task_alt

โครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนา ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนา ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง

ชุมชน หมู่ที่ 13 ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ 57-01424 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0952

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2557 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 5 มิถุนายน 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อระดมความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทาง วางแผนการทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สภาผู้นำซึ่งประกอบด้วยตัวแทนองค์กรภาคีเครือข่ายในชุมชนเพื่อการเตรียมความพร้อม วางแผนการทำงานซึ่งที่ประชุมเห็นควรให้มีการประชุมชี้แจงโครงการให้กับประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมโครงการ โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย ขยายผลสู่การส่งเสริมกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ การผลิตอาหารปลอดภัย และการส่งเสริมการรวมกลุ่มสถานที่จัดจำหน่ายอาหารปลอดภัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อเตรียมงาน วางแผนการทำงาน และติดตาม สรุป และดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการหมู่บ้าน ภาคีเครือข่าย อบต.เกาะเต่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านคลองใหญ่ อสม.ผู้นำชุมชน คณะกรรมการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร อกม. ตัวแทนศูนย์เรียนรู้ในชุมชน ร่วมกันประชุมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำโครงการร่วมสร้างชุมชุมและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 2557 โดยร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ทบทวนแผนชุม และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม ช่วยกันเสนอแนวความคิดกำหนดกิจกรรมตลอดจนวางแผนการทำงาน

 

15 15

2. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

วันที่ 6 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

รณรงค์ให้ประชาชนเลิกสูบบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชาชนไม่สูบบุหรี่ในบริเวณที่ติดป้ายซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณที่ทุกคนใช้ร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

รณรงค์ลดละเลิกบุหรี่

 

15 15

3. ประชุมปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 2557

วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 -16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ พื้นที่ภาคใต้ ในเรื่องกระบวนการดำเนินงานของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ให้ลุล่วงตามวัตถุประสงค์ เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน ภายใต้ระบบการบริหารจัดการที่โปร่งใส น่าเชื่อ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทบทวนภาพรวมขั้นตอนและกระบวนการพัฒนาและกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ การบริหารจัดการโครงการ การบริหารจัดการงบประมาณ รายงานความก้าวหน้า บริหารจัดการโครงการเก็บหลักฐานการเงิน ใบเสร็จ  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บ วางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ รายงานผลการจัดกิจกรรมและรายจ่ายในกิจกรรม การรายงานงวด เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการปฐมนิเทศในวันนี้ไปเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน ตามกระบวนการของโครงการต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 2557 

กิจกรรมที่ทำจริง

ปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 2557 ทบทวนภาพรวมขั้นตอนและกระบวนการพัฒนาและกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ การบริหารจัดการโครงการ การบริหารจัดการงบประมาณ รายงานความก้าวหน้า บริหารจัดการโครงการเก็บหลักฐานการเงิน ใบเสร็จ  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บ วางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ รายงานผลการจัดกิจกรรมและรายจ่ายในกิจกรรม การรายงานงวด

 

4 4

4. ประชุมชี้แจงโครงการ

วันที่ 16 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจรายละเอียดโครงการ และยินดีเข้าร่วมเพื่อดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสุขภาพด้วยการรวมกลุ่มผลิตและการบริโภคอาหารปลอดภัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงโครงการ ให้กับประชาชนที่สนใจได้รับทราบ บอกวัตถุประสงค์ของโครงการและวิธีการดำเนินงานและผลที่จะเกิดขึ้นหลังการดำเนินงาน สำรวจข้อมูลรับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการโดยกำหนดรับสมัคร 50ครัวเรือนร่วมกันวางแผนทำกิจกรรมสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยสอบถามเรื่องการปลูกผักในครัวเรือนหรือไม่ มีการใช้สารเคมีหรือไม่ รายจ่ายของครอบครัว พฤติกรรมการบริโภค การใช้ชีวิตประจำวันให้แต่ละครัวช่วยตอบและคณะทำงานเก็บรวบรวมเพื่อเตรียมรวบรวมข้อมูลและนำเสนอในเวทีครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมชี้แจงโครงการ ให้กับประชาชนที่สนใจได้รับทราบ บอกวัตถุประสงค์ของโครงการและวิธีการดำเนินงานและผลที่จะเกิดขึ้นหลังการดำเนินงาน สำรวจข้อมูล  รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการโดยมีผู้สมัครร่วมปลูกในแปลงผักรวมจำนวน 42 ครัวเรือน และปลูกผักในครัวเรือนจำนวน 100ครัวเรือนและร่วมกันวางแผนทำกิจกรรมสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยสอบถามเรื่องการปลูกผักในครัวเรือนหรือไม่ มีการใช้สารเคมีหรือไม่ รายจ่ายของครอบครัว พฤติกรรมการบริโภค การใช้ชีวิตประจำวันให้แต่ละครัวเรือนช่วยตอบและคณะทำงานเก็บรวบรวมเพื่อเตรียมรวบรวมข้อมูลและนำเสนอในเวทีครั้งต่อไป

 

165 165

5. สรุปข้อมูลที่ได้จากวันประชุมชี้แจง

วันที่ 22 มิถุนายน 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.ประชุมสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 22 มิถุนายน 2557 ประชุมสรุปข้อมูลที่ได้จากวันประชุมชี้แจงโครงการแก่ประชาชน ซึ่งมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 152 คน แบ่งเป็น 1.ปลูกผักในครัวเรือน 112 คน  2.ปลูกในแปลงผักรวมของชุมชน 40 คน โดยมติที่ประชุมเห็นควรใช้พื้นที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งนานอกเป็นพื้นที่ดำเนินการทำแปลงผักรวมของชุมชน ที่ประชุมร่วมกันจัดผังแปลงผักรวมและแนววางท่อระบบน้ำของแปลงผัก รวมทั้งกำหนดวันไถเตรียมดิน และแบ่งแนวแปลงผักเตรียมยกร่องผัก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สรุปข้อมูลที่ได้จากวันประชุมชี้แจง ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ เช่น ครัวเรือนที่มีพื้นที่ ว่างเปล่า สามารถปรับเป็นพื้นที่ปลูกผักได้เลยกี่ครัวเรือน ครัวที่ปลูกอยู่แล้วมีการใช้สารเคมีอยู่กี่ครัว เรือน วางแผนทำกิจกรรมและนำเสนอในการจัดเวทีครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมสรุปข้อมูลที่ได้จากวันประชุมชี้แจงโครงการแก่ประชาชน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2557
  2. มติที่ประชุมเห็นควรใช้พื้นที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งนานอกเป็นพื้นที่ดำเนินการทำแปลงผักรวมของชุมชน
  3. ที่ประชุมร่วมกันจัดผังแปลงผักรวมและแนววางท่อระบบน้ำของแปลงผัก รวมทั้งกำหนดวันไถเตรียมดิน และแบ่งแนวแปลงผักเตรียมยกร่องผัก

 

20 20

6. จัดเวทีคืนข้อมูลสุขภาพกับการบริโภคของคนบ้านนาและวางแผนปฏิบัติงานโครงการ

วันที่ 30 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อคืนข้อมูลสุขภาพกับการบริโภคของคนบ้านนาและวางแผนปฏิบัติการทำแปลงผักปลอดสารพิษรวมของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เวทีคืนข้อมูลสุขภาพกับการบริโภคของคนบ้านนาและวางแผนปฏิบัติโดยมีกิจกรรมดังนี้

1.สรุปข้อมูลสุขภาพลักษณะการบริโภคของคนบ้านนา                 จากการสอบถามผู้สูงอายุในชุมชนมีการบอกเล่าความเป็นมาของชุมชนบ้านนาว่า เป็นกลุ่มบ้านที่บรรพบุรุษ ได้เข้ามาครอบครองและเข้ามาอยู่ในพื้นที่มาช้านานกว่า 200 ปี สืบเนื่องมาจากหลักฐานซึ่งได้การบอกเล่าสืบต่อกันมา  ในอดีตบ้านนาเป็นพื้นที่ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธ์ไม้ สัตว์ป่า เมื่อประชากรมากขึ้นจึงมีการตัดไม้ ถางป่า เพื่อทำนาโดยตัดไม้และขุดตอไม้หรือการพลิกนาด้วยจอบ เพื่อทำเป็นผินนา เมื่อประมาณปี 2450 เป็นต้นมา และมีการตั้งกลุ่มบ้านขึ้นตามสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ในขณะนั้นว่า "บ้านนา" เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ทำกิจของตนเอง โดยตั้ต่งอยู่ในหมู่ที่ 4 บ้านคลองใหญ่ ตำบลเกาะเต่า กระทั่งปี พ.ศ.2543 ได้แยกการปกครองครองเป็นหมู่ที่ 13 บ้านนา โดยมีนายอำไพย สังข์แก้ว ได้รับคัดเลือก้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ วันที่ 12 เมษายน 2543 จนถึงปัจจุบัน
                จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน และข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ (โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล บ้านคลองใหญ่)
                            1. ผู้ป่วยเบาหวาน                              จำนวน  17 คน                             2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง                    จำนวน 85 คน                             3. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง    จำนวน 26 คน                             4. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง                  จำนวน 18 คน                             5. ผู้ป่วยโรคเมร็ง                                จำนวน 1 คน                             ุ7.  กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน                          จำนวน 145 คน                             8.  กลุ่มเสี่ยวความดันโลหิตสูง                จำนวน 293 คน                             9.  กลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปมีรอบเอวเกิน        จำนวน 214 คน                           10.  กลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปมีภาวะอ้วน          จำนวน 167 คน จากการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามพบว่าประชาชนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัย และมีการปลูกพืชผักไว้กินเองโดยไม่ใช้สารเคมี
2.แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 ประเภทคือ
- กิจกรรมแปลงสาธิตจำนวน 50 คน
- ปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน 150 คน

3.แนะแนววิธีการปลูกพืชและการดูแลผักปลอดสารพิษ

4.แบ่งกลุ่มตามชนิดพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ จับฉลากแบ่งร่อง

5.การวางแผนการปฏิบัติงาน - การทำการทำปุ๋ยหมักน้ำหมักชีวภาพสูตรพระราชทาน ในวันที่ 10 กรกฏาคม 2557  เพื่ออบรมให้ความรู้ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกปฏิบัติ
- การทำแปลงเพาะพันธ์ผักและเตรียมดิน ในวันที่ 14 - 15 กรกฏาคม 2557

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีคืนข้อมูลสุขภาพกับการบริโภคของคนบ้านนาและวางแผนปฏิบัติโดยกำหนดกลุ่ม ว่าครัวเรือนจะปลูกผักอะไร ปลูกบริเวณไหน การเตรียมแปลงจะเตรียมอย่างไร ร่วมกันแลกเปลี่ยน แบ่งกลุ่ม กำหนดกิจกรรมที่ต้องกลับไปดำเนินการที่บ้านของตนเอง พร้อมกำหนดทีมติดตามผล กำหนดวันเวลาที่ชัดเจนที่จะทำการเพาะพันธ์เมล็ดพันธ์ผักในแปลงผักรวมเพื่อให้ ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักในเรื่องการผลิตและการบริื่โภคอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพและได้กลุ่ม กิจกรรม วันเวลาที่จะดำเนินการพร้อมผู้รับผิดชอบการติดตามการดำเนินงาน 1. ได้สูตรปุ๋ยหมักชีวภาพที่สอดคล้องกับวัตถุดิบในชุมชน 2. กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันทำน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพ

กิจกรรมที่ทำจริง

1.สรุปข้อมูลสุขภาพ  ลักษณะการบริโภคของคนบ้านนา 2.วางแผนการปลูกผัก  การเตรียมแปลง
3.ร่วมการแลกเปลี่ยนกำหนดกิจกรรมที่ต้องดำเนินการที่บ้าน พร้อมกำหนดทีมติดตามผล กำหนดวันเวลาเพาะพันธ์ในแปลงผักรวม

 

115 165

7. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 5 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมปฏิบัติการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิถีปฏิบัติการผลิตอาหารปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการเห็นควรจัดกิจกรรมให้ความรู้การผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ เพื่อปูพื้นฐานการผลิตอาหารปลอดภัยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในวันที่ 10 กรกฏาคม 2557 ณ ริมถนนหน้าทุ่งนานอก ม.4 ม.13 ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง แบ่ี้งคณะกรรมการ เตรียมจัดกิจกรรมดังนี้     1.เตรียมสถานที่     2.ประสานงานวิทยากร     3.เตรียมวัสดุอุปกรณ์     4.เตรียมอาหารว่างและเครื่องดื่ม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเตรียมการจัดกิจกรรมปฏิบัติการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิถีปฏิบัติการผลิตอาหารปลอดภัย กำหนดวัน เวลา สถานที่ จัดกิจกรรม วางรูปแบบการจัดกิจกรรม มอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประชุมรับฟังความคิดเห็นคณะกรรมการ 2.วางแผนการดำเนินงาน 3.มอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงาน 4.กำหนดวันเวลาสถานที่

 

15 15

8. ปฏิบัติการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิถีปฏิบัติการผลิตอาหารปลอดภัย

วันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.จำนวนครัวเรือนที่ปรับปรุงวิธีการผลิตจากกระบวนการเดิมเป็นกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ไม่น้อยกว่า 150 ครัวเรือน จากทั้งหมด 300 ครัวเรือน 2.จำนวนประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในตลาดอาหารปลอดภัยชุมชนมีทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้ซื้อ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม 2557 คณะกรรมการโครงการตลาดนัดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนวิธีคิดวิธีปฏิบัติการผลิตอาหารปลอดภัย(อบรมทำปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ)โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 135 คน มีการอบรมเรื่อง 1.การทำปุ๋ยหมักชีวภาพโดยการเลือกสูตรที่สอดคล้องกับวัตถุดิบที่มีในชุมชน เช่น เศษวัสดุจากพืช แกลบ มูลวัว รำละเอียด พด.1  โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1.นำมูลวัวมาโรยให้เป็นกองและเกลี่ยให้เสมอกันเป็นชั้นที่ 1
2.นำรำละเอียดมาโรยบนชั้นมูลวัวเป็นชั้นที่ 2
3.นำมูลไก่มาโรยบรำละเอียดเป็นชั้นที่ 3
4.นำพด.1 มาผสมน้ำประมาณ 5 ซองแล้วราดให้ชุ่ม
5.ทำตามข้อ 1-4 จนได้ปริมาณกองที่ต้องการ และคลุมด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันฝน หลังจากนั้นทุกๆ 7 วัน ให้กลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน ประมาณ 20-30 วัน สามารถนำปุ๋ยหมักมาใช้ได้ 2. การทำน้ำหมักชีวภาพ     ใช้วัตถุดับได้แก่ พืชที่มีกลิ่นแรง (ข่า ตะไคร้ สาบเสือ ใบสาบเสือ ยอดสะเดา ขิง ฯลฯ) กากน้ำตาล พด.7 น้ำสะอาด
โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. นำพืชที่เตรียมไว้มาสับเป็นชิ้นเล็กๆแล้วใส่ลงในถังหมัก
2. นำกากน้ำตาลประมาณ 1 แกลลอน ใส่ลงไปในถังหมัก 3. นำพด.7 จำนวน 5 ซอง ผสมน้ำลงตามลงไปในถังหมัก 4. ประมาณ 15 วัน น้ำหมักสามารถใช้ได้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการฉีดพ่นป้องกันแมลง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปฏิบัติการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิถีปฏิบัติการผลิตอาหารปลอดภัย โดยให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมเรียนรู้ การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ โดยกำหนดให้กลุ่มนำวัสดุมาจากบ้านโดยปราชญ์ชาวบ้านร่วมกับเกษตรช่วยกันให้ความรู้ ให้กลุ่มเป้าหมายฝึกปฏิบัติและให้ทุกคนกลับไปทำที่ครัวเรือนตนเอง และไว้ใช้กับแปลงผักของตนเอง

กิจกรรมที่ทำจริง

1.อบรมให้ความรู้การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ 2.อบรมวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 3.อบรมวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

 

135 135

9. เตรียมแปลงเพาะพันธ์ผักรวมของชุมชน

วันที่ 14 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.ประชาชนมีความรู้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ 2.ประชาชนในชุมชนมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 140 ครัวเรือนร่วมฟังการอบรมให้ความรู้วิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ  โดย มีการแบ่งกลุ่มกิจกรรมเป็น 2 ประเภทคือ
1. ผู้ที่ปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน จำนวน 100 ครัวเรือน 2. ผู้ที่ปลูกผักปลอดสารพิษในแปลงผักรวมของชุมชน จำนวน 40 ครัวเรือน มีการแบ่งแปลงดินแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและร่วมกันโรยไดโลไมท์เพื่อปรับสภาพดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์จึงปลูกพืชซึ่งพืชที่ปลูกคือ ผักบุ้ง ข้าวโพด คะน้า โหระพา คะน้า ดาวเรือง พริกขี้หนู มะเขือ ตะไคร้ ต้นหอม ข้าวพันธ์หอมใบเตย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เตรียมแปลงเพาะพันธ์ผักรวมของชุมชนโดยร่วมกันทำแปลงเพาะเมล็ดผักซึ่งเป็นแปลงรวมของชุมชนเพื่อแจกจ่ายให้กลุ่มเป้าหมายโดยให้กลุ่มมาช่วยเตรียมแปลงและปลูก รวมถึงดูแลจนเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

กิจกรรมที่ทำจริง

1.เตรียมดิน ไถพรวนดิน แบ่งแปลงดินสำหรับปลูกพืช
2.ปรับปรุงดินด้วยไดโลไมท์

 

140 100

10. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 5 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการแก้ปัญหาสุขภาพด้วยการรวมกลุ่มการผลิตและการบริโคภอาหารปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมกรรสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมาคือ กิจกรรมเตรียมแปลงเพาะพันธ์ผักรวมของชุมชนซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าร่วมกันปรับปรุงดินด้วยการหว่าโดโลไมท์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินขั้นตอนต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประธานกรรมการโครงการชี้แจงผลการดำเนินการกิจกรรมที่ผ่านมา
  • รับฟังปัญหาอุปสรรคการดำเนินกิจกรรม
  • แจ้งกำหนดการกิจกรรมต่อไป

 

15 15

11. กิจกรรมเวทียกร่างแนวทางการบริหารจัดการกองทุนแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัยชุมชน

วันที่ 15 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.จำนวนครัวเครือข่ายที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน 2. ข้อตกลงร่วมหรือแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการโครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนาต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.กพัทลุง กำหนดกิจกรรมร่วมกัน "ทำแปลงผักรวมของชุมชน" บนพื้นที่ทุ่งนานอก โดยมีประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักในแปลงผักรวม 40 คน  และประชาชนผู้เข้าร่วมปลูกผักในครัวเรือน 112 คน โดยผู้เข้าร่วมปลูกผักในแปลงผักรวมของชุมชนร่วมกันจัดเวทียกร่างแนวทางการบริหารจัดการกองทุนแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัยของชุเภมชน จากที่ได้มีการแบ่งพื้นที่แบ่งออกเป็น 40 แปลง ขนาดแปลงละ 7 x 30 เมตร มีการวางระบบน้ำโดยสูบน้ำจากคูรอบๆ ใช้เครื่องสูบน้ำ 2 จุด ต่อท่อมายังแปลงสาธิตซึ่งปลูกพืชประเภทต่างๆคือ ผักบุ้ง ดาวเรือง คะน้า ข้าวโพด ตะไคร้ ต้นหอม พริก มะเขือ โหระพา ถั่วลิสง ข้าวพันธ์หอมใบเตยและมีการวางระบบการบริหารจัดการแปลงผักในรูปคณะกรรมการดังนี้

1.ประธานคณะกรรมการ  - นายอำไพย สังข์แก้ว

2.รองประธานคนที่ 1      - นายเรียงศักดิ์ รักคง

3.รองประธานคนที่ 2    - นายนัตพงศ์ รักนิ่ม

4.กรรมการทั่วไปคนที่    - นายประทีบ จันทร์แก้วบ - นายประเสริฐ จันทร์แก้ว (ตำแหน่ง 1-4 มีหน้าที่วางแผนการปลูก ติดตามงานของกลุ่มและการทำข้อตกลงร่วมกัน)

5.กรรมการระบบน้ำ      -  นายจีรสิน พรหมทอง - นายพิเชษฐ์ เม่าน้ำพรายน (มีหน้าที่ดูแลระบบน้ำควบคุมการเปิดปิดน้ำและซ่อมบำรุงรักษาระบบน้ำ)

6.กรรมการฝ่ายการเงิน  - นางเกษร ทองคำ - นางเมี้ยน พูนปาน (มีหน้าที่จัดเก็บเข้ากองทุนแปลงผักรวมของชุมชนในอัตราแปลงละ 20 บาทต่อเดือนเพื่อเป็นค่าบำรุงรักษาระบบน้ำ ไฟฟ้าและเพื่อใช้ในการบริหารจัดการแปลงผักรวมของชุมชน 7.กรรมการฝ่ายควบคุมคุณภาพ - นายณรงค์ วัชชิระศิริกุล - นางศรัทธาพร ทิพรักษ์

(มีหน้าที่ควบคุมคุณภาพการปลูกผักให้ได้ผลผลิตที่ปลอดสารพิษ 8.กรรมการฝ่ายการตลาด        - นางสุพิศ หมื่นรันต์ - น.ส.เพ็ญนภา รัตนการ - นายอนันต์ ทิพย์รักษ์ (มีหน้าทีประชาสัมพันธ์และจัดหาตลาดในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

9.กรรมการฝ่ายวิชาการและศึกษาดูงาน - น.ส ตุลยา กลับแก้ว - น.ส กษมาพร ทองเขียว (มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้ความรู้ด้านวิชาการในการปลูกผัก การบำรุงรักษาและการกำจัดศัตรูพืช

10.เลขานุการกลุ่ม        - นางปาณิสรา รามหนู - นางภัทราพร ทองคำ (มีหน้าที่ด้านงานธุรการและการประสานงาน)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กิจกรรมเวทียกร่างแนวทางการบริหารจัดการกองทุนแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัยชุมชน ในด้านต่างคือ

  1. การบริหารจัดการกองทุนแปลงผักรวมชุมชน

- หลักเกณฑ์การจัดสรรพื้นที่แปลงสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ - การควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดสารพิษ

2.การจัดการตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน - วางกฏเกณฑ์การคัดเลือกอาหารปลอดภัยมาจำหน่าย - วางหลักเกณฑ์การบริหารจัดการตลาดอาหารปลอดภัย

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมเวทียกร่างแนวทางการบริหารจัดการกองทุนแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัยชุมชน ในด้านต่างคือ

1.การบริหารจัดการกองทุนแปลงผักรวมชุมชน
- หลักเกณฑ์การจัดสรรพื้นที่แปลงสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ - การควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดสารพิษ

2.การจัดการตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน - วางกฏเกณฑ์การคัดเลือกอาหารปลอดภัยมาจำหน่าย - วางหลักเกณฑ์การบริหารจัดการตลาดอาหารปลอดภัย

 

40 35

12. จัดตลาดนัดอาหารปลอดภัย

วันที่ 29 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการผลิตและกลไกการตลาดให้เอื้อต่อสุขภาวะของคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชาชนร่วมนำพืชผักทั้งที่ปลูกบริเวณครัวเรือนและจากแปลงผักรวมของชุมชน มาจัดจำหน่ายยังตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน บ้านนา ม.13 ตำบลเกาะเต่า ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริโภคซึ่งต้องการซื้อสินค้าปลอดสารพิษจากชุมชน และเกิดพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างผู้ผลิต เช่น นาย ก. ปลูกผักบุ้ง  นายข. เก็บตำลึงมาขาย นาย ก. ต้องการซื้อ ผักตำลึง และนาย ข. ต้องการซื้อผักบุ้ง นาย ก. ก็จะนำผักบุ้งมาแลกตำลึงของนาย ข. เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยสินค้า

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดตลาดนัดอาหารปลอดภัยชุมชน โดยจัดเป็นจุดจำหน่ายผักปลอดสารพิษ โดยใช้ ศาลาหน้าชุมชนเป็นจุดจำหน่าย และนำผักปลอดสารพิษที่ได้จากแปลงรวม และอาหารปลอดภัยอื่นๆ มาจำหน่าย โดยกำหนดจัดจำหน่ายทุกวันศุกร์ของสัปดาห์

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชาชนร่วมกันนำพืชผักทั้งที่ปลูกบริเวณครัวเรือนและจากแปลงผักรวมของชุมชน มาจัดจำหน่ายยังตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ณ บ้านนา ม.13 ตำบลเกาะเต่า อ.ป่าพยอม จ.พัทลุง

 

40 40

13. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

วันที่ 5 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุปการทำงานที่ผ่านมาและวางแผนกิจกรรมครั้งต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานเข้าร่วมการประชุม  สรุปกิจกรรมจัดตลาดนัดชุมชน ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า ตลาดนัดอาหารปลอดภัยควรจัดให้มีการจำหน่ายสินค้าอาหารปลอดภัยทุกวันเสาร์ เพราะกิจกรรมที่ผ่านมาได้รับการต้อนรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดีและในรอบถัดไปควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมูบ้านใกล้เคียงทราบด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมชนคณะทำงาน สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

 

15 15

14. ประชุมคณะทำงานเพื่อตรวจสอบเอกสารต่างๆในการรายงานงวด

วันที่ 20 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตรวจสอบเอกสารต่างๆในการรายงานงวด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้จัดทำเอกสารรายงานประจำงวดที่ 1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเพื่อตรวจสอบเอกสารรายงานต่างๆที่เกียวข้องรายงานประจำงวด

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันดูเอกสารต่างๆในรายงานงวด ว่ามีอะไรบ้าง ที่จะต้องทำเอกสารส่ง ร่วมกันจัดทำเอกสาร

 

5 15

15. กิจกรรมคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ ปรับพฤติกรรมการบริโภค

วันที่ 24 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมคนในชุมชนในการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ ปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยการติดตามประเมินผล จากครัวเรือนในชุมชนโดยพิจารณาจากพฤติกรรมการบริโภค และข้อมูลสุขภาวะของสมาชิกในครอบครัว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กิจกรรมคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ ปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยการติดตามประเมินผลซึ่งให้แกนนำครัวที่เข้าร่วมโครงการร่วมกับคณะทำงาน ออกติดตามโดยแบ่งโซนติดตาม คนละ 10ครัวเรือน อย่างต่อเนื่อง 3 ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ ปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยการติดตามการบริโภคโดยการติดตามประเมินผลซึ่งให้แกนนำครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการร่วมกับคณะทำงาน ออกติดตามโดยแบ่งโซนติดตาม คนละ 10 ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง 3 ครั้ง

 

25 30

16. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

วันที่ 8 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.ประชุมสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นับจำนวน ยอดครัวเรือนที่คณะกรรมการประเมินส่งมา ได้ยอดจำนวน 250 ครัวเรือน และคณะกรรมการต้องลงคะแนนประเมินครัวเรือนตามแบบประเมิน และพิจารณาหาข้อสรุปอีกครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการร่วมพิจารณา สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา และวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป

 

15 15

17. ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกียวกับรายงานประจำงวด

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวับรายงานประจำงวด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ปรับปรุงเอกสารและรายงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกียวกับรายงานประจำงวด

กิจกรรมที่ทำจริง

ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวด

 

15 15

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 31 17                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 194,100.00 76,326.00                  
คุณภาพกิจกรรม 68 56                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ปัญหาอุปสรรคช่วงทำโครงการ ทำแปลงปลูกผักรวม ช่วงแล้งจะขาดแคลนน้ำ ระบบน้ำที่่มีอยู่ยังไม่มีประสิทธิภาพ  ไม่สามารถดึงน้ำจากสระใหญ่ได้

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกียวกับรายงานประจำงวด ( 20 พ.ย. 2557 )
  2. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป ( 25 ธ.ค. 2557 )
  3. กิจกรรมรณรงค์ตลาดอาหารปลอดภัยชุมชนและพิธีมอบรางวัลครัวเรือนต้นแบบ ( 8 ม.ค. 2558 )
  4. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป ( 15 ม.ค. 2558 )
  5. .เวทีเรียนรู้การปรุงอาหารปลอดภัย ชีวิตยืนยาว ( 27 ม.ค. 2558 )
  6. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป ( 5 ก.พ. 2558 )
  7. เวทีประชาพิจารณาและรับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมชุมชน และการบริหารจัดการตลาดนัดอาหารปลอดภัยชุมชน ( 18 ก.พ. 2558 )
  8. ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวด ( 20 มี.ค. 2558 )

(................................)
นายอนันต์ ทิพย์รักษ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ