศาสตร์ แหล่งน้ำ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ทั่วไปในชุมชน เพื่อจะวางแผนให้สอดคล้องกับโครงการ และกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 9.30 น.ประชุมแกนนำ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชน เพื่อวิเคราะสภาพภูมิศาสตร์ แหล่งน้ำ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ทั่วไปในชุมชน เวลา 13.20 น. วางแผนการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับโครงการที่กำหนดไว้ เลิกประชุมเวลา15.30น

 

30 32

7. เวทีสร้างความเข้าใจ แผนงาน กระบวนการ ชี้แจงวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย แผนงาน และการดำเนินการสู่เป้าหมาย ของโครงการต่อแตัวแทนครัวเรือน 70 คน

วันที่ 25 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

.คนในชุมชนต้องรับรู้ เห็นความสำคัญ ตระหนัก และมีส่วนรวมต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน และการดูแลเด็กและเยาวชนของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนครัวเรือนได้รับรู้รายละเอียดโครงการ และได้ซักถามถึงขั้นตอนวิธีการของโครงการอย่างทั่วถึง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตัวแทนครัวเรือนรับรู้ เข้าใจ มีส่วนร่วม ในการปฏิบัติการตามแผนงานของโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำประชาสัมพันธ์เชิญชวนตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมประชุมโดยแบ่งโซนการรับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงการดำเนินโครงการต่อตัวแทนครัวเรือน และเน้นย้ำในการทำกิจกรรมให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ทุกครั้ง

 

70 113

8. เวทีเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ภูมินิเวศ ในหมู่บ้านและสำรวจ ร่องน้ำ ลำธาร ในพื้นที่ต้นน้ำห้วยสังแก และเพื่อสำรวจพื้นที่เสี่ยง ต่อการมั่วสุมยาเสพติด

วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

มีกระบวนหนุนเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะ Learning by Doing (ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อของชุมชน)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำและเยาวชนได้กำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมกับยาเสพติดในชุมชน  และสามารถได้ผลสรุปในการสร้างฝ่ายชลอน้ำในแหล่งต้นน้ำและร่องน้ำลำธาร  และยังมองเห็นสถาพสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจึงทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตระหนักถึงการที่จะอนุรักษ์ และห่วงแหนในสิ่งเหล่านั้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เรียนรู้ภูมิศาสตร์ ภูมินิเวศ ในหมู่บ้านและสำรวจ ร่องน้ำ ลำธาร ในพื้นที่ต้นน้ำห้วยสังแก และเพื่อสำรวจพื้นที่เสี่ยง ต่อการมั่วสุมยาเสพติด

กิจกรรมที่ทำจริง

    เวลา9.30 น แกนนำและเยาวชนประชุมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของเยาวชนในชุมชนเพื่อที่จะกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมยาเสพติด  ในช่วงบ่ายแกนนำและเยาวชนกำหนดการเดินสำรวจพื้นที่ต้นน้ำห้วยสังแกและร่องน้ำ ลำธารที่มีความสำคัญต่อห้วยสังแก 

 

50 47

9. สำรวจเพื่อวางแผนการเฝ้าระวัง ระบุตำแหน่ง ชนิด ประเภท พื้นที่เสี่ยง ยาเสพติด และพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาต้นน้ำ ในลักษณะแผนที่เดินดิน โดยการแบ่งเป้นกลุ่มย่อย 4-5 กลุ่ม ต่อการเดินสำรวจ 1 วัน

วันที่ 30 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพือให้สภาแมีกระบวนหนุนเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะ Learning by Doing (ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อของชุมชน)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ในการออกสำรวจในวันนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้พบว่าห้วยสังแกมีความยาวจากหน้าทำนบไปจนถึงต้นน้ำเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตรและยังพบว่ามีลำธาร ร่องน้ำ น้อยใหญ่อยู่ประมาณ 7 สายด้วยกันในการเดินสำรวจในครั้งนี้ได้พบว่าห้วยสังแกยังความเป็นธรรมชาติอยู่พอสมควร เช่นพืชน้ำ ป่าไม้ริมห้วย สัตว์น้ำต่างๆยังคงหลงเหลืออยู่ซึ่งถ้าได้มีการอนุรักษ์สืบต่อไปคงจะมีสิ่งเหล่าไว้นี้ไว้ให้กับลูกหลานได้อย่างแน่นอน  และยังพบว่ากลุ่มเสี่ยงของเยาวชนต่อการมั่วสุมยาเสพติดอยู่ 2กลุ่มประเภทใบกระท่อม ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการมั่วสุมในละแวกหมู่บ้านใกล้เคียง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงรายละเอียดในภาพจากที่พบเห้น ปลุกสำนึก สร้างความรุ้สึกหวงแหน และนำข้อมูลมาทำแผนปฏิบัติการ

กิจกรรมที่ทำจริง

หลังจากการทำกิจกรรมเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ภูมิเวศน์ของชุมชนแล้วแกนนำได้กำหนดวันที่ 30 ก ค.57 จะสำรวจเพื่อที่จะเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงยาเสพติด และพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาต้นน้ำ ออกเดินทางตอนเช้าเวลา 09.00 น.ไปยังต้นน้ำห้วยสังแกโดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มและพักรับประทานอารหารเที่ยงที่ห้วยสังแก ตอนบ่ายลงกลับมายังหน้าทำนบเพื่ิอวิเคราะห์ระบุตำแหน่ง ชนิด ประเภท ในพื้นที่ยาเสพติด

 

55 50

10. ทำฝายชลอน้ำในพื้นที่ต้นนำ ห้วยสังแก โดยใช้วัสดุถุงปุ๋ยบรรจุดิน+ทราย วางเรียงตามแบบที่ไปดูงาน และปักหลักยึดด้วยไม้ไผ่ หรือไม้อื่นๆ ที่หาได้จากชุมชน ซึ่งการจัดทำจะนำโดยสภาผู้นำ และเสริมด้วยพลังประชาชน นักเรียนในระบบ เด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน โดยใช้วัฒนธรรมการ

วันที่ 5 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 -15.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

มีกระบวนหนุนเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะ Learning by Doing (ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อของชุมชน)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปในภาพรวมของการทำกิจกรรมในครั้งนี้สิ่งที่บอกได้ถึงความสำเร็จของกิจกรรมนี้ก็คือการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนและการมือจากองค์กรภาคส่วนต่างๆ เช่น โรงเรียน/เทศบาล/กลุ่มองค์กรในชุมชนที่ไม่เคยปรากฎในกิจกรรมใดๆมาก่อน ซึ่งทุกภาคส่วนคนทุกกลุ่มทุกฝ่ายได้เห็นตรงกันว่าการที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นควรจะดำเนินการเป็นอย่างยิ่งและเห็นว่าน่าจะทำทั้งนานแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างก็มีความกระทือรือร้้นที่จะเห็นภาพวันที่มีธรรมชาติที่สมบูรณ์มีน้ำมีป่าไม้และมีสัตว์น้ำสัตว์ป่าที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ คณะผู้ดำเนินโครงการทุกคนต่างก็มีความสุขและพอใจเป็นอย่างยิ่งที่เห็นคนทุกภาคส่วนให้ความร่วมมืออย่างเกินความคาดหมาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สร้างฝายชลอน้ำ กักเก็บน้ำหลังฝนหยุด สร้างความชุ่มชื้นให้พื้ดิน ชะลอน้ำสู่แหล่งน้ประปาหมู่บ้าน และเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

ครั้งที่ 1 วันที่ 5 ส ค. 57 แกนนำได้เชิญวิทยากรจากตำบลตะโหมดจำนวน 3 คนเพื่อมาเติมเต็มในรายละเอียด ขั้นตอนการทำฝายชะลอน้ำด้วยกระสอบบรรจุทราย-หิน.ตั้งแต่เวลา10.00น-16.00นในครั้งนี้ทำฝายได้ 11 ตัว
ครั้งที่ 2  วันที่ 16 ส ค.57 ทางสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านทุ่งยาวได้ร่วมกับคณะกรรมการ/พนักงาน/สมาชิกและแกนนำจำนวน 70คนเข้าร่วมทำกิจกรรมการสร้างฝายชะลอน้ำและได้สนับสนุนงบประมาณเป็นค่าอาหารกลางวันกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมมา 10,000บาทและในครั้งนี้สร้างฝายได้ถึง 13 ตัว
  ครั้งที่ 3 ในวันที่19 ส ค. 57 ได้มีคณะครูอาจารย์ นักเรียน จากโรงเรียนบ้านควนยวนและแกนนำจำนวน134คน ร่วมสร้างฝายทั้งแต่เวลา13.30นจนถึงเวลา 15.30นครั้งนี้สร้างได้ 4 ตัว
ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 23 ส ค.57 ทางสหกรณ์กองทุนสวนบ้านโคกม่วงร่วมกับคณะกรรมการ/พนักงาน/สมาชิกและแกนนำจำนวน112คนได้ร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำให้กับชุมชนและได้สนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรมในครั้งนี้มา 10,000 บาทครั้งสามารถสร้างได้ถึง 13 ตัว
ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 30 ส ค.57 ทางท่าน สส.สุพัชรี  ธรรมเพชรพร้อมกับท่าน สจ.สุพัฒ  ชาตรี ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำกับชุมชนมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน75คนพร้อมกับสนับสนุนงบประมาณใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารกลางวันให้กับทีมงานในการสร้างฝายในวันนั้นจำนวน7,000บาทด้วย อนึ่งในวันนั้นสามารถสร้างฝายชะลอน้ำได้ 13จุด
ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 18 ก ย.57ทางสำนักงานเทศบาลตำบลโคกม่วง ประกอบด้วยคณะผู้บริหาร/สมาชิกเทศบาล/พนักงาน/เจ้าหน้าที่/ลูกจ้างของเทศบาลและแกนนำโครงการเข้าร่วมทำกิจกรรมนี้ในครั้งนี้จำนวน 80คนและได้สนับสนุนงบประมาณเป็นอาหารกลางวันให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นเงิน16,000บาทสร้างฝายได้ 15จุด

 

100 215

11. ร่วมพัฒนาศักยภาพและติดตามผลการรายงานโครงการ

วันที่ 7 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อการประเมินผลโครงการและการบริหารจัดการโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ/หัวหน้าโครงการได้รับความรู้ในการรายงานโครงการอย่างถูกต้องในแต่ละขั้นตอนของการรายงานโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ให้ความรู้การรายงานโครงการ และการเพิ่มหรือแก้ไขปฏิทินโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

พี่เลี้ยงในพื้นที่ทุกพื้นที่ชี้แจงการรายงานโครงการตลอดถึงการใช้จ่ายงบประมาณของ สสส.ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกิจกรรมในโครงการ

 

2 2

12. ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านหอกระจายข่าว 5ครั้ง ผ่านป้ายประชาสัมธ์ 2ป้ายที่ติดไว้ในที่ชุมนุมชน (สถาบันการเงินและสหกรณ์ชาวสวนยาง) และนำเรื่องโครงการเข้าชี้แจงต่อประชาชนในที่ประชุมประจำเดือน 1ครั้ง

วันที่ 12 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนต้องรับรู้และเห็นความสำคัญ ตระหนักและมีส่วนร่วมต่ิการเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม การอนุรักษ์แหล่งน้ำ การดูแลเด็กและเยาวชนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชาชนได้รับทราบ รับรู้ความจำเป็น ตระหนัก มีจิตสำนึกในการร่วมทำกิจกรรม รายละเอียดการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านหอกระจายข่าวของหมู่บ้านเป็นครั้งคราว ติดป้ายประชาสัมธ์ 2ป้ายที่ติดไว้ในที่ชุมนุมชน (สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯบ้านทุ่งยาวจำกัด(สถาบันการเงิน)และสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านโคกม่วงจำกัด) และนำเรื่องโครงการเข้าชี้แจงต่อประชาชนในที่ประชุมประจำเดือน 1ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

หัวหน้าโครงการ(ผู้ใหญ่บ้าน)ประชาสัมพันธ์ตามหอกระจายข่าวของหมู่บ้านทุกครั้งที่มีกิจกรรมของโครงการและเน้นย้ำถึงความสำคัญที่จะต้องรณรงค์ในการที่จะเฝ้าระวัง พัฒนา ป้องกัน ฟื้นฟู สิ่งแวดล้อม เยาวชนในชุมชน

 

5 0

13. จัดกิจกรรมให้สมาชิกโครงการ ประชาชน ร่วมกันปลูกต้นไม้ละจัดเก้บขยะรอบแหล่งน้ำห้วยสังแก โดย อาศัยพิธีทางศาสนานิมนต์พระสงฆ์มาฉันภัตตาหารเพล ร่วมทำบุญป ประกาศจัดตั้งกองทุนเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน

วันที่ 13 กันยายน 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

. มีกระบวนหนุนเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะ Learning by Doing (ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อของชุมชน)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนรู้จักการจัดเก็บขยะได้อย่างเป็นระบบและถูกวิธี มีกองทุนที่จะดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนในโอกาสต่อไป แหล่งน้ำ สถานที่สาธารณะ ถนนหนทางสะดวกสวยงาม มีไม้ประดับไม้สวยงามตลอดแนวถนนในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปลุูกสำนึกการฟื้นฟูและอนุรักษ์เพื่อสร้างฐานทรัพยากรอาหารชุมชน และเป็นเป็นมาตรการทางสังคมให้ทุกคนช่วยกันดูแล

กิจกรรมที่ทำจริง

ครั้งที่ 1 ในวันที่ 13 ก ย. 57 เวลา 09.00น.ประชุมให้ความรู้ในการคัดแยกขยะและปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนรู้จักการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำหรือที่สาธารณะ ที่ประชุมได้เลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร กองทุนเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน ขึ้นจำนวน 30คนเพื่อดูแลและบริหารจัดสิ่งแวดล้อมของชุมชนในโอกาสต่อไป ในตอนบ่ายเวลา 13.00 น.แกนนำพร้อมด้วยเด็กและเยาวชน สมาชิกในโครงการร่วมกันเดินรณรงค์เก็บขยะบริเวณแหล่งน้ำห้วยสังแกและตามถนนในหมู่บ้านพร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์ปลูกต้นไม้ประดับไม้สวยงามและต้ดแต่งกิ่งไม้ตลอดสองข้างทางอีกด้วย

 

80 76

14. ติดตามโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 30 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อการประเมินผลโครงการและการบริหารจัดการโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พื้นที่ได้รับความรู้ในการลงรายงานของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พี่เลี้ยงแนะนำการลงรายละเอียดการรายงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

แนะนำทำความเข้าใจการลงเวบไซร์

 

2 0

15. ติดตามรายงานร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อการประเมินผลโครงการและการบริหารจัดการโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พื้นที่ได้รับรู้ความเข้าใจในการลงรายงาน ส1 ส2 และ ง1ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจที่ตรงกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงาน/หัวหน้าโครงการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ ในเรื่องการส่งรายงานเพื่อปิดงานงวดที่1

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 น.ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 09.30 น.เป็นต้นไปประชุมรับฟังชี้แจงรายละเอียดการลงรายงานปิดโครงการงวดที่ 1 

 

3 3

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 38 15                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 208,250.00 120,163.00                  
คุณภาพกิจกรรม 60 51                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.เนื่องจากเป็นพื้นที่ ที่ได้ดำเนินโครงการเป็นครั้งแรกมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากจึงทำให้การประสานงานและการดูแลทั่วไปของผู้รับผิดชอบโครงการในการดูแลไม่ทั่วถึงในเรื่องของวัสดุและอุปกรณ์(การสร้างฝายชะลอน้ำ) 2.มีงบประมาณที่จำกัด

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ติดตามรายงานร่วมกับพี่เลี้ยง ( 5 พ.ย. 2557 - 6 พ.ย. 2557 )
  2. ประชุมประจำเดือนของสภาผู้นำ ( 8 พ.ย. 2557 )
  3. สนับสนุนให้สภาผู้นำ เด็กและเยาวชนและตัวแทนครัวเรือน ร่วมพัฒนา ความสะอาดถนนในหมู่บ้าน 3 ครั้ง(ครั้งที่ 1) ( 9 พ.ย. 2557 )
  4. สนับสนุนให้สถาผู้นำเด็กและเยาวชนและตัวแทนครัวเรือนพัฒนาความสะอาดถนนในหมู่บ้าน (ครั้งที่ 2) ( 23 พ.ย. 2557 )
  5. การประชุมประจำเดือนของสภาผู้นำ เพื่อการบริหารจัดการโครงการตามแผนติดตามความก้าวหน้า สรุปและประเมินผล และปรับปรุงแผน โดยมีนักวิชาการเป็นวิทยากรกระบวนการ ( 28 พ.ย. 2557 )
  6. สนับสนุนให้สถาผู้นำเด็กและเยาวชนและตัวแทนครัวเรือนพัฒนาความสะอาดถนนในหมู่บ้าน (ครั้งที่ 3) ( 29 พ.ย. 2557 )
  7. สนับสนุน จัดตั้งกลุ่มคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพบ้านทุ่งยาว เพื่อฟื้นฟู แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน ( 30 พ.ย. 2557 )
  8. ประชุมประจำเดือนสภาแกนนำ ( 8 ธ.ค. 2557 )
  9. จัดเวทีประชาคม ซึ่งมีสภาผู้นำ คณะกรรมการหมู่บ้าน และตัวแทนครัวเรือน ร่วมประชุมกำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนาเด็กและเยาวชน และการฟื้นฟูแหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน โดยมีนักวิชาการ หรือวิทยากรดำเนินการสร้างกระบวนการ สร้างมาตรการทางสังคม แล ( 18 ธ.ค. 2557 )
  10. ประชุุมประเดือนสาผู้นำ ( 29 ธ.ค. 2557 )
  11. ประชุมประจำเดือนของสภาแกนนำ ( 8 ม.ค. 2558 )
  12. สร้างกิจกรรมบวดป่า(ก่อนเข้าพรรษา)ตามความเชื่อของชุมชน ให้เกิดการปลุกจิตสำนึกร่วมต่อการหวงแหนต้นไม้ ป่าไม้ ด้วยการทำพิธีทางไสยศาสตร์ แต่งบายศรี แต่งที่สิบสอง อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาปกปักรักษาผืนป่า ต้นไม้ พระสงฆ์ทำพิธีปลุกเสกผ้าเหลืองให้ป้นผ้ามงคล มอบให้ ( 20 ม.ค. 2558 )
  13. ประชุุมประเดือนสาผู้นำ ( 28 ม.ค. 2558 )
  14. 16. เวทีคืนข้อมูลแถลงการณ์มาตรการทางสังคม โดยมีการนำเสนอข้อมูลชุมชน กิจกรรมโครงการ ผลงานเด่น สื่อ ป้ายนิทัศน์ แบบจำลอง การแสดง พร้อมแถลงการณ์ร่วมระหว่างโครงการ ท้องที่ และท้องถิ่น เพื่อการบังคับใช้มาตรการทางสังคม มีนาคม 58 ( 30 ม.ค. 2558 )
  15. ประชุมประจำเดือนสภาแกนนำ ( 8 ก.พ. 2558 )
  16. ติดตามการประเมินผลโครงการ ( 10 ก.พ. 2558 )
  17. ประชุมสภาผู้นำ ( 8 มี.ค. 2558 )

(................................)
นายสมมิตร ปานเพชร
ผู้รับผิดชอบโครงการ