directions_run

ความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง ( ต่อเนื่อง )

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชน และพัฒนาหลักสูตรสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1.1 คนในชุมชนและเยาวชน/คนรุ่นใหม่ ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชนอย่างน้อยร้อยละ 50 ของชุุมชน 1.2 หลักสูตรท้องถิ่นจำนวน 1 หลักสูตร 1.3 คู่เมือการเรียนรู้การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร /สร้างฐานความมั่นคงทางด้านอาหาร 1 เล่ม 1.4 มีสื่อประกอบการเรียนรู้อย่างน้อย 3 สื่อ ประกอบด้วยแผ่นพับ 1 ชุด วิซีดี 1 เรื่องและชุดนิทรรศการ 1 ชุด เชิงคุณภาพ 1.1 คนในชุมชนและเยาวชน คนรุ่นใหม่ ตระหนักความสำคัญของความมั่นคงทางด้านอาหารและนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้สร้างความมั่นคงทางอาหารระดับครอบครัว และชุมชน 1.2 หลักสูตรที่ได้สามารถเป็นเครื่องมือให้กับชุมชน เครือข่าย สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความตระหนักและแนวทางที่สามารถนำปรับใช้ในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร 1.3 มีสื่อประกอบการเรียนรู้และรณรงค์ ประกอบกระบวนการเรียนรู้ทำให้เข้าถึงและเข้าใจง่ายขึ้น
  1. ชุมชนบ้านท่าช้างเป็นชุมชนที่มีความมั่นคงทางด้านอาหาร เป็นหมู่บ้านที่มีการทำนาอินทรีย์ถึง 120 ไร่ มีสายคลองไหลผ่าน มีการดูแลและอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ริมคลอง โดยการปลูกบัวในคลอง ปลูกพืชริมคลอง ได้แก่ ต้นจิก และต้นมะเดื่อ ทำบ้านปลา (ซัง) ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ทำให้มีสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นในแหล่งน้ำเขตสงวนของหมู่บ้าน มีปลานิล ปลาสวาย ปลาไน และปลาจาระเม็ด เพิ่มขึ้นจากการปล่อยพันธุ์สัวต์นำ
  2. มีหลักสูตรการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร 1 หลักสูตร เป็นหลักสูตรท้องถิ่น มีเนื้อหาที่สำคัญ 5 ขั้นตอน คือ 1) การปรับปรุงดินและการอนุรักษ์น้ำ 2) การคัดเลือกเมล็ดพันธ์และวิธีปลูกข้าว 3) การดูแลรักษาต้นข้าว 4) การเก็บเกี่ยว 5) การแปรรูปและการตลาด โดยจะพัฒนาร่วมกับคณะครูโรงเรียนบ้านท่าช้าง เพื่อบรรจุเป็นหลักสูตรที่สอนในโรงเรียนต่อไป
  3. เยาวชนได้ตระหนักถึงการรักษาความมั่นคงทางอาหาร ผ่านการทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ ทำหลักสูตรการผลิตข้าวอินทรีย์ และการดูแลคลอง ทำให้เกิดความสัมพันธุ์และความสามัคคีร่วมกันระหว่างคน 3 วัย คือ คนในชุมชน เด็กเยาวชน และภาคีเครือข่าย ได้แลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้การปลุกข้าว การปลูกบัว ทำให้เยาวชนเห็นถึงความสำคัญของความมั่นคงทางอาหาร และยังช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารในชุมชนผ่านการทำร่วมกัน
2 2. เพื่อส่งเสริม ขยายผลการเรียนรู้ ขยายพื้นที่ และกลไกเฝ้าระวัง ฐานความมั่นคงทางด้านทั้งในและนอกชุมชน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 2.1 มีชาวนาบ้านท่าช้างผลิตข้าวอินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 ครอบครัว นาอินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 ไร่ 2.2 มีครอบครัวที่สามารถพึ่งตนเองทางด้านอาหารในครัวเรือน จำนวน 30 ครอบครัว 2.3 มีข้อตกลงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ 1 ชุด ผลักดันเทศบัญญัติ และมีอาสาสมัครประมงเฝ้าระวัง 10 คน 2.4 มีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนชาวนา การผลิตข้าวอินทรีย์/ความมั่นคงทางด้านอาหาร อย่างน้อย 5หวัด 1 เครือข่าย 2.5 เยาวชนได้เรียนรู้และมีการปรับไปใช้ จำนวน 20 คน เชิงคุณภาพ 2.1 มีชาวนาอย่างน้อย 20 ครอบครัวทำนาอินทรีย์ได้ข้าวปลอดสารพิษบริโภคในครอบครัวและแบ่งปันให้ชุมชุม ส่วนที่เหลือจัดการร่วมกันในกลุ่มการขายสร้างรายได้ 2.2 มีครัวเรือนที่สามารถผลิตอาหารกินเองในครอบครัว มีข้าวพื้นบ้าน ผักพื้นบ้าน มีสัตว์เลี้ยง ที่ปลอดสารพิษ และบางส่วนแบ่งปัน ขายในชุมชน และแลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่าย เขา นา เล 2.3 มีข้อตกลงและกลไกเฝ้าระวังที่สามารถอนุรักษ์และเพิ่มสัตว์น้ำในคลองบางไข่ขิงได้ 2.3 มีกลไกเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหนุนเสริมองค์รความรู้ พันธุ์กรรม เทคนิค กระบวนการขับเคลื่อน สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารได้ 2.4เยาวชนสามารถนำความมั่นคงทางด้านอาหารมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
  • มีการกำหนดกฎกติกาในการดูแลสายคลอง มีคณะทำงานและอาสาสมัครเฝ้าระวังสายคลอง โดยมีกฏกติกาว่า "หากเห็นใครทำลายกล้าบัวในคลอง ทางชุมชนจะเรียกผู้ที่ทำลายมาตักเตือนและให้ทำการปลูกแทน"
3 3. เพื่อพัฒนากลไก กฎ และจัดตั้งธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้านและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย "ธรรมนูญความมั่นคงทางด้านอาหาร"
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 3.1 คณะทำงาน 15 คน กลไกขับเคลื่อนสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและชุมชนน่าอยู่ 3.2 มีกฏข้อตกลงร่วมกัน และมีธรรมนูญความมั่นคงทางอาหาร 1 ชุด 3.3 มีธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้าน 1 แห่ง 3.4 มีแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านชุมชนอย่างน้อย 15 ไร่และมีแปลงทดลองปลูกพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน 10 สายพันธุ์ 3.5 มีระเบียบการบริหารจัดการของธนาคารพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน 3.6 มีกลไกขับเคลื่อนของสภาหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง 3.7 เยาวชนมีส่วนร่วมกำหนดขอตกลงและระเบียบการจัดการธนาคารพันธฺุ์กรรมพื้นบ้าน จำนวน 20 คน เชิงคุณภาพ 3.1 คณะทำงานสามารถขับเคลื่อน กำหนดแนวทางการดำเนินโครงการ และติดตามหนุนเสริมการดำเนินโครงการทำให้การดำเนินงานสำเสร็จได้ พร้อมทั้งยังขยับไปสู่การสร้างชุมชนน่าอยู่ หรือแก้ปัญหาอื่นของชุมขนแบบมีส่วนร่วม 3.2 ธรรมนูญความมั่นคงทางด้านอาหาร ซึ่งชุมชนใช้เป็นข้อตกลงแและนโยบายร่วมกันในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารได้ 3.3 มีกลไกธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้านที่ชุมชนสมารถบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง เพื่อเสริมฐานความหลากหลายและความมั่นคงทางอาหาร 3.3 กลไกขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกภาคส่วน เช่น ตัวแทนชุมชน ตัวแทนผู้บริหารเทศบาลตำบลฯ ตัวแทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตัวแทนสถานศึกษา หน่วยงานรัฐ 3.4 เยาวชนได้ร่วมพัฒนากลไก กฎ และจัดตั้งธนาคารพันธุพื้นบ้านและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย "ธรรมนูญความมั่นคงทางด้านอาหาร"

ชุมชนมีข้อมูลแนวคิดการจัดทำ "กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน" เป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน โดยประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุนเมล็ดพันธุ์ คือ 1) ได้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวตามที่ต้องการและสามารถกำหนดได้เอง เช่น พันธุ์ข้าว ราคา 2) ได้มีเมล็ดพันธุ์สำรอง เพื่อป้องกันความเสี่ยงการสูญหายของเมล็ดพันธุ์ 3) ได้มีการแลกแบ่งปันและพึ่งพาตนเองได้ด้านเมล็ดพันธุ์ และ 4) ยกระดับเป็น ธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวขุมชน

4 4. เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. และ สจรส.

เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับ สจรส.จำนวน 4 ครั้ง คือ กิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรมทำรายงานงวด 1 กิจกรรมทำรายงานงวด 2 และกิจกรรมถอดบทเรียน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชน และพัฒนาหลักสูตรสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชน (2) 2. เพื่อส่งเสริม ขยายผลการเรียนรู้ ขยายพื้นที่ และกลไกเฝ้าระวัง ฐานความมั่นคงทางด้านทั้งในและนอกชุมชน (3) 3. เพื่อพัฒนากลไก กฎ และจัดตั้งธนาคารพันธุกรรมพื้นบ้านและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย "ธรรมนูญความมั่นคงทางด้านอาหาร" (4) 4. เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh