directions_run

พลังแห่งความรัก ถักทอสายใย สานใจชุมชนบ้านปากคลอง

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อสร้างกระบวนการให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชนบ้านปากคลอง
ตัวชี้วัด : 1. มีจำนวนคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัดร้อยละ 80 2. มีจำนวนคนเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนการฝึกอาชีพในชุมชน ร้อยละ 80 3. มีจำนวนคนเข้าร่วมกิจกรรมสานสัมพันธ์ในวัดอย่างน้อยเดือนละ 2ครั้ง ร้อยละ 50 4. มีจำนวนกลุ่มคนออกกำลังกายและออกกำลังกายอย่างน้อย 3วัน /สัปดาห์ต่อเนื่อง ร้อยละ 80

 

 

เชิงปริมาณ

  1. มีจำนวนคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัดร้อยละ 85
  2. มีจำนวนคนเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนการฝึกอาชีพในชุมชน ร้อยละ 90
  3. มีจำนวนคนเข้าร่วมกิจกรรมสานสัมพันธ์ในวัดอย่างน้อยเดือนละ 2ครั้ง ร้อยละ 50
  4. มีจำนวนกลุ่มคนออกกำลังกายและออกกำลังกายอย่างน้อย 3วัน /สัปดาห์ต่อเนื่อง ร้อยละ 80

เชิงคุณภาพ

  1. เกิดความรู้ใหม่คือเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านจะรู้จักเครือญาติของตนเองและสามารถทำกิจกรรมร่วมในชุมชนได้ทุกครัวเรือนด้วยความเต็มใจจากกิจกรรมสร้างผังเครือญาติ นอกจากนั้นกลุ่มเด็กและเยาวชนจะให้ความเคารพรักผู้ใหญ่ปราชญ์ชุมชน มีทักษะความรู้ด้านงานอาชีพและรักการประกอบอาชีพที่สุจริตรวมทั้งกลุ่มเด็กและเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว นัดพบเล่นกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ด้วยความเต็มใจสนุกสนาน เกิดความภูมิใจ ความสำคัญในตนเองมีภาวะผู้นำ ผู้ตามที่ดีเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ผู้ปกครอง ของเครือญาติ และห่างไกลยาเสพติด อบายมุข
  2. เกิดกลุ่มผู้นำในชุมชนตามธรรมชาติได้แก่กลุ่มข้าราชการและข้าราชการบำนาญ กลุ่มผู้สูงวัยกลุ่มปราชญ์/ภูมิปัญญาในชุมชน(ภูมิปัญญาทำดอกไม้จันท์ แพทย์แผนไทย/นวด ทำจักสาน ทำหัวขันหมาก ทำข้าวยำโบราณ กีฬาเปตอง)กลุ่มรักกีฬา โดยคนในชุมชนมีพฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม มีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีความรับผิดชอบในกลุ่มสนใจชองตนเองรวมทั้งการให้เกียรติยกย่อง ยอมรับนับถือผู้สูงอายุและปราชญ์ชุมชน
  3. ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่กิจกรรมประชุมแนะนำโครงการ ให้รู้/เข้าใจในวัตถุประสงค์และเป้าหมายกิจกรรมมอบหมายภาระงานให้แต่ละคนแต่ละฝ่ายช่วยกันดำเนินงานกิจกรรมติดตามประเมิน กิจกรรมถอดบทเรียนและสรุป นั้นสมาชิกในหมู่บ้านให้ความร่วมมืออย่างดี มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกันทำงานจนสำเร็จ
  4. เกิดกลุ่มอาชีพ ตามความสนใจรวม 5 กลุ่มอาชีพได้แก่ กลุ่มสนใจการทำอาชีพดอกไม้จันท์เครื่องจักสาน(ไซ) แพทย์แผนไทย(นวด) จัดหัวขันหมากทำข้าวยำโบราณซึ่งเกิดจากความสมัครใจจากปราชญ์ในชุมชนหมู่บ้านปากคลอง ทั้ง 5 คนถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในชุมชนรวมทั้งเด็กและเยาวชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากและกิจกรรมนี้สมาชิกได้ฝึกฝนเรียนรู้ จนสามารถประกอบอาชีพได้เกิดการสืบทอดปราชญ์ชุมชนโดยอัตโนมัติและเต็มใจ
  5. เกิดภาพความรักความสามัคคีในหมู่บ้าน โดยคนในชุมชนหมู่บ้านบ้านปากคลองให้ความร่วมมือ เสียสละมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ มากขึ้นจนเห็นได้ชัดจากปริมาณคนเข้ามาร่วมทำกิจกรรมกับโครงการเพิ่มมากขึ้นปราศจากความขัดแย้งหากกิจกรรมใดมีปัญหาอุปสรรค ก็จะช่วยกันแก้ไข
  6. คนในชุมชนมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นหันมาเข้าวัดทำบุญกันมากขึ้น เกิดพฤติกรรมหันหน้าเข้าหากันร่วมปรึกษาหารือ จะใช้วัดหัวเกาะรุ้งเป็นจุดศูนย์กลางแสวงหาความร่วมมือ และมีกิจกรรมอื่นๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง ได้แก่กิจกรรมตรวจสุขภาพผู้สูงวัยกิจกรรมประชุมต้านยาเสพติดกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ
2 เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
ตัวชี้วัด : 1 จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส หรือ สจรส.มอ.

 

 

เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100