directions_run

ความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง ( ต่อเนื่อง )

assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดทำภาพถ่ายกิจกรรมโครงการ17 กรกฎาคม 2558
17
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรวบรวมภาพถ่ายการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการได้รวบรวมภาพถ่ายการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 10 ภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการได้รวบรวมภาพถ่ายการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ ตั้งแต่งวดที่ 1 ถึงวันปิดโครงการ รวมระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 ปี จำนวน 10 ภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ17 กรกฎาคม 2558
17
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรวบรวมเอกสาร ส.1 ส.2 ส.3 ส.4 ง.1และง.2 ภาพถ่ายกิจกรรมพร้อมเข้าเล่ม ส่ง สสส.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน คณะทำงานโครงการ ร่วมกับพี่เลี้ยง ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ การรายงานผลในระบบเว็ปไซต์ และตรวจสอบเอกสารการเงิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถดำเนินกิจกรรมตามโครงการและรายงานผลการทำงานในระบบเว็ปไซต์ได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เจ้าหน้าที่การเงินได้รวบรวบเอกสารการเงินเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ ถูกต้อง พบว่า เอกสารการเงินที่ไม่สมบุรณ์ทางเจ้าหน้าที่การเงินได้ปรับปรุงแก้ไขได้ครบถ้วน สามารถปิดโครงการได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 1 คน
  • เจ้าหน้าที่การเงิน จำนวน 1 คน
  • คณะทำงานโครงการจำนวน 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ตามกำหนดการปิดโครงการกำหนดไว้ ในวันที่ 11 -12 กรกฎาคม 2558 ณ สจรส.มอ. ทางผู้รับผิดชอบไม่สามารถเดินทางไปร่วมกิจกรรมได้เนื่องจากติดภาระกิจในการอบรมพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ที่ กรมการข้าว กรุงเทพมหานครฯ ทางพี่เลี้ยงจึงกำหนดวันทำรายงานปิดโครงการหลังระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลงโครงการ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการของพื้นที่9 กรกฎาคม 2558
9
กรกฎาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย เสณี จ่าวิสูตร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามผลการดำเนินงานและเพื่อปิดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ สรุปผลการดำเนินงานในรายงานผลการดำเนินงานในระบบเว็ปไซต์ได้ และร่วมกันสรุปผลการประเมินคุณค่าสิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
  • ผู้รับผิดชอบการเงิน รวบรวบเอกสารการเงินให้ตรวจสอบ พบว่า เอกสารการเงินบางกิจกรรมขาดบิลเงินสดค่าป้ายกิจกรรมและค่าถ่ายเอกสาร ทางพี่เลี้ยงโครงการได้แนะนำให้ดำเนินการให้เรียบร้อยและนำมาตรวจสอบอีกครั้งก่อนปิดโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของรายงาน/เอกสารหลักฐานการเงิน/ให้คำแนะนำในการแก้ไขเอกสารและรายงาน กำหนดวันจัดทำรายงานปิดโครงการ  และสรุปว่าพื้นที่นี้สามารถปิดโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 9 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการจำนวน 6 คน
  • พี่เลี้ยงโครงการ จำนวน 3 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  เอกสารการเงินบางกิจกรรมขาดบิลเงินสดค่าป้ายกิจกรรมและค่าถ่ายเอกสาร ทางพี่เลี้ยงโครงการได้แนะนำให้ดำเนินการให้เรียบร้อยและนำมาตรวจสอบอีกครั้งก่อนปิดโครงการ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้แก้ไขให้เรียบร้อยตามคำแนะนำ

ติดตามหนุนเสริม ครั้งที่ 59 กรกฎาคม 2558
9
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการในระยะที่ 2 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ สรุปผลการดำเนินงานในรายงานผลการดำเนินงานในระบบเว็ปไซต์ได้ และร่วมกันสรุปผลการประเมินคุณค่าสิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
  • ผู้รับผิดชอบการเงิน รวบรวบเอกสารการเงินให้ตรวจสอบ พบว่า เอกสารการเงินบางกิจกรรมขาดบิลเงินสดค่าป้ายกิจกรรมและค่าถ่ายเอกสาร ทางพี่เลี้ยงโครงการได้แนะนำให้ดำเนินการให้เรียบร้อยและนำมาตรวจสอบอีกครั้งก่อนปิดโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 9 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการจำนวน 6 คน
  • พี่เลี้ยงโครงการ จำนวน 3 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การดำเนินกิจกรรมตามแผนงานได้ทำครบถ้วนแต่ยังไม่ได้ดำเนินการรายงานทางเว็ปไซต์

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เวทีรับฟังความคิดเห็น/ประชาคม24 มิถุนายน 2558
24
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อนำร่างธรรมนูญความมั่นคงทางอาหารของหมู่บ้านมาเติมเต็มและลงมติ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 8.30 น. คณะทำงานพร้อมกัน ณ สถานที่จัดกิจกรรมคือ สำนักสงฆ์ท่าประดู่ทอง เวลา 9.30 น. ผู้รับผิดชอบโครงการคือนายอำมร  สุขวิน กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม เวลา 10.15 น. พี่เลี้ยงโครงการคือนายเสณี จ่าวิสูตร บอกความเป็นมาของโครงการและวัตถุประสงค์ของกิจกรรม เวลา 10.30 น. วิทยากร นำโดยนางสาวเบญจวรรณ เพ็งหนู ทำความเข้าใจและนำเสนอยกร่างธรรมนูญความมั่นคงทางด้านอาหาร ต่อที่ประชุมเพื่อเติมเต็ม เวลา 11.30 น. ตัวแทนประมงจังหวัดพัทลุงร่วมกับผู้เข้าร่วมประชุม ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำลงคลองจำนวน 500 ตัว เพื่อความสมบูรณ์และความมั่นคงทางด้านอาหารของคนท่าช้าง เวลา 13.00 น เป็นต้นไป ที่ประชุมให้ความเห็นเพิ่มเติม เติมเต็มจนร่างสมบูรณ์ จึงขอมติเป็นธรรมนูญความมั่นคงทางอาหารของบ้านท่าช้าง 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการและตัวแทนหน่วยงานมี ทสจ.พัทลุง นายกเทศมนตรีตำบลพนางตุง เห็นด้วยกับการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ข้าว ผัก และปลา
  • มีพื้นที่ใกล้เคียงจำนวน 5 พื้นทีมี ตำนาน ดอนนูด ดอนทราย ท่าสำเภา มะกอกเหนือ ร่วมแลกเปลี่ยนถึงการสร้างฐานความมั่นคงด้านอาหารในเรื่องการเพิ่มพื้นที่ทำนาอินทรีย์ให้ครอบคลุมทั้งหมู่บ้าน อีกทั้งยังเติมเต็มในการสร้างฐานธนาคารพันธ์ข้าว การเพิ่มมูลค่า การแปรรูปข้าวของหมู่บ้านเองด้วย
  • บทบาทของหน่วยงานในพื้นที่ มี ทสจ.พัทลุง ซึ่งมี ทสม.เป็นแกนหลักมีบทบาทในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรภายในหมู่บ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 68 คน จากที่ตั้งไว้ 90 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • พี่เลี้ยงโครงการ
  • ตัวแทนกลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพ
  • ตัวแทนเครือข่ายเกษตรทางเลือกพัทลุง
  • ตัวแทนคนทำนาป่าพะยอม
  • ตัวแทน สนง.ทสจ.พัทลุง
  • ผู้ใหญ่บ้าน 5 หมู่บ้านต.พนางตุง
  • ตัวแทนสภาเกษตรกรพัทลุง
  • นายกฯเทศบาลพนางตุง
  • ประมงจังหวัดพัทลุง(นำพันธ์ปลามาร่วมปล่อย 5000 ตัว) 
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มีจำนวนไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในโครงการ เพราะมีการประชุมระดับอำเภอในวันเดียวกันเห็นกลุ่มเป้าหมายจากองค์กรภายนอกมาก

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำสื่อ หลักสูตร คู่มือ แผ่นพับ นิทัศการ ซีดีประกอบการเรียน21 มิถุนายน 2558
21
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. รวบรวมภาพถ่ายกิจกรรมมาเรียบเรียงตั้งแต่ เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน เป็นความเป็นมาและการดำเนินงานตามโครงการผลิตเป็นชุดนิทรรศการ
  2. รวบรวมภาพถ่ายและวีซีดีที่ถ่ายทำวิธีการทำนาอินทรีย์ทุกขั้นตอน มาเรียบเรียงและบันทึกลงแผ่นวีซีดีต้นฉบับ
  3. รวบรวมภาพถ่ายและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจัดทำเป็นแผ่นพับเพื่อเผยแพร่ 
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. วีซีดีความรู้เกี่ยวกับการทำนาอินทรีย์ ความยาว 20 นาที 1 ชุด
  2. นิทรรศการชุดกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร จำนวน 7 แผ่น
  3. แผ่นพับ เรื่องความเป็นมาของกลุ่มและสรุปผลการดำเนินงาน/การเข้าร่วมโครงการ จำนวน 500 แผ่น
  4. จัดทำหลักสูตร ความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง จำนวน 1 หลักสูตร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 7 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานสื่อ จำนวน 5 คน
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การเรียบเรียงคำตามหลักวิชาการการเขียนเป็นปัญหาของคณะทำงานโครงการ จึงต้องใช้เวลาในการเรียบเรียงคำร่วมกับพี่เลี้ยงและนักวิชาการในพื้นที่

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำคู่มือ ทบทวนและพัฒนาเนื้อหาความมั่นคงทางอาหาร20 มิถุนายน 2558
20
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

ประชุมคณะทำงานเพื่อทบทวนและพัฒนาเนื้อหาคู่มือการทำนาอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ให้ผู้เข้าร่วมนำเสนอแนวคิดและองค์ประกอบของหลักสูตรที่ทางคณะทำงานได้จัดส่งให้ล่วงหน้า  และเสนอประเด็นและรายละเอียดเพิ่มเติม โดยตัวแทนโรงวเรียนบ้านท่าช้างยินดีที่จะนำหลักสูตรนี้เข้าเป็นหลักสูตรท้องถิ่นและจะนำไปเสนอแก่ที่ประชุมกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนต่อไป  ผู้เข้าร่วมเสนอเพิ่มเติมโดยคณะทำงาน ได้เก็บรวบรวมและบันทึกไว้ โดยจะนำไปเรียบเรียงใหแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้หลักสูตรการทำนาอินทรีย์ที่ผ่านการทบทวน ขององค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดอยู่ในสื่อที่ผลิต

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

  คณะทำงาน/ผอ.โรงเรียนบ้านท่าช้าง/ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกพัทลุง/ผอ.วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ทบทวนและปรับปรุงระเบียบกองทุนพันธุ์ข้าว13 มิถุนายน 2558
13
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนปรับปรุงระเบียบกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว และ ยกระดับเป็น ธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้านชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมแลกเปลี่ยนการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ข้าว และ เมล็ดพันธุ์ผัก ระเบียบกองทุนเมล็ดพันธุ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  1. มีคณะทำงาน 15 คน เป็นกลไกการขับเคลื่อนสร้างความมั่นคงทางอาหาร 2. มีกฏข้อตกลงร่วมกันเป็นธรรมนูณความมั่นคงทางอาหาร 3. ตั้งเป็นธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้านชุมชน 4. มีแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน และ ฐานข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ชุมชน ภาคีร่วมมือ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณีจ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามหนุนเสริม ครั้งที่ 43 มิถุนายน 2558
3
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามผลการดำเนินงานและการจัดทำรายงานผ่านเว็ปไซต์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมติดตามผลการดำเนินงานโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานได้รายงานผลการดำเนินงานผ่านเว็ปไซต์ได้บางกิจกรรม เพราะบางกิจกรรมเอกสารการเงินและผลสรุปกิจกรรมยังไม่เรียบร้อยจึงไม่สามารถรายงานในเว็ปไซต์ได้ ทางพี่เลี้ยงจึงให้ผู้รับผิดชอบโครงการปรับปรุงเอกสารการเงินให้เรียบร้อยก่อนและจะนัดมาสรุปผลโครงการกันอีกครั้งเพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่การเงิน จำนวน 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เอกสารการเงินไม่สมบูรณ์ไม่สามารถรายงานผลการดำเนินงานในเว็ปไซต์ได้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

รณรงค์วัฒนธรรมข้าว13 พฤษภาคม 2558
13
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมข้าวและสร้างจิตสำนึกในการทดแทนบุญคุณแม่โพสพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดเวทีเสวนาการผลิตข้าวอินทรีย์วิถีเมืองลุง :ความมั่นคงทางด้านอาหาร

ช่วงเช้า

  • เริ่มเวลา 08.00 น. คณะทำงาน คนในชุมชน เด็กเยาวชน ตัวแทนเครือข่าย/ภาคีพร้อมกัน ณ วิชชาลัยรวงข้าวบ้านท่าช้าง
  • เวลา 09.00 น. พิธีทางศาสนา พร้อมกับสรงน้ำแม่โพสพ
  • เวลา 10.00 - 11.00 น.ประกวดเมนูอาหารพื้นบ้าน โดยตัวแทนผู้เข้าประกวดเมนูอาหารได้มาจากการรับสมัครแล้วนำอาหารมาประกวด ซึ่งมีจำนวน 9 เมนูหลักๆ ประกอบด้วย น้ำพริกตำมัง แกงเลียงขี้เหล็ก ต้มกะทิยอดมะระขี้นก น้ำพริกตะไคร้ แกงเลียงผักพื้นบ้าน น้ำพริกลูกมะฮึก น้ำพริกหัวทือ แกงเลียงน้ำเต้าขาควาย ยำมะเขือเผา
  • เวลา11.30 - 12.00 น.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับประทานอาหารร่วมกัน

ช่วงบ่าย

  • เริ่มเวลา 13.00 - 15.00 น. พิธีกรรมทำขวัญข้าว / ร่วมแลกเปลี่ยนความเป็นมา ความสำคัญ บุญคุณแม่โพสพ เวลา 15.00 - 15.30 ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าช้างและกลุ่มวิชชาลัยรวงข้าว ร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมข้าวกับตัวแทนวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชนและนักศึกษา เวลา 16.00 น. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อกำหนดทิศทางการทำงานต่อ
  1. จัดนิทรรศการตามโครงการ
  2. ทำขวัญข้าว
  3. กวนข้าวยาคู
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากกิจกรรมผลที่เกิดขึ้น...เน้นกระบวนการจัดทำพิธีวิถิวัฒนธรรมข้าว(ทำขวัญข้าว)มีเนื้อหาชัดเจน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกถึงความสำคัญของบุญคุณแม่โพสพมากขึ้น และการผลิตอาหารที่ปลอดภัยมากขึ้น เห็นได้จากการการเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่เช้าจนเสร็จและการจัดนิทรรศการ เนื้อหา อุปกรณ์มีชีวิต ให้คนเข้าร่วมกิจกรรมได้เห็น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 103 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กเยาวชน จำนวน 40 คน
  • คนในชุมชน จำนวน 53 คน
  • เครือข่าย /ภาคี จำนวน 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

กลุ่มเป้าหมายไม่ครบตามที่วางไว้ เพราะการประสานงานยังตัวแทนโรงเรียน หน่วยงาน/องค์กรในท้องที่ ทางคณะทำงานเองมีภาระหน้าที่ที่จะต้องทำ จึงทำให้การประสานงาน(ส่งหนังสือเชิญ)ไม่ชัดเจน อีกทั้งประกอบกับช่วงเวลาปิดภาคเรียน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน ครั้งที่420 เมษายน 2558
20
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปเนือหาธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมสรุปเนื้อหาข้อตกลงธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เนื้อหาข้อตกลงธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน
  • แนวคิดกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ปัจจุบันชาวนาส่วนใหญ่ไม่ได้เก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ปลูกเอง ต้องซื้อจากภายนอก เช่นโรงสีข้าว ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นต้นเพราะสะดวกลดขั้นตอนในการจัดการเรื่องเมล็ดพันธุ์และมีเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมออกมาใหม่ๆหลายสายพันธุ์ให้เลือกปลูก ไม่จำเป็นต้องไว้ทำพันธุ์เองทำให้การปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้านลดลงและสูญหายไปชาวนาขาดการพึ่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ต่างจากในอดีตชาวนาสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ด้วยภูมิปัญญาตนเอง ไม่ต้องเดือดร้อนชื้อหาจากภายนอกที่มีราคาแพงและยังมีเมล็ดพันธุ์ข้าวสำรองถ้าหากว่า การปลูกข้าวในรอบแรกเสียหายไปกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน เป็นทางเลือกหนึ่งในการพึ่งพาตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยมีกระบวนการจัดการร่วมกันตั้งแต่แนวคิด การจัดตั้งกองทุน ฯการจัดทำแปลงนาปลูกข้าวที่มีระบบการผลิตไว้ทำเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะการจัดการเมล็ดพันธุ์ระเบียบข้อตกลงการบริการ
  • กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2549 ที่กลุ่มเครือข่ายเกษตรทางเลือกเมืองลุงร่วม กับศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง และ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน ( ประเทศไทย ) จัดทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ในแปลงนาของศูนย์วิจัยข้าว ผลผลิตก็แบ่งปันกันไปปลูกในพื้นที่ของแต่ละกลุ่มและขยาย
  • การจัดการกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว
  1. มีคณะทำงานจัดการกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว คณะทำงาน มีได้ไม่น้อยกว่า 5 คน มีหน้าที่ วางแผนงานกำหนดนโยบาย การจัดการแต่ละฝ่าย เช่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ บริการจ่ายและคืน
  2. ทำข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวและความต้องการขยายแต่ละสายพันธุ์ บันทึกลักษณะประจำพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ การปลูก การดูแล การคัดพันธุ์ ต้นทุนทั้งหมดการยืมการจ่ายคืน การยืมการจ่ายคืน การยืมพันธ์ุข้าวแต่ละสายพันธุ์ จะต้องคืนกลับให้ธนาคาร 3 % และเป็นเมล็ดที่แห้งไม่มีสิ่งเจือปน
  3. จัดทำระเบียบข้อตกลงนโยบาย ข้อตกลงที่ทำร่วมกันโดยนำมาปฏิบัติเช่นการปลูก การยืม การจ่ายคืน เป็นต้น
  4. การผลิตเมล็ดพันธุ์ การวางแผนการผลิตในแต่ละฤดู การเตรียมดิน การปลูก การดูแล การคัดพันธุ์ การเก็บเกี่ยว การตาก การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในโรงเก็บ
  5. ประชุมติดตามหนุนเสริม การประชุมติดตามหนุนเสริม อย่างน้อย ปีละ 2ครั้ง เป็นเวทีวิเคราะห์สรุป ผลที่เกิดขึ้น จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส การต่อยอด
  6. แลกเปลี่ยนแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ สร้างความสัมพันธ์ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พึ่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์
  • ประโยชน์ที่ได้รับของกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว
  1. ได้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวตามที่ต้องการและสามารถกำหนดได้เอง เช่น พันธุ์ข้าว ราคา
  2. ได้มีเมล็ดพันธุ์สำรอง เพื่อป้องกันความเสี่ยงการสูญหายของเมล็ดพันธุ์
  3. ได้มีการแลกแบ่งปันและพึ่งพาตนเองได้ด้านเมล็ดพันธุ์
  4. ยกระดับเป็น ธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวขุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไมามี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 103 เมษายน 2558
3
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

ทบทวนการทำกิจกรรมที่ผ่านมาและกำหนดการทำขวัญข้าว

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมทบทวนการทำกิจกรรมทีผ่านมา และ ร่างกำหนดการทำขวัญข้าว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  การทำกิจกรรมที่ผ่านมางวดที่ 2 บางกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมไม่ครบ ตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากอยู่ในข่วงฤดูฝน อย่างเช่นภาคีเครือข่ายบางคนไม่สามารถเข้าร่วมได้   ร่างกำหนดการทำขวัญข้าว รณรงค์วัฒนธรรมข้าว วันที่ 13 พฤษภาคม 2558  ณ วิชชาลัยรวาข้าว จัดเวทีเสวนาการผลิตข้าวอินทรีย์วิถีเมืองลุง :ความมั่นคงทางด้านอาหาร
- จัดนิทรรศการตามโครงการ
- ทำขวัญข้าว
- กวนข้าวยาคู

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 18 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรครั้งที่ 523 มีนาคม 2558
23
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแปรรูปการตลาด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 23 - 24มีนาคม 2558

  • 9.00 นลงทะเบียน

วันที่ 23 มีนาคม2558

  • 10.00 น - 12.00 น. ทบทวนแลกเปลี่ยความรู้
  • 13.00 น - 15.30 น.ฝีกการทำสบู่น้ำมันรำข้าวสังข์หยด

วันที่ 24 มีนาคม2558

  • 9.00 น.- 12.00 น. ฝึกการคัดและบรรจุถุงข้าวสาร
  • 13.00 น - 15.00 นเรียนรู้บริโภคและการตลาด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การทำนา
  • ฝึกการทำสบู่น้ำมันรำข้าว
  • สบู่น้ำมันรำข้าว สบู่น้ำมันรำข้าว เป็นการเพิ่มมูลค่า และคุณค่า ของข้าวสังข์หยดพัทลุง ให้มีความหลากหลายขึ้นเนื่องจากการแปรรูปข้าวสังข์หยดพัทลุง โดยทั่วไปแล้วจะเป็นขนมกินเล่นเป็นส่วนใหญ่ การทำสบู่น้ำมันรำข้าว ซึ่งใช้รำละเอียดจากข้าวสังข์หยดพัทลุงเป็นส่วนผสม ในเนื้อสบู่ ทำให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

ส่วนผสมสบู่น้ำมันรำข้าว

  • กลีเซอรีนแบบใส หรือ ขุ่น 400 กรัม
  • น้ำมันมะพร้าว¼ช้อนชา
  • น้ำมันรำข้าว½ช้อนชา
  • น้ำมันหอมระเหย2.3 หยด
  • รำข้าวละเอียด พอประมาณ

อุปกรณ์

  1. พิมพ์สบู่
  2. ช้อนตวง
  3. หม้อตุ๋นสองชั้น
  4. มีดเขียง
  5. เครื่องชั่ง
  6. หลอดหยด
  7. เตาไฟฟ้า หรือเตาแก็ส
  8. ฟิล์มหุ้ม

วิธีทำ 1. ชั่งส่วนผสมตามอัตราส่วนที่กำหนดให้
2. นำกลีเซอรีนมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นหลอมกลีเซอรีนให้ละลายในหม้อตุ๋นสองชั้น อาจใช้อุปกรณ์ในการคนเพื่อให้กลีเซอรีนละลายเร็วขึ้น แต่ระวังอย่าคนแรงเพราะจะได้สบู่ที่มีฟองอากาศมากไม่สวย 3. ยกลงจากเตาแล้วใสน้ำมันรำข้าว น้ำมันพราว น้ำมันหอมระเหย รำข้าวละเอียด หรือส่วนผสมอื่นๆที่ต้องการใส่ลงไปผสม แล้วคนให้เข้ากัน 4. รินสบู่ลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ จากนั้นรอจนสบู่แข็งตัว ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับขนาดของพิมพ์ 5. แกะสบู่ออกจากพิมพ์ แล้วหุ้มด้วยฟิล์มพลาสติก สามารถนำไปใช้ได้ทันที

สรรพคุณสบู่น้ำมันรำข้าว

  • ด้วยคุณสมบัติของน้ำมันรำข้าว ที่มีวิตาอีสูง และมีสารตานอนุมูลอิสระ เมื่อนำมาผสมในเนื้อสบู่ จะช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใสเปล่งปลั่ง ชะลอริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว อีกทั้งยังมีส่วนผสมของรำข้าว ที่เป็นเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว ซึ่งช่วยในการขัดผิว ทำให้ผิวสะอาดยิ่งขึ้น

  • การคัดคุณภาพข้าวสารและบรรจุภัณฑ์

  • การคัดคุณภาพข้าวสารที่ได้มาจากโรงสีข้าวนำมาคัดแยกในเครื่องคัดแยกอีกครั้ง เพื่อให้ได้ข้าวสารมีเมล็ดที่เท่าๆกัน ข้าวหักเป็นท่อนและสิ่งเจือปนอื่นผสมอยู่น้อยมาก หรือไม่มีเลย ได้ข้าวสารที่มีเปรอเซ็นสูง เลือกใช้เครื่องคัดแยกที่มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณความจำเป็นมีขั้นตอนดังนี้
  1. ข้าวสารที่ได้จากโรงสีข้าวนำมาโรงคัดแยก จัดวางให้เป็นระเบียบและ สะดวกในการคัดแยก
  2. ตรวจความพร้อม และ อุปกรณ์ของเครื่องคัดแยกให้พร้อมใช้ ตักข้าวสารใส่ในกะบะ เครื่องคัดแยกให้เต็มแล้วเดินเครื่อง
  3. เปิดช่องใต้กะบะให้ข้าวสารลงในตะแกรงหมุนอย่างสม่ำเสมอ ตะแกรงหมุนจะหมุนข้าวสาร ปลายข้าว สิ่งเจือปนอื่น แยกออกไปคนละทางซึ่งมีถังรองรับไว้ทั้ง 2 ทาง เมื่อข้าวสารในกะบะใกล้จะหมดให้เติมข้าวสารให้เต็มอยู่เสมอ
  4. จะได้เมล็ดข้าวสารที่มีคุณภาพเมล็ดที่เท่าๆกัน ไม่แตกหักเป็นท่อน และ จะได้ปลายข้าวที่เป็นข้าวท่อน เหมาะสำหรับทำเป็นข้าวต้ม เพิ่มมูลค่าได้อีก
  5. นำข้าวสารที่คัดแยกได้แล้วเก็บไว้ในที่มิดชิดป้องกันความชื้น มดแมลงต่างๆ เพื่อเตรียมไปบรรจุถุง
  • การบรรจุภัณฑ์ คือการนำวัสดุมาห่อหุ้มข้าวที่อยู่ภายในให้มีความปลอดภัยจากสิ่งปนเปื้อนต่างๆ รักษาคุณภาพของข้าวไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงช้าลง ทำให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาข้าวได้นานยิ่งขึ้น ในปัจจุบันการบรรจุภัณฑ์มุ่งสู่การตลาด มีรูปแบบขนาดสีสันแตกต่างกันเพื่อดึงดูดผู้บริโภค สะดวกในการขนส่ง และ การบริโภค

    วิธีการบรรจุภัณฑ์

  1. เลือกวัสดุบรรจุที่มีความแข็งแรง สามารถรักษาคุณภาพข้าวได้ หาได้ง่ายราคาไม่สูงเกินไป วัสดุที่นำมาบรรจุข้าว เช่น พลาสติก ถุงผ้า กระดาษ ขวด โดยเฉพาะการบรรจุข้าวกล้องแบบสุญญากาศ นิยมใช้ถุงพลาสติกชนิดในลอน เนื่องจากมีความเหนียวมาก คงทนต่อการเพิ่มอุณหภูมิป้องกันการซึมผ่านของก๊าชออกซิเจน จะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาข้าวได้นานขึ้น ข้อเสียคือ วัสดุบรรจุมีราคาแพง อุปกรณ์มีราคาแพง เช่น เครื่องซีลสุญญากาศ บล็อกสำหรับบรรจุข้าว
  2. เลือกวิธีในการบรรจุที่เหมาะสม สามาช่วยยืดอายุการเก็บรักษาคุณภาพของข้าวได้ เช่น การบรรจุในสภาพปกติ ใช้ในการบรรจุข้าวสาร ที่มีการบริโภคในชุมชนการบรรจุแบบสุญญากาศ ใช้ในการบรรจุข้าวกล้อง ซึ่งสามารถรักษาคุณภาพได้นานขึ้น
  3. การออกแบบบรรจุภัณฑ์บอกถึงรายละเอียดเรื่องราวสิ่งที่อยู่ภายในให้ผู้บริโภคทราบ รูปแบบภายนอกสามารถดึงดูดผู้บริโภคให้สนใจรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์เช่น
    • ตราสินค้าชื่อข้อความ • เครื่องหมายตราสินค้าสามารถจดจำได้ง่าย • ข้อมูลของข้าวที่บรรจุ เช่น ชื่อข้าวปริมาณคุณค่าทางโภชนาการ ขั้นตอนการหุงข้าว การเก็บรักษาวันผลิต / วันหมดอายุข้อมูลของผู้ผลิตเพื่อให้ผู้บริโภคสามรถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ชาวนาบ้านท่าช้าง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปล่อยปลาและแลกเปลี่ยนสภาพคลองการอุรักษ์21 มีนาคม 2558
21
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่ออนุรักษ์และเพิ่มพันธ์สัตว์น้ำในคลอง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ช่วงเช้า...คณะทำงานร่วมกันจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อจัดทำบ้านปลา(ซั้ง)จำนวน 1 จุด ช่วงบ่าย...คณะทำงานร่วมกับคนในชุมชนร่วมกับคนในชุมชนปล่อยพันธ์สัตว์น้ำจำนวน 3,000 ตัว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ช่วงเช้า...เวลา 09.30 - 11.30 น. คณะทำงานร่วมกันจัดหาพันธ์ปลาจำนวน 3,500 ตัว และจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อจัดทำบ้านปลา(ซั้ง)จำนวน 1 จุด ขนาดความยาวประมาณ 1 ไร่ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยนำไม้ไผ่จำนวน 300 ลำ มาปักในเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำของชุมชนแล้วตุ่นแนวเขตขนาดความยาวประมาณ 300 เมตร ความกว้างประมาณ 80 เมตร เพื่อเป็นแนวเขตและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
  • ช่วงบ่าย...เวลา 13.00 - 15.00 น. คณะทำงานร่วมกับคนในชุมชนร่วมกับคนในชุมชนปล่อยพันธ์สัตว์น้ำจำนวน 3,500 ตัว จำนวน4 ชนิดประกอบด้วย..
  • ปลานิล จำนวน 1,000 ตัว
  • ปลาสหวาย จำนวน 1,000 ตัว
  • ปลาไน จำนวน 1,000 ต้ว
  • ปลาจาระเม็ด จำนวน 500 ตัว

ลงในบริเวณเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำคลองปากประ(่ท่าประดู่) ซึ่งเป็นเขตอนุร้กษ์ที่ชุมชนได้จัดเป็นเขตอนุรักษ์และวางกฎกติกาไว้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน/คนในชุมชนจำนวน 16 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน ครั้งที่ 314 มีนาคม 2558
14
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

  เพื่อทบทวนและวิเควาะห์ร่างข้อตกลงธนาคานพันธุกรรมพื้นบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดประชุมคณะทำงาน ธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน คณะทำงานโครงการ นำร่างข้อตกลงมาทบทวนวิเคราะห์เนื้อหาเพิ่มเติม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เพิ่มเติมข้อตกลง

  • ข้อที่ 1. มีคณะทำงานจัดการกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว มีหน้าที่ วางแผนงานกำหนดนโยบาย การจัดการแต่ละฝ่าย เช่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ บริการจ่ายและคืน( เพิมเติม ) คณะทำงาน มีได้ไม่น้อยกว่า 5 คน
  • ข้อที่2. ทำข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวและความต้องการขยายแต่ละสายพันธุ์ บันทึกลักษณะประจำพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ การปลูก การดูแล การคัดพันธุ์ ต้นทุนทั้งหมดการยืมการจ่ายคืน ( เพิ่มเติม ) การยืมการจ่ายคืน การยืมพันธ์ุข้าวแต่ละสายพันธุ์ จะต้องคืนกลับให้ธนาคาร 3 % และเป็นเมล็ดที่แห้งไม่มีสิ่งเจือปน
  • ข้อที่ 5. ประชุมติดตามหนุนเสริม เป็นเวทีวิเคราะห์สรุป ผลที่เกิดขึ้น จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส การต่อยอด ( เพิ่มเติม ) การประชุมติดตามหนุนเสริม อย่างน้อย ปีละ 2ครั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบยาย7 มีนาคม 2558
7
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่างและพัฒนาข้อตกลงความมั่คงทาวอาหารของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเวทีแลกเปลี่ยน ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน วิทยากรนำแลกเปลี่ยน ประเด็น แนวคิดความสำคัญ ความหมายของความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง สภาพพื้นที่ / นิเวศน์บ้านท่าช้าง ความมั่คงทางอาหาร วัฒนธรรมอาหาร ความเสี่ยง / ความเปราะบาง / การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ/ นโยบาย การจัดการกลุ่ม / เครือข่าย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แนวคิดความสำคัญ -ความหมายของความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง การมีอาหารที่ปลอดภัยบริโภคพอตลอดทั้งปี การเก็บรักษาพันธัุไว้ใช้เอง ความหลากหลายของพันธุกรรม พืช สัตว์พื้นบ้าน ปกป้องแหล่งผลิตอาหาร
  2. สภาพพื้นที่ / นิเวศน์บ้านท่าช้าง-บ้านท่าช้าง หมู่ที่ 5 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุงสภาพพื้นที่ราบเนินควนอยู่กลางหมู่บ้านเป็นที่อยู่อาศัย และปลูกไม้ผล ยางพารา ไม้ยืนต้น เป็นต้นพื้นที่ราบลุ่มเป็นที่อยู่อาศัยตามลำครองปากประและบางไขขิงทำนาปลูกผักเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น พื้นที่ชุ่มน้ำ ปลูกกระจูดหาปลา ชุมชนมีอาชีพที่หลากหลาย ทั้งทำนา ทำสวนยาง หาปลา สานเสื่อกระจูดเลี้ยงสัตว์ รับจ้าง เป็นต้น
  3. ความมั่คงทางอาหาร -การปลูก การเลี้ยง อาหารตามธรรมชาติ แบบเกษตรอิทรีย์ เศรษฐกิจมีรายได้ การตลาดทางเลือก
  4. วัฒนธรรมอาหาร - พฤติกรรมการกิน เมนูอาหารท้องถิ่น พอต่อสุขภาพ
  5. ความเสี่ยง / ความเปราะบาง / การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ/ นโยบาย - ภัยธรรมชาตินำ้ท่วม แล้ง พันธุกรรมพื้นบ้านลดลง นโยบายการค้าเสรี และ พีชจีเอมโอ มีผลกระทบทางพันธุกรรม และ เกษตรกรรายย่อย
  6. การจัดการกลุ่ม / เครือข่าย - มีเป้าหมายร่วมที่ชัดเจน โครงสรัางคณะทำงาน ระเบียบข้อตกลง เชื่อมโยงเครือข่าย ต้นน้ำกลางน้ำ ปลายน้ำ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 8 คน เยาวชน 15 คน ภาคีเครือข่าย 3 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 93 มีนาคม 2558
3
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพิ่อประชุมเตรียมมิจกรรมปล่อยปลา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ แจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับกิจกรรมปูลกบัวปล่อยปลา และร่วมกันวางกำหนดการ   แบ่งหน้าที่กันทำงาน    การประสานงาน  เตรียมทำบ้านปลา กราเตรียมลูกปลา  การแลกเปลี่ยน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานและกรรมการหมู่บ้าน ได้ร่วมกันร่างกำหนดการ และแบ่งหน้าที่ทำงาน ได้กำหนดการปล่อยปลาและแลกเปลี่ยนสภาพคลองการอุรักษ์ วันที่21 มีนาคม 2558 เวลา9.00น. - 15. 00 น.จัดทำบ้านปลาเวลา16.00 นร่วมกัน ปล่อยปลา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน กรรมการหมู่บ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรครั้งที่ 427 กุมภาพันธ์ 2558
27
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการผลผลิต

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ 25589.00 นลงทะเบียน วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 255810.00 น - 12.00 น. ทบทวนแลกเปลี่ยความรู้ 13.00 น - 15.30 น. เรียนรู้การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังเก็บเกี่ยว 28 กุมภาพันธ์ 25589.00 น.- 12.00 น. เรียนรู้กรแปารรูปผลผลิตจากข้าว13.00 น - 15.00 นเรียนรู้บริโภคและการตลาด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การเก็บเกี่ยว และ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. สามารถเรียนรู้วิธีการเก็บเกี่ยวและการจัดการโรงสีได้

- เพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพ จะต้องเก็บใน ระยะ พลับพลึง ก่อนเก็บเกี่ยวระบายน้ำในนาออกให้แห้ง หากเป็น พันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ควรเก็บเกี่ยวระยะข้าวสุกแก่ - เกี่ยวด้วยรถเกี่ยวนวด ล้างเครื่องให้สะอาด ป้องกันการปนเปื้อน
- ตากให้แห้งไม่ให้มีความชื้น อยู่ในระดับที่เหมาะสม - เก็บไว้ในโรงเก็บ ที่แยกจากโรงเก็บทั่วไป - บรรจุในกระสอบที่สะอาดแยกแต่ละพันธุ์หรือกลุ่มข้าวติดป้ายชื่อ

การบริโภคข้าวในชุมชน

  • การทำนาปลูกข้าวในอดีตเป็นวิถีการผลิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติควบคู่กับการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า เกิดเป็นวัฒนธรรมที่สวยงาม สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะวัฒนธรรมการบริโภค ที่ว่ากินข้าวเป็นหลักกินผักเป็นยากินปลาเป็นอาหาร บอกถึงความสมบูรณ์มั่นคงทางด้านอาหาร สุขภาพก็ดี ไม่ค่อยมีโรค ชาวนาสามารถทำเองได้ และ ไม่ต้องออกเงินซื้อ
  • ชาวนาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ปลูกข้าวปลูกผักเพื่อขาย ไม่เอาไว้กิน ไม่เอาไว้ทำปลูก ต้องซื้อจากภายนอก เพราะคิดว่าสะดวก ลดภาระในการจัดการ ต้องหาเงินให้ได้มากๆ วัฒนธรรมการบริโภคที่เคยสวยงามเกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากสารเคมีตกค้างในอาหาร ทำให้เกิดโรคจากการกินตามมาหลายโรค เช่น ความดัน เบาหวาน ความอ้วน เป็นต้น มีความเสี่ยงของการเป็นโรคเพิ่มขึ้นทุกปี
  • การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรเป็นทางเลือกในการบริโภคที่ไม่เสี่ยวต่อการเกิดโรคต่างๆเพราะเป็นการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมี ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นมาทดแทนสารเคมี ชาวนาที่ร่วมกันผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรทุกครัวเรือนจะมีข้าวที่ตนเองปลูกไว้กินเอง และจะปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ไว้กินเอง ใหม่สดเสมอ ที่เหลือจากการกินแล้วส่วนหนึ่งก็แบ่งปันและขายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน สอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การจัดการตลาด

  • ข้าวเป็นสินค้าส่งออกในระดับต้นๆของประเทศ การแข็งขันทางเศรษฐกิจทำให้สังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเปิดเสรีทางการค้ากับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย มีผลกระทบหลายด้าน เช่น ราคาและคุณภาพสินค้าข้าว เกษตรกรต้องปรับตัวในด้านการผลิต ให้มีต้นทุนที่ต่ำลง และ ให้ได้คุณภาพดีขึ้น จึงจะสู้กับตลาดอาเซียนได้ การทำตลาดทางเลือก หรือ ตลาดสีเขียวเป็นตลาดหนึ่งที่นำไปสู่การพึ่งพาตนเองของเกษตรกรรายย่อยอยู่รอดได้
  1. ชาวนาต้องรวมตัวกันในการผลิต เพื่อลดต้นทุนและพัฒนาคุณภาพข้าวให้ได้มาตรฐานดีขึ้นสามารถต่อรองกับตลาดได้
  2. ส่งเสริมให้ผู้บริโภคในชุมชน ได้บริโภคผลิตภัณฑ์ข้าวที่ผลิตในชุมชน เพื่อลดการขนส่ง และ เป็นการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
  3. การจัดการด้านการขายมี 3 ระดับคือ ขายในชุมชน การออกร้านในงานที่เกี่ยวข้อง และ ขายตามลูกค้าสั่งจากภายนอก คู่กับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สวยสะอาด
  4. การจดบันทึกรับจ่ายประจำวัน เพื่อให้ได้รู้ปริมาณการขาย และ ต้นทุนในด้านต่างๆเป็นสติถิ ในการพัฒนาการตลาด การผลิต
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 46 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ชาวนาบ้านท่าช้าง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 83 กุมภาพันธ์ 2558
3
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเตรียมฝึกอบรมการผลิตรข้าวอินทรีย์ครบวงจร ครั้งที่ 4

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

  เตรียมกำหนดการฝึกอบรมการผลิตรข้าวอินทรีย์ครบวงจร ครั้งที่ 4

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กำหนดการฝึกอบรมการผลิตรข้าวอินทรีย์ครบวงจร ครั้งที่ 4

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 25589.00 นลงทะเบียน

  • 10.00 น - 12.00 น. ทบทวนแลกเปลี่ยความรู้
  • 13.00 น - 15.30 น. เรียนรู้การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังเก็บเกี่ยว
  • 28 กุมภาพันธ์ 2558
  • 09.00 - 12.00 น. เรียนรู้การแปรรูปผลผลิตจากข้าว
  • 13.00 น - 15.00 นเรียนรู้บริโภคและการตลาด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 36 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 36 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรครั้งที่ 324 มกราคม 2558
24
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

1 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้การคัดพันธุ์ข้าว / การปลูก  2 เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว / การปลูก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนกระบวนการ

  1. คณะทำงานประชุมเตรียม วางกำหนดการ การฝึกอบรม
  2. ประสานกลุ่มเป้าหมาย ชาวนา วิทยากร
  3. จัดอบรม

วันแรก ช่วงเช้า แลกเปลี่ยนความรู้ในวงใหญ่ เรื่องการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว และ แนวคิดการเก็บเมล็ดพันธุ์ใช้เอง
ช่วงบ่าย  ฝึกการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว

วันที่ 2  สรุปเนื้อหา และ วางทางการคัดเลือกเมล็ดไว้ใช้เอง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันเตรียมงาน... ทางคณะทำงานได้วางกำหนดการ ฝึกอบรมไว้จำนวน 2 วัน 1 คืน โดยเป็นไปตามเป้าหมาย มีผู้เข้าร่วม เป็นเกษตรกร  40 คน และ คณะทำงาน วิทยากร 12 คน
วันจัดอบรม...จัดเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่อง

  • การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร
  • การเตรียมดินที่ดี คือการไถพักดินไว้ก่อนประมาณ 7 - 15 วัน เพื่อตากดิน หรือ หมักดิน เป็นการกำจัดวัชพิช และ ปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ถึงจะไถแปร หรือ เตรียมดินในการปลูกข้าวเมล็ดพันธุ์ได้
  • การเลือกสายพันธุ์ข้าวที่จะทำเป็นเมล็ดพันธุ์ ก็เป็นปัจจัยทื่สำคัญเพิ่อให้ได้พันธุ์ข้าวตามความต้องการ ด้านความเหมาะสมกับสภาพดิน ฤดูกาล ผลผลิต คุณภาพดี การใช้ประโยชน์ รสชาติ และความต้องการบริโภค
  • การเลือกวิธีการปลูก ที่เหมาะสมจะได้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ อย่างเช่น วิธีการปักดำ ไม่ค่อยมีวัชพืช ข้าวแตกกอได้ดี สะดากในการคัดเลือกพันธุ์ปนที่ไม่ต้องการออก  การคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว สามารถคัดเลือกพันธุ์ในแปลงนา และ คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่เก็บมาเป็นเลียงได้
  • การคัดเมล็ดพันธุ์ขัาวในแปลงนา  1 อายุข้าวประมาณ 30 วัน หรือระยะแตกกอ ถอนกำจัดวัชพืช ถอนข้าวพันธุ์ปนที่ไม่ต้องการออก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 36 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ชาวนาท่าช้าง คณะทำงาน วิทยากร 36 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน ครั้งที่ 210 มกราคม 2558
10
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรับปรุงระเบียบธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเวที่ประชุม ร่างระเบียบธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แนวคิดกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน

  • ปัจจุบันชาวนาส่วนใหญ่ไม่ได้เก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ปลูกเอง ต้องซื้อจากภายนอก เช่นโรงสีข้าว ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นต้นเพราะสะดวกลดขั้นตอนในการจัดการเรื่องเมล็ดพันธุ์และมีเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมออกมาใหม่ๆหลายสายพันธุ์ให้เลือกปลูก ไม่จำเป็นต้องไว้ทำพันธุ์เองทำให้การปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้านลดลงและสูญหายไปชาวนาขาดการพึ่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ต่างจากในอดีตชาวนาสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ด้วยภูมิปัญญาตนเอง ไม่ต้องเดือดร้อนชื้อหาจากภายนอกที่มีราคาแพงและยังมีเมล็ดพันธุ์ข้าวสำรองถ้าหากว่า การปลูกข้าวในรอบแรกเสียหายไปกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน เป็นทางเลือกหนึ่งในการพึ่งพาตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยมีกระบวนการจัดการร่วมกันตั้งแต่แนวคิด การจัดตั้งกองทุน ฯการจัดทำแปลงนาปลูกข้าวที่มีระบบการผลิตไว้ทำเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะการจัดการเมล็ดพันธุ์ระเบียบข้อตกลงการบริการ
  • กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2549 ที่กลุ่มเครือข่ายเกษตรทางเลือกเมืองลุงร่วม กับศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง และ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน ( ประเทศไทย ) จัดทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ในแปลงนาของศูนย์วิจัยข้าว ผลผลิตก็แบ่งปันกันไปปลูกในพื้นที่ของแต่ละกลุ่มและขยาย

    การจัดการกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว

  1. มีคณะทำงานจัดการกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว มีหน้าที่ วางแผนงานกำหนดนโยบาย การจัดการแต่ละฝ่าย เช่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ บริการจ่ายและคืน
  2. ทำข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวและความต้องการขยายแต่ละสายพันธุ์ บันทึกลักษณะประจำพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ การปลูก การดูแล การคัดพันธุ์ ต้นทุนทั้งหมดการยืมการจ่ายคืน
  3. จัดทำระเบียบข้อตกลงนโยบาย ข้อตกลงที่ทำร่วมกันโดยนำมาปฏิบัติเช่นการปลูก การยืม การจ่ายคืน เป็นต้น
  4. การผลิตเมล็ดพันธุ์ การวางแผนการผลิตในแต่ละฤดู การเตรียมดิน การปลูก การดูแล การคัดพันธุ์ การเก็บเกี่ยว การตาก การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในโรงเก็บ
  5. ประชุมติดตามหนุนเสริม เป็นเวทีวิเคราะห์สรุป ผลที่เกิดขึ้น จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส การต่อยอด
  6. แลกเปลี่ยนแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ สร้างความสัมพันธ์ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พึ่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ ประโยชน์ที่ได้รับของกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว
  7. ได้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวตามที่ต้องการและสามารถกำหนดได้เอง เช่น พันธุ์ข้าว ราคา
  8. ได้มีเมล็ดพันธุ์สำรอง เพื่อป้องกันความเสี่ยงการสูญหายของเมล็ดพันธุ์
  9. ได้มีการแลกแบ่งปันและพึ่งพาตนเองได้ด้านเมล็ดพันธุ์
  10. ยกระดับเป็น ธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวขุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 17 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 12 ที่ปรึกษา 3 เยาววชน 2

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 73 มกราคม 2558
3
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเตรียมประขุมธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วางกำหนดการ ประชุมธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน
เพิ่มเติมระเบียบข้อตกลง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กำหนดการ ประชุมธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน
  ช่วงเช้า เริ่ม 10.00 น - 12.00 น ทบทวนการประชุมธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้านครั้งที่ 1  และร่างระเบียบ   ช่วงบ่าย 13.00 น. ร่างระเบียบธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน ต่อ กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผู้เข้าร่วมไม่ได้ตามเป้าหมาย

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณีจ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรครั้งที่ 228 ธันวาคม 2557
28
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้การปลูกข้าวอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 27 ธันวาคม 2557 คณะทำงานวิทยากร ร่่วมประชุมวางแผน และ เตรียมพื้นที่ ฝึกอบรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรครั้งที่ 2
  • วันที 28 ธันวาคม 25579.00 น.ชาวบ้านท่าช้างผุู้เข้าร่วม เริ่มลงทะเบียน10.00 น. เข้าห้องประชุม เตรียมความพร้อมและทบทวน การ ฝึกอบรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรครั้งที่ 1 โดยวิทยากรกระบวนการ ช่วงบ่าย เป็นการเรียนรู้ วิธีการปลูกข้าวอินทรีย์
  • วันที่ 29 ธันวาคม 2557 เรียนรู้ การดูแลบำรุงรักษาต้นข้าว และ สรุปผล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที 28 ธันวาคม 2557

  • สิ่งที่ได้คือ ชาวนา ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจมีความรู้เพิ่ม ในการ ปรับปรุงให้ดีขึ้น การฝึกบอรมครั้งที่ 2 นี้ บางคนเริ่มเข้าใหม่ครั้งแรกไม่ได้เข้าร่วม
  • ช่วงบ่ายการทำนาดำ
  1. การเตรียมดินทำนาดำในแปลงนาที่มีน้ำขังไถดะทิ้งไว้ 14 วันไถแปรเป็นครั้งที่ 2 ทำเทือกลากด้วยคลาดทั่วทั้งแปลงนาก็สามารถนำต้นกล้ามาปักดำได้
  2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว สำหรับนาดำต้องเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวในแปลงนา ที่เป็นแปลงขนาดเล็ก โดยหว่านแห้งหรือหว่านเมล็ดข้าวงอกในแปลงนาที่เตรียมไว้สำหรับเพาะต้นกล้า การเตรียมเมล็ดข้าวงอกเพื่อเพาะต้นกล้าใช้เมล็ดพันธ์ดีมีความงอกสูงแช่น้ำ 1คืนยกขึ้นจากน้ำวางในที่ร่ม 2 คืน ช่วงนี้ต้องให้มีความชื้นแต่ไม่เปียกแฉะ และ แห้งจนเกินไป เมื่อมีอุณหภูมิที่เหมาะสมเมล็ดข้าวเริ่มแตกหน่อหรือแตกเขี้ยวหมาสามารถนำไปหว่านในแปลงเพาะกล้าได้3.วิธีการปลูกข้าวนาดำ การปลูกข้าวนาดำจะต้องเพาะต้นกล้าไว้ก่อนอย่างน้อย 25 – 30 วันส่วนใหญ่ปักดำในช่วงเดือน กันยายน-เดือนตุลาคม หรือเดือน 9-10 จากนั้นถอนต้นกล้าไปปักดำในแปลงนาที่เตรียมไว้ในกรณีบางรายช่วงปักดำถอนต้นกล้าแล้วไปจุ่มหัวกล้า(เอาส่วนรากของต้นกล้าไปจุ่มกับ มูลวัวที่หมักในหลุม)สำหรับนาดำโดยปักดำให้ต้นกล้ามีระยะห่างกันประมาณ 25 X 25 เซนติเมตร ทั่วทั้งแปลงนา ใช้แรงงานในครัวเรือน และแรงงานในชุมชน การดูแลบำรุงต้นข้าว การดูแลบำรุงต้นข้าว ใช้ธรรมชาติในการควบคุเช่น โรค แมลง ศัตรูข้าวต่างๆใช้ปุ๋ยคอก,ดินเขา,ขี้ค้างคาว(มายา) วัชพืชใช้วิธีการถอน
  • วันที่ 29 ธันวาคม 2557เรื่มเรียนรู้ การดูแลบำรุงรักษาต้นข้าวพื้นบ้าน ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว
  1. ข้าวอายุ 1- 10 วัน ( ระยะจมหลังนกเขา )ข้าวอายุ 1 – 10 วัน ( จมหลังนกเขา ) ไม่ควรมีน้ำขัง แต่ต้องให้ดินมีความชื้น ใช้น้ำหมักจากหอยเชอรี ไร่ละ 2 ลิตร
  2. ข้าวอายุ 10 – 30 วัน ( ระยะต้นกล้า )ข้าวอายุ 30 – 60 วัน ( ระยะแตกกอ )ดูแลระบบน้ำในแปลงนาให้มีน้ำขังตลอดประมาณ 10 เซนติเมตรใส่ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพไร่ละ 50 – 100 กก.ใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ 2 ครั้ง และใช้น้ำหมักจากหอยเชอรีไร่ละ 2 ลิตร กำจัดวัชพืชโดยการถอน และ การเตรียมดินที่ดีก่อนปลูกข้าวเป็นการป้องกัน กำจัดวัชพืชได้เป็นอย่างดี ป้องกันดุแลโรคและแมลงไม่ให้รบกวนโดยให้ศัตรูธรรมชาติควบคุม และใช้น้ำหมักชีวภาพสกัดจากสมุนไพรในการป้องกัน
  3. ข้าวอายุ 60 – 120 วัน ( ระยะแต่งตัว ตั้งท้อง กลัดยอดท้อง ) บำรุงต้นข้าวด้วยน้ำ หมักชีวภาพจาก ผลไม้ ไร่ละ 2 ลิตร
    4" ข้าวอายุ 120 – 150 วัน ( ระยะออกรวง เป็นน้ำนม ดีเม้า สุกหราม ถึง เก็บเกี่ยว ) ระบายน้ำในแปลงนาออกให้เจือพื้น ก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน บันทึก ต้นทุน การปลูก การบำรุงรักษา การเจริญเติบโต ทั้งแต่เริ่มปลูกจนเก็บเกี่ยว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้านท่าช้าง 38 คน วิทยากรรและคณะทำงาน 13 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  เครือข่ายชาวนาไม่ได้เข้าร่วม เนื่องจากฝนตก

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน ครั้งที่ 13 ธันวาคม 2557
3
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนแนวคิดและการดำเนินงานธนาคารพันธุ์กรรมพื้นบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน  ในวันที่ 3 ธันวาคม 2557 ณ. วิชชาลัยรวงข้าว เวลา 9.00 น ประธานแจ้งวัตภุประสงค์ในการประชุม  และร่วมกันแลกเปลี่ยนการดำเนินงานด้านพันธุกรรม ที่ผ่านมา  ดณะทำงานสรุป และกำหนดวันประชุมครั้งต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แนวคิดการจัดทั้งธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์ผักพื้บ้าน ชาวบ้านไม่ค่อยนิยมปลูกกัน และไม่ได้เก็บพันธุ์ไว้ใช้เอง แต่นิยมบริโภคพันธุ์พื้นบ้าน เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากภายนอก ซึ่งมีราคาสูง จึงมีแนวคิดในการจัดทำแปลงเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านไว้บริการให้กับผู้ที่สนใจ การดำเนินงานในช่วงแรกๆ ไม่ได้มีคณะทำงาน แต่จะมี สมาชิกและแกนนำกลุ่ม มาช่วยกัน ดำเนินการ เช่น การรับอาสาจัดทำแปลงเมล็ดพันธุ์การจัดการตากแห้ง การเก็บ และการบริการ กำหนดการประชุมครั้งต่อไป อบรมการผลิตข้าวอินทรีย์วันที่ 28 - 29 ธันวาตม 2557ณวิชชาลัยรวงข้าว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  10 คน ที่ปรึกษา 3 คน ชุมชน 7 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาหมู่บ้าน ครั้งที่ 63 ธันวาคม 2557
3
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

กำหนดแผนพัฒนางวดที่ 2

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ทบทวนกิจกรรมงวดแรก
2. พิจารณาปรับปฏิทินกิจกรรม
3. แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักข้างบ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้แผนปฏิบัติงานงวด 2
  2. ได้แนวทางสร้างความมั่นคงทางอาหาร

- การเก็บเมล็ดพันธุ์ใช้เอง
- การเพาะขยายพันธุ์พืชผัก
- มีข้อตกลงร่วมกันในการดูแลรักษาทรัพยากรณ์ และสิ่งแวดล้อมชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เวทีปรับปรุงเพิ่มเติมเรื่องฐานอาหารพันธุกรรมพื้นบ้าน แหล่งอาหารธรรมชาติ แหล่งผลิตที่ปลอดสารพิษ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ20 พฤศจิกายน 2557
20
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรับปรุงหลักสูตรการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร  เพิ่มเนื้อหาความมั่นคงทางอาหาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่องความมั่นคงทางอาหาร โดยแลกเปลี่นทีละคน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมในเวที

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เนื้อหา ความม้่คงทางอาหารตั้งแต่อดีต ในวิถีชีวิตเรื่องกินข้าวเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินปลาเป็นอาหาร

  • แนวคิดความมั่นคงทางอาหาร
  • ความหมาย
  • ภูมิปัญญาการสร้างความมั่นคงทางอาหาร
  • นโยบาย
  • การปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลของสภาพอากาศ ้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  1. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าช้าง 1 คน
  2. ผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน 1คน
  3. นักวิชาการอิสระ  3 คน
  4. คณะทำงานและเยาวชน 21 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ชวนน้องปลูกบัวในคลอง18 พฤศจิกายน 2557
18
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการผลิตอาหารทั้งระบบนิเวศน์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ช่วงเช้า..คณะทำงานและอาสาสมัคร ภาคีเครือข่าย พร้อมกัน ณ บริเวณลานวัดท่าประดู่เพื่อแบ่งกลุ่มย่อยตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบ และทำการแจกจ่ายต้นกล้าบัวให้กับแกนนำผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงมือปลูก บริเวณริมคลองยาวประมาณ 1 กิโลเมตร
  • ช่วงบ่าย...คณะทำงานและอาสาสมัครและภาคีเครือข่าย ร่วมกันกำหนดกติกาในการดูแลและแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลบริเวณริมคลอง เฝ้าระวังไม่ให้ถูกทำลาย ซึ่งทางคณะทำงานและคนในชุมชนร่วมกันกำหนดกติกาขึ้นมาเอง

ดังนี้....หากเห็นว่ามีการทำลายกล้าบัวในบริเวณริมคลองที่ทางชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ไว้จะทำการเรียกมาตักเตือนและปลูกทดแทน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากกิจกรรมเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชน เด็กเยาวชน และภาคีเครือข่าย ตลอดถึงคน 3 วัยได้มีกิจกรรมสร้างสรรค์ทำร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ผักริมคลอง การเพิ่มพื้นที่ผลิตอาหารในระบบนิเวศน์ริมคลอง ซึ่งทางชุมชนกำหนดเป็นเขตในการอนุรักษ์ริมคลองประมาณ 1 กิโลเมตร โดยมีการปลูกบัว ริมคลอง ต้นจิก ต้นมะเดื่อ เพิ่มเติมไว้บริเวณดังกล่าว ทั้งนี้ในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มคนในชุมชน และภาคียังได้แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปลูกบัวที่เหมาะสมกับระบบนิเวศน์พื้นที่อีกด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานจำนวน 10 คน
  • ตัวแทนคนในชุมชน จำนวน 5 คน
  • อาสาสมัคร ภาคี เครือข่าย จำนวน 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ถอนเงินค่าเปิดบัญชี6 พฤศจิกายน 2557
6
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

ถอนเงินค่าเปิดบัญชี

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานถอนเงินค่าเปิดบัญชี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานได้ถอนเงินค่าเปิดบัญชี จำนวน 500 บาท

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานฯเพื่อสรุปปิดงวดแรก5 พฤศจิกายน 2557
5
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย เสณี จ่าวิสูตร
circle
วัตถุประสงค์

ตรวจสอบความถูกต้องของรายงาน หลักฐานการเงิน เพื่อจัดทำรายงานสรุปปิดงวดแรก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงตรวจสอบการจัดทำรายงานต่างๆทางเว็บไซส์ แนะนำช่วยกันแก้ไขจนถูกต้อง แล้วจึงตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการใช้จ่ายงบประมาณตามกิจกรรมที่ทำในโครงการ ให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขในส่วนที่บกพร่องจนถูกต้อง สามารถประกอบรายงานปิดงวดแรกได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พื้นที่สามารถจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ส.๑/ส.๒/ง.๑ และเอกสารการใช้จ่ายงบประมาณของงวดแรกได้ถูกต้อง สามารถประกอบรายงานปิดงวดแรกได้ พร้อมทั้งทำเรื่องขอเบิกจ่ายงบฯงวดที่ ๒

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ/ผู้รับผิดชอบการเงิน/ผู้จดทำรายงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การรายงานผลทางวเว็บไซส์ยังล่าช้าและมักจะผิดพลาดเสมอ พี่เลี้ยงต้องคอยติดตามดูแลอย่าให้รายงานคั่งค้าง และใกล้ชิดกว่านี้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้พยายามบันทึกรายงานกิจกรรมหลังจากดำเนินงานตมกิจกรรมให้เสร็จสิ้น อย่าปล่อยค้างไว้จะมีปัญหาตอนปิดงวด

ติดตามหนุนเสริม5 พฤศจิกายน 2557
5
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

รายงานปิดงวดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทีมพีเลี้ยง ชีแจงการจัดทำรายงาน ปิดงวดโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโคงการ คณะทำงาน ได้มีความรู้และจัดทำรายงานปิดงวดได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผูัรับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

จัดทำรายงานวันนี้ ไม่เสร็จต้อง กลับไปทำต่อให้เสร็จ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาหมู่บ้าน ครั้งที่ 53 พฤศจิกายน 2557
3
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามข้อมูลการบันทึกแปลงนา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงาน อาสาสมัคร ประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลการบันทึกการจัดทำแปลงนา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการ บันทึกแปลงนาผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน 1) แปลงเมล็ดพันธุ์สังข์หยดจำนวน 2 ไร่ นาดำ เริ่มตกกล้า วันที่ 10 สิงหาคม 2557 ป้กดำ วันที่ 8 กันยายน 2557 ระยะ 20 เซ็นติเมตร / กอ อายูุ 70 วันอยู่ช่วงแตกกอ 12 ต้น / 1 กอ สูง 83 เซ็นติเมตร ใบตั้ง สีเขียวเข็ม 2) แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉี้ยงพัทลุง จำนวน 3 ไร่ หว่านนำ้ตม วันที่ 20 สิงหาคม 2557 อายุ 70 วัน อยู่ช่วงแตกกอ 4 ต้น / กอ สูง 80 เซ็นติเมตร ใบตั้งสีเขียวเข็ม 3) แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวปิ่นแก้ว จำนวน 2ไร่ หว่านนำ้ตม วันที่ 25 สิงหาคม 2557 อายุ70 วัน อยู่ในช่วงแตกกอ 4 ต้น / กอ สูง 70 เซ็นติเมตร ใบตั้งสีเขียวอ่อน
4) แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวหน่วยเขือ จำนวน 4 ไร่ นาดำ ตกกล้า วันที่ 25 สิงหาคม 2557 ปักดำ วันที่ 7 ตุลาคม 2557 ระยะ 20 เซ็นติเมตร / กอ อายุ 70 วัน อายูช่วงแตกกอ 15 ต้นด่อ 1 กอ สูง80 เซ็นติเมตร ใบตั้งสีเขียวเข็ม 5) แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวเล็บนก จำนวน 3 ไร่ นาดำ ตกกล้า วันที่ 20 สิงหาคม 2557 ปักดำวันที่ 15 กันยายน 2557 ระยะ 20 เซ็นติเมตร / กอ อายุ 70วัน  อายุในช่วงแตกกอ 16 ต้นต่อกอ สูง 100 เซ็นติเมตร ใบตั่ง สีเขียวเข็ม     - สภาพทั่ไป มีนำ้ขังเพียงพอ มีหนอนกอระบาดเป็น จุด ๆ นาดำไม่มีผลกระทบ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน อาสาสมัคร แกนนำกลุ่มในหมู่บ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ลงพื้นที่เฝ้าระวังในการบังคับใช้ข้อตกลงเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ23 ตุลาคม 2557
23
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามสถานการณ์การบังคับใช้ข้อตกลงในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ท่าประดู่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อาสาสมัครเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์นำ้ท่าประดู่ ลงพื้นที่ ติดตามสถานการณ์ การบังคับใช้ข้อตกลง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อาสาสมัครเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์นำ้ท่าประดู่ ลงพื้นที่ ติดตามสถานการณ์ การบังคับใช้ข้อตกลง พบว่ายังมี ชาวบ้านบางรายมาหาปลาในเขตสงวนอยู่ ซึ่งทางคณะทำงานได้ประกาศเตือน ผ่านหอกระจายไปแล้ว แต่ก็อ้างว่าไม่ได้เห็นป้ายประกาศห้าม การลงพื้นที่ตรั้งนี้จึงมึมติว่า ควรทำป้ายเพิ่มอีก สัก 1 ป้าย สำป้ายเดิมติดอยู่ริมหัาสพาน สำหรับป้ายใหม่ที่จะเพิ่ม ให้ติดที่ริมขอบสนามติดกับเขตสงวน จะได้มองเห็นชัดเจนขึ้น 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

อาสาสมัครเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ท่าประดู่

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 43 ตุลาคม 2557
3
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามความก้าวหน้ากิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมวงใหญ่ 1 แจ้งให้ที่ประชุมทราบ 2 แลกเปลี่ยนผลการทำกิจกรรม 3 เรื่องพิจารณา 4 นัดการประชุมครั้งต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เริ่มประชุม 13.00 น. ณ. วิชชาลัยรวงข้าว 1.  ประธานในที่ประชุมแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ     - การทำกิจกรรมโครงการความมั่นคงทางด้านอาหาร ผ่านมาแล้ว 14 กิจกรรม งบประมาณ งวดแรก โอนมา วันที่ 30 กันยายน 2557 จำนวน 81,220 บาท     - 31 ตุลาคม 2557 ต้องรายงาน ปิดงวดแรก 2.  แลกเปลี่ยนผลจากการทำกิจกรรม     - งบในการทำกิจกรรมออกล่าช้า ต้องใช้เงินสำรองในการทำกิจกรรมไปก่อน เพราะว่า กิจกรรมในโครงการมีหลายกิจกรรม ต้องทำไปตามแผนงานที่วางไว้   - ได้มีองค์ความรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน อาสาสมัคร เป็นอย่างดี   -  ต้องมีภาคี / เครือข่าย เข้าร่วมมากกว่านี้ 3.  เรื่องพิจารณา     - การรายงานความก้าวหน้าโครงการที่ผ่านมาล่าช้า เสอนให้มีการฝึกการทำรายงานกับอาสาสมัครเพิ่ม มติเห็นชอบ ให้มี่การฝึกการทำรายงาน 4.  ประชุมสภาความมั่นคงทางอาหาร คร้งที่ 5 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 ณวิชชาลัยรวงข้าว 13.00 น.

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

อาสาสมัคร คณะทำงาน เยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เวทีเรียนรู้การจัดทำสื่อเผยแพร่ร่วมกับทีมสงขลามหาชน16 กันยายน 2557
16
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แลกเปลี่ยนความรุ้การทำสื่อเผยแพร่โครงการในพื้นที่กับทีมสงขลามหาชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แลกเปลี่ยนความรุ้การทำสื่อเผยแพร่โครงการในพื้นที่กับทีมสงขลามหาชน และ นัดวันลงพื้ที่จัดทำสื่อ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร ครั้งที่ 19 กันยายน 2557
9
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนำหลักสูตรและคู่มือมาใช้ในการหนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปรับปรุงดิน / อนุรักนำ้ 2 วัน
  2. วันแรก 9 กันยายน 2557 แลกเปลี่ยนความรู้ การปัรบปรุงดิน ช่วงเช้า    - สถานการณ์การใช้ที่ดิน               - ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงดิน   ช่วงบ่าย  - ทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เอง ( คือนมายาสู่ผืนดิน )
  3. วันที่10 กันยายน 2557 แลกเปลี่ยนความรู้การอนุรักนำ้
  4. สรุปประเมินผล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันแรก 9.00น.
* ลงทะเบียน  แลกเปลี่ยนวงใหญ่ สถานการณ์ การใช้ที่ดิน โดยวิทยากรดำเนินรายการแลกเปลี่ยน 1) พื้นที่ทำนาลดลง 2)พื้นที่ไมมีเอกสารสิทธิ์ 3) ใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับพืชที่ปลูก 4)การใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น * แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงดิน 1) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับดิน -  ดินดีคือ      ดินที่ประกอบไปด้วยอินทรียวัตถุ    ธาตุอาหารชนิดต่างๆ มีโครงสร้างของดินที่ดี และประกอบไปด้วยจุลินทรีย์สิ่งมีชีวิตต่างๆ -  โครงสร้างของดิน    คือลักษณะของดินจัดเรียงตัวเป็นแผ่นเป็นก้อนมีผลต่อการถ่ายของน้ำ และ อากาศในดินและต่อการหยั่งลึกของรากพืชและปริมาณธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดิน -  คุณสมบัติของดิน    1.  ทางกายภาพ  ได้แก่ เนื้อดิน  ความเหนียว  2.  ทางเคมี  ได้แก่ ความเป็นกรด  เป็นด่าง  3.  ทางชีวภาพ  ได้แก่  สิ่งมีชีวิตในดิน -  ส่วนประกอบของดิน      น้ำ  25  %  อากาศ  25  %  ธาตุอาหาร    45  %  อินทรียวัตถุ    5  % -  สาเหตุที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ 1. พืชต้องการธาตุอาหาร 2. การระเหยข้องธาตุอาหาร 3. การชะล้าง 4. การพังทลาย 5. การใช้สารเคมี -  การทำให้ดินดี    เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี  เป็นการสร้างให้ดินมีชีวิต คือการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน มีอยู่หลายวิธีการ 1. การพักดิน  เป็นการดูแลคุณภาพดินแบบดั้งเดิม 2. การใช้ปุ๋ยพืชสด เช่นพืชสกุลถั่ว 3. การคลุมดิน ใช้เศษพืช หรือวัชพืช 4. การใช้ปุ๋ยคอก  มูลสัตว์ ประกอบไปด้วยธาตุอาหารต่างๆ 5. การใช้ปุ๋ยหมัก เป็นกระบวนการเอาอินทรียวัตถุต่างๆ มาหมักให้เกิดการย่อยสลาย -  ปุ๋ยหมัก  หรือปุ๋ยอินทรีย์  คือสิ่งที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังของซากพืชซากสัตว์  รวมถึงสิ่งขับถ่ายของมนุษย์ และสัตว์ที่ทับถมบนดิน  หรือคลุกคล้าวอยู่ในดิน  อินทรีย์วัตถุมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช 1. เป็นแหลงที่ให้อาหารพืช 2. ทำให้ดินตรึงธาตุอาหารไว้ไม่ให้ถูกชะล้างลงในดินชั้นล่าง 3. ช่วยให้ดินมีความสามารถอุ้มน้ำดีขึ้น 4. ช่วยให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น ปุ๋ยอินทรีย์สามารถทำได้  2 แบบคือ  ปุ๋ยอินทรีย์แห้ และปุ๋ยอินทรีย์น้ำ  มีส่วนผสมหลายอย่างและมีสูตรที่ไม่ตายตัวสามารถปรับสูตรให้เหมาะสมได้ตามชนิดของวัสดุที่ใช้  การทำปุ๋ยอินทรีย์ถ้าหากนำจุลินทรีย์มาช่วยย่อยสลายก็จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การทำให้ดินดีด้วยปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยในการฟื้นฟูดินให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ หรือคืนชีวิตให้แก่ดิน หรือ คืนมายาสู่ผืนดิน   ช่วงบ่าย  ทำปุ๋ยหม้กอินทรีย์ชีวภาพใช้เอง  เป็นการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมายา (AM) ส่วนผสม  ขนาด  1  ตัน 1. มูลสัตว์  ( ขี้วัว )        500  กิโลกรัม 2. ใช้แกลบดิบ               100  กิโลกรัม 3. รำข้าว                      100  กิโลกรัม 4. แกลบดำ                  100  กิโลกรัม 5. น้ำหมักชีวภาพ  5  กก.  กากน้ำตาล  3  กก.  น้ำเปล่า  200 ลิตร
    วิธีการผสมปุ๋ยอินทรีย์ 1. นำวัตถุดิบ  มูลสัตว์  แกลบดิบ  รำข้าว แกลบดำ  ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. ปรับกองปุ๋ยให้เรียบเสมอกัน  ขนาดกองสูงประมาณ  15  เซนติเมตร
3. ผสมน้ำหมัก  กากน้ำตาล  น้ำเปล่า  คนให้เข้ากัน  นำมารดในกองปุ๋ยที่เตรียมไว้  ไม่ให้กองปุ๋ยเปียกหรือแห้งจนเกินไป 4. ผสมกองปุ๋ยอีกครั้งเพื่อให้น้ำหมักเข้ากับกองปุ๋ยได้ทั่วถึง ใส่กระสอบหมักไว้ 7-10 วัน  อุณหภูมิกองปุ๋ยเพิ่มขึ้นให้กลับกองปุ๋ยวันละครั้งจนกว่าอุณหภูมิปกติ ก็นำไปใช้ได้   วิธีการใช้ 1 นาข้าว  ปรับปรุงบำรุงดิน ให้ข้าวเจริญเติบโตได้ดีใช้  200  กิโลกรัม / ไร่  ( ใส่ครั้งเดียวหรือ  2  ครั้ง ) 2 ผักสวนครัว  ใช้รองก้นหลุม เพาะต้นกล้าหรือใส่รอบทรงพุ่มประมาณ  3  กำมือ 3 ไม้ยืนต้นไม้ผล  1 – 3 กิโลกรัม / ต้น     ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์ 1. ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ ของดิน ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น  ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชการระบายน้ำระบายอากาศ  ช่วยให้รากพืชขยายกระจายในดินให้ดีขึ้น 2. ช่วยเพิ่มแร่ธาตุต่าง ๆ ให้แก่ดินทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง  แร่ธาตุอาหารทุกชนิดมีความสำคัญเท่าเทียมกันต่อการเจริญเติบโตของพืช  ถ้าขาดแร่ธาตุอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช 3. ช่วยลดต้นทุนการทำการเกษตร  เช่น  ลดการใช้ปุ๋ยเคมี  และป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช 4. เป็นการนำประโยชน์ของจุลินทรีย์  มาใช้เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการหมักวัสดุอินทรีย์ 5. ทำให้เกิดความปลอดภัยในการทำการเกษตร  ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ทำให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและเกษตรกรยังปลอดภัยจากสารเคมีด้วย 6. การใช้ประโยชน์จากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น วันที่สอง     การอนุรักษ์นำ้  เป็นเวที่แลกเปลี่ยนวงใหญ่ในการจัดการนำ้ในแปลงนา
การจัดการน้ำเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมการให้น้ำอย่างเพียงพอสำหรับการปลูกข้าว ป้องกันน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีจากแปลงนาข้างเคียง การควบคุมวัชพืชและศัตรูข้าว ๑. ควรทำคันนาให้มีความกว้างอย่างน้อย 1เมตร สูงเกินกว่าระดับน้ำในแปลงนาเพื่อป้องกันน้ำไหลจากแปลงนาข้างเคียง ๒. ควรปลูกพืชผักบนคันเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นาและป้องกันการปนเปื้อน ๓. การรักษาระดับน้ำในแปลงนาที่ 15 เซนติเมตรในระยะข้าวแตกกอ ๔. เมื่อข้าวเริ่มสุกให้ระบายน้ำออกเหลือระดับเจือพื้น ๕. ถ้าน้ำในนามีน้อยจะทำให้หญ้าเกิดขึ้นเร็ว ข้าวโตช้าไม่เต็มที่ ๖. ในพื้นที่มีน้ำไม่พอควรมีบ่อเก็บน้ำสำรอง     สรูปและจัดทำแผนการฝึกอบรมครั้งต่อไป การคัดพันธุ์ข้าว / การปลูก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

อาสาสมัคร / เยาวชน / เครือข่ายชาวนา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 31 กันยายน 2557
1
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามงานข้อมูลการจัดทำแปลงเมล็ดพันธ์และแปลงอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมสภาความมั่นคงทางอาห่ร ครั้งที่ 3
1  ประธานในที่ประชุม แจ้งให้ที่ประชุมทราบ
- ชุมชนบ้านท่าช้างได้คัดเลือกจาก ธ กส ให้เป็นชุชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง - วิชชาลัยรวงข้าวได้จัดทำแผนพัฒนาด้านการตลาด - การจัดทำแปลงเมล็ดพันธ์ุข้าวพื้นบ้าน 2 รับรองรายงานการประชุมสภาความมั่นคงทางอาหาร ครั้งที่ 2 ณ วิชชาลัยรวงข้าว - เลขานุการ อ่านสรุปรายงานการประชุมให้ที่ประชุมทราบ มติที่ประชุม รัรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2
3 เรื่องพิจาระณา
1 ติดตามงานข้อมูลการทำนาอินทรีย์ ในโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง 4 นัดการประชุมสภาความมั่นคงทางด้านอหารครั้งต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชุมสภาความมั่นคงทางอาหาร ครั้งที่ 3 วันที่ 1 กันยายน 2557 เวลา 13.00 น 1 ติดตามงานข้อมูลการทำนาอินทรีย์ มีอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงก่รความั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง จำนวน 26 ราย มีพื้นที่แปลงนา จำนวน 50 ไร่ มีแปลงเมล็ดพันธุ์ 15 ไร่ ข้าวสังหยดพัทลุง ข้าวเฉี้ยงพัทลุง ข้าวหน่วยเขือ ข้าวปิ่นแก้ว ข้าวเหนียวดำ แปลงอนุรักษ์พันธุ์ และปลูกในกระถาง จำนวน 10 สายพันธุ์ มีการบันทึกตลอดฤดูการ 2 การเตรียมดิน 1 สิงหาคม 2557 - 15 สิงหาคม 2557 โดย การไถกรบตอซัง และปอเทือง
    3 ปลูกข้าว 15 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป ช่วงนี้ ข้าวอาอยุ 10 - 15 วัน รายชื่ออาสาสมัคร ทำนาอินทรีย์ ในโครงการความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง - 
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

อาสาสมัคร  40 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำแปลงผลิตพันธ์ุข้าวพื้นบ้าน25 สิงหาคม 2557
25
สิงหาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่่อพึ่่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวของชุมชนได้หมุนเวียนแบ่งปันในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนกระบวนการในการผลิตเมล็ดพันุธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน 1.ประชุอาสาสมัคร เลือกพันธุ์ข้าว เลือกแปลงนา 2. จัดทำข้อตกลงในการทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน 3.วิธีการทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน 4. การจัดการบริหารเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชุมอาสาสมัคร เยาวชน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแปลงผลิตรเมล็ดพันธุ์ข้าว แลกเปลี่ยนการปลูกข้าวในชุมชนการใช้พันธุ์ข้าว พบว่าในชุมชนมีการปลูกข้าวไว้บริโภคและขายประมาณ 5 สายพันธุ์ คือ ข้าว สังข์หยดพัทลุง ข้าวเฉี้ยงพัทลุง ข้าวหนว่ยเขือ เล็บนก ข้าวปิ่นแก้ว ในขณะเดีวกันชาวนาไม่ค่อยเก็บพันธุ์ไว้เอง ต้องซื้อจากที่อื่นในราคาที่แพง  ชาวนาที่เก็บไว้เองก็ไม่ค่อยคัดพัธุ์นปนหรือสิ่งเจือปนอื่นออก ในเวทีจึงจุดประกายในการพึ่งตนเองด้นเมล็ดพันธุ์ เช่น ป้องกันความเสี่ยงจะได้มีเมล็ดสำรอง มีมติใช้พันธุ์ข้าวทั้ง 5 สายพันธุ์ เพราะว่า เป็นข้าวที่ นิมบริโภค และมีราคา และเหมาะสมกับพื้ที่ และได้แปลงนาที่เป็นแปลงเมล็ดพันธุ์จำนวน 15 ไร่ มีส่วนร่วมในการทำแปลงเมล็ดพันธุ์ และมีข้อตกลง 1)มีการแลกเปลี่ยเรียนรู้ร่วมกัน 2)คัดเลือกพันธุ์ปนและวัชพืช 3)มีคณะทำงานตรวจแปลงเมล็ดพันธุ์
  • วิการทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน 1)อาสาสมัครเตรียมดินต้นเดือนสิงหาคม 2557 และเริ่มปลูก วันที่ 25 สิงหาคม 2557 ใช้เมล็ดพันธุ์จากกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 10 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านนำ้ตม และนาดำ 2)ใช้ปุ๋ยหมัก นำ้หมักชีวภาพ ในการบำรุงดูแลต้นข้าว 3)ตัดพันธุ์ปนในแปลงนาออก 3 ครั้ง ครั้งแรกอายุข้าวประมาณ 1-2 เดือน ครั้งที่ 2 อายุข้าว 3- 4เดือน ครั้งที่ 3 ระยะข้าวออกรวงถึงเก็บเกี่ยว โดยการดูลักษณะประจำพันธุ์ข้าว 4)การเก็บเกี่ยว มี 2 วิธี 1)เก็บเป็นข้าวเลียง 2)เก็บเป็นข้าวเปลือกโดยรถเกี่ยวนวด ที่ล้างทำความสะอาด และเกี่ยวฉเพาะข้าวเมล็ดพันธุ์ 5)ตากให้แห้ง 2 แดด คัดด้วยตะแกรงร่อน หรือเครื่องนวดข้าว เพื่อคัดชอข้าว หรือเมล็ดลีบ หรือ สิ่งเจือปนอื่นออก 6)เก็บใส่กระสอบที่มีการระบายอากาศได้ดี เก็บในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ที่มีอากาศถ่ายเทไดดี และไม่มีความชื้น กันนกและหนูได้ 7)การจัดการบริหารเมล็ดพันธุ์ ในรูปแบบ ธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน 
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

อาสาสมัคร / แกนนำ 10 คน เยาวชน 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ทำแปลงทดลองปลูกข้าวพื้นบ้าน18 สิงหาคม 2557
18
สิงหาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่หลากหลายสายพันธุ์คัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมเป็นพันธุ์ขยายต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานอาสสมัคร ลงพื้นที่แปลงนาเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เช่น เมล็ดพันธุ์ ป้ายพันธุ์ข้าว แบบบันทึก
  2. ปรับปรุงดินเพื่อปลูกข้าว
  3. ปลูกข้าวด้ววิธีหว่านเม็ลดข้าวงอก แยกเป็นแปลงแต่ละสายพันธุ์
  4. ปักป้ายชื่อพันธุ์ข้าวแต่ละชนิด
  5. บันทึกลักษณะประจำพันธุ์ ในแต่ละช่วง
  6. ทำนิทรรศการหลังจากบันทึกลักษณะประพันธุ์เสร็จสิ้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • อาสาสมัคร 5 คน ร่วมจ้ดทำแปลงทดลองปลูกข้าวพื้นบ้าน ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน 6 สายพันธุ์ มืข้าวสังข์หยดพัทลุง ขัาวเฉี้ยงพัทลุง ข้าวหน่วยเขือ ข้าวเล็บนก ข้าวเหนียวดำ ข้าวปิ่นแก้ว สาเหตุที่เลือกใช้พันธุ์ข้าว 6 ชนืดนี้ ก็เพราะว่า เดิมชุมชนมีพันธุ์ข้าวมากกว้า 30 สายพันธุ์แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมด วิชชาลัยรวงข้าว ร่วมกับชุมชนได้ฟื้นมาได้และปลูกขยายในแปลงนาของสมาชิกเพียง 6 สายพันธุ์นี้ ส่วนเมล็ดพันธุ์ชนิดอื่นๆ มีจำนวนเมล็ดพันธุ์น้อยจึงปลูกไว้ในกระถางเพื่อป้องก้นความเสี่ยง
  • ใช้พื้นที่แปลงนาของอาสาสมัครในการทดลอง 1)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุงจำนวน 2 ไร่ 2)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉี้ยงพัทลุงจำนวน 3 ไร่ 3)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวหน่วยเขือจำนวน 4 ไร่ 4)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวเล็บนกจำนวน 3 ไร่ 5)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวดำจำนวน 2 งาน 6)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวปิ่นแก้วจำนวน 2 ไร่ รวมแปลงทดลองปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้าน จำนวน 14 ไร่ 2 งาน
  • เตรียมดินโดยการไถกรบตอซังข้าว และไถกรบปอเทืองปุ๋ยพืชสด ทิ่งไว้อย่างน้อย 10 วัน โดยมีนำ้ขังครั้งที่ 2 คราดทำเทือกให้เสมอกันทั้งแปลงชักลากทำร่องนำ้ 3 - 4 เมตร ต่อร่อง ระบายนำ้ออกให้แห้ง หว่านข้าวงอก จำนวน 10 กิโลกรัม / ไร่
  • ปักป้ายชื่อพันธุ์ข้าว แต่ละชนิด และ จดบันทึก ตามแบบบันทึกลักษณะประจำพันธุ์ บันทึกตลอดฤดูกาล ตามระยะการเจริญเติบโต เพื่อจัดทำเป็นองค์ความรู้ 
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

อาสาสมัคร

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยาภาพผู้รับผิดชอบโครงการในการจัดทำรายงาน7 สิงหาคม 2557
7
สิงหาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้รับผิดชอบและคณะทำงานได้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำรายงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การรายงานความก้าวหน้าโครงการผ่านทางอินเตอร์เน็ต

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานได้มีความรู้มีความเข้าใจในการจัดทำรายงานและส่งรายงานผ่านอินเตอร์เน็ต

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 21 สิงหาคม 2557
1
สิงหาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

วางแผนงานการทำนาในโครงการฯ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมเวลา 13.00 น. 1. ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 2.รับรองรายงานการประชุมสภาความมั่นคงทางอาหาร ครั้งที่ 2 3. เรื่องพิจาระณา 4. เรื่องอื่นๆ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานในที่ประชุม แจ้งให้ทราบ 1. อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการความมั่นคงทางด้านอาหาร 26 คน  พื้นที่แปลงนา ประมาณ 50 ไร่ กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้จัดเตรียมเมล็ดพันธ์ุไว้แล้ว ประมาณ 600 กิโลกรัม มีข้าวสังข์หยด ข้าวเฉี้ยงพัทลุง ข้าวปิ่นแก้ว ข้าวหน่วยเขือ เหนียวดำ
2. รับรองรายงานการประชุมสภาความมั่นคงทางด้านอาหาร ครังที 1 วันที่ 20 กรกฏคม 2557 ณ. วิชชาลัยรวงข้าว เลขานุการอ่านสรุปรายงานการประชุมให้ที่ประชุมทราบ มติที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม 3. เรื่องพิจาระณา วางแผนการทำนาปี -  แปลงเมล็ดพันธุ์  15 ไร่ 5 สายพันธ็ุ -  แปลงปลูกทดลอง และปลูกในกระถาง 10 สายพันธุ์ - มี่อาสาสมัคร 5 คน - ในช่วงนี้เป็นช่วงขั้นเตรียมดิน - กำหนดปลูกตั้งแต่ วันที่15 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป - บันทึกกระบวมการผลิต 4. เรื่องอื่นๆ ประชุมสภาความมั่นคงทางด้านอาหารครั้งต่อไป วันที่ 20  กันยายน  2557

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

อาสาสมัคร กรรมการ 32 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การนำหลักสูตรที่ได้พัฒนาทดลองใช้กับเยาวชน/คนรุ่นใหม่เรียนรู้จากการปฏิบัติท้องนา11 กรกฎาคม 2557
11
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เยาวชนได้นำความรู้จากการเรียนรู้จากการปฏิบัติใช้ในชีวิตได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 11 กรกฏาคม 2557 9.00 น. ลงทะเบียน
10.00 น. พิธีเปิด ค่ายเยาวชนคนเก่ง สืบสานภูมิปัญญาการทำนาภาคใต้ ในระบบเศรษฐกิจพอเพียง โดย ผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิเชียร แก้วบุญส่ง - แลกเปลี่ยนเรียนรู้พันธุ์กรรมพื้นบ้าน
- ช่วงบ่าย เรียนรู้การทำนาในแปลงนา วันที่ 12 กรกฏาคม 2557 - ช่วงเช้า ลงพื้นที่ศึกษาวิถีชุมชน - ช่วงบ่าย ฝึกการวาดรูป แต่งเพลง วันที่ 13 กรกฏาคม 2557 - ช่วงเช้า ทบทวนสรุปผลการเข้าค่าย มอบรางวัล ปิดค่ายเยาวชน - ทุกกระบวนการมีพี่เลี้ยงนักศึกษาจาก ม.ทักษคอยช่วยเหลือดูแล และให้ความบรรเทิง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วงแลกเปลี่ยนเรียนรูพันธุกรรมพื้นบ้าน ได้นำตัวของแต่ละพันธ์ุอย่างเช่น พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน พันธุ์พักพื้นบ้าน วิทยากรให้ความรู้ 3 คน บอกถึงลักษณประจำพันธุ์ ความเป็นมาของข้าว การใช้ประโยชน์ สรรพคุณ การทายปัญหาเกี่ยวกับพันธุ์พื้นบ้าน เยาวชนสนใจมาก ร่วมตอบคำถามอย่างสนุก และได้ความรู้เรื่อพันธุกรรมเพิ่มขึ้น
  • เรียนรู้เรื่องพันธุ์กรรมแล้วก็เรียนรู้การปลูกข้าวในแปลงนา ทีมวิทยากรให้ความรู้ไม่น้อยก่าว 10 คน เกี่ยวกับการเตรียมดิน วิธีการปลูก การดูแลตันข้าว สิ่งที่เยาวชนได้ปฏิบัติ คือการดำนา การแข็งดำนา สนุกกับการจับปลาในนา และการทำกับข้าวจากปลาที่จับได้ในแปลงนา
  • ร่วมเรียนรู้วิถีของชุมชนตำบลพนางตุง แล้วมาจินตนาการวาดภาพ และแต่งเพลง มีวิทยากรเช่นสุ บุญเลี้ยง
  • ทบทวนสรุปก่อนกลับบ้าน
  1. มีความสนุกยากมีอีกในครั้งต่อไป
  2. ได้ควรามรู้ประสบการณ์ เช่น พันธุ์ข้าว การดำนา การอยู่กับเพื่อน
  3. เวลาในการจัดค่ายน้อย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

อาสาสมัคร/ชุมชน/เครือข่าย/ภาคี/ เยาวชน/รวม 80 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณ จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

วางกรอบและพัฒนาเครื่องมือประกอบการพัฒนาหลักสูตร7 กรกฎาคม 2557
7
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

1เพื่อพัฒนาหลักสูตร การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร ยกระดับเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนการทำกิจกรรม 1. ช่วงเช้า จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เดิม การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร 2. วิเคราะจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส โดยฉายขึ้นจอโปแทรกเตอร์ แต่ละเรื่อง 3. ช่วงบ่าย วางกรอบ เครื่องมือ แผนปฏิบัติ ในการพัฒนาหลักสูตร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เดิม ( การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร )มาทบทวน จุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาส ผู้เข้าร่วมจำนวน 17 คน
  2. ช่วงเช้า แลกเปลี่ยนความรู้เดิม การทำนาอินทรีย์และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ น้ำหมักสมุนไพร การรวบรวมผลผลิตของสมาชิกสู่การจัดการระบบกลุ่ม การแปรรูปผลผลิตจากข้าว เช่น การสีข้าวเป็นข้าวกล้อง ข้าวขัดซ้อมมือ ข้าวขัดขาว สบู่น้ำมันรำข้าว ขนมข้าวพองสังข์หยด จมูกข้าว ชาข้าวกล้องสังข์หยด การคัดข้าวสารและการบรรจุภัณฑ์ วัฒนธรรมข้าว พิธีกรรม กวนข้าวยาคู ทำขัวญข้าว
  3. วิเคราะห์จุดอ่อน องค์ความรู้เดิม ไม่ได้ครอบคลุม ให้ความรู้เฉพาะเรื่องข้าว ควรเพิ่มเติมในเรื่อง ผักพื้นบ้านและสมุนไพร การดูแลทรัพยากรสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน เช่น เขตสงวนพันธ์สัตว์น้ำ พืชน้ำ ป่าริมคลอง
  4. วิเคราะห์จุดแข็ง องค์ความรู้เดิม การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร เป็นแนวทางปฏิบัติการพึ่งตนเอง ด้านการผลิต การแปรรูป  การตลาด ชุมชนสามารถกำหนดได้เอง
  5. วิเคราะห์โอกาส องค์ความรู้เดิม สามารถขยายองค์ความรู้ได้ มีความต้องการของผู้บริโภค เข้าถึงภูมิปัญญาและทรัพยากร สามารถยกระดับองค์ความรู้ เรื่องของ ความมั่นคงทางด้านอาหาร “ ข้าวเป็นหลัก ผักเป็นยา ปลาเป็นอาหาร ”                                                                                                                  *  ข้าวเป็นหลัก  หมายถึง การปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้าน ทำนาอินทรีย์เป็นอาชีพ บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก
    *  ผักเป็นยา    หมายถึง การปลูกพืช ผัก และ สมุนไพรพื้นบ้าน บริเวณข้างบ้าน สำนักงาน แปลงเกษตร ในระบบเกษตรอินทรีย์ เป็นส่วนประกอบอาหารบริโภคเพื่อบำรุงสุขภาพ
    *  ปลาเป็นอาหาร  หมายถึง การเลี้ยงปลาบริเวณบ้าน เลี้ยงปลาบ่อดิน การอนุรักษ์สงวนพันธุ์สัตว์น้ำ ระบบนิเวศในเขตสงวน สามารถบริโภคปลาเป็นอาหารได้ตามฤดูกาล
  6. ช่วงบ่าย  วางกรอบ  เครื่องมือ แผนปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร
    กรอบในการพัฒนาหลักสูตร “ ความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง “
    1.  ชื่อหลักสูตร 2.  ความสำคัญ 3.  จุดมุงหมาย 4.  วัตถุประสงค์ 5.  เนื้อหาหลักสูตร / แนวคิด 6.  เวลาเรียน 7.  สื่อประกอบการเรียนการสอน 8.  การวัดและประเมินผลการเรียน 9.  ประโยชน์คาดว่าจะได้รับ เครื่องมือในการพัฒนาหลักสูตร
  7. องค์ความรู้
  8. โปแทรกเตอร์
  9. อุปกรณ์เครื่องเขียน แผนปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร
  10. จัดเวที ปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
  11. กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร
  12. องค์ความรู้เดิม และ องค์ความรู้เดิมที่เพิ่มเติม
  13. รวบรวมจัดทำรูปเล่ม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 17 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานชาวนา 17 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานและตัวแทนกลุ่มองค์กรในชุมชนเพื่อวางแผน เตรียมการในการจัดกิจกรรม4 กรกฎาคม 2557
4
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

1เพื่อสรุปผลการจัดกิจกรรมเวทีเปิดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 ประสานงานกับแกนนำ อาสาสมัคร เยาวชย ภาคีเครือช่าย 2 ประธานที่ประชุมแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 3 ทบทวนแลกเปลี่ยนเวทีเปิดตัวโครงการเมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน 2557 4 พิจาระณาในมติร่วม 5 กำหนดกิจกรรมครั้งต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ - 18 - 20 การถ่ายทำรายการโทรทัศ ปฏิบ้ติการข่าวดี จากช่อง  N B T เื่รองเมล็ดพันธุ์เพื่อชีวิต ณ วิชชาลัยรวงขัาว - 22 - 27 งานสมัชชาความมั่นคงทางอาหาร ณ เมืองทองธานี เครือข่ายเกษตรทางเลือกเข้าร่วมกิจกรรม 2 ทบทวนการจัดกิจกรรมเวทีเปิดดครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง - ผู้เข้าประชุมเป็นไปตามเป้าหมาย - นักศึกษาม.ทักษิน นำเรื่องผักพื้นบ้านได้ดีสร้างจิตรสำนึกให้กับที่ประชุม ในการดูสุขภาพด้วยผักพื้นบ้าน - นายกเทศมนตรีตำบลพนางตุงเป็นประธานในพิธีเปิด และให้ความสำคัญ กับความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะการทำนาอินทรีย์แบบครบวงจร และ จะร่วมขับเคลื่อน โรงสีข้าวชุมชน - การรับสมัครผู้เข้าร่วมขับเคลื่อนโครงการได้ประมาณ 30 คน และมีแปลงนาที่เข้าร่วมโครการ ประมาณ 50 ไร่

3 เรื่อพิจาระณา - การปลูกข้าวนาปี ที่เข้ารวมในโครงการฯ กำหนดปลูกพร้อมกัน ประมาณ วันที่ 15 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป
- ในช่วงนี้เป็นช่วงที่เครียมดิน มติในที่ประชุมเห้นด้วย 4 กำหนดการทำกิจกรรครั้งต่อไป - กิจกรรมครั้งต่อไป เข้าค่ายเยาวชนคนเก่งฯ ร่วมกับ วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ม.ทักษิณ วันที่ 11 - 13 กรกฎาคม 2557
- ประชุมสภาความั่นคงทางอาหาร ครั้งต่อไป วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 13.00 น ณ วิชชาลัยรวงข้าว

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม 40 คน อาสาสมัคร 30 คน เยาวชน 2 คน เครือข่าย 5 คน ชุมชน 3 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เวทีเปิดโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการแก่ตัวแทนกลุ่มองค์กรภายในหมู่บ้าน28 มิถุนายน 2557
28
มิถุนายน 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย เสณี จ่าวิสูตร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดประชุมสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการแก่ตัวแทนกลุ่มและองค์กรรวมถึงรับสมัครอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 90 คนได้แก่คณะทำงานชาวนา 70 คน ภาคี,ภาครัฐที่เกี่ยงข้อง เกษตรอำเภอ , เทศบาลตำบลพนางตุง , ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง , สำนักงานพัฒนาผลิตพันธุ์ข้าว , กรมการข้าวเครือข่ายเกษตรทางเลือก,นายกฯเทศมนตรีตำบลพนางตุง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในเวที ในชุมชนมีความหลากหลายของพันธุ์พืช ควรเก็บรักษาพันธ์ุและปลูกไว้ใช้ให้ตลอด   ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวรายงานในพิธีเปิด ถึงวัตถุประสงค์ในการจัดเวทีเปิดโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง 1. เพื่อทำความเข้าใจโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง 2. เพื่อแลกเปลี่ยนประเมินสถานะการณ์ความมั่นคงทางอาหาร 3. รับอาสาสมัครขับเตลื่อนโครงการฯ เรื่องที่สำคัญคือ  หลักสูตรท้องถิ่น การทำนาอินทรีย์ครบวงจร  คู่มือการทำนาครบวงจร  สื่อแผ่นพับ วีชีดี  พื้นที่ข้าวอินทรีย์เพิ่ม 20 ไร่ ครัวเรื่อนเพิ่มขึ้นทางอาหาร 30 คร้วเรือน สัตว์นำ้เพิ่มขึ้น มีทีมประมงอาสา10 คน สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีเด็กเข้ามาเรียนรู้ ธนาคารเมล็ดพันธ์ุข้าว อนุรักษ์พันธุ์ข้าว 10 สายพันธุ์ แลกเปลี่ยนประเมินสถานะการควมมั้นคงทางอาหารบ้านท่าช้าง สถานการ์ความมั่นคงทางอาหารอยู่ระดับปานกลาง แต่มีความเประบ้างของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ผลผลิตลดลง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้สร้างความรู้และเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการแก่ตัวแทนกลุ่มและองค์กรต่างๆในหมู่บ้าน ได้นำเสนอทุนทางความมั่นคงทางอาหารของชุมชนและแนวทางการพัฒนาต่อยอด มีอาสาสมัครเข้าร่วมเป็นแปลงทดลองพันธ์ข้าวและแปลงผลิตพันธ์ข้าวครบตามที่กำหนดไว้ ได้เชื่อมต่อกับนโยบายระดับท้องถิ่นโดยนายกเทศมนตรีตำบลพนางตุง โดยรับปากที่จะจัดการเรื่องฉางเก็บยุ้งข้าวให้แก่กลุ่มนี้ในปี 2558 และสามารถวางแผนการทำงานร่วมกับทีมงานได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 90 คน จากที่ตั้งไว้ 90 คน
ประกอบด้วย

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 90 คนได้แก่คณะทำงานชาวนา 70 คน ภาคี,ภาครัฐที่เกี่ยงข้อง เกษตรอำเภอ , เทศบาลตำบลพนางตุง , ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง , สำนักงานพัฒนาผลิตพันธุ์ข้าว , กรมการข้าวเครือข่ายเกษตรทางเลือก,นายกฯเทศมนตรีตำบลพนางตุง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เงินยังไม่โอนเพราะมีความไม่สมบูรณ์ของเอกสารที่ประกอบสัญญาฯ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้ทำความเข้าใจกับอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มคือแปลงทดลอง/แปลงผลิตเมล็ดพันธ์ ให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการเข้าร่วมอย่างชัดเจนและควรประชุมกลุ่มย่อยกับอาสาสมัครโดยเร็วเพราะเกรงจะไม่ทันต่อฤดูกาล/ ให้รีบแก้ไขเอกสารที่ยังไม่ถูกต้องส่งแก่ สสส.โดยเร็ว เพื่อจะได้รับเงินโอนมาจะไม่ต้องหาเงินมาสำรองจ่าย

จัดทำป้าย สถานที่นี้ปลอดบุหรี่28 มิถุนายน 2557
28
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดพิล์มไวนิล สถานที่นี้ปลอดบุหรี่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้นำป้ายไวนิล ติดไว้บริเวณ วิชชาลัยรวงข้าว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เปิดโครงการและคัดเลือกอาสาสมัคร28 มิถุนายน 2557
28
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อทำความเข้าใจโครงการความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง  2. แลกเปลี่ยนประเมินสถานะการความมั่นคงทางอาหาร  3. รับอาสาสมัครขับเคลื่อนโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00น.ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน นายธีระวัฒน์  ส้งข์ทอง พิธีกรดำเนินรายการ ตลอดกิจกรรม เวลา 10.00 - 12.00น. นักศึกษา ม.ทักษิณ นำเสนอผลจากการสำรวจ พืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน
เวลา 12.00 - 13.00น. อาหารกลางวัน เวลา 13.00 - 15.30 น. พิธีเปิดโครงการความมั่นคงด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง โดย นายกเทศมนตรี ตำบลพนางตุง นายพิชิต ขันติพันธ์ และ ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ โดยนายอำมร สุขวิน ผู้รับผิดชอบโครงการ แลกเปลี่ยนประเมินสถานะการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และ รับอาสาสมัครขับเคลื่อนโครงการ ปิดเวที

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เริ่มเวที เวลา 10.00 น. นักศึกษา ม.ทักษิณ นำเสนอผลจากการสำรวจ พืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน ได้ยกตัวอย่างบ้าน นายแข เพ็ชรพรรณ
เกรินนำแผนที่ การเก็บข้อมูลพันธุ์ผักและสมุนไพร
ตัวอย่างผักและสมุนไพรข้างบ้านนายแข เพ็ชรพรรณ สมาชิกชุมชนบ้านท่าช้าง ที่เป็นยารักษาโรค
- ต้นแก้มปลาหมอ  แก้ไข้
- บอระเพ็ด  แก้ไข้
- เพชรสังฆาต  แก้น้ำหนวกไหล , ริดสีดวง
- มหาหงส์  บำรุงกำลัง , บำรุงไต
- ย่านาง  แก้ภูมแพ้
- หญ้าหนวดแมว แก้โรคไต
- ว่านชักมดลูก  แก้โรคริดสีดวง  รักษามดลูก
- ว่านหางจระเข้  แก้แผลเป็น  แก้สิวแก้ฝ้า
ที่เป็นอาหาร และเป็นยารักษาโรค
- ฟักข้าว  ยับยั้งโรคเอด
- ต้นชะพลู  แก้โรคเบาหวาน
- ตอเบา  แก้ขับลม สมานแผล
- ถั่วพู  บำรุงกำลัง
- มะกรูด  บำรุงหัวใจ
- มะเขือพวง  ห้ามเลือด
- มะนาว  แก้ท้องร่วง - มะระขี้นก  แก้โรคฝี , บำรุงน้ำนม
- อัญชัญ  ยาระบาย , แก้ปวดฝัน
ที่ใช้ประกอบอาหาร
- กะพ้อ  ใบห่อขนมต้ม  บำรุงน้ำนม
- แก้วมังกร  ลดความอ้วน  โลหิต  เบาหวาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในเวที ในชุมชนมีความหลากหลายของพันธุ์พืช ควรเก็บรักษาพันธ์ุและปลูกไว้ใช้ให้ตลอด   ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวรายงานในพิธีเปิด ถึงวัตถุประสงค์ในการจัดเวทีเปิดโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง 1. เพื่อทำความเข้าใจโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง 2. เพื่อแลกเปลี่ยนประเมินสถานะการณ์ความมั่นคงทางอาหาร 3. รับอาสาสมัครขับเตลื่อนโครงการฯ     นายกเทศมนตรีตำบลพนางตุง นายพิชิต ขันติพันธ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง กล่าวว่า ชุมชนบ้านท่าช้างเป็นชุมชนที่มีความเข็มแข็ง มีความภูมิใจที่หมู่ที่ 5 บ้านท่าช้าง รวมกันเป็นกลุ่ม คนที่อยู่ในกลุ่มมีความเชื่อใจกัน ความมั่นคงทางดัานอาหารเป็นเรื่องยาก ต้องทำแบบอินทรีย์ เช่น ที่ทำข้าวอินทรีย์ครบวงจรอยู่ สามารถสู่กับเวียดนามได้ ตอนนี้เรามาร่วมมือกันทำโครงการ ฯเพื่อความอยู่รอดของลูกหลาน สำหรับโรงสีเดิม ให้วิสาหกิจชุมชนพัฒนาต่อ ต้องทำโครงการให้ชัดเจน ใช้อะไรเท่าไร  และ เทศบาลทำกระบวนการสิ่งที่ค้างคาให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งมอบ ประมาณ ปี 2558 เข้าแผน 3 ปีไว้   ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ ฯ เรื่องที่สำคัญคือ  หลักสูตรท้องถิ่น การทำนาอินทรีย์ครบวงจร  คู่มือการทำนาครบวงจร  สื่อแผ่นพับ วีชีดี  พื้นที่ข้าวอินทรีย์เพิ่ม 20 ไร่ ครัวเรื่อนเพิ่มขึ้นทางอาหาร 30 คร้วเรือน สัตว์นำ้เพิ่มขึ้น มีทีมประมงอาสา10 คน สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีเด็กเข้ามาเรียนรู้ ธนาคารเมล็ดพันธ์ุข้าว อนุรักษ์พันธุ์ข้าว 10 สายพันธุ์ แลกเปลี่ยนประเมินสถานะการควมมั้นคงทางอาหารบ้านท่าช้าง สถานการ์ความมั่นคงทางอาหารอยู่ระดับปานกลาง แต่มีความเประบ้างของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ผลผลิตลดลง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 90 คน จากที่ตั้งไว้ 90 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานชาวนา 70 คน
  • ภาคี,ภาครัฐที่เกี่ยงข้อง เกษตรอำเภอ , เทศบาลตำบลพนางตุง , ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง , สำนักงานพัฒนาผลิตพันธุ์ข้าว , กรมการข้าว
  • เครือข่ายเกษตรทางเลือก
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
เสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมเตรียมเวทีเปิดโครการและคัดเลือกอาสาสมัคร21 มิถุนายน 2557
21
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดโครงการความมั่นคงด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง2. แบ่งบทบาทความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมเตรียม เปิดโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง ใน วันที่ 28 มิถุนายน 2557
แลกเปลี่ยนเรื่องพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน
ปลูกเพื่ออนุรักษ์พันธุ์
1. ไข่มดริ้น
2. ดอกพยอม
3. เล็บนก
4. ช่อจังหวัด
5. ปิ่นแก้ว
6. เฉี้ยงพัทลุง
7. หน่วยเขือ
8. เหนียวดำ
แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ 4 แปลง - ปิ่นแก้ว
- สังข์หยด
- หน่วยเขือ
- เฉี้ยงพัทลุง
กำหนดการ
เวลา 10.00 น. - 12.00 น. เยาวชนนำเสนอข้อมูลความมั่นคงด้านอาหารบ้านท่าช้าง
        13.00 น. - 15.30 น. เปิดโครงการความมั่นคงด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง โดย นายกเทศมนตรี ตำบลพนางตุง นายพิชิต ขันติพันธ์
แบ่งบทบาทหน้าที่ทำงานของแต่ละฝ่าย
- ประสานงาน , วิทยากร นายอำมร สุขวิน
- พิธีกร นายธีระวัฒน์ สังข์ทอง
- ลงทะเบียน นางเจริญ แก้วมณี , นางสำรวย สุวรรณคีรี
- การเงิน นางจำนง  ทองแก้ว
- อาหาร นางประไพ มาก
- สถานที่ นายแข เพ็ชรพรรณ
- การประชาสัมพันธ์ หอกระจายข่าว , ออกหนังสือ , พูดคุย
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
- เทศบาลตำบลพนางตุง
- เกษตรอำเภอควนขนุน
- ประมงจังหวัด
- ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง
- พัฒนาที่ดินจังหวัดพัทลุง
- ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง
- สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรพัทลุง
- เกษตรอำเภอบางแก้ว
- สภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง
- ชุมชนบ้านท่าช้าง
- ม.ทักษิณ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงาน 10 คน เข้าร่วมประชุมเตรียมเวทีเปิด โครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง
  2. คณะทำงานได้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง
  3. ได้กำหนดการจัดเวทีเปิดโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง
  4. ได้แบ่งบทบาทแต่ละฝ่าย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ 7 คน
  • ภาคี 2 คน
  • วิทยากร 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฐมนิเทศโครงการทำความเข้าใจการดำเนินงานโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่15 มิถุนายน 2557
15
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ในเรื่องกระบวนการดำเนินงานของโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำความเข้าใจโครงการ
  2. บันทึกรายละเอียดโครการ
  3. ทำปฏิทินโครงการ
  4. รายงานผลโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ความรู้เรื่องการทำโครงการ
  2. ได้บันทึกรายละเอียดของโครงการ
  3. ได้ทำปฏิทินดครงการ
  4. ได้รายงานผลโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ และ คณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี