แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน หมู่ 18 บ้านโคกพยอม ”

บ้านโคกพยอม หมู่ที่ 18 ตำบล ละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางสาว ไมมู่น๊ะ หลีหาด

ชื่อโครงการ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน หมู่ 18 บ้านโคกพยอม

ที่อยู่ บ้านโคกพยอม หมู่ที่ 18 ตำบล ละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 57-01455 เลขที่ข้อตกลง 57-00-1452

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 สิงหาคม 2557 ถึง 15 กันยายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน หมู่ 18 บ้านโคกพยอม จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านโคกพยอม หมู่ที่ 18 ตำบล ละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน หมู่ 18 บ้านโคกพยอม



บทคัดย่อ

โครงการ " ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน หมู่ 18 บ้านโคกพยอม " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านโคกพยอม หมู่ที่ 18 ตำบล ละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 57-01455 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 สิงหาคม 2557 - 15 กันยายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 179,700.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 280 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพิ่มศักยภาพการจัดการตนเองด้วยกระบวนการสภาชุมชน
  2. ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเยาวชนเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  3. ส่งเสริมการใช้พืชท้องถิ่นในการทำอาหารเพื่อสุขภาพ
  4. เพื่อการบริหารจัดการ และการติดตามประเมิณผลโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปรับปฎิทินโครงการ

    วันที่ 8 ตุลาคม 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ปรับปฎิทินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลปฎิทินโครงการที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

     

    2 2

    2. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 10 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สั่งทำป้ายรณรงค์งดสูบบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ป้ายรณรงค์งดสูบบุหรี่

     

    1 1

    3. ประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 1 เพื่อทำความเข้าใจโครงการ และชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ

    วันที่ 13 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานทีมคณะทำงานทั้งชุดเก่าและชุดใหม่
    • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงถึงรายละเอียดของโครงการ
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
    3. คณะทำงานได้รับรู้ข้อมูลรายละเอียดโครงการ
    4. เกิดความสามัคคีของคณะทำงาน

     

    20 30

    4. ตรวจเอกสารและการบันทึกกิจกรรมกับ สจรส.ม.อ.

    วันที่ 19 ตุลาคม 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตรวจสอบการลงข้อมูลโครงการบนเว็บไซต์
    • ตรวจเอกสารทางการเงิน
    • ตรวจการบันทึกรายงานผลกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เรียนรู้การจัดทำเอกสารทางการเงินที่ถูกต้องและการแยกประเภทหมวดค่าใช้จ่าย
    • มีการบันทึกผลการดำเนินกิจกรรมครบถ้วนทุกกิจกรรม

     

    2 2

    5. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 เพื่อออกแบบสอบถาม เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนและวางแผนงานการลงพื้นที่แบ่งทีมรับผิดชอบในการทำงาน

    วันที่ 24 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานร่วมกันตั้งประเด็นที่อยากทราบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในชุมชน
    • คณะทำงานร่วมกันออกแบบสอบถาม
    • แบ่งทีมรับผิดชอบเพื่อลงเก็บข้อมูลตามประเด็นต่างๆ

    • รายงานการประชุม วันที่ 24 ตุลาคม 2557 เริ่มการประชุมเวลา 13.00 น. โดยนางสาว ไมมู่น๊ะ หลีหาด ( ผู้เสนอโครงการ ) กล่าวเปิดการประชุม พูดถึงการประชุมครั้งแรกเรื่องการชี้แจงโครงการให้ทีมผู้รับผิดชอบรับทราบ และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 มีการแบ่งทีมรับผิดชอบและจะมีการออกแบบสอบถามเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านโคกพยอม

      จักกฤต : การมาร่วมประชุมในครั้งนี้จะมีการออกแบบสอบถาม ทุกคนอยากทราบเรื่องอะไรกันบ้างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในชุมชน อะไรบ้างในบ้านโคกพะยอมหรือว่าบ้านตีหงีที่เราอยากจะศึกษา ?

      อรวรรณ :  บ้านตีหงีก่อตั้งขึ้นมาเมื่อไหร่ ? ใครมาอยู่เป็นคนแรก ?

      พิเชทฐ์ : ผมมีตัวอย่างจากที่ผมไปศึกษาของตำบลปากน้ำเค้าต้องการศึกษาความเป็นมาของตำบลปากน้ำมีประเด็นหลักๆ คือ การตั้งถิ่นฐาน ประวัติหมู่บ้าน และบุคคลสำคัญ

      อรวรรณ : บ้านตีหงีมีตำนานหลายตำนาน เช่น ผึ้งร้อยรัง โจรสลัดมาจอดเรือที่คลองตีหงี ความเชื่อเรื่องไสบศาสตร์ และตำนานเรื่องเรือโตบ (เรือสำเภา)

      ออนี : บ้านตีหงีมีการละเล่นคือ การแสดงการต่อสู้ปัญจสีละ ร็องแงง และที่เด่นๆคือ การแสดงลิเกบก

      นุชรี : การทำเสื่อจากเตย

      อรวรรณ : การย้อมผ้าจากเปลือกไม้ การทำลอมข้าว การตำข้าว

      จักกฤต : ผมอยากให้มีการทำแผนผังเครือญาติตระกูลในหมู่บ้านตีหงี ทำแผนผังว่าแต่ละตระกูลมีกี่รุ่นมาแล้ว ที่นี้มีตระกูลใหญ่ๆ กี่ตระกูลครับ

      อรวรรณ : มี 3 ตระกูลใหญ่ๆ คือ หลีหาด ขุนรายา และหลงสมัน และตระกูลย่อยๆ คือ อังศุพาณิชน์ และแซ่ตั๋น
      หลังจากที่คณะทำงานร่วมกันเสนอความคิดออกมาแล้ว ก็ได้มีการออกแบบสอบถามกัน หลังจากออกแบบสอบถามเสร็จก็แบ่งทีมรับผิดชอบในการลงเก็บข้อมูล ลงเก็บข้อมูลวันที่ 1-2 พ.ย 57 และสรุปข้อมูลวันที่ 8 พ.ย 57

      เมื่อแบ่งทีมรับผิดชอบเรียบร้อยแล้วคณะทำงานก็รับประทานอาหารว่าง และปิดการประชุมโดยหวารออะห์ ปิดการประชุมเวลา 15.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานแบ่งเป็นทีมเพื่อลงเก็บข้อมูลเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน
    • ได้แบบสอบถามเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน

     

    20 18

    6. ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลสืบค้นรากเง้าประวัติศาสตร์ชุมชน บ้านโคกพยอม ครั้งที่ 1

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานมารวมตัวกันที่ศูนย์สามวัยสายใยรัก บ้านโคกพยอม
    • นางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด ได้ทบทวนหัวข้อในการสอบถามให้แก่คณะทำงาน
    • คณะทำงานแยกกันพูดคุยวางแผนการลงเก็บข้อมูลตามทีมรับผิดชอบที่ได้มอบหมายไว้
    • แจกแบบสอบถามแก่คณะทำงานทุกคน
    • คณะทำงานแยกย้ายกันลงเก็บข้อมูลตามประเด็นที่ตนเองได้รับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์บ้านโคกพยอม ข้อมูลประวัติชุมชน ขนมลูกโหรย การนวดแผนโบราณ การต่อเรือ หมอไสยศาสตร์ ลิเกบก

     

    20 20

    7. ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลสืบค้นรากเง้าประวัติศาสตร์ชุมชน บ้านโคกพยอม ครั้งที่ 2

    วันที่ 2 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แจกแบบสอบถามแก่คณะทำงานทุกคน
    • คณะทำงานลงเก็บข้อมูลในแต่ละหัวข้อที่ได้รับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์บ้านโคกพยอม ได้สัมภาษณ์นายแมะ หลงสมั่น เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน นางสาว ขุนรายา ได้สัมภาษณ์เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน การปกครอง นายหมีด หลงสมั่น ได้เล่าเรืองผึ้งร้อยรัง ต้นแคใหญ่ ภูมิปัญญาการขับกล่อมคาถาผึ้งเพื่อเข้าไปจับผึ้งได้ง่าย

     

    20 20

    8. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 3 เพื่อสรุปผลการลงเก็บข้อมูล

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รายงานการประชุม
      เริ่มการประชุมเวลา 14.00 น. โดยนางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด (ผู้เสนอโครงการ) เปิดการประชุมกล่าวทักทายทุกๆคน ที่ได้ลงไปเก็บข้อมูล เห็นวาทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และได้ทำตามหน้าที่ที่ได้แบ่งกันรับผิดชอบในแต่ละเรื่อง  จากนั้นคณะทำงานทุกคนต่างก็นำข้อมูลที่ตนเองได้เก็บมานำเสนอต่อหน้าคณะทำงานเพื่อให้ทุกคนทราบข้อมูลในอต่ละหัวข้อ

      นางสาวไมมู่น๊ะ : ทุกคนมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง? ในการลงเก็บข้อมูลในครั้งนี้

      อรวรรณ : รู้สึกดีใจว่าเราได้รู้ประวัติรากเง้าของบรรพบุรุษที่ได้ต่อสู้กับความยากลำบากในสมัยก่อน

      อำชะ : รู้สึกตื่นเต้นที่ได้รู้ความหลังมีอารมณ์ร่วมกับคนที่เล่าให้ฟัง สนุก ฟังแล้วกลับมาคิดว่าถ้าหมดคนรุ่นนี้ ความหลังหรือประวัติต้องสูญหายไปแน่นอน

      รำภา : ได้รับรู้เรื่องของคนสมัยก่อน ประวัติต่างๆ ทำให้คิดได้ว่าเค้าลำบากกว่าเราหลายเท่า

      ออนี : รู้สึกว่าการลงเก็บข้อมูลคนที่ให้ข้อมูลมีความเป็นกันเอง ถึงแม้ว่าเค้าจะเป็นครู มีสัมพันธภาพที่ดี

      ทุกคนได้แสดงความรู้สึกร่วมกันและเห็นว่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมมายังไม่สมบูรณ์หรือครบถ้วน ต้องลงเก็บข้อมูลอีกในวันที่ 15-16 พฤศจิกายน และนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาร่วมกันสรุปในวันที่ 22 พฤศจิกายน จากนั้น นายเผด็จ โต๊ะปลัดได้กล่าวขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือในครั้งนี้ ปิดการประชุมเวลา 16.30 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลประวัติศาสตร์บ้านโคกพยอมตามหัวข้อที่ได้มอบหมายให้ลงเก็บข้อมูล

     

    20 20

    9. พบพี่เลี้ยงเพื่อจัดทำรายงานกิจกรรมและตรวจสอบเอกสารการเงิน

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบเอกสารการเงินของทุกกิจกรรม
    • แก้ไขข้อมูลบางส่วนเพื่อให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์ถูกต้องยิ่งขึ้น
    • ปรับปฏิทินโครงการ เพื่อให้ตรงกับวันที่ได้ปฏิบัติงานจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้จัดทำเอกสารรายงานกิจกรรมที่ถูกต้องและเอกสารการเงิน
    • มีการบันทึกผลการดำเนินกิจกรรมครบถ้วนทุกกิจกรรม

     

    2 2

    10. ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลสืบค้นรากเง้าประวัติศาสตร์ชุมชน บ้านโคกพยอม ครั้งที่ 3

    วันที่ 15 พฤศจิกายน 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานมารวมตัวกันเวลา 10.00 น. ที่ศูนย์สามวัยสายใยรักบ้านโคกพยอม
    • คณะทำงานต่างพุดคุยวางแผนการลงเก็บข้อมูลครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์
    • คณะทำงานแยกย้ายกันไปตามสถานที่ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านผู้สูงอายุในหมู่บ้าน เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านโคกพยอม
    • เมื่อคณะทำงานต่างเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็กลับมารวมตัวกัน ที่ศูนย์สามวัยสายใยรักบ้านโคกพยอม
    • คณะทำงานทั้ง 20 คนนำข้อมูลมาพุดคุยกัน และร่วมกันวางแผนการลงเก้บข้อมุลครั้งที่ 4
    • ทุกคนแยกย้ายกันกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมุลประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านโคกพยอม เรื่อง การตั้งถิ่นฐาน การต่อเรือ การทำเสื่อ การแสดงลิเกบก ประวัติหมู่บ้าน และเรื่องความเชื่อไสยศาสตร์

     

    20 20

    11. ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลสืบค้นรากเง้าประวัติศาสตร์ชุมชน บ้านโคกพยอม ครั้งที่ 4

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 09.00 น. คณะทำงานทยอยเดินทางมายังศูนย์สามวัยสายใยรักบ้านโคกพยอม ครบ 20 คน เวลาประมาณ 09.45 น.

    • คณะทำงานพูดคุยทำความเข้าใจการลงเก็บข้อมูลครั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด

    • คณะทำงานต่างแยกย้ายกันลงเก็บข้อมูลโดยครั้งนี้จะเน้นให้คณะทำงานเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด

    • เวลาประมาณ 15.00 น. คณะทำงานต่างทยอยกลับมาที่ศุนย์สามวัยสายใยรักบ้านโคกพยอม

    • คณะทำงานนำข้อมูลมาพูดคุยกันและเห็นว่าข้อมูลมีความสมบูรณ์แล้วก็นัด วันที่จะนำข้อมูลมาสังเคราะห์ร่วมกัน

    • คณะทำงานแยกย้ายกันกลับบ้าน เวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น


    - ได้ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านโคกพยอมที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมที่จะนำมาสังเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน

     

    20 20

    12. ประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 4 เพื่อสรุปผลการลงเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. เปิดการประชุมโดย นางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน พูดถึงกิจกรรมที่ผ่านมาคือการลงเก็บข้อมูลครั้งที่ 3 และ ครั้งที่ 4 เพื่อเพิ่มเติมส่วนของมูลที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ จากนั้นก็ได้นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ตามหัวข้อต่างๆ และได้ถามว่าใครรับผิดชอบเรื่องอะไรแต่ละเรื่องใครเป็นผู้ให้ข้อมูล ทุกคนต่างก็ร่วมกันนำเสนอข้อมูลที่ได้เก็บเพิ่มเติมมานำเสนอต่อที่ประชุม และนางสาวไมมูน๊ะ ได้ถามถึงปัญหาในการลงเก็บข้อมูลครั้งที่ 3 และ 4 นางลินดาก็ตอบว่าปัญหาคือ เวลาผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลจะพูดเร็วจนเราจนบันทึกไม่ทันเลยเก็บข้อมูลมาได้ไม่เยอะพอสมควร นายพิเชษฐ์พูดว่าเราต้องนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์อีกทีเพื่อเพื่อเพิ่มเติมในสิ่งที่ขาดไปในเวทีสังเคาระห์ข้อมูล และถามว่าใครมีปัญหาหรือมีข้อชี้แจงอะไรบ้าง หากไม่มีก็จะนัดวันที่จะจัดเวทีสังเคราะห์ขิอมูล หลังจากพูดคุยกันเสร็จทุกคนก็ร่วมกันรับประทานขนมจีน และปิดการประชุมโดยนางสารีนา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนที่ครบถ้วนสมบูรณ์

     

    20 15

    13. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 5 เพื่อเตรียมงานเวทีสังเคราะห์ข้อมูลสู่ชุมชน

    วันที่ 12 ธันวาคม 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. เปิดการประชุมโดย นางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน พูดคุยเรื่องที่ได้ลงเก็บข้อมูลทั้ง 4 ครั้ง ว่าข้อมูลของเราที่ได้มาต้องนำมาวิเคราะห์ในเวทีสังเคราะห์ข้อมูลอีกครั้ง เพื่อได้เติมเต็มข้อมูล นายพิเชษฐ์บอกว่าในเวทีเราต้องเชิญผู้ที่เป็นปราชญ์แต่ละเรื่องมาด้วยเพื่อเพิ่มเติมข้อมูลที่ขาดไป ได้ถามทุกคนว่าใครรับผิดชอบเรื่องอะไร และปราชญ์เรื่องนั้นคือใคร ทุกคนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าปราชญ์แต่ละเรื่องให้มีพี่เลี้ยงที่รับผืดชอบไปเชิญและติดต่อปราชญ์ล่วงหน้าก่อนถึงวันจัดเวทีทุกคนได้รับหน้าที่ที่มอบหมายให้แต่ละเรื่อง และนายพิเชษฐ์ได้บอกให้ทุกคนสร้างกำหนดการขึ้นมาว่าก่อนที่เราจะจัดเวทีเราต้องทำอะไรบ้าง และได้ถามทุกคนให้บอกหัวข้อมา นางสารีหราบอกว่า แรกๆต้องกล่าวต้อนรับเปิดเวทีโดยนางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาดกล่าวต้อนรับ นางอรวรรณพูดว่า ต้องบอกเรื่องโครงการให้เขาได้ฟังว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เราเชิญเขามาทำอะไร ให้นางสารีหนารับผิดชอบ นายพิเชษฐ์ถามต่อว่ามีอะไรอีกบ้าง นอกจากนี้แล้วนางออนีพูดว่า เราต้องถามและบันทึกข้อมูล พิเชษฐ์บอกว่าเราต้องบันทึกข้อมูลแบบรูปภาพ แบบเขียน
    หลังจากนั้นก็ให้ทุกคนนำเสนอแต่ละเรื่อง และนางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด พูดว่าเราจะเชิญพี่เลี้ยงมาด้วยและให้ทุกคนกำหนดมาเลย หลังจากนั้นนางสาวสารีหนาได้ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น


    - จัดทำกำหนดการการจัดทำเวทีสังเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล

     

    20 18

    14. ประชุมสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลรากเง้าประวัติศาสตร์ชุมชนที่ชัดเจน

    วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. นางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด ( ผู้เสนอโครงการ ) ได้กล่าวต้อนรับทักทายผู้เข้าร่วมประชุม นางสาวไมมู่นะ หลีหาด ได้อธิบายถึงกิจกรรมที่ได้ทำมาแล้วคือกิจกรรมประชุมคณะทำงาน ลงพื้นที่เก็บข้อมุล 4 ครั้ง และได้ข้อมูลมาแล้วแต่ละเรื่อง ในเวทีนี้เป็นเวทีวิเคราะห์ข้อมูล และให้ทุกคนที่รับผิดชอบแต่ละเรื่องแบ่งกลุ่มเพื่อที่จะสัมภาษณ์เพิ่มเติมในแต่ละเรื่อง เช่นรองแง็ง หมอนวดเส้น ครูทำเสื่อ หมอไสยศาสตร์ ลิเกบก การทำขวัญข้าว และเมื่อสัมภาษณ์ต่างคนต่างจดบันทึกข้อมูลลงบนกระดาษชาร์จของแต่ละเรื่อง พอเสร็จแล้วทุกกลุ่มก็ได้นำเสนอของแต่ละเรื่อง เรื่อง รอแง็ง ผู้นำเสนอ นางเจ๊ะสารีหนา กาสเส็น ผู้ให้ข้อมูล นางสุธาวัลย์ เส็นสาย อายุ 63 ปี ที่มา เป็นศิลปะพื้นบ้านมาจากประเทศอินโดนีเซีย ชาวอินโดนีเซียประมาณ 12 คน ล่องเรือมาถึงเกาะอาดังเรือก็แตกทั้งหมดว่ายน้ำขึ้นเกาะอาดังหลังจากนั้นก็เกิดความคิดในการใช้ชีวิตคือต้องเต้นร็องเง็งเพื่อแลกกับเงินมาเลี้ยงชีพ ร็องเง็งจึงเป็นศิลปะที่สืบต่อกันมาจนบัดนี้
    จังหวะดนตรีเพลงร็องเง็ง มี 5 จังหวะ - ลาหงูดูวอ - มะอีนาง - หาดยาว - ยาโงง - ซิตีบาหยง เครื่องดนตรีประกอบการเล่นร็องเง็ง - ไวโอลิน - รำมนา - ฆ้อง

    เรื่อง หมอนวดเส้น ผู้สัมภาษณ์ นางฮาลีม๊ะ เอ็มเล่ง  ผู้ให้ข้อมูล นางบ๊ะ การนวดส่วนต่างๆของร่างกาย จะเป็นการนวดคลายเส้น มีคาถาใช้ในการนวด

    เรื่อง การทำเสื่อ ผู้สัมภาษณ์ นางเจ๊ะสารีอ๊ะ กาสเส็น  ผู้ให้ข้อมูล นางรมล๊ะ พัทลุง นางรมล๊ะ บอกว่า ใช้วิธีการดูและศึกษาการทำเสื่อจากผู้ใหญ่มาตั้งแต่เมื่อก่อน และเริ่มลงมือทำด้วยตัวเองจนเกิดความชำนาญ วิธีการทำเสื่อ ใช้เตยใบพ้อหรือกก  เลือกยอดแก่มีสีเขียวทั้งใบ ต้องตัดเตยเดือนแรมเวลากลางวัน เมื่อได้เตยแล้วนำเตยมาลนไฟแล้วนำมาขูดหลังจากนั้นนำมาแช่น้ำประมาณ 2 คืน แล้วเอามาตากแดด แลล้วขูดอีครั้งเพื่อให้เตยเป็นสีขาว หลังจากนั้นก็สานเป็นเสื่อลวดลายต่างๆ มีลายขัด ลายหมากรุก ลายลูกแก้ว เป็นต้น เรื่อง หมอไสยศาสตร์ ผู้สัมภาษณ์ นางวิภา ม่าหมูด ผู้ให้ข้อมูล นายสันติ
    นายสันติศึกษามาจากโต๊ะสูอาดเรียนจากบทเรียนและคำสอน สามารถทำเรื่องเสน่ห์ เรื่องผีสาง เรื่องขอที่อยู่ ใช้หมาก พลู เทียน มีเงินค่าครู หลังจากทำต้องมารดน้ำสะเดาะเคราะห์กับหมอบ้าน คำที่ใช้แต่ก่อนเป็นภาษามลายู แต่เลี่ยนมาใช้ภาษาไทยแล้ว วิธีการทำ
    - ยื่นหมาก 3 คำ พลู 3 ใบ เทียน 1 เล่ม หลังจากนั้นหมอเข้าทรง - ถามเรื่องที่อยากรู้ - หมอทรงตอบคำถาม - คนที่มาหาหมอทรงก็นำคำตอบไปปฎิบัติตาม - ทาแป้งที่หนาหมอทรงก็จะออก เรื่อง การทำขวัญข้าว ผู้สัมภาษณ์ นางอรสรรณ ขุนรายา  ผู้ให้ข้อมูล นางปอหรี อุรามา ก่อนหว่านเมล็ดข้าวต้องเอาแป้งสะบ้า มะนาว ใบเชียงพร้า มาผสมน้ำแล้วนำไปเคล้ากับเมล็ดข้าว แล้วนำไปหว่าน เพราะขวัญข้าวเป็นผู้หญิงสาวสวย เลยต้องมีของแต่งแรกไถนาต้องดูวันที่ไม่ตกไฟ ตอนดำนาต้องมีฤกษ์ดูวัน ตกลมเพราะมนจะเร็วเหมือนลม ( เป็นความเชื่อ ) เวลาเก็บข้าวสุกเขาจะแรกขวัญข้าว เขาเรียกว่าเชาะซัง มีคาถาป้องกันสัตว์มีพิษ เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวจะไม่เกิดอันตรายเมื่อเก็บเสร็จเขาไปแก้ที่เชาะซังไว้ เมื่อนำข้าวขึ้นบ้าน เขาดับลอมใช้น้ำ แป้ง หิน น้ำมันใส่ผม มีคคาถาของคนโบราณ เวลาโกยข้าวห้ามโกยทับเงาตัวเอง เพราะเงาจะโกยด้วย

    แต่ละคนได้นเสนอวิทยากรนายพิเชษฐ์ได้สอบถามเพิ่มเติมในแต่ละเรื่องและทุกคนในที่ประชุมได้นำแต่ละเรื่องมาวเคราะห์ว่าขาดข้อมูลอะไรบ้างนางอรวรรณบอกว่าพวกเราต้งาคนที่มีความรู้ความชำนาญมาเติมเต็มขอมูลอีกนางสาวไมมู่น๊ะ บอกว่าไม่เป็นไรเรามีเวทีอีกเวทีเป็นเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน นายพิเชษฐ์บอกว่าเราต้องมาช่วยเติมเต็มในเวทีคืนข้อมูลอีกทีเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ขึ้น จากนั้นก็ได้ให้นางมาโหยมภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องร็องเง็งรำให้ดูก่อนปิดการประชุม และนางสารีหนากล่าวปิดการประชุม เวลา 15.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น


    - ได้ข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้านที่ชัดเจน ครบถ้วน 

     

    20 24

    15. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 6 เพื่อเตรียมงานเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน

    วันที่ 25 ธันวาคม 2557 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 14.00 น. โดยนางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด ( ผู้รับผิดชอบโครงการ ) เปิดการประชุมพูดถึงการเตรียมงานซึ่งเป็นเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน และได้ถามในที่ประชุมว่าวันไหนบ้านที่พวกเราว่างตรงกัน และนางอรวรรณได้พูดว่าทุกคนว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2557  นางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาดพูดว่า ตกลงเราจะนัดกันวันที่ 30 ธันวาคม และได้วางหน้าที่ให้ทุกคนรับผิดชอบแต่ละเรื่องเพื่อนำเสนอในวันที่ 30 ธันวาคม ซึ่งเนเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนเป้าหมายคือ 80 คน เพื่อให้เขาได้มารับรู้ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนในแต่ละด้าน และในเวทีจะให้เขาช่วยเติมเต็มและร่วมกันแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในแต่ละเรื่อง พิเชษฐ์บอกว่าเราต้องทำสื่อพาวเวอร์พอยท์ด้วยและบางเรื่องที่เรานำเสนอจะต้องมีการแสดงด้วย เช่น ร็องเง็ง ลิเกบก ทุกคนในที่ประชุมบอกว่าเห็นด้วย นางสารีหนาถามว่าแล้วจัดเวทีที่ใหน นางสาวไมมู่น๊ะบอกว่าที่ชมรมชาวประมงพื้นบ้านและได้บอกทุกคนให้รับผิดชอบในหน้าที่ด้วย นางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาดปิดการประชุมเวลา 16.30 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบในการจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน

     

    20 16

    16. เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน คนในชุมชนได้รับข้อมูล และได้เติมเต็มข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน

    วันที่ 30 ธันวาคม 2557 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ช่วงเวลา 09.30 น. ผู้เข้าร่วมเดินทางเข้าสู่ที่ประชุมตามที่ได้นัดหมายพร้อมกับการลงทะเบียน พูดคุยร่วมกัน และตามเวลาที่เหมาะสม(ตามนัดหมาย)ผู้เข้าร่วมเข้าสู่ห้องประชุมชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล ดำเนินรายการโดย คุณพิเชษฐ์เบ็ญจมาศ ที่เริ่มด้วยการทักทายผู้เข้าร่วมพร้อมกับให้ผู้เข้าร่วมแนะนำชื่อของตัวเองด้วยบรรยากาศเป็นกันเอง หลังจากนั้นจึงได้ชวน ฉายคลิป “การจัดการชุมชนบ้านหนองกลางดง จ.ประจวบฯ” หลังจากนั้นจึงชวนเล่าเสริมในประเด็นการบริหารจัดการของชุมชนที่เริ่มจากการแก้ปัญหาด้วยข้อมูล การศึกษาข้อมูลแล้วนำมาสู่การแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนและที่มาของเวทีในวันนี้ก็เช่นเดียวกัน “เวทีคืนข้อมูลภูมิปัญญาชุมชนบ้านโคกพยอม” ที่นำไปสู่การจัดการของชุมชนในอนาคต หลังจากนั้นจึงเชิญหัวหน้าโครงการ นางสาว ไมมู่นํะ หลีหาดกล่าวความเป็นมาเวทีดังกล่าว ที่เริ่มด้วยการกล่าวขอความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่านและที่มาของเวทีในวันนี้คือการคืนข้อมูลหาความรู้เพิ่มเติมภูมิปัญญาชุมชนบ้านโคกพะยอม และก่อนหน้านี้ ทางทีมได้ลงพื้นที่สำรวจ สัมภาษณ์สอบถามข้อมูล เช่น การละเล่นลิเกบก รองเง็ง ภูมิปัญญาการนวด

    จากข้อมูลดังกล่าวในวันนี้จึงได้เชิญผู้มีความรู้ในแต่ละด้านมานำเสนอ พร้อมกับให้เราได้แลกเปลี่ยนด้วยกันในวันนี้ หลังจากนี้ขอมอบเวทีให้กับผู้ดำเนินรายการดำเนินการต่อไป ขอบคุณคะ

    คุณพิเชษฐ์เบ็ญจมาศ ชวนให้ทีมลิเกบก ออกนำเสนอการละเล่น

    คำร้องพร้อมกับให้เยาวชน ผู้ปกครองร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยนซักถาม เช่นเดี่ยวกับการใช้คำร้องของรองเง็ง และต่อด้วยการสาทิศนวดเพื่อสุขภาพตามภูมิปัญญาหลังจากนั้นทางผู้ดำเนินรายการได้ชวนให้ผู้เข้าร่วม “นักเรียน”ร่วมกันแสดงทดลองการได้รับความรู้จากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาโดยให้มีการแบ่งกลุ่มละ 5 คน รวม 4 กลุ่ม (โดยใช้วิธีนับ 1-5 เป็น 1 กลุ่ม) พร้อมกับให้โจทย์ 2 ข้อ คือ 1 วันนี้เราได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง อย่างไร ข้อที่ 2 หลักจากนี้เราจะทำไรต่อ อย่างไร พร้อมกับแจกอุปกรณ์กระดาษชาร์ต ปากกาเคมี โดยกำหนดเวลาให้ 15 นาที ทุกกลุ่มต่างตั้งหน้าตั้งตาเขียนโจทย์พร้อมกับระดมความร่วมกันลงในกระดาษชาร์ตที่เตรียมไว้ เวลาผ่านไป 15 นาทีตามนัดกำหนดไว้ ทางผู้ดำเนินรายการจึงนัดรวมเพื่อพร้อมที่จะให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ ดังต่อไปนี้

    กลุ่มที่ 1 ชื่อกลุ่ม “เด็กใต้โคกพยอม”

    โจทย์ ข้อ 1. วันนี้เราได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง อย่างไร

    ตอบ

    • ลิเกบกที่ต้องใช้ส่วนประกอบของร่างกาย และต้องปล่อยเสียงให้ดัง ขับร้องให้ถูก
    • ร๊องแง็ง ต้องขับร้องให้ไพเราะ ถูกต้องและร้องให้ชัดเจน
    • การนวดต้องใช้กำลังในการนวด และรู้จักวิธี

    โจทย์ ข้อที่ 2 หลักจากนี้เราจะทำไรต่อ อย่างไร
    ตอบ  นำกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน และนำความรู้ที่ได้รับไปบอกเพื่อนๆ สมาชิกในกลุ่ม

    1. ด.ช.กิ๊ฟรอน หลงหัน ป.5
    2. ด.ช.อนุวัฒน์ ปองแท้ ป.5
    3. ด.ช.วนาพล ราคพล ป.5
    4. ด.ช. ปริญญา หูเขียว ป.5
    5. ด.ช.ซัลวาย์ หลีหาด ป.4

    กลุ่มที่ 2 ชื่อกลุ่ม “เด็กบ้านๆ”

    โจทย์ ข้อ 1. วันนี้เราได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง อย่างไร

    • ชมรมลิเกบก เช่น การขับร้องเสียงใหญ่ มีหางเสียง และมีท่าประกอบ
    • ร๊องแง็งเช่น การร้องการเต้น
    • วิธีการนวด เช่น การนวดขมับ คลายเส้น นวดเท้า

    โจทย์ ข้อที่ 2 หลักจากนี้เราจะทำไรต่อ อย่างไร

    ตอบ

    • ภูมิปัญญา ความคิดเพิ่ม
    • นำกลับไปปฏิบัติ
    • มีความกล้าแสดงออก

    สมาชิกในกลุ่ม

    1. ด.ญ.นัชมลต์ หมันทุย
    2. ด.ญ.ธัญญาวดี หมาดหวัง
    3. ด.ช.ปนัดดา นุ้ยโส๊ะ
    4. ด.ญ.นาตยา สาหมีด
    5. ด.ญ.สุธิภัทร หลีหาด

    กลุ่มที่ 3 ชื่อกลุ่ม เราเด็กโคกพยอม

    โจทย์ ข้อ 1. วันนี้เราได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง อย่างไร

    ตอบ

    • ภูมิปัญญาลิเกบกหรือลิเกป่า เรียกว่ารำมะนาที่มีตัวละคร เช่น เทศ เสพา ยาหยี มีเครื่องดนตรีประกอบเช่น รำมะนา กลับ
    • การนวด มีกรนวดตีนคอแก้เมื่อย นวดหลังแก้เอ็นจม การนวดขมับแก้อาเจียน
    • การขับร้องร๊องแง็ง เป็นเพลงขับเรียกว่าเพลงหาดยาว
    • ความหมายของคำว่า “ภูมิปัญญา” คือ พื้นความรู้ ความสามารถ เช่น ความสามารถในการคิด

    โจทย์ ข้อที่ 2 หลักจากนี้เราจะทำไรต่อ อย่างไร

    ตอบ นำความรู้ที่ได้จากวันนี้กลับไปบอกเพื่อนๆและนำความรู้ที่ได้มากลับไปฝึก สมาชิกในกลุ่ม

    1. ด.ญ.ซามีร่า ศรีนิ่ม ป. 5
    2. ด.ญ.ซานียาฮ์ หลีหาด ป.5
    3. ด.ญ.ฮาซีนะ ขุนรายา ป.5
    4. ด.ญ.ดารา อรัญตุก ป.5
    5. ด.ญ.แสงตะวัน ธรรมรัตน์

    กลุ่มที่ 4 ชื่อกลุ่ม “เด็กใต้”

    โจทย์ ข้อที่ 1 วันนี้เราได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง อย่างไร

    ตอบ เราได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนใต้ เช่น ลิเกบกที่ใช้ตัวละคร ๓ คนพีดำ พี่เทศ น้องจิ

    โจทย์ ข้อที่ 2 หลักจากนี้เราจะทำไรต่อ อย่างไร

    ตอบ พักเที่ยงกินข้าว กลับไปโรงเรียน

    สมาชิกในกลุ่ม

    1. ด.ช.ธีรภัทร หลีหาด
    2. ด.ช.ธนกร ขุนรายา
    3. ด.ช.เมธิชัย สงไข่
    4. ด.ช.ปิยพัทธ์ สอเหลบ
    5. ด.ช.ซัยนุดดีน เตาวะโต
    6. ด.ช.ศิวกร หมาดหวัง

    หลังจากที่มีการนำเสนอกลุ่มแต่ละกลุ่มเสร็จสิ้นลง ทางผู้ดำเนินรายการได้ให้ผู้ปกครองสะท้อนความรู้สึกจากเวทีดังกล่าว

    • ได้เห็นความสามารถของเด็ก มีแวว เก่งมากๆ
    • เด็กมีความสามรถที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับคุณ
    • รู้สึกดีใจที่เห็นลูกหลาน ความสามารถ
    • เด็กกล้าแสดงออก และขอบคุณครูสาโยด ที่ทำให้เด็กกล้าแสดงออก
    • ครูสาโหยด มีความภาคภูมิใจที่มีเด็กเป็นคนมีความสารถมีส่วนหนึ่งทางชุมชนเห็นความสำคัญ และให้ความร่วมมือ ในส่วนของทางโรงเรียนจะสนับสนุนเด็กในด้านภูมิปัญญา สุดท้ายขอขอบคุณทุกท่าน
    • นายลิเกบก..ขอบคุณที่ให้พบมาวันนี้ ลิเกรำมะนาที่เริ่มหายไปแล้ว และผมกับทีมทำให้เกิดขึ้น ผมเองอยากให้การละเล่นดังกล่าว สืบถอดต่อไป
    • หัวหน้าโครงการ.. ขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกท่านที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับภูมิปัญญาบ้านเราที่เริ่มหายไปทุกที และนี้ก็เป็นโอกาสดีที่ทุกคนได้เข้ามาร่วมกันทั้งที่เป็นกลุ่มเด็กนักเรียนที่เป็นลูกหลานของเรา
      กลุ่มผู้ปกครอง ผู้ใหญ่บ้าน คุณครู และครูภูมิปัญญาที่เสียสละเวลาลามาให้ความรู้หลังจากนี้จะเป็นกิจกรรมออรมให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไว้ประสานงานอีกรอบ สุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้ง
    • ผญ.ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าเวทีคืนข้อมูลภูมิปัญญาของคนชุมชนโคกพะยอม ขอบคุณครับ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลรากเง้าประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์
    • คนในชุมชนต่างได้รับทราบข้อมูลรากเง้าประวัติศาสตร์บ้านโคกพยอม

     

    80 70

    17. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 7 เพื่อสรุปผลการทำงานที่ผ่านมาและเตรียมวางแผนการทำงานในอนาคต

    วันที่ 8 มกราคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสรุปผลการดำเนินงานในเวทีคืนข้อมูลซึ่งมีเยาวชนเข้าร่วมและให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นอย่างดี เยาวชนกล้าแสดงออก พวกเราในฐานะทีมทำให้เมื่อเห็นศักยภาพของเยาวชนในพื้นที่แล้วก็เป็นโจทย์สำคัญในการขับเคลื่อนงานโดยกิจกรรมต่อไป ก็ต้องฝึกอบรมยาวชนเหล่านี้ให้สามารถเป็นแกนนำในการถ่ายถอดศิลปะวัฒนธรรมของพื้นที่ คือลิเกบกซึ่งวันที่วางแผนไว้ก็ประมาณวันที่ 24-25 ม.ค. 58 แต่คิดว่าคงไม่ทันเนื่องจากช่วงนี้มีงานเข้ามามากทำให้ไม่ว่างในการจัดกิจกรรมเลยน่ายกไปทำกิจกรรมในเดือน ก.พ.แทนซึ่งงวันเวลาค่อยหารือกันอีกครั้งเพราะพวกเราก็เป็นคนในพื้นที่ที่สามารถสื่อสารกันได้ง่ายและก็จะมีการประชุมคณะทำงานครั้งถัดไปเราก็คิดว่าจะไปชุมกันต้นเดือน ก.พ. แทนแล้วจะหารือกันเรื่องจัดเวทีนี้ด้วยว่าต้องอะไร ที่ไหน อย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการได้ร่วมกันสรุปผลการทำงานที่ผ่านมาและได้วางแผนการทำงานกิจกรรมอื่นๆและได้ร่วมกันพูดคุยการทำงานของพื้นที่ในเรื่องอื่นที่เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งมีกิจกรรมที่หน่วยงานเข้ามาสนับสนุนในการขับเคลื่อนงานชุมชนหลายหน่วยงานทำให้แกนนำในพื้นที่ต้องเชื่อมการทำงานกับหลายหน่วยงานและถือว่าเป็นโอกาสให้พื้นที่ได้สร้างจุดขายในการขยายศิลปะวัฒนธรรมของพื้นที่ไปสู่รุ่นลูกหลายต่อไป

     

    20 18

    18. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 16 มกราคม 2558 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมประชุมและรับฟังการบรรยายจากวิทยากรเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการ การจัดทำรายละเอียดโครงการ การทำปฎิทินโครงการโดยได้มีการลงมือปฏิบัติจริง ในการลงข้อมูลเพื่อให้เรียบร้อบและได้รับคำแนะนำจากพี่เลี้ยงเพื่อให้เข้าใจการลงข้อมูลเมื่อกลับมาทำงานในพื้นที่จริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้จัดทำรายละเอียด แผนงานกิจกรรม และปฎิทินการปฎิบัติงาน

     

    2 2

    19. ตรวจสอบการเงิน

    วันที่ 31 มกราคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการนำเอกสารการเงินมาตรวจสอบความถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การเงินของโครงการมีความถูกต้องมากขึ้น

     

    2 2

    20. ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลกิจกรรม

    วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการมาตรวจสอบเอกสารข้อมูลกิจกรรม เพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลกิจกกรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์

     

    2 2

    21. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 8 เพื่อเตรียมเวทีสร้างแกนนำเยาวชนจิตอาสาปลูกป่าทดแทน

    วันที่ 10 มีนาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 12.00 น. โดย นางสาว ไมมู่น๊ะ หลีหาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ) กล่าวเปิดการประชุมทักทายผู้เข้าร่วมประชุมได้หารือกับผู้เข้าร่วมประชุมว่า ครั้งต่อไปเป็นกิจกรรมเวทีฝึกอบรมเยาวชนในการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลิเกบก แต่เนื่องจากในวันที่ 16 มีนาคม ได้มีการจัดกิจรรมการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลน ซึ่งเป็นงานของทางชุมชน และเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และศิลปินนักร้อง มาร่วมด้วย ดังนั้นจึงขอมติที่ประชุมว่าเราจะจัดกิจกรรมสร้างแกนนำจิตอาสาปลูกป่าทดแทน เพื่อให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน เพื่อให้ระบบนิเวศมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น นางสาวไมมู่น๊ะได้แบ่งบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในวันที่ 16 มีนาคม โดยนางเจ๊ะสู นางอรวรรณ รับผิดชอบในเรื่องการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ นายกอด นายเหตุ ดูแลเรื่องพันธุ์ไม้ นายบาเหรน นายบอหนี ดูแลเรื่องสถานที่ นางอำชะ นางฮาลีม๊ะ รับผิดชอบเรื่องอาหาร นางซีดะ นางออหนี นางเจ๊ะสารีหนา รับผิดชอบการต้อนรับ นางสาวไมมู่น๊ะ พูดว่าทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้กิจกรรมครั้งนี้ผ่านไปด้วยดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ประชุมเตรียมเพื่อแบ่งงานที่ทุกคนจะได้รับผิดชอบในกิจกรรม สร้างแกนนำเยาวชน จิตอาสาเรียนร ุ้ปลูกป่าทดแทน

     

    20 18

    22. เวทีสร้างแกนนำเยาวชนจิตอาสาเรียนรู้ปลูกป่าทดแทน เพื่อให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน และเสริมให้ระบบนิเวศในหมู่บ้านมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

    วันที่ 16 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09. 00น. คณะทำงานได้มารวมตัวกันที่บริเวณจัดกิจกรรมบริเวณกลุ่มเลี้ยงปูนิ่มผู้สูงอายุบ้านโคกพะยอมมีการจัดเตรียมอาหารไว้สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมหลังจากนั้นก็ได้มีเยาวชนนักเรียน และ ชาวบ้านได้เดินทางมาลงทะเบียนเรื่อยๆจนถึงเวลา10.00น.ทุกคนที่มาได้ลงทะเบียนกันหมดแล้วและได้จัดการอบรมเยาวชนเพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชน ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนและการอนุรักษ์ขยายพันธุ์ปูดำท่านวิทยากรนายเผด็จโต๊ะปลัดกรรมการป่าชายเลนชุมชนบ้านโคกพะยอมได้กล่าวเปิดการฝึกอบรมเยาวชนและได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านว่าสมัยก่อนเขามีความเป็นอยู่อย่างไรความยากจนของคนสมัยก่อนได้เล่าถึงประวัติสมัยสงครามโลกครั้งที่2ว่าตอนสมัยสงครามโลกครั้งที่2 เขาไม่มีอะไรจะกินเขาคิดว่าลองเอาลูกโร้ยที่มีอยู่ในป่าชายเลนมาลองต้มแล ว่ากินได้หรือไม่เพราะมันขมมากเขาเลยหาวิธีการนำลูกโร้ยมาขูดก่อนแล้วต้มพลัดน้ำสามน้ำน้ำสุดท้ายใช้น้ำขี้เถ้าพอใส่น้ำขี้เถ้าความขมก็หายหมดและหอมด้วยเขาเลยนำลูกโร้ยมาเป็นอาหารพอประทังชีวิตของเขาได้ และวิทยากรก็ได้พุดถึงการอนุรักษ์ป่าชายเลนว่าพวกเราต้องเห็นความสำคัญของป่าชายเลนเพราะป่าชายเลนเป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำของพวกเราเป็นแหล่งที่ทำมาหากินของพวกเราทุกคนถ้าเรามีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ทรัพยากรที่อยู่ในป่าชายเลนไม่ว่ากุ้ง หอย ปู ปลาทุกอย่างก็อุดมสมบูรณ์ด้วย และวิทยากรได้ถามในเวทีว่าพวกเราควรอนุรักษ์ป่าชายเลนหรือไม่ ด. ญ.สานิยาพูดว่าเราควรอนุรักษ์เพราะต่อไปถ้าเราทำลายป่าหมดมันจะทำให้เกิดภาวะโลกร้อนท่านวิทยากรได้พูดถึงการอนุรักษ์ป่าว่าทุกคนควรเห็นความสำคัญของป่า เราไม่ควรตัดไม้ทำลายป่าถ้ามีการตัดไม้เราควรปลูกทดแทนถ้าไม่มีป่าไม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนจะไม่มีที่อยู่อาศัย แต่ถ้าหากป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์สัตว์ต่างๆจะเจริญเติบโตและเป็นแหล่งอาหารทำให้เกิดอาชีพเกิดรายได้ของคนในชุมชนฉะนั้นพวกเราทุกคนจึงควรเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ ลำคลองเพราะเป็นแหล่งทำมาหากินของพวกเราทุกคน เวลา 14.00 น.ทุกคนได้มาพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรม ทางชุมชนได้เชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลร่วมด้วยคณะศิลปินพร้อมผู้บริหารบริษัทโอสถสภาร่วมกันปลูกป่าและปล่อยพันธุ์ปูดำในป่าชายเลน เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์ปูดำ หลังจากนั้นท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้เยี่ยมชมกลุ่มผุ้สูงอายุเลี้ยงปูนิ่มบ้านโคกพะยอม ที่มีการบริหารจัดการในเรื่องของการจัดสวัสดิการของกลุ่ม หลังจากนั้นทางชุมชนได้กล่าวขอบคุณและขอให้ทุกคนเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องป่าชายเลน
    • คนในชุมชนรู้คุณค่าของป่าชายเลน
    • คนในชุมชนมีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์
    • ปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลน
    • เยาวชนได้รับรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของชุมชน
    • เยาวชนรู้เรื่องภูมิปัญญาท่องถิ่น(ลูกโร้ย)
    • เกิดความสามัคคี

     

    40 52

    23. ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลกิจกรรม

    วันที่ 20 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ นำเอกสารเกี่ยวกับกิจกรรมมาตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เอกสารที่ครบถ้วนสมบูรณ์

     

    2 2

    24. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 9 เพือสรุปผลการอบรมเยาวชน และวางแผนการฝึกอบรมการทำขนมลูกโหรย

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. โดยนางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด ( ผู้รับผิดชอบโครงการ ) ได้เชิญนายพิเชษฐ์ พี่เลี้ยง ส.ก.ว. มาเข้าร่วมประชุม นางสาวไมมู่น๊ะ ได้กล่าวเปิดประชุมพูดคุยกับคณะทำงานที่มาเข้าร่วมประชุมเรื่องการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมาคือการปลุกป่าชายเลน ว่าคณะทำงานแต่ละคนได้ทำอะไรไปบ้าง เพื่อสรุปการทำงานให้คณะทำงานได้รับทราบ นางเจะสุพุดว่า การปลูกป่าชายเลนเป็นกิจกรรมที่ดีเพราะอย่างน้อยเราได้สร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชน ลูกๆหลานๆของเราหู้จักการนุรักษ์พันธุ์ปูดำ นางอรวรรณพูดว่า วันที่เราปลูกป่าเราได้บอกกับเยาวชนในเรื่องของการปลูกพันธุ์ไม้โหรยและได้ทราบประวัติความเป็นมาของและปะโยชน์ของต้นโหรย และนางไมมุ่น๊ะพูดว่ากิจกรรมครั้งต่อไปเป็นกิจกรรมฝึกบรมการทำขนมลูกโหรย เป้าหมายในการฝึกบรมคือกลุ่มเยาวชนและกลุ่มแม่บ้าน เป็นการอบรมเรื่องการทำขนมลูกโหรย ศึกษาข้มูลของลูกโหรย นายพิเชษฐ์พูดว่าเยาวชนต้องเป็นเด็กในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียนก็ได้ จากนั้นก็ให้คณะทำงานนัดวันเพื่อที่จะจัดเวทีในการฝึกบรม นางไมมู่น๊ะพูดว่า จะต้องจัดเวทีหัตรงกับวันหยุด ทุกคนเห็นด้วยในวันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2558 ให้พร้อมกันที่ศูนย์เรียนรู้บ้านหัวหินเวลา 09.00 น. เป็นต้นไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมในครั้งต่อไป
    • คณะทำงานได้ทบทวนกิจกรรมสร้างแกนนำจิตอาสาปลูกป่าทดแทน
    • ได้นัดเวลาทำกิจกรรมฝึกอบรมการทำขนมลูกโร้ยในครั้งต่อไป

     

    20 18

    25. ฝึกอบรมการทำขนมลูกโหรยและศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อส่งเสริมการใช้พืชท้องถิ่นในการทำขนมและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของแม่บ้านกับเยาวชนในชุมชน และนำข้อมูลมาถ่ายทอดต่อไป

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินทางมาถึงจุดนัดหมายพร้อมกับลงทะเบียนที่ศูนย์เรียนรู้บ้านหัวหิน ซึ่งทุกคนได้นัดหมายกันในวันประชุม คณะทำงาน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2558 เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียนเสร็จแล้ว คุณพิเชษฐ์ เบญมาศ เริ่มกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมกิจกรรม และในเวทีนายเผด็จ โต๊ะปลัด ได้เชิญ อ.สุนทร แก้วสม อาจารย์จากวิทยาลัยชุมชนสตูลมาเป็นวิทยากรในการแปรรูปขมลูกโหรยซึ่งในการจัดกิจกรรมในวันแรกเป็นการทำความรู้จักต้นลูกโหรย และได้ลงพื้นที่ในป่าชายเลนเพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้ในครั้งนี้มีกลุ่มคณะทำงานซึ่งได้นำเยาวชนและอธิบายความสำคัญของต้นโหรยว่ามีประโยชน์อย่างไร

    1. ลำต้นใช้สร้างบ้าน สร้างคอกเลี้ยงสัตว์ และนำมาเผาถ่าน
    2. ฝัก นำมาประกอบอาหาร
    3. เปลือกของฝักที่ขูดออก นำมาเป็นยาสมานแผล

    สีของลูกโหรยมี 3 สี

    1. สีเขียว ฝักอ่อน
    2. สีน้ำตาลอมเขียว
    3. สีน้ำตาล

    สีของฝักลุกโหรยที่สามารถนำมาประกอบอาหารคือสีน้ำตาล ทุกคนที่ลงพื้นที่ในป่าชายเลน มีความสนใจที่จะเรียนรู้เพราะแม่บ้านบางคนเขาบอกว่าไม่เคยเห็นต้นโหรยและทุกคนก็ได้ช่วยกันเก็บฝักลูกโหรยมาเพื่อที่จะแปรรูปเป็นอาหาร ในช่วงบ่าบของวันที่ 16 ทุกคนก้ได้นลูกโหรยมาขูดเพื่อจะนำไปต้มถ้าไม่ขูดออกความขมจะไม่หายไปเพราะฝักลุกโหรยมีความขมมาก จากนั้นก็นำฝักลูกโหรยมาขูดแล้วแช่น้ำก่นที่จะต้ม เมื่อขูดเสร็จก็นำลูกโหรยมาต้ม ต้มทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วเทน้ำทิ้ง ทำซ้ำกัน 3 ครั้ง น้ำครั้งที่ 3 ผสมน้ำขี้เถ้า เพื่อตัดความขมของลูกโหรยให้หายไป อ.สุรทร แก้วสม ได้ให้เราคิดหาวิธีลองต้มลูกโหรยโดยไม่ขูดได้หรืไม่เราก็ทดลองทำจากการทดลองไม่ขูดเปลือกออกแต่นำลูกโหรยมาต้มน้ำเกลือปรากฏว่ามันยังขม อ.สุนทร แก้วสม ได้ทดลงนำลูกโหรยมาขูดแล้วต้มน้ำเกลือโดยไม่ต้งใช้น้ำขี้เถ้าเพราะน้ำขี้เถ้าจะทำให้ลูกโหรยมีความเหนียว เพราะคิดว่าพวกเราจะนำมาแปรรูปเป็นแป้งลูกโหรยได้ในช่วงเช้าของวันที่ 17 พฤษภาคม 2558 ทุกคนด้มาพร้อมกันที่กลุ่มทำขนมกลุ่มแม่บ้านโกพยอม เพื่อจะมาแบ่งกลุ่มในการทำขนม สมาชิกแบ่งกลุ่มได้ 3 กลุ่ม

    กลุ่มที่ 1 ทำขนมลูกโหรยชุบแป้งทอด กลุ่มที่ 2 ทำขนมนมสาว กลุ่มที 3 ทำข้าวเกรียบ

    ในแต่ละกลุ่มมีทั้งแม่บ้านและเยาวชนรวมกัน และแต่ละกลุ่มก็มีพี่เลี้ยงช่วยในการฝึกแปรรูป สอนให้เยาวชนได้เรียนรู้การทขนม ทุกคนมีความตั้งใจที่จะศึกษาการแปรรูปลูกโหรย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนและกลุ่มแม่บ้านสามารถแปรรูปอาหารจากลูกโหรยได้
    • เยาวชนมีความรู้เรื่องลูกโหรย
    • ได้การมีส่วนร่วมระหว่างเยาวชนกับแม่บ้าน
    • ได้นำพืชท้องถิ่นมาทำขนม และทุกคนได้รู้จักต้นโร้ย และได้ลงพื้นที่ในป่าชายเลนเพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้
    • ได้รุ้จักวิธีการหรือกระบวนการที่นำลูกโร้ยมาแปรรูปเป็นอาหารหรือขนม

     

    60 55

    26. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 10 เพื่อสรุปผลการอบรมการทำขนมลูกโหรย และเตรียมการกิจกรรมอบรมลิเกบก

    วันที่ 15 มิถุนายน 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มการประชุมเวลา 10.00 น. โดยนางไมมู่น๊ะ  หลีหาด (ผู้เสนอโครงการ) กล่าวเปิดประชุม ในกิจกรรมประชุมครั้งนี้ได้เชิญผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกพยอมและคุณครูอีหนึ่งท่านเข้าร่วมประชุมด้วย นางสาวไมมู่น๊ะได้กล่าวต้อนรับ ครูและคณะทำงานได้ชี้แจงถึงกิจกรรมที่ทำมาแล้ว ทั้งหมดและมีกิจกรรมครั้งต่อไปเป็นกิจกรรม “การฝึกอบรมเยาวชนในการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านลิเกบก” วัตถุประสงค์ในการอบรมครั้งนี้เพื่อให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเยาวชนเกิดการรวมกลุ่มและสร้างความสามัคคี ครูไพริน: เป้าหมายในการทำกิจกรรมครั้งนี้มีกี่คนคะ ไมมู่น๊ะ : 40 คนคะ ทั้งเยาวชนและคนในชุมชนแต่จะเน้นเยาวชนเป็นหลัก พิเชษฐ์ : เราควรนำเยาวชนทั้งในและนกโงเรียนมาฝึกให้เกิดการเรียนรู้พร้อมกัน แล้วเราจะเอาวิทยากรจากไหนครับ เผด็จ : เราควรเชิญครูภูมิปัญญาดั้งเดิมในเรื่องของลิเกบกโดยเฉพาะ ครูท่านนั้นคือ นายวาหลาดที่สามารถถ่ายทดการเล่นลิเกบกแบบดั้งเดิมได้ ครูไพริน : ในเรื่องของประวัติความเป็นมาเราจะเข้ามาช่วยด้วย เผด็จ : เราต้องเชิญวัฒนธรรมจังหวัดมาช่วยในเรื่องเครี่องดนตรี พิเชษฐ์ : แล้วใครจะเป็นคนประสานหน่วยงานครับ เผด็จ : ผมจะรับผิดชอบในส่วนนี้เองครับ ไมมู่น๊ะ : รับผิดชอบประสานครูภูมิปัญญา และนัดวันในการทกิจกรรมคือวันที่ 24-25 มิถุนายน 58 ซึ่งในวันที่ 24 มิถุนายน 58 จะเป็นการเรียนรู้ในเรื่องขงประวัติความเป็นมา เครื่องดนตรี นักแสดง และในวันที่ 25 มิถุนายน 58 จะเป็นการฝึกในเรื่องของการแสดง การเต้น หรือท่าทางในกาแสดง สถานที่คือโรงเรียนบ้านโคกพะยอม กิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่ 09.30 น. – 15.00 น. เพราะเป็นช่วงเดือนรอมฎอน ใครมีอะไรสงสัยหรืจะแจ้งในที่ประชุมบ้าง พิเชษฐ์ : แล้วเรื่องการทำลูกโหรยครั้งที่แล้วเป็นย่างไรบ้างครับ อรวรรณ : ได้ทดลองไปแล้วในเรื่องของการต้มลุกโหรยกับสารส้มและต้มกับเกลือ การต้มกับเกลือเนื้อลูกโหรยจะเปื่อยกว่า หากต้มกับสารส้มเนื้อจะเหนียว ไมมู่น๊ะ : หลังจากเดือนรอมฎอน จะมีการฝึกสอนทำขนมพื้นบ้านโดยมีอาจารย์จากวิทยาลัยชุมชนสตูลมาสอน หลังจากนั้นก็ปิดการประชุม เวลา 12.30 น. ทุกคนรับประทานาหารพร้อมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการวางแผนการทำงานในกิจกรรมการบรมลิเกบก
    • ได้ชี้แจงถึงกิจกรรมที่ผ่านมาในเรื่องของลูกโร้ย
    • คณะทำงานได้รู้วัตถุประสงค์ในการอบรมเยาวชนในการฝึกอบรมลิเกบก
    • ได้นัดวันเวลาในการกิจกรรมในเรื่องของการฝึกอบรมลิเกบก

     

    20 20

    27. เวทีฝึกอบรมเยาวชนในการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลิเกบก เพื่อส่งเสริมกลุ่มเยาวชนให้เกิดการรวมกลุ่มและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

    วันที่ 24 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา  10.00 น. ของวันที่  24  มิถุนายน 2558  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและคณะนักเรียนได้เดินทางมาถึงที่ชมรมชาวประมงพื้นบ้านที่ได้นัดหมายกัน เพื่อทำกิจกรรม ซึ่งในวันที่ 24 มิถุนายน  2558 จะเป็นการเล่าประวัติความเป็นมาของลิเกบก  และทำความรู้จักกับเครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดง และได้มีครูภูมิปัญญาเข้ามาร่วมเป็นวิทยากรในการเล่าประวัติการแสดงลิเกบก  การแสดงลิเกบก  ก่อนที่จะแสดงต้องมีการโหมโรงหรือการขับนำก่อนการแสดง คล้ายๆกับการไหว้ครู  ลิเกบกหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ลิเกป่า เป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองที่นิยมเล่นกัน แถบจังหวัด ตรัง  กระบี่  พังงา  และ สตูล ( เขตอำเภอละงูและทุ่งหว้า )
    ความเป็นมาของการแสดงลิเกบกมีมานานเท่าไร  ไม่ปรากฏ  สันนิษฐานว่า มีต้นกำเนิดที่จังหวัดตรัง หรือ กระบี่

    ประวัติความเป็นมาของลิเกบก ลิเกบกหรือลิเกป่า เป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองที่นิยมเล่นกันแถขจังหวัด ตรัง กระบี่  พังงา และสตูล ( เขตอำเภอละงูและทุ่งหว้า )
    ความเป็นมาของการแสดงลิเกบกมีมานานเท่าไรไม่ปรากฏ  สันนิษฐานว่า มีต้นกำเนิดที่จังหวัดตรัง หรือ กระบี่ ภายหลังได้แพร่หลายเข้ามาในจังหวัดสตูล โดยรับอิธพลด้านดนตรีและการแต่งกายจากมาลยู  รับอิธิพลการร่ายรำจากมโนราห์  และมีส่วนคล้ายทางภาคกลาง  เพราะมีการออกแขกก่อนการแสดง  การแสดงลิเกบกจึงเป็นการแสดงแบบประสมประสาน เวทีการแสดงทำอย่างง่าย  ยกเสาขึ้น  6 หรือ 9 เสา หลังคาเป็นเพิงหมาแหงนมุงด้วยใบมะพร้าว มีม่านกันกลาง  ปูเสื่อ ตัวเทศและเสนาแต่งกายแบบคนอินเดียนุ่งกางเกง หรือบางครั้งนุ่งผ้าถุง  สวมเสื้อแขนยาวมีผ้าพาดบ่า สวมหมวกแขก มีหนวดเครารุงรัง  ส่วนยาหยีแต่งแบบมุสลิม คือ นุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อแขนยาว เรียกว่าเสื้อบาหยา มีผ้าโปร่งคลุมศีรษะ  เสนามักแต่งให้ตลกขบขัน  บางครั้งไม่สวมเสื้อ  ผู้แสดงชุดนี้  เมื่อแสดงเรื่องใหม่ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายใหม่เพื่อให้เข้ากับบทบาทของเรื่องที่จะแสดงต่อไป ดนตรีที่ใช้ มี รำมะนา 1 คู่ ฆ้อง ซอ และ ปี่ ผู้แสดงมีประมาณ 10 – 14 คน ( รวมนักดนตรี ) โอกาสที่แสดง เช่น  งานแต่งงาน  งานแก้บนงานศพและงานฉลองต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนเกิดการรวมกลุ่มและสามัคคีเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
    • เยาวชนสามารถรับรู้ถึงประวัติความเป็นมา เครื่องดนตรีของการละเล่นลิเกบก
    • เยาชนสามารถ ทำท่าเต้นหรือขับกลอนในการแสดงลิเกบกได้

     

    40 40

    28. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 11 เพื่อสรุปผลการสร้างแกนนำจิตอาสาในการปลูกป่าทดแทน และวางแผนเตรียมเวทีนโยบายสาธารณะ

    วันที่ 25 กรกฎาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา  13.00  น. โดยนาง ไมมู่น๊ะ หลีหาด (  ผู้รับผิดชอบโครงการ ) กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุม และได้ถามพวกเราคณะทำงานที่เข้าร่วมประชุมว่า  ในการฝึกอบรมลิเกบก พวกเราได้เห็นอะไรบ้างในเวที  และเราได้อะไรบ้างจากเวทีที่ผ่านมา นาง สารีหนา พูดว่า เราได้ทราบเรื่องความเป็นมาของลิเกบก  รู้จักเครื่องดนตรีต่างๆ  ออนี  พูดว่า ได้เห็นการแสดงโหมโรงก่อนการแสดงด้วย  และนาง ไมมู่น๊ะ ได้นัดคณะทุกคนในที่ประชุมว่า  เวทีต่อไปเป็นเวทีสรุปถอดบทเรียน  ซึ่งจะพบกับในวันที่  5 สิงหาคม  2558 ให้ทุกคนมาพร้อมกันที่ ศูนย์สามวัยสายใยรัก  บ้านโคกพยอม นาง ไมมู่น๊ะ ถามว่า ใครมีอะไรสงสัยบ้าง ทุกคนบอกว่า ไม่มี
    ปิดประชุมเวลา  15.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทุกคนได้รับรู้ รับทราบในเรื่องของการฝึกอบรมลิเกบกที่ผ่านมา
    • ได้นัด วัน เวลา ในการทำเวทีสรุปถอดบทเรียนในครั้งต่อไป

     

    20 20

    29. เวทีสรุปถอดบทเรียนโครงการ เพื่อทบทวนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ และวางแผนการดำเนินงานโครงการในอนาคต

    วันที่ 5 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา  9.30  น. ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทยอยเดินทางกันมา ณ  ศูนย์เรียนรู้บ้านหัวหิน  และได้ลงทะเบียน จนถึงเวลา  10.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมได้พูดคุย ทักทาย และในการประชุมได้มี  วิทยากร ส.ด.จ. มาร่วมเป็นวิทยากรด้วย โดย คุณ  พิเชษฐ์  เบญจมาศ ได้เริ่มกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุม  และได้บอกว่า  การจัดเวทีสรุปบทเรียนในวันนี้ เราคุย หรือ (จังกาพย์) แบบเป็นกันเอง ทุกคนไม่ต้องเครียด นาง ไมมู่นะ หลีหาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ)ได้เล่าในที่ประชุม เรื่อง การทำกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งหมด ของโครงการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ให้ทุกคนได้เล่า หรือ บอก ในที่ประชุมว่า ตั้งแต่ ที่เราทำโครงการนี้มาเราได้อะไรบ้าง  และทุกคนคิดอย่างไรกับโครงการนี้ เพื่อเราจะได้สรุปทำเป็นรายงานหรือรูปเล่ม และให้ทุกคนทบทวน ในการที่ทำทำกิจกรรมที่ผ่านมา นาง อรวรรณ  ขุนรายา ได้เล่าว่า  จากการที่เราทำกิจกรรมมา เราได้รู้ อะไรหลายๆเรื่อง  เช่น เราได้รู้ประวัติศาสตร์ของโคกพยอม  ได้ร้เรื่องการทำการท่องเที่ยว รู้เรื่องภูมิปัญญาต่างๆในหมู่บ้าน  เช่น เรื่องรองแง็ง  หมอนวดเส้น การทำเสื่อ หมอไสยศาสตร์ การทำขวัญข้าว ลิเกบก
    นาง  เจ๊ะสู พูดว่า สิ่งที่สำคัญที่เราได้ คือ การรวมกลุ่ม  ความสามัคคี และจากกิจกรรมที่ทำมาแล้ว พวกเราสามารถมีรายได้จาก  การทำขนมลูกโร้ย การแสดงลิเกบก ทำให้ทุกคนรู้สึกภูมิใจ และดีใจมากๆ ที่เราสามารถทำสื่งเหล่านี้ ให้เกิดประโยชน์และมีรายได้ นาง  เจ๊ะสารีหนา  กาสเส็น พูดว่า การทำกิจกรรมที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนมากเป็นผู้หญิง กับ เยาวชน นาย พิเชษฐ์  เบญจมาศ ได้ถามว่า ผู้หญิงมีบทบาทพรือกับการพัฒนาบ้านตีหงี นาย  เผด็จ โต๊ะปลัด เล่าว่า ผู้หญิงมีบทบาทมากในการพัฒนาบ้านโคกพะยอม ไม่ว่าเรื่อง การจัดการปัญหาในพื้นที่ร่วมกับผู้ชาย โดยเริ่มจากการรวมตัว การจัดการปัญหาทรัพยากรในพื้นที่ การแยกหมู่บ้าน  หลังจากนั้น ก็ได้ขยายมาเป็นกลุ่มออมทรัพย์จากแกนนำเพียงไม่กี่คน ต่อมาก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เป็นกลุ่มแม่บ้าน และได้รวมตัวกันเพื่อดำเนินการพัฒนางานในพื้นที่  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ เกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้เสริม  หลังจากนั้นก็ได้เกิดกลุ่ม หลายๆกลุ่ม เช่น กลุ่มแม่บ้านขนมพื้นเมือง กลุ่มแม่บ้านยางแผ่น กลุ่มข้าวซ้อมมือ กลุ่มสายใยรัก นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ยังมีการรวมกลุ่มทำปลาเค็ม  เพาะเห็ด  เลี้ยงเป็ด กลุ่มเลี้ยงปูนิ่ม กลุ่ม อสม. วิทยากรกลุ่มผู้หญิงบ้านโคกพะยอมเป็นอย่างไรบ้าง ในการจัดการงานและชุมชน
    “ก่อนทุกคนจะพูดว่า ที่ผ่านมา กลุ่มผู้หญิงไม่เคยมีความขัดแย้ง  ทุกคนรวมตัวทำงาน เห็นได้ชัดจาการเพิ่มขึ้นของกลุ่มแม่บ้านที่ตอนแรกมีจำนวน 30 คน  ตอนนี้เพิ่มป็น 70 คน “ วิทยากรถามว่า  ในช่วงที่ผ่านมา  อะไรบ้างที่คิดว่า  แม่บ้านทำสำเร็จ  มีสองเรื่องที่สำเร็จ คือ การทำขนมลูกโร้ย การเลี้ยงปูนิ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดการทบทวนสรุปผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมา
    • เกิดการรวมกลุ่ม เกิดความรัก ความสามัคคี
    • ได้รู้จักใช้ภูมิปัญญญาท้องถิ่น(ลูกโร้ย,ลิเกบก)
    • เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • เกิดสภาผู้นำ
    • เกิดศูนย์กลางการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน คือ มัสยิด

     

    40 40

    30. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 12 เพื่อเตรียมงานถอดบทเรียน

    วันที่ 10 สิงหาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเวลา  13.00 น. โดยนาง  ไมมู่น๊ะ  หลีหาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้นัดกับผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อที่จะได้พูดคุยกัน ในเรื่องการจัดเวทีต่อไป  ซึ่งเป็นเวทีสาธารณะ  เพื่อขับเคลื่อนประเด็นไปสู่นโยบายสาธารณะของชุมชน  ซึ่งนาง  ไมมู่น๊ะ  หลีหาด ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของเวทีนี้ว่า พวกเราต้องเอางานที่พวกเราทำกันมาแล้วทั้งหมด  มานำเสนอในเวที เพื่อประกาศให้เขารู้ว่า พวกเราได้ทำกันมาแล้วทุกเรื่อง และเพื่อทำข้อตกลงกับภาคีเครือข่ายพัฒนาในพื้นที่ เช่น อ.บ.ต. โรงเรียน  และหน่วยงานรัฐ พวกเราอยากให้เขารู้และรับทราบข้อมูล  และได้กำหนดวัน ในการจัดเวที ซึ่งจะจัดในวันที่ 16 สิงหาคม  2558 และได้แบ่งงานกันรับผิดชอบในแต่ละเรื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เวลานัดหมายในการทำกิจกรรมเวทีสาธารณะเพื่อขับเคลือนประเด็นไปสู่นโยบายสาธารณะชุมชน คือวันที่ 16 สิงหารคม 2558
    • คณะทำงานได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมเวทีสาธารณะเพื่อขับเคลือนประเด็นไปสู่นโยบายสาธารณะชุมชนครั้งต่อไป

     

    20 25

    31. ถอดเงินคืนเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 14 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินทางไปถอนเงินคืนเงินเปิดบัญชีธนาคารจำนวน 500 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

     

    3 2

    32. เวทีนโยบายสาธารณะเพื่อขับเคลื่อนประเด็นไปสู่สาธารณะชุมชน และทำข้อตกลงกับภาคีเครือข่ายพัฒนาในพื้นที่บ้านโคกพยอม

    วันที่ 16 สิงหาคม 2558 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา  09.30 น. ผู้เข้าร่วมเวที เริ่มทยอยเดินทางกันมาเพื่อจะลงทะเบียน  ซึ่งมีผู้รับผิดชอบในการที่จะลงทะเบียนและมีการเปิดเวทีโดยท่าน  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละงู  นาย จำรัส ฮ่องสาย เป็นประธานในพิธี ได้กล่าวเปิดงาน เมื่อถึงเวลา  10.00 น. นาง  ไมมู่นะ  หลีหาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ) กล่าวตอนรับผู้เข้าร่วม ประชุมทุกท่าน และมีผู้เข้าร่วมประชุม จากพัฒนาชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพละงู พี่เลี้ยง ส.ส.ส. คณะครู ชาวบ้าน นักเรียน  ในงานมีการจัดบูทนิทรรศการ  เรื่องของลูกโร้ย  ลิเกบก  หลังจากท่านนายกกล่าวเปิดงานแล้ว  ก็มีการนำเสนอ ผลงานของเรื่องลูกโร้ย ได้นำเสนอในเรื่องข้อมูล และวิธีทำขนมลูกโร้ยด้วย  ทุกคนในเวทีได้กินขนมลูกโร้ยด้วย และในเรื่องของลิเกบก ก็ได้นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมานำเสนอ  และได้มีการแสดงลิเกบกด้วย  ในเวทีได้มีการแจกหนังสือเป็นรูปเล่ม ซึ่งได้จากเวทีสรุปถอดบทเรียน  และทุกคนก็ได้รับประทานอาหาร มีการเลี้ยงข้าวหมกไก่ด้วย จากนั้นก็ได้มีการพูดคุยระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม เลิกประชุมเวลา  14.30  น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้นำเสนอข้อมูลต่างๆให้กับประชาชนหรือหน่วยงานที่เข้าร่วมเวทีได้รับทราบถึงข้อมูลที่ผ่านมาในแต่ละเรื่อง
    • ได้นำเสนอผลงานเรื่องของลูกโร้ยและการแสดงลิเกบก
    • ได้จัดทำหนังสือเป็นรูปเล่ม เพื่อแจกให้กับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน
    • ได้มีหน่วยงานเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและได้เสนอความคิดเห็น

     

    80 80

    33. ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลกิจกรรม

    วันที่ 17 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการนำเอกสารมาตรวจสอบความถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้กิจกรรมที่ถูกต้องสมบูรณ์

     

    2 2

    34. ล้างอัดภาพถ่ายโครงการ

    วันที่ 20 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำไฟล์ภาพที่ถ่ายเก็บไว้ทุกกิจกรรมมาล้างอัดขยาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ภาพประกอบกิจกรรมของโครงการ

     

    2 2

    35. เตรียมข้อมูลเพื่อทำรายงาน

    วันที่ 22 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการเตรียมเอกสารกิจกรรมเพื่อจะปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลกิจกรรมของโครงการ

     

    2 2

    36. จัดทำรายการสรุปโครงการ

    วันที่ 26 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำเอกสารปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กิจกรรมของโครงการเสร็จสิ้นทุกกิจกรรม

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพิ่มศักยภาพการจัดการตนเองด้วยกระบวนการสภาชุมชน
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการมานั้งคิดและกำหนดรูปแบบ 2. ผู้นำรุ่นเก่าที่เหลืออยู่มีจิตอาสาจำนวน 20 คน 3. มีพื้นที่กลางคือ มัสยิด 1 แห่ง 4. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนรู้และเข้าใจกระบวนการภาวะผู้นำและเข้าใจงานที่ขับเคลื่อน 5. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนได้เข้าร่วมประชุม เดือนละ 1 ครั้ง เชิงคุณภาพ 1. ทำให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการร่วมกันแสดงความคิดเห็นการออกแบบ/กำหนดโจทย์และทำให้เกิดแกนนำจิตอาสารุ่นเก่า/รุ่นใหม่ รวมถึงมีพื้นที่กลาง 2. เกิดความรู้ความเข้าใจการมีภาวะผู้นำที่ดี รู้กระบวนการในการทำงาน

    เชิงปริมาณ

    1. คนในชุมชนที่เป็นแกนนำ30คนมีส่วนร่วมในการมานั้งคิดนั้งคุยร่วมกันวางแผนออกแบบการทำกิจกรรม ร่วมกันตั้งโจทย์เรื่องของกิจกรรมที่จะทำ ร่วมกันกำหนดวันเวลาในการทำกิจกรรม และร่วมกันขับเคลื่อนโครงการตั้งแต่เริ่มจนปิดโครงการ
    2. ผู้นำรุ่นเก่าสามารถฝึกอบรมเยาวชนในการอบรมเรื่องภุมิปัญญาท้องถิ่นให้กับเนาวชนทั้งในและนอกโรงเรียน
    3. มัสยิดเป็นศูนย์รวมในการพูดคุยและทำกิจกรรม
    4. คนในชุมชนที่เป็นแกนนำ30คนสามารถเข้าใจกระบวนการสภาวะผู้นำและสามารถนำไปขับเคลื่อนและปฎิบัติได้
    5. คนในชุมชนที่เป็นแกนนำ สามารถรับรู้ข่าวสารในเรื่องต่างๆของชุมชนนอกจากเรื่องของการจัดกิจกรรมของโครงการ

    เชิงคุณภาพ

    1. มีพื้นที่กลางคือมัสยิดเป็นศูนย์กลางของคนในชุมชนที่สามารถทำให้คนเข้าใจงานที่จะขับเคลื่อนและปฎิบัติงานได้
    2. แกนนำเกิดความรู้ความเข้าใจในการเป็นผู้นำที่ดี รู้กระบวนการในการทำงาน สามารถนำไปปฎิบัติได้
    2 ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเยาวชนเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. เยาวชนร้อยละ 60 มีความสนใจศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน 2. ร้อยละ 80 ของคนในชุมชนรับรู้รับทราบเรื่องราวศิลปะและร่วมพื้นฟูวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่ 3. ร้อยละ80 ของคนในชุมชน เกิดความรักความสามัคคี เชิงคุณภาพ 1. เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2. คนในชุมชนเกิดความรักความสามัคคี

    เชิงปริมาณ

    1. เยาวชน40คน ได้เรียนรู้เรื่องของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่นลิเกบกและการแปรรูปลูกโหรย (ถั่วขาว )
    2. คนนในชุมชน70คนรับรู้เรื่องของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่นลิเกบกและการแปรรูปลูกโหรย (ถั่วขาว )และสามารถถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ได้
    3. คนในชุมมีความรักความสามัคคีเพิ่มขึ้นในการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่นลิเกบกและการแปรรูปลูกโหรย (ถั่วขาว )

    เชิงคุณภาพ

    1. เยาวชนหันมาสนใจในการทำกิจกรรมฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่นลิเกบกและการแปรรูปลูกโหรยมากขึ้น
    2. การทำกิจกรรมทำให้คนในชุมชนร่วมกันทำกิจกรรมกลุ่มจนเกิดความสามัคคี
    3 ส่งเสริมการใช้พืชท้องถิ่นในการทำอาหารเพื่อสุขภาพ
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนได้รู้ถึงประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของลูกโหรย 2. ร้อยละ 70 ของคนในชุมชนได้มีการอนุรักษ์พืชท้องถิ่นในป่าชายเลน เชิงคุณภาพ 1. คนในชุมชนเกิดการเรียนรู้คุณค่าทางโภชนากรการของพืชในท้องถิ่น คือ ลูกโหรย 2. ทรัพยากรในป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

    เชิงปริมาณ

    1. แกนนำคนในชุมชนรู้คุณค่าทางโภชนาการของลูกโหรยและสามารถนำมาแปรรูปเพื่อเป็นอาชีพเสริมให้แก่คนในท้องถิ่น และสามารถถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาแก่เยาวชนได้
    2. คนในชุมชนมีการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน เพื่อดูแลป่าชายเลนร่วมกัน

    เชิงคุณภาพ

    1. คนในชุมชนสามรถรู้ถึงประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของลูกโหรย
    2. ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ จนกลายเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน
    4 เพื่อการบริหารจัดการ และการติดตามประเมิณผลโครงการ
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. และ สจรส.

    มีการพบปะร่วมทำกิจกรรมกับ สสส. และ สจรส. ตั้งแต่ริเริ่มโครงการ การปฐมนิเทศโครงการ การติดตามกิจกรรมโครงการ และการสรุปโครงการ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพิ่มศักยภาพการจัดการตนเองด้วยกระบวนการสภาชุมชน (2) ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเยาวชนเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ (3) ส่งเสริมการใช้พืชท้องถิ่นในการทำอาหารเพื่อสุขภาพ (4) เพื่อการบริหารจัดการ และการติดตามประเมิณผลโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน หมู่ 18 บ้านโคกพยอม

    รหัสโครงการ 57-01455 รหัสสัญญา 57-00-1452 ระยะเวลาโครงการ 15 สิงหาคม 2557 - 15 กันยายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน หมู่ 18 บ้านโคกพยอม จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 57-01455

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาว ไมมู่น๊ะ หลีหาด )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด