ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อเตรียมความพร้อมการดูแลสุขภาพเครือญาติและกลุ่มเยาวชนติดยาเสพติดในชุมชน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ - ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนได้รับข้อมูลด้านสุขภาพและมีความเข้าใจการดูแลสุขภาพ เชิงคุณภาพ - มีความเข้าใจปัญหาสุขภาพและเกิดการดูแลสุขภาพกลุ่มเยาวชนติดยาเสพติด
  • เชิงปริมาณ

ร้อยละ 60 ของคนทั้ง 14 ตระกูลใหญ่ ในชุมชนหมู่ 2 รับรู้ข้อมูลจากการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ การกินและการบริโภคอาหารที่ถูกต้องและมีความรู้ความข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและญาติพี่น้องได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี

  • เชิงคุณภาพ

คณะทำงานและกลุ่มแกนนำเยาวชนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยในชุมชนและสามารถลงไปเยี่ยมผู้ป่วยและให้คำแนะนำในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี สามารถนำไปปฏิบัติต่อญาติของตนเองได้

2 2. เพื่อหนุนเสริมศักยภาพกลไกสุขภาพหมู่บ้าน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ - ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมจัดการสุขภาพ เชิงคุณภาพ - เกิดการมีส่วนร่วมและเกิดการบูรณาการทำงานร่วมกัน เนื่องจากเห็นแผนงานภาพรวมทั้งหมด - มีกลไกหมู่บ้านสุขภาพ - ชุมชนเกิดการจัดการตนเองในการดูแลสุขภาพ
  • เชิงปริมาณ

คณะทำงานและกลุ่มแกนนำเยาวชนรวมทั้ง คนในชุมชนทั้ง 14 ตระกูลใหญ่ๆ ในชุมชนหมู่ 2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน มีการลงไปเยี่ยมผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังและสามารถปฏิบัติและให้คำแนะนำในโรคที่เป็นอยู่ และยังนำไปปฏิบัติต่อญาติของตนเองด้วย

  • เชิงคุณภาพ

คณะทำงานทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่มีการทำงานร่วมกันโดยไม่เกิดการมีช่องว่างระหว่างวัยเด็ก และวัยผู้ใหญ่ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดี มีความสนิทสนมและมีความรักและความสามัคคีในการทำงานร่วมกันของทีมคณะทำงานของโครงการ - มีกลไกหมู่บ้านสุขภาพ คือ คณะทำงานและแกนนำเยาวชน รู้จักดูแลสุขภาพของตนเองในเรื่อง การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงการ ลด อาหารประเภท หวาน มัน เค็ม ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเกิดโรคในกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่เกิด และรณรงค์ให้คนออกกำลังกาย โดยจะมีวิธีก็คือ ให้คนในชุมชนจัดการตนเองและญาติของตนเองและนำเอาความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อชุมชนจะได้มีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

3 เพื่อพัฒนาคนรุ่นใหม่และกลไกสุขภาพหมู่บ้าน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ - มีทีมแกนนำรุ่นใหม่ (กลุ่มเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและอาสาสมัครเก่า) และมีทีมใหม่รวม 50 คน เชิงคุณภาพ - สามารถเก็บข้อมูล บันทึกข้อมูลและลงเยี่ยมบ้านทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น - จะมีการเกิดมิติใหม่กับคนรุ่นใหม่ต่อยอดจากงานเก่าและงานใหม่ - ชุมชนได้ข้อมูลคืนจากการทำงานของงานที่ได้ทำทั้งหมด - เกิดอาสาสมัครใหม่ในการดูแลสุขภาพหมู่บ้าน - เยาวชนกลุ่มติดยาเสพติดหันมาสนใจสุขภาพและการดูแลตนเอง

เชิงปริมาณ

  • มีคณะทำงานรุ่นเก่า 30 คนที่เป็นกลุ่มแกนนำเด็กและเยาวชน และมีทีมใหม่เป็นเด็กและเยาวชน จำนวน 20 คน

เชิงคุณภาพ

  • มีข้อมูลของผู้ป่วยทั้ง 14 ตระกูล ของคนในชุมชนหมู่ 2 และมีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยในการลงไปเยี่ยม ทั้ง 3 ครั้ง ทำให้เด็กมีจิตอาสาและจิตใจที่อ่อนโยนขึ้นและกล้าทำ กล้าพูด กล้าแสดงออก กับคนระหว่างวัย ทำให้เกิดความสนิทสนมกันมากขึ้น และยังทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจ และทำให้รู้สึกดีใจที่ญาติพี่น้องได้ไปเยี่ยม

  • ทำให้เด็กมีจิตใจที่อ่อนโยน และมีจิตอาสาเพิ่มขึ้น และรู้จักญาติตนเองเพิ่มมากขึ้น เพราะจากการลงไปเยี่ยมผู้ป่วยเด็กและเยาวชนรู้สึกกระตือรือร้นและมีความตั้งใจในการทำงานที่ตนเองได้รับมอบหมายได้สำเร็จ

  • สิ่งที่ได้จากการทำโครงการในครั้งนี้ ทำให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองและญาติของตนเองได้มากขึ้น จึงทำให้กลุ่มเยาวชนที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการเกิดความสนใจและอยากเข้าร่วมโครงการด้วย เพราะโครงการนี้เป็นโครงการที่คนทุกๆวัยสามารถมาทำร่วมกันได้ แต่เนื่องด้วย ชุมชนหมู่ 2 เป็นชุมชนขนาดใหญ่จึงทำให้เกิดช่องว่างเพียงเล็กน้อยแต่คนในชุมชนก็สามารถอยู่ร่วมกันได้และยังมีอีกหลายกลุ่มในชุมชนที่สนใจในการเข้าร่วมโครงการนี้และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะเป็นโครงการที่ดีและทำให้ชุมชนของเราน่าอยู่มากยิ่งขึ้น หากทุกคนหันมาสนใจในสุขภาพกันมากขึ้นกว่าเดิม

4 - เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมิณผลโครงการ
ตัวชี้วัด : - จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมสสส.และสจรส.
  • คณะทำงานให้ความสนใจในเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อเตรียมความพร้อมการดูแลสุขภาพเครือญาติและกลุ่มเยาวชนติดยาเสพติดในชุมชน (2) 2. เพื่อหนุนเสริมศักยภาพกลไกสุขภาพหมู่บ้าน (3) เพื่อพัฒนาคนรุ่นใหม่และกลไกสุขภาพหมู่บ้าน (4) -  เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมิณผลโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh