directions_run

รองแง็งเยาวชน ต่อลมหายใจป่าชายเลน บ้านท่าน้ำเค็มใต้

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อสร้างกลุ่ม/ชมรมจากเด็กเยาวชมาขับเคลื่อนกิจกรรมเรียนรู้ชุมชน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมรองแง็ง และเกิดผลทางอ้อมในการดึงเยาวชนออกจากการเกี่ยวพันยาเสพติด
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. เกิดชมรมเด็กเเละเยาวชน จำนวน 50 คน 2. ชมรมเด็กเเละเยาวชนขับเคลื่อนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ 90 ของกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย 3. ได้มาตรการทางสังคมด้านเด็กและเยาวชน 1 มาตรการ 4. ได้ชุดข้อมูลสภาพสิงแวดล้อมและพื้นที่ในชุมชน 1 ชุดข้อมูล 5. มีคณะรองเเง็งเยาวชน 1 คณะ เชิงคุณภาพ 1. เยาวชนได้เรียนรู้ในการจัดกระบวนการสภา 2. ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์ 3. วัฒนธรรมรองแง็งได้รับการอนุรักษ์และสืบทอด 4. ป่าชายเเลนมีความอุดมสมบูรณ์ 5. คนในชุมชนมีความภูมิใจในการร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ป่าชายเเลน พันธ์ไม้ของป่าชายเลนว่ามีคุณค่าในด้านสมุนไพร 6. เด็กในชุมชนมีความรักวัฒธรรมท้องถิ่น(รองเเง็ง)คือ เด็กและเยาวชนได้รู้ถึงรากเหง้าของวัฒนธรรม เกิดความรัก หวงแหน และอยากอนุรักษ์ 7. กลุ่มเยาวชนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกับผู้ใหญ่เนื่องจากมีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

 

 

เชิงปริมาณ

  1. เกิดชมรมเด็กเเละเยาวชน โดยจัดตั้งเป็นสภาเยาวชนมัสยิดคลองน้ำเค็ม จำนวน 50 คน
  2. ชมรมเด็กเเละเยาวชน หรือสภาเยาวชนฯ ขับเคลื่อนกิจกรรมอบรมคุณธรรมและจริยธรรมทุกวันเสาร์ที่ 2 ของทุกเดือน และร่วมทำกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เช่น พัฒนากุโบร์ (สุสานมุสลิม)ทำความสะอาดบริเวณมัสยิด ฯลฯ ประสบผลสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ 90 ของกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย
  3. ได้มาตรการทางสังคมด้านเด็กและเยาวชน 1 มาตรการ มี 3 ด้าน คือ 3.1 ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กฎกติกาของการอนุรักษ์จะต้องปฏิบัติตาม และประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น สภาองค์กรชุมชนนำเสนอมาตรการขอความร่วมมือ จากผู้ประกอบการที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษเป็นหนังสือ การปลูกฝังจิตสำนึกในการจัดการขยะและรีไซเคิล 3.2 ด้านสังคม (จริยธรรมคุณธรรม)ได้แก่ปลูกฝังจิตสำนึกด้านจิตอาสา และการเสียสละเพื่อชุมชนแก่รุ่นต่อไป ให้ทีเวทีพบปะวัยทองวัยทีน อย่างน้อย ปีละ 3 ครั้ง การให้สลามจะต้องร่วมกันปฏิบัติให้แก่กัน ทุกฟัรดูอีนจะต้องร่วมกันรักษา และเรียกร้องกัน ความเสมอภาคของเยาวชนในเรื่องความเท่าเทียวและสวัสดิการ 3.3 ด้านยาเสพติด ได้แก่ สร้างทัศนะคติ เกี่ยวกับการดูดูแลเอาใจใส่ด้วยความมีเหตุผล และการให้กำลังใจกันในระดับครอบครัว ร่วมกิจกรรมครอบครัวให้เหมือนในอดีต จัดเวทีหรือกิจกรรมลดช่องว่าง สร้างความเข้าใจกันระหว่างเยาวชนและคนในชุมชน เพื่อขับเคลื่อนกันต่อไป
  4. ได้ชุดข้อมูลสภาพสิงแวดล้อมและพื้นที่ในชุมชน 1 ชุดข้อมูล คือ แผนที่เดินดินชุมชนบ้านท่าน้ำเค็มใต้และหนังสือคุณค่าชุมชน
  5. มีคณะรองเเง็งเยาวชน 1 คณะ คือ เยาวชน 5 คน ที่ปรึกษา 1 คน ผู้ร่วมฝึกสอน 2 คน รวม 8 คน

เชิงคุณภาพ

  1. เยาวชนได้เรียนรู้ในการจัดกระบวนการสภา คือ การทำงานตามหน้าที่โครงสร้างสภา การเสนอความคิดเห็นในการทำกิจกรรมต่างๆ การยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกันในสิ่งที่ดีและคำติชม เพื่อพัฒนาองค์กร
  2. ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์ คือ ป่าชายเลนได้รับการปลูกซ่อมแซม 2 ครั้ง ในริเวณพื้นที่หมู่ที่ 1 จำนวน 1,600 ต้น
  3. วัฒนธรรมรองแง็งได้รับการอนุรักษ์และสืบทอด คือ 1. มีกลุ่มเยาวชนที่ได้ทำการแสดงเพื่อสืบทอด 2. มีเยาวชนที่สนใจและเรียนรู้วัฒนธรรมรองแง็งประมาณ 50 คน
  4. ป่าชายเเลนมีความอุดมสมบูรณ์ คือ มีพื้นที่ป่ามากขึ้นจากการปลูกซ่อมแซม
  5. คนในชุมชนมีความภูมิใจในการร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ป่าชายเเลน คือ จากการร่วมกิจกรรมปลูกป่าคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมมาก ทำให้ได้แลกเปลี่ยนความคิดระหว่างปราชญ์และเยาวชนในเรื่องพันธ์ไม้ของป่าชายเลนว่ามีคุณค่าในด้านสมุนไพร เช่น ต้นแก้มปลาหมอ ใช้ต้มทั้งต้น แก้ปวดท้อง ฯลฯ
  6. เด็กในชุมชนมีความรักวัฒธรรมท้องถิ่น(รองเเง็ง)คือ เด็กและเยาวชนได้รู้ถึงรากเหง้าของวัฒนธรรม เกิดความรัก หวงแหน และอยากอนุรักษ์
  7. กลุ่มเยาวชนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกับผู้ใหญ่เนื่องจากมีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน คือ การได้พูดคุยกันทำให้รู้ความคิดของกันและกัน ได้ปรึกษาและระบายความในใจต่อกัน การเยี่ยมเยียนคนเฒ่าในชุมชนทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
2 เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส และ สจรส

 

 

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ทาง สจรส.ม.อ.จัดครบทุกครั้ง และสามารถจัดส่งรายงานให้แก่ สสส.ได้ภายในระยะเวลาตามข้อตกลง