แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ ญาติใคร ใครก็รัก ม.2 บ้านปากละงู (ต่อยอด)

ชุมชน ม.2 บ้านปากละงู ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

รหัสโครงการ 57-01459 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0859

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน พฤศจิกายน 2557 ถึงเดือน กรกฎาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. มาจัดทำรายงานสรุปปิดงวดโครงการงวดที่ 1

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำรายงานและสรุปการทำงานของโครงการงวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.  มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นทำให้คณะทำงานมีศักยภาพมากขึ้น 2.  ทำให้เยาวชนเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานร่วมกับคนต่างวัย 3.  มีความรู้ ความเข้าใจ กล้าคิด กล้าทำในการลงพื้นที่ และมีจิตอาสา 4.  ในการลงพื้นที่ แต่ละครั้งของแต่ละตระกูลและคนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีทุกครั้ง 5.  กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น 6.  ทำให้เด็กรู้สึกเป็นห่วงและอยากดูแลญาติของตัวเองมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.  สรุปกิจกรรมของโครงการแต่ละกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาแล้ว 2.  ได้ผลสรุปข้อมูลแต่ละกิจกรรม เพื่อนำไปปฏิบัติในกิจกรรมครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

1.  ประชุมคณะทำงานชุดเก่าและกลุ่มแกนนำเยาวชน 30 คน เพื่อวางแผนในการขยายกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน 2.  มีทีมคณะทำงานชุดใหม่ที่เป็นเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นเป็น 20 คน

 

3 3

2. สังเคราะห์ถอดบทเรียนโครงการ

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสังข้อมูลของโครงการที่ผ่านมา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้นำเสนอโครงการให้กับคณะทำงานโครงการอื่นๆและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

  • ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพแก่โครงการอื่นๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สังเคราะห์โครงการและประเมินถอดบทเรียน
  • ประเมินกิจกรรมที่ทำมา

กิจกรรมที่ทำจริง

  • มีการออกนำเสนอโครงการที่ได้มาและแลกเปลี่ยน

  • มีการให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม

 

2 2

3. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5 เพื่อสรุปผลการลงเยี่ยมบ้านของเครือข่ายอาสาสมัครและแกนนำเยาวชน

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สรุปผลการลงเยี่ยมบ้านทั้ง 14 ตระกูลของเครือข่ายอาสาสมัครและกลุ่มแกนนำเยาวชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.  มีคณะทำงานมาเข้าร่วมประชุม จำนวน  30 คนโดยแต่ละกลุ่มสรุปจากข้อมูลของแต่ละกลุ่มจากการลงพื้นที่ว่า ส่วนใหญ่แล้วแต่ละตระกูล จะเป็นโรค คือ ความดัน เบาหวาน เพราะคนขาดความรู้ในเรื่องของการกิน และการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องว่าควรปฎิบัติแก่ตนเอง และญาติอย่างไร

2.  คณะทำงานและแกนนำเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นแต่ละตระกูล

3.  เด็กและเยาวชนกล้าคิดกล้าทำและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฎิบัติแก่ตนเองและญาติพี่น้องได้

4.  เด็กและเยาวชนรู้สึกรักญาติของตนเองมากขึ้น

5.  ทำให้คนในชุมชนสนิทสนมกันมากขึ้น

6.  เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

7.  เด็กและเยาวชนมีจิตอาสาในการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ และมีจิตใจที่อ่อนโยนขึ้น

8.  ทำให้แต่ละตระกูลรู้จักญาติตัวเองมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ผู้ประสานงาน ได้ประสานทีมคณะทำงานเพื่อมาเข้าร่วมประชุมมาทบทวนและสรุปผลจากการลงพื้นที่ไปเยี่ยมผู้ป่วย โดยการนั่งคุยกันแบบเป็นกลุ่มๆ และมาแลกเปลี่ยนความรู้กันหลังจากที่ได้ข้อมูลผู้ป่วยของแต่ละกลุ่ม ในการประชุมครั้งนี้ เจ้าของโครงการก็ได้ชี้แจง เกี่ยวกับการทำกิจกรรมของโครงการในงวดที่ 2 นี้ด้วย เกี่ยวกับเรื่องของงบประมาณ และกิจกรรมที่เราจะต้องมาร่วมกันทำกิจกรรมที่เหลือกันจนสำเร็จว่าควรทำอย่างไร และมาช่วยกันสรุปเกียวกับการลงพื้นที่ของแต่ละกลุ่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้ประสานงาน ได้ประสานทีมคณะทำงานเพื่อมาเข้าร่วมประชุมมาทบทวนและสรุปผลจากการลงพื้นที่ไปเยี่ยมผู้ป่วย โดยการนั่งคุยกันแบบเป็นกลุ่มๆ และมาแลกเปลี่ยนความรู้กันหลังจากที่ได้ข้อมูลผู้ป่วยของแต่ละกลุ่ม ในการประชุมครั้งนี้ เจ้าของโครงการก็ได้ชี้แจง เกี่ยวกับการทำกิจกรรมของโครงการในงวดที่ 2 นี้ด้วย เกี่ยวกับเรื่องของงบประมาณ และกิจกรรมที่เราจะต้องมาร่วมกันทำกิจกรรมที่เหลือกันจนสำเร็จว่าควรทำอย่างไรจึงจะสามารถทำให้ชุมชนของเราน่าอยู่อย่างยั่งยืน

 

50 30

4. ปรึกษาก่อนการอบรมพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อต้องการให้ทีมคณะทำงานและกลุ่มแกนนำเยาวชนได้มีความเข้าใจถึงการทำกิจกรรมที่จะทำ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.  ประสานทีมคณะทำงานและกลุ่มแกนนำเยาวชนตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้

2.  มีการปรึกษาและหาผลสรุปกับพี่เลี้ยง จนได้วิทยากรที่เหมาะสมในการให้ความรู้กับกิจกรรมที่จะทำ

3.  มีกำหนดการในการทำกิจกรรมร่วมกัน  และร่วมกันวางแผนการทำกิจกรรมแต่ละขั้นตอนจนสำเร็จ

4.  ในการคัดเลือกต้นแบบของแต่ละตระกูล  จะใช้วิธีการ คือ ช่างน้ำหนัก และวัดรอบเอว (ทำในกิจกรรมที่ 5 และติดตามประเมิณผลจนถึง กิจกรรมการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน กลุ่มไหน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะมีรางวัลและจะมอบรางวัล ในกิกรรมที่ 6 เช่นกัน )

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.  ประสานกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน

2.  ให้คนในชุมชนทั้ง 14 ตระกูลมีความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาพ

3.  สามารถทำให้คนในชุมชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง

4.  การออกกำลังกายที่ถูกต้องควรทำอย่างไร

5.  คัดเลือกครอบครัวตระกูลต้นแบบแต่ละตระกูล (โดยการอาสาสมัครตัวแทน ตระกูลละ 2 คน ) (มีรางวัล)

กิจกรรมที่ทำจริง

1.  ปรึกษาในเรื่องขั้นตอนการทำกิจกรรมว่าควรทำในรูปแบบใด

2.  ปรึกษาเกี่ยวกับการหาวิทยากรที่มีความรู้เกียวกับกิจกรรมที่ทำ

3.  กำหนดการทำกิจกรรม และเวลาได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องในการทำกิจกรรม

 

3 3

5. อบรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย 13 ตระกูลเพื่อให้เข้าใจการดูแลสุขภาพและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.  เพื่อให้ชุมชน ทั้ง 14 ตระกูล มีความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาพ  2.  เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้องและการออกกำลังกาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้มาเข้าร่วมประชุม จำนวน 56 คน วิทยากร ( หมอ ) ให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

  • การบริโภคอาหาร ว่าควรบริโภคอาหารอย่างไร ประเภทไหน และควรบริโภคในปริมาณเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อให้ลดต่อการเสี่ยงของโรคที่เกิดขึ้นของแต่ละตระกูลและกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค

  • ได้รู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ว่าเกิดจากสาเหตุใด เพราะอะไรคนในชุมชนถึงได้เป็นโรค

  • ได้แลกเปลียนความรู้ เช่น ตอนนี้ ใคร เป็นโรคอะไร เป็นอย่างไร สาเหตุที่เป็นและควรปฎิบัติแก่ตนเองอย่างไรเพื่อให้หายจากโรคที่เป็น หรือทำอย่างไรเพื่อให้ร่างกายดีขึ้น

  • คนที่เป็นโรค เบาหวาน ควรกิน หรือลดอาหารประเภทไหนบ้างเพราะโรคเบาหวานเป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่เราสามารถลดการเสี่ยงของการเป็นโรคนี้ได้

  • ได้รู้วิธีการออกกำลังกายเบื้องต้น ที่คนทุกวัยสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน

  • คนมีความรู้ และสามารถดูแลตนเองและญาติพี่น้องของตัวเองได้อย่างถูกต้อง และถูกวิธี

  • สามารถปฎิบัติและดูแลญาติพี่น้องได้ถูกต้องและผู้ป่วยทั้ง 14 ตระกูลได้ รวมถึงคนในชุมชน หมู่ 2 ด้วย


    ได้คัดเลือกต้นแบบทั้ง14ตระกูล โดยแบ่งจากกลุ่มที่ลงพื้นที่ 7 กลุ่ม กลุ่มละ 2 คน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้น โดยวิธีการ ช่างน้ำหนักและวัดรอบเอว กิจกรรมที่ทำวันนี้จะติดตามผลไปประเมิณจนถึงกิจกรรมการจัดกีฬาพื้นบ้าน( มีรางวัล )

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.  ประสานทีมคณะทำงานและกลุ่มแกนนำเยาวชนตามกลุ่มเป้าหมาย

2.  มีวิทยากร ( หมอ )  มาให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพว่า ควรดูแลอย่างไรเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงและดีขึ้น

3.  สามารถลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรค

4.  ทีมอาสาสมัครมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องของตนเองและสามารถนำไปขยายผลต่อกลุ่มเครือญาติและคนในชุมชนได้

กิจกรรมที่ทำจริง

  • มีผู้มาเข้าร่วมประชุม จำนวน 56 คน

  • วิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น    การบริโภคอาหาร มีการให้ความรู้และให้คำแนะนำ ว่าควรบริโภคอาหารอย่างไร ประเภทไหน และควรบริโภคในปริมาณเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อให้ลดต่อการเสี่ยงของโรคที่เกิดขึ้นของแต่ละตระกูลและกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค

  • วิทยากร  ได้พูดคุยกับผู้เข้าร่วม และได้ถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ว่าเกิดจากสาเหตุใด เพราะอะไรคนในชุมชนถึงได้เป็นโรค

    • มีการแลกเปลียนความรู้ เช่น ตอนนี้ ใคร เป็นโรคอะไร เป็นอย่างไร สาเหตุที่เป็น  และควรปฎิบัติแก่ตนเองอย่างไรเพื่อให้หายจากโรคที่เป็น หรือทำอย่างไรเพื่อให้ร่างกายดีขึ้น

        เช่น  คนที่เป็นโรค เบาหวาน ควรกิน หรือลดอาหารประเภทไหนบ้าง  เพราะโรคเบาหวานเป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่เราสามารถลดการเสี่ยงของการเป็นโรคนี้ได้

        เพราะจากการลงพื้นที่สำรวจผู้ป่วยทั้ง  14  ตระกูล ส่วนใหญ่จะเป็นโรคความดัน  เบาหวาน เนื่องจากสาเหตุ  คนขาดความรู้เรื่องการกิน  และเป็นหมู่บ้านที่มีอาหารการกินที่สะดวก และหาซื้อได้ง่าย จึงทำให้คนมีนิสัยที่ กินอาหารตามร้าน โดยไม่คำนึงว่า อาหารที่เรากินเข้าไปแต่ละวันมันจะสะสมและส่งผลอย่างไรกับร่างกายของเรา  และเกิดจาก นิสัยขี้เกียจในการทำอาหารกินเอง  หรือไม่มีเวลาทำ เพราะบางคนก็มัวแต่ทำงานจนไม่มีเวลาว่าง ก็เลยหาซื้อกินตามร้าน เร็วและสะดวกกว่า โดยไม่รู้ว่า อาหารที่เรากินแต่ละวัน มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเราโดยไม่รู้ตัว

          และต่อมาหมอ ก็จะสอนการออกกำลังกาย ในท่าง่ายๆ แบบพื้นฐาน ที่ทุกคนสามารถทำในชีวิตประจำวันได้  เช่น  การวิ่งซอยเท้าอยู่กับที่  โดยที่หมอจะให้ทุกคนที่มาลุกขึ้นยืนและทำพร้อมเพรียงกัน  หลังจากนั้นหมอก็ให้คำแนะนำแก่คนที่เป็นโรค  ว่าแต่ละโรคเราควรกินอาหารในปริมาณเท่าไหร่ จึงจะสามารถทำให้อาการของโรคที่เราเป็นดีขึ้น และอะไรที่ไม่ควรกิน  เพราะถ้าหากเรากินโดยที่เราไม่เลือกกิน  และกินโดยขาดความรู้ มันสามารถทำให้คนที่ยังไม่เป็นโรค อาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้เช่นกัน

            กิจกรรมที่ทำในวันนี้ เป็นกิจกรรมที่เราต้องมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และเป็นการให้ความรู้ต่างๆ ที่ทุกคนควรนำไปปฎิบัติแก่ตนเองและญาติของตัวเองเพื่อลดโรคที่เกิดขึ้นในหมู่ 2 ทำให้ชุมชนของเราน่าอยู่ขึ้น เพราะคนมีความรู้ และสามารถดูแลตนเองและญาติพี่น้องของตัวเองได้อย่างถูกต้อง และถูกวิธี เพราะทุกคนในหมู่ 2 ล้วนแล้วก็คือ ญาติพี่น้องกัน

 

50 56

6. สรุปผลจากการทำกิจกรรมการปรัปเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

วันที่ 3 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ทีมอาสาสมัครมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการคัดเลือกต้นแบบของแต่ละตระกูล ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีของชุมชนและประกาศยกย่องครอบครัวตัวอย่าง  ( มีรางวัล )
- ได้รู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ว่าเกิดจากสาเหตุใด เพราะอะไรคนในชุมชนถึงได้เป็นโรค
- ได้แลกเปลียนความรู้ เช่น ตอนนี้ ใคร เป็นโรคอะไร เป็นอย่างไร สาเหตุที่เป็น  และควรปฎิบัติแก่ตนเองอย่างไรเพื่อให้หายจากโรคที่เป็น หรือทำอย่างไรเพื่อให้ร่างกายดีขึ้น

  • คนที่เป็นโรค เบาหวาน ควรกิน หรือลดอาหารประเภทไหนบ้าง  เพราะโรคเบาหวานเป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่เราสามารถลดการเสี่ยงของการเป็นโรคนี้ได้

  • ได้รู้วิธีการออกกำลังกายเบื้องต้น ที่คนทุกวัยสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน

  • คนมีความรู้ และสามารถดูแลตนเองและญาติพี่น้องของตัวเองได้อย่างถูกต้อง และถูกวิธี

  • สามารถปฎิบัติและดูแลญาติพี่น้องได้ถูกต้องและผู้ป่วยทั้ง 14 ตระกูลได้ รวมถึงคนในชุมชน หมู่ 2 ด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อให้คนในชุมชน  14  ตระกูล  มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ เพื่อทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

      เช่น การบริโภคอาหารที่ถูกต้อง  และการออกกำลังกายที่คนทุกวัยสามารถทำได้

กิจกรรมที่ทำจริง

        จากการทำกิจกรรม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  เป็นกิจกรรมที่ หมอที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ดี และการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง  ซึ่งการทำกิจกรรมในวันนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจเป็นอย่างดี  และเป็นเรื่องที่ดีที่ทุกคนควรรู้และควรปฎิบัติตาม เพราะบางคนยังขาดความรู้และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์           จึงมาร่วมกันสรุปจากข้อมูลของกิจกรรมได้ว่า  อาหารที่เรารับประทานทุกวันเป็นอาหารที่เราไม่ควรรับประทานเป็นประจำ เพราะอาจจะเสี่ยงต่อโรคได้โดยที่เราไม่รู้   

 

2 3

7. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6 เพื่อสรุปผลจากเวทีพัฒนาศักยภาพและวางแผนการทำงานเรื่องอื่นๆ

วันที่ 10 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชุมคณะทำงานและสรุปผลจากการทำกิจกรรมและมาช่วยกันร่วมวางแผนเพื่อทำให้โครงการได้เกิดเป็นสภาว่าควรดำเนินการอย่างไร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • หลังจากที่ได้นั่งคุยและปรึกษาหารือเพื่อช่วยกันหาวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาของคนในชุมชนร่วมกันและเพื่อนำไปสู่การเกิดสภา  ผลที่ได้ก็คือ  ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน เพราะหมู่  2  เป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่จึงทำให้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่สำหรับวนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นและเห็นแล้วว่า  ผู้นำในชุมชนที่มาเข้าร่วมได้รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่  2  เช่น  สมมติว่า  แพะมากินต้นไม้ หรือทำให้คนในหมู่บ้านเกิดความเดือดร้อน ถ้าหากเป็นอย่างนั้นเราควรทำอย่างไร และมีข้อตกลงกับคนในชุมชนอย่างชัดเจน โดยมีมติร่วมกันและสถานที่ที่รับร้องเรียน ที่ไหน  ใครเป็นคนดูแลและรับผิดชอบ  และนำปัญหานั้นมาร่วมกันแก้ไข  โดยต้องเริ่มแต่งตั้งหัวหน้า แต่ละแผนก และแบ่งหน้าที่ ว่า ใคร ทำอะไ ทำอย่างไร จากการประชุมในครั้งนี้ยังหาข้อสรุปที่ได้ยังไม่ชัดเจนจึงจำเป็นต้องมีการประชุมในครั้งต่อไป เพื่อให้โครงการนี้ได้มีการเกิดสภาขึ้น  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.  ประสานงานฝ่ายผู้นำหมู่บ้าน  เช่น  ผู้ใหญ่บ้าน  อบต.  กลุ่มอาสาสมัครชุมชน  อาทิ เช่น อสม. กลุ่มแกนนำเยาวชน  และผู้นำทุกฝ่ายภายในชุมชน

2.  ประสานทีมคณะทำงานที่เป็นกลุ่มแกนนำเพื่อเข้าร่วมประชุม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ในการประชุมครั้งนี้  เป็นการประชุมเพื่อต้องการ ให้โครงการได้เกิดสภาในชุมชน ซึ่งได้มีการประสานงานระหว่างฝ่ายผู้นำชุมชนรวมถึงคณะทำงานที่เป็นแกนนำได้เข้าร่วมประชุมเพื่อต้องการให้ผู้นำได้เข้าร่วมและมาช่วยกันคิดและช่วยกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของเรา ว่ามีปัญาอะไรบ้าง และต้องการให้สภาอยู่ใรูปแบบไหน

 

50 29

8. ปรึกษาหารือเพื่อการวางแผนการจัดงานกีฬาสัมพันธ์พื้นบ้าน

วันที่ 14 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้คนทั้ง14ตระกูลและคนในชุมชน รู้สึกรักและสนิทสนมกันมากยิ่งขึ้น
    และคนในชุมชนจัดการตนเองอย่างมีความรู้สามารถนำไปดูแลญาติตัวเองได้อย่างยั่งยืน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้กีฬา  5  อย่าง
  • การแข่งกีฬาสามารถทำให้คนในหมู่บ้านมีความสนิทสนมกันมากขึ้น  (คนต่างวัย)
  • แต่ละคนสามารถจัดการตนเองได้
  • มีความรู้และสามารถนำไปปฎิบัติต่อญาติของตัวเองได้อย่างยั่งยืน
  • มีความรู้สึกรักและมีความสามัคคีเพิ่มมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ในการจัดกิจกรรมวันแรกจะเป็นการแบ่งเป็นกลุ่ม โดยจะเอากลุ่มเดิม  ทั้ง  7  กลุ่ม  กลุ่มละ  2  ตระกูล  มาร่วมกันคิดและร่วมกันทำเกี่ยวกับการรณรงค์ กีฬาวัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยจะร่วมกันคิดว่าควรทำอย่างไรให้คนในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมครั้งนี้
  2. ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิด กีฬาพื้นบ้านและนำมาเสนอร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนและหาข้อสรุป  ว่าควรจัดในรูปแบบไหนที่สามารถทำให้ทุกคนที่มาเข้าร่วมกิจกรรมได้มีส่วนร่วมกันทุกคน
  3. ในการแข่งขันกีฬาทุกอย่าง จะมีรางวัลสำหรับ  3  ทีมแรก
  4. วันที่ 2 จะเป็นการแข่งขันกีฬาโดยแต่ละกลุ่มต้องมีสมาชิก ที่ต้องพามาร่วมกิจกรรมเพิ่ม เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
  5. หลังจากที่ได้จัดกีฬาและมอบรางวัลเรียบร้อยแล้ว  จะมีกิจกรรมที่นำมาต่อยอดในกิจกรรมวันนั้นด้วย    จากเวทีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ซึ่งเราจะทำกิจกรรมมาต่อในเวทีนีี้  ก็คือ  จะให้ทั้ง  7 กลุ่มส่งตัวแทนอาสาสมัคร กลุ่มละ 2  คนโดยใช้วิธีการ คือ  ช่างน้ำหนักและวัดรอบเอว ทั้ง  14  คนหากคนใดสามารลดหรือมีการปรับเปลียน  3  คนแรกจะมีรางวัลเพราะเขามีความกระตือรือร้นให้กับตนเองในการดูแลสุขภาพ  และจะใช้วิธีเดิมจากเวทีที่ผ่านมา

      * ในกิจกรรมวันนั้นจะมีการจับของขวัญเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจสำหรับคนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม  ( จับทุกคน )

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เดินทางพบพี่เลี้ยงปรึกษา เรื่อง
  • มีการแบ่งกลุ่ม  7  กลุ่ม
  • แต่ละกลุ่มช่วยกันคิด กีฬาพื้นบ้าน
  • การแข่งขันกีฬาโดยแต่ละกลุ่ม  ทั้ง  7  กลุ่ม
  • ช่างน้ำหนักและวัดรอบเอว ทั้ง  14  คน
  • มีการจับของขวัญเล็กๆ น้อยๆ เพื่อปลอบใจสำหรับคนที่มาเข้าร่วม  ( จับทุกคน )

 

3 3

9. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 7 เพื่อวางแผนการจัดงานกีฬาสัมพันธ์พื้นบ้าน ม.2 ตำบลละงู

วันที่ 22 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้คนทั้ง  14  ตระกูลและคนในชุมชนสนิทกันมากขึ้นและคนในชุมชนมีความรู้ในการจัดการตนเองและสามารถนำไปดูแลญาติของตนเองได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-  มีการนำเสนอการรณรงค์ของแต่ละกลุ่ม

-  ได้กีฬา ทั้งหมด  5  อย่าง คือ

              1.      ตีกบมะเขือ

              2.      วิ่งซุปเปอร์แมน

              3.      ตักน้ำใส่ขวด

              4.      อุ้มลูกตามผัว

              5.      ส่งบอลด้วยหัว           โดยกีฬาแต่ละอย่าง จะมีกฏกติกา  ซึ่งจะอธิบายในวันทำกิจกรรม -          มีกรรมการตัดสินกีฬา  จำนวน  10 คน

-          มีผู้ดำเนินกิจกรรมการแข่งขันกีฬา  จำนวน  2  คน

            * การตัดสินกีฬาแต่ละอย่าง  จะตัดสินแบบ นับคะแนนรวมเป็นทีม 3  ทีมแรกที่ชนะ  จะได้รางวัลตามลำดับ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.      ประสานกลุ่มเป้าหมาย

2.      มีการรณรงค์กีฬาวัฒนธรรมเชื่อมความสัมพันธ์ชุมชน

3.      จัดกิจกรรมโดยการเน้นกีฬาพื้นบ้านโดย  14  ตระกูลเป็นหลัก

กิจกรรมที่ทำจริง

  • มีผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน  30  คน  มาประชุมร่วมกันเพื่อปรึกษาการจัดงานกีฬาสัมพันธ์พื้นบ้าน

  • ผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอกีฬาเพื่อมาแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ว่า กีฬาประเภทไหนบ้างที่สามารถเล่นร่วมกันได้ทุกวัย

  • ทั้ง  7  กลุ่มต้องหากลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชน  เพิ่ม อย่างน้อย กลุ่มละ  10-15 คน

 

50 22

10. จัดงานเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ 13 ตระกูลด้วยกีฬาวัฒนธรรมพื้นบ้าน

วันที่ 28 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ชุมชน14  ตระกูลและกลุ่มเยาวชนมีสัมพันธภาพที่ดีมีการร่วมมือการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • หลังจากการแข่งขันกีฬา ทั้ง 7กลุ่ม สรุปการแข่งขันกีฬาทุกประเภท สรุปว่า สีส้ม สีแดง และสีเหลือง ตามลำดับ      ชนะ ในการแข่งขันจะสรุปแบบ กลุมไหนที่ชนะการแข่งขันมากกว่า ชนะ และ ได้รางวัล 1,2,3, และมีรางวัลชมเชย     ส่วนเรื่องที่ ทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะมีการชั่งน้ำหนัก และวัดรอบเอว 3 คนแรกจะได้รางวัล เพราะเขามีการปรับเปลี่ยนและมีความพยายาม คนที่ 1. คือ นางรอกีฉ๊ะ ม้องพร้า 2.เสานีย์ 3.วิจิตรา ซึงจาการดำเนินกิจกรรมกีฬาสร้างความสัมพันธ์นี้ทำให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและมีความสัมพันธืกันในชุมชนมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย  150  คน
  2. ช่วยกันรณรงค์กีฬาพื้นบ้านและวัฒนธรรมสัมพันธ์ของคนในชุมชน
  3. จัดกิจกรรมโดยเน้นกีฬาพื้นบ้าน
  4. เพิ่มกลุ่มเป้าหมายโดยเน้นเด็กและกลุ่มเยาวชน
  5. ในการจัดกิจกรรมวันแรกจะเป็นการแบ่งเป็นกลุ่ม โดยจะเอากลุ่มเดิม  ทั้ง  7  กลุ่ม  กลุ่มละ  2  ตระกูล  มาร่วมกันคิดและร่วมกันทำเกี่ยวกับการรณรงค์ กีฬาวัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยจะร่วมกันคิดว่าควรทำอย่างไรให้คนในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมครั้งนี้
  6. ในการแข่งขันกีฬาทุกอย่าง จะมีรางวัลสำหรับ  3  ทีมแรก
  7. จากเวทีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ซึ่งเราจะทำกิจกรรมมาต่อในเวทีนีี้  ก็คือ  จะให้ทั้ง  7 กลุ่มส่งตัวแทนอาสาสมัคร กลุ่มละ 2  คนโดยใช้วิธีการ คือ  ช่างน้ำหนักและวัดรอบเอว ทั้ง  14  คนหากคนใดสามารลดหรือมีการปรับเปลียน  3  คนแรกจะมีรางวัลเพราะเขามีความกระตือรือร้นให้กับตนเองในการดูแลสุขภาพ  และจะใช้วิธีเดิมจากเวทีที่ผ่านมา

    *    ในกิจกรรมวันนั้นจะมีการจับของขวัญเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจสำหรับคนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม  ( จับทุกคน )

กิจกรรมที่ทำจริง

  • มีผู้มาเข้าร่วมกิจกรรม  จำนวน  150  คน  มีทั้งกลุ่มแกนนำชุมชน กลุ่มเด็กและกลุ่มแกนนำเยาวชน  กิจกรรมที่ทำวันนี้ก็คือ ให้กลุ่ม  ทั้ง  7  กลุ่ม  นั่งกันเป็นกลุ่มๆ และร่วมกันคิดเกี่ยวกับการรณรงค์กีฬาพื้นบ้านโดยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดวิธีรณรงค์ และแต่ละกลุ่มจะต้องไม่เหมือนกันและ ออกมานำเสนอแลกเปลี่ยนกันของแต่ละกลุ่ม

  • จัดกิจกรรมโดยเน้นกีฬาพื้นบ้านการละเล่นต่างๆ  โดย  14  ตระกูลเป็นหลัก  หรือแบ่งแล้ว  คือ  7  กลุ่ม  แต่ละกลุ่มมีคนในชุมชนที่ เพิ่มจำนวนกลุ่มละ  10- 15 คน

  • ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนในการแข่งขันกีฬาแต่ละอย่าง  แต่ชื่อต้องไม่ซ้ำ ในการลงแข่งขันกีฬาทุกประเภท

  • ทั้ง  7  กลุ่ม จะใส่เสื้อ  7  สี  จะไม่เหมือนกัน  (จับฉลากสีเสื้อวันประชุม)  มี สีส้ม    สีเหลือง    สีชมพู    สีแดง      สีน้ำเงิน      สีเขียว        สีม่วง    สีละ  15  คน

  • กรรมการใส่ สีฟ้า  จำนวน  10  คน และกีฬาที่ใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ประกอบด้วย

  1. ตีกบมะเขือ ทีมละ    2  คน

  2. ตักน้ำใส่ขวด ทีมละ    5  คน

  3. อุ้มลูกตามผัว ทีมละ    5  คน

  4. วิ่งซุปเปอร์แมน ทีมละ  5  คน

  5. ส่งบอลด้วยหัว  ทีมละ  4  คน

- หลังจากแข่งขัน  ได้มีการแข่งขันลดน้ำหนักจากเวทีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  มีการช่างน้ำหนัก และวัดรอบเอวเหมือนเดิม  รางวัลจะได้  3  คนแรกที่มีการปรับเปลี่ยน และกิจกรรมสุดท้ายเป็นการจับของขวัญ  ( จับทุกคน )

 

150 150

11. สรุปผลหลังจากการจัดงานกีฬาสัมพันธ์พื้นบ้าน

วันที่ 30 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้คนในชุมชนมีคามรักสามัคคีในหมู่บ้าน และรักญาติตัวเองมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.  ได้จัดกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ของ 14  ตระกูล

      2.  คณะทำงานมีความสามัคคีกันมากขึ้น

      3.  คนแต่ละตระกูลรู้จักดูแลและจัดการญาติของตนเองมากขึ้น

      4.  คนในหมู่บ้านมีความรู้และสามารถจัดการตนเองเรื่องสุขภาพและการดูแลญาติของตนเองได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดกีฬาวัฒนธรรมพื้นบ้านของคนในหมู่บ้านทั้ง 14 ตระกูล แบ่งการแข่งขัน ออกเป็น 7 กลุ่ม  และการแข่งขันกีฬามีทั้งหมด 5 ประเภท และการแข่งขันก็สำเร็จและทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมก็ เกิดความสนุกสนานและให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี และทำให้กิจกรรมในวันนั้นลุล่วงไปอย่างดี

กิจกรรมที่ทำจริง

    นั่งคุยกับพี่เลี้ยงเรื่องการจัดกีฬา โดยมีผลสรุปที่ได้ก็คือ กิจกรรมการจัดกีฬาวัฒนธรรมพื้นบ้านทำให้คนในหมู่บ้าน มีความรักและความสามัคคี และจัดการญาติของตังเองได้ดีขึ้น ตามลำดับ

 

2 3

12. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 8 สรุปผลจากการจัดงานกีฬาสัมพันธ์ 13 ตระกูลด้วยกีฬาวัฒนธรรมพื้นบ้าน

วันที่ 31 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุปผลการจัดกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยให้คนทั้ง  14  ตระกูลและคนในชุมชนสนิทกันมากขึ้นและคนในชุมชนมีความรู้ในการจัดการตนเองและสามารถนำไปดูแลญาติของตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ความคาดหวังของสภาหมู่บ้าน

1.เกิดผู้นำร่วมและผู้นำแกนนำร่วมกัน

2.เรื่องสุขภาพดี

3.เรื่องความสะอาด

4.ความร่วมมือ

5.มีทุนที่เป็นเยาวชน และชรบ.

6.มีการประชุมอย่างต่อเนื่อง

และมีกลุ่มแกนนำ 7 ด้าน คือ

1.ด้านความมั่นคง/สังคม

2.ด้านสุขภาพ

3.ด้านสิ่งแวดล้อม

4.ด้านเยาวชน

5.ด้านเศรษฐกิจ/อาชีพ

6.ด้านศิลปะ/วัฒนธรรม/ภูมิปัญญา

7.ด้านกีฬา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.  ประสานทีมคณะทำงาน  จำนวน 30  คน

2.  ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องการทำสภา

3.  วางแผนงานและความคาดหวังในแต่ละด้านของชุมชน ม.2

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประสานคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน

  • มีคณะทำงานและแกนนำชุมชนมาเข้าร่วมประชุม โดยในวาระการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมเกี่ยวกับเรื่องของการทำสภาหมู่บ้านและความคาดหวังในชุมชน

  • มีการวางแผนร่วมกันในการจัดตั้งสภาหมู่บ้าน

  • มีข้อตกลงร่วมกันในการจัดตั้งกลุ่มเล็กๆ ของแต่ละด้านในชุมชน

 

50 30

13. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 9 เป็นการประชุมประจำเดือนของคณะทำงานในการขับเคลี่ยนของพื้นที่

วันที่ 1 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุปผลการจัดกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยให้คนทั้ง  14  ตระกูลและคนในชุมชนสนิทกันมากขึ้นและคนในชุมชนมีความรู้ในการจัดการตนเองและสามารถนำไปดูแลญาติของตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีประธาน และเลขานุการของแต่ละด้านและคณะกรรมการทั้ง 7 ด้าน

  • คณะทำงานแต่ละด้านรู้ถึงปัญหาและผลกระทบที่เป็นปัญหาร่วมในหมู่บ้าน

  • ได้ข้อมูลที่เป็นปัญหาร่วมที่ด้านความมั่นคง/สังคม จะต้องให้ความร่วมมือแก้ปัญหาร่วมกันกับด้านสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประสานคณะทำงานและแกนนำชุมชน

  • จัดตั้งรายชื่อของแต่ละด้าน ทั้ง7 ด้าน

  • ทำแผนงานบทบาทและหน้าที่ของแต่ละด้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

เป็นการประชุมการจัดแต่งตั้งสภาหมู่บ้าน ครั้งที่ 1

  • มีการแต่งตั้งประธาน และคณะกรรมการของแต่ละด้าน

  • มีการปรึกษาถึงบทบาทและหน้าที่ของแต่ละด้าน

  • ปรึกษาถึงปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันของแต่ละด้าน

 

50 30

14. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 10 ประชุมเตรียมงานถอดบทเรียนโครงการ

วันที่ 5 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุปผลการจัดกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยให้คนทั้ง  14  ตระกูลและคนในชุมชนสนิทกันมากขึ้นและคนในชุมชนมีความรู้ในการจัดการตนเองและสามารถนำไปดูแลญาติของตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีคณะสภาทั้ง 7 ทีม เข้าร่วมประชุมสภา

  • มีรูปทีมสภาทั้ง 7 ทีม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประสานทีมคณะสภาทั้ง 7 ด้าน

  • จัดกลุ่มแต่ละด้านเพื่อรวมทีมคณะถ่ายรูป ทั้ง 7 ด้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประสานงานสภาทั้ง 7 ด้าน

  • จัดกลุ่มแต่ละด้านเพื่อถ่ายรูปทั้ง 7 ทีม

 

50 30

15. ปรึกษาการวางแผนการจัดเวทีถอดบทเรียน

วันที่ 17 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อปรึกษาในการหาข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรมโครงการที่ผ่านมาทั้งหมดและร่วมการวางแผนการจัดเวทีการถอดบทเรียนโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีคำถามในกิจกรรมถอดบทเรียนและทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน

  2. ได้สถานที่ที่เหมาะสม

  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะเป็น

  • ทีมเด็กและเยาวชน

  • กลุ่มแกนนำอสม.

  • ทีมแกนนำคณะที่ลงเยี่ยมผู้ป่วย

และทีมคณะทำงานชุดเก่า

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ปรึกษาเพื่อตั้งโจทย์ในกิจกรรมถอดบทเรียน

  • ปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งคำถามแก่ทีมคณะทำงาน

  • ปรึกษาแนวทางในการทำกิจกรรมว่าจะเป็นในรูปแบบอย่างไร

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ช่วยกันปรึกษาและตั้งคำถามในเวทีถอดบทเรียน

  2. ปรึกษาเรื่องสถานที่ที่เหมาะสมและสะดวกในการเดินทาง

  3. ปรึกษาหารือเรื่องของกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมในเวทีถอดบทเรียน

 

3 3

16. ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาหมู่บ้าน

วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อต้องการให้โครงการได้เกิดสภาหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-  มีข้อมูลโครงสร้างของหมู่บ้าน ทั้ง 7 ด้าน  คือ

1.  ด้านความมั่นคง/สังคม

2.  ด้านสิ่งแวดล้อม

3.  ด้านเศรษฐกิ/อาชีพ

4.  ด้านเยาวชน

5.  ด้านศิลปะ/วัฒนธรรม/ภูมิปัญญาชาวบ้าน

6.  ด้านกีฬา

7.  ด้านสุขภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ปรึกษาและทำความเข้าใจว่าการทำสภาต้องทำแบบไหน อย่างไร

  • โครงสร้างของสภาควรมีใครบ้าง

  • ปรึกษาเรื่องกระบวนการทำงานของสภาและทิศทางในการทำงานควรจะไปในทิศทางไหน หรือรูปแบบไหน อย่างไร

กิจกรรมที่ทำจริง

  • หาข้อมูลแกนนำชุมชนในหมู่บ้านทุกภาคส่วน

  • รู้ว่าในชุมชนมีปัญหาอะไรบ้าง

  • ปรึกษาเพื่อหาข้อมูลต่างๆและวิธีแก้ไขปัญหา

 

3 3

17. ปรึกษาเกี่ยวกับการทำกิจกรรมถอดบทเรียน

วันที่ 10 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อต้องการให้กิจกรรมของโครงการได้มีข้อมูลที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีสถานที่ที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับเด็กและผู้ใหญ่

  • ได้เนื้อหาของการทำงานที่ผ่านมาทั้งหมด

  • มีเกมส์สันทนาการสำหรับเวทีถอดบทเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมว่าควรมีกิจกรรมอะไรบ้าง

  • ปรึกษาในเรื่องของสถานที่

  • ปรึกษาเรื่องกระบวนการในการจัดเวทีถอดบทเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • หาข้อมูลเกียวกับสถานที่ที่เหมาะสม และคณะทำงานเดินทางได้สะดวกและปลอดภัย

  • พูดคุยกับคณะทำงานและทบทวนเนื้อหาหรือกิจกรรมที่ทำมาทั้งหมด

  • จัดให้มีกิจกรรมสันทนาการเพื่อเป็นการผ่อนคลายและให้คณะทำงานได้มีความสนิทสนมระหว่างเยาวชนที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่ให้มากกว่าเดิม

 

3 3

18. สรุปผลการดำเนินงานทั้งหมด

วันที่ 13 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อทบทวนเนื้อหากิจกรรมของโครงการที่ทำมาทั้งหมด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สิ่งที่ได้จากการทำงานทั้งสิ่งที่ดีๆ/สิ่งที่ไมดีรวมถึงความรู้สึกของคณะทำงานทุกคน

ก่อนมาเข้ารวมทำโครงการ

  • กลัว

  • ไม่กล้าแสดงออก

  • ไม่เข้าใจกระบวนการ ( ปีแรก )

  • ไม่ได้รับความร่วมมือจากแกนนำชุมชน

  • ถ่ายรูปไม่เป็น

  • ไม่กล้าซักถาม

  • กลุ่มเป้าหมายไม่เชื่อถือในตัวโครงการ ว่าเป็นโครงการอะไร ของใคร มาจากไหน

  • โดนบังคับ กังวล เพราะเอาความคิดตนเองเป็นใหญ่

      หลังจากเข้าร่วมโครงการ

  สิ่งที่ดีๆ

  • เข้าใจมากขึ้นและนำข้อผิดพลาดมาพัฒนา ซึ่งได้รับความร่วมมือจากฝ่ายแกนนำหมู่บ้านเป็นอย่างดี

  • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และรู้ถึงปัญหาต่างๆในชุมชนเรื่องสุขภาพ

  • มีความสามัคคีระหว่างวัยเด็กและผู้ใหญ่และอยากให้เป็นอย่างนี้ตลอดไป

  • ได้ความรู้ และได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในหมู่บ้าน

  • ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ถูกวิธี

    สิ่งที่ไม่ดี

  • คณะทำงานไม่ตรงต่อเวลา

  • ในการลงไปเยี่ยมผู้ป่วยบางบ้านไม่ค่อยให้ความร่วมมือ

  • คนในชุมชนไม่เห็นถึงความสำคัญในเรื่องสุขภาพของตนเอง และญาติพี่น้อง

  • ด้านสังคมให้ความร่วมมือน้อย

  • มีความคิดที่แตกต่างระหว่างวัย ทำให้มีช่องว่างและมีปากเสียงกัน

    ปัญหา คือ

  • ไม่ตรงต่อเวลาในทีมคณะทำงานและการลงไปเยี่ยมผู้ป่วยบางคนไม่ให้ความร่วมมือ

  • ผู้ป่วยบางคน ถามว่า มีค่าตอบแทนให้เขาบ้างไหม

  • การประสานงานไค่อยทั่วถึง

  • ไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างวัย

    วิธีแก้ไขปัญหา

  • หากิจกรรมที่สามารถให้เด็กและผู้ใหญ่ทำกิจกรรมร่วมกันได้

  • มีการนัดประชุมกันให้ตรงวันหยุดเพื่อมาปรึกษา และวางแผนการทำงานร่วมกัน

  • อาจจะสร้างกลุ่ม ทางอินเตอร์เน็ต เช่น กลุ่ม Line / Face book เพื่อง่ายกับการประสานงานกับ กลุ่มเยาวชน

  • คณะทำงานพูดคุยกับผู้ปาวยให้เข้าใจในแต่ละครั้งที่ลงไปเยี่ยม( มีของให้ เช่น นม และของที่ผู้ป่วยสามารถทานได้ ) เพราะคนที่ลงไปเยี่ยมมีความรู้สึกเป็นห่วงและอยากให้ชุมชนมีสุขภาพจิตและร่างกายที่แข็งแรง

    ข้อเสนอแนะ

  • อยากให้ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมของ สสส. เพิ่มขึ้น เพราะเป็นโครงการที่ดีกับตนเองและญาติพี่น้อง

  • ควรจะมีการสร้างกลุ่มทาง  Line

  • มีวิทยากรที่สามารถทำกิจกรรมสันทนาการให้เยอะกว่านี้

  • อยากให้มีการทำเสื้อทีม คณะทำงาน (ไม่มีงบประมาณ)

  • อยากให้มีคณะทำงานที่เป็นเยาวชน ชาย ให้เยอะกว่านี้

  • อยากให้มีการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนระหว่างหมู่บ้านใกล้เคียง

  • อยากให้เพิ่มตระกูลในชุมชน เพราะเป็นชุมชนขนดใหญ่

  • อยากให้มีศูนย์เรียนรู้สุขภาพในชุมชนและมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยหนุนเสริม

      คำถามที่ถามคณะทำงานทุกๆคน  อยากทำโครงการต่อหรือไม่ ทำอย่างไร

  • โครงการที่ดีๆแบบนี้ควรจะสนับสนุนต่อให้ชัดเจน และเข้มแข็งกว่านี้

  • อยากให้ส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีอชีพและรายได้ที่มั่นคงรวมถึงการออกกำลังกายมากขึ้น

  ***ความฝัน ของ คณะทำงาน  ( ฝันนี้คงเป็นจริง หากได้รับการสนัสนุนจาก สสส. ) ขอบคุณค่ะ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งหมด

  • พูดคุยเกี่ยวกับการทำงานว่าทำในรูปแบบไหน ทำอย่างไร

  • คณะทำงานรู้ข้อมูลโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของแต่ละด้านในชุมชนรวมถึงกระบวนการทำงาน

  • สิ่งที่ได้รับจากการทำงาน สิ่งที่ดีๆ/สิ่งที่ไมดี/ความรู้สึกของแต่ละคน

  • ข้อเสนอแนะและปัญหาในการทำงาน/วิธีแก้ไข 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. นำเสอผลการทำงานทั้งหมด

  2. มีการทำงานกันเป็นกลุ่มและชี้แจงเนื้อหาในการทำโครงการต่อยอดปีนี้เพื่อให้รู้ว่าชุมชน ม.2 มีปญหา คือ

  • เรื่องสุขภาพ

  • เรื่องโรคต่างๆทั้ง 14 ตระกูล

  • เรื่องญาติพี่น้องของแต่ละคนแต่ละตระกูล

  • คนในหมู่บ้านขาดความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง

  ซึ่งเป็นปัญหาของ กลุ่ม อสม.มาพูดคุยกัและคิดแก้ปัญหาร่วมกันและได้มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ คือ

  1. กลุ่มแกนนำ อสม.และกลุ่มเยาวชนมีข้อมูลผู้ป่วยและได้ลงไปเยี่ยมผู้ป่วย ทั้ง 14 ตระกูล

  2. ผญ./ผช. ให้ความช่วยเหลือดี

  3. สอ.บต.  ให้ความช่วยเหลือบางครั้ง

  4. คณะกรรมารหมู่บ้าน  ให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี

  5. ชรบ.  ช่วยอำนวยความสะดวกรวมถึงความปลอดภัยในชุมชน

  6. เยาวชน  ให้ความร่วมมือดีมาก

  7. ครู  จะช่วยเหลือในเรื่อง สถานที่จัดกิจกรรม

  8. โต๊ะอีหม่าม  ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของศาสนาและความเหมาะสมในเรื่องๆ

  9. รพ.สต.  ให้ความร่วมมือดีมาก

  10. อบต. ไม่ได้ประสานงาน ทีมไม่ได้เข้าร่วมทั้งหมด( เป็นบางครั้ง )

  11. ปราญ์ชชาวบ้าน  ปรึกษาดีและให้ความรู้เรื่องการดูแลตัวเองว่าควรปฏิบัติอย่างไร

 

50 50

19. ปรึกษาเพื่อสรุปหลังจากกิจกรรมถอดบทเรียน

วันที่ 29 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหาข้อสรุปหลังจากถอดบทเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีการสรุปเนื้อหาที่ผ่านมาทั้งหมดว่า  คณะทำงานได้ความรู้เรื่องของสุขภาพและการดูแลญาติพี่น้องตัวเอง

  2. เด็กและเยาวชนมีความสนใจในตัวโครงการ เพราะเป็นโครงการที่ดีและควรทำต่อ

  3. อยากให้มีตระกูลเพิ่มขึ้นในการทำกิจกรรม

  4. เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

  5. คนในหมู่บ้านมีความรู้และมีความสนิทสนมระหว่างวัยเด็ก และผู้ใหญ่ทำให้ไม่เกิดช่องว่างระหว่าวัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พูดคุยและปรึกษาหารือเพื่อสรุปกิจกรรมถอดบทเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สรุปเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง

  2. ข้อดี และข้อเสีย ของโครงการและแต่ละคนในการทำกิจกรรมาร่วมกัน

  3. มีข้อเสนอแนะอะไรบ้างที่ได้จากการทำกิจกรรม

 

3 3

20. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 11 เพื่อพูดคุยสรุปหลังจากกิจกรรมถอดบทเรียน

วันที่ 30 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตอบโจทย์ในกิจกรรมถอดบทเรียนที่ผ่านมาทั้งหมด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างวัยเด็กและผู้ใหญ่และเชื่อมความสัมพันธ์เพิ่มขึ้น

  2. เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

  3. อยากให้การประสานงานดีกว่านี้เกี่ยวกับการเดินทางมาประชุมโดยการประสานงานล่วงหน้าและหาเวลาที่ตรงกันเพราะ ไม่ตรงต่อเวลา

  4. อยากให้โครงการนี้ทำอย่างต่อเนื่อง

  5. เป็นโครงการที่ดีเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตัวเอง และยาติพี่น้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประสานคณะทำงานที่เป็นแกนนำแต่ละด้าน

  2. หาผลสรุปหลังจากถอดบทเรียนว่าได้อะไรบ้าง

  3. มีคำถาม ให้แต่ละคนได้พูดถึงการทำโครงการร่วมกันที่ผ่านมาทั้งหมด

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. คณะทำงานได้นั่งคุยหลังจากกลับจากการทำกิจกรรมถอดบทเรียนว่าได้อะไรบ้าง

  2. การทำกิจกรรมถอดบทเรียนทุกคนมีความรู้สึกอย่างไร

  3. ข้อเสนอแนะของแต่ละคน

 

30 30

21. กิจกรรมปิดโครงการงวดที่ 2

วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อมาพพบพี่เลี้ยงในการปิดกิจกรรมโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • พี่เลี้ยงตรวจเอกสารเกี่ยวกับการเงิน

  • ได้ตรวจข้อมูลและเอกสารของโครงการจนสำเร็จ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เดินทางมาพบพี่เลี้ยงเพื่อปิดโครงการ ญาตืใครใครก็รัก (ต่อยอด) ม.2 บ้านปากละงู

  • ตรวจเอการการทำกิจกรรมที่ทำมาและค่าใช้จ่ายของแต่ละกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • พี่เลี้ยงจัดเรียบเรียงเอกสารทั้งหมดของโครงการ

  • พี่เลี้ยงจัดทำบัญชีตามกิจกรรมโครงการเกี่ยวกับข้อมูลของแต่ละกิจกรรมที่ทำมาทั้งหมด

 

2 2

22. ประชุมคณะทำงานโครงการครั้วที่ 12 เป็นการประชุมประจำเดือนของคณะทำงาน(สภาชุมชนหมู่ 2 บ้านปากละงู) เป็นการพูดคุยเพื่อขับเคลี่ยนงานด้านต่างๆในพื้นที่หมู่2 บ้านปากละงู

วันที่ 3 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อต้องการให้มีการขับเคลี่ยนและการทำงานของสภาชุมชนแต่ละฝ่าย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ประธาน รองประธาน เลขานุการ และกรรมการของแต่ละฝ่าย ครบทั้ง 7 ฝ่าย

  • สมาชิกทุกคนรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเอง

  • กลุ่มสมาชิกของแต่ละฝ่ายร่วมกันคิดและแก้ปัญหาร่วมกันได้

  • ในทุกๆเดือนหลังจากได้มีวาระการประชุม ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
    จะมีการแจ้งในทุกๆเรื่องกับสภาหมู่บ้านว่า แต่ละเดือนมีการประชุมเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งผ/ญ
    จะแจ้งในที่ประชุมสภาหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. รู้ถึงปัญหาของชุมชน

  2. แต่ละฝ่ายร่วมกันคิดหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน

  3. มีการแบ่งบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคนในแต่ละฝ่ายของกลุ่มสมาชิกสภาของหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานและกลุ่มสภานั่งพูดคุยและปรึกษาหารือร่วมกันว่า ตอนนี้ หมู่ 2 บ้านปากละงู
มีปัญหาเรื่องอะไรบ้างที่ กลุ่มสภาแต่ละฝ่ายจะต้องเข้ามาช่วยเหลือและแก้ปัญหาเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาได้ และมีการแบ่งบทบาทและหน้าที่ของกลุ่มสภาแต่ละด้าน คือ ประธาน รองประธาน เลขานุการ
และกรรมการของแต่ละด้าน เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ ทำให้หมู่บ้านของเรา มีสภาที่แก้ปัญหาร่วมกันได้

 

30 25

23. ล้างอัดขยายภาพ

วันที่ 5 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อต้องการภาพการจัดกิจกรรมโครงการแต่ละกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-  ได้ภาพที่ต้องการในการรวบรวมการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมเพื่อสรุปและปิดโครงการได้สมบูรณ์และมีเนื้อหาที่ชัดเจนมากขย่งขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  นำภาพทุกๆกิจกรรมที่ได้จัดโครงการ มาอัดขยายภาพเพื่อให้โครงการได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

กิจกรรมที่ทำจริง

  • มีการรวบรวมรูปภาพที่ทำมาทั้งหมดทุกกิจกรรมโครงการและนำมาล้างอัดขยายภาพเพื่อให้โครงการที่ทำสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

 

3 3

24. ถอนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 6 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อถอนเงินที่เปิดบัญชีธนาคารออกจากบัญชีโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-  ถอนเงินออกจากบัญชีธนาคาร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ถอนเงินเปิดบัญชีจากธนาคารไทยพาณิชย์

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ถอนเงินออกจากบัญชีธนาคาร

 

2 2

25. สรุปงานจากการปิดกิจกรรมโครงการ

วันที่ 7 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อต้องการให้โครงการได้สำเร็จลุล่วงและสมบูรณ์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีเอกสารครบทุกกิจกรรม

  • ได้เนื้อหาของกิจกรรมที่ทำโครงการ คือ การลงไปเยี่ยมผู้ป่วย ทั้ง 14 ตระกูล ( อาจจะมีตระกูลเพิ่มขึ้นในหมู่บ้านเพิ่มขึ้น )

  • มีเอกสารของกิจกรรมครบถ้วนและสมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-  นำข้อมูลและเอกสารทุกอย่างที่ได้จากการทำกิจกรรมโครงการ เช่น เอกสารข้อมูลโครงการ เอกสารการเงิน เพื่อนำมาจัดรวบรวมให้เสร็จสมบูรณ์

กิจกรรมที่ทำจริง

  • มีเอกสารข้อมูลครบทุกกิจกรรม และนำมาแยกเอกสาร แต่ละกิจกรรม

  • พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของแต่ละกิจกรรมว่า แต่ละกิจกรรมค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

  • จัดรวบรวมเอกสารของกิจกรรมทั้งหมด

 

5 5

26. จัดทำรายงานและรวบรวมรายงานฉบับสมบูรณ์ทั้งหมด

วันที่ 8 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อต้องการให้ข้อมูลและเนื้อหาของกิจกรรมโครงการทั้งหมดได้สำเร็จและสมบูรณ์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง


- มีข้อมูลและเนื้อหาแต่ละกิจกรรมทั้งหมดของโครงการครบถ้วนสมบูรณ์

  • มีข้อมูลจิงเกี่ยวกับเอกสารการเงิน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำข้อมูลและเนื้อทั้งหมดของโครงการที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นั่งคุยและปรึกษากับพี่เลี้ยงในกิจกรรมที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และช่วยกันรวบรวมเนื้อหาทั้งหมดจนเสร็จ และรวมถึงการปรึกษาเกี่ยวกับเอกสารการเงินให้ถูกต้องครบถ้วนตามโครงการ แต่ละกิจกรรม

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 39 39                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 193,100.00 193,967.00                  
คุณภาพกิจกรรม 156 128                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  • คนในชุมชนส่วนใหญ่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการแต่ในแผนงานกิจกรรมมีกลุ่มเป้าหมายที่จำกัด

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางเจ๊ะหวัน บุหลงลี
ผู้รับผิดชอบโครงการ