แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 3

ชื่อโครงการ ญาติใคร ใครก็รัก ม.2 บ้านปากละงู (ต่อยอด)

ชุมชน ม.2 บ้านปากละงู ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

รหัสโครงการ 57-01459 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0859

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 3 จากเดือน พฤษภาคม 2558 ถึงเดือน มิถุนายน 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาหมู่บ้าน

วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อต้องการให้โครงการได้เกิดสภาหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-  มีข้อมูลโครงสร้างของหมู่บ้าน ทั้ง 7 ด้าน  คือ

1.  ด้านความมั่นคง/สังคม

2.  ด้านสิ่งแวดล้อม

3.  ด้านเศรษฐกิ/อาชีพ

4.  ด้านเยาวชน

5.  ด้านศิลปะ/วัฒนธรรม/ภูมิปัญญาชาวบ้าน

6.  ด้านกีฬา

7.  ด้านสุขภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ปรึกษาและทำความเข้าใจว่าการทำสภาต้องทำแบบไหน อย่างไร

  • โครงสร้างของสภาควรมีใครบ้าง

  • ปรึกษาเรื่องกระบวนการทำงานของสภาและทิศทางในการทำงานควรจะไปในทิศทางไหน หรือรูปแบบไหน อย่างไร

กิจกรรมที่ทำจริง

  • หาข้อมูลแกนนำชุมชนในหมู่บ้านทุกภาคส่วน

  • รู้ว่าในชุมชนมีปัญหาอะไรบ้าง

  • ปรึกษาเพื่อหาข้อมูลต่างๆและวิธีแก้ไขปัญหา

 

3 3

2. ปรึกษาเกี่ยวกับการทำกิจกรรมถอดบทเรียน

วันที่ 10 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อต้องการให้กิจกรรมของโครงการได้มีข้อมูลที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีสถานที่ที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับเด็กและผู้ใหญ่

  • ได้เนื้อหาของการทำงานที่ผ่านมาทั้งหมด

  • มีเกมส์สันทนาการสำหรับเวทีถอดบทเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมว่าควรมีกิจกรรมอะไรบ้าง

  • ปรึกษาในเรื่องของสถานที่

  • ปรึกษาเรื่องกระบวนการในการจัดเวทีถอดบทเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • หาข้อมูลเกียวกับสถานที่ที่เหมาะสม และคณะทำงานเดินทางได้สะดวกและปลอดภัย

  • พูดคุยกับคณะทำงานและทบทวนเนื้อหาหรือกิจกรรมที่ทำมาทั้งหมด

  • จัดให้มีกิจกรรมสันทนาการเพื่อเป็นการผ่อนคลายและให้คณะทำงานได้มีความสนิทสนมระหว่างเยาวชนที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่ให้มากกว่าเดิม

 

3 3

3. สรุปผลการดำเนินงานทั้งหมด

วันที่ 13 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อทบทวนเนื้อหากิจกรรมของโครงการที่ทำมาทั้งหมด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สิ่งที่ได้จากการทำงานทั้งสิ่งที่ดีๆ/สิ่งที่ไมดีรวมถึงความรู้สึกของคณะทำงานทุกคน

ก่อนมาเข้ารวมทำโครงการ

  • กลัว

  • ไม่กล้าแสดงออก

  • ไม่เข้าใจกระบวนการ ( ปีแรก )

  • ไม่ได้รับความร่วมมือจากแกนนำชุมชน

  • ถ่ายรูปไม่เป็น

  • ไม่กล้าซักถาม

  • กลุ่มเป้าหมายไม่เชื่อถือในตัวโครงการ ว่าเป็นโครงการอะไร ของใคร มาจากไหน

  • โดนบังคับ กังวล เพราะเอาความคิดตนเองเป็นใหญ่

      หลังจากเข้าร่วมโครงการ

  สิ่งที่ดีๆ

  • เข้าใจมากขึ้นและนำข้อผิดพลาดมาพัฒนา ซึ่งได้รับความร่วมมือจากฝ่ายแกนนำหมู่บ้านเป็นอย่างดี

  • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และรู้ถึงปัญหาต่างๆในชุมชนเรื่องสุขภาพ

  • มีความสามัคคีระหว่างวัยเด็กและผู้ใหญ่และอยากให้เป็นอย่างนี้ตลอดไป

  • ได้ความรู้ และได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในหมู่บ้าน

  • ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ถูกวิธี

    สิ่งที่ไม่ดี

  • คณะทำงานไม่ตรงต่อเวลา

  • ในการลงไปเยี่ยมผู้ป่วยบางบ้านไม่ค่อยให้ความร่วมมือ

  • คนในชุมชนไม่เห็นถึงความสำคัญในเรื่องสุขภาพของตนเอง และญาติพี่น้อง

  • ด้านสังคมให้ความร่วมมือน้อย

  • มีความคิดที่แตกต่างระหว่างวัย ทำให้มีช่องว่างและมีปากเสียงกัน

    ปัญหา คือ

  • ไม่ตรงต่อเวลาในทีมคณะทำงานและการลงไปเยี่ยมผู้ป่วยบางคนไม่ให้ความร่วมมือ

  • ผู้ป่วยบางคน ถามว่า มีค่าตอบแทนให้เขาบ้างไหม

  • การประสานงานไค่อยทั่วถึง

  • ไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างวัย

    วิธีแก้ไขปัญหา

  • หากิจกรรมที่สามารถให้เด็กและผู้ใหญ่ทำกิจกรรมร่วมกันได้

  • มีการนัดประชุมกันให้ตรงวันหยุดเพื่อมาปรึกษา และวางแผนการทำงานร่วมกัน

  • อาจจะสร้างกลุ่ม ทางอินเตอร์เน็ต เช่น กลุ่ม Line / Face book เพื่อง่ายกับการประสานงานกับ กลุ่มเยาวชน

  • คณะทำงานพูดคุยกับผู้ปาวยให้เข้าใจในแต่ละครั้งที่ลงไปเยี่ยม( มีของให้ เช่น นม และของที่ผู้ป่วยสามารถทานได้ ) เพราะคนที่ลงไปเยี่ยมมีความรู้สึกเป็นห่วงและอยากให้ชุมชนมีสุขภาพจิตและร่างกายที่แข็งแรง

    ข้อเสนอแนะ

  • อยากให้ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมของ สสส. เพิ่มขึ้น เพราะเป็นโครงการที่ดีกับตนเองและญาติพี่น้อง

  • ควรจะมีการสร้างกลุ่มทาง  Line

  • มีวิทยากรที่สามารถทำกิจกรรมสันทนาการให้เยอะกว่านี้

  • อยากให้มีการทำเสื้อทีม คณะทำงาน (ไม่มีงบประมาณ)

  • อยากให้มีคณะทำงานที่เป็นเยาวชน ชาย ให้เยอะกว่านี้

  • อยากให้มีการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนระหว่างหมู่บ้านใกล้เคียง

  • อยากให้เพิ่มตระกูลในชุมชน เพราะเป็นชุมชนขนดใหญ่

  • อยากให้มีศูนย์เรียนรู้สุขภาพในชุมชนและมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยหนุนเสริม

      คำถามที่ถามคณะทำงานทุกๆคน  อยากทำโครงการต่อหรือไม่ ทำอย่างไร

  • โครงการที่ดีๆแบบนี้ควรจะสนับสนุนต่อให้ชัดเจน และเข้มแข็งกว่านี้

  • อยากให้ส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีอชีพและรายได้ที่มั่นคงรวมถึงการออกกำลังกายมากขึ้น

  ***ความฝัน ของ คณะทำงาน  ( ฝันนี้คงเป็นจริง หากได้รับการสนัสนุนจาก สสส. ) ขอบคุณค่ะ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งหมด

  • พูดคุยเกี่ยวกับการทำงานว่าทำในรูปแบบไหน ทำอย่างไร

  • คณะทำงานรู้ข้อมูลโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของแต่ละด้านในชุมชนรวมถึงกระบวนการทำงาน

  • สิ่งที่ได้รับจากการทำงาน สิ่งที่ดีๆ/สิ่งที่ไมดี/ความรู้สึกของแต่ละคน

  • ข้อเสนอแนะและปัญหาในการทำงาน/วิธีแก้ไข 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. นำเสอผลการทำงานทั้งหมด

  2. มีการทำงานกันเป็นกลุ่มและชี้แจงเนื้อหาในการทำโครงการต่อยอดปีนี้เพื่อให้รู้ว่าชุมชน ม.2 มีปญหา คือ

  • เรื่องสุขภาพ

  • เรื่องโรคต่างๆทั้ง 14 ตระกูล

  • เรื่องญาติพี่น้องของแต่ละคนแต่ละตระกูล

  • คนในหมู่บ้านขาดความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง

  ซึ่งเป็นปัญหาของ กลุ่ม อสม.มาพูดคุยกัและคิดแก้ปัญหาร่วมกันและได้มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ คือ

  1. กลุ่มแกนนำ อสม.และกลุ่มเยาวชนมีข้อมูลผู้ป่วยและได้ลงไปเยี่ยมผู้ป่วย ทั้ง 14 ตระกูล

  2. ผญ./ผช. ให้ความช่วยเหลือดี

  3. สอ.บต.  ให้ความช่วยเหลือบางครั้ง

  4. คณะกรรมารหมู่บ้าน  ให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี

  5. ชรบ.  ช่วยอำนวยความสะดวกรวมถึงความปลอดภัยในชุมชน

  6. เยาวชน  ให้ความร่วมมือดีมาก

  7. ครู  จะช่วยเหลือในเรื่อง สถานที่จัดกิจกรรม

  8. โต๊ะอีหม่าม  ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของศาสนาและความเหมาะสมในเรื่องๆ

  9. รพ.สต.  ให้ความร่วมมือดีมาก

  10. อบต. ไม่ได้ประสานงาน ทีมไม่ได้เข้าร่วมทั้งหมด( เป็นบางครั้ง )

  11. ปราญ์ชชาวบ้าน  ปรึกษาดีและให้ความรู้เรื่องการดูแลตัวเองว่าควรปฏิบัติอย่างไร

 

50 50

4. ปรึกษาเพื่อสรุปหลังจากกิจกรรมถอดบทเรียน

วันที่ 29 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหาข้อสรุปหลังจากถอดบทเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีการสรุปเนื้อหาที่ผ่านมาทั้งหมดว่า  คณะทำงานได้ความรู้เรื่องของสุขภาพและการดูแลญาติพี่น้องตัวเอง

  2. เด็กและเยาวชนมีความสนใจในตัวโครงการ เพราะเป็นโครงการที่ดีและควรทำต่อ

  3. อยากให้มีตระกูลเพิ่มขึ้นในการทำกิจกรรม

  4. เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

  5. คนในหมู่บ้านมีความรู้และมีความสนิทสนมระหว่างวัยเด็ก และผู้ใหญ่ทำให้ไม่เกิดช่องว่างระหว่าวัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พูดคุยและปรึกษาหารือเพื่อสรุปกิจกรรมถอดบทเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สรุปเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง

  2. ข้อดี และข้อเสีย ของโครงการและแต่ละคนในการทำกิจกรรมาร่วมกัน

  3. มีข้อเสนอแนะอะไรบ้างที่ได้จากการทำกิจกรรม

 

3 3

5. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 11 เพื่อพูดคุยสรุปหลังจากกิจกรรมถอดบทเรียน

วันที่ 30 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตอบโจทย์ในกิจกรรมถอดบทเรียนที่ผ่านมาทั้งหมด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างวัยเด็กและผู้ใหญ่และเชื่อมความสัมพันธ์เพิ่มขึ้น

  2. เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

  3. อยากให้การประสานงานดีกว่านี้เกี่ยวกับการเดินทางมาประชุมโดยการประสานงานล่วงหน้าและหาเวลาที่ตรงกันเพราะ ไม่ตรงต่อเวลา

  4. อยากให้โครงการนี้ทำอย่างต่อเนื่อง

  5. เป็นโครงการที่ดีเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตัวเอง และยาติพี่น้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประสานคณะทำงานที่เป็นแกนนำแต่ละด้าน

  2. หาผลสรุปหลังจากถอดบทเรียนว่าได้อะไรบ้าง

  3. มีคำถาม ให้แต่ละคนได้พูดถึงการทำโครงการร่วมกันที่ผ่านมาทั้งหมด

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. คณะทำงานได้นั่งคุยหลังจากกลับจากการทำกิจกรรมถอดบทเรียนว่าได้อะไรบ้าง

  2. การทำกิจกรรมถอดบทเรียนทุกคนมีความรู้สึกอย่างไร

  3. ข้อเสนอแนะของแต่ละคน

 

30 30

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 39 0                    
การใช้จ่ายงบประมาณ 193,100.00 0.00                    
คุณภาพกิจกรรม 0                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางเจ๊ะหวัน บุหลงลี
ผู้รับผิดชอบโครงการ