directions_run

บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด) ”

บ้านไกรไทย หมู่ที่ 4 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นางอำนวย สุขหวาน

ชื่อโครงการ บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)

ที่อยู่ บ้านไกรไทย หมู่ที่ 4 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 57-01475 เลขที่ข้อตกลง 57-00-1077

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2557 ถึง 10 กรกฎาคม 2558


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด) จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านไกรไทย หมู่ที่ 4 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด) " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านไกรไทย หมู่ที่ 4 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 57-01475 ระยะเวลาการดำเนินงาน 10 มิถุนายน 2557 - 10 กรกฎาคม 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,800.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 250 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร
  2. 2.เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชน
  3. 3.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้าน
  4. เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการใหม่

    วันที่ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงาน เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการใหม่ คณะทำงานเข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการใหม่  สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
    1.การจัดทำกิจกรรมตามโครกงาร
    2.เอกสารสัญญา 3.การบันทึกกิจกรรมตามโปรแกรมออนไลน์ 4.การจัดทำเอกสารหลักฐานทางการเงิน 5.การทำแผนปฏิบัติงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการได้เรียนรู้และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ
    2. คณะทำงานเรียนรู้วิธีคิดในการดำเนินโครงการตามแผนงาน รวมถึงวิธีการดำเนินกิจกรรมของโครงการ
    3. เรียนรู้วิธีการใช้งานระบบการทำงานบนเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข

     

    3 3

    2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่1

    วันที่ 21 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

    ประธานโครงการทำหน้าที่ประชุม วาระที่ 1 แจั้งให้ทราบเรื่องโครกงาร มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ
    ข้อที่ 1.เพื่อให้บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร ข้อที่ 2.เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชน ข้อที่ 3.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้าน สำหรับตัวชี้วัดที่สำคัญ และตัองทำให้เกิดขึ้นจากกิจกรรม ประกอบด้วย
    1.คณะทำงานมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ 2.ประชาชนครัวเรือนเป้าหมาย มีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลชุมชนร้อยละ 100 3.ส่งเสริมการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน ร้อยละ 85 4.มีแผนปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยวิถีพื้นบ้าน ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย 5.มีธนาคารสมุนไพร เพิ่มขึ้น 1 แห่ง 6. มีสวนสมุนไพรเพิ่มขึ้น 1 แห่ง 7. มีการฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาประเพณีชุมชนด้านสมุนไพร 1 เรื่อง 8. ประชาชนเป้าหมายร่วมประเพณีสืบสานด้านสมุนไพรชุมชน ร้อยละ 85 9. มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 3 ชนิด คือ ชากระเจี๊ยบ ชาตะไคร้ น้ำยาเอนกประสงค์มะกรูด 10. มีกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรชุมชน เพิ่มขึ้น 1 กลุ่ม 11. มีการจัดมหกรรมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพร 1 ครั้ง

    วาระที่ 2 แบ่งมอบหมายหน้าในหน้าที่ ดังนี้
    - ทีมงานสำหรับการจัดวาระประชุม -ทีมงานสำหรับการให้ความรู้และเชิญประชุม -ทีมงานสำหรับการประสานงาน
    -ทีมงานสำหรับการดูแล สถานที่
    ทุกคนได้มอบหมายหน้าที่ของตนเอง และตกลงกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีการมอบหมายหน้าที่ในการทำงาน
    2. มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
    3. มีการทบทวบกิจกรรมตามโครงการ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจ

     

    25 25

    3. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2

    วันที่ 7 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมประุชมพูดคุยตามแผนงานที่กำหนด วาระที่1  คณะทำงาน ทบทวนวาระเดิมและการแบ่งหน้าที่มอบหมายงาน
    วาระที่ 2 ประธาน พูดให้ฟังว่า ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นหรือผลลัพธ์ ดังนี้
    1.ประชาชนมีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลชุมชน
    2.มีฐานข้อมูลครัวเรือนและข้อมูลชุมชน
    3.มีแนวทางการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน 4.มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น
    5.มีการส่งเสริมสุขภาพด้วยกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ 6.มีธนาคารสมุนไพรเพิ่มขึ้น 7.มีสวนสมุนไพรชุมชนเพิ่มขึ้น 8.มีรูปแบบและการสืบสาน ฟื้นฟูต่อเทียนครูภูมิปัญญา 9.เยาวชนเรียนรู้เรื่องสมุนไพรโดยการถ่ายทอดจากครูภูมิปัญญา 10.มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการการสืบสานภูมิปัญญา 11.ประชาชนมีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณีและอนุรักษ์ภุมิปัญญาเพิ่มขึ้น 12.มีกระบวนการแปรรูปสมุนไพรเพื่อนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง 13.เกิดการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาไปสู่นักเรียน 14.มีกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรชุมชน 15.เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน 16.ลดรายจ่ายในการรักษาพยาบาล

    วาระที่ 3 กิจกรรที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย 1.การสำรวจครัวเรือน ต้องดำเนินการสำรวจครัวเรือน ให้ได้ 180 ครัวเรือน โดยการแบ่งหน้าที่มอบหมายความรับผิดชอบ และแบ่งทีมร่วมกันสำรวจ
    2.การทำแบบสอบถามให้ไปคิดร่วมกัน กับหมู่บ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อใช้เป็นฐานของตำบลเขาพระบาท ด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะทำงานรับทราบวิธีการดำเนินงานร่วมกัน
    2.ทีมคณะทำงานมีความพร้อมเกิดความร่วมมือของคณะทำงาน
    3.ได้แลกเปลี่ยนวิธีการทำงานระหว่างกัน ได้ร่วมกันระดมความคิดแนวทางปฏิบัติ

     

    25 25

    4. ร่วมกันคิดแบบสอบถามเก็บข้อมูล

    วันที่ 13 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานร่วมกันคิดแบบสอบถาม เพื่อใช้สำรวจข้อมูลชุมชน คณะทำงานร่วมกับพี่เลี้ยง แกนนำชุมชนและชุมชนอื่นๆ ในตำลเขาพระบาท ร่วมกันคิดแบบสอบถาม  ดังนี้
    1.คณะทำงานได้ระคมคิดหาข้อมูลในการสำรวจแบบสอบถามในชุมชน 2.แบบสอบถามมีทั้งหมด 5 ส่วน 86 ข้อ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและประชากรในครัวเรือน ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมประเพณี ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ ส่วนที่ 4 ข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 5 ข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะทำงานได้ระคมคิดหาข้อมูลในการสำรวจแบบสอบถามในชุมชน
    2. แบบสอบถามมีทั้งหมด 5 ส่วน 86 ข้อ

     

    5 5

    5. พี่เลี้ยงชี้แจงการทำโครงการและการใช้โปรแกรมออนไลน์

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมประชุมในการจัดทำโปรแกรมและเรียนรู้การบันทึกโปรแกรมออนไลน์ พี่เลี้ยงประชุมคณะทำงานทุกโครงการ เพื่อชี้แจงแนวทางการทำงานตามโครงการ มีกิจกรรมคือ 1.การบันทึกเอกสารการทำกิจกรรมตามโครงการ โดยใช้แบบฟอร์มที่ร่วมกันกำหนด 2.หลักฐานการดำเนินงานให้แนบแบบฟอร์ม 3.การจัดทำกิจกรรมตามแผนปฏิทิน 4.ให้บันทึกกิจกรรมลงโปรแกรม 5.หลักฐานในโปรแกรมและเอกสารการเงิน เอกสารกิจกรรมต้องตรงกัน 6.ปิดโครงการงวดแรก ตุลาคม 57 7.ให้ตรวจสอบการโอนเงินเข้าบัญชีให้เรียบร้อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการร่วมประชุม ได้ผลสรุปดังนี้

    1. การบันทึกเอกสารการทำกิจกรรมให้ใช้แบบฟอร์มที่ร่วมกันกำหนด
    2. หลักฐานการดำเนินงานให้แนบตามแบบฟอร์ม
    3. การทำกิจกรรมให้ยึดตามปฏิทินที่ได้ร่วมกันกำหนด
    4. เมื่อดำเนินกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้บันทึกรายงานกิจกรรมลงในเว็บไซต์
    5. รายงานบนเว็บไซต์ต้องตรงกับเอกสารการเงิน เอกสารรายงานกิจกรรรม
    6. กำหนดวันทำรายงานปิดโครงการงวดแรก ภายในเดือนตุลาคม 57
    7. กำหนดให้ตัวแทนคณะทำงานนำสมุดบัญชีเงินฝากไปปรับตรวจเช็คเงินสนับสนุนโครงการ

     

    5 5

    6. สำรวจข้อมูลชุมชน (3วัน)

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมสำรวจข้อมูลร่วมกันสำรวจ ทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน ในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว มีนางชะอ้อน สารักษ์ ทำหน้าที่ประชุมและดูแลทีมงาน ดังนี้
    วันที่ 1 นางชะอ้อน สารักษ์ ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ครังนี้ ได้แจ้งให้ทีมสำรวจข้อมูลและชี้แจงทำความเข้าใจกับคณะทำงานในการลงจัดทำข้อมูลชุมชน  เป้าหมายต้องใช้เวลาในการสำรวจ 3 วัน  จำนวน 180 ครัุวเรือน โดยสำรวจครัวเรือนที่อยู่จริง ข้อมูลชุมชนประกอบด้วย 1. รายรับ – รายจ่าย 2. ด้านสุขภาพ 3. การดำรงชีวิต 4. การอนุรักษ์ทรัพยากร 5. ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ต้องสำรวจข้อมูลจำนวน 180 ครัวเรือน โดยมอบหมายให้สำรวจเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มมี อสม.1 คน นักเรียนและแกนนำ 1 คน แบ่งเป็น 18 กลุ่ม  กลุ่ม กลุ่มละ  10 ชุด ให้เสร็จสิ้นแล้วมาทำข้อสรุปร่วมกัน เพื่อสรุปกิจกรรมต่อไป -สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการตอบแบบสอบถาม

    วันที่ 2  นางชะอ้อน ได้สอบถามความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคจากทีมงาน ก่อนที่จะสำรวจต่อไป ส่วนใหญ่ได้ประมาณ 4-5 ชุด ไม่มีปํญหาในการสำรวจ ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ตอนนี้ผลการสำรวจสำเร็จไป 1ใน 3 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทุกคนมีสำนึก มีความสามัคคี และสำนึกรักชุมชน

    วันที่ 3  นางชะอ้อน เก็บรวบรวมข้อมูล พบว่า เก็บข้อมูลได้มากกว่าร้อยละ 60 ทุกคนมีความตั้งใจ ชาวบ้านให้ความร่วมมือดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สร้างการมีส่วนร่วมในโครงการ โดยใช้กระบวนสำรวจข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้น
    2. เกิดสัมพันธภาพที่ดีและเรียนรู้ร่วมกัน ในการนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาชุมชน
    3. มีฐานข้อมูลระดับครัวเรือน และระดับชุมชน
    4. มีการสอนงานระหว่างทีมงาน ประชาชน นักเรียน ในการสำรวจข้อมูล ทำให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าและสัมพันธ์ที่ดีระหว่างวัย

     

    40 40

    7. วิเคราะห์ผลการสำรวจข้อมูล

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมวิเคราะห์ผลการสำรวข้อมูล จำนวน 142 ชุด

    • เพศของผู้ให้สัมภาษณ์ ชาย ร้อยละ 25.9 หญิง ร้อยละ 72.7
    • สถานภาพในครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถาม   หัวหน้าครัวเรือนร้อยละ 52.5 คู่ครองของหัวหน้าครัวเรือน ร้อยละ 26.6
    • ผู้ตอบแบบสอบถามยินดีตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 99.3
    • การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย ไม่มี ร้อยละ 80.6 มี ร้อยละ 18.7
    • ขณะนี้ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพหรือไม่ ไม่มี ร้อยละ  72.7   มี ร้อยละ 26.6
    • รายได้หลักของครอบครัวท่านมาจากอาชีพอะไร   ทำสวน ร้อยละ 36 รับจ้าง  ร้อยละ 30.2
    • ครอบครัวท่านมีที่ดินทำกินหรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 25.9   มี ร้อยละ 71.9
    • คนในครอบครัวของท่านมีบทบาทเป็นสมาชิหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนหรือไม่ ไม่เข้าร่วม ร้อยละ 69.1 เข้าร่วม ร้อยละ 28.8
    • คนส่วนใหญ่ในครัวเรือนของท่านเข้าร่วมงานกิจกรรมประเพณีของหมู่บ้านบ่อยเพียงใด เข้าร่วมบ่อยครั้ง ร้อยละ 33.8 เข้าร่วมบางครั้ง ร้อยละ 41
    • เหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด มีความศรัทธา ร้อยละ 57.6 เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน ร้อยละ 13.7
    • ท่านคิดว่าสิ่งใดที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของครัวเรือนของท่าน มากที่สุด ในชุมชน คือสิ่งใด พระสงฆ์ ร้อยละ  44.6 ผู้อาวุโส/ผู้เฒ่าผู้แก่ ร้อยละ 30.9
    • ในระยะ 5 ปี (ตั้งแต่มกราคม 2551 ถึง 2557) ที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิตหรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 87.1 มี ร้อยละ 12.2
    • ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีคนในครอบครัวท่านเจ็บป่วยหรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 66.2 มี ร้อยละ 33.1
    • ท่านรู้จัก “ยาปฏิชีวนะ” หรือ “ยาแก้อักเสบ” หรือไม่ ไม่รู้จัก ร้อยละ 64.7 รู้จัก ร้อยละ 34.5
    • ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านหรือคนในครัวเรือนมีความเจ็บป่วยที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ (ยาแก้อักเสบ) หรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 87.8 มี ร้อยละ 11.5
    • ท่านได้รับยาปฏิชีวนะดังกล่าว (ยาแก้อักเสบ) จากแหล่งใด สถานีอนามัย ร้อยละ 8.6 อื่นๆ ร้อยละ 87.8
    • ท่านหรือคนในครัวเรือนได้รับคำแนะนำในการใช้ยาจากแหล่งที่ท่านซื้อยาหรือไม่ ไม่ได้รับ ร้อยละ 2.9 ได้รับ ร้อยละ 7.9
    • ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ท่านและคนในครัวเรือนมีอาการเจ็บป่วยที่ได้ใช้ยาชุด หรือ “ยาหลายเม็ดที่บรรจุในซองเดียวกัน” หรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 95.0 มี ร้อยละ 4.3
    • ท่านสนหรือคนในครัวเรือนซื้อยาชุดเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยจากที่ใด ไม่มีใครใช้ยาชุด ร้อยละ 92.1 มีผู้ใช้ยาชุด ร้อยละ 7.2
    • ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตัวท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือไม่ ไม่ดื่ม ร้อยละ 87.8 ดื่ม ร้อยละ 11.5
    • ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านมีผู้ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 69.1 มี ร้อยละ 30.2
    • โดยทั่วไปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใดที่ท่านหรือคนในครัวเรือนมีการดื่มบ่อยครั้ง สุรา ร้อยละ 23.7 อื่นๆ ร้อยละ 66.9
    • ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนหรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 46.8 มี ร้อยละ 52.5
    • ท่านมีความวิตกกังวลว่าจะมีเงินไม่พอสำหรับเป็นค่าอาหารในครัวเรือน ไม่เคย ร้อยละ 61.9 2-3 เดือนครั้ง ร้อยละ 14.4
    • ท่านมีความวิตกกังวลว่าอาหารที่ท่านซื้อมาบริโภคในครัวเรือนในแต่ละครั้งอาจไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครัวเรือนทุกคน ไม่เคย ร้อยละ  73.1 ปีละ 1-2 ครั้ง ร้อยละ  10.1
    • ท่านเคยต้องการซื้ออาหารในปริมาณที่ลดลงเนื่องจากต้องจ่ายเงินค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่ายารักษาโรค หรือค่าใช่จ่ายอื่นแทน ไม่เคย ร้อยละ 53.2 2-3 เดือน/ครั้ง ร้อยละ 17.3
    • ในภาพรวมสมาชิกในครัวเรือนของท่านได้รับประทานอาหารครบถ้วนเท่าที่แต่ละคนควรจะได้รับ ไม่เคย ร้อยละ 25.2 ทุกเดือน ร้อยละ 56.8
    • ท่านต้องรับประทานอาหารในปริมาณที่น้อยลงกว่าเดิมในบางมื้อเนื่องจากมีอาหารไม่เพียงพอสำหรับบริโภคในครัวเรือน ไม่เคย ร้อยละ 77.2 2-3 เดือน/ครั้ง ร้อยละ 11.5
    • ท่านเคยอดอาหารในบางมื้อเนื่องจากมีเงินซื้ออาหารไม่เพียงพอในครัวเรือน ไม่เคย ร้อยละ 89.2 ปีละ 1-2 ครั้ง ร้อยละ 4.3
    • สมาชิกในครัวเรือนที่เป็นผู้ใหญ่เคยต้องลดปริมาณที่รับประทานให้น้อยลงกว่าเดิมในบางมื้อเนื่องจากมีอาหารไม้เพียงพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือน ไม่เคย ร้อยละ 80.6 2-3 เดือน/ครั้ง ร้อยละ 11.5 เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีในครัวเรือนของท่านได้รับประทานอาหารที่ครบถ้วนทุกมื้อ ไม่เคย ร้อยละ 56.8 ทุกเดือน ร้อยละ 35.3
    • ช่วงเดือนใดในรอบปีที่ผ่านมา ( ก.ย. 56-ก.ค 57) ที่ท่านและครัวเรือนของท่านมีความยากลำบาก จนต้องกู้ยืมเงินมาเป็นค่าใช่จ่ายและซื้ออาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือน ไม่มี ร้อยละ 92.1 มี ร้อยละ 7.2
    • ช่วงเดือนใดในรอบปีที่ผ่านมา ( ก.ย. 56-ก.ค 57) ที่ท่านต้องซื้ออาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารโดยเชื่อไว้ก่อนแล้วจึงผ่อนหรือชำระในภายหลัง ไม่มี ร้อยละ 95.7 มี ร้อยละ 3.6

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานและทีมสำรวจ มาพูดคุยเกี่ยวกับผลการสำรวจข้อมูล พบว่า

    1. ข้อมุูลที่ทำการสำรวจได้มีเพียง 142 ชุด คิดเป็นร้อยละ 78.88 ส่วนอีกที่เหลือร้อยละ 21.11 พบว่า มีบ้านเรือนทับซ้อนกัน บางครัวเรือนอยู่ 1 หลัง แต่หลายบ้านเลขที่  บางครัวเรือนไม่ได้อยู่ในพื้นที่ มีเฉพาะทะเบียนบ้าน เจ้าของบ้านย้ายไปนานแล้ว
    2. ทุกครัวเรือน ให้ข้อมูลด้วยความเต้มใจ ทุกครัวเรือน
    3. คำถามทีพบปัญหามากที่สุดคือ เรื่องหนี้สิน รายรับ รายจ่าย ครัวเรือน
    4. ปรึกษาพี่เลี้ยงแล้ว ข้อคำถามไหนที่มีปัญหาให้ข้ามไปได้ เพราะต้องการเฉพาะบางส่วนที่สอบถามได้
    5. ข้อมูลที่เก็บได้ เสนอแนะให้ไปบันทึกในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ง่ายต่อการประมวลผล
      ทุกคนเห็นด้วย

     

    20 20

    8. เข้าร่วมประชุมตำบลในเวทีสานเสวนาเล่าเรื่องดีดีตำบลเขาพระบาท

    วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงาน นำเสนอผลการพัฒนาให้กับผู้นำระดับตำบลทราบ

    วันนี้ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมสานเสวนาในการพัฒนาหมู่บ้านและเล่าเรื่องราวดีดีในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท ให้กับผู้นำชุมชน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมกิจกรรม 56 คน โดยมีเนื้อหาดังนี้ กิจกรรมสานเสวนาบอกเล่าเรื่องราวสิ่งที่ดีในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2557 ดังนี้ 08.00 น. ลงทะเบียน 08.00 – 08.15 น. นางฉวีวรรณ แก้วเขียว  นายก อบต.เขาพระบาท กล่าวต้อนรับทุกท่าน แจ้งวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมครั้งนี้ 08.15 – 08.40 น. แนะนำตัวสมาชิก ผู้นำชุมชน และข้าราชการในพื้นที่ เริ่มจาก ทีมงานจาก อบต.เขาพระบาท  ทีมงานจาก รพ.สต.เขาพระบาท  ทีมงานจากทุกโรงเรียน  สมาชิก อบต.ทุกหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน  ประธาน อสม.ทุกหมู่บ้าน 09.00 น. นางฉวีวรรณ แก้วเขียว  นายก อบต.เขาพระบาท มอบนโยบายการพัฒนาพื้นที่ตำบลเขาพระบาท 09.15 น. จสอ.สมเกียรติ หนำคอก  ปลัด อบต.เขาพระบาท เล่าเรื่องการบูรณาการร่วมของหน่วยงานและพื้นที่ของตำบลเขาพระบาท และการขับเคลื่อนงานตำบลสุขภาพดี  โดยนายมนูญ พลายชุม ผอ.รพ.สต.เขาพระบาท 09.30

    ประเด็นที่ 2 เปิดเวทีเสวนา ให้บ้านไกรไทย เล่าให้ฟัง ปีนี้กิจกรรมที่จะดำเนินการประกอบด้วย ชื่อโครงการ บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสุขภาพดีด้วยตำรับสุมนไพร มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ (1)เพื่อให้บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร  (2)เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชน (3)เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้าน กิจกรรมที่ต้องดำเนินและมีผลงานในเชิงคุณภาพคือ
    1.ประชาชนมีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลชุมชน
    2.มีฐานข้อมูลครัวเรือนและข้อมูลชุมชน
    3.มีแนวทางการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน 4.มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น
    5.มีการส่งเสริมสุขภาพด้วยกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ 6.มีธนาคารสมุนไพรเพิ่มขึ้น 7.มีสวนสมุนไพรชุมชนเพิ่มขึ้น 8.มีรูปแบบและการสืบสาน ฟื้นฟูต่อเทียนครูภูมิปัญญา 9.เยาวชนเรียนรู้เรื่องสมุนไพรโดยการถ่ายทอดจากครูภูมิปัญญา 10.มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการการสืบสานภูมิปัญญา 11.ประชาชนมีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณีและอนุรักษ์ภุมิปัญญาเพิ่มขึ้น 12.มีกระบวนการแปรรูปสมุนไพรเพื่อนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง 13.เกิดการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาไปสู่นักเรียน 14.มีกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรชุมชน 15.เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน 16.ลดรายจ่ายในการรักษาพยาบาล

    กิจกรรมการดำเนินงานประกอบด้วย 1)การจัดทำข้อมูลครัวเรือน 2)การทำธนาคารสมุนไพร 3)การทำสวนสมุนไพร 4)การอนุรักษ์ประเพณีครูภูมิปัญญา 5)การสืบทอดประเพณีภูมิปัญญา 6)การจัดทำกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพร 7)การติดตามประเมินผลงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้เผยแพร่ให้ภาคีสุขภาพ ได้ทราบเกี่ยวกับโครงการ และอาสามาร่วมทำงาน
    2. ได้วางแผนการพัฒนาหมู่บ้านและตำบลร่วมกัน
    3. เน้นให้เกิดกระบวนการทำงานเป็นระบบ โปร่งใส ตรวจสอบได้
    4. ผู้นำชุมชุมชน หน่วยงานราชการ ให้ความสำคัญ
    5. เป็นการทำงานแบบผสมผสานทุกมิติ
    6. มีการวางเป้าหมายทำงานร่วมกันคือ สุขภาวะ

     

    5 5

    9. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3

    วันที่ 7 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผน วันนี้ประธานได้สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา  กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว คือ การสำรวจข้อมูล ดังนี้
    1.ได้ข้อความร่วมมือจากชุมชน ร่วมกันสำรวจข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมุลพื้นฐานครัวเรือน ข้อมูลค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ด้านการรักษาพยาบาล ความต้องการใช้สมุนไพร และข้อมูลพื้นฐานของชุมชน โดยใช้แบบสำรวจที่ร่วมกันคิด สำรวจไปแล้ว 142 หลัง 2.การออกแบบสอบถาม มีพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ รพสต.และอบต.เขาพระบาท เข้าร่วมด้วย
    3. การเก็บข้อมูลออกแบบโดย แกนนำ 1 คนและนักเรียน 1 คน สำรวจคู่ละ 10 – 12 ครัวเรือน
    4.ทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
    5.ปัญหาที่พบคือ ข้อมุลด้านใช้จ่าย ไม่ค่อยได้ขัอความตรงกับความจริง เพราะกลัวในการให้ข้อมูล

    กิจกรรมที่ต้องทำในเดือนนี้คือ การปรับพฤติกรรมสุขภาพ ต้องรับสมัครประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม กำหนดเป้าหมาย 50 คน เป็นการเรียนรู้การดูแลตนเอง โดยใช้สมุนไพร
    ให้ทุกคนทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง และเข้าร่วมกิจกรรมด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะทำงานได้เรียนรู้และวางแผนการทำงาน
    2. ร่วมกันออกแบบสำรวจข้อมูลชุมชน
    3. ทำให้ได้ทราบปัญหาความต้องการของชุมชน
    4. สร้างความไว้วางใจระหว่างทีมงานกับประชาชนในด้านข้อมูลครัวเรือน

     

    25 25

    10. ปรับพฤติกรรมสุขภาพ ครั้งที่ 1

    วันที่ 16 สิงหาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    กิจกรรมวันนี้ ประกอบด้วย
    1.ประธานโครงการเชิญกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นบุคคลที่สนใจเรื่องสุขภาพ เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร  มาเรียนรุู้การปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน โดยให้ทุกคนจัดทำแผนปรับพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนในหมู่บ้าน 2.ทุกคนสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง โดยใช้แบบสำรวจพฤติกรรม โดยให้สำรวจดังนีั้ 2.1พฤติกรรมที่ดีเช่น การออกกำลังกาย การลดเครียด การกินแต่พอเพียง และพฤติกรรมอื่นๆที่ดีมีอะไรบ้าง พฤติกรรมใดเป็นตัวอย่างได้ 2.2พฤติกรรมที่ไม่ดีต้องปรับมีอะไรบ้างเช่นกินจุบจิบ ไม่ออกกำลังกาย เครียด สูบบุหรี่ ดื่มสุรา 2.3 กลุ่มเป้าหมายช่วยเล่าให้กับทีมงานฟังว่าพฤติกรรมใดที่ดีแล้ว พฤติกรรมใดต้องเปลี่ยน 3.ทีมงานสมุนไพร เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการนำสมุนไพรมาใช้ดูแลสุขภาพตนเอง และระดมช่วยกันคิดการปรับพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้สมุนไพรและภูมิปัญญามาใช้ในการปรับพฤติกรรมชีวิตของตนเอง

    4.เรียนรู้เรื่องนาฬิกาชีวิต
    วันนี้ทีมงานในโครงการได้รับเอกสารจากพี่เลี้ยงเรื่องนาฬิกาชีวิต เพื่อนำมาศึกษาและเรียนรุู้เพิ่มเติม และได้มาเล่าให้ทีมงานฟังว่า ใน 1 วัน มีเวลา 24 ชั่วโมง เราควรปฏิบัติตัวดังนี้
    เวลา 3.00 – 5.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด เพื่อให้ระบบหายใจได้ทำงานได้เต็มที่ และเซลล์ต่างๆ ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะที่สมอง สมองที่ได้รับออกซิเจนน้อยหรือไม่เพียงพอจะมีผลความจำของคนเราเสื่อมลงได้ ช่วง 4.00 – 5.00 น เป็นช่วงที่อุณหภูมิของร่างกายลดลงต่ำสุด ร่างกายควรได้รับความอบอุ่น หลีกเลี่ยงสภาวะอากาศเย็น ช่วงนี้จึงเหมาะต่อการตื่นนอนเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์และออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้น สำหรับคนที่ระบบหายใจหรือปอดมีปัญหา หายใจติดขัด ไอ จาม มีน้ำมูก โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบต้องระวังสุขภาพ เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่อาการกำเริบได้ง่าย เวลา 5.00 – 7.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ เพื่อขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ช่วงนี้จึงควรดื่มน้ำเพื่อกระตุ้นระบบขับถ่าย และตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไปจนถึงช่วงหัวค่ำ ความดันเลือดในร่างกายจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น สำหรับคนที่มีสุขภาพอ่อนแอ จะมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก หายใจติดขัด โดยเฉพาะคนที่เป็นโรค หืดควรระวังอาการกำเริบ เวลา 7.00 – 9.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงาน ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารมื้อเช้า สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคไมเกรน ภูมิแพ้ ไขข้ออักเสบรูมาทอยด์ ช่วงเวลานี้ควรระวังอาการกำเริบได้ เวลา 9.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้ามและตับอ่อน โดยม้ามทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย กำจัดเม็ดเลือดแดงที่เสื่อมสภาพ ส่วนตับอ่อนจะผลิตเอนไซม์มาช่วยย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก ร่างกายช่วงนี้จะมีความตื่นตัวมาก จึงเป็นช่วงที่เหมาะต่อการ ทำงาน/ทำกิจกรรม เวลา 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ช่วงนี้ระดับความดันเลือดในร่างกายยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดัง นั้นคนที่หัวใจผิดปกติ ช่วงนี้จะมีเหงื่อออกมากและรู้สึกร้อน อบอ้าว เวลา 13.00 – 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหาร หากมื้อกลางวันไม่รับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ช่วงนี้จะรู้สึกหิวและทรมาน เวลา 15.00 – 17.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะ ปัสสาวะ ซึ่งทำหน้าที่เก็บน้ำกรองจากไต โดยช่วง 17.00 น. เป็นช่วงที่หลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อในร่างกายมีความแข็งแรง จึงเหมาะต่อการออกกำลังกาย เวลา 17.00 – 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต เพื่อกรองของเสียออกจากเลือดและรักษาสมดุลในร่างกาย ช่วง 18.30 น. ระดับความดันเลือดจะเพิ่มขึ้นสูงสุด และ ช่วงนี้จึงควรดื่มน้ำสะอาด (ไม่ควรดื่มน้ำเย็น) และไม่ควรนอนหลับในช่วงนี้ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับในช่วงกลางคืน เวลา 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของหัวใจ และเป็นช่วงของระบบหมุนเวียนโลหิต โดยช่วง 19.00 น. อุณหภูมิในร่างกายจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ผู้ป่วยเป็นโรคผิวหนัง ช่วงนี้ควรระวังอาการกำเริบ เวลา 21.00 – 23.00 น. เป็นช่วง เวลาของระบบทั้ง 3  ได้แก่ ระบบหายใจ ส่งผลต่อร่างกายช่วงบน(หัวใจ-ปอด) ระบบย่อยอาหารมีผลต่อช่วงกลางลำตัว(กระเพาะ อาหาร ม้าม ตับ) และระบบขับถ่ายมีผลต่อร่างกายช่วงล่าง(ไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้เล็ก) เป็นช่วงที่ร่างกายปรับสมดุลความร้อนและเป็นช่วงที่อุณหภูมิในร่างกายจะค่อยๆ ลดลง การขับถ่ายอุจจาระจะหยุดพักชั่วคราว ร่างกายจะเริ่มหลั่งเมลาโทนิน ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ควรนอนหลับพักผ่อน เวลา 23.00 – 1.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี เพื่อเก็บน้ำดีที่ได้จากตับและส่งน้ำดีมาช่วยย่อยไขมันที่ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดีและตับ จึงเป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันอย่างมาก เวลา 1.00 – 3.00 น. ช่วงเวลาของตับ เพื่อกำจัดสารพิษในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยนำมาสังเคราะห์และเก็บสะสมในรูปไกลโคเจน และสร้างน้ำดีมาเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ช่วงนี้ควรเป็น ช่วงที่หลับสนิทเพื่อให้เลือดไหลเวียนมาที่ตับได้ดี เนื่องจากเวลา 2.00 น ร่างกายจะหลั่งเมลาโทนินได้สูงสุด การนอนไม่หลับ เครียด ได้รับสารพิษ หรือรับประทานอาหารหวานจัด จะส่งปัญหาถึงตับ สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ ช่วงนี้อาจทำให้อาการกำเริบและหัวใจล้มเหลวได้

    กลุ่มเป้าหมายทุกคนสนใจ และขอรับหนังสือเพื่อไปอ่านเพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการดูแลตนเอง และปรับพฤติกรรมตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
    2. ลดรายจ่ายในด้านสุขภาพ
    3. ส่งเสริมการดูแลสุขภาพตามวิถีภูมิปัญญา
    4. ส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ

     

    100 100

    11. ธนาคารสมุนไพร ครั้งที่ 1

    วันที่ 30 สิงหาคม 2557 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มสมุนไพร เข้าร่วมกิจกรรมปรับปรุงและฟื้นฟูสวนสมุนไพร

    วันนี้หัวหน้าโครงการ ได้เชิญกลุ่มสมุนไพรและผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาธนาคารสมุนไพรเพิ่มเติม ดังนี้ 1.หัวหน้าโครงการ เชิญโซนปลูกสมุนไพรและเชิญแกนนำมานั่งพูดคุย เพื่อวางแผนการเพาะกล้าต้นไม้สมุนไพร แปลงสมุนไพร สวนสมุนไพรในชุมชน โดยการจัดตั้งเป็นธนาคารสมุนไพรของชุมชน โดยมีหลักการคือ ธนาคารสมุนไพรจะรวบรวมสมุนไพรทุกชนิดที่พบในบ้านไกรไทย ร่วมกันเพาะปลูกสมุนไพร เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยจำหน่ายในราคาต้นทุน และรายได้ทั้งหมดนำไปพัฒนาธนาคารสมุนไพร 2.แบ่งกลุ่มการเพาะและปลูกสมุนไพรเป็น 3 โซนเหมือนเดิม คือบ่อหลา ทางพล บ้านค่าย แต่ละกลุ่มประกอบด้วย ปราชญ์ 1 คน แกนนำเดิม 6 คน นักเรียน 8 คน และครูกลุ่มละ 1 คน 3.แต่ละกลุ่ม กำหนดบทบาทของสมาชิกให้ชัดเจน โดยให้ครูและปราชญ์เป็นที่ปรึกษา จัดทำผังการทำงานของแต่ละโซน แบ่งหน้าที่ มอบหมายกันอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการเกี่ยงงาน หรือไม่รับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง 4.ทุกโซนร่วมกันวางแผนในการเพาาะสมุนไพร โดยมีข้อกำหนดว่า สมุนไพรเดิมที่มีอยู่แล้วจะต้องขยายเพิ่มเติม และสมุนไพรที่ทำการเพาะและต้องปลูกเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพ ดังนี้ (1)สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบ คือ ไพล มะกรูด มะขาม ตระไคร้ ขมิ้น ส้มป่อย (2)สมุนไพรสำหรับชุดอบ คือ ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ ผิวมะกรูด ผักบุ้ง ใบหนาด ใบมะขาม ส้มป่อย (3)สมุนไพรตำรับยาต้ม ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ไหลเผือก 5. ทุกโซน ต้องไปชักชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มเติม และร่วมกันกำหนดพื้นที่ในการปลูกสมุนไพรให้เป็นสวนสมุนไพรชุมชน 2 จุด คือ บริเวณศูนย์เรียนรู้บริเวณวัดพระบาท และปลูกทุกบ้าน ให้เป็นกองกลางของชุมชน โดยมีกติกาว่าทุกคนต้องปลูกเผื่อไว้ให้กับธนาคาร อย่างละ 5 ต้นต่อบ้าน เพื่อใช้ปลูกและแจกจ่ายกับชุมชน และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน 6.มอบหมายให้แกนนำ อสม.และนักเรียน ช่วยกันสำรวจข้อมูลสมุนไพรในชุมชน ทุกคนเห็นด้วย และพร้อมที่จะมอบสมุนไพรให้กับชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนได้มีโอกาสเข้าร่วมพัฒนา ตามความสมัครใจ
    2. มีการแบ่งกลุ่มกันทำงาน ตั้งแต่เยาวชน นักเรียน ครู ประชาชน และทีมงาน
    3. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนา
    4. มีการเรียนรู้โซนปลูกสมุนไพร
    5. มีการวางเป้าหมายพัฒนาร่วมกัน

     

    50 50

    12. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4

    วันที่ 7 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด คณะทำงาน เข้าร่วมประชุม และรายงานความก้าวหน้า ดังนี้
    กิจกรรมที่ทำไปแล้ว ประกอบด้วย
    วันนี้หัวหน้าโครงการ ได้เชิญกลุ่มสมุนไพรและผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาธนาคารสมุนไพรเพิ่มเติม ดังนี้ 1.กิจกรรมการทำธนาคารสมุนไพร  โดยหัวหน้าโครงการได้เชิญกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ มานั่งพูดคุย เพื่อวางแผนการเพาะกล้าต้นไม้สมุนไพร จัดตั้งเป็นธนาคารสมุนไพรของชุมชน ซึ่งแบ่งกลุ่มการเพาะและปลูกสมุนไพรเป็น 3 โซนเหมือนเดิม กำหนดบทบาทของสมาชิกให้ชัดเจน โดยให้ครูและปราชญ์เป็นที่ปรึกษา  มีการจัดทำผังการทำงานของแต่ละโซน แบ่งหน้าที่ มอบหมายงานชัดเจน เพื่อป้องกันการเกี่ยงงาน  นอกจากนี้ร่วมกันวางแผนในการเพาาะสมุนไพร โดยมีข้อกำหนดว่า สมุนไพรเดิมที่มีอยู่แล้วจะต้องขยายเพิ่มเติม และสมุนไพรที่ทำการเพาะและต้องปลูกเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพ ดังนี้
    (1)สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบ คือ ไพล มะกรูด มะขาม ตระไคร้ ขมิ้น ส้มป่อย (2)สมุนไพรสำหรับชุดอบ คือ ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ ผิวมะกรูด ผักบุ้ง ใบหนาด ใบมะขาม ส้มป่อย (3)สมุนไพรตำรับยาต้ม ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ไหลเผือก
    นอกจากนั้น ยังได้มอบหมายให้แกนนำ อสม.และนักเรียน ช่วยกันสำรวจข้อมูลสมุนไพรในชุมชน

    2.กิจกรรมการปรับพฤติกรรมสุขภาพ มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม โดยทุกคนสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ใช้แบบสำรวจพฤติกรรม ซึ่งอยู่ในระหว่างประมวลผล นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยถึงการนำสมุนไพรมาใช้ดูแลสุขภาพตนเอง และระดมช่วยกันคิดการปรับพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้สมุนไพรและภูมิปัญญามาใช้ในการปรับพฤติกรรมชีวิตของตนเอง และก่อนปิดประเด็นมีการพูดคุยเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องนาฬิกาชีวิต

    กิจกรรมที่ต้องดำเนินในเดือนนี้คือ
    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการสร้างสวนสมุนไพร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการดำเนินนงานขอความร่วมมือจากทุกคนให้ความร่วมมือด้วย
    มอบหมายหน้าที่ ดังนี้
    การประสานงาน นางชะอ้อน สารักษ์ การจัดเตรียมสมุนไพร  นางสาคร ยิ้มแย้ม การจัดเตรียมอาหารว่าง นางสายชล เพ็งตุก การจัดเตรียมอาหาร นางสมสวย ภูแข็ง การบันทึกข้อมูล นางอนุสรา บางพา ประชาสัมพันธ์ นางปราณี รักษ์ทิพย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีการประชุมตามแผนงานที่กำหนด
    2. มีการติดตามความก้าวหน้าของงาน
    3. ทีมงานรุ้สึกเป็นเจ้าของในกิจกรรม
    4. มีการนำภาคีเข้ามาร่วมทำงาน
    5. เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ร่วมพัฒนา

     

    25 25

    13. ทำสวนสมุนไพร ครั้งที่ 1

    วันที่ 7 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มสมุนไพร และกลุ่มผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม ทำสวนสมุนไพรชุมชน

    วันนี้หัวหน้าโครงการได้เชิญแต่ละกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้
    1.หัวหน้าทีมได้พูดุคยกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อรื้อฟื้นสมุนไพรในชุมชน โดยวันนี้ขอความร่วมมือในการพัฒนาสวนสมุนไพร และจัดระบบใหม่ โดยให้นำวัสดุการพัฒนามาจากบ้าน เช่น จอบ มีด พร้า
    2.วัตถุประสงค์วันนี้ เราต้องการทำสวนสมุนไพรเพื่อให้เป็นมุมพักผ่อนของชุมชน และนำสมุนไพรไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 3.การปลูกสมุนไพร จะทำเป็นแปลง  วันนี้ขอให้มีการสำรวจแต่ละแปลงว่าจะปลูกอะไร
    4.แต่ละแปลง มีข้อกำหนดดังนี้     1)เขียนป้ายชื่อสมุนไพรและสรรพคุณของสมุนไพรกำกับไว้ด้วย     2)แต่ละแปลงให้เขียนชื่อ ปราชญ์ ครู อสม. และนักเรียนที่รับผิดชอบด้วย     3.)กำหนดหน้าที่และเวรรับผิดชอบในการดูแล รดน้ำ โดยให้นักเรียนเป็นหลัก โดยมีครูและปราชญ์ช่วยติดตาม 5.ให้ทุกคน รับผิดชอบไปหาสมุนไพร มาปลูกที่แปลง โดยนำมาจากบ้านของตนเอง
    6.พัฒนาแปลงสมุนไพรเพิ่มอีก 1 แห่งคือ โรงเรียนวัดพระบาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนเข้าร่วมพัฒนาสวนสมุนไพร
    2. สร้างภาคีร่วมทำงานคือโรงเรียนวัดพระบาท
    3. ร่วมกันทำเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน
    4. ประชาชนให้ความเชื่อมั่น และสร้างคุณค่าให้เกิดกับสมุนไพร

     

    50 50

    14. ธนาคารสมุนไพร ครั้งที่ 2

    วันที่ 27 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมาย ร่วมกันสำรวจและจัดทำทะเบียนสมุนไพร และผลการสำรวจดังนี้
    ว่านหางจระเข้ ทั้งหมด 109 ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 10 ต้น  ขมิ้นอ้อย 126 ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 14  ต้น ธิดาวานร 9 ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 1ต้น  ฟ้าทะลายโจร 33ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 7ต้น เจ็ดหมูนเพลิง 2ต้น  มะกรูด 82ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 11ต้น หนุมานนั่งแท่น 72ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 11ต้น มะแว้ง 5ต้น  ตะใคร้ 248ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 71ต้น  ทองพันชั่ง  1ต้น
    เสลดพังพอน 7ต้น  ขมิ้นชัน 83ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 6ต้น ข่า 27ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 7ต้น กะเพรา  46ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 2ต้น ผักเสี้ยนผี 3ต้น  หัวไพล 245ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 37ต้น มะเขือพวง 1ต้น กระชาย 1ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 1ต้น  ฟักข้าว 4ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 3ต้น มะนาว 71ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร  6ต้น ตำลึง 8ต้น  พริก 73ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 12ต้น ผักหวาน 1ต้นหัวทือ 12ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร  3ต้นกระชาย 4ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 2ต้นมะขาม 29ต้น กระเจี๊ยบ 39ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 16ต้นมะรุม 21ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 15ต้นชมพู่ 3ต้นอัญชัน 1ต้น ยอ 9ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 3ต้นมะยม 1ต้นใบยี่ร่า 3ต้นบอระเพ็ชร 1ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 1ต้น ว่านงูเขียว 12ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 3ต้นรางจืด 17ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 1 ต้นว่านตะขาบ 1ต้น ทุเรียนน้ำ 15ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 4ต้นว่านดับพิษ 10ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 5ต้น ขี้เหล็ก 4ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 2ต้นชุมเห็ด 2ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 1ต้นแคบ้าน 9ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 4ต้นย่านหัวเขียว 4ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 2ต้นหญ้าหนวดแมว 14ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 10ต้น เตยหอม 32ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 3ต้นขิง 20ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 10ต้นผักเสี้ยน 37ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 18ต้นปลาบธรณี 10ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 5ต้นต้นขี้ไก่ 11ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร  5ต้น รากสามสิบ 3ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 1ต้นหัวเปรอะ 4ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร  2ต้นพรุ้งพริ้ง 8ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร  1ต้นมะระ 2ต้นกล้วยน้ำว้า 5ต้นมะละกอ 48ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพรว่านหางงูเขียว 6ต้น ว่านใจดำ 3ต้นโหระพา 12ต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีธนาคารสมุนไพรในชุมชน

    2.มีการเก็บรวบรวมข้อมูลสมุนไพร พบว่าสำรวจ 146 ครัวเรือน มีสมุนไพร  79 ชนิด  1707 ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 326 ต้น

    3.เป็นศุนย์เรียนรู้ด้านสมุนไพร

    4.เกิดแนวทางอนุรักษ์สมุนไพรที่หายากและสมุนไพรชุมชน

     

    50 50

    15. เข้าร่วมประชุมตำบลในเวทีสานเสวนาเล่าเรื่องดีดีตำบลเขาพระบาท

    วันที่ 6 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมร่วมประชุมตำบลในเวทีสานเสวนาเล่าเรื่องดีดีตำบลเขาพระบาท

    กิจกรรมสานเสวนาบอกเล่าเรื่องราวสิ่งที่ดีในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม 2557 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 กิจกรรมดังนี้ 08.00 น. ลงทะเบียน 08.00 – 08.15 น. นางฉวีวรรณ แก้วเขียว  นายก อบต.เขาพระบาท เล่าเรื่องราวดีดีในการพัฒนาพื้นทีปี 58 08.15 – 08.40 น. แนะนำตัวสมาชิก ผู้นำชุมชน และข้าราชการในพื้นที่ เริ่มจาก ทีมงานจาก อบต.เขาพระบาท  ทีมงานจาก รพ.สต.เขาพระบาท  ทีมงานจากทุกโรงเรียน  สมาชิก อบต.ทุกหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน  ประธาน อสม.ทุกหมู่บ้าน 09.00 น. จสอ.สมเกียรติ หนำคอก  ปลัด อบต.เขาพระบาท เล่าผลงานที่เกิดจากการเรื่องการบูรณาการร่วมของหน่วยงานและพื้นที่ของตำบลเขาพระบาท นายมนูญ พลายชุม ผอ.รพ.สต.เขาพระบาท ได้เล่าถึงความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ตำบลเขาพระบาท และปีนี้ทางหน่วยงานได้รับคัดเลือกข้าราชการรางวัลคนดีศรีสาธารณสุข

    ประเด้นที่ 2 เวลา 09.30 เปิดเวทีเสวนา โดยทุกหมู่บ้านเล่าเรื่องดีดีในหมู่บ้านของตน และบ้านไกรไทย เล่าให้ฟังว่า เมื่อถึงเวลานี้ กิจกรรมที่ทำไปแล้ว ประกอบด้วยอะไรบ้าง
    1.กิจกรรมการทำธนาคารสมุนไพร  โดยหัวหน้าโครงการได้เชิญกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ มานั่งพูดคุย เพื่อวางแผนการเพาะกล้าต้นไม้สมุนไพร จัดตั้งเป็นธนาคารสมุนไพรของชุมชน ซึ่งแบ่งกลุ่มการเพาะและปลูกสมุนไพรเป็น 3 โซนเหมือนเดิม กำหนดบทบาทของสมาชิกให้ชัดเจน โดยให้ครูและปราชญ์เป็นที่ปรึกษา  มีการจัดทำผังการทำงานของแต่ละโซน แบ่งหน้าที่ มอบหมายงานชัดเจน เพื่อป้องกันการเกี่ยงงาน  นอกจากนี้ร่วมกันวางแผนในการเพาาะสมุนไพร โดยมีข้อกำหนดว่า สมุนไพรเดิมที่มีอยู่แล้วจะต้องขยายเพิ่มเติม และสมุนไพรที่ทำการเพาะและต้องปลูกเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพ ดังนี้
    (1)สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบ คือ ไพล มะกรูด มะขาม ตระไคร้ ขมิ้น ส้มป่อย (2)สมุนไพรสำหรับชุดอบ คือ ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ ผิวมะกรูด ผักบุ้ง ใบหนาด ใบมะขาม ส้มป่อย (3)สมุนไพรตำรับยาต้ม ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ไหลเผือก
    นอกจากนั้น ยังได้มอบหมายให้แกนนำ อสม.และนักเรียน ช่วยกันสำรวจข้อมูลสมุนไพรในชุมชน

    2.กิจกรรมการปรับพฤติกรรมสุขภาพ มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม โดยทุกคนสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ใช้แบบสำรวจพฤติกรรม ซึ่งอยู่ในระหว่างประมวลผล นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยถึงการนำสมุนไพรมาใช้ดูแลสุขภาพตนเอง และระดมช่วยกันคิดการปรับพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้สมุนไพรและภูมิปัญญามาใช้ในการปรับพฤติกรรมชีวิตของตนเอง และก่อนปิดประเด็นมีการพูดคุยเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องนาฬิกาชีวิต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้รู้จักภาคีและเรียนรู้ในการทำงานร่วมกัน
    2. นำเสนอผลการดำเนินงานให้กับภาคีทราบ
    3. มีการบูรณาการงานร่วมของหมู่บ้าน หน่วยงานราชการและพื้นที่ของตำบลเขาพระบาท
    4. ได้เรียนรู้การให้กำลังใจและสร้างขวัญการทำงานร่วมกัน
    5. ได้เรียนรู้แนวทางการฟื้นฟูธรรมชาติในชุมชน
    6. เรียนรู้การนำสมุนไพรมาใช้ในการพัฒนา

     

    5 5

    16. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5

    วันที่ 7 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

    หัวหน้าโครงการ ได้สรุปกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว ประกอบด้วย
    1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายได้ทำการสำรวจสุขภาพตนเอง และใช้สมุนไพรมาร่วมปรับสุขภาพ 2.การทำธนาคารสมุนไพร ตอนนี้มีการทำสมุดธนาคารสมุนไพร เรียบร้อยแล้ว
    3.การทำสวนสมุนไพร ได้ทำการปรับปรุงสวนสมุนไพรเดิม และเปิดพื้นที่ใหม่คือ สวนสมุนไพรที่โรงเรียนวัดพระบาท

    กิจกรรมที่จะดำเนินการในรอบถัดไป คือ
    1.การอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จไปด้วยดี ขอมอบหมายหน้าที่ดังนี้
    การประสานงาน นางชะอ้อน สารักษ์ และนางกุศล ช่วยสกุล การจัดเตรียมสมุนไพร  นางสาคร ยิ้มแย้ม และนางอุษา พลายชุม การจัดเตรียมอาหารว่าง นางสายชล เพ็งตุก และนางอารีย์ ดำพัลวัน การจัดเตรียมอาหาร นางสมสวย ภูแข็ง และนางประทุม จันทร์สุวรรณ การบันทึกข้อมูล นางอนุสรา บางพา
    ประชาสัมพันธ์ นางปราณี รักษ์ทิพย์ และนายสุธรรม ศรีศรัทธา และนายสุพล จันทร์สุวรรณ 2.กิจกรรมที่ทุกคนต้องให้ความร่วมมือ คือการทอดกฐินวัดพระบาท ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 โดยกำหนดให้กลุ่มสมุนไพรมีการจำหน่ายและแจกน้ำสมุนไพรดังนี้
    1)กำหนดให้การเผยแพร่โดยการจำหน่ายลูกประคบ และชาสมุนไพร 2)นำ้สมุนไพรที่แจกประชาชนในงานคือ น้ำอัญชันมะนาว นำ้ใบเตย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีการรายงานผลและติดตามผลการดำเนินงาน
    2. มีการประชุมตามแผนที่กำหนด
    3. มีการจัดกิจกรรมตามแนวทางที่กำหนด
    4. มอบหมายหน้าที่ในการจัดกิจกรรม

     

    25 25

    17. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงาน และปิดงวดรายงาน งวดที่ 1

    วันที่ 18 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงาน ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน

    จากการสรุปผลการเรียนรู้ในวันนี้ คือ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ประกอบด้วย 1.การสำรวจครัวเรือน และข้อมูลชุมชน ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลชุมชน พบว่าประชาชนให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี สำหรับข้อมูลที่เป็นปัญหาคือ ประชาชนไม่ยอมให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ รายจ่าย เพราะกลัวว่าจะนำไปทำอะไรเกี่ยวกับภาษีหรือข้อมูลรายได้
    2.ประชุมคณะทำงาน จำนวน 5 ครั้ง ผลที่เกิดขึ้นคือ ทืีมงานทุกคนมีความเข้าใจและมีการตกลง มอบหมายกันชัดเจน
    3.กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้จัดกิจกรรม ไป 2 ครั้ง เป็นการนำเอาสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน มาใช้ดูแลสุขภาพ เพื่อนำสมุนไพรที่ปลูกอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชขน์ 4.กิจกรรมธนาคารสมุนไพร เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรที่อยู่ในชุมชน เพื่อนำมาขึันทะเบียน และเพาะพันธุ์เพิ่ม เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ 5.กิจกรรมต่อเทียนภูมิปัญญา เป็นการเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน และเรียนรู้ของดีในชุมชน

    สิิ่งที่เกิดในวันนี้คือ 1.ประชุมสรุปบทเรียนที่ผ่านมา 2.คณะทำงานเข้าร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงาน และปิดงวดรายงาน งวดที่ 1 3.มีการตรวจสอบเอกสาร  การดำเนินงาน พร้อมรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม และการบันทึกข้อมูลในเอกสาร โดยพี่เลี้ยง 4.พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารหลักฐานทางการเงิน และการเขียนใบเสร็จ 5.ตรวจสอบการบันทึกข้อมุลในโปรแกรมออนไลน์ 6.ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเด็นที่ต้องปรับปรุง คือ ควรบันทึกเอกสารให้ละเอียด และเอกสารการเงินต้องเขียนให้ถุกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีการตรวจสอบติดตามความก้าวหน้าของโครงการ พบว่าเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
    2. คณะทำงานได้รับการเสริมพลัง และมีกำลังใจทำงานต่อไป
    3. มีการปรับรูปแบบและระบบการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมโครงการ
    4. มีการสำรวจข้อมูลครัวเรือน
    5. มีการประชุมคณะทำงาน  5 ครั้ง ทำให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้น
    6. มีกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2 ครั้ง
    7. มีธนาคารสมุนไพร
    8. มีกิจกรรมต่อเทียนภูมิปัญญา เป็นการเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน และเรียนรู้ของดีในชุมชน

     

    5 5

    18. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ครั้งที่ 2

    วันที่ 22 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมาย สนใจเข้ารับการปรับพฤติกรรมสุขภาพ โดยการใช้สมุนไพร

    วันนี้ พี่เลี้ยงได้เข้าร่วมกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการนำสมุนไพรมาใช้ในการปรับสมดุลร่างกาย ดังนี้
    จากการพูดคุยในรอบที่ผ่านมา มีหลายคนที่นำสมุนไพรไปใช้พบว่า
    1.รู้สึกร่างกาย กระฉับกระเฉงมากขึั้น
    2.ไม่ค่อยเป็นหวัด 3.ระบบขับถ่ายดีขึ้น ถ่ายคล่อง ท้องไม่ผูก

    และวันนี้ได้แนะนำเกี่ยวกับการนำสมุนไพรไปใช้เพิ่มเติม
    1.เมื่อท้องผูก : เราควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธีกดจุดตำแหน่งสองข้างของจมูกถ้ายัง ไม่ถ่ายให้ดื่มนํ้าอุ่น 2 แก้ว ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่ม น้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำมะนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่ายหรือบริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าแล้วก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือท้าวเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าหน้าท้องไปติดสันหลัง 2.การดูแลแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากมีกรดมาก ใช้ขมิ้นชันเท่านิ้วก้อย 3 แง่ง ต้องขูด เปลือกออกก่อนเพาะในเปลือกมีสารสเตียรอยดสติกนิน (สารนี้สะสมมากอาจเป็นอันตรายได้) นำมาหั่นเป็นแว่น ๆ ใส่ถ้วย เติมน้ำร้อยลงไป 3 ช้อนชา แต่ตักดื่มเพียง 2 ช้อน ที่เหลือทิ้งไป เป็นการรักษาแผลตามหลอดอาหารได้ดีมาก 3.วิธี detox ลำไส้เล็กตามธรรมชาติ เอาสูตรมาจากพระไตรปิฎก คือ สูตร โยเกิร์ต+นมสด+ น้ำผึ้ง+น้ำมะนาว กินเข้าไปจะไปล้างลำไส้  ได้แลคโตบาซิลัสในโยเกิรต์  จะไปช่วยไขมันที่อยู่ในลำไส้ไปย่อยขยะในลำไส้ด้วย เปลี่ยนเป็นวิตามินบี 12 ให้เรา สูตรนี้กินตอนเช้าเช้าลดความอ้วน กิน ตอนเย็นเพิ่มความอ้วน ฝึกดื่มน้ำตามมาก ๆ เป็นวิธีแก้ 4. การดูแลไต ตัวที่บำรุงไต ที่ดีที่สุดคือ คือ กระชาย เอากระชายเหลืองธรรมดา 1 กก. ใส่นํ้าเยอะๆ ปั่นผสมกับโหระพา เอาแต่นํ้าใส ผสมน้ำมะนาว น้ำผึ้ง ดื่มบำรุงสมอง กระดูก เลือดเลี้ยงสมองไม่ดี ความจำเสื่อม นอนไม่ค่อยหลับ จะช่วยได้ แล้วผมจะกลับมาดกดำอีก

    5.สูตรสมุนไพร 5.1 น้ำสับปะรดปั่นกับโหระพา หรือใบตำลึง    (กินใบโหระพาวันละ 7 ยอด เป็นยาอายุวัฒนะ) เครื่องปรุง สับปะรด 1 หัว  ใบโหระพา 1 ขีด วิธีทำ ปอกเปลือกสับปะรด ปั่นผสมโหระพา แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่ม สรรพคุณ - ลดลมในตัว - แก้อาหารเลือดข้น - ทำให้เลือดเลี้ยงสมองส่วนหน้าดีขึ้น - ลดความดันโลหิตสูง - บำรุงหัวใจ - เพิ่มเม็ดเลือดแดง ถ้าใช้ทั้งแกนสับปะรด จะเพิ่มเม็ดเลือดขาวด้วย - ลดอนุมูลอิสระ

    5.2 น้ำกระชายปั่นกับน้ำผึ้งกับน้ำมะนาว
    เครื่องปรุง กระชาย 1 ขีด  น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ  มะนาว 2 ลูก วิธีทำ กระชายล้างน้ำให้สะอาด ปั่นให้ละเอียด เติมน้ำสะอาดลงไป 2 แก้ว กรองเอาแต่น้ำ ใส่น้ำผึ้งและน้ำมะนาวลงไปผสมปรุงรสตามใจชอบดื่มได้เลย สรรพคุณ - บำรุงกระดูก (เพราะมีแคลเซียมสูง) - บำรุงสมอง เพราะทำให้เลือดเลี้ยงสมองส่วนกลางดีขึ้น - ปรับสมดุลของฮอร์โมน - ปรับสมดุลของความดันโลหิต (ความดันโลหิตที่สูงจะลดลง ความดันโลหิตที่ต่ำ จะสูงขึ้น) - แก้โรคไต  ทำให้ไตทำงานดีขึ้น
    - ป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ - บำรุงมดลูก - แก้ปัญหาผมหงอก ผมร่วง - อาการกระเพาะปัสสาวะเกร็ง (กรณีนี้อาจใช้เม็ดบัวต้มกิน) - ควบคุมไม่ให้ต่อมลูกหมากโต - แก้ปัญหาไส้เลื่อน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนได้เรียนรู้แนวทางดูแลสุขภาพโดยใช้วิถีภูมิปัญญาและสมุนไพร
    2. มีทางเลือกในการดูแลสุขภาพ
    3. ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ
    4. ส่งเสริมการใช้สมุนไพรชุมชน และสร้างคุณค่าให้เกิดกับสมุนไพร
    5. ส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจชุมชน

     

    100 100

    19. ต่อเทียนครูภูมิปัญญา ครั้งที่ 1

    วันที่ 25 ตุลาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมาย ร่วมกันพัฒนาวัดพระบาทและสำรวจแหล่งสมุนไพร

    1. วันนี้หัวหน้าโครงการ ได้เชิญกลุ่มเป้าหมาย มาปะชุมร่วมกันโดยใช้วัดพระพุทธบาท มีอายุ 727 ปี เป็นวัดเก่าแก่และเป็นที่ศรัทธาของชุมชน เพื่อวางแผนในการฟื้นฟูสมุนไพรในวัดพระบาท
    2. มีกิจกรรมเจาะหาสารเคมีในเลือดให้กับกลุ่มเป้าหมาย  จำนวน 56 คน
    3. พูดคุยเกี่ยวกับวิธีการสืนสานภูมิปัญญาสมุนไพร เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติของครูภูมิปัญญาบ้านไกรไทย
    4. ทุกคนร่วมกันร่วมกันสำรวจสมุนไพร  และพัฒนาวัดพระบาท
    5. รวบรวมสมุนไพร เพื่อจัดทำป้ายและสรรพคุณ เป็นการเผยแพร่ให้ทุกคนได้ทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เป็นการนำวิถีพุทธ วิถีชุมชนมาร่วมพัฒนาด้านสุขภาพ และความเป็นอยู่
    2. ใช้วิถีชุชน เป็นกลไกหนุนเสริมด้านสุขภาพ
    3. เป็นการหนุนเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักด้านสุขภาพ
    4. เป็นแนวทางการสร้างระบบการดูแลสุขภาพแบบทางเลือก

     

    50 50

    20. เผยแพร่กิจกรรมในวันทอดกฐินวัดพระบาท

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เวลา 07:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานร่วมกับกลุ่มสมุนไพร และประชาชน ร่วมกันทอดกฐินประจำปี ที่วัดพระบาท วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 ทางวัดพระบาท ได้จัดงานทอดกฐินประจำปี โดยมีนายถนอม อ่อนเกตุผล คุณปอง (อัญชลี) และทีม  กปปส.นำโดยพระสุเทพ เทือกสุบรรณ นำกฐินมาทอดที่วัดพระบาท ในกิจกรรมครั้งนี้ ทางกลุ่มสมุนไพรบ้านไกรไทย ร่วมกับโครงการ จัดให้มีการเผยแพร่ผลการดำเนินงานและร่วมสนับสนุนน้ำสมุนไพร ดังนี้
    1.กิจกรรมที่สนับสนุน คือ การทำน้ำสมุนไพร ให้ดื่มฟรี พร้อมทั้งคำแนะนำ ให้กับประชาชนท่ี่มาร่วมทอดกฐิน ดังนี้ 1.1 น้ำตะไคร้ ผสมใบเตย ช่วยทำให้เกิดความชุ่มชื้น แก้กระหาย ช่วยลดอาการท้องอืด จำนวน 100 ลิตร ได้รับคำชมจากผู้ที่ชิม และถ่ายทอดความรู้ให้ไปทำต่อที่บ้าน 1.2 มะนาวอัญชัน เป็นนำ้อัญชันสีม่วง ผสมมะนาว ไม่หวาน จิบแก้กระหาย ชุ่มคอ จำนวน 150 ลิตร ได้รับคำชมจากผุ้ที่ชิมว่าอร่อย สดชื่น พร้อมทั้งให้คำแนะนำ ถ่ายทอดไปทำที่บ้าน
    1.3 กระเจี๋ยบ ไม่หวาน ช่วยแก้กระหาย ลดไขมันในเลือด ผู้ทีชิมบอกว่ารสเปรี้ยว อร่อยดี ได้รับคำชม

    2.กิจกรรมที่นำไปเผยแพร่ ได้แก่
    2.1 ลูกประคบ จำนวน 100 ลูก และจำหน่ายหมด โดยจำหน่ายลูกละ 50 บาท
    2.2 ชาใบขลู่ แก้ความดันฯ ปรับธาตุ จำหน่ายถุงละ 20 บาท จำนวน 100 ถุง จำหน่ายหมด 2.3 ชาตะไคร้ ช่วยลดท้องอืด จำหน่ายถุงละอ20 บาท จำนวน 100 ถุง จำหน่ายหมด 2.4 ชาใบเตย ช่วยลดระดับนำ้ตาลในเลือด บำรุงหัวใจ ถุงละ 20 บาท จำนวน 100 ถุง จำหน่ายหมด

    ในการจัดกิจกรรมครั้ง จะมีกลุ่มเยาวชน เป็นผุ้ที่จำหน่าย และถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนทั้งหมด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เป็นการส่งเสริมและเผยแพร่การใช้สมุนไพรชุมชน
    2. เป็นการเผยแพร่ผลการดำเนินงานตามโครงการ
    3. สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีในการดำเนินงาน
    4. ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาและสมุนไพร

     

    500 500

    21. ถอดเงินค่าเปิดบัญชี

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานถอนเงินค่าเปิดบัญชี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานถอนเงินค่าเปิดบัญชี 1,000 บาท 

     

    2 2

    22. ค่าจัดทำป้ายโครงการและป้ายปลอดบุหรี่

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานจัดทำป้ายโครงการและป้ายบุหรี่ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีป้ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ติดไว้ที่อาคารประชุม 2.มีป้ายโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ

     

    2 2

    23. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้าโครงการได้สรุปกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว 1.การสร้างแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการนำภูมิปัญญาและสมุนไพรในชุมชนมาใช้ในการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ลดการใช้สารเคมีสังเคราะห์ 2.กิจกรรมการต่อเทียนภูมิปัญญาการบูชาครู 3. การเผยแพร่ผลงานของโครงการในงานทอดกฐินของวัดพระบาท ขอบคูณทีมงานที่มาร่วมมือช่วยเหลือกันในการทำผลิตภัณฑ์มาช่วยงานและเผยแพร่เป็นวิทยาทานทั้งน้ำดื่มสมุนไพรสูตรต่างๆและตำรับยาสมุนไพรต่างๆและร่วมกันวางแผนและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมรอบต่อไป1.วางแผนในการออกติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการรอบแรก2.การเรียนรู้การเพิ่มคุณค่าของสมุนไพรในชุมชน การเชิญปราชญ์มาเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดภูมิปัญญา 3.การวางแผนในการจัดเตรียมงานในการจัดสวนสมุนไพร การจัดเตรียมอุปกรณ์ในการเตรียมพื้นที่ปลูกการหาพันธุ์สมุนไพร การเชิญกลุ่มเป้าหมายมาร่วมกิจกรรม ฝ่ายการจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการรายงานผลและติดตามผลการดำเนินงาน 2.มีการประชุมตามแผนที่กำหนด 3.มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมรอบต่อไป 4.มีการแบ่งความรับผิดชอบและมอบหมายหน้าที่ของกรรมการในการจัดกิจกรรมรอบต่อไป

     

    25 25

    24. ประเมินติดตามกลุ่ม ครั้งที่ 1

    วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามการปรับเปลียนพฤติกรรมโดยคณะครูจากโรงเรียนวัดพระบาท คณะเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาทและ อบต. เขาพระบาทร่วมกันออกติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการออกสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายในชุมชนถึงการเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสได้หลังจากการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อปรับสุขภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายมีการต้มสมุนไพรในการปรับสุขภาพ
    มีการดื่มน้ำสมุนไพร ยาต้มแทนการดื่มชากาแฟในตอนเช้า ทำให้รู้สึกว่ามีความสุข ร่างกายแข็งแรงกระฉับกระเฉงขึ้นมีการใช้น้ำสมุนไพรในงานเลี้ยงแทนน้ำอัดลม น้ำหวาน

     

    20 20

    25. แปรรูปสมุนไพรครั้งที่ 1

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมวันนี้จะเป็นกิจกรรมแปรรูปสมุนไพรโดยให้สมาชิกมารวมกันนำสมุนที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูป รวมถึงเยาวชนและนักเรียนโรงเรียนวัดพระบาท
    โดยมีปราญจน์ด้านสมุนไพร นายสะอาด อุยหมุน ได้มาสอนให้รู้จักเกี่ยวกับสมุนไพรสรรพคุณต่างๆของสมุนไพร แนะนำการนำส่วนต่างๆของสุนไพรนำมาแปรรูปและก้จะให้นักเีรยนจดจำ และจดบันทึกความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้จากนั้นปราญญ์ได้นำไปที่สวนสมุนไพร เพื่อออกไปดูสมุนไพรและปราชญ์ก็ได้แนะนำสมุนไพรต่างๆที่มีในสสวนสมุนไพร


    สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ทุกทำให้เกิดความสามัคคีการช่วยเหลือกันในการทำกิจกรรม ในครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้เรียนรู้เกี่ยกับสรรพคุณของสมุนไพร 2.ได้รู้จักสมุนไพรต่างๆ ที่มีในชุมชน 3.ได้รู้จักการนำสมุนไพร นำมาใช้ประโยชน์ 4.ทำให้เกิดความสามัคคี
    5.การช่วยเหลือกันในการทำกิจกรรม

     

    50 50

    26. สวนสมุนไพร ครั้งที่ 2

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรม ทำสวนสมุนไพร วันนี้หัวหน้าโครงการได้เชิญแต่ละกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ 1.หัวหน้าทีมได้พูดุคยกับกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยให้นำวัสดุการพัฒนามาจากบ้าน เช่น จอบ มีด พร้า 2.ชี้แจงวัตถุประสงค์การทำสวนให้ผู้เข้าร่วมกิจกกรรมทราบ โดยเราต้องการทำสวนสมุนไพรเพื่อให้เป็นมุมพักผ่อนของชุมชน และนำสมุนไพรไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 3.กิจกรรมในวันนี้ เราจะมา ดุแล และบำรุง สมุนไพร ที่ได้ปลูกไปครั้งก่อน ดูว่ามีหญ้ารกหรือไม่รดนำ้ต้นสมุนไพรสมุนไพรต้นไหนตายไปหรือมีไม่เพียงพอในการนำไปใช้ก็ให้นำมาปลูกเพิ่มเติม สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้เด็กสนุกในการทำกิจกรรม แถมยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรการปลูกสมุนไพรด้วย มีความสัมพันธ์ระหว่างวัยเด็ก และวัยผู้ใหญ่ เพิ่มมากขึนเด็กมีความสามัคคีกัน ในการทำสวนนสมุนไพรและทำให้เด็กได้รู้จักรักษาสิ่งที่เด็กๆได้สร้างขึ้นซึ่งเป็นความภูมิใจของเด็กๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ประชาชนเข้าร่วมพัฒนาสวนสมุนไพร 2.สร้างภาคีร่วมทำงานคือโรงเรียนวัดพระบาท 3.ร่วมกันทำเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน 4.ประชาชนให้ความเชื่อมั่น และสร้างคุณค่าให้เกิดกับสมุนไพร 5.มีแปรงสมุนไพร ประจำหมู่บ้าน

     

    50 50

    27. ประชุมคณะทำงานครัั้งที่ 7

    วันที่ 7 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อม รับฟังข้อเสนอแนะจากสมาชิก
            วาระที่ 1  สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา
            วาระที่ 2  ชี้แจงกิจกรรมครั้งต่อไป        โดยแบ่งหน้าของคณะทำงานแต่ละคน  เพื่อจะจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป         สิ่งที่ได้ในวันนี้  ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ มีการวางแผนล่วงหน้า  เกิดความร่วมมือในการทำงาน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม  ได้มีการแบ่งหน้าที่ในการทำงาน เตรียมอุปกรณ์ ประสานกลุ่มเป้าหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้ประชุมเพื่อติดตามงานตามเวลาที่กำหนด 2.ทีมงานได้รู้หน้าที่ตนเอง 3.ได้วางแผนการทำงานล่วงหน้า

     

    25 25

    28. กลุ่มวิสาหกิจสมุนไพร ครั้งที่ 1

    วันที่ 13 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้มีการพูดคุยเกี่ยวกับการแปรรูปลูกประคบสด และมีวิธีการทบทวนการทำ ขั้นตอนการทำ
    1.นำไพลสด,  ผิวมะกรูด หรือใบมะกรูดสด,  ตะไคร้สด,  ใบมะขาม หรือใบส้มป่อยสด, ขมิ้นชัน     หรือขมิ้นอ้อยสดหั่นบางๆ ตำพอหยาบๆ 2.ใส่พิมเสน,  การบูร,  และเกลือแกง  ผสมรวมกัน 3.ห่อเป็นลูกประคบหนักลูกละ 100 กรัม ด้วยผ้าขาว ขนาด 35 ซ.ม. x 35 ซ.ม. มัดด้วยเชือกยาว 1 เมตร     ถ้าหากต้องการลูกประคบหนักลูกละ 150 กรัม  ห่อด้วยผ้าขาว  ขนาด 50 ซ.ม. x 50 ซ.ม.

    ประโยชน์ของการประคบ (จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน) 1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย 2. ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อหลัง 24-48 ชั่วโมง 3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ 4. ช่วยให้เนื้อเยื่อ ผังผืด ยืดตัวออก 5. ลดการติดขัดของข้อต่อ 6. ลดอาการปวด 7.ช่วยเเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

    วิธีการประคบ   1. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที   2. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบคนไข้ที่มีอาการต่างๆ โดยสับเปลี่ยนลูกประคบ   3. จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแครง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบ       สมุนไพร   4. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ       (การทดสอบความร้อนของลูกประคบคือ แตะที่ท้องแขนหรือหลังมือ)   5. ในการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรกๆ ต้องทำด้วยความเร็ว       ไม่วางแช่นานๆ เพราะคนไข้จะทนร้อนไม่ได้มาก   6. เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงก็สามารถเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน       (นำลูกเดิมไปนึ่งต่อ) ข้อควรระวังในการประคบสมุนไพร -ไม่ควรใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่เคยเป็นแผลมาก่อน   หรือบริเวณที่มีกระดูกยื่น และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วย   -โรคเบาหวาน อัมพาต ในเด็กและผู้สูงอายุ เพราะมักมีความรู้สึกในการรับรู้และตอบสนองช้า   อาจทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ง่าย   -ไม่ควรใช้การประคบสมุนไพรในกรณีที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก   เพราะจะทำให้อักเสบบวมมากขึ้นและอาจมีเลือดออกมากตามมาได้   -หลังจากประคบสมุนไพร เสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะจะไปล้างตัวยาจากผิวหนัง     และร่างกายยังไม่ สามารถปรับตัวได้ทัน อาจทำให้เกิด เป็นไข้ได้
    การเก็บลูกประคบสมุนไพร   ลูกประคบสมุนไพรที่ใช้ครั้งหนึ่งแล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน 3-5 วัน หลังจากใช้แล้วควรผึ่งลูก ประคบให้แห้ง เก็บใส่ถุงหรือภาชนะปิดฝาให้แน่น แช่ตู้เย็นจะเก็บได้นานขึ้น 7 วัน ให้สังเกตถ้าลูกประคบมีเชื้อราปรากฏให้เห็นและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว หรือสีเหลืองจางลง แสดงว่าตัวยาเสีย ไม่มีคุณภาพไม่ควรนำมาใช้อีกต่อไป เพราะจะใช้ไม่ได้ผล

    วันนี้ได้มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการผลิต และดูแลกลุ่มด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมายได้ทบทวนความรุ้ 2.แบ่งหน้าที่การรับผิดชอบ
    3.จัดตั้งกลุ่มเพื่อบริหารจัดการ 4.ได้เรียนรู้การนำภูมิัปัญญามาใฃ้

     

    50 50

    29. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ครั้งที่ 3

    วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้กลุ่มเป้าหมาย ได้เข้ากิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เป็นการติดตามผลการดำเนินงานจากรอบที่ผ่านมา
    กลุ่มเป้าหมายทุกคนบอกว่า รู้สึกดีขึ้น หลังจากที่ได้ใช้สมุนไพร ดื่มน้ำสมุนไพร
    น้ำสมุนไพรซึ่งมีประโยชน์ทางยา มีคุณค่าทางอาหารและช่วยในการป้องกันโรค โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน เหงื่อออกมาก ดื่มน้ำสมุนไพรจิตใจชุ่มชื่นรู้สึกสบาย เพราะน้ำสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยผ่อนคลายความร้อน ทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง เช่น น้ำมะขามช่วยลดอาการกระหายน้ำ น้ำสมุนไพรบางชนิด ช่วยบำรุงหัวใจเป็นยาเย็น ได้แก่ น้ำใบเตย น้ำใบบัวบก น้ำสมุนไพรบางชนิดมีคุณสมบัติช่วยย่อยทำให้ธาตุปกติและฟอกเลือด ได้แก่ น้ำมะเขือเทศ น้ำสมุนไพรเหล่านี้เป็นได้ทั้งอาหาร และให้คุณค่าทางยาได้บ้างเล็กน้อย น้ำสมุนไพรจึงเปรียบเสมือนยาที่ช่วยบำรุง ปกป้องรักษาสภาวะร่างกายให้เกิดสมดุลทำให้สุขภาพดี ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ร่างกายกระชุ่มกระชวยและอุดมไปด้วยวิตามินเกลือแร่ ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยควบคุมไขมัน ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากสารอาหารในน้ำสมุนไพรช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100 ปรับพฤติกรรมสุขภาพ 2.กลุ่มเป้าหมายได้รู้คุณค่าน้ำสมุนไพร 3.กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพเปล่ี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

     

    100 100

    30. แปรรูปสมุนไพร ครั้งที่ 2

    วันที่ 24 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรม การแปรรูปสมุนไพรซึ่งจะมีปราชญ์มาสอนและแนะนำการแปรรูปสมุนไพร ในการทำลูกประคบ นายสะอาดปราญช์ด้านสมุนไพรได้แนะนำส่วนผสมของสมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบ สวนผสมของลูกประคบ ส่วนผสมที่พอเหมาะ 1. ไพล) บรรเทาปวดเมื่อยลดการอักเสบ 2. ขมิ้นชัน บรรเทาฟกช้ำเม็ดผดผี่นคัน

    1. ผิวมะกรูด หรือ ผิวส้ม บรรเทาลมวิงเวียนทำให้เกิดกลิ่นหอมละมุน

    2. ตะไคร้บ้าน บรรเทาปวดเมื่อยลดอาการอักเสบ

    3. ใบมะขามบรรเทาอาการคันตามร่างกายบำรุงผิว ชำระไขมัน หรือ ใบขี้เหล็กช่วยละลายไขมันใต้ผิวหนังทำให้หลับสบาย

    4. พิมเสนแต่งกลิ่น แก้พุพอง แก้หวัด

    5. การบูร แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจแก้พุพอง

    6. เกลือแกง ช่วยดูดความชื้น ช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้อย่างสะดวก

    วิธีทำลูกประคบ

    1.ล้างสมุนไพรให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆโขลกพอเเหลกใส่เกลือ พิมเสน การบูร คลุกให้เข้ากัน เเบ่งเป็น 2-3 ส่วน

    1. นำส่วนทั้งหมดมาวางตรงกลางของผ้า เริ่มต้นจับมุมผ้าทีละ 2 มุม ขึ้นมาทบกัน จับจนครบทั้ง 4 มุม ให้รวบมุมผ้าที่ละมุม อีกครั้งหนึ่งจนครบอีกทั้ง 4 มุม

    2. แต่งชายผ้าให้เรียบร้อย ซ้อนกันเป็นชายเดียวจากนั้นค่อย ๆจัดแต่งลูกประคบให้เป็นรูปทรงกลมที่สวยงาม มัดด้วยเชือกที่ทำเป็นห่วงคล้อง แล้วมัดปมให้แน่น

    3. การทำด้ามจับ โดยการจับชายผ้าที่เหลือมาซ้อนกันให้เรียบร้อย เสร็จแล้วพับเข้าหากันเพื่อเก็บซ่อนชายผ้าทั้งสองด้าน

    4. จัดแต่งและซ่อนชายผ้าเรียบร้อยแล้ว ให้พับปลายลงมาประมาณ กะประมาณความยาวก้านให้สวยงาม ม้วนทบด้ามให้เรียบร้อย ใช้ปลายเชือกเส้นเดิมผูกแบบเงื่อนตายให้แน่น อีกครั้งหนึ่ง

    6.ซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าตรงรอยพับที่เป็นด้ามจับ และเพื่อให้ลูกประคบมีความแข็งแรงสวยงาม คงทนต่อการใช้งาน การทำเช่นนี้จะทำให้เชือกเรียงกันดูสวยงามและเป็นระเบียบ

    ประโยชน์ของการประคบ (จากตัวสมุนไพร และ ความร้อนจากลูกประคบ ) 1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย 2. ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อหลัง 24-48 ชั่วโมง 3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ 4. ช่วยให้เนื้อเยื่อ ผังผืด ยืดตัวออก 5. ลดการติดขัดของข้อต่อ 6. ลดอาการปวด 7.ช่วยเเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

    วิธีการประคบ 1. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที 2. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบคนไข้ที่มีอาการต่างๆ โดยสับเปลี่ยนลูกประคบ 3. จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแครง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบ สมุนไพร 4. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ (การทดสอบความร้อนของลูกประคบคือ แตะที่ท้องแขนหรือหลังมือ) 5. ในการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรกๆ ต้องทำด้วยความเร็ว ไม่วางแช่นานๆ เพราะคนไข้จะทนร้อนไม่ได้มาก 6. เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงก็สามารถเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน (นำลูกเดิมไปนึ่งต่อ)


    ข้อควรระวังในการใช้ลูกประคบสมุนไพร
    1.ไม่ควรใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่เคยเป็นแผลมาก่อน หรือบริเวณที่มีกระดูกยื่น และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วย 2.คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน อัมพาต ในเด็กและผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงเพราะมักมีความรู้สึกในการรับรู้และตอบสนองช้า อาจทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ง่าย 3.ไม่ควรใช้การประคบสมุนไพรในกรณีที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก เพราะจะทำให้อักเสบบวมมากขึ้นและอาจมีเลือดออกมากตามมาได้ 4.หลังจากประคบสมุนไพร เสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะจะไปล้างตัวยาจากผิวหนังและร่างกายยังไม่ สามารถปรับตัวได้ทัน อาจทำให้เกิด เป็นไข้ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้รู้จักสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมในการนำไปทำลูกประคบ 2.รู้จักประโยชน์ของการมใช้ลูกประคบ 3.รู้วิธีการทำและได้ฝึกปฎิบัติในการทำลูกประคบ 4.รู้วิธีใช้และข้อควรระวังในการใช้ลูกประคบสมุนไพร 5.สมาชิกในกลุ่มมความสามัคคีกันเรียนรู้และได้ปฏิบัติไปด้วยกัน 6.มีการยอมรับมากขึ้นในกลุ่ม

     

    50 50

    31. ธนาคารสมุนไพร ครั้งที่ 3

    วันที่ 27 ธันวาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เกี่ยวกับการทำธนาคาร สมุนไพร และสิ่งที่ได้มอบหมาย ให้แต่ละบ้าน  แต่ละโซน ไปปลูกสมุนไพร  ซึ่งวันนี้หัวหน้าโครงการ ได้เชิญกลุ่มสมุนไพรและผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาธนาคารสมุนไพรเพิ่มเติม

    ดังนี้ 1.หัวหน้าโครงการ เชิญโซนปลูกสมุนไพรและเชิญแกนนำมานั่งพูดคุย  โดยทั้ง 3 โซน ได้มานั่งพูดคุยกัน  ซึ่งละกลุ่มแต่ละโซนได้กำหนดบทบาทของสมาชิกให้ชัดเจน  แบ่งหน้าที่ในการบำรุงดูแลสมุนไพร  แบ่งเวรกันรถน้ำ โดยจะให้หัวหน้าแต่ละโซน  รับผิดชอบหลัก ในการแบ่งหน้าที่ต่าง ๆ  หัวหน้าโครงการได้สอบถามถึงความคืบหน้าในการปลูก และปัญหาที่พบ นางสมสวย  ภูแข็ง  ได้ตอบว่า  ไม่มีปัญหาในการเพาะปลูก  สมุนไพรเติบโต  สวยงามดี  เพาะใช้สมุนไพร และน้ำหมักชีวภาพในการบำรุง  โดยจะมีลูกสาว  เด็กหญิง ภัทรากร  ภูแข็ง  จะช่วยรดน้ำสมุนไพรทุกวัน 2.หัวหน้าโครงการแจ้งแก่สมาชิกว่า  การทำกิจกรรมธนาการครั้งที่ผ่านมา ก็ได้มีสมาชิกได้มอบสมุนไพรให้กับธนาคารสมุนไพร ไว้มากมาย มีการเก็บรวบรวมข้อมูลสมุนไพร พบว่าสำรวจ 146 ครัวเรือน มีสมุนไพร  79 ชนิด  1707 ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 326 ต้น  และเมื่อสมาชิกที่ได้กลับไปปลูกที่บ้าน ที่สมุนไพร สามารถนำมาใช้ได้แล้ว ก็ให้นำมาฝากไว้ที่ธนาคาร ซึ่งธนาคารสมุนไพรจะรวบรวมสมุนไพรทุกชนิดที่พบในบ้านไกรไทย เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยจำหน่ายในราคาต้นทุน และรายได้ทั้งหมดนำไปพัฒนาธนาคารสมุนไพรและแบ่งปันให้กับสมาชิก
    3.ทุกโซนร่วมกันวางแผนในการเพาาะสมุนไพร โดยข้อกำหนดว่า สมุนไพรเดิมที่มีอยู่แล้วจะต้องขยายเพิ่มเติม และสมุนไพรที่ทำการเพาะและต้องปลูกขยายเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพ ให้เพียงพอในอนาคตดังนี้ (1)สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบ คือ ไพล มะกรูด มะขาม ตระไคร้ ขมิ้น ส้มป่อย
    (2)สมุนไพรสำหรับชุดอบ คือ ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ ผิวมะกรูด ผักบุ้ง ใบหนาด ใบมะขาม ส้มป่อย (3)สมุนไพรตำรับยาต้ม ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ไหลเผือก
    5. ทุกโซน ทุกบ้าน ต้องไปชักชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มเติม ซึ่งทางกลุ่มได้ร่วมกันกำหนดพื้นที่ในการปลูก โดยมีกติกาว่าทุกคนต้องปลูกเผื่อไว้ให้กับธนาคาร อย่างละ 5 ต้นต่อบ้าน เพื่อใช้ปลูกและแจกจ่ายกับชุมชน และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน  ให้ช่วยติดตามด้วย  ดูว่าบ้านไหนยังไม่ครบ หรือต้องการเพิ่มเติม ให้ติดต่อมายังกลุ่มได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีธนาคารสมุนไพรในชุมชน 2.เป็นศุนย์เรียนรู้ด้านสมุนไพร 3.เกิดแนวทางอนุรักษ์สมุนไพรที่หายากและสมุนไพรชุมชน 4. ประชาชนได้มีโอกาสเข้าร่วมพัฒนา ตามความสมัครใจ 5. มีการแบ่งกลุ่มกันทำงาน ตั้งแต่เยาวชน นักเรียน ครู ประชาชน และทีมงาน 6. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนา 7. มีการวางเป้าหมายพัฒนาร่วมกัน

     

    50 50

    32. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8

    วันที่ 7 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

      วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อม และติดตามความคืบหน้าของโครง     วาระที่ 1  สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา
        วาระที่ 2  เตรียมกิจกรรมครั้งต่อไป  คือ
              1)ทำสวนสมุนไพรครั้งที่ 3           2)ต่อเทียนครูภูมิปัญญาครั้งที่ 2           3)ต่อเทียนครูภูมิปัญญา ครั้งที่ 3
            4)แปรรูปสมุนไพร ครั้งที่ 3
                    สิ่งที่ได้ในวันนี้  ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ มีการวางแผนล่วงหน้า  เกิดความร่วมมือในการทำงาน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม การสร้างระบบติดตามการประเมินผลการดำเนินงานต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการมอบหมายงานกันทำตามความถนัด ของตนเอง 2.เกิดความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น. 3.คณะทำงานได้เตรียมความพร้อมในกิจกรรมครั้งต่อไป

     

    25 25

    33. ทำสวนสมุนไพรครั้งที่ 3

    วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมในวันนี้เป้นกิจกรรมทำสวนสมุนไพรซึ่งจะแบ่งแยกไปตามโซนของหมู่บ้านโดยในวันนี้ ไปทำสวนสมุนไพรที่บ้านนางสมสวย ภูแข็งโดยได้นำล้อยางรถยนต์มาทำเป็นกระถางในการปลูกต้นสมุนไพรอีกส่วนหนึ่งก้ได้ไปนำขี้วัวกับแกลบมาเพื่อจะผสมดิน เพื่อใช้ในการปลูกสมุนไพร ในการสอนในการตัดล้อลูกยาง ได้มีการแนะนำและสอนให้สมาชิก ฝึกและปฏิบัติในการตัดล้อยาง โดยจะต้องใช้มีดที่บางและคม และใช้น้ำยางล้างจานหยดใส่มีดและล้อยางเพื่อช่วยให้ตัดได้ง่ายขึ้นซึ่งลักษณะในการตัด ก็ต้องจับมีดให้แน่นสามารถบังคับทิศทางของมีดได้ โดยเราเอาปลามีดที่คมนำร่องก่อนเพื่อจะให้สอดมีดเข้าไปได้ จับมีดให้ตั้ง 30-60 องศาแล้วแต่ละล้อยางเส้นค่อยๆตัดมีดอย่างช้า ระวังอย่าให้โดนที่เป็นใยเหล็กในยางรถ ตัดไปจนสมารถตัดล้อฝั่งหนึ่งขึ้นมาได้ส่วนก้นเราก็ใช้พื้นดินเป็นก้นของกระถาง จากนั้นก็ได้กันช่วยผสมดินขี้วัว และแกลบ เข้าด้วยกันเพื่อทำเป็นดินในการปลูกสมุนไพรทุกคนก้ช่วยกันผสม และช่วยกันขนดินไปใส่ในกระถางตอนแรกก็หิ้วกันไปคนละถังไปใส่กระถางทำให้ล้าช้า และเหนื่อย ส่วนถังก้มีไม่กี่ใบและยังมีคนอ่นที่อยากช่วยด้วยเลยได้ต่อแถวส่งถังไปที่ละคนเพื่อนำไปใส่ในกระถางทำให้ทุกคนที่มาได้มีส่วนร่วมกันหมดทั้งเด้กและผุ้สูงอายุก็ได้ช่วยกันซึ่งวันนี้ได้ 21 กระถาง เมื่อใส่จนเต็มทุกกระถางก็นำเอาสมุนไพรที่สมาชิกได้เอามาจากบ้าน นำไปปลูกในกระถางและก็ช่วยกันรดน้ำและก้ได้แบ่งหน้าที่ให้มาช่วยกันดูแลช่วยกันรดน้ำ สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้สมาชิกสนใจในการเรียนร฿ู้การตัดล้อยางรถยนต์ และช่วยกัตัดล้อยางกันจนเสร็จขณะทำกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทุกคนอยากมีส่วนร่วมในการทำสวนสมุนไพร แต่อุปกรณืไม่พอเลยคิดให้ตั้งเป็นแถว เพื่อขนดินไปใส่มนกระถางเพื่อทุกคนจะได้มีส่วนร่วม และจะได้ทำงานเสร็จเร็วขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีสวนสมุนไพรของชุมชน 2.มีการนำสิ่งของเหลือใช้มาประต์ใช้คือ ล้อยางรถยนต์มาทำเป็นกระถางปลูกสมุนไพร 3.เกิดการเรียนรู้และได้ฝึกปฏิบัติในการตีดล้อยางรถยนต์ 4.มีการยอมรับมากขึ้นในหมู่คณะ 5.มีความรักความสามัคคี 6.มีความสัมพัธ์ระหว่างวัยเพิ่มขึ้น

     

    50 50

    34. ต่อเทียนครูภูมิปัญญาครั้งที่ 2

    วันที่ 21 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมายร่วมกันสำรวจสมุนไพร จำนวน 87 ชนิดซึ่งอาศัยอยู่บนภูเขาพระบาท ดังนี้
    ดีปลีเชือก สักทอง อโศก ตีนเป็ดต้นโพธิ์ ต้นสาละต้นชมพู่ ต้นพลับพลึง ต้นสนบริพัทบานชื่นว่านรางเงิน
    ดอกสามเดือน ว่านแสงอาทิตย์ ว่านห่างจระเข้มะกอกเศรษฐีเรือนนอก ฟ้าทะลายโจรหญ้าใต้ใบน้ำนมราชสีห์
    ใบสาบเสือ ธิดาวานรตะแบกยางขี้แรด คว่ำตายหายเป็นผกากรองยอป่าน้ำข้าวลำผีไพ่ส้มป่อยย่านปดมังเร ยับเยี่ยวปุดป่านมแมว เต่าร้างต้นแซะกำชำเข็มป่าหญ้ารีแพร์ต้นดูกไก่ต้นเทียมลิงขมิ้นฤาษีกฤษณา มะเดื่อหอมต้นกามกุ้งหางกะรอกรังนกนอน เม่า กาฝาก กำลังควายถึงกล้วยมูสังย่านาง ส้มเสี้ยวกำลังราชสีห์ก้างปลา ราชพฤกษ์ คนทีสอ ย่านเถาเครือ บานบุรี บัวสวรรค์เจาะท่อ กลันเกลา คอแห้ง เดือยชุมพร ผักหวาน ขี้เหล็ก ว่านสี่ทิศ อุตพิศ ประดู่ หมากผู้หมากเมียผักกาดหัวแหวนผู้แก้มหมอ คนทา กระดูกไก่ขาวสายหยุดอ้อนกหมอน้อยน้ำนมพระอินทร์ ขี้เหล็กหวาน ฤาษีนั่งยองต้นพัง ต้นโกศล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้สำรวจพบสมุนไพร 87 ชนิด 2.ได้รู้จักสมุนไพร 3.ได้เห็นคุณค่าของสมุนไพร

     

    50 50

    35. ต่อเทียนครูภูมิปัญญา ครั้งที่ 3

    วันที่ 22 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.วันนี้กลุ่มเป้าหมาย ได้รู้จักสรรพคุณของสมุนไพร
    2.กลุ่มเป้าหมาย เรียนรู้การเพาะสมุนไพรเพื่อขยายพันธุ์
    การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร การขยายพันธุ์คือ การสืบพันธุ์ของต้นไม้โดยธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการเพาะเมล็ด การแตกหน่อ แตกตา ใช้ไหล หรือเง่าของพืช การขยายพันธุ์พืชทำให้เพิ่มจำนวนของพืชมากขึ้น การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ การขยายพันธุ์พืชโดยอาศัยเพศคือการนำเมล็ดที่เกิดจากการผสมระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ไปเพาะเป็นต้นกล้าให้เจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ต่อไป ซึ่งลักษณะต้นใหม่ที่เกิดขึ้นอาจจะมีลักษณะที่ดีกว่าเดิมหรือเลวกว่าเดิมก็ได้ วิธีการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีนี้ มีข้อดีคือ พืชมีรากแก้ว เป็นวิธีที่เหมาะแก่การขยายพันธุ์พืชจำนวนมาก มีวิธีการและขั้นตอนไม่มากนัก แต่มีข้อเสียที่กลายพันธุ์ได้ ต้นใหญ่ และกวาจะออกผลต้องใช้เวลานาน พืชสมุนไพรหลายชนิดเพาะพันธุ์โดยวิธีนี้เช่น คูน ยอ และฟ้าทะลายโจร วิธีการที่สะดวกและนิยมกันมาก คือการเพาะใส่กระถางหรือถุงพลาสติก วัสดุที่ใช้คือ ขี้เถ้าแกลบดำ ทรายหยาบ หรือดินปนทราย แต่ที่เหมาะที่สุดคือขี้เถ้าแกลบดำ เพราะขี้เถ้าแกลบดำไม่จับตัวแข็ง ร่วนซุย โปร่ง ระบายน้ำได้ดี แดดส่องสะดวก ถุงพลาสติกที่ใช้ต้องเจาะรูให้น้ำไหลได้ วิธีทำโดยใส่ถ่านแกลบลงในถุงพลาสติก เสร็จแล้วล้างถ่านแกลบด้วยน้ำเพื่อให้หมดด่างเสียก่อน ถ้าหากไม่ใช้ถ่านแกลบดำ จะใช้ดินร่วนปนทราย โดยใช้ดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอกแห้งป่นละเอียด 1 ส่วน เอามาผสมให้เข้ากันดี หยอดเมล็ดให้ลึกพอประมาณ 2-3 เมล็ด (ถ้าเมล็ดใหญ่ใช้ 1 เมล็ด) ดูอย่าให้แดดจัด รดน้ำพอประมาณวันละครั้ง อย่าให้น้ำขัง เมล็ดจะเน่า เมื่อเมล็ดงอกแล้วให้ถูกแดดบ้าง เมื่อต้นเจริญเติบโตพอควรก็แยกไปปลูกในที่ที่ต้องการได้ การขยายพืชโดยไม่อาศัยเพศคือการขยายพันธุ์พืชด้วยส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น กิ่ง หน่อ หัว ใบ เหง้า ไหล เป็นต้น โดยนำไปชำ ตอน แบ่งแยก ติดตา เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) ให้เกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นมาได้ ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยไม่ต้องอาศัยเพศคือไม่กลายพันธุ์ สะดวกต่อการดูแลรักษา ได้ผลเร็ว และสามารถขยายพันธุ์พืชที่ยังไม่มีเมล็ดหรือไม่สามารถมีเมล็ดได้ แต่มีข้อเสียคือ ไม่มีรากแก้ว บางวิธีขยายพันธุ์ได้คราวละไม่มาก ต้องใช้เทคนิคและความรู้ช่วยบ้าง เช่น การตอน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น วิธีการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศมีหลายวิธี ในที่นี้จะแนะนำเฉพาะวิธีที่ใช้บ่อย และนำไปเลือกใช้กับการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร ที่จะแนะนำต่อไปได้ ส่วนวิธีการอื่น หากสนใจ สามารถศึกษาได้จากตำราวิชาการด้านการเกษตร 2.1การแยกหน่อ หรือ กอพืชสมุนไพรบางชนิด เช่น กระชาย กล้วย ตะไคร้ ขิงข่า เตย ว่านหางจระเข้ ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อหรือกอ ทำได้โดยก่อนแยกหน่อ จะต้องเลือกหน่อที่แข็งแรง มีใบ 2-3 ใบ ใช้น้ำรดให้ทั่วเพื่อให้ดินนุ่ม ขุดแยกออกมาอย่างระมัดระวัง อย่าให้หน่อช้ำ เมื่อตัดออกมาแล้ว เอาดินกลบโคนต้นแม่ให้เรียบร้อย นำหน่อที่แยกตัดรากที่ช้ำ หรือใบที่มากเกินไปออกบ้าง แล้วนำไปปลูกลงในกระถางหรือดินที่เตรียมไว้กดดินให้แน่น เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เก็บไว้ในที่ร่ม ถ้าปลูกลงแปลงก็บังร่มเงาให้จนกว่าต้นจะแข็งแรง ดูแลอย่าให้น้ำขัง 2.2การปักชำพืชสมุนไพร เช่น หญ้าหนวดแมว ขลู่ ดีปลี ปักชำได้ง่าย โดยใช้ลำต้นหรือกิ่ง โดยเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป ใช้มีดหรือกรรไกรที่คม ตัดเฉียงโดยให้กิ่งชำมีตาติดอยู่สัก 3-4 ตา ตัดแล้วริดใบออก ให้เหลือใบแต่น้อย ใช้ปูนแดงทาที่รอยตัดกันเชื้อรา นำไปปักลงบนกระบะที่บรรจุถ่านแกลบดำ หรือดินร่วนปนทราย ผสมแบบเดียวกับการเพาะเมล็ด การปัก ให้ปักตรงๆ ลงไปในดิน ไม้ใหญ่ปักห่างกันหน่อย ไม้เล็กปักถี่หน่อย กลบดินให้แน่น ไม่ให้โยกคลอน การรดน้ำให้สม่ำเสมอ และอย่าให้แฉะ และอย่ารดน้ำแรง จะทำให้กิ่งโยกคลอน เมื่อรากแตกและมีใบเจริญขึ้น ก็ย้ายไปปลูกในที่ที่เตรียมดินไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมายเรียนรุ้สรรพคุณ
    2.กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้วิธีการขยายพันธ์ 3.เกิดกระบวนการอนุรักษ์สมุนไพร

     

    50 50

    36. แปรรูปสมุนไพร ครั้งที่ 3

    วันที่ 24 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    งันนี้เป้นกิจกรรมการเรียนรู้การแปรรูปสมุนไพรดดยในวันนี้จะเป็นการแปรรูปสมุนไพรเป็นชาชง โดยจะมีสมุนไพรที่นำมาทำชาคือ ต้นขลู่ตะไคร่และกระเจี๊ยบ ต้นขลู่ อาจเป็นพืชที่คนไทยยังไม่คุ้นหูมากนัก ซึ่งตอนนี้ทางภาคใต้ได้มีการนำใบขลู่มาแทนยารักษาโรคทั่วไปบางตัว ทั้งการรับประทานแบบสด หรือนำมาแปรรูปเป็นใบชา ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
    การทำชาขลู่ ขลู่ เป็นพืชที่พบโดยทั่วไปในประเทศเขตร้อน ชอบขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะบริเวณพื้นที่น้ำเค็มต้นขลู่ยังมีชื่อเรียกพื้นบ้านอีกหลายชื่อตามแหล่งที่อยู่อย่างเช่น อีสานเรียก"เพี้ยฟาน" แม่ฮ่องสอนเรียก "ขี้ป้าน"
    ขลู่ มีลักษณะเป็น ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร ขึ้นเป็นกอ แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นกลมสีน้ำตาลแดง หรือเขียว ลำต้นและกิ่งก้านมีขนละเอียดปกคลุม ใบเดี่ยว ออกแบบสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 1-5 เซนติเมตร ยาว 2.5-10 เซนติเมตร ปลายใบมน ปลายใบมีขนาดใหญ่กว่าโคนใบ โคนใบสอบ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย โดยรอบมีขนขาวๆปกคลุม ก้านใบสั้นมาก เนื้อใบบาง แผ่นใบเรียบเป็นมัน ใบค่อนข้างแข็งและเปราะ ใบมีกลิ่นหอมฉุน ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด หรือตามซอกใบ รูปกลม หลายๆช่อมารวมกัน ดอกเป็นฝอยสีขาวนวลหรือสีขาวอมม่วง ซึ่งคนโบราณเชื่อว่าต้นขลู่มีสรรพคุณทางยา นำไปต้มกับน้ำร้อน บรรเทาโรคเบาหวาน ลดไขมันในเส้นเลือด ขับปัสสาวะ แต่ปัจจุบันภูมิปัญญาเริ่มหายไป หลายพื้นที่เห็นว่าเป็นวัชพืชจึงถูกโค่นทิ้ง ทางชุมชน ได้เห็นความสำคัญ จึงได้อนุรักษ์ ภูมิปัญญาดั้งเดิมนี้ไว้ นำใบขลู่มาแปรรูป เป็นชาใบขลู่ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไป โดยทางวิชาการก็ระบุว่าเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา มีประโยชน์ต่อร่างกาย สรรพคุณ แก้เบาหวาน เพื่อสุขภาพ ลดน้ำหนัก ลดความดันโลหิตสูง การทำชาใบขลู่ 1. เก็บใบอ่อนขลู่ ตอนเช้าล้างให้สะอาด อย่าให้ช้ำ ใส่ตะกร้าพลาสติก 2. หั่นด้วยมีดคม ๆ เป็นเส้นหนา1/2 เซนติเมตร 3. นำใบขลู่ที่หั่นแล้วใส่หม้อตะแกรงอลูมิเนียม ลวกน้ำร้อน 3 - 5 นาทีพอสุก (จะทำให้รักษาสีเขียวไว้ได้สวยงาม) ปั่นเครื่องสลัดน้ำ แล้วเทใส่ตะกร้าพลาสติก 4. ผึ่งลมหรือแดด ประมาณ 10 - 15 นาที ให้แห้ง 5. คั่วในกระทะอลูมิเนียม ไฟเบาถึงไฟกลาง โดยใช้มือคนที่ใส่ถุงมือผ้า คั่วให้แห้ง นาน 30 นาที 6.เสร็จแล้ว ใส่ตะแกรงหรือตะกร้าพลาสติก และฉีกใบชาที่กอดกันเป็นก้อนให้กระจายออกให้หมด แล้วนำเข้าตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ หรือตู้อบแก๊สให้แห้ง 7.บรรจุใส่ถุงพลาสติก ซีลปิดปากถุงให้สนิท นำไปชงดื่ม วิธีประทาน ใช้ใบขลู่ประาณ 1 หยิบมือชงกับน้ำร้อนรับประทานเพื่อสุขภาพ


    ตะไคร้เป็นพืชล้มลุก อยู่รวมกันเป็นกอ มีข้อและปล้องสั้น ค่อนข้างเข็ง ลำต้นส่วนที่อ่อนจะมีใบเรียงซ้อนกันหลาชั้น ใบมีกาบใบเป็นแผ่นยาวโอบซ้อนกันจนแข็งจนคล้ายลำต้น ตัวใบเรียวยาว แหลม กว้างประมาณ 1-2 ซม.ยาวเต็มที่ได้ถึง 80 ซม. เนื้อใบหยาบมีขนอยู่ทั่วไป ขอบใบค่อนข้างคม เวลาจับใช้คามระมัดระวังด้วยนะครับ ผมเคยโดนบาดมาแล้วอ้ออีกอย่างตะไคร้มีดอกด้วยนะครับเวลาออกดอกเป็นช่อยาวมาก ซึ่งประกอบด้วยช่อย่อยที่มีดอกขนาดเล็กๆเป็นจำนนมาก มีขนที่ก้านดอก สรรพคุณของตะไคร้ ช่วยขับลม จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืด มีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด ช่วยลดความดันโลหิตสูง ขับเหงื่อ แก้หวัด ลมเย็น ปวดศรีษะ แก้อาการขัดเบา ช่วยแก้อาการขับปัสสาวะเป็นเลือด ระงับอาการปวดเกร็งตามร่างกาย แก้ปวดเมื่อยตัว แก้อาการท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ช่วยขับลมในลำไส้ บรรเทาอาการไอ รักษาอาการข้อเท้าแพลง ปวดบั้นเอว แก้อาการปวดตามข้อ แก้นิ่ว วิธีการทำชาตะไคร้ห 1.นำเอาต้นตะไคร้ล้างให้สะอาดแล้วใช้มีดหั่นชิ้นส่วนที่เป็นต้นใบรากไม่เอา หั่นเป็นชิ้นเล็กที่พอเหมาะสำหรับการชงชา 2. นำมาตากแดดให้แห้งสนิท 3.แล้วนำมาคัวให้เหลือง หอม คั่วในกระทะอลูมิเนียม ไฟเบาถึงไฟกลาง โดยใช้มือคนที่ใส่ถุงมือผ้า คั่วให้แห้ง นานประมาณ 30 นาทีจากนั้นบรรจุถุงปิดให้สนิท เพื่อเก็บไว้ชงต่อไป เก็บไว้ชง ส่วนวิธีรับประทานก็เหมือนชาใบขลู่


    กระเจี๊ยบแดง ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1 - 3 เมตร เปลือกต้นสีเทาปนแดงเหนียว ใบเป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ รูปแบบนิ้วมือ ขนาดประมาณ 3.00 x 7.00 เซนติเมตร โดยใบหยักลึก 3 - 5 ปลาย ปลายยอดแหลม โคนใบมนกว้าง ขอบใบหยักแบบฟันเลื้อย ก้านใบสีแดงยาว ดอกออกเดี่ยวเป็นกระจุก 1 - 3 ดอกที่ซอกใบบริเวณปลายยอด ดอกสีขาวนวล และชมพูแดง กลีบดอกมี 5 กลีบ แต่ละกลีบเป็นอิสระจากกัน กลีบเลี้ยงสีแดงสด แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นในมีเนื้อกลีบส่วนโคนเชื่อมติดกัน กลีบชั้นนอกเรียวแหลม 8 - 12 กลีบ ผลทรงกลมปลายแหลม ผิวผลมีขนขนาดเล็กสีขาวเกาะติดหนาแน่น เมล็ดทรงกลม สีน้ำตาลดำ มีจำนวนมาก

    สรรพคุณ กลีบเลี้ยงของดอก ต้มน้ำดื่ม ใบและยอดอ่อน เป็นเครื่องปรุงให้รสเปรี้ยว และรับประทานสด เมล็ด เป็นยาบำรุงกำลัง ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลข้างเคียง ลดอุณหภูมิในร่างกาย น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง บำรุงโลหิต แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะขัด แก้คอแห้งกระหายน้ำ กัดเสมหะ แก้ไอ

    การทำชากระเจี๊ยบ 1.นำดอกกระเจี๊ยบแดงมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ
    2.คั่วในกระทะจนแห้งกรอบ แล้วนำเก็บไว้ในถุงปิดให้มิดชิด ซึ่งดอกกระเจี๊ยบแดงคั่วที่เหลือให้เก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดสามารถเก็บไว้ชงดื่มได้เป็นเดือน
    3.สามารถนำไปชงชาได้เลย
    เวลาดื่มให้ใส่ลงในแก้ว เทน้ำร้อนใส่ลงไป ชงดื่มเป็นชา (หรือนำไปใส่ในกาสำหรับชงชา) แช่ทิ้งไว้สักครู่บีบน้ำมะนาว หรือฝานชิ้นเลมอนลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติ หากต้องการความหวานก็เติมน้ำตาลทรายลงไปตามความชอบ


    ซึ่งต่อไปทางกลุ่มเราก็จะทำเป็นสินค้าจำหน่ายเป็นชาใบขลู่แะนำเงินมาพัฒนาและบริหารกลุ่ม กันต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีความรู้ความเข้าใจและสามารถแปรรูปสมุนไพร เป็นชาชงสมุนไพรได้ 2.รู้จักชาใบขลู่ รู้สรรพคุณประโยชน์ของชาใบขลู่กระเจี๊ยบแดงและตะไคร้ 3.มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ภายในกลุ่ม 4.มีความรักสามัคคีเพิ่มขึ้น

     

    50 50

    37. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อม รับฟังข้อเสนอแนะจากสมาชิก
    วาระที่ 1สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา วาระที่ 2เตรียมกิจกรรมครั้งต่อไปคือ 1)สืนสานประเพณีภูมิปัญญา 2)แปรรูปสมุนไพร ครั้งที่ 4
    3)ติดตามประเมินผลกลุ่ม ครั้งที่ 2 4)กลุ่มวิสาหกิจสมุนไพร ครั้งที่ 2
    และได้มอบหมายหน้าที่และกิจกรรมต่างๆ ให้รับผิดชอบในวันทำกิจกรรม
    สิ่งที่ได้ในวันนี้ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ มีการวางแผนล่วงหน้าเกิดความร่วมมือในการทำงาน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม การสร้างระบบติดตามการประเมินผลการดำเนินงานต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะทำงานมีการเตรียมข้อมูลการทำงานขัดเจนขึ้น
    2.วางแผนการติดตามผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าของกิจกรรม
    3..คณะทำงานมีการเรียนรู้ร่วมกัน 4.มีการยอมนับกันมากขึ้น

     

    25 25

    38. สืนสานประเพณีภูมิปัญญา

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้จัดกิจกรรมไหว้ครูเพื่อสืบสานต่อเทียนครูภูมิปัญญา โดยทีมงานขอความร่วมมือกับทางวัดพระบาท และครูภูมิปัญญา จัดให้มีการไหว้ครูประจำปีที่ศาลาการเปรียญ โดยเชิญภาคีเครือข่ายภาคประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ในการจัดกิจกรรมปราชญ์สอนแนะเกี่ยวกับการจัดพิธีกรรมในการต่อเทียนครูภูมิปัญญา โดยให้จัดทำทำบายศรีบูชาครู  พร้อมทั้งอุปกรณ์ในการไหว้ครูและจัดเตรียมอุปกรณ์ไหว้ครู  มีบทขอขมาและบทสวดมนต์ไหว้พระ
    กิจกรรมวันนี้ได้เชิญแขกผู้มีเกียรติและประชาชนในหมู่บ้านเข้าร่วมกิจกรรม  โดยเชิญนายก อบต.เขาพระบาท ครูโรงเรียนวัดพระบาท
    ในงานมีการแจกแผ่นพับความรู้เรื่องสมุนไพร และมีสมุนไพรที่แปรรูปไว้แล้วในชุมจัดจำหน่าย ได้แก่ ลูกประคบ ชาใบขลู่ ชากระเจี๊ยบ ชาตะไคร้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้เรียนรู้กระบวนการไหว้ครู เพื่อสืบสานภูมิปัญญา 2.ได้เห็นคุณค่าของบรรพบุรุษ 3.เป็นการแสดงถึงความเคารพต่อครู ต่อกิจกรรมและต่อสถานที่ 4.ประชาชนได้ร่วมทำบุญ 5.ได้สืบทอดพุทธศาสนา เพราะใช้วัดจัดกิจกรรม

     

    200 200

    39. แปรรูปสมุนไพร ครั้งที่ 4

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรม ที่ทบทวนความรู้จากการได้เรียนรู้การแปรรูปสมุนไพรโดยจะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และทำการแปรรูป สมุนไพร กันเองง โดยจะมีปราชญ์ คอยช่วยในการแนะนำโดยจะมีการทำลูกประคบ การทำชาใบขลู่ชากระเจี๊ยบแดงและชาตะไคร้ พร้อมบบรจุเป็นผลิตภัณ ให้ดูสวยงาม เพื่อจะได้นำไปวางจำหน่ายได้ และก็จะให้สมาชิกได้แลกเปลี่ยนกันแปรรูปแต่ละอย่างใครที่ยังไม่ถนัดการทำลูกประคบก้จะให้คนที่เป็นแล้วสอนในการทำในการห่อผ้าลูกประคบโดยจะมีปราญช์คอยดุและช่วยแนะนำเพิ่มเติมส่วนคนที่ทำลุกประคบเป็นแล้ว ก็มาช่วยทำชามาช่วยหั่นตะไคร้และกระเจี๊ยบตากไว้ เพื่อจะได้นำไปขั่วต่อไปและส่วนที่คั่วกระทะเสร็จก็ช่วยกันบรรจุภัณฑ์หัวหน้าโครงการ ได้บอกให้สมาชิกฝึกให้ทำการแปรรูปให้เป็นกันทุกคนเพื่อจะได้ช่วยกันทำในครั้งต่อไป สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้สมาชิกได้เกิดการแลกเปลี่ยนกันในระหว่างทำกิจกรรมได้สอนและแนะนำการแปรรูปสมุนไพร ซึ่งกันและกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีความรู้  ความเข้าใจ  และสามารถทำการแปรรูปสมุนไพร ไดด้วยตัวเอง 2.มีความรักความสามัคคี 3.มีกรยอมรับกันภายในกลุ่ม

     

    50 50

    40. ติดตามประเมินผลกลุ่ม ครั้งที่ 2

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยคณะทำงานร่วมกับคณะครูจากโรงเรียนวัดพระบาท คณะเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาทและ อบต. เขาพระบาทร่วมกันออกติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการออกสัมภาษณ์  สอบถาม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์  กลุ่มเป้าหมายในชุมชนถึงการเปลี่ยนแปลงหลังจากการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อปรับสุขภาพ  พบว่า  กลุ่มเป้าหมายมีการต้มสมุนไพรในการปรับสุขภาพ  มีการดื่มน้ำสมุนไพร ยาต้มแทนการดื่มชากาแฟในตอนเช้า  ซึ่งทำให้รู้สึกว่ามีความสุข ร่างกายแข็งแรงกระฉับกระเฉงขึ้นมีการใช้น้ำสมุนไพรในงานเลี้ยงแทนน้ำอัดลม น้ำหวาน  ซึ่งยานี้อาจจะขมไปบ้าง แต่ก็ใช่กามะพร้าวมาเป็นแก้วในการดื่ม  เพื่อลดความขมของน้ำสมุนไพร  ดื่มแล้วเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  ลดค่าใช้จ่าย  ลดการเป็นโรคภัยไข้เจ็บ  แถมยังลดค่าใช้จ่าย ด้วยเพราะลดการซื้อน้ำชา  กาแฟ  แถมสมุนไพรยังมีอยู่ในหมู่บ้าน  จะได้นำสิ่งที่มีในหมู่บ้านมาทำให้เกิดประโยชน์ และได้ไปติดตามการปลูกสมุนไพร  ของแต่ละบ้าน  ว่าได้ปลูกสมุนไพรอะไรบ้าง  และนำและนำสมุนไพรนั้นมาใช้ประโยชน์อย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดุแลสมุนไพรในการดุแลสุขภาพ 2.กลุ่มเป้าหมายมีความสุขในการนำสมุนไพรมาดื่มแทนกาแฟ  เพราะลดค่าใช้จ่ายด้วย 3.ได้นำสมุนไพรที่มีในหมู่บ้าน นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 4.ติดตามแปลงสมุนไพร แต่ละโวน  และที่ปลูกที่บ้าน

     

    20 20

    41. กลุ่มวิสาหกิจสมุนไพร ครั้งที่ 2

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ทางกลุ่มได้เรียนรู้เกี่ยวกับสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ด้วยตัวยาสมุนไพร รวม 7 ชนิด ที่มีสรรพคุณเป็นที่ยอมรับมาแต่ครั้งโบราณจวบจนถึงปัจจุบันแล้วว่าเป็นเลิศในการบำบัดรักษา และฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างดีเยี่ยม

    สูตรที่ 1 ยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
    • ส่วนผสมของยาอบสมุนไพร ได้แก่ใบมะกรูด ใบมะขามแก่ ต้นตะไคร้ทุบแตก ตัดเป็นท่อนสั้น หอมแดงทุบแตก ไพลหั่นเป็นแว่น ใบส้มป่อยการบูรบดละเอียด • วิธีปรุงส่วนผสมของยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม สูตรดั้งเดิม นำสมุนไพรทั้งหมดล้างให้สะอาด จากนั้นให้เอาใบมะกรูดมาเด็ดและฉีกเป็นชิ้น ๆ ต้นตะไคร้เอามาทุบแล้วหั่นเป็นท่อน ๆประมาณ 1 นิ้วเศษ เพื่อให้ต้มได้ง่ายขึ้น รูดใบมะขามแก่ แล้วขยี้ใส่ลงไปในหม้อ ต้มทั้งใบและก้าน ขยี้ใบส้มป่อย ใส่ลงไปทั้งใบและก้าน เอาไพลมาหั่นเป็นแว่นแล้วทุบ ทุบหอมแดงให้แตก ใส่ลงไปในหม้อต้ม ส่วนการบูรนั้นให้โรยลงไปเวลาที่น้ำสมุนไพรกำลังเดือดจัด เพื่อให้การบูรส่งกลิ่นหอมและรักษาคุณประโยชน์ของการบูรไว้อย่างเต็มที่ ไอน้ำร้อนจากการต้มยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพนี้ จะนำมาใช้ประโยชน์ในการอบสมุนไพรเพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น หากต้องการทำเป็นสมุนไพรแห้ง จะต้องนำสมุนไพรไปตากแดด หรืออบด้วยความร้อนให้แห้งเสียก่อน แล้วจึงนำมาบดให้ละเอียด รวมทั้งใส่การบูรซึ่งบดจนละเอียดแล้วผสมลงไปด้วย กลิ่นหอมของการบูรจะโชยออกมาทันท๊ จากนั้นนำไปบรรจุไว้ในถุงผ้าขาวบาง และห่อหุ้มด้วยถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาจากสมุนไพรระเหิดออกไปจนเสียสรรพคุณสำคัญ อันจะทำให้การใช้ยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร

    ผลของไอน้ำที่ได้จากการอบสมุนไพรมีดังนี้ต่อไปนี้ 1. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย 2. ช่วยทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น 3. ช่วยทำให้ร่างกายขับเหงื่อออกมากขึ้น ขยายรูขุมขน 4. ช่วยทำให้ทางเดินหายใจชุ่มชื้น ช่วยละลายเสมหะทำให้ขับออกมาได้ง่ายขึ้น 5. ช่วยลดการอักเสบและบวมที่เยื่อบุของทางเดินหายใจตอนบน 6. ช่วยลดการระคายเคืองในลำคอ

    ผลของตัวยาสมุนไพร สมุนไพรที่นิยมใช้ในการอบสมุนไพร มี 4 พวกใหญ่ๆ คือ 1. สมุนไพรที่มีนำมันหอมระเหย ได้แก่ เหง้าไพล เหง้าขมิ้นชัน เหง้าขมิ้นอ้อย เหง้าข่า เหง้ากระทือ เหง้าว่านน้ำ ต้นตะไคร้ กะเพรา ใบหนาด การบูรต้น เป็นต้น มีฤทธิ์ทำให้โล่งจมูก ขยายหลอดลม ฆ่าเชื้อโรคบางชนิด 2. สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ได้แก่ ใบมะขาม ใบส้มป่อย ผลมะกรูด เป็นต้น มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยชำระสิ่งสกปรกออกจากผิวหนัง 3. สมุนไพรที่มีสารที่ระเหยแล้วมีกลิ่นหอม ได้แก่ การบูร พิมเสน ช่วยบำรุงหัวใจ รักษาโรคผิวหนัง 4. สมุนไพรที่รักษาเฉพาะโรค ได้แก่ ผักบุ้งขัน เหงือกปลาหมอ ทองพันชั่ง สำมะงา ใช้รักษาโรคผิวหนัง หัวหอม หัวเปราะหอม ใช้แก้หวัดคัดจมูก ผักบุ้งขัน ผักบุ้งรั้ว ผักชีล้อม ใช้ลดอักเสบบวม แก้เหน็บชาและน้ำเหลืองเสีย เป็นต้น สมุนไพรทั้ง 4 พวกนี้ใช้ได้ทั้งอบและอาบ ซึ่งช่วยให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้นกว่าการอบเพียงอย่างเดียว ประโยชน์ของการอบสมุนไพร

    การอบไอน้ำสมุนไพร ถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อไปนี้ 1. แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ผ่อนคลายความเครียด 2. ลดน้ำหนัก และเสริมความงามของผิวพรรณ 3. ในกรณีสตรีหลังคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ ขับน้ำคาวปลา 4. ในกรณีผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย 5. ในกรณีผู้ติดยาเสพติด ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดอาการเซื่องซึม

    ระยะเวลาในการอบสมุนไพร 1. กรณีที่ต้องการลดน้ำหนัก ให้ทำวันเว้นวัน เป็นเวลา 3 เดือน 2. กรณีสตรีหลังคลอด ให้ใช้ความร้อนต่ำๆ ทำทุกวันๆ ละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 1 เดือน 3. กรณีอัมพฤกษ์ อัมพาต ให้ใช้ความร้อนต่ำๆ ทำทุกวันๆ ละ 1 ชั่วโมง

    ข้อควรระวังในการอบสมุนไพร 1. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคปอด โรคลมบ้าหมู ตกเลือด ท้องเสียอย่างรุนแรง ไข้ทับระดู ไข้สูง อ่อนเพลีย โรคติดเชื้อ ไม่ควรอบสมุนไพร 2. ในขณะอบสมุนไพร ถ้ารู้สึกอึดอัด หายใจไม่ออก ควรออกมาพักนอกกระโจม อย่าฝืนอบต่อไป 3. ระวังอย่าให้ไอน้ำร้อนลวกถูกร่างกาย ควบคุมความร้อน อย่างให้สูงเกิน 40 องศาเซลเซียส 4. ไม่ควรอบนานเกินไป เพราะร่างกานอาจเสียน้ำและเกลือแร่ออกทางเหงื่อมากเกินไป จะทำให้อ่อนเพลีย ซึม ถ้าเป็นมากอาจช็อคได้ ปกติควรใช้เวลาอบทั้งสิ้น 15-30 นาที โดยพักนอกกระโจมในระหว่างการอบบ้าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกกลุ่มได้เรียนรู้สรรพคุณสมุนไพรที่ใช้ในการอบ 2.สมาชิกกลุ่มได้เรียนรู้คุณค่าของสมุนไพร 3.สมาชิกได้รู้ข้อห้ามของการอบสมุนไพร 4.ได้แบ่งกลุ่มกันปลูกสมุนไพร

     

    50 50

    42. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10

    วันที่ 7 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อม รับฟังข้อเสนอแนะจากสมาชิก
    วาระที่ 1สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา
    วาระที่ 2ชี้แจงกิจกรรมครั้งต่อไป โดยแบ่งหน้าของคณะทำงานแต่ละคนเพื่อจะจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป สิ่งที่ได้ในวันนี้ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ มีการวางแผนล่วงหน้าเกิดความร่วมมือในการทำงาน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มได้มีการแบ่งหน้าที่ในการทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการมีการสรุปและติดตามงาน 2.คณะทำงานวางแผนการจัดมหกรรมสุขภาพ
    3.มีการรายงานการติดตามผลงานและความก้าวหน้าของกิจกรรม
    4.เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน
    5.สร้างคุณค่าในกระบวนการพัฒนางาน 6.มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมครั้งต่อไป

     

    25 25

    43. ทำสวนสมุนไพร ครั้งที่ 4

    วันที่ 28 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมการทำสวนสมุนไพร
    วันนี้ทีมงานได้พูดคุยเกี่ยวกับการสร้างสวนสมุนไพรชุมชน
    1.ทุกคนต้องมีส่วนร่วมโดยนำวัสดุมาจากบ้าน เช่น จอบ เสียม ต้นสมุนไพร ก้อนอิฐ ไม้ ปุ๋ย เพื่อมาทำสวนสมุนไพรชุมชน 2.แบ่งทีมออกเป็นโซน และวางรูปแบบการจัดสวนสมุนไพรชุมชน เพื่อให้เป็นมุมพักผ่อนของชุมชน
    3.แต่ละแปลง มีข้อกำหนดดังนี้ (1)เขียนป้ายชื่อสมุนไพรสรรพคุณของสมุนไพรกำกับด้วย (2)แต่ละแปลงให้เขียนชื่อ ปราชญ์ ครู อสม. และนักเรียนที่รับผิดชอบด้วย (3.)กำหนดหน้าที่และเวรรับผิดชอบในการดูแล รดน้ำ โดยให้นักเรียนเป็นหลัก โดยมีครูและปราชญ์ช่วยติดตาม 4.ให้ช่วยกันบันทึกการการทำแปลงสมุนไพร บอกถึงการเปลี่ยนแปลง ระยะเวลาที่ต้นสมุนไพรโต เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต และเรียนรู้เรื่องสมุนไพรไปด้วย 5.จัดกิจกรรมบอกเล่า เก้าสิบเกี่ยวกับการทำสวนสมุนไพรชุมชน เพื่อถอดบทเรียนในการพัฒนา 6.สรุปผลการจัดทำสวนสมุนไพรชุมชน
    -สมุนไพรมีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีสรรพคุณอย่างไร นำไปใช้ประโยชน์อะไร วางแผนขยายพันธ์อย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีสวนสมุนไพรของชุมชน 2.มีการแลกเปลียนเรียนรู้ในขณะทำกิจกรรม 3.มีความสามัคคีเพิ่มขึ้น

     

    50 50

    44. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 11

    วันที่ 7 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

            ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อม รับฟังข้อเสนอแนะจากสมาชิก
          วาระที่ 1  สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา
          วาระที่ 2  เตรียมกิจกรรมครั้งต่อไป
            โดยแบ่งหน้าของคณะทำงานแต่ละคน  เพื่อจะจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป     สิ่งที่ได้ในวันนี้  ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ มีการวางแผนล่วงหน้า  เกิดความร่วมมือในการทำงาน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม  ได้มีการแบ่งหน้าที่ในการทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการติดตาม การมอบหมายงานให้รับผิดชอบ ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 2.เห็นภารพการทำงานของคณะกรรมการแบบมีส่วนร่วม
    3.มีการยอมรับมากขึ้น 4.มีคณะกรรมวางแผนการจัดมหกรรมสุขภาพ และได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

     

    25 25

    45. กลุ่มวิสาหกิจสมุนไพร ครั้งที่ 3

    วันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้มีการพูดคุยเรื่อง ชาสมุนไพร ชาสมุนไพรจัดเป็นสินค้าอันดับต้น ๆ ที่อยู่ในความสนใจของนักดื่มผู้รักสุขภาพ นอกจากจะเป็นเครื่องดื่มประจำวันแล้ว ยังเชื่อกันว่าสรรพคุณของสมุนไพร ที่นำมาทำชาชงนี้จะช่วยดูแลและป้องกันสุขภาพได้ด้วย เรียกว่ากินเพื่อป้องกันก็ได้ กินเพื่อรักษาก็ได้ ประเภททูอินวันในถ้วยเดียว
    ชาสมุนไพรเป็นได้ทั้งเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพและยานี่เอง จึงมีคำถามตามมาว่า ต้องดื่มมากน้อยขนาดไหนจึงบำรุงสุขภาพ ถ้าดื่มเป็นยาต้องใช้มากน้อยเพียงใด ดื่มไปนาน ๆ แล้วจะมีผลข้างเคียงอะไรหรือไม่
    เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นกันก่อนว่า การชงชาคือการ สกัดสารออกฤทธิ์จากสมุนไพรด้วยความร้อนในช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้สารที่ไม่ต้องการออกมามากเกินไป และพืชไม่ต้องสัมผัสกับความร้อนมากจนเสียกลิ่นและรสชาติ ดังที่เกิดในวิธีการใช้ต้ม ส่วนใหญ่แล้วการใช้วิธีชงแบบชา มักจะใช้ในสมุนไพรที่ต้องการคงความอร่อยของกลิ่นรสไว้เพื่อให้ชวนดื่ม เน้นการบำรุงสุขภาพมากกว่าที่จะใช้เป็นยา ซึ่งในกรณีนี้มักไม่มีอันตรายใด ๆ พืชสมุนไพรที่อยู่ในรูปชาชงแบบนี้ก็ได้แก่ ชาเขียว ชาขิง มะตูม ตะไคร้กระเจี๊ยบ ทองพันชั่ง ชาประเภทนี้ ดื่มได้ทั้งวันไม่ต้องคิดมากชาสมุนไพรประเภทที่สองเป็นชนิดที่ใช้ดื่มเพื่อบำรุงสุขภาพก็ได้ หรือจะใช้ดื่มเป็นยาก็ได้ เช่น ชาหญ้าหนวดแมว รางจืด ดอกคำฝอย หญ้าดอกขาว เป็นต้น คือถ้าจะดื่มบำรุงสุขภาพเช้าหนึ่งถ้วย เย็นหนึ่งถ้วย ดื่มติดต่อกันไปหลาย ๆ วัน ก็ไม่มีอันตรายอะไร แต่หากเกิดมีอาการขัดเบา ปัสสาวะกะปริบกะปรอย อยากใช้ชาหญ้าหนวดแมวที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะช่วยบรรเทาอาการ ถ้าดื่มแค่นี้คงจะไม่เห็นผล หากจะดื่มเพื่อรักษาอาการดังกล่าว ขนาดที่ใช้ดื่มคือ วันละ 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ถ้วย ต้องดื่มอย่างน้อยประมาณ 5-7 วัน จึงจะเห็นผล
    ส่วนใครที่มีพิษไข้ ผิดสำแดง หรือต้องการแก้พิษเมื่อเมาต่าง ๆ ก็ต้องดื่มชารางจืดบ่อย ๆ ในช่วงแรก เช่นทุก ๆ 4 ชั่วโมง หรือทุกครั้งที่มีไข้ หรืออาจจะดื่มต่างน้ำไปเลยสัก 2-3 วัน จึงค่อยเลิก สำหรับอาการปวดท้อง ท้องขึ้น เป็นไข้มีอาการไอร่วมด้วย ถ้าจะใช้ชาหญ้าดอกขาวบำบัดอาการ ก็ต้องดื่มวันละ 3 เวลา ครั้งละ 1 แก้ว จนอาการหายดีแล้ว แต่ถ้าอยากดื่มเป็นชาบำรุงสุขภาพ ก็ลดขนาดลงมา
    ส่วนชาดอกคำฝอยนั้น มีสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ เป็นยาระบายอ่อน ๆ บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิตและขับระดู มักนิยมนำมาชงดื่มแก้อาการดังกล่าว ข้อควรระวังของชาดอกคำฝอย ก็คือ ไม่ควรใช้ ในสตรีมีครรภ์ เพราะดอกคำฝอยเป็นยาบำรุงเลือดและขับประจำเดือน ถ้าดื่มมาก ๆ อาจแท้งได้
    นอกจากนี้ยังมีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อนกันมากว่า ชาดอกคำฝอยสามารถลดไขมันในเส้นเลือดได้ ความจริงตัวที่ลดไขมันในเส้นเลือดได้นั้นคือ น้ำมันที่สกัดจากดอกคำฝอย ไม่ใช่ดอกคำฝอยที่เราเอามาชงชากันโดยทั่วไป ยังไม่มีรายงาน การทดลองยืนยันว่าชาดอกคำฝอยลดไขมันในเส้นเลือดได้
    ชาประเภทสุดท้าย ต้องถือเป็นยาสมุนไพรที่อยู่ในรูปของชามากกว่า คือเอามาแปรรูป เพื่อนำมาใช้ได้สะดวก ง่าย ๆ รวดเร็วทันใจ ชาพวกนี้ ได้แก่ ชาชุมเห็ดเทศ ชามะขามแขก ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ควรกินตามขนาดและระยะเวลาที่กำหนดไว้ พอระบายถ่ายท้องคล่องแล้วก็ควรหยุดดื่มทันที ไม่ควรดื่มติดต่อกันนาน ๆ เป็นประจำทุกวัน เพราะทั้งชาชุมเห็ดเทศและมะขามแขก มีฤทธิ์ไปกระตุ้นลำไส้ หากดื่มติดต่อกันนาน ๆ จะต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้น ถึงจะได้ผลและอาจทำให้ระบบขับถ่ายไม่ทำงานได้
    พวกชาที่ชอบโฆษณาว่าช่วยลดความอ้วนได้ ก็มักจะเป็นชาสมุนไพรดังกล่าวมานี้ ถ้าจะใช้ก็ต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงที่จะตามมาด้วยคงจะพอแยกแยะกันได้บ้างแล้วว่าจะดื่มชาสมุนไพรอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุดและปลอดภัย ดื่มอย่างไรจึงเป็นการป้องกันและบำรุงสุขภาพ ดื่มแบบไหนจึงจะใช้เป็นยารักษาโรคและอาการที่ไม่พึงปรารถนา

    น้ำกระเพราแดง ส่วนผสม ใบกระเพราแดงแห้ง 5 กรัม (1 ช้อนชา) น้ำเดือด 200 กรัม (14 ช้อนคาว) วิธีทำ 1.เอาใบกระเพราแดงสดมาล้างทำความสะอาด แล้วนำไปตากแดด 2 - 3 แดดจนแห้งแล้วเก็บไว้ในกระป๋อง 2.เวลาชงเอากระเพราแดงแห้งใส่ในกระติกน้ำร้อนหรือชงกับน้ำ 1 แก้วก็ได้ ทิ้งไว้ 5 - 10 นาทีแล้วดื่มได้เลย ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ คุณค่าทางยา : ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ดี

    น้ำข่า ส่วนผสม ข่าตากแห้ง 20 กรัม (5 แว่น) น้ำร้อน 200 กรัม (14 ช้อนคาว) วิธีทำ 1.เอาข่าแก่ที่ตากแห้งแล้วใส่ลงไปในถ้วยกาแฟ 4 - 5 แว่น 2.เอาน้ำร้อนใส่ลงไปค่อนถ้วย ปิดฝาถ้วย ทิ้งไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยดื่ม ควรดื่ม 2-3 ถ้วยต่อวัน ก้ทำให้สบายท้อง ขึ้น หรือจะใช้ข่าสดก็ได้ 10-12 แว่น นำมาทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มก็ได้ ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ คุณค่าทางยา : ช่วยขับลมได้อย่างดี เป็นการระบายลมออกมาจากลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว

    น้ำดอกคำฝอย ส่วนผสม ดอกคำฝอยแห้ง 2 - 5 กรัม (1 หยิบมือ) น้ำเดือด 150 กรัม (1 ถ้วยกาแฟ) วิธีทำ 1. เอาดอกคำฝอยใส่ในถ้วยกาแฟ เทน้ำร้อนลงไป 2. เอาช้อนกาแฟคนให้เข้ากัยน้ำร้อน จนกระทั่งน้ำเป็นสีแดงปนน้ำตาลสีจะเข้ม แล้วจิบดื่มช้าๆ ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ คุณค่าทางยา : ลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิตสูง ช่วยขับเหงื่อ ช่วยระบายอ่อนๆ คนจีนใช้รักษา โรคหัวใจ และหลอดเลือด

    น้ำฟ้าทะลายโจร ส่วนผสม ฟ้าทะลายโจรหั่น (ตากแห้ง) 15 กรัม (1 ช้อนชา) ใบเตยหอมสดหั่น 15 กรัม (1 ช้อนคาว) น้ำสะอาด 200 กรัม (14 ช้อนคาว) วิธีทำ 1. เอาฟ้าทะลายโจรหั่นตากแห้ง ใส่หม้อต้ม 2. เอาใบเตยหอมหั่นใส่ลงไปด้วย เพื่อสร้างความหอมและน่าดื่ม 3. ยกตั้งบนเตาไฟ ต้มจนเดือด เคี่ยวจนงวด ยกลง เอากากออก แบ่งดื่มวันละ 3 เวลา
    ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ คุณค่าทางยา : ช่วยโรคภูมิแพ้ได้ดี แก้ร้อนใน เจ็บคอ ตัวร้อน ปวดหัว ช่วยเจริญอาหาร


    วันนี้ทีมงานได้มีการสอนแนะกลุ่มเป้าหมายให้รุ้จัก การแปรรูปใบชา ได้แก่ 1.ชาใบเตยสำหรับสรรพคุณของชาใบเตยได้แก่บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะชาใบเตย ทำจากใบเตยหอม อบแห้ง บดเป็นผง มี สีเขียวใบเตย มีกลิ่นหอมชื่นใจใบเตยมีคุณสมบัติหลักๆ ขับปัสสาวะ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ชาใบเตยจึงเหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง คนธรรมดาทั่วไปก็ดื่มได้กลิ่นหอมของใบเตยชื่นใจ คลายเครียดได้ดี
    2.ชาขิง จริงๆจะเรียกว่าน้ำขิงก็ไม่ผิดอะไรนัก แก้หวัด และช่วยย่อยทำจากเหง้าขิงแก่ ที่มีน้ำมันหอมระเหยมีสรรพคุณทางร้อน ช่วยบรรเทาหวัด แก้คลื่นไส้อาเจียน เมารถเมาเรือ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืด 3.ชาตะไคร้ สามารถช่วยขับลม ช่วยย่อยทำจากต้นและใบตะไคร้อบให้แห้งแล้วบด ตะไคร้จะมีกลิ่นหอม ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดเกร็งในท้อง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะและมีรายงานการทดลองพบว่า ตะไคร้นั้นมีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้อีกด้วย 4.ชารางจืด สามรถกำจัดพิษ และล้างสารพิษทำจากใบรางจืดอบแห้งมีกลิ่นใบไม้แห้ง หอมอ่อนๆ เป็นธรรมชาติ ให้น้ำชาสีน้ำตาลออกเขียว มีสรรพคุณกำจัดพิษ แก้เมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ และลดความร้อนในร่างกาย เหมาะกับเมืองไทยในขณะนี้ ที่ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ชารางจืดไม่มีพิษดื่มเป็นประจำได้ทุกวัน ชากระเจี๊ยบ สามารถช่วยขับปัสสาวะไขมันในเลือด ได้มาจากดอกของกระเจี๊ยบแดง มีคุณสมบัติในการลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอชื่นใจ ชากระเจี๊ยบมีสีแดง รสเปรี้ยวมักเติมน้ำตาลเพื่อแต่งรส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกกลุ่มได้เรียนรุ้สรรพคุณของชาสมุนไพร 2.ได้เรียนรู้วิะีการแปรรูปชาสมุนไพร 3.ได้เรียนรู้คุณค่าของชาสมุนไพร 4.ได้แบ่งหน้าที่ในการผลิต 

     

    50 50

    46. ติดตามประเมินผลกลุ่ม ครั้งที่ 3

    วันที่ 26 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรครั้งที่ 3 โดยมีคณะทำงานร่วมกับคณะครูจากโรงเรียนวัดพระบาท คณะเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาทและ อบต. เขาพระบาทร่วมกันออกติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ได้ดื่มน้ำสมุนไพร ซึ่งกลุ่มเป้าหมายก็ยังทำกิจกรรมเดิมคือ หลังจากกรีดยางเสร็จ ก็มานั่งต้มน้ำสมุนไพรดื่มกันเหมือนเดิมซึ่งการดื่มยาสมุนไพรนี้ก็ไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างงกายเพราะจะดื่มไม่มากไม่ได้สะสมในร่างกาไม่ได้กินพร่ำเพรื่อกินเพื่อบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะบำรุงกำลังเท่านั้นยกเว้นคนที่ต้องการรักษาโรคจะดื่มเช้าเย็นหรือตามที่หมอสมุนไพรสั่ง การดื่มยาสมุนไพรนี้นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ยังดีต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัวด้วยเพราะช่วยลดค่าใช้ใช้จ่ายเพราะจะไม่เจ็บป่วยได้ง่ายจะได้ไม่ต้องเสียเลา เสียค่าใช้จ่ายในการไปหาหมอแถมยังได้มาพบปะพูดคุยกับเพื่อน บ้านอีกด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดุแลสมุนไพรในการดุแลสุขภาพ
    2.มีกลุ่มดื่มนำ้สมุนไพร 3.ได้นำสมุนไพรที่มีในหมู่บ้าน นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

     

    50 50

    47. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 12

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา และได้มีการสรุปผลการดำเนินงานจากการทำโครงการที่ได้ทำมาทั้งหมด - นำผลการประเมิน เอกสารที่เกี่ยวกับการทำกิจกรรมต่างๆ มาตรวจสอบความถูกต้อง รวบรวม เพื่อทำรายงาน  นำรูปภ่ายในหารทำกิจกรรมต่างๆเข้าเวบไซค์ สรุปผลการติดตามความก้าวหน้า และผลการถอดบทเรียน มาเรียบเรียง สรุป เพื่อรายงานความคืบหน้าของโครงการ - สรุปและรายงานผลโดยจัดทำเป็นรูปเล่มและรายงานลงในโปรแกรมออนไลน์  เพื่อจะรายงานและปิดโครงการต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดกระบวนการการทำงานเป็นทีม
    2.มีการสรุปผลการทำงาน ร่วมกัน 3.คณะทำงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน เกิดภาพการทำงานแบบมีส่วนร่วม 4.มีการวางรูปแบบการจัดทำรูปเล่มรายงานเพื่อรายงานปิดโครงการ

     

    25 25

    48. มหกรรมสุขภาพ

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    งานมหกรรมสุขภาพ “ชีวิตปลอดภัยที่เขาพระบาท” จัดขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึกและผนึกพลังของประชาชนให้เป็นหนึ่งเดียว สร้างกฎระเบียบของชุมชน สร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชุมชน และมีความสุขที่เกิดจากวิถีชุมชน ในตำบลเขาพระบาท รวมไปถึงการแสดงผลงาน ผลิตภัณฑ์ การดำเนินชีวิตของคนเขาพระบาท ด้วยการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต จึงได้จัดงานมหกรรมสุขภาพ “ชีวิตปลอดภัยที่เขาบาท” ขึ้นในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2558 ณ รพ.สต.เขาพระบาทตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1.เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ 2.เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักและสนใจดูแลสุขภาพ 3.เพื่อนำภูมิปัญญาชุมชน นำมาใช้ในการดูแลสุขภาพ โดยการจัดกิจกรรมวันนี้ มีตลอดทั้งวัน ซึ่งในช่วงเช้า เป็นกิจกรรมทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสมทบทุนสร้างห้องน้ำและยกพื้นห้องตรวจรักษาพยาบาล ไม่ให้น้ำท่วม ภายใต้แนวคิด “พลังบุญสร้างสุข” และในช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมเสวนาตำบลจัดการสุขภาพ ในหัวข้อ “ชีวิตปลอดภัยที่เขาบาท” กิจกรรมการเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ของชุมชน กิจกรรมเดินชม เชิญชิม เดินช้อป ตามวิถีคนเขาบาท และการแสดงบนเวทีของผู้สูงอายุ ผลจาการพัฒนาโดยใช้สมุนไพรเป็นกลไกขับเคลื่อนของบ้านไกรไทย ดังนี้
    1. มีผู้ป่วยระยะสุดท้าย หายจากสมุนไพร โดยการต้มสมุนไพรสด เป็นยาอายุวัฒนะชุมชน 2.เกิดความเอื้ออาทร ความสามัคคีในการทำกิจกรรม 3.มีกลุ่มสมุนไพรบ้านไกรไทย ผลิตลูกประคบ ชุดอบสมุนไพร  ชาชงสมุนไพร 4.มีกระบวนการทำกลุ่ม ที่ปรับให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน 5.มีห้องเรียนชุมชนมีการเรียนรู้เรื่องสมุนไพร 6.ลดรายจ่ายของครัวเรือนในการรักษาโรค 7.พัฒนาต่อยอดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนวัดพระบาท ครูสอนนักเรียนทำดอกไม้สมุนไพร 8.สร้างความตระหนักในกลุ่มคน เลิกบุหรี่ เลิกกาแฟ เลิกกินกระท่อม หันมาดื่มชาสมุนไพรแทน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการจัดนิทรรศการร่วมกันทั้งตำบล และเผยแพร่นิทรรศการบ้านอุ่แก้วให้ประชาชนได้รับทราบ 2.ได้สร้างภาคีเครือข่ายเพิ่ม และมีภาคีมาร่วมทำงานเพิ่ม 3.ได้เรียนรู้กระบวนการพัฒนา ในหมู่บ้านใกล้เคียง 4.ได้ปรับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาหมู่บ้าน 5.เป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน และภายในตำบล 6.ประชาชนและผู้นำระดับตำบล หน่วยงานราชการในพื้นที่ ให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าในการพัฒนา

     

    200 200

    49. ถอดบทเรียนการพัฒนา

    วันที่ 9 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้กลุ่มเป้าหมายมานั่งพูดคุยเพื่อถอดบทเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาบ้านไกรไทย โดยมานั่งทบทวนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว มีอะไรบ้าง
    1.การสำรวจข้อมูลชุมชน  ทุกคนได้ร่วมคิดออกแบบสำรวจข้อมูล ได้รับรู้สภาพที่แท้จริงของชุมชน และยังสรุปข้อมูลเป็นภาพรวม เพื่อคืนยังทุกครัวเรือน ข้อมูลสุขภาพ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้เกิดความตระหนัก 2.การจัดทำแผนครัวเรือน เป็นการสอนแนะให้ทุกคนได้วางแผนการพัฒนาครัวเรือนตนเอง
    3.การจัดทำสวนสมุนไพรและธนาคาร  การจัดตั้งเป็นธนาคารสมุนไพรของชุมชน หลักการคือ ธนาคารสมุนไพรจะรวบรวมสมุนไพรทุกชนิดที่พบในบ้านไกรไทย ร่วมกันเพาะปลูกสมุนไพร เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยจำหน่ายในราคาต้นทุน และรายได้ทั้งหมดนำไปพัฒนาธนาคารสมุนไพร แบ่งกลุ่มการเพาะและปลูกสมุนไพรเป็น 3 โซนเหมือนเดิม คือบ่อหลา ทางพล บ้านค่าย แต่ละกลุ่มประกอบด้วย ปราชญ์ 1คน แกนนำเดิม 6 คน นักเรียน 8 คน ครู กลุ่มละ 1 คน สรุปดังนี้  ปราชญ์:แกนนำเดิม:นักเรียน:ครูคือ1:6:8:1 แต่ละกลุ่ม ร่วมกันกำหนดบทบาทของสมาชิกให้ชัดเจน โดยกำหนดให้ครูและปราชญ์เป็นที่ปรึกษา และจัดทำผังการทำงานของแต่ละโซน แบ่งหน้าที่ มอบหมายกันอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการเกี่ยงงาน หรือไม่รับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง 1.สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบ คือ ไพล มะกรูด มะขาม ตระไคร้ ขมิ้น ส้มป่อย 2.สมุนไพรสำหรับชุดอบ คือ ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ ผิวมะกรูด ผักบุ้ง ใบหนาด ใบมะขาม ส้มป่อย 3.สมุนไพรตำรับยาต้ม ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ไหลเผือก
    ทุกโซน ต้องไปชักชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มเติม และร่วมกันกำหนดพื้นที่ในการปลูกสมุนไพรให้เป็นสวนสมุนไพรชุมชน 2 จุด คือ บริเวณศูนย์เรียนรู้บริเวณวัดพระบาท และปลูกทุกบ้าน ให้เป็นกองกลางของชุมชน โดยมีกติกาว่าทุกคนต้องปลูกเผื่อไว้ให้กับธนาคาร อย่างละ5 ต้นต่อบ้าน เพื่อใช้ปลูกและแจกจ่ายกับชุมชน และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน (แกนนำหลัก 50 ครัว กลุ่มสมัครใจ 150ครัว)

    ผลที่เกิดขึ้นตามโครงการ 1.ประชาชนสร้างเสริมสุขภาพโดยการกินยาต้มสมุนไพรสด มีกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มพระ จำนวน 50 คน 2 ประชาชนรักษาและฟื้นฟูสุขภาพโดยการประคบสมุนไพรสด 30 ครัว  อบสมุนไพร 75 คน 3 ประชาชนมีการดื่มน้ำสมุนไพรแทนน้ำหวาน หรือน้ำอัดลม ทุกครั้งที่จัดกิจกรรม 4 มีการดื่มชาสมุนไพร แทนกาแฟ แทนกระท่อม 40 ครัว เลิกกาแฟได้ 20 คน เลิกกระท่อมได้  5 คน 5 มีธนาคารสมุนไพรในหมู่บ้าน 1 แห่ง และสวนสมุนไพร 2 แห่ง
    6 แบ่งกลุ่มบ้านในการปลูกสมุนไพร และนำสมุนไพรใช้เอง ร้อยละ 90 ของครัวเรือน 7 มีการสำรวจสมุนไพรบนภูเขาพระบาท และทำเป็นแหล่งเรียนรู้
    8 มีการผลิตลูกประคบ ผลิตสมุนไพรสำหรับอบ ยาต้มสมุนไพรอายุวัฒนะ  ผลิตชาใบขลู่ ชาใบเตย  ชาตะไคร้  ชารางจืด
    9 มีกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรผลิตลูกประคบ สมุนไพรอบ ยาสมุนไพรอายุวัฒนะ ไว้จำหน่าย 10 ร่วมจัดมหกรรมสุขภาพเพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพร่วมกับภาคีสุขภาพในตำบลเขาพระบาท


    สิ่งที่เกิดขึ้นและเรียนรู้จากการทำโครงการ สรุปผลงานโดยรวมพบว่า คนบ้านไกรไทย มีการปรับวิธีคิด  มีส่วนร่วมในการกิจกรรมเพิ่มขึ้น นำทุนของชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์  เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของชุมชน และมีกฎการทำงานกลุ่มร่วมกัน ดังนี้ 1. มีกรณีผู้ป่วยตัวอย่างใช้สมุนไพรรักษาโรคระยะสุดท้ายของชีวิต (แพทย์ให้ความเห็นว่าให้เสียชีวิตที่บ้าน) ผลพบว่ากรณีตัวอย่างได้ใช้สมุนไพรจนหายจากโรค และมีการขยายผล  คนในชุมชนรวมตัวกันใช้สมุนไพร มาต้มเป็นยาอายุวัฒนะ ดื่มน้ำสมุนไพรสดต้มทุกเช้า มีส่วนผสม 17 ชนิด จากเดิมกินกาแฟนตอนเช้า ตอนนี้กินยาต้มสมุนไพรแทน โดยเริ่มจากกลุ่มผู้สูงอายุ แล้วขยายไปกลุ่มทำงาน ขยายไปกลุ่มพระ และขยายเพิ่มไปอีก 4 หมู่บ้าน สรรพคุณช่วยลดอาการเข็ดเมื่อย เป็นยาเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ ขับถ่ายดี ซึ่งทุกคนเห็นผลเมื่อทดลองใช้  และมีการดื่มใบย่านาง เพื่อล้างพิษ
    2. เกิดความเอื้ออาทร ความสามัคคี ทุกครั้งที่ทำกิจกรรม มีการพัฒนาสถานที่ไปด้วย นำอุปกรณ์หรือวัสดุจากบ้านไปร่วมสมทบ นำสมุนไพรไปปลูกในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน
    3.มีการจัดตั้งกลุ่ม ชื่อ กลุ่มสมุนไพรบ้านไกรไทย และมีกติกาของกลุ่ม แบ่งหน้าที่ในการทำงาน โดยมาทำลูกประคบ ชุดอบสมุนไพร ชาชงสมุนไพร และนำไปจำหน่ายในชุมชน รพ.สต.เขาพระบาท หรือสั่งซื้อทางโทรศัพท์ เฉลี่ยการสั่งซื้อเดือนละ 50 ถุง ต่อเดือน
    4. ปรับเปลี่ยนให้มีการประคบ อบสมุนไพร เดิมกำหนดเวลาเปิด ปิด แต่ประชาชนไม่สะดวก จึงปรับเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนสะดวก โดยการโทรแจ้งล่วงหน้า ทำให้เกิดความสบายกันทุกฝ่ายที่ทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่รู้สึกว่าแบกภาระมากเกินไป
    5. มีห้องเรียนชุมชน จากเดิมคนในชุมชนไม่ค่อยรู้จักสมุนไพร ตอนนี้มีการเรียนรู้สมุนไพรบนภูเขาพระบาทและสำรวจเพิ่มได้ 87 ชนิด ทำให้ทราบว่าสมุนไพรที่เยอะสุดบนภูเขาพระบาทคือ ดีปลีเชือก และยังพบบัวสรรค์ ปราชญ์ชุมชนให้ข้อมูลว่า พื้นที่บ้านไกรไทยยังอุดมสมบูรณ์ และชุ่มชื้น จึงพบบัวสรรค์  (บัวสรรค์เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่) 6. ลดรายจ่ายของครัวเรือนในการรักษาโรค จากเดิมไปหาหมอทุกเดือน ตอนนี้ลดเหลือ 2 - 3 เดือนต่อครั้ง
    ลดค่ารถ 100 บาทต่อครั้ง เฉลี่ยปีละ 400 - 500 บาท
    7.เกิดกลไกในการติดตามงาน มีการทำงานร่วมกันทุกหมู่บ้าน ตัวแทนหมู่บ้านละ 1 คน มาร่วมติดตามงาน เพื่อช่วยกระตุ้น ให้กำลังใจ และเรียนรู้งานไปพร้อมกัน
    8.มีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างโครงการเก่า และโครงการใหม่ ในชุมชน โครงการเก่าได้สอนแนะนำโครงการใหม่ ทำให้เกิดการสอนงานซึ่งกันระหว่างโครงการเก่ากับโครงการใหม่ เป็นการช่วยเหลือด้านความรู้ ด้านวิชาการ 9.มีการพัฒนาต่อยอดเป็นหลักสูตรการเรียน การสอนในโรงเรียนวัดพระบาท โดยครูจัดทำเป็นหลักสูตรสอนนักเรียนในการทำดอกไม้สมุนไพรจากต้นกระถิน หญ้าแฝก  กาบกล้วย
    10. จากผลที่มีการใช้สมุนไพรทำให้คนเกิดความตระหนัก หันมาเลิกบุหรี่ 3 คน เลิกกาแฟ 20 คน เลิกกินกระท่อม 5 คน หันมาดื่มชาสมุนไพร ดื่มสมุนไพรสดแทน 40 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้เรียนรู้กระบวนการพัฒนากิจกรรมตามโครงการ 2.ประชาชนได้ประโยชน์จากสมุนไพรและนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพ 3.ค่าใช้จ่ายดูแลสุขภาพลดลง 4.ได้เห็นคุณค่าภูมิัปัญญา 5.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม

     

    50 50

    50. เรียนรู้เวทีปิดโครงการ

    วันที่ 17 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ อ.กำไล ได้แนะนำวิธีการสรุปโครงการ เพราะที่ผ่านมา มีการทำกิจกรรมเยอะมาก แต่ยังขาดวิธีการสรุป ให้พวกเราไปดูที่สรุปกิจกรรมที่ทำแต่ละครั้ง ไม่ต้องไปหาใหม่ เพราะกิจกรรมเหล่านี้เป็นข้อมูลการพัฒนาหมู่บ้าน เป็นข้อมูลของเราเอง ทั้งผู้นำ ทีมงานและประชาชน ได้เข้าใจและร่วมพัฒนาให้ชัด กิจกรรมแต่ละครั้ง ที่ทำไป บางครั้งไม่ใช้กิจกรรมในพื้นที่แล้ว แต่บางอย่างเป็นของภาคใต้ไปแล้ว เช่น ตะลุงโขน เมื่อสืบสาวราวเรื่อง มีแห่งเดียวในภาคใต้  การสรุปนำมาจากข้อมูลดิบ จากข้อสรุปนำไปใส่ในรายงานพี่เลี้ยง ในช่องแบบประเมิน  แล้วนำไปเติมในบทคัดย่อ มี 2 ส่วน คือ ส่วนแรกวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด ส่วนที่สอง สรุปผลงานโดยรวม (ต้องเห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นตัวละคร เห็นลีลาการทำงาน) เอกสารที่ต้องสรุปส่ง 1.รายงาน ส.4 2.รายงาน ส.2  (มีเฉพาะ 2 งวดเท่านั้น) เริ่มจากวันที่เราส่งรายงาน จนถึงวันที่ปิดโครง พี่เลี้ยงคุยอะไรให้เติมไปด้วย ไม่ครบทุกช่องก็ไม่เป็นไร 3.รายงาน ง.1  งวด 2    (การบันทึกรายจ่าย ค่าจ้างไม่มี ค่าตอบแทนมีได้  ค่าใช้สอย) น้องจาก สจรส.เสนอว่าค่าไวนิล ให้ใส่ในค่าจ้าง    ค่าประสานงาน  เขียนเป็นค่าตอบแทนประสานงาน  รอบนี้ไม่ต้องใส่สาธารณูปโภค  สำหรับเงินเหลือยกมาจากยอด งวดที่ 1ให้ไปดูรายงานงวดที่ 1 และการบันทึกรายรับต้องดูจากยอดสมุดบัญชี (ดอกเบี้ยให้ดูจากรอบที่ 2 หลังจากที่โอนมาแล้ว) 4.รายงาน ง.2  เป็นรายงานการเงินตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ 5.รายงาน ส.3  เป็นการสรุปผลการดำเนินงานทั้งหมด ถ้าเติมข้อมูลสมบูรณ์ สามารถออกรายงาน ส3 ได้เลย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการสรุปผลการดำเนินงานจากการทำโครงการที่ได้ทำมาทั้งหมด 2.นำผลการประเมิน ผลการติดตามความก้าวหน้า และผลการถอดบทเรียน มาเรียบเรียง สรุป เพื่อรายงานความคืบหน้าของโครงการ 3. สรุปและรายงานผลโดยจัดทำเป็นรูปเล่มและรายงานลงในโปรแกรมออนไลน์ 4.เรียนรู้วิธีปิดโครงการ 5.บทสรุปที่ได้จากการทำโครงการ คือ (1)ชุมชนน่าอยู่บนวิถีความพอเพียง  (2)สร้างความรัก ความสามัคคีภายในชุมชน  (3)เรียนรู้วิธีการอยู่รอดในสังคมปัจจุบัน

     

    3 3

    51. เผยแพร่ผลการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียรใหญ่

    วันที่ 29 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียรใหญ่จัดนิทรรศการท้องถิ่นชุมชน น่าอยู่ และนำกระบวนการพัฒนาชุมชน นำเสนอร่วมกับพื้นที่อื่นๆ ซึ่งสรุปได้ว่า ผลผลิตของโครงการ
    1.ประชาชนสร้างเสริมสุขภาพโดยการกินยาต้มสมุนไพรสด มีกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มพระ จำนวน 50 คน 2 ประชาชนรักษาและฟื้นฟูสุขภาพโดยการประคบสมุนไพรสด 30 ครัว  อบสมุนไพร 75 คน 3 ประชาชนมีการดื่มน้ำสมุนไพรแทนน้ำหวาน หรือน้ำอัดลม ทุกครั้งที่จัดกิจกรรม 4 มีการดื่มชาสมุนไพร แทนกาแฟ แทนกระท่อม 40 ครัว เลิกกาแฟได้ 20 คน เลิกกระท่อมได้  5 คน

    ผลลัพธ์
    1 มีธนาคารสมุนไพรในหมู่บ้าน 1 แห่ง และสวนสมุนไพร 2 แห่ง
    2 แบ่งกลุ่มบ้านในการปลูกสมุนไพร และนำสมุนไพรใช้เอง ร้อยละ 90 ของครัวเรือน 3 มีการสำรวจสมุนไพรบนภูเขาพระบาท และทำเป็นแหล่งเรียนรู้
    4 มีการผลิตลูกประคบ ผลิตสมุนไพรสำหรับอบ ยาต้มสมุนไพรอายุวัฒนะ  ผลิตชาใบขลู่ ชาใบเตย  ชาตะไคร้  ชารางจืด
    5 มีกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรผลิตลูกประคบ สมุนไพรอบ ยาสมุนไพรอายุวัฒนะ ไว้จำหน่าย 6 ร่วมจัดมหกรรมสุขภาพเพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพร่วมกับภาคีสุขภาพในตำบลเขาพระบาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้มีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ต่างๆ
    2. เกิดคุณค่าจากการพัฒนางาน
    3. ทำให้มองเห็นทุนในชุมชนมากขึ้น และเห็นคุณค่าของทีมงาน
    4. ได้รับการเสริมแรงจากหน่วยงานภาครัฐ

     

    150 150

    52. จัดทำรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 30 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้จัดทำเอกสารเพื่อสรุปปิดโครงการ พร้อมทั้งภาพถ่าย และรายงานตามที่กำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้เรียนรู้วิธีการปิดโครงการ 2.มีการนำภาพถ่ายกิจกรรม เข้าสู่โปรแกรม 3.ได้ตรวจสอบความถุกต้องของระบบการเงิน และการรายงานผล

     

    5 5

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร
    ตัวชี้วัด : 1.1 คณะทำงานบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ 1.2.ประชาชนครัวเรือนเป้าหมาย มีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลชุมชนร้อยละ 100 1.3 ส่งเสริมการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน ร้อยละ 85 1.4 มีแผนปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยวิถีพื้นบ้าน ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย

    1.คณะทำงานประชุมครบทุกครั้ง ร้อยละ 100

    2.ประชาชนครัวเรือนเป้าหมายมีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลชุมชนร้อยละ 100

    3.กลุ่มเป้าหมายปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน ร้อยละ 90

    4.กลุ่มเป้าหมายปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยวิถีพื้นบ้าน ร้อยละ 90

    2 2.เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชน
    ตัวชี้วัด : 2.1 มีธนาคารสมุนไพร เพิ่มขึ้น 1 แห่ง 2.2 มีสวนสมุนไพรเพิ่มขึ้น 1 แห่ง 2.3 มีการฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาประเพณีชุมชนด้านสมุนไพร 1 เรื่อง 2.4 ประชาชนเป้าหมายร่วมประเพณีสืบสานด้านสมุนไพรชุมชน ร้อยละ 85

    1.มีธนาคารสมุนไพร 1 แห่ง

    2.มีสวนสมุนไพร 2 แห่ง

    3.มีการฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาประเพณีชุมชนด้านสมุนไพร 1 เรื่อง

    4.ประชาชนเป้าหมายร่วมประเพณีสืบสานด้านสมุนไพรชุมชน ร้อยละ 85

    3 3.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้าน
    ตัวชี้วัด : 3.1 มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 3 ชนิด คือ ชากระเจี๊ยบ ชาตะไคร้ น้ำยาเอนกประสงค์มะกรูด 3.2 มีกลุ่มแปรรูปสมุนไพรชุมชน เพิ่มขึ้น 1 กลุ่ม 3.3 มีการจัดมหกรรมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพร 1 ครั้ง

    1.มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรและส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น3 ชนิด คือ ชากระเจี๊ยบ ชาตะไคร้ น้ำยาเอนกประสงค์มะกรูด 2.มีกลุ่มแปรรูปสมุนไพรชุมชนเพิ่มขึ้น 1 กลุ่ม 3.จัดมหกรรมสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพร 1 ครั้ง

    4 เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส.หรือ สจ.รส.

    คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมตามที่ สจรส.กำหนด ร้อยละ 100

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร (2) 2.เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชน (3) 3.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้าน (4) เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)

    รหัสโครงการ 57-01475 รหัสสัญญา 57-00-1077 ระยะเวลาโครงการ 10 มิถุนายน 2557 - 10 กรกฎาคม 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด) จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 57-01475

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางอำนวย สุขหวาน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด