แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข ”

ชุมชนศรีสมบูรณ์ (หอยราก) ม 2 ต.หูล่อง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาย วิชาญ จันทราทิพย์

ชื่อโครงการ ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข

ที่อยู่ ชุมชนศรีสมบูรณ์ (หอยราก) ม 2 ต.หูล่อง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 57-01467 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0963

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนศรีสมบูรณ์ (หอยราก) ม 2 ต.หูล่อง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข



บทคัดย่อ

โครงการ " ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนศรีสมบูรณ์ (หอยราก) ม 2 ต.หูล่อง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 57-01467 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2557 - 30 มิถุนายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 193,150.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 100 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ชุมชนมีเครือข่ายสุขภาพที่เข้าถึงและสอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวหอยราก
  2. ประชาชนตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองและสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันโรคภายใต้กระบวนการสร้างสุขภาวะตามวิถีชุมชน
  3. ชุมชนมีการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาชุมชน วัฒนธรรม ประเพณีและอัตลักษณ์ท้องถิ่น
  4. เพื่อการบริหารจัดการและติดตามผลการประเมินงาน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการกับ สจรส.

    วันที่ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รับการประชุมชี้แจง ขั้นตอน กระบวนการทำงานกับ สสส. เพื่อร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าประชุมได้รับทราบ และเข้าใจการทำงานกับสสส.ทั้งในด้านการดำเนินโครงการ ระเบียบสำคัญการจัดการการเงิน และเอกสาร ระบบติดตามบนเวบ ฝึกปฏิบัติจริงบันทึกปฏิทินโครงการ

     

    3 3

    2. ประชุมคณะกรรมการและแกนนำเครือข่าย

    วันที่ 28 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชน เพื่อชี้แจงเหตุผลความเป็นมา ความสำคัญในการร่วมโครงการสร้างเศรษฐกิจ สร้างสุขภาพ สร้างชุมชนน่าอยู่ และตกลงรูปแบบในการจัดกระบวนการแต่ละกิจกรรมและประสานโรงเรียนเทศบาลศรีสมบูรณ์รับสมัครนักเรียนในชุมชนเข้าร่วมโครงการเพื่อสำรวจข้อมูลชุมชน ภาวะสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการ ข้อมูลกระบวนการขั้นตอนการทำขนมลาพฤติกรรมสุขภาพ โดยการสำรวจในครอบครัวตนเองและนำผลสำรวจมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนดูแลพฤติกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการได้เข้าร่วมประชุมจำนวน 15 คน ส่วนที่เหลือ 5 คน ติดภาระกิจ แต่ร่วมรับรู้รับทราบกิจกรรม งบประมาณโครงการ และร่วมกันทำกิจกรรมตามแผน โดยมีศูนย์ทำการที่ รร.วัดศรีสมบูรณ์ นัดประชุมกรรมการทุกเดือน อน่างน้อย 1 ชม. เพื่อร่วมวางแผน และหาข้อยุติ มติ ในการประชุมแต่ละครั้ง ให้ อ.โสพล และ นายพนพร เลขา เป็นผุ้ประสานงาน และสรุปความ มติ 

     

    20 20

    3. แลกเปลี่ยนข้อมูลชุมชน

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เครือข่ายเยาวชน 15 คน และกรรมการชุมชน 10 คน และนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ อีกจำนวน 15 คนรวม 40 คน ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลชุมชนจากการสำรวจ เพื่อส่งคืนข้อมูล แก่ชุมชน ร่วมกับผู้สูงอายุ ปราาชญ์ชาวบ้าน 10 คน ผู้ประกอบอาชีพขนมลา 20 คน จำนวน 30 คน ให้มีส่วนร่วม และรับผิดชอบในการสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทั้งด้านอาหาร และการจัดการสุขภาพ ท่าการบริหารเพื่อลดโรคแก่ผู้ประกอบอาชีพทำขนมลา และข้อมูลอื่นๆด้านวิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยรูปแบบที่เหมาะสม เช่น การประชุมกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เครือข่ายเยาวชน 15 คน และกรรมการชุมชน 10 คน และนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ อีกจำนวน 15 คนรวม 40 คน ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลชุมชนจากการสำรวจ ร่วมกับผู้สูงอายุ ปราาชญ์ชาวบ้าน 10 คน ผู้ประกอบอาชีพขนมลา 20 คน จำนวน 30 คน ให้มีส่วนร่วม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวทางในการดูแล และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทั้งด้านอาหาร และการจัดการสุขภาพ ท่าการบริหารเพื่อลดโรคแก่ผู้ประกอบอาชีพทำขนมลา และข้อมูลอื่นๆด้านวิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยรูปแบบที่เหมาะสมโดยใช้การประชุมย่อย  การอภิปราย และสอดแทรกกิจกรรมสันทนาการ
    ผลผลัพธ์ ทุกคนมีส่วนร่วม คนมาร่วมประมาณ 70% แต่ก็มีบรรยากาศดี สนุกสนาน

     

    50 40

    4. จัดเวทีพูดคุยเสวนากับชาวหอยราก

    วันที่ 12 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ประกอบอาชีพขนมลา 20 คน ภาคึเครือข่าย เยาวชน 15 สภาผู้นำ 15 คนสาธารณสุข ครูอาจารย์ 10 คน ร่วม พูดคุยเสวนาในเวทีชาวหอยรากรักสุขภาพโดยจัดในพื้นที่รร.เทศบาง 6 โดยมีเยาวชนร่วมอภิปราย ในประเด็น ชาวหอยรากร่วมสร้างสุขภาพปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตเพลื่อลดโรคจาการประกอบอาชีพ ในหัวข้ออาชีพสร้างรายได้ ไม่ทำลายสุขภาพ โดยมีกลุ่มภาคีเครือข่ายด้านวิชาการสนับสนุนและช่วยดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ร่วมเสวนา และผู้ดำเนินการเสวนาโดยอ.โสพล เส้งเสน นำเสนอข้อมูลจากการสำรวจ และ พฤติกรรมโรคและสุขภาพ เพื่อสร้างประเด็นการเสวนา มี เจ้าหน้าที่ จากเทศบาลเมืองปากพนังมาร่วมกิจกรรม รับรู้รับทราบ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ศูนย์ชุมชน ร่วมประชุม ผลสรุปพบว่า การดำเนินการตามกิจกรรม โดยเน้นการปรับรูปแบบการทำงานประจำ การจัดการเวลา และการทำแผนสุขภาพของตนเอง จะช่วยให้มีการควบคุมตัวเองให้ดูแลตนเองและคนในครอบครัวได้ โดยให้กลุ่มเด็กอาสาช่วยดูแลผู้ใหญ่ในบ้าน

     

    70 60

    5. จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    วันที่ 13 กรกฎาคม 2557 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทุกเดือนเพื่อวางแผนจีดกิจกรรมชุมชนและติดตามประเมินความก้าวหน้าโครงการทุกเดือน จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อติดตามประมวลผล ร่วมดูแลโครงการ จำนวน 5 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการร่วมประชุมต่อเนื่อง แต่ไม้ได้ไปเบิกเงิเนื่องจากงบประมาณยังไม่ได้รับโอน ให้ประสานงานกับ สสส.และพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงตรวจสอบพบว่า โครงการส่งหลักฐานครบแล้ว ให้ ทดรองจ่ายไปก่อน ที่ประชุมรับทราบ และดำเนินการ

     

    20 20

    6. จับกลุ่มเสวนาและสนทนาเรื่องสุขภาพและการปรับวิธีในการดำเนินชีวิตใหม่

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขับเคลื่อนพลังผู้สูงวัยใส่ใจสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยจัดกลุ่มเสวนา และสนทนากลุ่มถึงทางออกกับผู้ประกอบอาชีพขนมลา เพื่อหา วิธีใหม่ๆ ในการจัดการสุขภาพ และการปรับวิธีการดำรงชีวิต และการจัดการสิ่งแวดล้อมบ้านหอยรากจากการประกอบอาชีพโดยมีนักสิ่งแวดล้อม อบต.หูล่องและเทศบาลเมืองปากพนัง จนท.สาธารณสุข เข้าร่วมเสวนา 1 วัน  โดยแบ่งเป็นกิจกรรมช่วงเช้าเป้นการพุดคุยนำโดยกลุ่มอสม.และกรรมการโครงการ และร่วมประเมินสุขภาพชาวหอยรากโดยเฉพาะผุ้ประกอบอาชีพขนมลา จำนวน 40 คน  ส่วนช่วงบ่ายเป็นการชวนเสวนาในเรื่องสุขภาพชาวหอยราก กับการประกอบอาชีพ โดยการจัดกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้เข้าร่วมเป้นกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรคประจำตัว ร่วมแบ่งปันพุดคุย โดยผู้จัดกระบวนการเป็นทีมแกนนำอสม.ในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน และชาวชุมชน 30 คน ร่วมประชุม และแบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมตามอาการโรค โดยส่วนใหญ่กลุ่มที่มีโรคประจำตัวความดันเบาหวาน มีจำนวนมากที่สุด และ ได้ข้อสรุปเรื่องการจัดการเรื่องอาหารแต่ละวัน โดยให้กลุ่มอสม.ที่อยู่ในกลุ่มปกติ ร่วมกันประเมิน ติดตามและช่วยเหลือกันในชุมชน

     

    100 80

    7. จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    วันที่ 10 สิงหาคม 2557 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทุกเดือนเพื่อวางแผนจีดกิจกรรมชุมชนและติดตามประเมินความก้าวหน้าโครงการทุกเดือน จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อติดตามประมวลผล ร่วมดูแลโครงการ จำนวน 5 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการร่วมประชุม 15 คน และ แจ้งรายงานการจัดกิจกรรมครั้งที่แล้ว งบประมาณ ได้รับแล้ว แต่ยังไม่ได้ไปเบิก ที่ประชุมรับทราบ

     

    20 20

    8. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 20 คน

    วันที่ 23 สิงหาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำชุมชน และภาคีเครือข่ายและกลุ่มเยาวชน จำนวน40 คนร่วมแ ลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาบ้านหอยรากระหว่าง แกนนำชุมชน และภาคีเครือข่าย20 คนและกลุ่มเยาวชนสร้างสุข 30คนจำนวน 1 วันโดยเชิญผู้จัดกระบวนการที่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาหอยราก และความชำนาญในการจัดกระบวนการได้แก่ อ.โสพล อ.สมหมาย และ พี่เลี้ยงโครงการ ร่วมดำเนินการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชน เข้าใจและเรียนรู้กิจกรรมสุขภาพที่ควรทำ และตั้งกติกา ข้อตกลง ในการร่วมกันวางแผนกิจกรรมสุขภาพ และนำมาพูดคุยกันในครั้งต่อไป ทุก 2 เดือน ในเรื่องต่อไปนี้ 1. กิจกรรมการควบคุมอาหารแก่คนในครอบครัว 2. กิจกรรมช่วยผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย 3. กิจกรรมผ่อนคลายความเครียดในครอบครัว 4. กิจกรรมการดูแลให้ผู้สูงอายุในครอบครัวกินยาอย่างต่อเนื่อง

     

    50 40

    9. จัดงานเปิดเตา สืบสานตำนานขนมลา

    วันที่ 29 สิงหาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำชุมชน และภาคีเครือข่าย20 คนและกลุ่มเยาวชนสร้างสุข 30คนและกลุ่มสูงวัยสร้างสุข 30 คน รวมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวใหม่ โดยการจัดละครย้อนยุค ในกลุ่ม ภูมิปัญญาการทำขนมลา "งานเปิดเตา สืบสานตำนานขนมลา " การร่วมกันประกวดหรับกับประกวดธิดาขนมลา การสืบสานตำนานงานวัด โดยเน้นการมาร่วมกันจัดที่ วัดหูล่อง ของแต่ละครัวเรือนในชุมชนร่วมกันจัดการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลกระทบจากการประกอบอาชีพ โดยผู้จัดกระบวนการได้เรียนเชิญภาคีเครือข่าย ผู้ประกอบอาชีพ และนักสิ่งแวดล้อมมาร่วมกันพูดคุยและสรุปประเด็น รักสิ่งแวดล้อม สืบสานภูมิปัญญา รักษาสุขภาพ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวใหม่การร่วมกันประกวดหรับกับประกวดธิดาขนมลา การสืบสานตำนานงานวัด โดยเน้นการมาร่วมกันจัดที่ วัดหูล่อง ของแต่ละครัวเรือนในชุมชนร่วมกันจัดการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลกระทบจากการประกอบอาชีพ โดยผู้จัดกระบวนการได้เรียนเชิญภาคีเครือข่าย ผู้ประกอบอาชีพ และนักสิ่งแวดล้อมมาร่วมกันพูดคุยและสรุปประเด็น รักสิ่งแวดล้อม สืบสานภูมิปัญญา รักษาสุขภาพ  พบว่า กิจกรรมสนุกสนาน ทั้งกลางวัน กลางคืน มีการแสดง การละเล่นโบราณพื้นบ้าน เช่นหนูลงรู การปาโป่ง การรำวงเวียงครกย้อนยุค

     

    80 80

    10. จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    วันที่ 14 กันยายน 2557 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการโครงการ 20 คน จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทุกเดือนเพื่อวางแผนจีดกิจกรรมชุมชนและติดตามประเมินความก้าวหน้าโครงการทุกเดือน จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อติดตามประมวลผล ร่วมดูแลโครงการ จำนวน 5 คน และสรุปผลกิจกรรม งบประมาณคราวที่แล้ว พบว่า ค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ และได้นำค่าใช้จ่ายที่เหลือจากิจกรรมคราวก่อนมาสมทบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปัญหาเรื่องรูปภาพที่ทำกิจกรรม ยังรวบรวมไม่ได้ และการบันทึกรายงานบนเว็บไซต์ ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ พี่เลี้ยงโครงการแจ้งให้ดำเนินการให้เป็นปัจจุบัน ที่ประชุมรับทราบและยอมรับผลการดำเนินการ

     

    20 20

    11. จัดงานวันปิดเตาลา

    วันที่ 5 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกระบวนการศึกษาย้อนยุคบุญสารทเดือนสิบ" งานปิดเเตาลา "จัดในเทศกาลบุญสารทเดือนสิบร่วมกับ แกนนำชุมชน และภาคีเครือข่ายและกลุ่มเยาวชนสร้างสุข และกลุ่มอสม.พัฒนาสุขภาพ เพื่อสร้างสรรค์ประเพณีงานบุญไทย โดยจัดเป็นงานประเพณีชุมชนหอยราก ให้ผู้เข้าร่วมประกวดแต่งกายย้อนยุค และให้แต่ละครอบครัวนำขนมลาตกแต่งหมัรบ มาแสดงและประกวด มีนักเรียน จาก โรงเรียนเทศบาลมาร่วมประกิจกรรม จำนวน 50 คน งานจัดการสาธิตการทำขนมลาและขนมพื้นบ้าน นำหมรับที่ชนะการประกวดมาแสดงไว้ในงาน และมีงานรื่นเริง โดยการจัดงานวัดย้อนยุคสมัยก่อน มีการแข่งการกินขนมลา ในเด็กและเยาวชน และกิจกรรมรำวงย้อนยุค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชน โรงเรียน และวัด มีกิจกรรมร่วมกัน เกิดความร่วมมือและช่วยรื้อฟื้นกิจกรรมงานประเพณีพื้นบ้าน หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยกับการทำงานขนมลามา 4 เดือน ตั้งแต่ มิถนายน ถึง ตุลาคม โดยงานในปีนี้ ผู้จัดกระบวนการ มีอ.โสพล เส้งเสน และ ทีมเทศบาลเมืองปากพนัง ครูอาจารย์ โรงเรียนเทศบาลวัดศรีสมบูรณ์ และรร.เทศบาลวัดนาควารี ร่วมกันจัดกิจกรรม ร่วมกับเด้ก และผู้ประกอบอาชีพขนมลา

     

    100 100

    12. ชี้แจงเรื่องการปิดงวด

    วันที่ 12 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและกรรมการ ร่วมกันประชุมกับพี่เลี้ยง จากเทศบาล และ พี่เลี้ยงโครงการเพื่อชี้แจงรายละเอียดและตรวจสอบกืจกรรมที่ผ่านมาเพื่อปิดงวด 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    โครงการดำเนินไปช้ากว่าแผน และมีการบันทึกกิจกรรมล่าช้า จึงประชุมพูดคุยช่วยแก้ปัญหา พบว่า ผกรรมการที่บันทึกข้อมูลไปทำงานต่างจังหวัดและขาดผู้บันทึกกิจกรรมที่ชำนาญ จึงแก้ไขโดยพี่เลี้ยงโครงการฝึกเด็กในโครงการร่วมเป็นเครือข่ายเยาวชนช่วยบันทึกข้อมูลให้

     

    20 20

    13. จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    วันที่ 12 ตุลาคม 2557 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงเข้าร่วมประชุมและแจ้งเรื่องการทำรายงานเพื่อปิดงวดที่ 1 ให้ ดำเนินกรเรื่องการเงิน บัญชี เอกสาร และการบันทึกกิจกรรมบนเวบให้ครบถ้วนตามจริง และแจ้งกรรมการผู้รับผิดชอบจำนวน 2-3 คนเขาร่วมกิจกรรมติดตามโครงการงวดที่ 1 จาก สสส. ที่ ศูนย์สุขภาพภาคประชาชน องเมืองจ.นคร ในวันที่ 18 ตค.57 เวลา 08.30 นเป็นต้นไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการรับทราบ แต่ติดขัดเรื่องภาพถ่ายกิจกรรมอยู่ในกล้องนายเสงี่ยม ซึ่งไปทำธุระที่กทม. และปรึกษาพี่เลี้ยง ซึ่งได้ให้คำแนะนำเรื่องบันทึกรายงานให้เรียบร้อย และลงภาพกิจกรรมในตอนหลัง

     

    20 15

    14. ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับการติดตามโครงการจากพี่เลี้ยง

    วันที่ 18 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน อุปสรรคปัญหาและแนวทางแก้ไข ร่วมประชุมติดตามทบทวนและนำเสนอผลการดำเนินโครงการงวดที่ 1ร่วมกับโครงการอื่น โดยมีคุณกำไล สมรักษ์  ดำเนินการ พร้อมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่คุณปาลีรัตน์  แก้วประดิษฐ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน อุปสรรคปัญหาและแนวทางแก้ไข ร่วมประชุมติดตามทบทวนและนำเสนอผลการดำเนินโครงการงวดที่ 1ร่วมกับโครงการอื่น โดยมีคุณกำไล สมรักษ์  ดำเนินการ พร้อมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่คุณปาลีรัตน์  แก้วประดิษฐ์ นั้น พบว่า ชุมชนหอยราก ได้ดำเนินการสอดคล้องกับแผนงานโครงการ แต่เนื่องจาก กิจกรรมบางกิจกรรมต้องทำร่วมกับกลุ่มเด้กนักเรียน จึงจอเปิดภาคเรียนใหม่ งบประมาณที่ได้รับจึงยังไม่ได้ดำเนินการ

     

    2 2

    15. ฝึกดูแลสุขภาพโดยการนวดพื้นบ้าน

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดให้ความรู้และฝึกปกิบัติการดูแลสุขภาพพื้นบ้านเพื่อสร้างสุขภาพด้วยการไม่ใช้ยา และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยการเชิญหมอนวดพื้นบ้านถ่ายทอดวิชาการนวดพื้นบ้าน การกดจุด การผ่อนคลายการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยจัดกิจกรรมผสมผสานกันแนะนำ ฝึก และลงมือทำกันจริงๆ โดยหมอพื้นบ้าน พยาบาลจากโรงพยาบาลปากพนัง สาธิตและฝึกการปฐมพยาบาลง่ายเช่น การพยาบาลคนเป้นลม การดุแลบาดแผล การเคลื่อนย้าย เมื่อเกิดอุบัติเหตุ กับกลุ่มเยาวชนที่อาสาสมัคร ร่วมโครงการ จำนวน 2 วัน โดยวันแรกเป็นการเน้นการฝึก และประโยชน์ต่อการนำไปบำบัดในผู้ที่ประกอบอาชีพเพื่อลดโรค ส่วนวันที่สอง เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประยุกต์การนวด ในการบำบัด ผ่อนคลายแก่ญาติผู้สูงอายุในครัวเรือน โดยให้เครือข่ายผู้สูงอายุ ร่วมกับเด้กที่เข้าโครงการ โดยการไปติดตามในชุมชน ส่วนวันที่ 2 เป็นการจัดกิจกรรมเด็กหอยรากกับศิลปะการตีกลองยาว และการเพลงบอก โดยจัดกิจกรรมให้มีการถ่ายทอดหลักแนวคิด และศิลปะแก่กลุ่มเด็กเยาวชนที่สนใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสำเร็จดังนี้ วันแรก 1. มีหมอนวดพื้นบ้าน คุณ วิไลรัตน์ ได้ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดวิธีการนวดและประโยชน์การนวด 2. เด็กได้เรียนรู้และให้ความสนใจแก่การนวดพื้นบ้าน และ ฝึกปฏิบัติการนวดท่าง่ายๆ 8 ท่าได้แก่ ท่านวดหลัง ท่านวดเท้า การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และความสำคัญและอันตรายจากการใช้ยาเกินความจำเป้น 3.เด็กๆให้ความสนใจ มีความรู้ ประโยชน์จาการนวดและร่วมฝึกปฏิบัติได้ วันที่ 2 เกี่ยวกับศิลปะการตีกลองยาว ได้เชิญกลองยาวศรีสมบูรณ์บันเทิงศิลป์มาโชว์การตีกลองยาวเป็นวง และแนะนำให้เด้กที่สนใต พนร้อมกับคณะเพลงบอก นายหนัง ครูพินธ์ พรหมจรรย์ และคตณะมาโชว์พร้อมพูดคัยให้เด้กเกิดความรู้และเสน่ของศิลปะที่อยู่คู่่บ้านหอยรากมาช้านาน

     

    60 45

    16. ปฎิบัติการสำรวจสภาพน้ำคลองหอยราก

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เครือข่ายเยาวชนอาสาในชุมชน จำนวน 60 คน ร่วมกับเยาวชนจาก ชุมชนใกล้เคียง อีก 40 คน เข้าร่วมกิจกรรมยุวประมง โดยมีวิทยากรจากกรมประมงและศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองปากพนัง ร่วมกันสำรวจสภาพน้ำในคลองหอยราก และแม่น้ำปากพนัง และคลองแยกออกจากคลองหอยราก เพื่อประเมินภาวะน้ำเสีย และช่วยกันดูแลแม่น้ำลำคลองในชุมชน และร่วมวางแผนกับกรรมการโครงการ เพื่อพูดคุยประเด้นการช่วยทำให้คลองกับมาสวยน้ำใส มีปลาอาศัยเพื่อเป้นแหล่งอาหาร แหล่งน้ำของชาวหอยราก จากนั้นนำผลการตรวจสภาพน้ำและแหล่ง ชนิดสัตว์น้ำที่ยังคงเหลืออยู่  นำเสนอแก่ที่ประชุมชุมชน เพื่อร่วมกันดูแลแม่น้ำลำคลอง พันธ์ปลา พืชน้ำ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลลัพธ์สำคัญในการจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกเยาวชน ร่วมกับเครือข่ายยุวประมงยุวประมง มีดังนี้ 1. เกิดเครือข่ายในการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลองในปากพนังต่อเนื่อง จากกรมประมง เทศบาลเมืองปากพนัง
    2. เด็กและเยาวชนได้สัมผัสกับบรยากาศในกรล่องเรือชมความเสียหายทัศนียภาพริมตลิ่ง และสองฟากคลอง เพื่อให้เกิดทัสนคติในการร่วมอนุรักษ์ 3.เด็กที่ร่วมกิจกรรมสนุกสนานและเกิดพลังกลุ่ม และร่วมกิจกรรมครบ

     

    35 60

    17. จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนประจำเดือนพฤศจิกายน 57 เพื่อวางแผนจีดกิจกรรมชุมชนและติดตามประเมินความก้าวหน้าโครงการ ในกิจกรรมการฝึกเด็กนวดพื้นบ้าน และกิจกรรมสำรวจแม่น้ำลำคลอง ในบริเวณบ้านเกิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนประจำเดือนพฤศจิกายน 57 มีกรรมการมาร่วม 12 คน และได้ประเมินความก้าวหน้าโครงการ ในกิจกรรมการฝึกเด็กนวดพื้นบ้าน และกิจกรรมสำรวจแม่น้ำลำคลอง ในบริเวณบ้านเกิด พบว่าโครงการบูรณาการกับเครือข่ายยุวประมง มีความประทับใจและผลสำเตร็จสูง และ กรรมการได้ นำงบประมาณที่ใช้ในกิจกรรมสำรวจ 2 ครั้ง มาดำเนินการเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ 2 วัน ใช้งบประมาณทั้งหมด 15400 บาทเป็นค่าอาหารแก่กลุ่มเยาวช ทั้งสิ้น 60 คน และ กิจกรรมที่เด้กๆได้เห็นสภาพคลองจิงๆในการล่องเรือชมสองฝั่งคลองเป็นกิจกรรมที่ชุมชนไม่สามารถสร้างให้เกิดได้ และความร่วมมือดังกล่าวจะเกิดภาคีกับกรมประมงภาคใต้อย่างต่อเนื่อง

     

    20 12

    18. ประชุมจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพ

    วันที่ 6 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชุมชนประชุมลงมติกิจกรรมดูแลสุขภาพตนเองที่ได้ดูแลตนเองที่บ้านได้เองและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างน้อย 10 อย่าง หรือสุขบัญญัติ 10 ประการสร้างสุขภาพ และฝึกกันทำพฤติกรรมทั้ง 10 อย่าง กำหนดเป็นท่าบริหารร่างกายที่คิดขึ้นโดยชาวหอยราก ใช้เวลาแนะนำ 2 วัน โดยเชิญวิทยากรจากกองสาธารณสุข เทศบาลเมืองปากพนัง ในการดำเนินกระบวนการแลกเปลี่ยน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลลัพธ์สำคัญในการจัดกิจกรรมได้แก่ 1. ชาวบ้านร่วมกิจกรรมดูแลสุขภาพ โดยการฝึกโยคะ 2 วัน 2. เกิดการแลกเปลี่ยน นำท่าที่ทำง่ายไปใช้การแก้ไขปัญหาปวดเมื่อยในชีวิตประจำวัน 3. เกิดแกนนำในการจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพในชุมชน

     

    100 80

    19. จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    วันที่ 14 ธันวาคม 2557 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ประจำเดือนธค.57 เพื่อวางแผนจีดกิจกรรมชุมชนและติดตามประเมินความก้าวหน้าโครงการทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการร่วมกันประชุม ร่วมกับเครือข่ายผู้สูงอายุ เนื่องจากกรรมการส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายอสม.และผุ้สูงอายุจำนวน ผู้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายอสม. 10 คน และผู้สูงอายุ 5 คน ใช้เวลาประชุม 2 ชม. โดยมีวาระการพูดคุยในประเด็นการส่งเสริมชุมชนให้เข้มแข็งดดยการพัฒนาสภาผู้นำร่วมกันส่งเสริมการประชุมพูดคุยในทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และมีการบันทึกการประชุม

     

    20 15

    20. ประชุมประเมินผลสุขภาพ

    วันที่ 2 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เนื่องจากวันเวลาในการจัดกิจกรรมตรงกับเทศกาลวันปีใหม่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นประเพณีของชาวหอยรากในการเริ่มต้นทำสิ่งที่ดีๆ ในต้นปี ดังนั้นกรรมการ แกนนำ 15 คน ได้ตกลงกันจัดกิจกรรมประเมินผลการจัดการสุขภาพ พร้อมกับงานสันทนาการในเทศกาลปีใหม่ จัดยืดเวลาออกไป โดยมีกลุ่มชาวศรีสมบูรณ์ เด็กๆเยาวชน และภาคีอื่นๆ ประมาณ 80 คน ร่วมกิจกรรมภายใต้ประเด็นว่า หลังจากแต่ละคนได้ร่วมการฝึกการนวด คลายเส้น การบริหารร่างกาย และโยคะเบื้องต้น เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกทำไป 3-6 เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มโครงการ เกิดผลอะรัยต่อสุขภาพบ้าง และได้เชิญให้น้องอุกฤษ เพ็งเพ็ชร เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม มีอ.สมหมาย ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 1 เป็นผู้ชวนคิดชวนคุย ในประเด็นการร่วมเรียนรู้และผลที่เกิดขึ้น ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งนี้ มีการประเมินความร่วมมือ และความยั่งยืน ซึ่งผู้ที่มาร่วมกิจกรรมทุกครั้ง มีการรับของรางวัลที่ระลึกจากโครงการ โดยให้เพื่อนๆโหวดให้ จำนวน 20 ราย จากนั้นเกี่ยวกับการประเมินสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการ และผู้ประกอบอาชีพขนมลาโดยเยาวชนเป็นผู้ประเมิน รวบรวมจากแต่ละครัวเรือนครอบคลุมด้านกาย จิตวิญญานโดยกลุ่มเยาวชน จัดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต อาจทำเป้นกลุ่มย่อย หรือช่วงเวลาพิเศษแต่ละกลุ่ม และนำผลมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับวิทยากร ด้านสาธารณสุขและแพทย์พื้นบ้านที่ร่วมในโครงการ จำนวน 1 วัน รวมทั้งจัดทำสติ๊กเกอร์กำกับสินค้าเพิ่มมูลค่าเพื่อเป็นแบรนด์เนมให้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ และเป็นรางวัลแก่ผู้ดำเนินชีวิตด้านสุขภาพได้อย่างมีคุณภาพตามแผนชีวิต ซึ่งทางชุมชนได้ร่วมคิดต่อในเวทีสภาผู้นำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนมาร่วมกิจกรรม 80 คน ได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาในการดูแสุขภาพตนเอง ดังนี้ 1. ทำไม่ต่อเนื่องเพราะขี้เกียจ ทำให้ไม่ได้ผล น้ำหนักไม่ลดลง 2. ผู้สูงอายุ หลายคนทำกิจกรรมออกแรงไม่ได้เนื่องจากเดินวิ่งไม่ไหว ทำให้เกิดข้อจำกัด 3. ลูกหลาน มีกิจกรรมการเรียน ทำให้กิจกรรมที่ฝึกเรื่องนวด พื้นบ้าน ได้ทำในช่วงระยะแรก พอนานๆไป ไม่มีเวลาทำ 4. การกินยาแก้ปวดเมื่อย และอาหารเสริม มีให้เลือกมาก และสะดวก หาง่าย ทำให้เกิดการดูแลสุขภาพตนเองน้อย ซึ่งผลสุดท้าย พบว่าปัญหาในการจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพตนเองนั้น ทำได้ในผู้ที่มีความพร้อมและตระหนักในสุขภาพจริงๆ และมีความตั้งใจค่อนข้างสูง และครอบครัวต้องให้การสนับสนุน
    ด้านความร่วมมือ พบว่า การจัดกิจกรรมในช่วงหัวค่ะ เวลา 16.00-20.00 เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของหอยราก เพราะในกลางวันต่างคนต่างไม่ว่าง
    เกิดวิธีการเรียนรู้เรื่องการผ่อนคลายกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ โดยการใช้การบริหารบนเก้าอี้ ใช้ได้กับผู้ที่มีน้ำหนักมาก เข่าเสื่อม ข้ออักเสบ หรือผู้ที่สูงอายุ

     

    100 80

    21. จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    วันที่ 24 มกราคม 2558 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ประจำเดือนมกราคา 58 เพื่อวางแผนจีดกิจกรรมชุมชนและติดตามประเมินความก้าวหน้าโครงการโดยในเดือนมกราคม ได้ชวนเครือข่ายเยาวชนมาทบทวนกิจกรรมดูแลสำรวขสภาพชุมชน ครั้งที่ 2 และเด็กๆได้มีกสรวาแผนทำปฏิทินบำเพ้ญประดยชน์ในวันสำคัญด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการโครงการ 20 คน ร่วมกันประชุม เพื่อวางแผนกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูนิทรรศการชาวหอยราก โดยวางแผนจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เน้นการจัดกิจกรรมเรื่องเล่าวิถีชาวหอยราก และการรำลึกประเพณีปีใหม่ดั้งเดิม และเปรียบเทียบกับวิธีปฎิบัติในปัจจุบัน โดยผลลัพธ์สำคัญในกิจกรรมคือเด้กได้มีส่วนร่วมสำรวจข้อมูลและคืนข้อมูลโดยร่วมกันวิเคราะหิปัญหาสุขภาพ และแต่ละคนเสนอวิธีแก้ปัญหาในครัวเรือนตนเองก่อน และเห้นพร้อมกันว่า ควรชวนผู้สูงอายุร่วมเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อน

     

    20 15

    22. จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ประจำเดือน กพ58 เพื่อวางแผนจีดกิจกรรมชุมชนและติดตามประเมินความก้าวหน้าโครงการทุกเดือน และแก้ปัญหาการบันทึกรายงานกิจกรรมล่าช้า เเนื่องจากกรรมการที่มีหน้าที่บันทึก ไปปฏิบัติงานที่ต่างจังหวัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แก้ปัญหาโดยการให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นกรรมการเครือข่ายเยาวชน มารับการฝึกการลงบันทึกข้อมูลที่ศูนย์สุขภาพชุมชนกับพี่เลี้ยง เมื่อมีกิจกรรมรายงาน

     

    20 15

    23. จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    วันที่ 28 มีนาคม 2558 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ประจำเดือนมีนาคม เพื่อวางแผนจีดกิจกรรมชุมชนและติดตามประเมินความก้าวหน้าโครงการทุกเดือน กิจกรรมการจัดกลุ่มประเมินผลสุขภาพ มีผู้เข้าร่วมประชุม 15 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      จากการประชุมกลุ่มกรรมการของชุมชนหอยราก พบว่า การขับเคลื่อนของสภาผู้นำยังไม่เป็นระบบ เช่น ทุกกลุ่มได้แก่ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่ม อสม. กลุ่มร้านค้า อาชีพ และ กลุ่มผู้สูงอายุ มีการประชุมต่อเนื่องทุกเดือน แต่ขาดการเชื่อมโยงกับแผนขับเคลื่อนชุมชน  และ บางคนไม่เห็นความสำคัญ และมีภาระกิจส่วนตัว ทำให้การประชุมไม่พร้อมเพรียงกัน จีงตกลงใช้รายงานการประชุมในการสื่อสารและรับทราบมติที่ประชุมในแต่ละครั้ง

     

    20 15

    24. จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    วันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เพื่อวางแผนกิจกรรมมอบประกาศเกียรติบัตรและถอดบทเรียน ในเดือนพฤษภาคม โดยตัวแทนเครือข่ายเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาชีพ และ อสม ร่วมกับกรรมการชุมชน ร่วมประชุมพร้อมกัน เพื่อจัดการมอบรางวัลและเกียรติบัตแก่ผู้ที่สามารถจัดการสุขภาพตนเองในขณะป่วย หรือ ในช่วงปกติได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปในการประชุม ดังนี้ ในชุมชนมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 37 คน และมีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 21 คน ผู้ป่วยโรคมะเร้ง ข้อเสื่อมเกาท์ และอื่นๆอีก 28 คน ในจำนวนนี้ ให้ทีมเยาวชนที่สำรวจข้อมูลจากสมุดบันทึกสุขภาพของผู้ป่วยในชุมชน และร่วมสังเกตพฤติกรรมผู้ที่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในเรื่องการกินอาหาร การออกกำลังกาย และการดูแลตนเองในกลุ่มผู้ที่ไม่มีอาการป่วย และลงมติส่งรายชื่อผู้ที่มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง และมีผลลัพสุขภาพดีขึ้น เพื่อรับมอบเกียรติบัตรในวันปิดดครงการ ส่วนกลุ่มกรรมการตัวแทนเครือข่ายที่มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องได้ลงมติมอบเกียรติบัตรด้วย รวมทั้งสิ้น 100 คน

     

    20 15

    25. ประชุมกรรมการโครงการประจำเดือน

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการโครงการและเครือข่ายเยาวชน ร่วมกันจัดทำบอร์ดเพื่อเตรียมมาจัดในกิจกรรมนิทรรศการชาวหอยราก ในวันที่ 8-10 โดยมีกลุ่มอสม.เป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุน และอุปกรณ์ ภาพโปสเตอร์ จากศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองปากพนัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการโครงการและเครือข่ายเยาวชน ร่วมกันจัดทำบอร์ดเพื่อเตรียมมาจัดในกิจกรรมนิทรรศการชาวหอยราก ในวันที่ 8-10 โดยมีกลุ่มอสม.เป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุน และอุปกรณ์ ภาพโปสเตอร์ จากศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองปากพนัง โดยเน้นการจัดเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่ดำเนินไปทั้งหมด และการจัดบอร์ดเกี่ยวกับการลดละเลิกการสูบบุหรี่และยาเสพติด และผลงานของเครือข่ายเยาวชนในการร่วมกันดูแลสภาพแวดล้อมและผู้สูงอายุในชุมชน มีเด็กมาร่วมประชุมและช่วยกันจัดกิจกรรมทั้งสิ้น 15 คน  พบว่าทุกคนช่วยกันคนละไม้ตนละมือ น้องกฤต พี่ใหญ่จัดการพริ้นภาพผลการดำเนินงาน ส่วนเด้กๆช่วยกันนำมาเรียงและออกแบจัดบนบอร์ด ซึ่งขอสนับสนุนจากโรงเรียนเทศบาลวัดศรีสมบูรณ์ และได้แผนป้ายการเลิกสูบบุหรี่ และป้ายธงโภชนาการ จากศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองปากพนัง มาให้ความรู้พร้อมแผ่นพับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ด้วย บรรยากาศสนุกสนาน เด้กๆชอบกิจกรรมและบอกว่าช่วยได้ถ้าทำแล้วชุมชนได้ประโยชน์ และเด็กๆที่ทำบอกว่าทำแล้วได้ความรู้เยอะ

     

    15 20

    26. จัดนิทรรศการนำเสนอผลงานชาวหอยราก

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เครือข่ายเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ และ อสม. ร่วมกันจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูนิทรรศการคนหอยราก โดยการจัดเวทีนำเสนอผลการดำเนินโครงการสู่ชุมชนบริเวณโรงเรียนเทศบาล 6 แทนจุดหน้าถนนศรีสมบูรณ์หน้าชุมชนหอบราก เนื่องจากมีการขยายพื้นผิวถนนของเทศบาลเมืองปากพนัง จำนวน 3 วัน โดยวันแรก ให้เครือข่ายเด็ก ร่วมกิจกรรมประเมินการจัดระบบสำรวจคูคลองแม่น้ำในหอยราก แล้วนำมาพูดคุยกัน ส่วนในวันที่ 2 เป็น กลุ่มผู้สูงอายุมาจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพแบบเพื่อนช่วยเพื่อน และ ในวันที่ 3 จัดกลุ่มแลกเปลี่ยนร่วมกันพร้อมชมนิทรรศการ ผลการดำเนินงานตั้งแต่เริมโครงการ ในครั้งนี้ ส่วนการมอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจ จำนวน 100 ราย กำลังจัดทำเกียรติบัตร และเสนอเซ็ฯนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองปากพนัง จึงนัดมอบเกียรติบัตร ในกิจกรรมวันปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมครั้งนี้ ในวันแรกมีคุณสุรางค เจ้าหน้าที่จากกองสาธารณสุขมาเป็นวิทยากรชวนเด็กสำรวจสภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชน พร้อมปัญหาสุขภาพชาวหอยรากและมาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันในวันที่ 3 ส่วนวันที่ 2 พี่หมู ประธาน อสม. ได้ชวนผู้สูงอายุ ทำกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน และร่วมกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดและนันทนาการ และนัดกันทำกิจกรรมรำวงเวียนครก เดือนละครั้ง ส่วนวันที่ 3 คุณปาลีรัตน์ พี่เลี้ยงโครงการ และ อ.โสภณ เส้งเสน มาเป้นวิทยากรพูดคุยเชื่อมโยงผลของการจัดการทั้ง 3 กลุ่ม เป็นเรื่องระบบสุขภาพชุมชน ที่เรียกว่า สุขภาพภาคประชาชน โดยเน้นระบบการพึ่งตนเอง ในยามปกติ ในยามป่วยไข้ และในยามพิการ ซึ่งเชื่อมโยงจาก ระดับรายบุคคล ไปการพึ่งตนเองในระดับคราอบครัว และการดุแลพึ่งตนเองในระดับชุมชน เพื่อจะนำไปสู่ชุมชนหอยรากเข้มแข็ง

     

    100 100

    27. ถอดบทเรียนในชุมชน

    วันที่ 12 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถอดบทเรียนในชุมชนจัดกิจกรรมเรียนรู้ ประเมินคุณค่า สิ่งดี ปัญหา อุปสรรค ในการจัดกิจกรรมของกลุ่มแกนนำเครือข่าย ตัวแทนเยาวชน และตัวแทนชาวบ้าน กลุ่มละ 15 คนโดยให้ตัวแทนเครือข่ายและละกลุ่มเล่าสิงที่ได้ทำร่วมกัน ความประทับใจ ความภูมิใจ และคุณค่าของกิจกรรมที่ผ่านมา จากนั้น พี่เลี้ยงโครงการได้สรุปเชื่อมโยงและเล่นกิจกรรมเปิดใจเพื่อให้แต่ละเครือข่าย ร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการถอดบทเรียน กิจกรรมที่กลุ่มประทับใจประกอบด้วย 1. กลุ่มเยาวชน ประทับใจกิจกรรมท่องเที่ยงเชิงนิเวศน์กับกรมประมงมากที่สุด แต่ เห็นว่ากิจกรรมที่สร้างคุณค่าของเด้กในชุมชนคือกิจกรรมสำรวจสุขภาพสิ่งแวดล้อมและคนในชุมชนหอยราก เนื่องจากทำให้เข้าใจว่าทำไมคนแก่ถึงขี้บ่น เข้าใจความเจ็บป่วย และดีใจที่ได้ช่วยดูแลบำบัดทุกข์ด้วยการนวดเพื่อผ่อนคลายให้กับปู่ย่า ตายาย ที่อยู่บ้าน 2. กลุ่มผู้สูงอายุ ประทับใจกิจกรรมนันทนาการ ที่ อสม.จัดกิจกรรมให้ทุกเดือน ว่าทำให้สนุกสนาน และได้พบเพื่อนปรับทุกข์ และเห็นว่าการจัดกิจกรรมควรเน้นทั้งทางจิต ทางกายและทางสังคมสลับกัน 3. กลุ่ม อสม. ซึ่งเป้นเสมือนกรรมการและพี่เลี้ยงแก่กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ กลุ่ม อสม.บอกว่า มีความสุขที่ได้จัดกิจกรรมกับเครือข่าย และรู้สึกว่าตนเองมีความรู้มากกว่า และนำความรู้ที่ได้รับมาถ่ายทอดแก่คนในชุมชนเพื่อสุขภาพ ประทับใจมากที่ผู้สูงอายุให้พรเวลาทำกิจกรรมดีๆให้ ส่วนภาพรวมการดำเนินงานของโครงการ พบว่า  1) สภาผู้นำยังขับเคลื่อนกลุ่มได้ไม่ดี แต่ละเครือข่ายขาดการประชุมร่วมกัน และไม่มีรูปธรรมและแผนงานชัดเจน 2) เครือข่ายแต่ละเครือข่าย เป็นรูปธรรมแต่ไม่เข้มแข็ง ต้องอาศัยพี่เลี้ยงมาช่วยจัดกิจกรรมให้ 3) กิจกรรม สสส. ต้องมีการวางแผนก่อนจัดให้ดี ไม่งั้นจะทำให้ขาดคุณค่าของกิจกรรมได้ 4) การเปลี่ยนแปลงของคนด้านพฤติกรรม คือ คนมารวมกลุ่มกันมากขึ้น มีการประชุมกันต่อเนื่องขึ้น มีการรับฟังกันมากขึน และชุมชนสร้างข้อตกลงในการประชุมขึ้นเอง ของแต่ละเครือข่าย และเกิดผุ้มีจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชนมากขึ้น

     

    45 45

    28. ประชุมประจำเดือนและสรุปโครงการ

    วันที่ 13 พฤษภาคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการโครงการร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานงวดที่ 1 และเตรียมรายงานการนำเสนอผลโครงการในระดับจังหวัดวันที่ 17 พค.58  ประเ็นสำคัญเรื่องการปิดโครงการ การจัดทำรายงาน บันทึกกิจกรรม และ จัดทำรูปเล่ม และจัดทำของที่ระลึกแก่ผู้ร่วมโครงการทุกคนที่เป็นเชิงสัญลักษณ์หอยรากทุกคน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการเข้าร่วมประชุม 10 คน ประชุมศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองปากพนัง ผลสรุปพี่เลี้ยงประเมินผลและสะท้อนผลการประเมินติดตามโครงการ พบว่า การขับเคลื่อนสภาผู้นำยังไม่สม่ำเสมอและขาดระบบ ชุมชนมีเครือข่าย 4 เครือข่าย แต่ยังแยกส่วน ขาดการเชื่อมโยง เนื่องจากภาระกิจงาน อย่่งไรกะตามพบว่าชุมชนเกิดการเรียนรู้การทำงานร่วมกันในกลุ่มเครือข่ายต่างๆ มีผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเด้กรุ่นใหม่ ร่วมกับกลุ่มอสม.ในพื้นที่ และเกิดการจัดการสุขภาพในระดับบุคลคล ครอบครัว และชุมชนต่อไป ส่วนการบันทึกกิจกรรมสามารถบันทึกได้เป็นปัจจุบัน และพี่เลี้ยงได้นัดประชุมนำเสนอผลการดำเนิงงานในวันที่ 17 พค..เวทีจังหวัด

     

    20 10

    29. รับการติดตามโครงการจากสสส

    วันที่ 17 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงจังหวัด ชี้แจงขั้นตอนการจัดทำสรุปรายงานการปิดโครงการ โดยมีพี่เลี้ยงพื้นที่ร่วมให้การแนะนำ ดำเนินการสรุปรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เพื่อให้การจัดทำรายงานการปิดโครงการสมบูรณ์เรียบร้อยตามที่ สสส.กำหนด

     

    4 4

    30. จัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการและเครือข่ายชุมชนต่อเนื่อง

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการและเครือข่ายชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเยาวชน  จำนวน 12 คน ร่วมประชุม และช่วยกันจัดทำเอกสาร พร้อมทั้งช่วยกันเก็บรวบรวมหลักฐาน ข้อมูลและกิจกรรมที่เยาวชนได้ดำเนินการร่วมกันสำรวจคูน้ำ ลำคลองหอยราก และการรวบรวมข้อมูลสุขภาพครั้งที่ 2 เพื่อนำเสนอผลการสำรวจข้อมูลหลังดำเนินการครบ 6 เดดือน แก่โครงการให้ครบถ้วน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการและเครือข่ายชุมชน ช่วยกันจัดทำเอกสารรายงานและเล่มฉบับสมบูรณ์ พร้อมทั้งช่วยกันเก็บรวบรวมหลักฐานการดำเนินกิจกรรมให้ครบถ้วน ผลการตรวจสอบพบว่า กิจกรรมที่เด็กได้ดำเนินการสำรวจแม่น้ำคู้คลอง และร่วมกับโครงการยุวประมง นั้น แม่น้ำลำคลองขาดการดุแล พันธ?สัตวน้ำ และพันธ์ไม้สูญพันธ์ไปจากเดิม  ในครั้งที่ 2 พบว่า หลังจากเยาวชนได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ปลูกไม้โกงกาง และ ปล่อยพันธ์ปลา ปูที่พบเจอในขณะสำรวจ เพื่อให้มีดำรงพันธ์ต่อไป ส่วนผลลัพธ์สุขภาพ เด้กสำรวจข้อมูลครั้งที่ 2 พบว่า คุฯป้า คุณลุง ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ประมาณ 30 คน มีการดำแลสุขภาพตามคำแนะนำและบำบัดผ่อนคลายกล้ามเนื้อลดอาการปวดหลัง บาดเจ็บ ได้ถุกต้อง และได้ส่งชื่อเพื่อรับมอบเกียรติบัตรรางวัลผู้จัดการสุขภาพจากโครงการ นอกจากนั้นโครงการยังได้มอบเกียรติบัติแก่เครือข่ายเยาวชน 30 คนและ อสม. 30 คน  ที่ได้ร่วมกันดูแลสุขภาพชาวหอยราก กิจกรรมครั้งนี้เป็นกิจกรรมเสริมซึ่งพี่เลี้ยงโครงการแนะนำให้ทำเพิ่มเติมจากการจัดกิจกรรมประชุมเพื่อประเมิลผลการจัดการสุขภาพ ในครั้งก่อน ซึ่ง เด้กๆทำสรุปกิจกรรมและรายชื่อผู้ที่จัดการสุขภาพล่าช้า จึงจัดให้มี่เวที่เสวนา และคืนข้อมูลสุขภาพทั้งของชาวบ้าน พร้อมมอบเกียรติบัตรเป็นที่ระลึกและจูงใจให้ดูแลสุขภาพต่อเนื่องและของสิ่งแวดล้อมเพื่อการร่วมกันดูแลสุขภาพต่อไป

     

    15 15

    31. มอบเกียรติบัตร และสรุปบทเรียนโครงการ

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมโครงการที่ยังไม่เรียบร้อยตามแผน ได้แก้ การมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ป่วยในชุมชนศรีสมบูรณ์ที่มีผลการจัดการสุขภาพที่ดีขึ้นและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมโครงการสสส และจัดพูดคุยเสวนากับกลุ่มเครือข่ายทั้ง 4 เครือข่าย รวมทั้งการขับเคลื่อนสภาผู้นำเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนชุมชน โดยเชิญภาคีเคื่อข่ายแกนนำทกภาคส่วนมาร่วมกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดเวทีเสวนา โดยตัวแทนเครือข่าย แต่ละเครือข่าย ทั้ง 4 เครือข่าย เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ สภาผู้นำ แและผู้ประกอบอาชีพทำขนมลา โดยมี อ.โสพล เส้งเสน อ.สุธรรม แก้วประดิษฐ์ และเจ้าหน้าที่สุขภาพจากเทศบาลเมืองปากพนัง เป็นผู้ดำเนินการเสวนา พร้อมเด็กเยาวชนได้เล่ากิจกรรมที่มีส่วนร่วมและผลการดูแลสุขภาพชาวหอยรากพร้อมได้มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ป่วยในชุมชน จำนวน 30 คน และทีมกรรมการชุมชน 20 คน เครือข่ายทั้ง 4 อีกจำนวน 50 คน รวม 100 คนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรม ลักษณะการจัดกิจกรรมเป็นลักษณะการจัดการพูดคุยเชิงเสวนาจากภาคีเครือข่าย โดยมีอ.สุธรรมแก้วประดิษฐ์ และ อ.โสพล เส้งเสน มาร่วมดำเนินการ โดยมีนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองปากพนัง ร่วมเสวนาให้กำลังใจพร้อมมอบเกียรติบัตร จากนั้น ทีมเครือข่ายเยาวชน โชว์ผลงานของกลุ่ม และแผนการจัดการชุมชนต่อเนื่อง ผลลัพธ์สำคัญเกิดภาคความร่วมมือ และสร้างกระแสการร่วมกิจกรรม การเกิดสภาผู้นำที่เป็นรูปธรรม และ การประชาสัมพันธ์โครงการ

     

    80 80

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ชุมชนมีเครือข่ายสุขภาพที่เข้าถึงและสอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวหอยราก
    ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1.1 เกิดเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาสุขภาพ 1.2 เกิดเครือข่ายผู้สูงวัยร่วมใจในหอยราก 1.3 เกิดสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนศรีสมบูรณ์ให้น่าอยู่ 1.4 เกิดเครือข่ายผู้ประกอบอาชีพขนมลา ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. คนในชุมชนร่วมกันจัดระบบเครือข่ายดูแลสุขภาพชุมชน อย่างน้อย 4 กลุ่ม

    1.1 เกิดเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาสุขภาพ 15 คน ร่วมทำกิจกรรมสำรวจข้อมูลชุมชน ปลูกป่าชายเลนในคลองหอยราก

    1.2 เกิดเครือข่ายผู้สูงวัยร่วมใจในชุมชนหอยราก โดยกลุ่มเครือข่ายร่วมกันระหว่างชุมชนศรีสมบูรณ์ และชุมชนหอยราก มีสมาชิกกว่า 15 คน ได้มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้การดูแลสุขภาพ และออกกำลังกาย

    1.3 เกิดสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนศรีสมบูรณ์ให้น่าอยู่ มีสมาชิก 20 คน มีกลุ่มเยาวชนร่วมในสภาด้วย โดยได้ขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมการออกกำลังกาย เล่นกีฬาในชุมชน การปลูกป่าชายเลนริมคลองหอยราก

    1.4 เกิดเครือข่ายผู้ประกอบอาชีพขนมลา จำนวน 10 คน โดยสมาชิกในเครือข่ายได้ร่วมชักชวนกันมาออกกำลังกายร่วมกัน

    1.5 เกิดเครือข่ายในชุมชนร่วมกันจัดระบบเครือข่ายดูแลสุขภาพชุมชน 4 กลุ่ม รวมเป็นจตุภาคีเป็นเครือข่ายในชุมชน ทั้งสิ้น 60 คน

    2 ประชาชนตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองและสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันโรคภายใต้กระบวนการสร้างสุขภาวะตามวิถีชุมชน
    ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 2.1ชาวศรีสมบูรณ์มีพฤติกรรมถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเอง 2.2 ชาวศรีสมบูรณ์ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อหรือโรคจากการประกอบอาชีพ 2.3 ชาวศรีสมบูรณ์ร่วมแรงร่วมใจสร่้างสิ่งแวดล้อมสะอาด น่าอยู่ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 2. คนในชุมชนร้อยละ 50 เข้าร่วมกิจกรรมดูแลสุขภาพตนเอง และร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อเนื่องสม่ำเสมอ

    2.1 ชาวศรีสมบูรณ์มีพฤติกรรมถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น ร้อยละ 58 โดยผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จำนวน 60 ราย ได้ร่วมกิจกรรมการจัดการสุขภาพตนเองและมีผลทำให้สุขภาพดีขึ้นจำนวน 35 คน

    2.2 ชาวศรีสมบูรณ์ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อหรือโรคจากการประกอบอาชีพได้ร้อยละ 30

    2.3 ชาวศรีสมบูรณ์ร่วมแรงร่วมใจสร้างสิ่งแวดล้อมสะอาด น่าอยู่ โดยการรับผิดชอบดูแลความสะอาดบริเวณบ้านของตนเอง และร่วมกันดูแลพื้นที่สาธารณะบริเวณคลองหอยราก

    2.4 คนในชุมชนร้อยละ 80 เข้าร่วมกิจกรรมดูแลสุขภาพตนเอง และการร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน แต่ยังขาดความต่อเนื่องสม่ำเสมอ

    3 ชุมชนมีการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาชุมชน วัฒนธรรม ประเพณีและอัตลักษณ์ท้องถิ่น
    ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 3.1 บันทึกภูมิปัญญาการทำขนมลา และอาชีพท้องถิ่น 3.2 มีประเพณีงานบุญสารทเดือนสิบ ประเพณีวันขนมลางานเปิดปิดเตาลา ต่อเนื่องทุกปี ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 3. ชุมชนมีการรวบรวมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาชุมชน ได้แก่ ภูมิปัญญาอาชีพทำขนมลา ภูมิปัญญาการนวดแผนโบราณ ภูมิปัญญาประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ประเพณีวันขนมลา

    3.1 มีการทำบันทึกภูมิปัญญาการทำขนมลา และอาชีพท้องถิ่น เช่น อาชีพการทำน้ำตาลจากต้นจาก การต่อเรือ และการรำกลองยาว

    3.2 มีประเพณีงานบุญสารทเดือนสิบ ประเพณีวันขนมลางานเปิดปิดเตาลา และจะทำต่อเนื่องทุกปี โดยเงินทุนบางส่วนจะร่วมกันลงขันจากสมาชิกในชุมชน

    3.3 ชุมชนมีการรวบรวมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาชุมชน ได้แก่ ภูมิปัญญาอาชีพทำขนมลา ภูมิปัญญาประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ประเพณีวันขนมลาโดยเครือข่ายเยาวชน 30 คนได้ร่วมกิจกรรมสืบสานการทำขนมลาจากรุ่นปู่ย่า ดำรงประเพณีบุญสารทเดือนสิบ งานเปิดปิดเตาลาตามที่เคยมีมา และโรงเรียนเป็นส่วนสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน แต่ในส่วนของภูมิปัญญาการนวดแผนโบราณยังไม่ได้มีการรวบรวมอย่างเป็นทางการ มีเพียงการเชิญมาเป็นวิทยากรเผยแพร่ให้ความรู้กับคนในชุมชน

    4 เพื่อการบริหารจัดการและติดตามผลการประเมินงาน
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. และ สจรส.

    เข้าร่วมกิจกรรมที่สสส. และสจรส.ม.อ.จัดกิจกรรมทุกครั้ง รวมจำนวน 4 ครั้ง

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ชุมชนมีเครือข่ายสุขภาพที่เข้าถึงและสอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวหอยราก (2) ประชาชนตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองและสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันโรคภายใต้กระบวนการสร้างสุขภาวะตามวิถีชุมชน (3) ชุมชนมีการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาชุมชน วัฒนธรรม ประเพณีและอัตลักษณ์ท้องถิ่น (4) เพื่อการบริหารจัดการและติดตามผลการประเมินงาน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข

    รหัสโครงการ 57-01467 รหัสสัญญา 57-00-0963 ระยะเวลาโครงการ 1 มิถุนายน 2557 - 30 มิถุนายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดการจัดการสุขภาพเริ่มจากบุคคล สู่ครอบครัว และสู่ชุมชน โดยชุมชนมีการบูรณาการทุนในชุมชนซึ่งได้แก่ ประเพณีวัฒธนธรรมท้องถิ่น ความเชื่อเรื่องการทำขนมลา และงานประเพณีปิด เปิดเตาลา รวมทั้งการละเล่นเชิงอนุัรักษ์แม่น้ำลำคลอง โดยอาศัยทุนมนุษย์ที่มีในชุมชน

    บันทึกข้อมูลการสำรวจสุขภาพชาวหอยราก

    การหนุนเสริมชุมชนในการจัดการสุขภาพ เป็นชุมชนจัดการสุขภาพตนเอง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    ชุมชนมีการรวบรวมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาชุมชน ได้แก่ ภูมิปัญญาอาชีพทำขนมลา ภูมิปัญญาการนวดแผนโบราณ ภูมิปัญญาประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ประเพณีวันขนมลา ด้านสิ่งแวดล้อมยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจน แต่ด้านผู้นำการเปลี่ยนแปลงพบว่า มีผู้นำเครือข่ายเยาวชนที่มีบทบาทและมีจิตอาสา สร้างสรรค์กิจกรรมร่วมกันดูแลสุขภาพของคนในชุมชน

    เกิดเครือข่ายดูแลสุขภาพตนเองชุมชนหอยราก

    เครือข่ายสภาชุมชนน่าอยู่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นเด่นชัดคือการเกิดเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาสุขภาพ เกิดเครือข่ายผู้สูงวัยร่วมใจในหอยราก เกิดสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนศรีสมบูรณ์ให้น่าอยู่ และ เกิดเครือข่ายผู้ประกอบอาชีพขนมลา และทั้ง 3 เครือข่ายในชุมชนร่วมกันจัดระบบเครือข่ายดูแลสุขภาพชุมชน เพื่อให้ชาวศรีสมบูรณ์มีพฤติกรรมถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเอง ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อหรือโรคจากการประกอบอาชีพ และร่วมแรงร่วมใจสร่้างสิ่งแวดล้อมสะอาด น่าอยู่

    เกิดกลุ่มเยาวชนรักศรีสมบูรณ์

    เยาวชนอาสาพัฒนาศรีสมบูรณื

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    กิจกรรมหลักโครงการเน้นระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาน ตั้งแต่ระดับบุคคล

    กิจกรรมได้ดำเนินตามแผนครบถ้วน

    การต่อยอดบัญญัติ 10 ประการในครอบครัว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีการสร้างพลังในกลุ่มเยาวชนใช้เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์ในลักษณะกลุ่มจิตอาสาไม่ใช้ยาเสพติด

    มีการรรรงค์และสนับสนุนชุมชนเลิกบุหรี่จากการติดป้ายปลอดบุหรี่และบอรฺดความรู้อันตรายสูบบุหรี่ในชุมชน

    กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ วัยใสไร้ควัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการลดการใช้ยากลุ่มแก้อักเสบที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะในกลุ่มผู้สูงอายุที่ปวดเข่าโดยการบำบัดการนวด

    จากการสอบถามเครือข่ายเยาวชนที่เก็บบันทึกข้อมูล

    กลุ่มสมุนไพรบำบัดโรค

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    เกิดเครือข่ายเยาวชนรักศรีสมบูรณ์ เครือข่ายผู้สูงอายุเพื่อนช่วยเพื่อน และเครือข่ายพี่เลี้ยง อสม.

    เกิดเครือข่ายดูแลสุขภาพตนเองชุมชนหอยราก

    กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    เกิดระบบการดูัแลสุขภาพระบบนิเวศน์

    จากการบันทึกกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีการใช้พื้นที่ใต้อาคารโรงเรียนเทศบาล6เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลชุมชนและสื่อสารทำความเข้าใจต่อเนื่องและมีผู้รับผิดชอบเป็นเยาวชนและ อสม.

    เกิดความร่วมมือต่อเนื่อง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    รายได้จากการประกอบอาชีพขนมลาหอยราก ดำรงชื่อเสียงและแบรนดืเนม

    ทะเบียนกลุ่มเครือข่ายผุ้ประกอบอาชีพ

    แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สวัสดิการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    เกิดข้อตกลงการตั้ง จตุภาคีขับเคลื่อนชุมชนหอยราก

    รายชื่อเครือข่ายทั้ง 4 เครือข่าย

    สภาผู้นำชุมชนน่าอยู่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เกิดเครือข่ายผุ็ประกอบอาชีพ เครือข่ายอสม.พี่เลี้ยง เครือข่ายผู้สูงอายุเพื่อนช่วยเพื่อนและเครือข่ายเด็กเยาวชนอาสาพัฒนาศรีสมบูรณ์

    รายชื่อเครือข่ายทั้ง 4 เครือข่าย

    เกิดการประสานระหว่าง 4 เครือข่ายในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    เกิดการเรียนรู้ในเวทีการสำรวจข้อมูและสุขภาพชุมชนอย่างเป็นระบบ

    ผลการสำรวจ

    การแก้ปัญหาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    กลุ่มเยาวชนและอสม.ร่วมกันเป็นผู้อาสาดูแลสุขภาพชุมชนและมีแผนเป็นรูปธรรม

    รายชื่อเครือข่ายทั้ง 4 เครือข่าย

    พัฒนาศักยภาพกลุ่ม ด้านการจัดการสุขภาพชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีการถ่ายทอดความรู้ในตัวบุคคลสู่กลุ่ม ในเรื่องการนวดบำบัดโรค

    รายชื่อเครือข่ายทั้ง 4 เครือข่าย

    การพัฒนาภายใต้ฐานปัญญา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    กลุ่มเยาวชนสามารถจัดการสำรวจข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะหืและร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาชุมชนในระดับง่ายได้

    ผลการสำรวจ

    พัฒนาทักษะต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    กลุ่มเยาวชนเกิดความภาคภูมิใจที่กลุ่มได้ร่วมกันดูแลชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    เครือข่ายในชุมชนมีการร่วมกันช่วยจัดการสุขภาพ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 57-01467

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย วิชาญ จันทราทิพย์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด