directions_run

โครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนา ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค
ตัวชี้วัด : 1. จำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของโครงการ อย่างน้อย 120 ครัวเรือน จากจำนวนครัวเรือนเป้างหมาย 150 ครัวเรือน 2. จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน มีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานทุกเดือน 3. ฐานข้อมูลด้านการบริโภคของชุมชนบ้าน มีการสำรวจข้อมูลรับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการโดยกำหนดรับสมัคร 50ครัวเรือนร่วมกันวางแผนทำกิจกรรมสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยสอบถามเรื่องการปลูกผักในครัวเรือนหรือไม่ มีการใช้สารเคมีหรือไม่ รายจ่ายของครอบครัว พฤติกรรมการบริโภค การใช้ชีวิตประจำวันให้แต่ละครัวช่วยตอบและคณะทำงานเก็บรวบรวมเพื่อเตรียมรวบรวมข้อมูลและนำเสนอในเวทีครั้งต่อไป
  • จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่าเป้าหมายที่กำหนด คือมีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ 165 ครัวเรือน
  • มีกิจกรรมการร่วมกันของชุมชนเกือบประจำทุกเดือน แต่มีบางเดือนที่ไม่สามารถจัดได้เนื่องจากมีกิจกรรมขององค์กรอื่นเข้ามาในชุมชนมาก
  • ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคของคนในชุมชนโดยเฉพาะการบริโภคผักว่าคนในชุมชนนิยมกินผักอะไร และใช้ข้อมูลนี้ในการนำพันธุ์ผักมาปลูกในแปลงผักชุมชน
2 2.เพื่อให้เกิดรูปแบบกิจกรรมการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการผลิตและกลไกการตลาดเพื่อการบริโภคให้เอื้อต่อสุขภาวะของคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1 จำนวนครัวเรือนที่ปรับปรุงวิธีการผลิตจากกระบวนการเดิมเป็นกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ไม่น้อยกว่า 150 ครัวเรือน จากทั้งหมด 300 ครัวเรือน 2. จำนวนประชาชนในชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน ทั้งผู้ผลิต ผู้จำน่าย และผู้ซื้อ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด
  • มีครัวเรือนที่ร่วมผลิตอาหารปลอดภัยจำนวน 165 ครัวเรือน ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์
  • ประชาชนในหมู่บ้จำนวนประจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 เข้ามามีส่วนร่วมในตลาดนัดของชุมชน โดยส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในฐานะผู้ซื้อ มีผู้ขายจำนวน 23 ราย
3 3. เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนตลาดอาหารปลอดภัยชุมชนอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. จำนวนเครือข่ายที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน ไม่น้อยกว่า 15 คน 2. ข้อตกลงร่วมหรือแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ตลาดสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง

เกิดข้อตกลงร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแปลงผักชุมชนและตลาดนัดสีเขียวของชุมชน โดยกำหนดกติการ่วมกัน เช่นการเก็บผักต้องนำเมล็ดพันธุ์มาคืนเท่าจำนวนต้นที่เก็บไป หรือการนำสินค้ามาขายในตลาดต้องเป็นสินค้าที่ครัวเรือนผลิตเองและเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีคณะกรรมการในการบริหารกองทุนตลาดนัดชุมชนจำนวน 25 คน มาจากตัวแทนของ อบต.ตัวแทนท้องที่ และตัวแทนครัวเรือน

4 4.เพื่อกำกับติดตามและประเมินผลโครงการ
ตัวชี้วัด : 1.จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับสสส.และสจรส.

เข้าร่วมกิจกรรมกับ สจรส. และทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค (2) 2.เพื่อให้เกิดรูปแบบกิจกรรมการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการผลิตและกลไกการตลาดเพื่อการบริโภคให้เอื้อต่อสุขภาวะของคนในชุมชน (3) 3. เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนตลาดอาหารปลอดภัยชุมชนอย่างยั่งยืน (4) 4.เพื่อกำกับติดตามและประเมินผลโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh