แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ บ้านป่าไหม้ร่วมใจนำป่าสาคูสร้างสุข

ชุมชน ชุมชน (วัด, หมู่บ้าน)

รหัสโครงการ 57-01464 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0857

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2557 ถึงเดือน ตุลาคม 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศน์

วันที่ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานโครงการ การติดตามสนับสนุนโครงการร่วมส้างสุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาใต้และพัฒนาต่อยอด โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พื้นที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการจัดทำกิจกรรม การรรายงาน การเก็บข้อมูล การเก็บเอกสาร และกระบวนการทำกิจกรรมให้สามารถประสบความสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามที่ได้วางเอาไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เรียนรู้การทำโครงการ และการสนับสนุนโครงการและการต่อยอด รายละเอียดกิจกรรมตามแผน แนวทางการดำเนินงานโครงการและติดตาม สนับสุนโครงการ และการพัฒยาต่อบอด

กิจกรรมที่ทำจริง

เรียนรู้แนวทางการดำเนินงานโครงการ การทำบัญชี การลงเว็บไซด์happynetwork.org การลงบัญชีเงินสดประจำวัน

 

2 2

2. จัดประชุมผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อชี้แจงการดำเนินงาน

วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้เเจงกิจกรรม 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดีและพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมไปด้วยกัน
ได้รับความรู้จากวิทยากรและแลกเปลี่ยนความคิดและแนวทางต่างๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการงบประมาณของโครงการเพื่อเปิดรับสมัครกลุ่มเป้าหมายประมาณ 20 คน ก่อนหน้านี้มีอยู่แล้ว 10 คน รวมเป็น 30 คน โดยมีกติกาและข้อตกลงเบื้องต้นเช่น เป็นผู้ทีเลิกบุหรี่และสุราผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง จะได้รับการพิจารณาก่อน และทุกท่านที่เข้าร่วมโครงการ ต้องมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนทุกคนของผู้เข้าร่วมโครงการและประโยชน์ของการจัดตั้งกลุ่มเพาะด้วงสาคูเป็น 10 กลุ่ม กลุ่มละ 10 หลังคาเรือน ตามละแวกของชุมชนโดยกำหนดให้มีแกนนำหมู่บ้านและร่วมกันตั้งกฎกติกาของหมู่บ้านในเรื่องการอนุรักษ์ป่าสาคู เป็นหัวหน้ากลุ่มกำหนดกติกาให้โครงการจัดเวทีร่วมกับคนที่เพาะด้วงสาสาคูอยู่แล้วเพื่อรับรู้ไปพร้อมๆ กัน และร่วมช่วยกันแก้ปัญหามีวิทยากรที่มีความรู้มาถ่ายทอดตามบริบทของชุมชนเรื่องประโยชน์ของป่าสาคู และการนำสาคูมาสร้างอาชีพเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างรายได้แก่ครัวเรือน 3.เมื่อตกลงกติกาคัดเลือกได้แล้วให้มีคณะกรรการดำเนินการคัดเลือกและให้คณะกรรมการติดตามประเมินผลและนำมารายงานคณะกรรมการโคงการอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน วันที่ 10

กิจกรรมที่ทำจริง

  • มอบหมายภารกิจตามความถนัดและสมัครใจ
  • กำหนดแกนนำ ประชุมชึ้เเจงโครงการหากลุ่มเป้าหมายในเวทีประชาคมหมู่บ้าน
  • รับสมัครผู้สูงอายุเลิกเหล้า-เลิกบุหรี เพื่อเรียนรู้ไปพร้อมกัน

 

100 100

3. ประชุมทีมคณะกรรมการเพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ

วันที่ 20 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้สมาชิกเข้าใจในการเพาะด้วงสาคู

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พื้นที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการจัดทำกิจกรรม การรรายงาน การเก็บข้อมูล การเก็บเอกสาร และกระบวนการทำกิจกรรมให้สามารถประสบความสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามที่ได้วางเอาไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมทีมคณะกรรมการเพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการวัตถุประสงค์ระเบียบเพื่อทำความเข้าใจและขอความร่วมมือหาผู้สมัครเข้าร่วมโครงการเพาะด้วงสาคู

กิจกรรมที่ทำจริง

มอบหมายภารกิจตามความถนัดและสมัครใจ กำหนดแกนนำ

 

20 20

4. อาสาสมัครเยาวชนลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครัวเรือน

วันที่ 9 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อใก้ทราบถึงการจัดทำบัญชีครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้เข้าใจเกี่ยวกับระบบบัญชีครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

อาสาสมัครเยาวชนลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครัวเรือนด้าน รายรับ-รายจ่าย หนี้สิน แผนที่ทรัพยากรต้นสาคูจำนวน 10 คน -ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูล หาสาเหตูของปัญหากับกลุ่มเพาะเลี้ยงด้วงสาคู กลุ่มจักสานต่างๆในพื้นที่ และปราชญ์ชาวบ้านด้านต่างๆ คนเฒ่าคนแก่เพื่อเล่าเรื่องราวและช่วยกันรวบรวมข้อมูลประโยชน์ของสาคูและวิธีการนำสาคูมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ และการร่วมกันดูแล ควบคุมปริมาณต้นสาคูไม่ให้ทำลายพื้นที่ จากปริมาณที่มากเกินไปจนควบคุมไม่ได้ -ประชาสัมพันธ์ประโชน์ป่าสาคู เพื่อสร้างกลยุทธ์กระแสการตลาดเชิงสังคม นำสาคูมาประกอบอาชีพ

กิจกรรมที่ทำจริง

สำรวจข้อมูลครัวเรือน ด้านรายรับ - รายจ่าย หนี้สิน

 

10 30

5. จัดประชุมและรับอาสมัครในชุมชนที่สนใจเข้าร่วมกลุ่มเรียนรู้

วันที่ 23 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้ประโยชน์จากป่าสาคู

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทำให้ป่าสาคูไม่สูญพันธ์ และครในกลุ่มมีความรัก ความสมัคคีกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมและรับอาสมัครในชุมชนที่สนใจเข้าร่วมกลุ่มเรียนรู้ประโยชน์จากป่าสาคู โดยการประชาสัมพันธ์และการบอกต่อและชักชวนกัน ซึ่งกลุ่มต่างๆที่รวมตัวกันตามบริบทของบ้านเรือนความถนัดของตนเองในรูปแบบต่างๆ จากนั้นสำรวจและจัดกลุ่มที่คล้ายๆกันมาร่วมกลุ่มกัน เช่น กลุ่มทำเสื่อและเย็บจากสาคู กลุ่มทำขนมจาก กลุ่มเพาะด้วง และกลุ่มที่ใช้พื้นที่ร่มรื่นที่สามารถปรับพื้นที่เป็นโอมสเตย์ เป็นต้น เพื่อเป็นจุดเรียนรู้ประโยชน์ป่าสาคู แก่ผู้สนใจ -ร่วมลงแขกปรับพื้นที่ของสมาชิกแต่ละกลุ่มโดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันวันละ 1 กลุ่มจำนวน 10 วัน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชาสัมพันธ์และการบอกต่อและชักชวนกัน ซึ่งกลุ่มต่างๆ ที่รวมตัวกันตามบริบทของบ้านเรือนความถนัดของตนเอง เพื่อเป็นจุดเรียนรู้ประโยชน์ของป่าสาคูแก่ผู้สนใจ ร่วมลงแขกปรับพื้นที่ของสมาชิกของแต่ละกลุ่มโดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันวันละ 1 กลุ่ม กลุ่มละ 10 วัน

 

100 100

6. เขียนโครงการนำเสนอไปยังเทศบาลตำบลท่างิ้วและสถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช

วันที่ 13 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำการวิจัยประโยชน์ของด้วงสาคู

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เพื่อได้เรียนรู้ประโยชน์ของด้วงสาคูและได้มีความรู้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เขียนโครงการนำเสนอไปยังเทศบาลตำบลท่างิ้วและสถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช เพื่อที่จะให้ทางสถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช มาทำการวิจัยประโยชน์ของด้วงสาคู

กิจกรรมที่ทำจริง

เขียนโครงการเสนอไปยังเทศบาลตำบลท่างิ้วและสถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช

 

40 40

7. จัดเตรียมจัดหาจัดซื้อ อุปกรณ์การเพาะด้วงจัดสถานที่และจัดหาอุปกรณ์ในการเพาะด้วงสาคู

วันที่ 21 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ทราบถึงแนวปฎิบัติจริง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คนมาเรียนรู้มีวิทยากรในพื้นที่ เป็นผู้ถ่ายทอดและลงมือปฎิบัติกันจนเสร็จใช้เวลา 2 วัน จากนั้นแกนนำไปขยายผลตามกลุ่มบ้านเองเป็นการปฎบัติไปพร้อมกัน ช่วยกันแลกเปลี่ยนและฝึกการเป็นวิทยากรเพื่อไปสอนในกลุ่มบ้านตนเองได้ แกนนำติดตามสนับสนุนให้กำลังใจช่วยชี้เเนะตัวแทนกลุ่มหมู่บ้านทำการเพาะด้วงได้ด้  ผู้มาร่วมมีความรู้เกี่ยวกับการเพาะด้วงสาคู และมั่นใจว่าสามารถนำไปทำที่บ้านได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเตรียมจัดหาจัดซื้อ อุปกรณ์การเพาะด้วงจัดสถานที่และจัดหาอุปกรณ์ในการเพาะด้วงสาคู เช่น กาละมังในการเพาะด้วง 400 ลูกและฝาปิดจำนวน 400 ฝา ทุกคนมาเรียนรู้มีวิทยากรในพื่นที่เป็นผู้ถ่ายทอดและลงมือปฎิบัติกันจนเสร็จใช้เวลา 2 วัน เริ่มปฎบัติการเพาะด้วงโดยการจัดหาสาคูแล้วเตรียมอุปกรณ์มาไว้ เช่น อาหารสุกร (หมูใหญ่) , กาละมังพร้อมฝาปิด , น้ำ , พ่อพันธ์หวัง, แม่พันธ์หวัง และ ส่วนผสมการเพาะด้วง ได้แก่- สาคู- อาหารสุกร - น้ำ- พ่อพันธ์หวัง , แม่พันธ์หวัง จากนั้นแกนนำไปขยายผลตามกลุ่มบ้านตนเองเป็นการปฎิบัติไปพร้อมกันช่วยกันแลกเปลี่ยนและ ฝึกการเป็นวิทยากรเพื่อไปสอนในกลุ่มบ้านตนเองได้ แกนนำติดตามสนับสนุนให้กำลังใจช่วยชี้แนะตัวแทนกลุ่มหมู่บ้านทำการเพาะด้วงสาคูได้

กิจกรรมที่ทำจริง

ทุกคนมาเรียนรู้มีวิทยากรในพื้นที่ เป็นผู้ถ่ายทอดและลงมือปฎิบัติกันจนเสร็จใช้เวลา 2 วัน จากนั้นแกนนำไปขยายผลตามกลุ่มบ้านเองเป็นการปฎบัติไปพร้อมกัน ช่วยกันแลกเปลี่ยนและฝึกการเป็นวิทยากรเพื่อไปสอนในกลุ่มบ้านตนเองได้ แกนนำติดตามสนับสนุนให้กำลังใจช่วยชี้เเนะตัวแทนกลุ่มหมู่บ้านทำการเพาะด้วงได้

 

40 40

8. จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

วันที่ 28 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดการกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ร่วมกันปฎิบัตินำสาคูอาหารสุกร (ใหญ่) กาละมัง ฝาปิด น้ำ ได้มาเรียนรู้ในการปฎิบัติและการผสม สาคู+อาหาร ตามสัดส่วน ของแต่ละอย่างที่มีไว้ ได้เข้าใจในการเพาะด้วงสาคู

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมปฎิบัตินำสาคูกาละมังละ ½ ตีบและอาหารสุกร กาละมังละ ½ กิโลกรัม มาผสมรวมกันแล้วใส่น้ำผสมให้เข้ากัน ให้สาคูกับอาหารให้เปียกพอประมาณทิ้งไว้ประมาน 1 ชม. เพื่อให้สาคูกับอาหารสุกรเข้ากันพอดี แล้วนำพ่อพันธ์หวังกับแม่พันธ์หวังมาใส่ในกาละมัง กาละมังละ 10 ตัว ตัวผู้ 5 ตัว ตัวเมีย 5 ตัว แล้วปิดฝาทิ้งไว้ แล้วนำของหนักๆ มาตั้งทับไว้บนกาละมัง เพื่อไม่ให้พ่อพันธ์แม่พันธ์หวัง บินออกมาข้างนอกกาละมังได้ ทิ้งไว้ประมาน 17 วัน แล้วมาเปิดฝากะละมังใหม่อีกครั้งเพื่อเพิ่มสาคูและอาหารร่วมปฎิบัตินำน้ำ,สาคู และอาหารสุกรมาผสมกันทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง แล้วนำไปเพิ่มกาละมังละ ½ กก. แล้วรอประมาณ 20 วัน แล้วเอาออกสู่ตลาด

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมปฎิบัตินำสาคูกาละมังละ ½ ตีบและอาหารสุกร กาละมังละ ½ กิโลกรัม มาผสมรวมกันแล้วใส่น้ำผสมให้เข้ากัน ให้สาคูกับอาหารให้เปียกพอประมาณทิ้งไว้ประมาน 1 ชม. เพื่อให้สาคูกับอาหารสุกรเข้ากันพอดี แล้วนำพ่อพันธ์หวังกับแม่พันธ์หวังมาใส่ในกาละมัง กาละมังละ 10 ตัว ตัวผู้ 5 ตัว ตัวเมีย 5 ตัว แล้วปิดฝาทิ้งไว้ แล้วนำของหนักๆ มาตั้งทับไว้บนกาละมัง เพื่อไม่ให้พ่อพันธ์แม่พันธ์หวัง บินออกมาข้างนอกกาละมังได้ ทิ้งไว้ประมาน 17 วัน แล้วมาเปิดฝากะละมังใหม่อีกครั้งเพื่อเพิ่มสาคูและอาหารร่วมปฎิบัตินำน้ำ,สาคู และอาหารสุกรมาผสมกันทิ้งไว้ 1ชั่วโมง แล้วนำไปเพิ่มกาละมังละ ½ กก. แล้วรอประมาณ 20 วัน แล้วเอาออกสู่ตลาด

 

40 40

9. เวทีเรียนรู้ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงาน งวดที่ 1

วันที่ 18 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนา ในการปิดงวด 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จัดทำรายงานงวด 1 ส่งให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ
  • แก้ไข เอกสารให้ถูกต้อง ครบถ้วน
  • บันทึกกิจกรรม ครบถ้วน
  • ได้ร่วมเรียนรู้ เข้าใจ และ ทำรายงานได้ถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สรุปเอกสารรายงานเป็นรายครั้งที่ทำกิจกรรม  ประกอบด้วยรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม หลักฐานเบิกจ่ายเงิน และรูปภาพการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

มาประชุม  สรุปเอกสาร ทั้งหมด ของงวดที่ 1
เพื่อทำการปิดงวด

 

3 2

10. ติดตามความก้าวหน้าโครงการครั้งที่ 1

วันที่ 18 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมพัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประเมินผลโครงการงวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากผลการดำเนินโครงการในงวดที่ 1 พบว่าโครงการบ้านป้าไหม้ สามารถดำเนินกิจกรรมไปได้ตามแผนงานและกิจกรรมที่กำหนด ยกเว้นด้านการศึกาาดูงานเรื่องการจัดการป่าสาคู ยังหาสถานที่ศึกาาดูงานไม่ได้ และได้ติดต่อไป ที่. ตรัง พบว่า เลิกกิจการไปแล้ว ส่วนกิจกรรมการฝึกปฎิบัติการเพาะด้วง สามารถดำเนินการให้ผู้ที่เข้าร่วมกลุ่มมีทักษา ความรู้และเข้าใจ สามารถนำไปเพาะด้วงสาคู้ได้ จำนวน อย่างน้อย 70 %  100 คน ส่วนที่เป็นจุดเด่นโครงการ คือ โครงการนี้ได้การหนุนเสริมจากภาคีต่างๆมากมาย อาทั เทศบาลเมืองตำบลปากพุน พม. พัฒนาชุมชน โดยมีการประสานงานทำข่าวออกรายการโทรทัศน์ถึง 2 ช่องคือ  ช้อง 11 รายการคำรณ หว่างหวังศรี และ ช่อง 3 ซึ่งเ้ป็นการประชาสัมพันธ์กระบวนการทำงานของชุมชน และการร่วมกันสร้างผลิตภัณฑ์ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามโครงการ ความก้าวหน้า ความสำเร็จ และอุปสรรค ปัญหา การใช้จ่ายงบประมาณ ตรวจเอกสารรายงานของโครงการ และนำเสนอผลการตรวจพร้อมช่วยแก้ปัญหาและให้คำแนะนำ

กิจกรรมที่ทำจริง

ติดตามโครงการ ความก้าวหน้า ความสำเร็จ และอุปสรรค ปัญหา การใช้จ่ายงบประมาณ ของโครงการป่้านป่าไหม้ ราวมกับโครงการอื่นๆทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยอ.กำไล สมรักษ์ และทีมพี่เลี้ยงจ.นครศรีธรรมราช ร่วมกันพัฒนา แลกเปลี่ยนและอภิปรายผลการดำเนินโครงการในงวดที่ 1 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ
ตรวจเอกสารรายงานของโครงการ และนำเสนอผลการตรวจพร้อมช่วยแก้ปัญหาและให้คำแนะนำ

 

3 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 19 10                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 184,280.00 81,700.00                  
คุณภาพกิจกรรม 40 29                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ไม่มี

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. จัดศึกษาดูงานโดยตัวแทนกลุ่ม ( 1 พ.ย. 2557 )
  2. นำผลผลิตที่ได้จากการเพาะด้วงมาแปรรูปเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ( 15 พ.ย. 2557 )
  3. จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปผลการดำเนินโครงการ ( 22 พ.ย. 2557 )
  4. ประชุมกลุ่ม ช่วยกันรวบรวมชุดความรู้ป่าสาคูฟื้นวิกฤติเศรษฐกิจชุมชน ( 29 พ.ย. 2557 )
  5. เวทีถอดบทเรียนและสรุปชุดความรู้เรื่องด้วงสาคู นวัตกรรมด้วงสาคูและกองทุนด้วงสาคู ( 6 ธ.ค. 2557 )
  6. กรรมการโครงการมีการร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมติดตาวางแผน ( 13 ธ.ค. 2557 )

(................................)
นางศิวพร สุภาผล
ผู้รับผิดชอบโครงการ