directions_run

จากผืนนา สู่ผืนป่าชายเลนที่ควนโต๊ะเจ๊ะ (ต่อเนื่อง)

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพิ่มศักยภาพการจัดการตนเองด้วยกระบวนการสภาชุมชน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. มีคนที่เข้าร่วมกับอนุรักษ์สามัคคี จัดตั้งเป็นสภาชุมชน จำนวน 60 คน 2. สภาชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมตามโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ร้อยละ 80 ของกิจกรรม ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. คนในชุมชนได้จัดตั้งสภาชุมชนเพื่อช่วยกันสอดส่องดูแลรักษาป่าชายเลน 2. ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ 3. แกนนำในชุมชนมีความรู้ความสามารถทักษะในการบริหารจัดการตนเองเริ่มด้วยการทำกิจกรรมตามโครงการสสส.

 

 

มีสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์สามัคคี 60 คน ร่วมกันจัดตั้งสภาชุมชน เพื่อเป็นแกนนำในการช่วยกันสอดส่องดูแลรักษาป่าชายเลนไม่ให้มีผู้บุกรุก และเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 82 ของกิจกรรมทั้งหมด

2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพลิกฟื้นพื้นที่การเกษตรให้กลับมาใช้เกษตรอินทรีย์เพื่อน้ำที่ไหลลงสู่ป่าชายเลน ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำวัยอ่อน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. เกษตรกรนาข้าวสามารถลดเคมีเกษตรได้ 10 ราย 2. เกษตรกรนากุ้งสามารถลดเคมีเกษตร 3 ราย 3. เกษตรกรสวนปาล์มสามารถลดเคมีเกษตร 7ราย ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. สัตว์น้ำวัยอ่อนได้อาศัยพื้นที่ป่าชายเลนในการเจริญเติบโตโดยไม่มีมลพิษทางน้ำ 2. ลดการทำร้ายดิน น้ำ อากาศ และสุขภาพของเกษตรกร

 

 

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเข้าร่วมกิจกรรมเป็นตัวแทนของผู้ทำนาข้าว จำนวน 10 คน นำดินนามาตรวจสอบคุณภาพของดิน เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จำนวน 3 ราย นำดินบ่อกุ้งร้างมาตรวจสอบคุณภาพของดินก่อนที่จะแปลงสภาพบ่อกุ้งให้เป็นสวนปาล์ม หรือยางพารา เพื่อดูความเหมาะสมของดินก่อนจะทำการเพาะปลูก และเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน 7 ราย นำดินสวนปาล์มมาตรวจสภาพดินเพื่อจะเปลี่ยนปุ๋ยบำรุงต้นจากปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยชีวภาพ

3 เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส.และ สจรส.

 

 

34 ครั้้ง