task_alt

ความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง ( ต่อเนื่อง )

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง ( ต่อเนื่อง )

ชุมชน ชุมชนบ้านท่าช้าง ม.5 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 93150

รหัสโครงการ 57-01436 เลขที่ข้อตกลง 57-000-739

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม 2557 ถึง 19 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2557 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการทำความเข้าใจการดำเนินงานโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 - 16:00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ในเรื่องกระบวนการดำเนินงานของโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้ความรู้เรื่องการทำโครงการ
  2. ได้บันทึกรายละเอียดของโครงการ
  3. ได้ทำปฏิทินดครงการ
  4. ได้รายงานผลโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำความเข้าใจกระบวนการดำเนินงาน  ติดตามสนับสนุน ประเมินผล โครงการ  เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน ภายใต้ระบบการบริหารจัดการที่โปร่งใส น่าเชื่อถือ ตามระเบียบข้อบังคับของ สสส. ตลอดจนสามารถสรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ ถอดบทเรียนประสบการณ์

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ทำความเข้าใจโครงการ
  2. บันทึกรายละเอียดโครการ
  3. ทำปฏิทินโครงการ
  4. รายงานผลโครงการ

 

2 2

2. ประชุมเตรียมเวทีเปิดโครการและคัดเลือกอาสาสมัคร

วันที่ 21 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดโครงการความมั่นคงด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง2. แบ่งบทบาทความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงาน 10 คน เข้าร่วมประชุมเตรียมเวทีเปิด โครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง
  2. คณะทำงานได้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง
  3. ได้กำหนดการจัดเวทีเปิดโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง
  4. ได้แบ่งบทบาทแต่ละฝ่าย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเตรียมเวที
  • บทบาทหน้าที่ของคณะทำงานของแต่ล่ะฝ่าย
  • สรุปเวทีใช้กิจกรรมประชุมคณะทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมเตรียม เปิดโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง ใน วันที่ 28 มิถุนายน 2557
แลกเปลี่ยนเรื่องพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน
ปลูกเพื่ออนุรักษ์พันธุ์
1. ไข่มดริ้น
2. ดอกพยอม
3. เล็บนก
4. ช่อจังหวัด
5. ปิ่นแก้ว
6. เฉี้ยงพัทลุง
7. หน่วยเขือ
8. เหนียวดำ
แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ 4 แปลง - ปิ่นแก้ว
- สังข์หยด
- หน่วยเขือ
- เฉี้ยงพัทลุง
กำหนดการ
เวลา 10.00 น. - 12.00 น. เยาวชนนำเสนอข้อมูลความมั่นคงด้านอาหารบ้านท่าช้าง
        13.00 น. - 15.30 น. เปิดโครงการความมั่นคงด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง โดย นายกเทศมนตรี ตำบลพนางตุง นายพิชิต ขันติพันธ์
แบ่งบทบาทหน้าที่ทำงานของแต่ละฝ่าย
- ประสานงาน , วิทยากร นายอำมร สุขวิน
- พิธีกร นายธีระวัฒน์ สังข์ทอง
- ลงทะเบียน นางเจริญ แก้วมณี , นางสำรวย สุวรรณคีรี
- การเงิน นางจำนง  ทองแก้ว
- อาหาร นางประไพ มาก
- สถานที่ นายแข เพ็ชรพรรณ
- การประชาสัมพันธ์ หอกระจายข่าว , ออกหนังสือ , พูดคุย
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
- เทศบาลตำบลพนางตุง
- เกษตรอำเภอควนขนุน
- ประมงจังหวัด
- ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง
- พัฒนาที่ดินจังหวัดพัทลุง
- ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง
- สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรพัทลุง
- เกษตรอำเภอบางแก้ว
- สภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง
- ชุมชนบ้านท่าช้าง
- ม.ทักษิณ

 

15 10

3. เปิดโครงการและคัดเลือกอาสาสมัคร

วันที่ 28 มิถุนายน 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อทำความเข้าใจโครงการความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง  2. แลกเปลี่ยนประเมินสถานะการความมั่นคงทางอาหาร  3. รับอาสาสมัครขับเคลื่อนโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เริ่มเวที เวลา 10.00 น. นักศึกษา ม.ทักษิณ นำเสนอผลจากการสำรวจ พืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน ได้ยกตัวอย่างบ้าน นายแข เพ็ชรพรรณ
เกรินนำแผนที่ การเก็บข้อมูลพันธุ์ผักและสมุนไพร
ตัวอย่างผักและสมุนไพรข้างบ้านนายแข เพ็ชรพรรณ สมาชิกชุมชนบ้านท่าช้าง ที่เป็นยารักษาโรค
- ต้นแก้มปลาหมอ  แก้ไข้
- บอระเพ็ด  แก้ไข้
- เพชรสังฆาต  แก้น้ำหนวกไหล , ริดสีดวง
- มหาหงส์  บำรุงกำลัง , บำรุงไต
- ย่านาง  แก้ภูมแพ้
- หญ้าหนวดแมว แก้โรคไต
- ว่านชักมดลูก  แก้โรคริดสีดวง  รักษามดลูก
- ว่านหางจระเข้  แก้แผลเป็น  แก้สิวแก้ฝ้า
ที่เป็นอาหาร และเป็นยารักษาโรค
- ฟักข้าว  ยับยั้งโรคเอด
- ต้นชะพลู  แก้โรคเบาหวาน
- ตอเบา  แก้ขับลม สมานแผล
- ถั่วพู  บำรุงกำลัง
- มะกรูด  บำรุงหัวใจ
- มะเขือพวง  ห้ามเลือด
- มะนาว  แก้ท้องร่วง - มะระขี้นก  แก้โรคฝี , บำรุงน้ำนม
- อัญชัญ  ยาระบาย , แก้ปวดฝัน
ที่ใช้ประกอบอาหาร
- กะพ้อ  ใบห่อขนมต้ม  บำรุงน้ำนม
- แก้วมังกร  ลดความอ้วน  โลหิต  เบาหวาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในเวที ในชุมชนมีความหลากหลายของพันธุ์พืช ควรเก็บรักษาพันธ์ุและปลูกไว้ใช้ให้ตลอด   ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวรายงานในพิธีเปิด ถึงวัตถุประสงค์ในการจัดเวทีเปิดโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง 1. เพื่อทำความเข้าใจโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง 2. เพื่อแลกเปลี่ยนประเมินสถานะการณ์ความมั่นคงทางอาหาร 3. รับอาสาสมัครขับเตลื่อนโครงการฯ     นายกเทศมนตรีตำบลพนางตุง นายพิชิต ขันติพันธ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง กล่าวว่า ชุมชนบ้านท่าช้างเป็นชุมชนที่มีความเข็มแข็ง มีความภูมิใจที่หมู่ที่ 5 บ้านท่าช้าง รวมกันเป็นกลุ่ม คนที่อยู่ในกลุ่มมีความเชื่อใจกัน ความมั่นคงทางดัานอาหารเป็นเรื่องยาก ต้องทำแบบอินทรีย์ เช่น ที่ทำข้าวอินทรีย์ครบวงจรอยู่ สามารถสู่กับเวียดนามได้ ตอนนี้เรามาร่วมมือกันทำโครงการ ฯเพื่อความอยู่รอดของลูกหลาน สำหรับโรงสีเดิม ให้วิสาหกิจชุมชนพัฒนาต่อ ต้องทำโครงการให้ชัดเจน ใช้อะไรเท่าไร  และ เทศบาลทำกระบวนการสิ่งที่ค้างคาให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งมอบ ประมาณ ปี 2558 เข้าแผน 3 ปีไว้   ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ ฯ เรื่องที่สำคัญคือ  หลักสูตรท้องถิ่น การทำนาอินทรีย์ครบวงจร  คู่มือการทำนาครบวงจร  สื่อแผ่นพับ วีชีดี  พื้นที่ข้าวอินทรีย์เพิ่ม 20 ไร่ ครัวเรื่อนเพิ่มขึ้นทางอาหาร 30 คร้วเรือน สัตว์นำ้เพิ่มขึ้น มีทีมประมงอาสา10 คน สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีเด็กเข้ามาเรียนรู้ ธนาคารเมล็ดพันธ์ุข้าว อนุรักษ์พันธุ์ข้าว 10 สายพันธุ์ แลกเปลี่ยนประเมินสถานะการควมมั้นคงทางอาหารบ้านท่าช้าง สถานการ์ความมั่นคงทางอาหารอยู่ระดับปานกลาง แต่มีความเประบ้างของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ผลผลิตลดลง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเวทีเปิดโครงการและคัดเลือกอาสาสมัคร

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00น.ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน นายธีระวัฒน์  ส้งข์ทอง พิธีกรดำเนินรายการ ตลอดกิจกรรม เวลา 10.00 - 12.00น. นักศึกษา ม.ทักษิณ นำเสนอผลจากการสำรวจ พืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน
เวลา 12.00 - 13.00น. อาหารกลางวัน เวลา 13.00 - 15.30 น. พิธีเปิดโครงการความมั่นคงด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง โดย นายกเทศมนตรี ตำบลพนางตุง นายพิชิต ขันติพันธ์ และ ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ โดยนายอำมร สุขวิน ผู้รับผิดชอบโครงการ แลกเปลี่ยนประเมินสถานะการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และ รับอาสาสมัครขับเคลื่อนโครงการ ปิดเวที

 

90 90

4. จัดทำป้าย สถานที่นี้ปลอดบุหรี่

วันที่ 28 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้นำป้ายไวนิล ติดไว้บริเวณ วิชชาลัยรวงข้าว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้าย สถานที่นี้ปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดพิล์มไวนิล สถานที่นี้ปลอดบุหรี่

 

1 1

5. ประชุมคณะทำงานและตัวแทนกลุ่มองค์กรในชุมชนเพื่อวางแผน เตรียมการในการจัดกิจกรรม

วันที่ 4 กรกฎาคม 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1เพื่อสรุปผลการจัดกิจกรรมเวทีเปิดโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ - 18 - 20 การถ่ายทำรายการโทรทัศ ปฏิบ้ติการข่าวดี จากช่อง  N B T เื่รองเมล็ดพันธุ์เพื่อชีวิต ณ วิชชาลัยรวงขัาว - 22 - 27 งานสมัชชาความมั่นคงทางอาหาร ณ เมืองทองธานี เครือข่ายเกษตรทางเลือกเข้าร่วมกิจกรรม 2 ทบทวนการจัดกิจกรรมเวทีเปิดดครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง - ผู้เข้าประชุมเป็นไปตามเป้าหมาย - นักศึกษาม.ทักษิน นำเรื่องผักพื้นบ้านได้ดีสร้างจิตรสำนึกให้กับที่ประชุม ในการดูสุขภาพด้วยผักพื้นบ้าน - นายกเทศมนตรีตำบลพนางตุงเป็นประธานในพิธีเปิด และให้ความสำคัญ กับความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะการทำนาอินทรีย์แบบครบวงจร และ จะร่วมขับเคลื่อน โรงสีข้าวชุมชน - การรับสมัครผู้เข้าร่วมขับเคลื่อนโครงการได้ประมาณ 30 คน และมีแปลงนาที่เข้าร่วมโครการ ประมาณ 50 ไร่

3 เรื่อพิจาระณา - การปลูกข้าวนาปี ที่เข้ารวมในโครงการฯ กำหนดปลูกพร้อมกัน ประมาณ วันที่ 15 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป
- ในช่วงนี้เป็นช่วงที่เครียมดิน มติในที่ประชุมเห้นด้วย 4 กำหนดการทำกิจกรรครั้งต่อไป - กิจกรรมครั้งต่อไป เข้าค่ายเยาวชนคนเก่งฯ ร่วมกับ วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ม.ทักษิณ วันที่ 11 - 13 กรกฎาคม 2557
- ประชุมสภาความั่นคงทางอาหาร ครั้งต่อไป วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 13.00 น ณ วิชชาลัยรวงข้าว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน/ติดตามผล/เตรียมการจัดกิจกรรมในรอบเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

1 ประสานงานกับแกนนำ อาสาสมัคร เยาวชย ภาคีเครือช่าย 2 ประธานที่ประชุมแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 3 ทบทวนแลกเปลี่ยนเวทีเปิดตัวโครงการเมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน 2557 4 พิจาระณาในมติร่วม 5 กำหนดกิจกรรมครั้งต่อไป

 

40 40

6. วางกรอบและพัฒนาเครื่องมือประกอบการพัฒนาหลักสูตร

วันที่ 7 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 - 15.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1เพื่อพัฒนาหลักสูตร การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร ยกระดับเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เดิม ( การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร )มาทบทวน จุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาส ผู้เข้าร่วมจำนวน 17 คน
  2. ช่วงเช้า แลกเปลี่ยนความรู้เดิม การทำนาอินทรีย์และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ น้ำหมักสมุนไพร การรวบรวมผลผลิตของสมาชิกสู่การจัดการระบบกลุ่ม การแปรรูปผลผลิตจากข้าว เช่น การสีข้าวเป็นข้าวกล้อง ข้าวขัดซ้อมมือ ข้าวขัดขาว สบู่น้ำมันรำข้าว ขนมข้าวพองสังข์หยด จมูกข้าว ชาข้าวกล้องสังข์หยด การคัดข้าวสารและการบรรจุภัณฑ์ วัฒนธรรมข้าว พิธีกรรม กวนข้าวยาคู ทำขัวญข้าว
  3. วิเคราะห์จุดอ่อน องค์ความรู้เดิม ไม่ได้ครอบคลุม ให้ความรู้เฉพาะเรื่องข้าว ควรเพิ่มเติมในเรื่อง ผักพื้นบ้านและสมุนไพร การดูแลทรัพยากรสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน เช่น เขตสงวนพันธ์สัตว์น้ำ พืชน้ำ ป่าริมคลอง
  4. วิเคราะห์จุดแข็ง องค์ความรู้เดิม การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร เป็นแนวทางปฏิบัติการพึ่งตนเอง ด้านการผลิต การแปรรูป  การตลาด ชุมชนสามารถกำหนดได้เอง
  5. วิเคราะห์โอกาส องค์ความรู้เดิม สามารถขยายองค์ความรู้ได้ มีความต้องการของผู้บริโภค เข้าถึงภูมิปัญญาและทรัพยากร สามารถยกระดับองค์ความรู้ เรื่องของ ความมั่นคงทางด้านอาหาร “ ข้าวเป็นหลัก ผักเป็นยา ปลาเป็นอาหาร ”                                                                                                                  *  ข้าวเป็นหลัก  หมายถึง การปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้าน ทำนาอินทรีย์เป็นอาชีพ บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก
    *  ผักเป็นยา    หมายถึง การปลูกพืช ผัก และ สมุนไพรพื้นบ้าน บริเวณข้างบ้าน สำนักงาน แปลงเกษตร ในระบบเกษตรอินทรีย์ เป็นส่วนประกอบอาหารบริโภคเพื่อบำรุงสุขภาพ
    *  ปลาเป็นอาหาร  หมายถึง การเลี้ยงปลาบริเวณบ้าน เลี้ยงปลาบ่อดิน การอนุรักษ์สงวนพันธุ์สัตว์น้ำ ระบบนิเวศในเขตสงวน สามารถบริโภคปลาเป็นอาหารได้ตามฤดูกาล
  6. ช่วงบ่าย  วางกรอบ  เครื่องมือ แผนปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร
    กรอบในการพัฒนาหลักสูตร “ ความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง “
    1.  ชื่อหลักสูตร 2.  ความสำคัญ 3.  จุดมุงหมาย 4.  วัตถุประสงค์ 5.  เนื้อหาหลักสูตร / แนวคิด 6.  เวลาเรียน 7.  สื่อประกอบการเรียนการสอน 8.  การวัดและประเมินผลการเรียน 9.  ประโยชน์คาดว่าจะได้รับ เครื่องมือในการพัฒนาหลักสูตร
  7. องค์ความรู้
  8. โปแทรกเตอร์
  9. อุปกรณ์เครื่องเขียน แผนปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร
  10. จัดเวที ปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
  11. กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร
  12. องค์ความรู้เดิม และ องค์ความรู้เดิมที่เพิ่มเติม
  13. รวบรวมจัดทำรูปเล่ม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

วางกรอบและพัฒนาเครื่องมือประกอบการพัฒนาหลักสูตร เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมออกแบบการแผนปฏิบัติการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร จัดทำเครื่องเมือใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรฯ ยกระดับเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร

กิจกรรมที่ทำจริง

ขั้นตอนการทำกิจกรรม 1. ช่วงเช้า จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เดิม การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร 2. วิเคราะจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส โดยฉายขึ้นจอโปแทรกเตอร์ แต่ละเรื่อง 3. ช่วงบ่าย วางกรอบ เครื่องมือ แผนปฏิบัติ ในการพัฒนาหลักสูตร

 

15 17

7. การนำหลักสูตรที่ได้พัฒนาทดลองใช้กับเยาวชน/คนรุ่นใหม่เรียนรู้จากการปฏิบัติท้องนา

วันที่ 11 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เยาวชนได้นำความรู้จากการเรียนรู้จากการปฏิบัติใช้ในชีวิตได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • วงแลกเปลี่ยนเรียนรูพันธุกรรมพื้นบ้าน ได้นำตัวของแต่ละพันธ์ุอย่างเช่น พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน พันธุ์พักพื้นบ้าน วิทยากรให้ความรู้ 3 คน บอกถึงลักษณประจำพันธุ์ ความเป็นมาของข้าว การใช้ประโยชน์ สรรพคุณ การทายปัญหาเกี่ยวกับพันธุ์พื้นบ้าน เยาวชนสนใจมาก ร่วมตอบคำถามอย่างสนุก และได้ความรู้เรื่อพันธุกรรมเพิ่มขึ้น
  • เรียนรู้เรื่องพันธุ์กรรมแล้วก็เรียนรู้การปลูกข้าวในแปลงนา ทีมวิทยากรให้ความรู้ไม่น้อยก่าว 10 คน เกี่ยวกับการเตรียมดิน วิธีการปลูก การดูแลตันข้าว สิ่งที่เยาวชนได้ปฏิบัติ คือการดำนา การแข็งดำนา สนุกกับการจับปลาในนา และการทำกับข้าวจากปลาที่จับได้ในแปลงนา
  • ร่วมเรียนรู้วิถีของชุมชนตำบลพนางตุง แล้วมาจินตนาการวาดภาพ และแต่งเพลง มีวิทยากรเช่นสุ บุญเลี้ยง
  • ทบทวนสรุปก่อนกลับบ้าน
  1. มีความสนุกยากมีอีกในครั้งต่อไป
  2. ได้ควรามรู้ประสบการณ์ เช่น พันธุ์ข้าว การดำนา การอยู่กับเพื่อน
  3. เวลาในการจัดค่ายน้อย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของความมั่นคงทางด้านอาหาร และสามารถช่วยเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหารได้
  • ได้ความสามัคคี และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวัย
  • เยาวชนได้นำความรู้จากการเรียนรู้จากการปฏิบัติใช้ในชีวิตได้

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 11 กรกฏาคม 2557 9.00 น. ลงทะเบียน
10.00 น. พิธีเปิด ค่ายเยาวชนคนเก่ง สืบสานภูมิปัญญาการทำนาภาคใต้ ในระบบเศรษฐกิจพอเพียง โดย ผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิเชียร แก้วบุญส่ง - แลกเปลี่ยนเรียนรู้พันธุ์กรรมพื้นบ้าน
- ช่วงบ่าย เรียนรู้การทำนาในแปลงนา วันที่ 12 กรกฏาคม 2557 - ช่วงเช้า ลงพื้นที่ศึกษาวิถีชุมชน - ช่วงบ่าย ฝึกการวาดรูป แต่งเพลง วันที่ 13 กรกฏาคม 2557 - ช่วงเช้า ทบทวนสรุปผลการเข้าค่าย มอบรางวัล ปิดค่ายเยาวชน - ทุกกระบวนการมีพี่เลี้ยงนักศึกษาจาก ม.ทักษคอยช่วยเหลือดูแล และให้ความบรรเทิง

 

100 80

8. ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 2

วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

วางแผนงานการทำนาในโครงการฯ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประธานในที่ประชุม แจ้งให้ทราบ 1. อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการความมั่นคงทางด้านอาหาร 26 คน  พื้นที่แปลงนา ประมาณ 50 ไร่ กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้จัดเตรียมเมล็ดพันธ์ุไว้แล้ว ประมาณ 600 กิโลกรัม มีข้าวสังข์หยด ข้าวเฉี้ยงพัทลุง ข้าวปิ่นแก้ว ข้าวหน่วยเขือ เหนียวดำ
2. รับรองรายงานการประชุมสภาความมั่นคงทางด้านอาหาร ครังที 1 วันที่ 20 กรกฏคม 2557 ณ. วิชชาลัยรวงข้าว เลขานุการอ่านสรุปรายงานการประชุมให้ที่ประชุมทราบ มติที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม 3. เรื่องพิจาระณา วางแผนการทำนาปี -  แปลงเมล็ดพันธุ์  15 ไร่ 5 สายพันธ็ุ -  แปลงปลูกทดลอง และปลูกในกระถาง 10 สายพันธุ์ - มี่อาสาสมัคร 5 คน - ในช่วงนี้เป็นช่วงขั้นเตรียมดิน - กำหนดปลูกตั้งแต่ วันที่15 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป - บันทึกกระบวมการผลิต 4. เรื่องอื่นๆ ประชุมสภาความมั่นคงทางด้านอาหารครั้งต่อไป วันที่ 20  กันยายน  2557

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุุมสภาหมุ่บ้าน สภาความมั่นคงทางอาหาร 10 ครั้ง ๆ ละ 40 คน ถอดบดเรียน แลกเปลี่ยนประสบการ ความสำเรจและความล้มเหลวจากการดำเนินงาน การติดตามประเมินผล กำหนดทิสทางการดำเนินงาน จัดทำแผนเข้าสุุ่เทสบาลตำบลทส

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมเวลา 13.00 น. 1. ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 2.รับรองรายงานการประชุมสภาความมั่นคงทางอาหาร ครั้งที่ 2 3. เรื่องพิจาระณา 4. เรื่องอื่นๆ

 

40 32

9. พัฒนาศักยาภาพผู้รับผิดชอบโครงการในการจัดทำรายงาน

วันที่ 7 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ผู้รับผิดชอบและคณะทำงานได้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำรายงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานได้มีความรู้มีความเข้าใจในการจัดทำรายงานและส่งรายงานผ่านอินเตอร์เน็ต

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พัฒนาศักยาภาพผู้รับผิดชอบโครงการในการจัดทำรายงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การรายงานความก้าวหน้าโครงการผ่านทางอินเตอร์เน็ต

 

2 2

10. ทำแปลงทดลองปลูกข้าวพื้นบ้าน

วันที่ 18 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่หลากหลายสายพันธุ์คัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมเป็นพันธุ์ขยายต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • อาสาสมัคร 5 คน ร่วมจ้ดทำแปลงทดลองปลูกข้าวพื้นบ้าน ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน 6 สายพันธุ์ มืข้าวสังข์หยดพัทลุง ขัาวเฉี้ยงพัทลุง ข้าวหน่วยเขือ ข้าวเล็บนก ข้าวเหนียวดำ ข้าวปิ่นแก้ว สาเหตุที่เลือกใช้พันธุ์ข้าว 6 ชนืดนี้ ก็เพราะว่า เดิมชุมชนมีพันธุ์ข้าวมากกว้า 30 สายพันธุ์แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมด วิชชาลัยรวงข้าว ร่วมกับชุมชนได้ฟื้นมาได้และปลูกขยายในแปลงนาของสมาชิกเพียง 6 สายพันธุ์นี้ ส่วนเมล็ดพันธุ์ชนิดอื่นๆ มีจำนวนเมล็ดพันธุ์น้อยจึงปลูกไว้ในกระถางเพื่อป้องก้นความเสี่ยง
  • ใช้พื้นที่แปลงนาของอาสาสมัครในการทดลอง 1)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุงจำนวน 2 ไร่ 2)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉี้ยงพัทลุงจำนวน 3 ไร่ 3)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวหน่วยเขือจำนวน 4 ไร่ 4)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวเล็บนกจำนวน 3 ไร่ 5)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวดำจำนวน 2 งาน 6)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวปิ่นแก้วจำนวน 2 ไร่ รวมแปลงทดลองปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้าน จำนวน 14 ไร่ 2 งาน
  • เตรียมดินโดยการไถกรบตอซังข้าว และไถกรบปอเทืองปุ๋ยพืชสด ทิ่งไว้อย่างน้อย 10 วัน โดยมีนำ้ขังครั้งที่ 2 คราดทำเทือกให้เสมอกันทั้งแปลงชักลากทำร่องนำ้ 3 - 4 เมตร ต่อร่อง ระบายนำ้ออกให้แห้ง หว่านข้าวงอก จำนวน 10 กิโลกรัม / ไร่
  • ปักป้ายชื่อพันธุ์ข้าว แต่ละชนิด และ จดบันทึก ตามแบบบันทึกลักษณะประจำพันธุ์ บันทึกตลอดฤดูกาล ตามระยะการเจริญเติบโต เพื่อจัดทำเป็นองค์ความรู้ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แปลงทดลองปลูกข้าวพื้นบ้านมีอาสาสมัคร 5 คนเป็นทีมในการศึกษาทดลองและคัดเลือกพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่เหมาะสมมีรสชาติอร่อย นำไปสู่เป็นเมล็ดขยายของชุมชนต่อไป ข้าวสังหยด เฉี้ยง ดอกพยอม ปิ่นแก้ว เล็บนก หอมจันทร์ ไข่มดริ้น เหนียวดำ หน่วยเขือ หัวนา

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประสานงานอาสสมัคร ลงพื้นที่แปลงนาเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เช่น เมล็ดพันธุ์ ป้ายพันธุ์ข้าว แบบบันทึก
  2. ปรับปรุงดินเพื่อปลูกข้าว
  3. ปลูกข้าวด้ววิธีหว่านเม็ลดข้าวงอก แยกเป็นแปลงแต่ละสายพันธุ์
  4. ปักป้ายชื่อพันธุ์ข้าวแต่ละชนิด
  5. บันทึกลักษณะประจำพันธุ์ ในแต่ละช่วง
  6. ทำนิทรรศการหลังจากบันทึกลักษณะประพันธุ์เสร็จสิ้น

 

5 5

11. จัดทำแปลงผลิตพันธ์ุข้าวพื้นบ้าน

วันที่ 25 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่่อพึ่่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวของชุมชนได้หมุนเวียนแบ่งปันในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประชุมอาสาสมัคร เยาวชน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแปลงผลิตรเมล็ดพันธุ์ข้าว แลกเปลี่ยนการปลูกข้าวในชุมชนการใช้พันธุ์ข้าว พบว่าในชุมชนมีการปลูกข้าวไว้บริโภคและขายประมาณ 5 สายพันธุ์ คือ ข้าว สังข์หยดพัทลุง ข้าวเฉี้ยงพัทลุง ข้าวหนว่ยเขือ เล็บนก ข้าวปิ่นแก้ว ในขณะเดีวกันชาวนาไม่ค่อยเก็บพันธุ์ไว้เอง ต้องซื้อจากที่อื่นในราคาที่แพง  ชาวนาที่เก็บไว้เองก็ไม่ค่อยคัดพัธุ์นปนหรือสิ่งเจือปนอื่นออก ในเวทีจึงจุดประกายในการพึ่งตนเองด้นเมล็ดพันธุ์ เช่น ป้องกันความเสี่ยงจะได้มีเมล็ดสำรอง มีมติใช้พันธุ์ข้าวทั้ง 5 สายพันธุ์ เพราะว่า เป็นข้าวที่ นิมบริโภค และมีราคา และเหมาะสมกับพื้ที่ และได้แปลงนาที่เป็นแปลงเมล็ดพันธุ์จำนวน 15 ไร่ มีส่วนร่วมในการทำแปลงเมล็ดพันธุ์ และมีข้อตกลง 1)มีการแลกเปลี่ยเรียนรู้ร่วมกัน 2)คัดเลือกพันธุ์ปนและวัชพืช 3)มีคณะทำงานตรวจแปลงเมล็ดพันธุ์
  • วิการทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน 1)อาสาสมัครเตรียมดินต้นเดือนสิงหาคม 2557 และเริ่มปลูก วันที่ 25 สิงหาคม 2557 ใช้เมล็ดพันธุ์จากกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 10 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านนำ้ตม และนาดำ 2)ใช้ปุ๋ยหมัก นำ้หมักชีวภาพ ในการบำรุงดูแลต้นข้าว 3)ตัดพันธุ์ปนในแปลงนาออก 3 ครั้ง ครั้งแรกอายุข้าวประมาณ 1-2 เดือน ครั้งที่ 2 อายุข้าว 3- 4เดือน ครั้งที่ 3 ระยะข้าวออกรวงถึงเก็บเกี่ยว โดยการดูลักษณะประจำพันธุ์ข้าว 4)การเก็บเกี่ยว มี 2 วิธี 1)เก็บเป็นข้าวเลียง 2)เก็บเป็นข้าวเปลือกโดยรถเกี่ยวนวด ที่ล้างทำความสะอาด และเกี่ยวฉเพาะข้าวเมล็ดพันธุ์ 5)ตากให้แห้ง 2 แดด คัดด้วยตะแกรงร่อน หรือเครื่องนวดข้าว เพื่อคัดชอข้าว หรือเมล็ดลีบ หรือ สิ่งเจือปนอื่นออก 6)เก็บใส่กระสอบที่มีการระบายอากาศได้ดี เก็บในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ที่มีอากาศถ่ายเทไดดี และไม่มีความชื้น กันนกและหนูได้ 7)การจัดการบริหารเมล็ดพันธุ์ ในรูปแบบ ธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน กระจายพันธุ์เพื่อให้ชุมชนกระจายพันธุ์ต่อ

กิจกรรมที่ทำจริง

ขั้นตอนกระบวนการในการผลิตเมล็ดพันุธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน 1.ประชุอาสาสมัคร เลือกพันธุ์ข้าว เลือกแปลงนา 2. จัดทำข้อตกลงในการทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน 3.วิธีการทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน 4. การจัดการบริหารเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชน

 

20 20

12. ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 3

วันที่ 1 กันยายน 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามงานข้อมูลการจัดทำแปลงเมล็ดพันธ์และแปลงอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประชุมสภาความมั่นคงทางอาหาร ครั้งที่ 3 วันที่ 1 กันยายน 2557 เวลา 13.00 น 1 ติดตามงานข้อมูลการทำนาอินทรีย์ มีอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงก่รความั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง จำนวน 26 ราย มีพื้นที่แปลงนา จำนวน 50 ไร่ มีแปลงเมล็ดพันธุ์ 15 ไร่ ข้าวสังหยดพัทลุง ข้าวเฉี้ยงพัทลุง ข้าวหน่วยเขือ ข้าวปิ่นแก้ว ข้าวเหนียวดำ แปลงอนุรักษ์พันธุ์ และปลูกในกระถาง จำนวน 10 สายพันธุ์ มีการบันทึกตลอดฤดูการ 2 การเตรียมดิน 1 สิงหาคม 2557 - 15 สิงหาคม 2557 โดย การไถกรบตอซัง และปอเทือง
    3 ปลูกข้าว 15 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป ช่วงนี้ ข้าวอาอยุ 10 - 15 วัน รายชื่ออาสาสมัคร ทำนาอินทรีย์ ในโครงการความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง - 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุุมสภาหมุ่บ้าน สภาความมั่นคงทางอาหาร 10 ครั้ง ๆ ละ 40 คน ถอดบดเรียน แลกเปลี่ยนประสบการ ความสำเรจและความล้มเหลวจากการดำเนินงาน การติดตามประเมินผล กำหนดทิสทางการดำเนินงาน จัดทำแผนเข้าสุุ่เทสบาลตำบลทส

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมสภาความมั่นคงทางอาห่ร ครั้งที่ 3
1  ประธานในที่ประชุม แจ้งให้ที่ประชุมทราบ
- ชุมชนบ้านท่าช้างได้คัดเลือกจาก ธ กส ให้เป็นชุชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง - วิชชาลัยรวงข้าวได้จัดทำแผนพัฒนาด้านการตลาด - การจัดทำแปลงเมล็ดพันธ์ุข้าวพื้นบ้าน 2 รับรองรายงานการประชุมสภาความมั่นคงทางอาหาร ครั้งที่ 2 ณ วิชชาลัยรวงข้าว - เลขานุการ อ่านสรุปรายงานการประชุมให้ที่ประชุมทราบ มติที่ประชุม รัรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2
3 เรื่องพิจาระณา
1 ติดตามงานข้อมูลการทำนาอินทรีย์ ในโครงการความมั่นคงทางอาหารวิถีบ้านท่าช้าง 4 นัดการประชุมสภาความมั่นคงทางด้านอหารครั้งต่อไป

 

40 40

13. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร ครั้งที่ 1

วันที่ 9 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนำหลักสูตรและคู่มือมาใช้ในการหนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันแรก 9.00น.
* ลงทะเบียน  แลกเปลี่ยนวงใหญ่ สถานการณ์ การใช้ที่ดิน โดยวิทยากรดำเนินรายการแลกเปลี่ยน 1) พื้นที่ทำนาลดลง 2)พื้นที่ไมมีเอกสารสิทธิ์ 3) ใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับพืชที่ปลูก 4)การใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น * แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงดิน 1) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับดิน -  ดินดีคือ      ดินที่ประกอบไปด้วยอินทรียวัตถุ    ธาตุอาหารชนิดต่างๆ มีโครงสร้างของดินที่ดี และประกอบไปด้วยจุลินทรีย์สิ่งมีชีวิตต่างๆ -  โครงสร้างของดิน    คือลักษณะของดินจัดเรียงตัวเป็นแผ่นเป็นก้อนมีผลต่อการถ่ายของน้ำ และ อากาศในดินและต่อการหยั่งลึกของรากพืชและปริมาณธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดิน -  คุณสมบัติของดิน    1.  ทางกายภาพ  ได้แก่ เนื้อดิน  ความเหนียว  2.  ทางเคมี  ได้แก่ ความเป็นกรด  เป็นด่าง  3.  ทางชีวภาพ  ได้แก่  สิ่งมีชีวิตในดิน -  ส่วนประกอบของดิน      น้ำ  25  %  อากาศ  25  %  ธาตุอาหาร    45  %  อินทรียวัตถุ    5  % -  สาเหตุที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ 1. พืชต้องการธาตุอาหาร 2. การระเหยข้องธาตุอาหาร 3. การชะล้าง 4. การพังทลาย 5. การใช้สารเคมี -  การทำให้ดินดี    เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี  เป็นการสร้างให้ดินมีชีวิต คือการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน มีอยู่หลายวิธีการ 1. การพักดิน  เป็นการดูแลคุณภาพดินแบบดั้งเดิม 2. การใช้ปุ๋ยพืชสด เช่นพืชสกุลถั่ว 3. การคลุมดิน ใช้เศษพืช หรือวัชพืช 4. การใช้ปุ๋ยคอก  มูลสัตว์ ประกอบไปด้วยธาตุอาหารต่างๆ 5. การใช้ปุ๋ยหมัก เป็นกระบวนการเอาอินทรียวัตถุต่างๆ มาหมักให้เกิดการย่อยสลาย -  ปุ๋ยหมัก  หรือปุ๋ยอินทรีย์  คือสิ่งที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังของซากพืชซากสัตว์  รวมถึงสิ่งขับถ่ายของมนุษย์ และสัตว์ที่ทับถมบนดิน  หรือคลุกคล้าวอยู่ในดิน  อินทรีย์วัตถุมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช 1. เป็นแหลงที่ให้อาหารพืช 2. ทำให้ดินตรึงธาตุอาหารไว้ไม่ให้ถูกชะล้างลงในดินชั้นล่าง 3. ช่วยให้ดินมีความสามารถอุ้มน้ำดีขึ้น 4. ช่วยให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น ปุ๋ยอินทรีย์สามารถทำได้  2 แบบคือ  ปุ๋ยอินทรีย์แห้ และปุ๋ยอินทรีย์น้ำ  มีส่วนผสมหลายอย่างและมีสูตรที่ไม่ตายตัวสามารถปรับสูตรให้เหมาะสมได้ตามชนิดของวัสดุที่ใช้  การทำปุ๋ยอินทรีย์ถ้าหากนำจุลินทรีย์มาช่วยย่อยสลายก็จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การทำให้ดินดีด้วยปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยในการฟื้นฟูดินให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ หรือคืนชีวิตให้แก่ดิน หรือ คืนมายาสู่ผืนดิน   ช่วงบ่าย  ทำปุ๋ยหม้กอินทรีย์ชีวภาพใช้เอง  เป็นการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมายา (AM) ส่วนผสม  ขนาด  1  ตัน 1. มูลสัตว์  ( ขี้วัว )        500  กิโลกรัม 2. ใช้แกลบดิบ               100  กิโลกรัม 3. รำข้าว                      100  กิโลกรัม 4. แกลบดำ                  100  กิโลกรัม 5. น้ำหมักชีวภาพ  5  กก.  กากน้ำตาล  3  กก.  น้ำเปล่า  200 ลิตร
    วิธีการผสมปุ๋ยอินทรีย์ 1. นำวัตถุดิบ  มูลสัตว์  แกลบดิบ  รำข้าว แกลบดำ  ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. ปรับกองปุ๋ยให้เรียบเสมอกัน  ขนาดกองสูงประมาณ  15  เซนติเมตร
3. ผสมน้ำหมัก  กากน้ำตาล  น้ำเปล่า  คนให้เข้ากัน  นำมารดในกองปุ๋ยที่เตรียมไว้  ไม่ให้กองปุ๋ยเปียกหรือแห้งจนเกินไป 4. ผสมกองปุ๋ยอีกครั้งเพื่อให้น้ำหมักเข้ากับกองปุ๋ยได้ทั่วถึง ใส่กระสอบหมักไว้ 7-10 วัน  อุณหภูมิกองปุ๋ยเพิ่มขึ้นให้กลับกองปุ๋ยวันละครั้งจนกว่าอุณหภูมิปกติ ก็นำไปใช้ได้   วิธีการใช้ 1 นาข้าว  ปรับปรุงบำรุงดิน ให้ข้าวเจริญเติบโตได้ดีใช้  200  กิโลกรัม / ไร่  ( ใส่ครั้งเดียวหรือ  2  ครั้ง ) 2 ผักสวนครัว  ใช้รองก้นหลุม เพาะต้นกล้าหรือใส่รอบทรงพุ่มประมาณ  3  กำมือ 3 ไม้ยืนต้นไม้ผล  1 – 3 กิโลกรัม / ต้น     ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์ 1. ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ ของดิน ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น  ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชการระบายน้ำระบายอากาศ  ช่วยให้รากพืชขยายกระจายในดินให้ดีขึ้น 2. ช่วยเพิ่มแร่ธาตุต่าง ๆ ให้แก่ดินทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง  แร่ธาตุอาหารทุกชนิดมีความสำคัญเท่าเทียมกันต่อการเจริญเติบโตของพืช  ถ้าขาดแร่ธาตุอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช 3. ช่วยลดต้นทุนการทำการเกษตร  เช่น  ลดการใช้ปุ๋ยเคมี  และป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช 4. เป็นการนำประโยชน์ของจุลินทรีย์  มาใช้เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการหมักวัสดุอินทรีย์ 5. ทำให้เกิดความปลอดภัยในการทำการเกษตร  ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ทำให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและเกษตรกรยังปลอดภัยจากสารเคมีด้วย 6. การใช้ประโยชน์จากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น วันที่สอง     การอนุรักษ์นำ้  เป็นเวที่แลกเปลี่ยนวงใหญ่ในการจัดการนำ้ในแปลงนา
การจัดการน้ำเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมการให้น้ำอย่างเพียงพอสำหรับการปลูกข้าว ป้องกันน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีจากแปลงนาข้างเคียง การควบคุมวัชพืชและศัตรูข้าว ๑. ควรทำคันนาให้มีความกว้างอย่างน้อย 1เมตร สูงเกินกว่าระดับน้ำในแปลงนาเพื่อป้องกันน้ำไหลจากแปลงนาข้างเคียง ๒. ควรปลูกพืชผักบนคันเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นาและป้องกันการปนเปื้อน ๓. การรักษาระดับน้ำในแปลงนาที่ 15 เซนติเมตรในระยะข้าวแตกกอ ๔. เมื่อข้าวเริ่มสุกให้ระบายน้ำออกเหลือระดับเจือพื้น ๕. ถ้าน้ำในนามีน้อยจะทำให้หญ้าเกิดขึ้นเร็ว ข้าวโตช้าไม่เต็มที่ ๖. ในพื้นที่มีน้ำไม่พอควรมีบ่อเก็บน้ำสำรอง     สรูปและจัดทำแผนการฝึกอบรมครั้งต่อไป การคัดพันธุ์ข้าว / การปลูก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร 5ครั้ง ครั้งละ 2 วันกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คุยวงใหญาและกลุ่มย่อยเรียนรู้จากการปฏิบัติ โดยนำหลักสูตรและคู่มือมาใช้ในการหนุนเสริมกระบวนการเรียนรุ้โดยวิทยากรกระบวนการและปฏิบัติการเป็นแกนนำชุมชน จำนวน 10 คน พัฒนาศักยภาพแกนนำของแหล่งเรียนรู้ความมั่คงทางด้านอาหารจากการปฏบัติการจิรง ร่วมกับภาคี และสร้างเครือข่ายขยายฐานสมาชิกในชุมชนเข้ามาร่วมเรียนรู้อาสาสมัครได้นำความรู้ที่ได้ ใช้ในแปลงนาและถ้ามีปัญหาได้นำมาแลกเปลี่ยนหาแนวทางแก้ปัญหาในในการสร้างแปลงตัวอย่าง ทำนาอินทรีย์ พืชผักพื้นบ้าน คืนปลาในนาข้าว  เช่น ศูนย์วิจัยข้าว เกษตรอำเภอ ประกอบด้วย ครั้งที่ 1. การปรับปรุงบำรุงดิน / อนุรักษ์นำ้
ครั้งที 2. การคัดพันธุ์ข้าว / การปลูก ครั้งที่ 3. ดูแลรักษาตันข้าว ครั้งที่ 4. การเก็บเกี่ยว
ครั้งที่ 5. แปรรูปและตลาด

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปรับปรุงดิน / อนุรักนำ้ 2 วัน
  2. วันแรก 9 กันยายน 2557 แลกเปลี่ยนความรู้ การปัรบปรุงดิน ช่วงเช้า    - สถานการณ์การใช้ที่ดิน               - ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงดิน   ช่วงบ่าย  - ทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เอง ( คือนมายาสู่ผืนดิน )
  3. วันที่10 กันยายน 2557 แลกเปลี่ยนความรู้การอนุรักนำ้
  4. สรุปประเมินผล

 

40 40

14. เวทีเรียนรู้การจัดทำสื่อเผยแพร่ร่วมกับทีมสงขลามหาชน

วันที่ 16 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แลกเปลี่ยนความรุ้การทำสื่อเผยแพร่โครงการในพื้นที่กับทีมสงขลามหาชน และ นัดวันลงพื้ที่จัดทำสื่อ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมการจัดทำสื่อเผยแพร่ พื้นที่โครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

แลกเปลี่ยนความรุ้การทำสื่อเผยแพร่โครงการในพื้นที่กับทีมสงขลามหาชน

 

3 3

15. ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 4

วันที่ 3 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามความก้าวหน้ากิจกรรมโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เริ่มประชุม 13.00 น. ณ. วิชชาลัยรวงข้าว 1.  ประธานในที่ประชุมแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ     - การทำกิจกรรมโครงการความมั่นคงทางด้านอาหาร ผ่านมาแล้ว 14 กิจกรรม งบประมาณ งวดแรก โอนมา วันที่ 30 กันยายน 2557 จำนวน 81,220 บาท     - 31 ตุลาคม 2557 ต้องรายงาน ปิดงวดแรก 2.  แลกเปลี่ยนผลจากการทำกิจกรรม     - งบในการทำกิจกรรมออกล่าช้า ต้องใช้เงินสำรองในการทำกิจกรรมไปก่อน เพราะว่า กิจกรรมในโครงการมีหลายกิจกรรม ต้องทำไปตามแผนงานที่วางไว้   - ได้มีองค์ความรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน อาสาสมัคร เป็นอย่างดี   -  ต้องมีภาคี / เครือข่าย เข้าร่วมมากกว่านี้ 3.  เรื่องพิจารณา     - การรายงานความก้าวหน้าโครงการที่ผ่านมาล่าช้า เสอนให้มีการฝึกการทำรายงานกับอาสาสมัครเพิ่ม มติเห็นชอบ ให้มี่การฝึกการทำรายงาน 4.  ประชุมสภาความมั่นคงทางอาหาร คร้งที่ 5 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 ณวิชชาลัยรวงข้าว 13.00 น.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาหมู่บ้านสภาความมั่นคงทางด้านอาหาร 10 ครั้งๆละ40 คน ถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนประสบการ ความสำเร็จและความล้มเหลว จากการดำเนินงานและขยายฐานการทำนาอิทรีย์
การติดตามประเมินผล กำหนดทิศทางการดำเนินงาน ปรับปรุงโรงสีชุมชน จัดทำแผนผลักดันสู่เทศบาลตำบล

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมวงใหญ่ 1 แจ้งให้ที่ประชุมทราบ 2 แลกเปลี่ยนผลการทำกิจกรรม 3 เรื่องพิจารณา 4 นัดการประชุมครั้งต่อไป

 

40 40

16. ลงพื้นที่เฝ้าระวังในการบังคับใช้ข้อตกลงเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ

วันที่ 23 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามสถานการณ์การบังคับใช้ข้อตกลงในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ท่าประดู่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

อาสาสมัครเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์นำ้ท่าประดู่ ลงพื้นที่ ติดตามสถานการณ์ การบังคับใช้ข้อตกลง พบว่ายังมี ชาวบ้านบางรายมาหาปลาในเขตสงวนอยู่ ซึ่งทางคณะทำงานได้ประกาศเตือน ผ่านหอกระจายไปแล้ว แต่ก็อ้างว่าไม่ได้เห็นป้ายประกาศห้าม การลงพื้นที่ตรั้งนี้จึงมึมติว่า ควรทำป้ายเพิ่มอีก สัก 1 ป้าย สำป้ายเดิมติดอยู่ริมหัาสพาน สำหรับป้ายใหม่ที่จะเพิ่ม ให้ติดที่ริมขอบสนามติดกับเขตสงวน จะได้มองเห็นชัดเจนขึ้น 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

อาสาสมัครลงพื้นที่เฝ้าระวังในการบังคับใช้ข้อตกลงเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์นำ้

กิจกรรมที่ทำจริง

อาสาสมัครเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์นำ้ท่าประดู่ ลงพื้นที่ ติดตามสถานการณ์ การบังคับใช้ข้อตกลง

 

10 10

17. ประชุมสภาหมู่บ้าน ครั้งที่ 5

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามข้อมูลการบันทึกแปลงนา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการ บันทึกแปลงนาผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน 1) แปลงเมล็ดพันธุ์สังข์หยดจำนวน 2 ไร่ นาดำ เริ่มตกกล้า วันที่ 10 สิงหาคม 2557 ป้กดำ วันที่ 8 กันยายน 2557 ระยะ 20 เซ็นติเมตร / กอ อายูุ 70 วันอยู่ช่วงแตกกอ 12 ต้น / 1 กอ สูง 83 เซ็นติเมตร ใบตั้ง สีเขียวเข็ม 2) แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉี้ยงพัทลุง จำนวน 3 ไร่ หว่านนำ้ตม วันที่ 20 สิงหาคม 2557 อายุ 70 วัน อยู่ช่วงแตกกอ 4 ต้น / กอ สูง 80 เซ็นติเมตร ใบตั้งสีเขียวเข็ม 3) แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวปิ่นแก้ว จำนวน 2ไร่ หว่านนำ้ตม วันที่ 25 สิงหาคม 2557 อายุ70 วัน อยู่ในช่วงแตกกอ 4 ต้น / กอ สูง 70 เซ็นติเมตร ใบตั้งสีเขียวอ่อน
4) แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวหน่วยเขือ จำนวน 4 ไร่ นาดำ ตกกล้า วันที่ 25 สิงหาคม 2557 ปักดำ วันที่ 7 ตุลาคม 2557 ระยะ 20 เซ็นติเมตร / กอ อายุ 70 วัน อายูช่วงแตกกอ 15 ต้นด่อ 1 กอ สูง80 เซ็นติเมตร ใบตั้งสีเขียวเข็ม 5) แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวเล็บนก จำนวน 3 ไร่ นาดำ ตกกล้า วันที่ 20 สิงหาคม 2557 ปักดำวันที่ 15 กันยายน 2557 ระยะ 20 เซ็นติเมตร / กอ อายุ 70วัน  อายุในช่วงแตกกอ 16 ต้นต่อกอ สูง 100 เซ็นติเมตร ใบตั่ง สีเขียวเข็ม     - สภาพทั่ไป มีนำ้ขังเพียงพอ มีหนอนกอระบาดเป็น จุด ๆ นาดำไม่มีผลกระทบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาหมู่บ้านสภาความมั่นคงทางด้านอาหาร 10 ครั้งๆละ40 คน ถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนประสบการ ความสำเร็จและความล้มเหลว จากการดำเนินงานและขยายฐานการทำนาอิทรีย์
การติดตามประเมินผล กำหนดทิศทางการดำเนินงาน ปรับปรุงโรงสีชุมชน จัดทำแผนผลักดันสู่เทศบาลตำบล

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงาน อาสาสมัคร ประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลการบันทึกการจัดทำแปลงนา

 

40 40

18. ติดตามหนุนเสริม

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

รายงานปิดงวดโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโคงการ คณะทำงาน ได้มีความรู้และจัดทำรายงานปิดงวดได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามหนุนเสริมกิจกรรมพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

ทีมพีเลี้ยง ชีแจงการจัดทำรายงาน ปิดงวดโครงการ

 

2 3

19. ถอนเงินค่าเปิดบัญชี

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ถอนเงินค่าเปิดบัญชี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานได้ถอนเงินค่าเปิดบัญชี จำนวน 500 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ถอนเงินค่าเปิดบัญชี

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานถอนเงินค่าเปิดบัญชี

 

1 1

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 45 19                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 201,800.00 68,950.00                  
คุณภาพกิจกรรม 76 56                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ไม่มี

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ลงพื้นที่เฝ้าระวังในการบังคับใช้ข้อตกลงเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ( 23 ต.ค. 2557 )
  2. ประชุมสภาหมู่บ้าน ครั้งที่ 5 ( 3 พ.ย. 2557 )
  3. ติดตามหนุนเสริม ( 5 พ.ย. 2557 - 6 พ.ย. 2557 )
  4. ถอนเงินค่าเปิดบัญชี ( 6 พ.ย. 2557 )
  5. ชวนน้องปลูกบัวในคลอง ( 18 พ.ย. 2557 )
  6. เวทีปรับปรุงเพิ่มเติมเรื่องฐานอาหารพันธุกรรมพื้นบ้าน แหล่งอาหารธรรมชาติ แหล่งผลิตที่ปลอดสารพิษ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ( 20 พ.ย. 2557 )
  7. ประชุมสภาหมู่บ้าน ครั้งที่ 6 ( 3 ธ.ค. 2557 )
  8. ประชุมคณะทำงานธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน ครั้งที่ 1 ( 3 ธ.ค. 2557 )
  9. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรครั้งที่ 2 ( 28 ธ.ค. 2557 - 29 ธ.ค. 2557 )
  10. ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 7 ( 3 ม.ค. 2558 )
  11. ประชุมคณะทำงานธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน ครั้งที่ 2 ( 10 ม.ค. 2558 )
  12. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรครั้งที่ 3 ( 24 ม.ค. 2558 - 25 ม.ค. 2558 )
  13. ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 8 ( 3 ก.พ. 2558 )
  14. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรครั้งที่ 4 ( 27 ก.พ. 2558 - 28 ก.พ. 2558 )
  15. ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 9 ( 3 มี.ค. 2558 )
  16. พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบยาย ( 7 มี.ค. 2558 )
  17. ประชุมคณะทำงานธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน ครั้งที่ 3 ( 14 มี.ค. 2558 )
  18. ปล่อยปลาและแลกเปลี่ยนสภาพคลองการอุรักษ์ ( 21 มี.ค. 2558 )
  19. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรครั้งที่ 5 ( 23 มี.ค. 2558 - 24 มี.ค. 2558 )
  20. ประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 10 ( 3 เม.ย. 2558 )
  21. ประชุมคณะทำงานธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน ครั้งที่4 ( 20 เม.ย. 2558 )
  22. รณรงค์วัฒนธรรมข้าว ( 13 พ.ค. 2558 )

(................................)
นายอำมร สุขวิน
ผู้รับผิดชอบโครงการ