แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ บ้านป่าไหม้ร่วมใจนำป่าสาคูสร้างสุข

ชุมชน ชุมชน (วัด, หมู่บ้าน)

รหัสโครงการ 57-01464 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0857

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน ตุลาคม 2557 ถึงเดือน กรกฎาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดประชุมกลุ่มต่างๆที่ใช้ประโยชน์จากป่าสาคู

วันที่ 19 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ป่าสาคูไม่สูญพันธ์นำมาใช้ประโยชน์ได้ทำให้ชาวบ้านรู้จักและคุณค่าของป่าสาคูมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ในชุมชนมีกลุ่มสตรี กลุ่มอ.ส.ม กลุ่มธนาคารหมู่บ้าน กลุ่มสัจจะ กลุ่มผู้สูงอายุวันละบาท กลุ่มเพาะด้วงสาคู ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายร่วมกันในชุมชน ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานในรูปแบบของกลุ่ม และให้คนในชุมชนได้เห็นประโยชน์จากป่าสาคูซึ่งสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์หลากหลาย ทำให้หนี้สินหมด ปัญหาการว่างงานหมดไป
ที่สำคัญคือเกิดข้อตกลงการใช้ป่าสาคู และการอนุัรักษ์ป่าสาคูเพื่อเป็นทุนแก่ชุมชนในการพัฒนาเศรษฐกิจของครัวเรือนที่สนใจการเพาะด้วงโดยใช้สาคู และเกิดข้อตกลงกลุ่มเพาะด้วงในการจัดกิจกรรมปฏิบัติการเพาะด้วงร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 5 ข้อ ได้แก่
1. ให้กลุ่มเข้าร่วมโครงการ 10 กลุ่ม จำนวน สมาชิก 30 คน มาร่วมกิจกรรมทุกครั้ง 2. นำผลการปฏิบัติคราวที่แล้วมาเล่าสู่กันฟัง 3. นำสิ่งที่เพื่อนแนะนำมาปฏิบัติกรณีที่กลุ่มตัวเองมีปัญหาเพื่อพัฒนากลุ่ม 4.กลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งจะได้รับวัสดุในการเพาะด้วงเท่าที่โครงการอนุมัติ 5.เมื่อจบโครงการหัวหน้ากลุ่มรายงานผลสำเร็จ ผลผลิต และบทเรียนจากการเพาะด้วง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมกลุ่มต่างๆที่ใช้ประโยชน์จากป่าสาคู ร่วมกับเครือข่ายและสภาผู้นำ เพื่อประเมินผลรายได้ รายจ่ายในครัวเรือนเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการทำอาชีพของคนที่ร่วมกลุ่ม เพื่อเผยแพร่ในชุมชน สร้างจิตสำนึกการประกอบอาชีพที่ดี กว่าการเล่นการพนันและสร้างแนวร่วมจัดตั้งกองทุนออม

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดประชุมกลถ่มต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากป่าสาคูชาวบ้านป่าไหม้ และผู้ร่วมโครงการ 80 คน  ร่วมกับเครือข่ายสภาผู้นำภาคีเครือข่ายจาก อบต.ปากพูน 20 คน เพื่อประเมินผล รายได้-รายจ่ายในครัวเรือน เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการทำอาชีพของคนทุกกลุ่ม เพื่อเผยเเพร่ในชุมชน สร้างจิตสำนึกการประกอบอาชีพที่ดีกว่าการเล่นการพนันและสร้างเเนวร่วม จัดตั้งกองทุนออม

 

100 100

2. จัดการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมปฏิบัติหลังจากเพาะด้วงได้ 40 วัน

วันที่ 25 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อนำไปเป็นอาฃีพเสริม เพิ่มรายได้ ช่วยแก้ปัณหาหนี้สินจากการว่างงาน ทำให้สมาชิกในครัวเรือนได้ทำงานร่วมกันอยู่พร้อมกันอย่างมีความสุ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ใช้การเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเพาะด้วงสาคู เพื่อนำไปเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ช่วยเเก้ปัญหาหนี้สินจากกาีว่างงาน โครงการจะส่งผลให้คนในชุมชนได้รวมกลุ่มกันคิด รวมกลุ่มกันทำ รวมกลุ่มกันแก้ปัญหา รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันเเละกัน ของสมาชิกในกลุ่มโดยไม่ต้องทิ้งครอบครัวออกไปทำงานข้างนอก และในครอบครัวไม่มีหนี้สินทำให้สมาขิกในครอบครัวมีความสุข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นอจัดการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมปฏิบัติหลังจากเพาะด้วงได้ 40 วัน แล้วก็ให้สมาชิกเข้าร่วมโครงการมาเรียนรู้การส่งออกสู่ตลาดและปฏิบติการเพาะพ่อพันธ์หวังและแม่พันธ์หวังการเพาะ เอาด้วงที่ตัวสมบูรณ์มาเพาะลงในกาละมัง กาละมัง ละ 210 ตัว ทิ้งไว้ 30 วัน ออกมาเป็นตัวหวัง ส่วนผสม กากมะพร้าวเอามาฉีกเป็นชิ้นๆ ละ 2 ท่อน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดการเรียนรู้ร่วมกัน แกนนำในชุมชนร่วมด้วยสมาชิกในกลุ่มสมาชิกกลุ่ม 100 คน วิทยากร 1 คน มาให้ความรู้ เกี่ยวกับการเพาะด้วงสาคูโดยร่วมปฏิบัติหลังจากการเพาะด้วงได้ 40 วัน แล้วก็ให้สมาชิกเข้าร่วมโครงการมาเรียนรู้การส่งออกสู่ตลาดและปฏิบัติการเพาะพ่อพันธ์ุ เเม่พันธ์ุ จากการคัดเลือกตัวด้วงที่สมบูรณ์มาใส่ในกาละมังเอากากมะพร้าวมาฉีกเป็น 2 ท่อน แล้วใส่ในกาละมังนำสาคูบดมาผสมอาหาร ( สุกร ) คนด้วยน้ำให้เข้ากันแล้วเอาตัวด้วงใส่กาละมัง กาละมังละ 210 ตัว แล้วปิดฝาเก็บไว้ 30 วัน  แล้วเอาฝาออกมาเป็นพ่อพันธ์ุ เเม่พันธ์ุหวัง แล้วนำมาเพาะด้วงสาคูต่อไป

 

100 100

3. จัดการเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นการตั้งกลุ่มกองทุน

วันที่ 26 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำให้สมาชิกในหมู่บ้านลดปัญหาหนี้สิน และต้นทุนได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทำให้กองทุนมีความยั่งยืนและทำให้คนในชุมชนมีเงินออม ลดปัญหาหนี้สินได้ ทำให้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีความอยู่ดีมีสุขกันทุกคน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำให้สมาชิกในโครงการมีเงินออมลดหนี้สิน สามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ลดปัญหาว่างงานเเละเกิดความสามัคคีกันในชุมชน และได้เรียนรู้ร่วมกันในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดการเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นการตั้งกลุ่มกองทุน ให้วิทยากรจากกลุ่มของตำบลมาบรรยายวิธีการพัฒนากองทุนและชี้เเจงเพื่อให้มีทุนเข้าร่วมโครงการออมเงินเเละสามารถกู้ยืมเงินในกองทุนในการเพาะด้วงของตนเองได้ เเต่มีกฎกติกาอยู่ว่า ทุน 100 บาทต้องออมทุกๆ เดือนอย่าสม่ำเสมอ ถ้าขอกู้เงินในกองทุนต้องมีเงินออมไม่ต่ำกว่า  6 เดือนถึงจะกู้ยืมเงินในกองทุนได้ การกู้ต้องมีคนค้ำประกัน 2 คน ไม่ว่าคนกู้หรือคนค้ำต้องเป็นสมาชิกในกลุ่มเพาะด้วงสาคูเท่านั้น เเละต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาทต่อเดือน ต้องจ่ายทั้งต้นเเละดอก ทุเดือนจนครบ ทุกๆสิ้นปีจะมีเงินปันผลให้กับสมาชิกทุคน

 

100 100

4. จัดศึกษาดูงานโดยตัวแทนกลุ่ม

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อไปศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับป่าสาคูและเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของป่าสาคู

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ป่าสาคูสร้างอาชีพ เพื่มรายได้ ลดรายจ่าย ส่งเสริมสุขภาพของครอบครัวและชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดศึกษาดูงานโดยตัวแทนกลุ่ม และตัวแทนเยาวชนซึ่งเป็นอาสาสมัครที่ จ.ตรัง ลุ่มนำ้ปะเหลียน ต้นแบบสาคู จำนวนประมาณ 14 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

จากการได้ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับป่าสาคูเพื่อนำความรู้ได้มาให้เกิดศูนย์เรียนรู้ในชุมชนในเรื่องการใช้ประโยชน์จากป่าสาคู

 

14 14

5. นำผลผลิตที่ได้จากการเพาะด้วงมาแปรรูปเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ได้ชุดความรู้เรื่องเพาะด้วง นวัตกรรมด้วงแปรรูปเป็นอาหารเพื่อสุขภาพไว้เเลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาต่อได้ดี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คนในชุมชนมีอาชีพเสริม ทำให้การเป็นอยู่ดีขึ้นมีด้วงสาคูไว้เป็นอาหารและแปรรูปไว้ขายได้และทำให้คนรู้จักหันมาากินด้วงกันมากขึ้นอีกด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำผลผลิตที่ได้จากการเพาะด้วงมาแปรรูปเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น นำมาผัดกระเพรา,ผัดกระเทียม,อบกรอบ,ด้วงชุบแป้งทอด เป็นต้น ขั้นตอนการจัดทำกิจกรรม เชิญวิทยากรจากกลุ่มตำบลให้ความรู้เรื่องการแปรรูปด้วงมาเป็นอาหารแก่คนในชุมชนและได้จัดเตรียมอุปกรณ์ทำอาหารไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อให้คนในชุมชนได้ฝึกทำหลังจากวิทยากรได้ให้ความรู้เสร็จ

กิจกรรมที่ทำจริง

นำผลผลิตที่ได้จากการเพาะด้วงสาคูนำมาขายทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น ลดรายจ่าย นำมาทำเป็นอาหารในครัวเรือนด้วย ด้วงสาคูยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมีโปรตีนสูงตอนนี้สมาชิกในกลุ่มทุกกลุ่มมีรายได้เพิ่ม ลดรายจ่ายลงได้พอสมควรทำให้ครอบครัวมีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สมาชิกทุกคนมีความสุขกันมากขึ้น

 

100 100

6. จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปผลการดำเนินโครงการ

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้มีการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาความรู้และทักษะการทำอย่างต่อเนื่อง ทำกันประจำทุกๆ เดือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดระเบียบคนในชุมชนมีความสามัคคีกันลดการว่างงานในชุมชนให้เกิดรายได้ลดหนี้สิน 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปผลการดำเนินโครงการ ใช้ประโยชน์จากป่าสาคู ต่อการจัดการเศรษฐกิจ ได้แก่ การจักสาน วิธีการเพาะด้วงสาคู และอื่นๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ประเมินผล ปัญหาอุปสรรคและวิธีแก้ปัญหา การเพาะด้วงสาคูอย่างไรที่ทำให้ลดต้นทุนให้ต่ำลง ให้ตัวด้วงสมบูรณ์เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค - ให้คนที่เพาะด้วงได้ดีและมีคุณภาพ ออกมาแลกเปลี่ยนเทคนิคการเพาะด้วงให้สมาชิกในโครงการทราบว่า ทำอย่างไรให้ได้ผลผลิตของตัวด้วงออกมาให้ได้มากและสมบูรณ์ สรุป ถ้าตัวด้วงที่เพาะออกมาให้สภาพที่สมบูรณ์ ไม่มีกลิ่นเห็น ไม่เหม็นสาปอาหารสุกร เราก็สามารถส่งออกไปยังตลาดได้อย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้เรามีความมั่นคงและคนในกลุ่มมีสวัสดิก่ชารที่ดีและมีงานทำตลอดไป ทำให้คนในครอบครัวอยู่อย่างอบอุ่น และมีความสุขที่สำคัญไม่มีหนี้สิน

กิจกรรมที่ทำจริง

ได้ทำการจัดเวทีเสวนาเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปผลการดำเนินโครงการใช้ประโยชน์จากป่าสาคูต่อการจัดการเศรษฐกิจวิธีการเพาะด้วงสาคูเเละอื่นๆ ได้พุดคุยกันถึงเรื่องปัญหาหรืออุปสรรคในกรเพาะด้วงสาคู เเละได้หารือเพื่อช่วยกันหาทางแก้ในการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง เเละศึกษาวิธีเลี้ยงด้วงสาตูให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ ให้ได้ด้วงสาคูตัวสมบูรณ์เป็นที่ต้องการของตลาดเเละผู้บริโภค

 

100 100

7. ประชุมกลุ่ม ช่วยกันรวบรวมชุดความรู้ป่าสาคูฟื้นวิกฤติเศรษฐกิจชุมชน

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนในเรื่องการใช้ประโยชน์จากป่าสาคูเพื่อนำทุนในชุมชนคือป่าสาคูสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ส่งเสริมสุขภาพของครอบครัวในชุมชน เพื่อเป็นต้นเเบบให้กับกลุ่มผู้สนใจในเรื่องการเพาะด้วงสาคูและกลุ่มอาชีพเพาะด้วงสาคูขึ้นในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มเพาะด้วงจากสาคู ซึ่งจะทำให้คนในชุมชนสามารถเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายลดปัญหาการว่างงานลดปัญหาหนี้สินและทำให้คนในชุมชนเกิดความสามัคคีในชชุมชนและได้เรียนรู้ร่วมกัน มชนจะใช้กลวิธีการรวมกลุ่มสร้างอาชีพเสริทาายได้ มาขับเคลื่อนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่โดยเน้นกระบวนการจัดทำแผนชุมชนเปรียบเทียบ รายรับกับราจ่ายครัวเรือนก่อนและหลังทำโครงการ การประยุกต์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมกลุ่ม ช่วยกันรวบรวมชุดความรู้ป่าสาคูฟื้นวิกฤติเศรษฐกิจชุมชน โดยเชิญภาคีเครือข่ายได้แก่ ธกส. พัฒนาชุมชน มาร่วมแลกเปลี่ยน เพื่อวางแผนพัฒนาอาชีพสู่วิสาหิจชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ได้รวมกลุ่มกันแก้ปัณหารับฟังความคิดเห็นซึ่งกันเเละกันของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อที่จะนำมาปรับปรุงเเก้ไขให้เข้ากับปัณหาเศรษฐกิจของชุมชน ซึ่งทำให้สมาชิกในครัวเรือนมีเเนวทางในการแก้ปัณหาปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิต ให้เข้ากับสภาพเเวดล้อมที่เป็นอยู่ตอนนี้ เพื่อที่จะสมารถดำรงอยู่ได้แบบพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว

 

20 20

8. เวทีถอดบทเรียนและสรุปชุดความรู้เรื่องด้วงสาคู นวัตกรรมด้วงสาคูและกองทุนด้วงสาคู

วันที่ 6 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นจุดเรียนรู้ของชุมชนในหมู่บ้าน และพื่นที่อื่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กเเละเยาวชนได้เข้ามาเรียนรู้เเละรู้จักวิธีใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ได้ช่วยเหลือครอบครัวทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น เยาวชนช่วยพ่อเเม่ เพาะด้วงสาคูในวันหยุดเรียนเเละหารายได้เข้าสู่ครอบครัว เเละได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนการเพาะด้วงสาคูเริ่มต้นสมาชิกในกลุ่ม 20 คนก่อน รายได้มาจากการขายด้วงสาคูในเเต่ละเดือนให้สมาชิกในกลุ่มมาฝากที่ศุนย์เรียนรู้กสรเพาะด้วงที่บ้านประธานกลุ่มทุกเดือน ทุนละ 100 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีถอดบทเรียนและสรุปชุดความรู้เรื่องด้วงสาคู นวัตกรรมด้วงสาคูและกองทุนด้วงสาคูโดยมีทีมวิทยากรมาสอน เขียนและฝึกเยาวชนให้ร่วมเขียนกับวิทยากรให้เยาวชนเป็นแกนนำทำชุดความรู้เรื่องดีๆ ของด้วงสาคูของบ้านป่าไหม้ นัดจัดเวทีกัน 3 ครั้ง คือ 1. วันถอดบทเรียน 2. วันฝึกเยาวชนเขียนชุดความรู้ (ช่วงเช้า) และวันเยาวชนนำเสนอข้อมูลในที่ประชุม (ช่วงบ่าย) 3. วันสรุปชุดความรู้จัดกลุ่มผู้ที่มีความรู้ไปประชาสัมพันธ์ในตลาดให้ผู้ซื้อทราบถึงประโยชน์ของด้วงสาคู -จัดกิจกรรมยกย่องมอบประกาสนียบัติให้กับครอบครัวต้นแบบ ในด้านการจัดทำบัญชีครัวเรือน 30 คนของผู้ที่เพาะด้วงสาคู

กิจกรรมที่ทำจริง

ได้เชิยสมาชิกในกลุ่มเพาะด้วงเเละชาวบ้านบางส่วนมาฟังการถอดบทเรียนของกลุ่มเพาะด้วง ซึ่งได้พูดกันในเรื่องป่าสาคู ผลประโยชน์ของป่าสาคู การประยุกต์ การเเลกเปลี่ยนความรู้กัน การที่เราจะนำผลผลิตที่ได้ไปใช้ประโชยน์ในเรื่องอะไรได้บ้าง และเมื่อก่อนชาวบ้านได้นำสาคูไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น การทำแป้งจากเนื้อสาคูมาทำขนม การนำมันสดๆของด้วงสาคูมาทาที่ผมของเด็กทารกจะทำใหเผมงอกขึ้นมาแและทำให้ผมดกอีกด้วย และประโยชน์ของต้นสาคูยังสามารถนำมาบดละเอียดเพื่อที่จะนำมาเลี้ยงด้วงสาคูได้อีกด้วย เเละส่วนใบของต้นสาคูยังเอามาทำขนมจากได้ เละทางของต้ยสาคูนำมาปิดกระบอกข้าวเหนี้ยวได้ เป็นต้น

 

100 100

9. กรรมการโครงการมีการร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมติดตาวางแผน

วันที่ 13 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดศูนย์เรียนรู้ในชุมชนในเรื่องการใช้ประโยชน์จากป่าสาคู

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คนในชุมชนมารวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มเพาะด้วงสาคูจากต้นสาคูซึ่งทำให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ลดรายจ่าย ลดปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาหนี้สินและทำให้เกิดความสมัคคีกันในชุมชนเเละได้เรียนรู้ร่วมกันทั้งชุมชน ชุมชนจะใช้กลวิธีการรวมกลุ่มอาชีพเสริมรายได้มาขับเคลื่อนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่โดยเน้นกระบวนการจัดทำแผนชุมชนเปรียบเทียบรายรับ รายจ่ายของครัวเรือนก่อนเเละหลังทำโคลงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กรรมการโครงการมีการร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมติดตาวางแผน เพื่อประเมินโครงการอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งหรือแนวทางการสื่อสารกิจกรรมโครงการให้ชุมชนทราบ

กิจกรรมที่ทำจริง

ในชุมชนมีแกนนำกลุ่มต่างๆ เเละกลุ่มอาชีพเพาะด้วงสาคูซึ่งกลุ่มเหล่านี้ทำงานร่วมกันเป้นเครือข่ายร่วมกันในชุมชนบ้านป่าไหม้จากสภาพหมู่บ้านป่าไหม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ราบและพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาโดยเฉพาะเป็นวัตถุดิบเช่นต้นสาคูขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเอื้อต่อการจัดทำโครงการเพาะด้วงสาคูจากต้นสาคูเเละในกลุ่ม ผู้เลี้ยงด้วงสาคูยังสามารถนำมาเป็นเเหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา ก.ศ.น. เเละเป็นแหล่งเรียนรู้กับหน่วยงานต่างๆได้ ซึ่งในการประชุมเเต่ละเดือนประชาสัมพันธ์กับชาวบ้านที่มาประชุมให้อนุรักษ์ต้นสาคูเอาไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนเเละกลุ่มเพาะด้วงสาคู

 

10 10

10. พี่เลี้ยงติดตามโครงการในพื้นที่

วันที่ 10 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรับการประเมินโครงการและถอดบทเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กรรมการชุดขับเคลื่อนโครงการร่วมกันประชุมนำเสนอแลกเปลี่ยนประเด็นการพัฒนาต่อเนื่องของโครงการด้วงสาคู โดดยเน้นแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยชุดกรรมการนำเสนอแลกเปลี่ยนทุนในชุมชนป่าไหม้ และกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้เกิดวสาหกิจชุมชน เพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ และการหาตลาด โดยเน้นรูปแบบตลาดเชิงสังคม ร่วมกับหน่วยงานต่างๆสื่อมวลชนช่วยกันพัมนาและช่วยเหลือกัน โดยได้ข้อสรุปเรื่องตลาดด้วงสาคู กลุ่มพัฒนาด้วงสาคู การอนุรักษ์ป่าสาคู และ การทำกิจกรรมศูนย์เรียนรู้แบบยั่งยืน โดยนำรูปแบบกลุ่มอาชีพอื่นในชุมชมาผนวกด้วยกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จ้ดเวทีถอดบทเรียนความรู้เรื่องด้วงสาคู นวัตกรรมด้วงสาคู และกองทุนด้วางสาคู และฝึกเยาวชนให้ร่วมเขียนกับวิทยากรและแกนนำทำชุดความรู้เรื่องดีๆของด้วงสาคู และสรุปชุดความรู้ และจัดกิจกรรมยกย่องมอบของที่ระลึกให้กับครอบครัวต้นแบบในด้านการจัดทำบัญช้ครัวเรือน และเพาะด้วงสาคู

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 1 และผู้เข้าร่วมโครงการ และผู้ที่สนใจเข้าร่วมประชุมประจำเดือน  ตัวแทนสมาชิกเทศบาล และตัวแทนหน่วยงานราชการ ประกอบด้วย พัฒนาชุมชน และตัวแทนจากบริษัท นิวทัศ จำกัด โดยมีพี่เลี้ยงโครงการ อ.สุธรรม แก้วประดิษฐ์ เป็นผู้จัดกิจกรรมประเมิน คุณค่าโครงการและ ปัญหา อุปสรรคในการทำโครงการ สิ่งที่เป็นบทเรียน ความรู้ และ วิธีการทำงานใหม่ ของพื้นที่ โดยมีพัฒนาการจากอำเภอปากพูนมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และชื่นชมการดำเนินโครงการของบ้านป่าไหม้ ลแะเป้นพื้นที่หนึ่งที่มีหน่วยงานต่างๆมาศึกษาดูงานการสร้างอาชีพจากด้วงสาคูโดยกลุ่มชาวบ้านเอง

 

20 20

11. รับการติดตามตรวจสอบเอกสารเเละปิดโครงการจาก สสส.

วันที่ 17 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 - 15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อมาตรวจสอบเรื่องการงดเเละตรวจสอบกิจกรรมให้ตรงตามวัตถุประสงคืของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พี่เลี้ยงโครงการได้ตรวจสอบระบบการเงินค่าใช้จ่ายของโครงการ เเละตวรจสมุดบัญชีธนาคารซึ่งได้เป็นไปถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของโครงการเเละตัวแทนของผู้รับผิดชอบโครงการได้นำเสนอของภาพรวมในมิติของหัวข้อดังนี้ 1.ได้เกิดนวัตกรรมใหม่ในการเพาะด้วงสาคู 2.จุดเด่นจของโครงการ 3.ได้เกิดแกนนำใหม่ 4.สภาพเเวดล้อม 5.ด้านสุขภาพ 6.มีการเอื้อเฝื้อเผื่อเเผ่ให้กับชุมชนใกล้เคียง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

มาสรุปปิดงวดโครงการครั้งที่ 2 เเละมานำเสนอข้อมูลที่เราได้จัดทำมา เช่น สิ่งที่เราได้รู้ ปัญหา การแก้ปัญหา ผลจากโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

มาสรุปงวดโครงการครั้งที่2  มาพูดคุยเเลกเปลี่ยนความรู้กันในการทำโครงการ มานำเสนอสิ่งที่ได้จากการทำโครงการมาพูดปะพูดคุยกันกับกลุ่มต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้

 

3 3

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 19 21                    
การใช้จ่ายงบประมาณ 184,280.00 185,280.00                    
คุณภาพกิจกรรม 84 72                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.ได้รับเงินงวดที่ 2 จาก สสส.ช้ากว่ากิจกรรมที่ทำตามแผนของโครงการ

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางศิวพร สุภาผล
ผู้รับผิดชอบโครงการ