แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้เห็นคุณค่าเห็นความสำคัญและมีความตระหนักในระบบนิเวศน์ของคลองป่าใส
ตัวชี้วัด : 1.มีคณะทำงานเกี่ยวกับระบบนิเวศน์คลองป่าใสทั้งหมด 25 คน 2.ข้อมูลระบบนิเวศน์ของคลองป่าใส 1 ชุด 3. คนในชุมชนจำนวนไม่ต่ำกว่า 60% เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม

 

 

1 คณะทำงาน 25 คน ที่ตั้งไว้มีบางคนไม่สามารถมาเข้าร่วมในทุกกิจกรรมได้เนื่องด้วยเหตูผลส่วนตัวหรือสภาพดินฟ้าอากาศ ทำให้คณะทำงานมาทำงานได้ไม่ครบทั้งหมด แต่เรามีแกนนำเด็กและเยาวชนที่ให้ความสนใจเพิ่มขึ้น ซึ่งจะให้ความร่วมมือกับโครงการเป็นอย่างดี 2.ทางโครงการได้มีการจัดทำข้อมูลระบบนิเวศน์ของคลองป่าใส 1 ชุด แต่อาจจะมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากทีมงานสำรวจส่วนใหญ่เป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งยังขาดความรู้และไม่สามารถนำข้อมูลมาบอกกล่าวรายละเอียดได้ครบถ้วน 3.คนในชุมชนมากกว่า 60% เข้ามาส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม

2 ัเพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในปฏิบัติการการเฝ้าระวังป้องกัน ฟื้นฟูและพัฒนาคลองป่าใส
ตัวชี้วัด : 1.การเฝ้าระวัง ป้องกัน ฟื้นฟูมีอาสาสมัครเฝ้าระวังดูแลคลองป่าใสจำนวน 15คน 2.กติกา ข้อตกลงของชุมชนที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน ท้องถิ่นท้องที่ และภาคเอกชนตลอดถึงองค์กรกลุ่มต่างๆในชุมชน สามารถนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายกับท้องถิ่นได้ 3.มีการปลูกพืชยืนต้น และพืชผักสวนครัวความยาว 3 กม. มีต้นไม้จำนวน 120 ต้น

 

 

1.มีการจัดตั้งทีมอาสาสัครในการดูแลคลองป่าใสจำนวน 20 คน 2.มีการยกร่างกฏกติกา ในการดูแลรักษาคลองป่าใส
3.มีการปลูกต้นไม้ตลอดฝั่งคลองหลากหลายชนิด มากกว่า 120 ต้น

3 เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพกลไกในการบริหารจัดการระบบนิเวศน์คลองป่าใส
ตัวชี้วัด : 1 มีคณะทำงานและที่ปรึกษาการบริหารจัดการคลองปาใสแบบมีส่วนร่วม 30คน โดยมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 2 คณะทำงานจำนวนไม่ต่ำกว่า 30 คน ได้บทเรียนการทำงานภายใต้การขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่ตัวเองและพื้นที่อื่นๆที่มีประเด็นใกล้เคียงกัน 3.คณะทำงานได้บทเรียนการทำงานภายใต้การขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่ตัวเองและพื้นที่อื่นๆที่มีประเด็นใกล้เคียงกันกับพื้นที่อื่นๆ ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง

 

 

1.คณะทำงานและที่ปรึกษามีการประชุมอย่างต่อเนื่อง ในวันที่6 ของทุกเดือน แต่มีคณะกรรมการเข้าร่วมการประชุมไม่ครบทั้ง 30 คน เนื่องจากบางคนติดภาระกิจที่เร่งด่วนนต่างจังหวัดจึงไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ 2.บทเรียนที่ได้จากการทำงานของคณะทำงานที่น่าสนใจคือ การสร้างกระบวนการเรียนรู้และการสร้างความเข้าใจใบทบาทภาระกิจของคณะทำงานในแต่ละฝ่าย ทั้งในเวทีการประชุม และหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม โดยวิธีการประเมินผลการทำงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การทำงานบรรลุไปด้วยดี เนื่องจากมีความเข้าใจในเป้าหมายที่ตรงกันและช่วยหนุนเสริมกันได้เต็มที่ 3.ในการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ต้นแบบและเครือข่ายการทำงาน ทำให้มีบทเรียนในเรื่องของการขับเคลื่อนการทำงานเชิงเครือข่าย ที่ทำให้เห็นการทำงานภาพรวมทั้งระบบ และได้ภาคีเครื่องข่ายการทำงานที่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนงานต่อไป

4 เพื่อการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. และ สจรส.

 

 

ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับทางสสส.และสจรส. จำนวน 7 ครั้ง