ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ:เกิดกลไกสภาชุมชนบ้านปลักแรดที่สามารถขับเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหา พัฒนาชุมชนของตนเองโดยมีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง รวม 12 ครั้ง เชิงคุณภาพ:.กลไกคณะทำงานมีส่วนร่วมในการกำหนด ออกแบบ สำรวจและได้รับรู้สถานการณ์ปัญหาเด็กโดยตรง เข้าใจปัญหาว่ามีอยู่อย่างไร รู้ช่องทางที่จะแก้ไขปัญหา เกิดความสัมพันธ์ต่อกัน

ในการจัดทำโครงการได้มีการจัดการประชุมเดือนละหนึ่งครั้งคือทุกวันที่15ของเดือนรวมการประชุมทั้งหมด12ครั้ง ในแต่ละครั้งของการประชุมมีหน่วยงานจากทางราชการเข้าร่วมด้วยเช่นเจ้าหน้าที่จากเกษตรอำเภอ จากองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิร่มไทร คณะครู ร.ร.สมาคมเลขานุการสตรี3 สมาชิกอบต. ผู้ใหญ่บ้าน อิหม่าม ตลอดจนประชาชนและเยาวชนในหมู่บ้าน ซึ่งในการประชุมแต่ละครั้งได้มีการขับเคลื่อนโครงการในเรื่องของการปฏิบัติงาน การดำเนินโครงการ การติดตามผลการทำงาน การป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆในชุมชน ให้ประชาชนและเยาวชนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้ในชุมชนโดยไม่เกิดปัญหาและเกิดความรักความสามัคคีในชุมชน

2 เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดการชุมชน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ:1.เยาวชนได้ร่วมกิจกรรมจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์เด็กเยาวชน 2.-ร้อยละ 60 ของเยาวชนและครัวเรือนในชุมชนหมู่ 5 บ้านปลักแรด หันมามีส่วนร่วมทำกิจกรรมร่วมกันผ่านการทำดินพร้อมปลูก เชิงคุณภาพ:1.ทำให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปรับทัศนคติ เกิดความเข้าใจระหว่างพ่อแม่ลูก 2.ครอบครัวพ่อ แม่ ลูก และคนในชุมชนร่วมกันหันมาพัฒนาชุมชนผ่านกิจกรรม

เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการให้ความร่วมมือกับโครงการเป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ปกครองให้ความรร่วมมือกับโครงการและการให้ความสำคัญกับโครงการทำให้เยาวชนเกิดความมั่นใจในการจัดทำกิจกรรมในแต่ละครั้งจึงก่อให้เกิดความร่วมมือกันในการทำกิจกรรมและกิจกรรมสามารถผ่านไปได้ด้วยดี ในส่วนของโครงการการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์และการปลูกผักปลอดสารพิษนั้นกิจกรรมสามารถผ่านไปด้วยดี ปุ๋ยที่ได้จากการรวมกลุ่มนำมาใช้ได้ในชุมชนบางส่วนนำออกจำหน่ายให้หมู่บ้านใกล้เคียงในส่วนของผักปลอดสารพิษสามารถนำมาจำหน่ายในชุมชนและบางส่วนมีการรวมกลุ่มกันจำหน่ายให้กับแม่ค้าเพื่อนำไปส่งต่อกับตลาดใกล้เคียงต่อไป จากการร่วมกันทำกิจกรรมทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้นมีความรักความสามัคคีเยาวชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสามารถหารายได้ให้กับตนเองทำให้มีกำลังใจในการเข้าร่วนกันทำกิจกรรม และกิจกรรมโครงการสามารถผ่านไปได้ด้วยดี

3 เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและหนุนให้เกิดกติกาชุมชน ม.5 ปลักแรด
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ:ร้อยละ 60 ของเยาวชนและประชาชนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อกำหนดระเบียบ กติการ่วมกัน เชิงคุณภาพ:คนในชุมชนปฏิบัติตามกฏระเบียบการของหมู่บ้านที่กำหนดมีความสุขที่ยั่งยืน

ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนและให้ความสนใจในการร่วมมือกันกำหนดกติกาของชุมชนซึ่งเป็นสิ่งที่ชุมชนอยากให้มีและเกิดขึ้นจริงในชุมชน ทุกคนจึงร่วมกันกำหนดระเบียบของชุมชนที่พอจะปฏิบัติกันได้เพื่อความสงบสุขของชุมชนทั้งยังช่วยให้เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้รับความสนใจมากขึ้นโดยจัดให้มีการลาดตระเวนและการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงในชุมชนคือบริเวณสี่แยกบ้านปลักแรดซึ่งเป็นแหล่งมั่วสุมของกลุ่มวัยรุ่น จากการร่วมกันกำหนดระเบียบชุมชนในครั้งนี้กลุ่มเยาวชนให้ความสนใจกิจกรรมครั้งนี้มากทำให้โครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

4 เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. สจรส.

ได้เข้าร่วมโครงการทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน (2) เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดการชุมชน (3) เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและหนุนให้เกิดกติกาชุมชน ม.5 ปลักแรด (4) เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh