task_alt

บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง)

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง)

ชุมชน ศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านนากวด

รหัสโครงการ 57-01431 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0744

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม 2014 ถึง 19 มิถุนายน 2015

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน พฤศจิกายน 2014 ถึงเดือน กรกฎาคม 2015

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบการจัดการ บวร และการจัดทำแผนชุมชน

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2014 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาดูงานธนาคารขยะ โรงเรียนนาทวี 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-คณะทำงานโครงการบวร ได้รับความรู้ตามที่ต้องการ จากการ AAR พบว่า -เด็กนักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น สามารถถ่ายทอดเรื่องธนาคารขยะได้  สามารถรู้วิธีการคัดแยกขยะ ขยะมี 4 ประเภท แต่ละประเภทมีอะไรบ้างเด็กอธิบายได้ -โรงเรียนนาทวีมีกิจกรรมจำนวนมากเพื่อสนับสนุนการเป็นโรงเรียนปลอดขยะ ซึ่งผลสรุปของการศึกษาดูงาน ชุมชนต้องสร้างกิจกรรมจำนวนมากเพื่อให้ชุมชนหรือโรงเรียนได้ผลในการเป็นสถานที่ปลอดขยะและต้องทำอย่างต่อเนื่อง  

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ศึกษาดูงานกับพื้นที่ต้นแบบ บวร -กรรมการหมู่บ้านศึกษาเรื่องแผน,เรียนรู้หลักคิด บวร จากพื้นที่ต้นแบบ, บ้าน วัด โรงเรียน เรียนรู้ธนาคารขยะจาก โรงเรียนนาทวี

กิจกรรมที่ทำจริง

เป็นโครงการศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบที่มีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ เรื่อง ธนาคารขยะในโรงเรียน -ดูกระบวนการ ขั้นตอน  วิธีการ แล้วนำมาดำเนินการ

 

45 54

2. รณรงค์สร้างจิตสำนึกสาธารณะของคนในชุมชนเตรียมงานเฉลิม

วันที่ 4 ธันวาคม 2014 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะ เทิดทูนสถาบัน วันที่ 5/12/57

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การทำงานที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของ วัด บ้าน โรงเรียน เทศบาล ทำงานร่วมกันได้  จนงานเวที การจัดเวที การพัฒนาบริเวณภายนอก การผูกผ้าของกลุ่มจิตอาสาสมัค

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เป็นกิจกรรมรณรงค์สร้างจิตสำนึกของชุมชนนากวดอย่างต่อเนื่อง ต่อสถาบันวันที่ 5 ธันวาคม 2557 ร่วมกันระหว่างบ้าน  วัด  โรงเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

เป็นการพัฒนาพื้นที่โดยชุมชน ใช้ในวันสำคัญ คือ วันที่ 5 ธันวาคม 2557  เป็นกระบวนการสร้างจิตสำนึก การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และมีหน่วยงานอื่นเข้ามารร่วมให้งานสำเร็จ คือ เทศบาลตำบลนาท่อมนำวัสดุอุปกรณ์มาช่วยเหลือ  ขั้นตอนการดำเนินการ ชุมชนช่วยพัฒนาวัดร่วมกับพระ  โรงเรียนเด็กมาร่วมกัยเก็บกวาดขยะในวัด ส่วยชุมชนร่วมกันพัฒนาหน้าวัด บริเวณ ริมคลอง ริมถนนสาธารณะ

 

40 40

3. ประชุมคณะทำงานบวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู

วันที่ 9 ธันวาคม 2014 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ชี้แจงสร้างความเข้าใจการทำงานกรรมการ ชุมชน  กรรมการวัด  และโรงเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการประชุมสร้างความเข้าใจให้วัด  โรงเรียน  และชุมชนได้ทราบและเข้าใจร่วมกัน -โรงเรียนวัดนาท่อม ผอ นางจิตลดา  ทองคำ  ได้มอบห้องใช้ในการนำเสนอธนาคารขยะ  และมีแผนการเรียนรู้กระบวนการจัดการขยะ 3R  โดยกรรมการหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่เทศบาลร่วมกันสอนให้เด็กเรียนรู้จนถ่ายทอดได้ ในทุกวันพุทธเวลา 14.00 น -วัดโดยใช้วัดนาท่อมเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนตำบลนาท่อม โดยผลจากการหารือร่วม ท่านเจ้าอาวาสให้ใช้วัดเป็นที่ทำกิจกรรม เป็นพภิพิทธภัณฑ์ของชุมชน -สำหรับศาลาหมู่ที่ 7 จะใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม เพราะเป็นพื้นที่รวมกิจกรรมให้เห็นได้ทุกกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แบ่ง 3 กลุ่ม เรียนรู้ร่วมออกแบบกำหนดกิจกรรม -โรงเรียน ร่วมกำหนดกระบวนการธนาคารขยะโดยใช้สภานักเรียนเป็นเจ้าภาพ เป้าหมายเป็นแหล่งเรียนรู้ธนาคารขยะ -วัด ร่วมกำหนดกรอบ ทำข้อมูล เป้าหมายเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนเชิงสืบสานวัฒนธรรม โดยนาย สมัย  หมวดมณีเป็นคนต้นแบบ สอนเด็กเป็นไกด์นำเสนอเรื่องเล่าของชุมชนบ้านนากวด -ชุมชน ทำโครงการสืบชะตาคลองนาท่อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้สืบชะตาคลองนาท่อม  เรืองราวของการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนนากวดทั้งระบบ 4 กิจกรรม กิจกรรมขยะ  กิจกรรปลูกไม้  กิจกรรมปลา  กิจกรรมขยายผล โดยกรรมการหมู่บ้านนำกิจกรรมจากแผนชุมชนมาใช้และให้เด็กเป็นสื่อสืบสานวัฒนธรรมของชุมชน ใช้จักรยาน ในการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ทำจริง

สร้างความเข้าใจกับที่ประชุมต่อการจัดกิจกรรมและการทำงานร่วมกันของ ชุมชน  วัด  และโรงเรียน -แหล่งเรียนรู้ธนาคารขยะ วิธีการ คณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมกับเทศบาลตำบลนาท่อม จะจัดเวลาสร้างการเรียนรู้ให้เด็กโรงเรียน วันพุธ เวลา บ่าย 2 โมง โดย ผอ.โรงเรียนเห็นด้วยและให้ความร่วมมือ -แหล่งเรียนรู้สืบชะตาคลองนาท่อม จะใช้ศาลาการประชุมหมู่ที่ 7 เป็นที่ทำการเรียนรู้  เพราะเป็นสถานที่ที่ใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การรณรงค์เก็บขยะ  ปลูกไม้  เขตอภัยทาน มีป้ายแสดงทั้งบริเวณริมคลอง  ริมถนน บอกเขตอภัยทานขยะ  ป้ายปทิญญาของผู้นำดูแลสิ่งแวดล้อม -แหล่งเรียนรู้ วัดนาท่อมเป็นศูนย์เรียนรู้ ชุมชนสืบสานวัฒนธรรม โดยกำหนดนายสมัย  หมวดมณีประธานสภาวัฒนธรรม และหัวหน้าชมรมผู้สูงอายุ เป็นคนต้นแบบ เล่าเรื่อง นำเที่ยว ชวนคุย เจ้าอาวาส พระสนองธรรมพุธโธ เห็นด้วยร่วมให้ใช้สถานที่ เหมาะการทำพิพิทภัณฑ์ชุมชน

 

50 45

4. กิจกรรมพัฒนากลุ่มนากวดน่าอยู่เป็นกลุ่มจิตอาสาพัฒนานากวด

วันที่ 24 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาประชาชนในชุมชนให้เป็นจิตอาสา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ชุมชนได้ความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ จากการมาใช้สถานที่ฝึกที่คลองนาท่อม
-กรรมการหมู่บ้าน  ผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครคนใหม่ได้ร่วมเรียนรุ้ ทำให้ชุมชนมีบุคคลที่มีความรู้ ความพร้อมเรื่องการจัดการภัยพิบัติเพิ่มขึ้่น -เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องพับพื้นที่ นำมาปรับใช้ในช่วงประเพณีแข่งขันเรือพายได้อย่างดีและนำไปปรับใช้กับเรื่องภัยพิบัติในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สร้างและพัฒนากลุ่มจิตอาสาของบ้านนากวด โดยกรรมการหมู่บ้านขอเข้าฝึกรวมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายจากโครงการ เป็นการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น

กิจกรรมที่ทำจริง

-เรียนภาคความรู้การจัดการภัยพิบัติทั่วไป ทางนำ้ และการปฐมพยาบาล เพื่อเตรียมความพร้อมในงานประเพณีแข่งขันเรือพายที่จะมี เดือนเมษายน 58 -ฝึกภาคปฏิบัติจริงในการปฏิบัติจริงเมือเกิดภัย และการช่วยเหลือ

 

65 65

5. ประชุมสภาแกนนำ

วันที่ 26 ธันวาคม 2014 เวลา 17:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเตรียมงานออกแบบกิจกรรมสร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนของชุมชนบ้านนากวด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้แผนปฏิบัติการ ได้ออกแบบกิจกรรม หนังสือเล่มเล็กเด็กเล่าเรื่อง  ได้แก้ เรื่องเรื่อง ตลาดนาท่อม100 ปี  เรื่องประวัติเจ้าอาวาสตาหลวงเหลื่อม  เรื่องกว่าจะเป็นวังมัจฉา เรื่องประวัติโรงเรียนวัดนาท่อม  สถานที่ในการใช้ทำกิจกรรม ได้เป้าหมายเรื่องที่จะให้เด็กได้ศึกษา ได้แกนนำพี่เลี้ยงเด็ก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเพื่อเตรียมจัดกิจกรรมเด็กเป็นสื่อ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชน /เพื่อการสื่อสารของชุมชนนากวดโดยกลุ่มเด็ก ในการสืบทอดใช้องค์ความรู้ ชุดความรู้ จากกิจกรรม หนังสือเล่มเล็กเด็กเล่าเรื่องชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมจัดเตรียม และออกแบบการทำกิจกรรม ใช้เด็กเป็นสื่อ ในการสร้างจิตสำนึก โดยการเรียนรู้ของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้  เก็บข้อมูล สัมภาษณ์ กับผู้รู้ในชุมชน โดยที่แกนนำเป็นพี่เลี้ยง 

 

15 15

6. กิจกรรมเด็กและเยาวชน ทำหนังสือเล่มเล็กเด็กเล่าเรื่องชุมชน (1)

วันที่ 27 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อใช้เด็กเป็นสื่อสร้างจิตสำนึก ในการสร้างข้อตกลงของชุมชน เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับเด็กและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน -เด็กได้รู้จักคน รู้จักชุมชน รู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องที่เก็บข้อมูล -ชุมชนได้เรื่องเล่าจากการเก็บข้อมูลของเด็ก 4 เรื่อง -เด็กมีจิตสำนึกรักหวงแหน ทรัพยากรในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น -ชุมชนได้ทำงานร่วมกับเทศบาลกับเด็กและเยาวชนในช่วงวันหยุดลดปัญหาเด็กใช้เวลาว่างไปในทางที่ผิด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เป็นการสร้างและพัฒนาข้อตกลงของชุมชนผ่านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนได้ตระหนัก มีกฏกติกา ข้อตกลง แบบสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนรู้และเข้าใจ ยอมรับ  ผ่านกิจกรรมที่ใช้เด็กเป็นผู้สื่อสาร เด็กเก็บข้อมูลจากผู้ใหญ่ กิจกรรมได้ทำร่วมกับเทศบาลตำบลนาท่อม งบประมาณที่ใช้ เป็นของเทศบาล เป็นการทำงานร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.สร้างความเข้าใจกับเด็กและเยาวชน 2.กำหนดเรื่อง 4 เรื่องให้เด็กไปเก็บข้อมูลร่วมกับพี่เลี้ยง 3. เด็กลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูล 4. เด็กนำมาเรียบเรียงเขียนเป็นเรื่องเล่าแต่ละกลุ่มนำเสนอ

 

40 40

7. ประกวดกิจกรรมหมู่บ้านสวยเมืองสุข

วันที่ 7 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประเมินหมู่บ้านสวยเมืองสุข ผ่านกิจกรรมโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ประชาชนบ้านนากวด  เจ้าอาวาสวัดนาท่อม  และ ผอ โรงเรียนวัดนาท่อม  ทั้ง 3 ภาคส่วนเป็นความร่วมมือการการทำงานร่วมกันที่มีเทศบาลมาช่วยเสริมให้กิจกรรมเห็นผลได้ดียิ่งขึ้น -ประชาชนเข้าใจการดำเนินกิจกรรมโครงการ บวร ไตรพลังฯ กับกิจกรรมที่ทำ คือ การสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ที่เป็นรูปธรรมในเรื่องการจัดการขยะ ดูแลสิ่งแวดล้อม ได้แก่ในระดับครัวเรือน มีการเรียนรู้เป็นครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะด้วยวิธี 3R  โรงเรียนมีการสร้างจิตสำนึกโดยการมีตั้งเป็นโรงเรียนปลอดขยะ กิจกรรมธนาคารขยะ  วัดนาท่อมการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม โดยเจ้าอาวาสมีการเทศนาในกิจกรรมของวัด
-ขยะในที่สาธารณะ ใช้กิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ได้แก้ รวมประชาชนมาร่วมกันเก็บขยะบนถนนสาธารณะ  ศูนย์พัฒนาครอบครัวมีกิจกรรมครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์รณรงค์การเก็บขยะในกที่สาธารณะ คลองนาท่อมมีเขตอภัยทานปลา  บนถนมีเขตอภัยทานบยะทั้วทั้ง 8 หมู่บ้าน
-ทุกอย่างเกิดจากกระบวนการสร้างจิตสำนึกอย่างต่อเนื่อง ทำจริง ทำบ่อย  ๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ไม่มีในแผน
เป็นการคัดเลือกจากอำเภอเมือง ให้เป็นตัวแทนตำบลนาท่อม เพื่อประกวดความพร้อมในเรื่อง การบริหารจัดการหมู่บ้านที่ดี  มีโครงสร้างการบริหารงานในรูปสภาแกนนำ ที่มีฝ่ายต่าง ๆ ช่วยเหลือผู้ใหญในการบริหารหมู่บ้าน ได้แก้ ฝ่ายอำนวยการ  ฝ่ายแผนชุมชน  ฝ่ายเศรษฐกิจ

กิจกรรมที่ทำจริง

เป็นการประเมินการขั้นตอนปฏิบัติงานของหมู่บ้านที่มีการบริหารจัดการเป็นระบบสภาแกนนำ ดีงนี้ -ผู้ใหญ่สุรศักดิ์รายงานการปฏิบัติงานในฐานะประธานและแนะนำสมาชิกสภาแกนนำแต่ละคน และบทบาทหน้าที่ -รายงานการปฎิบัติงานตาม เช็คลิตที่คณะกรรมการให้มา ในฐานะประธานอำนวยการ -และรายงานผลรูปธรรมการขับเคลื่อนคุณธรรม 12 ประการตามนโยบาย -คณะกรรมการผู้ประเมินจากจังหวัดพัทลุง จำนวน 10  คน ตั้งคำถามให้ผู้ใหญ่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ สมาชิกสภาแกนนำตอบ -จากนั้นคณะกรรมการปู้ประเมินตั้งคำถามกับประชาชนเพื่อตรวจสอบว่าประชาชนรู้และเข้าใจในกิจกรรมที่ทำหรือไม

 

90 90

8. ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาสร้างกระบวนการเป็นธนาคารขยะในโรงเรียน

วันที่ 26 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมสร้างความเข้าใจร่วมระหว่างสภาแกนนำ  สภานักเรียน เจ้าหน้าที่เทศบาลและครูโรงเรียนวัดนาท่อม (1)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-สภานักเรียนและคณะครูเข้าใจยินดีเข้าร่วมกิจกรรม โดยการ ให้สมาชิกสภาแกนนำชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศบาลมาสอนกระบวนการทำธนาคารขยะให้นักเรียน โดยทุกวันพุธ เวลาบ่าย 2 ทางโรงเรียนจะจัดเป็นชั่วโมงกิจกรรม -ทางสภาแกนนำร่วมกับเจ้าหน้าที่ของเทศบาลบางลำดับขั้นตอนไว้ดังนี้ 1. แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4  กลุ่ม กลุ่มขยะอินทรีย์  กลุ่มขยะรีไชค์เคิล  กลุ่มขยะทั่วไป  กลุ่มขยะอันตราย และกำหนดการจัดการขยะด้วยวิธี 3R 2. หลังจากการสอนการคัดแยกเสร็จ สู่การเรียนรู้วิธีการจัดการขยะ ทั้ง 4 ประเภท 3. ขยะรีไซด์เคิล เป็นขยะที่ขายได้ มาเรียนรู้การจัดตั้งธนาคารขยะ เตรียมสถานที่  เตรียมคน เตรียมอุปกรณ์ ทดสอบกระบวนการ และรับซื้อขยะจริง 4. ทำการรณรงค์ขยะแลกไข่ และ เปิดดำเนินการธนาคารขยะที่โรงเรียนโดยเด็กนักเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-พัฒนาโรงเรียนให้มีแหล่งเรียนรู้ธนาคารขยะ จำนวน 1 แห่ง -จัดกระบวนการ การคัดแยกขยะ โดยวิธี 3 R รองรับ -จัดกระบวนการทอดผ้าป่าขยะ -จัดกระบวนการตลาดนัดขยะ ภายใต้เงือนไขต้องกำหนดจัดกิจกรรมเป็นระยะ 1 ครั้ง/เดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

สร้างความเข้าใจรายละเอียดกิจกรรมตามแผนงาน โดย เจ้าหน้าที่เทศบาลและสภาแกนนำชุมชนร่วมกัน

 

85 85

9. โรงเรียนวัดนาท่อมเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์ ครั้งที่ 2

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อการคัดแยกและการจัดการขยะอินทรีย์ในโรงเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-เด็กนักเรียนรู้และอธิบายเพื่อนได้ ขยะอินทรีย์คืออะไร -เด็กนักเรียนเรียนรู้ขั้นตอน และสวนผสมการทำปุ๋ยหมักแห้งและน้ำหมักชีวภาพได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-เรียนรู้การคัดแยกขยะอินทรีย์ -เรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมักแห้งและปุ๋ยนำ้หมักชีวภาพ

กิจกรรมที่ทำจริง

-ทีมพี่เลี้ยงนักเรียนสอนการคัดแยกและการจัดการขยะอินทรีย์ -ขยะอินทรีย์คืออะไร  เมื่อคัดแล้วนำไปทำอะไรได้บ้าง -การทำปุ่ยหมักแห้งจากใบไม้และมูลสัตว์
-การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเศษอาหารในครัว 

 

60 60

10. จัดกระบวนการธนาคารขยะในโรงเรียนวัดนาท่อม ครั้งที่ 3

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

จัดกระบวนการธนาคารขยะให้นักเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-เด็กมีความรู้ จัดแบ่ง หน้าที่และเตรียมความพร้อมการเปิดดำเนินการธนาคารขยะ -เด็กเขาสามารถดำเนินการเองได้ โดยให้ผู้ใหญ่เป็นพี่เลี้ยงก่อนในระยะแรก และขยะก็ต้องเป็นขยะในโรงเรียนก่อน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนวัดนาท่อม

กิจกรรมที่ทำจริง

-คณะทำงานพี่เลี้ยงจัดสถานที่ในการนำเสนอและรับซื้อขยะ -จัดหาที่ใส่ขยะ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เช่น ทะเบียน สมุด กิโล  ราคาขยะ และแบ่งบทบาทหน้าที่

 

50 50

11. ติดตามประเมินผลระหว่างการดำเนินงาน

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานสรุปบทเรียนระหว่างการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่
-ได้บันทึกการประเมินคุณค่าในระหว่างการทำกิจกรรมโครงการเป็นระยะ -โครงการมีการดำเนินโครงการด้วยกิจกรรมที่หลากหลายแต่การบันทึกยังไม่เป็นปัจจุบัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงานความห้าวหน้าโครงการ สิ่งที่พื้นที่ได้รับประโยชน์  ปัญหาอุปสรรค  งานที่จะพัฒนาต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

นำเสนอรายงานความก้าวหน้าต่อที่ประชุมและบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำงาน  เช่นความรู้ กระบวนการ วิธีการดำเนินงาน

 

2 1

12. พัฒนากลุ่มนากวดน่าอยู่เป็นกลุ่มจิตอาสา

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมกลุ่ม บวร ไตรพลังฯ ทำกิจกรรมลดรายจ่ายครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-กลุ่มนากวดน่าอยู่ สามารถรวมตัวกันช่วยเหลือคนยากไร้ ด้อยโอกาสในชุมชน จากกิจกรรมผูกผ้าในงานศพ และสามารถทำผลิตภัณฑ์ยาหม่องไว้แจกจ่ายเป็นยาสมุนไพรประจำบ้าน -โรงเรียนได้พัฒนาต่อยอด ในการจัดการขยะ โดยวิธี 3 R เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ ในการทำปุ๋ยหมักแห้ง และน้ำหมักเพื่อใช้กับเกษตรของโรงเรียนวัดนาท่อม
-กลุ่มนากวดน่าอยู่ พัฒนากลุ่มเป็นกลุ่มจิตอาสาช่วยเหลือชุมชนได้หลากหลายกิจกรรมที่เกิดขึ้นไม่ว่า วัดโรงเรียน หรือเทศบาล ส่วนโรงเรียนนักเรียนต่อยอดจากธนาคารขยะสู่แปลงผักในโรงเรียนด้วยปุ็ยที่นักเรียนเรียนรู้วิธีทำและวิธีใช้ -ส่วนวัดเจ้าอาวาสได้ให้ความร่วมมือในการขยายผล ประชาสัมพันธ์ และ เจ้าอาวาสได้ใช้เวลาเทศน์ให้ความรู้ในวันสำคัญเรื่อง ของบวร ไตรพลังเรื่องการกินเพื่อสุขภาพเรื่องสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-พัฒนากลุ่มนากวดน่าอยู่เป็นกลุ่มอาชีพ ที่มีจิตอาสา ให้บริการชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน ในงานวัด  งานบุญ และงานศพ เช่น การผูกผ้า การให้บริการในงานของวัด -มีการจัดทำข้อตกลงในการจดกิจกรรมแบบประหยัด เช่น รณรงค์งานศพปลอดเหล้า
-รณรงค์การทำเกษตรข้างบ้าน ลดรายจ่าย ลดต้นทุน ทำปุ๋ย ทำน้ำหมัก จากอินทรีย์วัตถุ ทำสินค้าทดแทนใช้ในงานวัด โรงเรียน และครัวเรือน เช่น น้ำยาล้างจาน ยาหม่อง -เป้าหมาย รวมกลุ่มทำกิจกรรมส่งเสริมการลดรายจ่ายครัวเรือนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เช่น สวนเกษตรข้างบ้าน หนุนเสริมถังหมักกลุ่ม กากน้ำตาล  สินค้าทดแทน  แจกเมล็ดพันธ์

กิจกรรมที่ทำจริง

-พัฒนากลุ่มนากวดน่าอยู่ให้ฝึกผูกผ้า เป็นจิตอาสาช่วยเหลืองานศพผู้ด้อยโอกาส
-กลุ่มนากวดน่าอยู่รวมตัวกันผลิดยาหม่อม ใช้นวดยามปวดเหมือย เข็ด เวลาหกล้ม -สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์การทำเกษตรกับโรงเรียน ในการทำเกษตรพอเพียง คู่กับการจัดการขยะอินทรีย์เพื่อใช้ทำปุ๋ยหมักแห้ง  และน้ำหมักชีวภาพ

 

65 58

13. ประชุมสภาแกนนำและสภานักเรียน

วันที่ 7 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางแผนทำธนาคารขยะและฝึกการนำเสนอให้กับสภานักนักเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สิ่งที่ได้จากการประชุม -สภาเด็กนักเรียนสามารถอธิบายขั้นต้อนการรับฝาก ถอน ธนาคารขยะได้ -สภาแกนนำที่เป็นพี่เลี้ยงมีความตั้งใจในการสอนและช่วยเหลือเด็กได้อย่างมีความรับผิดชอบ -เด็กที่ได้รับการศึกษาดูงานและมาฝึกทำที่โรงเรียนมีความมั้นใจและอยากเป็นผู้นำเสนอให้เพื่อน ๆ ดู -เด็นนักเรียนสามารถทำธนาคารขยะได้จริง ในวัดนเปิดธนาคาร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาแกนนำเพื่อการวางแผนทำกิจกรรมในการนำเสนอของธนาคารขยะในโรงเรียนวัดนาท่อม โดย สภาแกนนำของบ้านนากวดร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศบาลในการฝึก

กิจกรรมที่ทำจริง

เจ้าหน้าที่เทศบาลและสภาแกนนำบ้านนากวดที่รับผิดชอบการจัดกระบวนการธนาคารขยะ จัดทำเอกสารนำเสนอ ให้กับสภาเด็กนักเรียนที่จะเป็นคนนำเสนอ โดยแยกเป็น
- นำเสนอภาพรวมธนาคารขยะ ถึงหลักคิด - นำเสนอขั้นตอนวิธีการในการรับฝาก- ถอนของธนาคารขยะ - นำเสนอการวางคน ตำแหน่ง และบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน - ฝึกการนำเสนอและสาธิตของเด็ก ๆ

 

20 20

14. การวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนเพื่อปรับปรุงแผน

วันที่ 9 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เรียนรู้ทบทวนกระบวนการทำแผนชุมชนบ้านนากวด ของสภาแกนนำร่วมกับประชาชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-สภาแกนนำชุมชนบ้านนากวดและประชาชน ได้เรียนรู้กระบวนการทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม -สภาแกนนำชุมชนบ้านนากวด ใช้แผนชุมชนเป็นเครืองมือในการทำงานพัฒนาชุมชน โดยผ่านกระบวนการทางข้อมูล -ประชาชนได้แสดงความเป็นเจ้าของชุมชน โดยการเสนอข้อมูลเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงแผนชุมชนบ้านนากวด ด้านคุณภาพชีวิตและด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเรียนรู้กระบวนการทบทวนแผนชุมชนบ้านนากวด ศึกษาจากแผนชุมชนพึงตนเอง -เรียนรู้การจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำมาปรับปรุง ซึ่งข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลของครัวเรือน  และข้อมูลของชุมชน
-เมื่อรวบรวมข้อมูลได้ครบตามที่กำหนด สภาแกนนำบ้านนากวดนำมาวิเคราะห์ก่อนจัดทำร่างแผนเพื่อเสนอต่อที่ประชุมหมู่บ้าน -ประชุมเพื่อประชาพิจารณ์แผนให้ประชาชนช่วยเติมเต็ม -ประชุมขออนุมัติแผนที่ผ่านการทำประชาพิจารณ์นำไปสู่การทำแผนชุมชน เพื่อนำไปจัดหมวดหมู่ -จัดทำแผนชุมชนเป็นรูปเล่ม -ให้ความเห็นชอบรับรองแผน -ประสานแผนโดยสภาแกนนำบ้านนากวด -การตรวจสอบและการติดตามผล

กิจกรรมที่ทำจริง

เจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลนาท่อม ให้ความรู้เรื่องการทำแผนที่ดีของชุมชนแบบมีส่วนร่วม -วิทยากรนำเสนอขั้นตอนการจัดทำแผนเป็นการร่วมกันเรียนรู้ทบทวนให้เห็นกระบวนการของการทำแผนชุมชน -สร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนในการนำเสนอข้อมูลเพื่อนำมาปรับข้อมูลในแผนชุมชนของบ้านนากวด -มีการจัดแยกหมวดหมู่ ของกิจกรรมใน แผนแบ่งเป็นด้านคุณภาพชีวิต และด้านพื้นฐานสาธารณะประโยชน์ -มีการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่นำเสนอผ่านที่ประชุมผ่านการมีส่วนร่วมเพื่อนำไปใส่ไว้ในบัญชีของแผนชุมชน

 

40 37

15. ติดตามหนุนเสริม การทำงานร่วมกันของ บ้าน วัด โรงเรียน (บวร ไตรพลังฯ)เป็นการติดตามหนุนเสริมแหล่งเรียนรู้ทั้ง 3 แหล่ง ครั้งที่ 1

วันที่ 19 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อการบูรณาการของ บ้าน วัด โรงเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-เห็นการทำงานร่วมกันระหว่าง บวร กับภาคีหน่วยงานข้างนอก ที่ชัดและเห็นการมีส่วนร่วมของชุมชนเพิ่มขึ้น

-โรงเรียน ทั้งครูและนักเรียนมาร่วมกิจกรรม โดยการนำปิ่นโตมาวัดและตักบาตร

-ประชาชนมาร่วมกันนำปิ่นโตมาวัดและร่วมกันตักบาทกับผู้ว่าราชการจังหวัด ดร.วินัยบัวประดิษฐ์

-ความร่วมมือของกลุ่มจิตอาสาบ้านนากวดจัดสถานที่ จัดดอกไม้ ผูกผ้าให้ในกิจกรรมนี้ทำโดยกลุ่มจิตอาสา

-ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงได้ร่วมกิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม โดย ปลูกไม้ปล่อยปลา

-สรุป เห็นการบูรณาการ หรือทำงานร่วมของ บ้าน วัดโรงเรียน ผ่านกิจกรรมชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-นิทรรศการแสดงผลงาน ของกลุุ่ม นากวดน่าอยู่เป็นกลุ่มจิตอาสา(กิจกรรมรับจัดงานวัด งานศพ เช่น จัดดอกไม้ ผูกผ้า ทำอาหารเลี้ยงแขก) -ฝึกอาชีพให้ 2 ครั้ง (จัดพวงหรีด,จัดดอกไม้) -จัดทำข้อตกลงร่วมกัน เช่น รณรงค์เข้าวัดทุกวันพระ

กิจกรรมที่ทำจริง

เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของ บ้าน  วัด  โรงเรียน  เทศบาลนาท่อม และทุกหน่วยงานในพื้นที่ร่วมกับ ทีผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อ จัดโครงการ ผู้ว่าพาเข้าวัดพัฒนาคุณธรรม เป็นการสร้างการมีส่วนร่วม หรือ บวร ที่เห็นหลาย ๆ ภาคส่วนมารวมกัน ทำงานร่วมกัน ลดความขัดแย้งสร้างความพรองดอง

 

85 85

16. ประชุมสภาแกนนำบ้านนากวด ร่วมกับสภาวัฒนธรรม เพื่อเตรียมการแข่งขันเรือนพายประจำปี 2558

วันที่ 23 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดเตรียมงานแข่งขันเรือพายประจำปี 2558

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ได้เห็นการทำงานของสภาแกนนำบ้านนากวด ในการเตรียม วางแผนกิจกรรมในพื้นที่ -ได้เห็นการประชุม พูดคุยแลกเปลี่ยน ในการสร้างกฏ กติกา ใช้กับการแข่งขันเรือยพาย -เห็นการประสานงานของสภาแกนนำบ้านนากวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ -เห็นข้อสรุปจากการประชุมออกมาเป็นแผนงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเตรียมสถานที่แข่งขันเรือพายประจำปี 2558 -การจัดการเตรียมงาน -การจัดสถานที่ -การจัดหากรรมการ -การมีส่วนร่วมใสชุมชน -การจัดแบ่งบทบาทของคณะทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

-ประชุมสร้างความเข้าใจเพื่อเตรียมงานงานการแข่งขันเรือพาย ปี /2558 จากการประสานงานของสภาแกนนำบ้านนากวด
-เพื่อวางแผนการจัดงาน การจัดโครงสร้างความรับผิดชอบคณะทำงาน -พิจารณาหลักเกณฑ์ การกำหนดกติกา ในการแข่งขัน

 

20 20

17. ประสานแผนชุมชนกับหน่วยงานเทศบาลตำบลนาท่อม

วันที่ 1 เมษายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อนำผลการประชาคมของบ้านนากวดให้กับทางเทศบาลบรรจุไว้ในแผน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ชุมชนได้แผนชุมชนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม 3 ฝ่ายโดยใช้กระบวนการทบทวน และผลักดันแผนสู่การปฏิบัติ -สภาแกนนำบ้านนากวดแสดงบทบาทของการขับเคลือนแผนชุมชนร่วมกับเด็กและเยาวชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-จัดทำสำเนาแผนขึ้นมาแล้วรับรองโดยผู้ใหญ่แล้วนำส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -การตรวจสอบและติดตามการดำเนินการ โดยสภาแกนนำหมู่บ้าน  ผู้ใหญ่  สท -ยีนยันบัญชีโครงการจากผลการประชาคมถึงความต้องการของประชาชนบ้านนากวด

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมร่วมกับเทศบาลเพื่อประสานแผนกับเทศบาลตำบลนาท่อม
- สภาแกนนำร่วมกับเด็กและะเยาวชนยืนยันกิจกรรมจากการประชุมหมู่บ้านนำมาเข้าสู่แผนตำบลสู่การปฏิบัติในปี'งบประมาณ 2559

 

40 33

18. ประชุมสภาแกนนำบ้านนากวดและประชุมหมู่บ้าน

วันที่ 9 เมษายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเตรียมงานรดน้ำผู้สูงอายุในวัดนาท่อม และเพื่อเตรียมงานการแข่งขันเรือพาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-สภาแกนนำบ้านนากวด และประชาชนมีการประชุมแลกเปลี่ยนเพื่อเตรียมงานและเพื่อจัดกิจกรรม รดน้ำผู้สูงอายุกิจกรรมการจัดการแข่งขันเรือพายประชำปีและประชุมเรื่องทั่วไปของชุมชน -ได้ทำงานร่วมกับ วัด โรงเรียน เทศบาล และวัดในการจัดกิจกรรมซึ่งทุกคน ต่างก็มีบทบาทต่อผู้สูงอายุกันทุกกลุ่มองค์กร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ประชุมเพื่อติดตามประเมินผล เพื่อปรับปรุง และเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง
-เพื่อปรับปรุงพัฒนากลไกของชุมชนในการทำงานชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

-ประชุมชุมตามระเบียบวาระ โดยผู้ใหญ่เป็นประธานการประชุม โดยมีเรื่องจากทางการ อำเภอเมืองแจ้งให้ทราบ ได้แก่ เรื่องการแพร่ยาเสพติด  เรื่องการละเล่นสงกรานตร์ การใช้รถใช้ถนนในช่วงเทศกาล -เรื่องของชุมชน  ได้แก่ การเตรียมงานรถน้ำของพรแด่ผู้สูงอายุ การเตรียมงานกิจกรรมประเพณีแข่งขันเรือพายที่ท่าน้ำหน้าวัดนาท่อม

 

40 30

19. บูรณาการ บ้าน วัด โรงเรียน ทำงานร่วมกันหลายองค์การ (กิจกรรม รดน้ำผู้สูงอายุ)

วันที่ 10 เมษายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

จัดกิจกรรมรดน้ำผู้สูงอายุ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-เทศบาลตำบลนาท่อมให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อเห็นชุมชนทำงานร่วมกันในรูป บวร  คือ บ้าน  วัด  โรงเรียน ทำงานร่วมกันแบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรมรดน้ำผู้สูงอายุเป็นกิจกรรมรวมคนในวัดนาท่อม -การทำงานร่วมกัน กลไก  บวร  เห็นทุกภาคส่วนยืนมือเข้ามาร่วม  เป็นกิจกรรมสืบทอดทางวัฒนธรรมที่เด็กนักเรียนได้เรียนรู้และซึมซับ -วัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน โดยที่มี บ้าน  โรงเรียน เทศบาล และทุกภาคส่วน ใช้เป็นฐานในการเรียนรู้ ทำกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในชุมชน พัฒนาคุรภาพชีวิตที่มีคุณค่า เด็กได้เรียนรู้คุณค่าประเพณีวัฒนธรรมต่อสายใยชุมชน ที่สืบทอดโดยเด็ก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-พัฒนาศักยภาพคณะทำงานบวร ไตรพลัง ที่ประกอบด้วย สภาแกนนำบ้านนากวด  กรรมการวัด  ครูและสภานักเรียน ทำกิจกรรมร่วมกันกับองค์กรอื่นในพื้นที่ -เป็นการทำงานร่วมกันหลายภาคส่วนอย่างมีส่วนร่วม

กิจกรรมที่ทำจริง

-ชุมชนโดยสภาแกนนำบ้านนากวด ช่วยจัดพื้นที่ ประสานงาน และดำนวยความสะดวก -โรงเรียนโดยเด็กนักเรียนครู ร่วมเรียนรู้ ประเพณีอันอีที่สืบทอดมายาวนาน -กลุ่มผู้ใหญ่ กำนันอำนวยความสะดวดช่วยเหลือ การประสานงานหาผู้สูงอายุเข้าร่วม

 

100 200

20. ติดตามหนุนเสริมทั้ง 3 กลุ่มในงานรณรงค์แสดงผลงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 13 เมษายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรณรงค์และเผยแพร่ให้สาธารณะรับทราบกิจกรรมชุมชนบ้านนากวดในงานแข่งขันเรือพาย 3 วัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลที่ได้รับจากการรณรงค์
-ผลจากป้ายรณรงค์ เขตอภัยทานขยะ  ถนนสวยหมู่บ้านสะอาด  หลังจบกิจกรรมแข่งขันเรือพาย ขยะริมถนนลดลง ชุมชนและคนที่เข้ามาร่วมตระหนักเพิ่มมากขึ้น วัดได้จากจำนวนขยะถูกรับผิดชอบจากแม่ค้าขายของที่แจกถุงดำให้ -ลานสร้างสุข เป็นพื้นที่สำหรับเด็กได้มีกิจกรรมในศาลาหมู่บ้านนากวด เป็นพื้นที่สำหรับเด็กได้เล่น  ผลที่ได้ เด็กได้มีพื้นที่เล่น และได้รับความสำคัญจากพ่อแม่เด็ก -มีครัวเรือนต้นแบบในชุมชนบ้านนากวดนำพืชผักที่ส่งเสริมรณรงค์ให้ปลูกกินเองนำมาจำหน่ายแลกเปลี่ยนเป็นรายได้อีกช่องทางของชุมชน -กลุ่มจิตอาสานากวด น่าอยู่ได้มีการมาผูกผ้าจัดพื้นที่เพื่อต้อนรับผู้ว่ามาเปิดงานแข่งเรือพาย และได้เป็นคณะทำงานเรือ ด้านบริการ และหน่วยรักษาความปลอดภัย เป็นผลมาจากการได้ฝึกฝนก่อนจากหลักสูตรป้องกันภัยพิบัตทางน้ำ -แหล่งเรียนรู้สืบชะตาคลองนาท่อมได้มีการประชาสัมพันธ์ตลอดงาน 3 วันจนเป็นที่รู้จักของประชาชนทั้งตำบล ถึง กิจกรรม 4  อย่าง คือ การจัดการขยะ  การปลูกไม้ การรักษาเขตอภัยทานปลา -สภาแกนนำบ้านนากวดสามารถ เรียนรู้งาน เตรียมงาน ได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ประชุมเตรียม การจัดกิจกรรม และสรุปกิจกรรม 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-กรรมการหมู่บ้าน,วัด,โรงเรียน จัดกิจกรรมติดตามประเมินแหล่งเรียนรู้ ทั้ง 3 แหล่ง โดยการนำเสนอผลงานในงานของตำบล เช่น งานกีฬาของเทศบาล,งานประเพณีแข่งขันเรือพาย -พัฒนากลุ่มนากวดน่าอยู่ให้เป็นกลุ่มจิตอาสา เป็นกลุ่มจิตอาสาและเป็นกลุ่มที่มีการสร้างกติกา กฎระเบียบกลุ่มให้เป็นตัวอย่าง -รณรงค์การรักษากติกาของชุมชน เช่น เขตอภัยทานขยะ  เขตอภัยทานปลาคลองนาท่อม 

กิจกรรมที่ทำจริง

-สภาแกนนำบ้านนากวดได้วางแผนก่อนถึงงานในการจัดป้ายนิทรรศการ ประกาศเขตอภัยขยะริมถนนสาธารณะในพื้นที่บ้านนากวดและกิจกรรมสำหรับเด็กในศาลาหมู่ที่ 7 บ้านนากวดให้เด็กได้ทำกิจกรรม 3 วัน -ในขณะที่ทำการแข่งข้นเรือพาพายทางโฆษกได้ประกาศเป็นระยะ ๆ ถึง กติกาของชุมชน กติกาการแข่งขันเรือพาย เพื่อต้องการให้เห็นชุมชนนากวดน่าอยู่ ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏกติกา -หลังจากการแข่งขัน สภาแกนนำบ้านนากวดได้ประชุมเพื่อสุรปกิจกรรม การแข่งขันเรือพายและการรณรงค์

 

85 80

21. รณรงค์สร้างจิตสำนึกชุมชน โดย ครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ให้คนชุมชนบ้านนากวด ชุมชนอื่น รู้เข้าใจปฏิบัติการเก็บขยะสาธารณะ

วันที่ 26 เมษายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สร้างจิตสำนึกสาธารณะโดยเด็กเป็นสื่อ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-เป็นการสร้างจิตสำนึกกับทุกคนในชุมชนและคนนอกชุมชนต้องมีความรับผิดชอบขยะ ต้องรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเด็ก และครอบครัว -ชุมชนเกิดกฏกติกาขึ้น จำนวนมาก ได้แก่ เขตอภัยทานขยะ,เขตอภัยทานปลา,ปฏิญญาของผู้นำร่วมกันรักษาดูแลปลาและสิ่งแวดล้อมในคลอง, ใช้การประชุมวันที่ 9 ทุกเดือนเป็นการตัดสินใจเรืองต่าง ๆ -กิจกรรมของครอบครัวจักรยานทำการรณรงค์อยา่งต่อเนื่องของเด็กจะทำให้จิตสำนึกเกิดขึ้นได้เร็วและเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อ -สิ่งที่คาดหวังเกิดขึ้นคือ การทำงานร่วมกับเทศบาลตำบลนาท่อม ได้ประกาศเขต ถนนสวยหมู่บ้านสะอาด เป็นเขตอภัยทาน ตามกิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันทำกติกาที่ประชาชนร่วมคิด ของแค่ละฝ่าย -โรงเรียน  ธนาคารขยะใช้กระบวนการ 3R  ในการจัดการโดยสภานักเรียน -โครงการสืบชะตาคลองนาท่อมใช้เด็กจากครอบครัวจักรยานสื่อสาร -วัดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน ฝึกเด็ก เป็นผู้นำ -การสื่อสารโดยใช้เด็กและเยาวชนที่ผ่านการฝึก 5 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

สื่อสารกิจกรรม สืบชะตาคลองนาท่อม โดยการสร้างจิตสำนึกโดยเด็กปั่นจักรยานในวันอาทิตย์แล้ว เก็บขยะในพื้นที่ และเยี่ยผู้สูงอายุของชุมชน  และในพื้นที่ของหมู่บ้านจะมีป้ายรณรงค์ให้คนทั้งข้างในและข้างนอกร่วมกันไม่ทิ้งขยะในชุมชน โดยมจะมีป้ายประกาศ เป็นป้ายเขต อภัยทานขยะ  พวกเราคนหมู่ที่....จะไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ เป็นถนนสวย  หมู่บ้านสะอาด

 

70 50

22. สร้างจิตสำนึกเด็กและเยาวชนในการพัฒนาตำบลนาท่อมเป็นพื้นที 3 D

วันที่ 2 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาทุนที่มีศักยภาพในพื้นที่ โดยกำหนดให้เป็นพื้นที่ 3 ดี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-จากมุมมองของสมาชิกสภาแกนนำบ้านนากวดเห็น เด็กและเยาวชนตำบลนาท่อม ผ่านกิจกรรมนี้ ได้เห็นถึงการที่แกนนำได้นำเด็กไปศึกษาเรียนรู้ผ่านครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ มากกว่า 3 ปี พบว่า สิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเรียนรู้  เช่น เดิมเด็กไม่รู้จักผู้นำตัวเอง ปัจจุบันเด็กรู้จัก เดิมเด็กไม่รู้จักสถานที่สำคัญของชุมชน ปัจจุบันเด็กก็ได้รู้จัก ฯลฯ เด็กได้สะท้อนมาในการวิเคราะห็ข้อมูลทุนชุมชน -จากเดิมชุมชนมีขยะในพื้นที่สาธารณะจำนวนมาก การณรงค์เก็บขยะของเด็กและเยาวชน ทำให้ขยะในที่สาธารณะลดลง ชุมชนสะอาดขึ้น สิ่งเล่านี้เกิดจากการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องของเด็กและเยาวชน -ความร่วมมือของชุมชน และความไว้วางใจของพ่อแม่เด็กและเยาวชน เดิมไม่ค่อยให้มาร่วมทำกิจกรรมกับพี่เลี้ยง ปัจจุบัน ทั้งครูและผู้ปกครอบไว้ใจและให้ความร่วมมืออย่างดี -ผลจากการทำกิจกรรมได้เห็นสิ่งที่อยู่ในตัวเด็กตอนนี้ คือ ความรู้และจิตสำนึกต่อชุมชน  เมื่อก่อนอยู่ในความคาดหวัง ปัจจุบันอยู่กับตัวเด็กแล้ว ทั้งเรื่องวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-กิจกรรมใช้เด็กเป็นสื่อที่หลากหลาย
กำหนดกิจกรรมโดยออกแบบทำกรอบจัดกระบวนการให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาพื้นที่ 3 D (สื่อดี  ภูมิดี พื้นที่ดี) ได้ทำร่วมกับภาคีเครือข่ายเด็กร่วมกับ 3 ตำบล บ้านนากวดเข้าร่วมเรียนรู้เพื่อพัฒนาต่อ โดยใช้สภานักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อม  ส่วนวัดมีนายสมัย  หมวดมณี ในการนำเด็ก  ส่วนบ้านนากวด ใช้แหล่งเรียนรู้บ้านขนมจีน นางจัด  พรหมแท่น  ขับเคลือนโดยสภาแกนนำบ้านนากวด คุณวิภา พรหมแท่นและคนอื่น ๆ เป็นกระบวนการให้เด็กค้นหาทุนที่มีศักยภาพในการจะนำไป สื่อสาร  โดยเด็กและเยาวชน เช่น ละครหุ่นเงา

กิจกรรมที่ทำจริง

-สร้างความเข้าใจกับกลุ่มเด็กและเยาวชน -ทำการวิเคราะห์พื้นที่เก็บข้อมูลทุนศักยภาพในพื้นที่ตัวเอง -คัดเลือกกำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ -ไปสร้างสื่อกระบวนการในการปฏิบัติของแหล่งปฏิบัติการจริงในพื้นที่ คือ บ้านขนมจีน บ้านนางจัด  พรหมแท่น ภูมิดี(หมายถึง ภูมปัญญาการทำขนมจีน) -จากนั้นเลือกพื้นที่ดี คือ พื้นที่คลองนาท่อม เป็นทั้งที่ชมปลา ที่เล่นน้ำ -นำมาทำสื่อนำเสนอในตอนค่ำคืน เป็นการนำเสนอด้วยสื่อที่เด็กสร้างเอง -เล่นละครหุ่นเงาเด็กสื่อสารเรื่องเล่าของชุมชน

 

40 40

23. งานรณรงค์ขยะแลกไข่

วันที่ 20 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนากระบวนการธนาคารขยะของสภานักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-สภาแกนนำบ้านนากวดร่วมมือเป็นพี่เลี้ยงให้สภานักเรียน จนนักเรียนมีความรู้ เข้าใจในกระบวนการสามารถจัดการเองได้ที่โรงเรียน -การบวนการธนาคารขยะในโรงเรียนต้องมีครูพี่เลี้ยงในการดำเนินการ -ครู ผอ.เห็นด้วยและให้ความร่วมมือกับสภาแกนนำบ้านนากวดเป็นอย่างดี เนื่องจากครูสอนเด็กด้วยหลักการทำให้เห็นผล
-การรณรงค์ของงะนาคารขยะต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พัฒนาแหล่งเรียนรู้ธนาคารขยะในโรงเรียนวัดนาท่อม -จัดกระบวนการโดยวิธีแยกขยะโดยวิธี 3 R ด้วยกิจกรรมทอดผ้าป่าขยะ  ตลาดนัดขยะแลกไข่

กิจกรรมที่ทำจริง

ขั้นตอนการจัดกระบวนการ -สร้างความเข้าใจกับสภานักเรียนและแบ่งบทบาทหน้าที่ในการรับชื้อขยะร่วมกับครู และสภาแกนนำบ้านนากวดที่เป็นพี่เลี้ยง โดยแบ่งหน้าที่ดังนี้ คนเทียบราคา  คนจ่ายไข่ไก่  คนเอาขยะชั่งกิโล  คนคิดเงิน เพื่อปฏิบัติจริง เพื่อนำกระบวนการมาปฏิบัติกับธนาคารขยะในโรงเรียน -เด็กสามารถเข้าใจและนำมาใช้กับธนาคารขยะในโรงเรียนได้ -สภาแกนนำบ้านนากวดประสานราคาให้กับโรงเรียนโดยใช้คนซื้อในชุมชนเพื่อลดภาระการเก็บขนขยะที่รับแลกไข่ไว้

 

20 20

24. ประชุมประจำเดือนมิถุนายนเพื่อเตรียมปิดโครงการ

วันที่ 9 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเตรียมปิดโครงการและประชุมเรื่องทั่วไปของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-เป็นการประชุมประจำเดือนทุกวันที่ 9  ของเดือน ได้ทราบกิจกรรมของชุมชน รู้ความเคลื่อนไหวของชุมชน
-สภาแกนนำบ้านนากวด ได้เตรียมกิจกรรม ได้หาหรือแลกเปลี่ยนเพื่อทำกิจกรรม ในแต่ละครั้ง -ผลของกิจกรรม กลุ่มผู้สูงอายุส่วยใหญ่ของชุมชนที่ให้ความร่วมมือและทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในชุมชน -สภาแกนนำบ้านนากวด เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากร่วมดำเนินกิจกรรม บวร ไตรพลังมาระยะเวลา 1 ปี ด้านพฤติกรรมของผู้สูงอายุเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นคือ 1. การรวมตัวออกมาร่วมทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น 2. ทุกวันพระ มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น 3. กิจกรรมของขุมชนที่มีความหลากหลายกลุ่มผู้สูงอายุจะให้ความร่วมมือจนสำเร็จ
4. กิจกรรมทำพิพิธภัทณ์โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลาง จะเห็นได้ชัดกลุ่มผู้สูงอายุให้ความสำคัญต้องการผลักดันให้ทำให้ได้ แต่ละคนมีสิ่งของมาบริจากถ้าทำดี ๆ น่าเชื่อถือ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมตามระเบียบวาระ -เรื่องที่อำเภอแจ้งให้ทราบ -เรื่องกิจกรรมของชุมชน -เรื่องอื่น ๆ เช่น โครงการบวร ไตรพลัง สร้างสุขนากวดสู่บ้านนากวดน่าอยู่

กิจกรรมที่ทำจริง

-ผู้ใหญ่เปิดการประชุม ตามระเบียบวาระการประชุม -เรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ คือ จากประชุมอำเภอ -เรื่องทั่วไป มีเรื่อง การขั้นทะเบียนเกษตรกรที่ตกค้างและการนำรุปติดสมุดเกษตรเกษตรกร -เรื่อง โครงการ บวร ไตรพลัง การกำหนดปิดโครงการ วันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เป็นการปิดคืนข้อมูลให้กับชุมชนได้ทราบถึงผลการดำเนินงาน 1 ปี ได้ทำกิจกรรมอะไรไปบ้าง ได้อะไร

 

40 35

25. สร้างกระบวนการให้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้

วันที่ 23 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาวัดนาท่อมเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เกิดขึ้น 1 แหล่ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-จากการหาหรือกับพี่น้องประชาชน ได้พบความต้องการและตอบรับ -ท่านเจ้าอาวาสได้อนุญาติให้ใช้อาคารไม้เก่าเป็นสถานที่จัดเก็บและรวบรวมชิ้นงาน แล้วค่อย ๆ พัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น -พี่น้องประชาชน และผู้สูงอายุมีสิ่งของเก่าแก่จำนวนมากแจ้งความประสงค์จะให้แต่ต้องปรับปรุงอาคารให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าสิ่งที่ให้มาจะเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี -คณะทำงานเรื่องพิพิธภัณฑ์ต้องจัดกระบวนการ ให้มีความชัดเจนกว่านี้ เช่น ใครเป็นคนดูแล การเปิดดำเนินการเป็นอย่างไร
-คณะทำงานได้สรุปให้ผู้ชักถาม เรื่องการสร้างพิพิธภัณฑ์โดยใช้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้เป็นแค่จุดประกาย ตั้งตั้งต้น ไม่ได้สร้างเพียงวัน หรือเดือนเดียวเสร็จแต่อาจใช้เวลาหลายปี ค่อย ๆ ปรับปรุงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ครั้งนี้เป็นจุดตั้งต้นโดยกลุ่มชุมชนบ้านนากวด แต่ต่อไปต้องเป็นของคนทั้งตำบลที่ต้องร่วมดำเนินการ ต้องเป็นเจ้าของร่วม ให้เป็นจุดเรียนรู้ตำนานเรื่องของชุมชนต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดสถานที่วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ 1 แหล่งรวบรวมจัดเก็บ

-ภาพเก่าเล่าเรีอง เช่น ภาพในโบสถ์ ,ภาพในอดีตของชุมชน

-เรื่องเล่าวัฒนธรรม ประเพณี

-สอนให้เด็กเป็นไกด์,วิทยากรแหล่งเรียนรู้

-พระเป็นวิทยากร กระบวนการเบื้องต้น

-นายสมัย  หมวดมณี ประธานสภาวัฒนธรรมและประธานชมรมผู้สูงอายุเป็นพี่เลี้ยงเด็ก

กิจกรรมที่ทำจริง

ชี้แจงและประกาศให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหิ้วปิ่นโตไปวัดพัฒนาคุณธรรมได้ทราบ การใช้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อใช้สถานที่วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ความเป็นชุมชนของคนตำบลนาท่อม ด้วยการเก็บรวบรวมของเก่า ภาพเก่าบุคคลสำคัญ ภาพวาดทางพุทธศาสนาในโบสถ์ เรื่องเล่าทางวัฒนธรรม ภาพประเพณีเล่าเรื่อง ร่วมกับชมรมผู้สูงอายุ โดยมีนายสมัย  หมวดมณี ประธานชมรมผู้สูงอายุ และประธานสภาวัฒนธรรม เป็นแกนหลักในการเป็นวิทยากรแหล่งเรียนรู้สอนให้เด็กและเยาวชนในการเป็นไกด์ มีเจ้าอาวาส เป็นพี่เลี้ยงใช้เป็นที่เรียนรู้ของเด็กและเยาวชน

 

102 102

26. เปิดธนาคารขยะในโรงเรียนวัดนาท่อมอย่างเป็นทางการ

วันที่ 24 มิถุนายน 2015 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้สภานักเรียนเปิดดำเนินการเปิดธนาคารขยะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-เกิดแหล่งเรียนรู้ธนาคารขยะในโรงเรียนวัดนาท่อม 1 แหล่งที่บริหารจัดการโดยสภานักเรียน มีครู เทศบาลและสภาแกนนำบ้านนากวดเป็นพี่เลี้ยง -สภานักเรียนและเด็กนักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการธนาคารขยะ และการจัดการขยะโดยวิธี 3 R -โรงเรียนวัดนาท่อมที่มี ผอ.โรงเรียนและครูสนใจเรียนรู้การเป็นโรงเรียนปลอดขยะจากการศึกษาดูงานโรงเรียนบ้านนาทวี จังหวัดสงขลาแล้วนำกลับมาทำในโรงเรียน จนเกิดกิจกรรมธนาคารขยะ การคัดแยกขยะโดยวิธี 3 R
- โรงเรียนที่นำโดยครู ทุกท่านได้เปิดใจรับการเรียนรู้จนเด็กเกิดพฤติกรรมเปลี่ยนไป ทำปุ๋ยหมัก และแห้งได้ , สามารถคัดแยกขยะโดยวิธี 3R
- เด็กและเยาวชนมีการรณรงค์ ร่วมกับศูนย์พัฒนาครอบครัวในตำบลนาท่อม ได้มีครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ ได้จัดการรวมเด็กอย่างหลวม ๆ มากกว่า 3 ปี อย่างต่อเนื่อง จัดทำเขตอภัยทานขยะของทุกชุมชน เป็นผลให้เกิดพฤติกรรมของคนในชุมชนและนอกชุมชนได้เรียนรู้การมีกติการ่วมกันเป็นเขตอภัยทานขยะ เหมือ ธรรมนูญุมชนแต่ไม่ลงโทษ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-พัฒนาแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนปลอดขยะ

  • มีแหล่งเรียนรู้ธนาคารขยะ  1  แห่ง

-มีการจัดการขยะโดยวิธี 3R  ที่มีกิจกรรม ทอดป่าป่าขยะ  ขยะแลกไข่ รองรับ  ตลาดนัดขยะ

-ใช้สภานักเรียนเป็นผู้ดำเนินการ

-ใช้สภาแกนนำบ้านนากวดเป็นพี่เลี้ยง

กิจกรรมที่ทำจริง

-ประกาศแจ้งล่วงหน้ากับนักเรียนว่า 24/6/58 จะมีเปิดธนาคารขยะอย่างเป็นทางการกับนักเรียน
-คุณครูร่วมกับสภาแกนนำบ้านนากวด ช่วยประสาน ราคาและคนรับซื้อขยะเพื่อให้มารับหลังจากที่นักเรียนดำเนินการเสร็จ -นักเรียนร่วมกันดำเนินการ จัดแบ่งบทบาทหน้าที่ในการ ดำเนินการเปิดรับฝากของธนาคารขยะ แต่ละคนวางบทบาทหน้าที่ไว้เพื่ออำนวยความสะด้วกและง่ายต่อการเรียนรู้ทำได้ในครั้งต่อไป ได้แก่ ฝ่ายคัดแยก  ฝ่ายตาชั่ง  ฝ่ายลงทะเบียนบันทึกสมุด ฝ่ายจัดเก็บ

 

85 70

27. ประชุมร่วมระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน

วันที่ 9 กรกฎาคม 2015 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานการดำเนินการโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสรุขสู่บ้านนากวด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ผู้ใหญ่รายงานผลการดำเนินงานโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่และแจ้งกำหนดวัดคืนข้อมูลให้ประชาชนบ้านนากวด เพื่อกำหนดกิจกรรมต่อ -สภาแกนนำบ้านนากวดร่วมกับผู้ใหญ่สุรศักดิ์ รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา -ความรู้จากการรวมพลัง บ้าน  วัด  โรงเรียน ชุมชนบ้านนากวดในการทำกิจกรรมรวมคน รวมพลัง ในการทำกิจกรรม 4 กิจกรรมหลัก -พัฒนากิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ในเรื่องการจัดการ สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ใช้ 4 กิจกรรม คือ การจัดการขยะ  ปลูกไม้  ปล่อยปลา  ขยายเขต ทำร่วมกับเทศบาลเป็นนโยบายขับเคลื่อนทั้งตำบล ผลที่เกิดรูปธรรมความสำเร็จ คือ จิตสำนึกของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม คลองนาท่อมสะอาด มีปลาเพิ่มมากขึ้นเป็นเขตอภัยทานไม่จับปลา ถนนสาธารณะปลอดขยะเป็นเขตอภัยทานขยะ ถนนสวยหมู่บ้านสะอาด  โรงเรียนวัดนาท่อมเป็นโรงเรียนปลอดขยะ มีธนาคารขยะเป็นแหล่งเรียนรู้  ครัวเรือนในชุมชน มีการจัดการขยะได้เอง
-ประชาชนมีการประชุมทุกวันที่ 9 ของเดือนเพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยนนำมาสู่การสร้าง กฏกติการ่วมในการอยู่ร่วมกัน ได้แก้  กำหนดเขตอภัยทานคลองนาท่อม  กำหนดเขตอภัยทานขยะในถนนสาธารณะ ในรูปแบบ ถนนสวยหมู่บ้านสะอาด คนนากวดรวมใจไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ  ครัวเรือน  โรงเรียน  วัดนาท่อม สามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเอง -โรงเรียนวัดนาท่อม ประกาศเป็นโรงเรียนปลอดขยะ กิจกรรมหลัก คือ ธนาคารขยะ โดยสภาเด็กนักเรียน -วัดนาท่อมพัฒนากุฏิไม้หลังเก่าเป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ที่ประชาชนให้ความร่วมมือสนับสนุน และใช้วัดเป็นศูนย์รวมในการจัดกิจกรรม หิ้วปิ่นโตเข้าวัดพัฒนาคุณธรรม ที่ผู้สูงอายุ เทศบาลร่วมกันในการสร้างจิตสำนึกประชาชนให้เข้าวัด ได้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง -กลุ่มจิตอาสาบ้านนากวด ให้ฝึกกิจกรรมผูกผ้า ปลูกผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่าย  ทำสินค้าทดแทนลดรายจ่ายครัวเรือน ช่วยเหลือกันในชุมชนผู้ด้อยโอกาสในชุม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-เพื่อสร้างและพัฒนาข้อตกลงของชุมชนบ้านนากวด เรียนรู้ข้อตกลงกฏกติกาของชุมชน

-สร้างความเข้าใจของคนในและคนนอกให้เข้าใจร่วมกัน

-ด้านสภาแกนนนำบ้านนากวด ที่มีโครงสร้างและบทบาทหน้าที่

-ด้านกติกาชุมชนที่ทุกคนต้องทราบ เช่น เขตอภัยทานในคลองนาท่อม  เขตอภัยทานขยะ ถนนสวยหมู่บ้านสะอาด  ปฏิญญาผู้นำโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม  การประชุมทุกวันที่ 9 ของเดือน

-ด้านธนาคารขยะโรงเรียนวัดนาท่อม  เป็น แหล่งเรียนรู้ต้นแบบของชุมชนที่มีโรงเรียนเป็นตันแบบการจัดการขยะของชุมชน ที่มีการจัดการโดยวิธี 3R

-ด้านของวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ที่ใช้กุฎิไม้เก่าเป็น พิพิธภัณฑ์ของชุมชน ในการศึกษาเรี่องราวของตำบลนาท่อม  ที่ใช้สภาวัฒนธรรมและเด็กนักเรียนเป็นฐานในการขับเคลื่อนงาน

-ด้านโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม เป็นต้นแบบระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน ที่มี 4  กิจกรรม  เก็บขยะ  ปลูกไม้ ปล่อยปลา  ขยายเขต

-ด้านกลุ่มจิตอานากวดน่าอยู่ เป็นกลุ่มจิตอาสาพึ่งพาของชุมชนสำหรับ งานบุญ ประเพณี และชุ่วยเหลือซึ่งกันและกรรม มีกิจกรรม การช่วยเหลือ  ผูกผ้า  กลุมรวมผลิตภัณฑ์ทางเกษตรอินทรีย์ในการแลกเปลี่ยน

กิจกรรมที่ทำจริง

-รายงานผลการดำเนินงานโครงการ บวร ไตรพลัง สร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่และแจ้งคืนข้อมูลวันที่ 10/7/58 แก่ประชาชน
-ประชุมประจำเดือน ทุกวันที่ 9 ของเดือน ตามระเบียบวาระ

 

70 40

28. เพื่อสร้างและพัฒนาข้อตกลงของชุมชน เวที คืนข้อมูลสู่ชุมชน

วันที่ 10 กรกฎาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปโครงการถอดบทเรียน โครงการ บวรไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สิ่งที่ได้จากการดำเนินโครงการ บวรไตรพลัง สร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ -ชุมชนมีกิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อมที่เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ได้แก่ ธนาคารขยะในโรงเรียนเด็กเป็นผู้ดำเนินการ เดือนละ 2 ครั้ง, ละครหุ่นเงาที่ใช้เด็กนำเสนอเป็นการสื่อสารเรื่องชุมชนโดยเด็ก, เด็กรณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อมในตำบลนาท่อมผ่านกิจกรรมจักรยาน ,  พื้นที่นี้ดีจัง ,หนังสือเล่มเล็กเด็กเล่าเรื่อง, แผนที่ทำมือ,เขตอภัยทานขยะที่ใช้กิจกรรมเด็กเป็นสือ

-โรงเรียนมีธนาคารขยะ ที่มีการจัดการขยะโดยวิธี 3 R เป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

-วัดมีแหล่งเรียนรู้ชุมชนโดยใช้วัดเป็นฐานในการเรียนรู้โดยใช้อาคารไม้หลังเก่าเป็นที่ตั้งพิพฺิธภัณฑ์เก็บรวบรวมสิ่งเก่า ๆ เช่น ภาพสะท้อนเรื่องในอดีต เช่น ภาพเจ้าอาวาส  ภาพกำนันคนแรก  ภาพผู้ใหญ่แต่ละพื้นที่

-ส่วนกลุ่มจิตอาสาบ้านนากวดก็จะมีกลุ่มที่ให้การช่วยเหลือคนยากจน ด้อยโอกาส ช่วยเหลืองานบุญ งานวัด  เช่น กลุ่มผูกผ้า กลุ่มทำสินค้าทดแทน

 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-รายงานผลงานให้ประชาชนทราบถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ -รายงานกิจกรรมสร้างแหล่งเรียนรู้ 3 แหล่งโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม โดย คุณวิภา  พรหมแท่น  ,แหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์วัดนาท่อม โดยเจ้าอาวาสวัดนาท่อม  , แหล่งเรียนรู้โรงเรียนปลอดขยะ โดยผอ โรงเรียนวัดนาท่อม -รายงานผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ บวร ไตรพลัง สร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ โดยผู้ใหญ่สุรศักดิ์  ขิตนาคินทร์  ถึงผลที่ได้รับ  ผลกระทบ  ปัญหาและอุปสรรค์ แนวทางในการดำเนินงานต่อไป -ฝ่ายท้องที่จะดำเนินการต่ออย่างไรหลังจากโครงการนี้สิ้นสุด เรื่องการจัดการขยะ  เรื่องพิพิธภัณฑ์ และเรื่องโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม

กิจกรรมที่ทำจริง

การคืนข้อมูลให้ชุมชนเป็นการรายงานผลสรุปการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่

-พระสนอง ธรรมพุทโธ เจ้าอาวาส  สรุปกิจกรรมของบ้าน วัด โรงเรียน  เห็นความร่วมของชุมชนและของโรงเรียนทำงานเป็นหนึ่งเดี่ยวกัน  กิจกรรมของวัดในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม กิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อมทางวัดก็ได้ทำอย่างต่อเนื่องทั้ง 4 กิจกรรม ขยะก็มีการดูแลให้วัดสะอาดอยู่อย่างต่อเนื่อง วัดจัดการขยะเองได้  ปลูกไม้ทางวัดจะส่งเสริมการปลูกให้วัดร่มรืนและสวยงาม ส่วนเรื่องปลา ทางวัดก็ได้มีการจัดหาอาหารปลาไว้ให้อย่างต่อเนื่อง สำหรับเรื่องแหล่งเรียนรู้ชุมชน ที่ใช้วัดเป็นศูนย์กลาง โดยได้ร่วมกันปรึกษาหารือ จนได้อาคารไม้หลังเก่าเป็นสถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ชุมชน เป็นจุดตั้งต้นในการรวบรวมและเก็บไว้ในการประชาสัมพันธ์ขยายผล

-ทางโรงเรียนวัดนาท่อม โดย ผอ.จิตลดา  ทองคำ ได้สรุปของโรงเรียนวัดนาท่อม จะมีการจัดการขยะด้วยวิธี 3R  จะมีธนาคารขยะที่จัดการโดยนักเรียน  เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการรับซื้อขยะเดือนละ 2 ครั้ง คือในวันพุธแรกของเดือนและวันพุธที่ 4 ของเดือน  และประกาศเป็นโรงเรียนปลอดขยะ ได้มีการพัฒนาเป็นหลักสูตรใช้กับการเรียนการสอน

-ทางส่วนของชุมชนนางวิภา  พรหมแท่น ได้สรุปกิจกรรมขับเคลื่อน  กิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม เป็นการขับเคลื่อน 4 กิจกรรม คือ การจัดการขยะ  ปลูกไม้ ปล่อยปลา  ขยายเขต  เป็นระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งระบบของชุมชน อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เกิดจากโครงการในชุมชน คือ เขตอภัยทานปลา  เขตอภัยทานขยะ  เด็กและเยาวชนที่มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และได้พัฒนากิจกรรมสื่อให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป  เช่น ละครหุ่นเงา  พื้นที่นี้ดีจัง กิจกรรมครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์

 

100 100

29. สรุปบทเรียนและทำรายงานปิดบัญชี

วันที่ 10 กรกฎาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปบทเรียนและทำรายงานสรุปปิดโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การดำเนินโครงการบวร ไตรพลังสร้างสรุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ โดยสรุป จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้
-ความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการ  ความรู้จากการนำเด็กมาให้รูจักกันในชุม ก็จะเกิดกิจกรรมใหม่ตามมาจำนวนมาก  และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้นประมวลภาพจากกิจกรรม -กลุ่มสภาแกนนำบ้านนากวด  จากการดำเนินงานมา 2 ปีต่อเนื่อง การสร้างและพัฒนาสู่การเป็นสภาแกนนำของชุมชน ผลที่เกิดขึ้น สภาแกนนำเกิดขึ้น แต่เรื่องบทบาทหน้าที่ยังเป็นจุดอ่อนชุมชน คือ ชุมชนสามารถรวมคนมาทำกิจกรรมเฉพาะอย่าง ในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ไม่สามารถให้เขารับผิดชอบบทบาทหน้าที่ได้เพราะประชาชนต้องหารายได้ดูแลครอบครัว ไม่ได้ทำงานในชุมชน ยังต้องพัฒนาต่อในด้านสภาแกนนำบ้านนากวด -แผนงานต่าง ๆ ของบ้านนากวด ที่ใช้ บวร ในการจัดการชุมชน ข้อมูลและแผนชุมต้องมีการได้รับการทบทวนอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งที่ใช้เป็นเครื่องมือบริหารของชุมชน -ผลที่ได้จากกิจกรรม อาทิ พฤติกรรม หรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง ได้แก่ ครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์มีกิจกรรมต่อเนื่อง  สภาเด็กและเยาวชน  สภานักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อมกับกิจกรรมธนาคารขยะ กฎกติกาชุมชน  เขตอภัยทานคลองนาท่อม  เขตอภัยทานถนนสวยหมู่บ้านสะอาด ป้ายปฏิญญาของผู้นำรักษาสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสรุปบทเรียน การดำเนินงานโครงการบวร ไตรพลัง สร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมแลกเปลี่ยนระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน เป็นการพูดคุยถึงการดำเนินกิจกรรมโครงการ บวร ไตรพลังฯ  แต่ละส่วนได้อะไร  และทำอะไรจากโครงการ มีปัญหาอุปสรรค์อะไรบ้าง และรับฟังข้อเสนอแนะ

 

15 10

30. จัดทำภาพถ่ายโครงการ

วันที่ 11 กรกฎาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ่ายภาพถ่ายกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ค่าถ่ายภาพกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ค่าถ่ายภาพกิจกรรมโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่

กิจกรรมที่ทำจริง

ค่าถ่ายภาพกิจกรรม

 

1 2

31. จัดทำรายงานปิดโครงการ

วันที่ 11 กรกฎาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ดำเนินการปิดบัญชีโครงการบวร 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ค่าเดินทางมาทำรายงานปิดบัญชี

กิจกรรมที่ทำจริง

ทำรายงานปิดบัญชีโครงการ

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 40 40                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 182,615.00 166,155.00                  
คุณภาพกิจกรรม 160 125                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.เวลาที่ทำกิจกรรมโครงการฯ ต้องใช้การประสานงานสำคัญมากที่สุด ทั้ง 3 ส่วนมีเวลาวjางไม่ตรงกัน ว่างไมเหมือนกันกิจกรรมปกติก็ต่างกันมากการทำกิจกรรมต้องปรับจูกันตลอด เสนอควรแยกประเด็นทำ

2.สภาแกนนำของบ้านนากวด ยังต้องพัฒนาต่อ ด้วยเหตุผลทั้งคณะยังใหม่ในการบริหารจัดการชุมชน เพียง 2 ปีการจัดวางต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการทำงานช่วย

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นาย สุรศักดิ์ ขิตนาคินทร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ