แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ สภาซูรอเขาน้อยใต้ จัดสรรสิ่งที่ดีให้เยาวชน

ชุมชน บ้านเขาน้อยใต้ หมู่ที่ 12 ต.ฉลุง อ.เมือง จ.สตูล

รหัสโครงการ 57-01492 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0733

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม 2557 ถึง 19 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2557 ถึงเดือน ตุลาคม 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศ

วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  เรียนรู้การดำเนินโครงการ การทำหลักฐานการเงิน การใช้เวปไซด์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เรียนรู้การดำเนินโครงการ การทำหลักฐานการเงิน การใช้เวปไซด์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เรียนรู้การดำเนินโครงการ การทำหลักฐานการเงิน การใช้เวปไซด์

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เรียนรู้การดำเนินโครงการ การทำหลักฐานการเงิน การใช้เวปไซด์

 

1 1

2. ประชุมชี้แจงโครงการ

วันที่ 27 มิถุนายน 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ชี้แจงที่มาโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมโครงการ ชักชวนให้ซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกิจกรรมโครงการที่กำหนด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชาวบ้านเขาน้อยใต้ มาประชุมร่วมกันที่มัสยิดเขาน้อยใต้
  • ผู้ใหญ่บ้านเขาน้อยใต้ชี้แจง ที่มาโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมโครงการ ชักชวนให้ซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกิจกรรมโครงการที่กำหนด
  • วิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล มาให้ความรู้และกระตุ้นสร้างแรงจูงใจ ให้คนในหมู่บ้านร่วมกันแก้ปัญหายาเสพติดุ่มเยาวชน กลุ่มผู้นำศาสนา
  • ได้กลุ่มที่จะเลือกแกนนำมารวมเป็นสภาซูรอ ดังนี้ กลุ่มผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรี กลุ่มอสม. กลุ่มครูตาดีกา ข้าราชการเกษียณอายุ ครู ตำรวจ ป่าไม้ รวม 10 กลุ่ม จากให้ให้แต่ละกลุ่มคัดเลือกตัวแทนกลุ่มละ 2-5 คนมาเป็นสภาซูรอ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • แกนนำโครงการจัดประชุมครัวเรือนร้อยละ 70 ของหมู่บ้าน เพื่อชี้แจงที่มาโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมโครงการ ชักชวนให้ซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกิจกรรมโครงการที่กำหนด
  • วิทยากรบรรยายเรื่อง ปัจจัยแห่งความสำเร็จของชุมชนจัดการตนเองด้านปัญหาสารเสพติด
  • ช่วยกันคัดเลือกแกนนำกลุ่มต่างๆ ในชุมชนเพื่อเป๋นสภาหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • แกนนำโครงการจัดประชุมครัวเรือนร้อยละ 70 ของหมู่บ้าน เพื่อชี้แจงที่มาโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมโครงการ ชักชวนให้ซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกิจกรรมโครงการที่กำหนด
  • วิทยากรบรรยายเรื่อง ปัจจัยแห่งความสำเร็จของชุมชนจัดการตนเองด้านปัญหาสารเสพติด
  • ช่วยกันคัดเลือกแกนนำกลุ่มต่างๆ ในชุมชนเพื่อเป๋นสภาหมู่บ้าน

 

150 150

3. ประชุมพี่เลี้ยงจังหวัด

วันที่ 28 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

รับทราบวิธีการทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ความรู้การทำงานโครงการ สสส

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • พี่เลี้ยงชี้แจงการทำแผน การทำรายงาน การลงเวป การติดตาม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • พี่เลี้ยงชี้แจงหลักการเบิกเงินจากธนาคาร
  • การทำแผน
  • การทำรายงาน การลงเวป
  • การทำเอกสารในลงทะเบียน

 

2 3

4. จัดตั้งชมรมเยาวชน ครั้งที่ 1

วันที่ 23 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

รวมตัวเยาวชนและจัดโครงสร้างการทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนได้ทำความรู้จักกัน  รับสมัครเยาวชนอายุ 12-20 ปี ได้สมาชิกทั้งสิ้น 60 คน
  • เยาวชนได้สะท้อนปัญหาของตนเอง เปิดใจคุยกันดังนี้ 1. พ่อแม่ไม่เข้าใจ 2. ไม่อยากเรียนต่อ อยากทำงาน 3. ตามเพื่อนไปทำสิ่งที่ไม่ดี 4. คึกคะนองชอบลองของ 5. มีเพื่อนต่างเพศ ชักชวนทำผิดศีลธรรม
  • ได้ชมรมเยาวชนที่มีกรรมการทำหน้าที่ในการประสานงาน และช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาจากที่สะท้อนกัน โดยใช้กิจกรรมในการแก้ไขปัญหาโดยเสนอชมรมต้องทำ 5 กลุ่ม ได้แก่ การแข่งกีฬา การพัฒนากุโบร์ การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส การพัฒนามัสยิด และการเป็นชรบ.น้อย เยาวชนเห็นด้วยกับกิจกรรมดังกล่าว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • รับสมัครเยาวชนอายุ 12-20 ปีในหมู่บ้านมาเป็นสมาชิกชมรม
  • จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม ทำความรู้จักอย่างลึกซึ้ง
  • เปิดใจปัญหาเยาวชน
  • ค้นหาแนวทางร่วมกันที่ฉันทำได้
  • จัดโครางสร้างชมรม และหัวหน้าโซน ทำกติกาชมรม สัตยาบรรณชมรม จัดตั้งแกนนำเพื่อนช่วยเพื่อนดำเนินการในโรงเรียน โดยให้สามารถให้คำปรึกษา/ช่วยเหลือเพื่อนได้เพื่อนได้ในเบื้องต้น
  • เปิดโอกาสให้ตั้งชื่อชมรม/สภาเยาวชนกันเองอย่างเหมาะสม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • รับสมัครเยาวชนอายุ 12-20 ปีในหมู่บ้านมาเป็นสมาชิกชมรม
  • จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม โดยครูตาดีกาเป็นวิทยากร
  • เปิดใจปัญหาเยาวชน เยาวชนช่วยกันเขียนปัญหาของกลุ่มเยาวชน
  • ช่วยกันเลือกคณะกรรมการชมรมเยาวชน
  • เปิดโอกาสให้ตั้งชื่อชมรม/สภาเยาวชนกันเองอย่างเหมาะสม

 

80 80

5. สภาเยาวชน:พัฒนาสองข้างทางถนนในหมู่บ้าน ครั้งที่ 2

วันที่ 30 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ให้เยาวชนได้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในตนเองที่ได้ทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เยาวชนมีความรู้สึกสนุกสนาน สมัครสมานกลมเกลียว ช่วยกันทำงานอย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย และผู้ใหญ่ชื่นชมการกระทำของตน
  • เกิดกระแสการทำงานร่วมกันระหว่างคนสองวัยในหมู่บ้าน
  • การพัฒนาได้ระยะทางรวมประมาณ 4 กิโลเมตร
  • เยาวชนได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้ใหญ่แกนนำหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่จากกลุ่มชรบ. อสม. ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่มาช่วยด้วย เกิดบรรยากาศการทำงานร่วมกันของเด็กและผู้ใหญ่ เกิดความสัมพันธ์อันดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • วางแผนพัฒนาร่วมกับทีมผู้ใหญ่บ้าน สภาซูรอเขาน้อยใต้
  • เตรียมอุปกรณ์
  • ประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปทราบ
  • ลงมือพัฒนาสองข้างทาง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สภาซูรอเขาน้อยใต้ ร่วมกันวางแผนการพัฒนาสองข้างทาง โดยให้ผู้ใหญ่มามีส่วนร่วมกับเยาวชนถางหญ้าสองข้างทางในหมู่บ้าน
  • จัดกิจกรรมพัฒนาหลังการจัดกิจกรรมจัดตั้งชมรมเยาวชน 1 วัน
  • มีการพูดคุยสอบถามว่าใครเป็นลูกหลานใคร ชื่ออะไร

 

80 80

6. ประชุมสภาซูรอ

วันที่ 12 กันยายน 2557 เวลา 12:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพ่ือประชุมเตรียมงานวันฮารีรายา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สภาซูรอได้รับทราบการจัดตั้ง ที่มาของสภา
  • ได้การนัดหมายอบรมบทบาทสภาซูรอ
  • ได้ทักษะการจัดการกิจกรรมของหมู่บ้านคือ งานวันฮารีรายา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • อบรมบทบาทสภาซูรอ
  • แต่งตั้งคณะทำงานหลักของสภาซูรอ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เนื่องจากสภาซูรอยังไม่พร้อมเรื่องเวลาในการอบรม ครั้งแรกของการประชุมจึงเป็นการเตรียมงานวันฮารีรายา
  • ผู้ใหญ่บ้านมีการชี้แจงกิจกรรมโครงการสสส.เขาน้อยใต้
  • ที่ประชุมรับทราบและเห็นด้วย
  • ต่อมาที่ประชุมได้เตรียมการจัดงานกิจกรรมวันฮารีรายา โดยมีกิจกรรมของโครงการคือ การจัดแข่งกีฬาของชมรมเยาวชน

 

40 40

7. สภาเยาวชน:แข่งกีฬา ครั้งที่ 3

วันที่ 4 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

จัดกิจกรรมเพื่อให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน
  • เยาวชนได้ทำกิจกรรมที่แสดงความสามารถ และฝึกการมีน้ำใจนักกีฬา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • วางแผนการจัดทีม ประเภทกีฬา
  • ประสานงานเตรียมความพร้อม
  • จัดการแข่งขัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดแข่งกีฬาวันฮารีรายาเป็นกีฬาพื้นบ้าน เช่น ชักกะเย่อ เก้าอี้ดนตรี เหยียบลูกโป่ง
  • เยาวชน และผู้ปกครอง ชาวบ้านสนุกสนาน

 

80 91

8. ประชุมสภาซูรอ

วันที่ 10 ตุลาคม 2557 เวลา 19:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำความเข้าใจกับสมาชิกสภาซูรอ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากโครงการมีความล่าช้า การทำงานมีปัญหาเรื่องการส่งเอกสารหลักฐาน ผู้ใหญ่บ้านนายมูฮัมหมัด ใบกาเด็มจึงเชิญพี่เลี้ยงมาทำความเข้าใจกับสภาซูรอ ได้ร่วมคิด ร่วมวางแผนปัญหาโครงการที่ล่าช้า

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ติดตามกติกาของหมู่บ้านด้านเด็กและเยาวชนว่ามีการปฏิบัติมากน้อยเพียงไร มีปัญหาอุปสรรคอะไร
  • เป็นเวทีพูดคุยเตรียมจัดกิจกรรมหมู่บ้าน พูดคุยปัญหาของหมู่บ้าน ช่วยกันหาทางแก้ไข และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานของกลุ่มต่างๆ ให้กลุ่มอื่นได้รับทราบ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • พี่เลี้ยงพูดคุย ทำความเข้าใจให้สภาซูรอแบ่งบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน วางแผนทำกิจกรรมระยะสั้นๆที่ทำไม่ทันตามแผน
  • ชี้แจงกิจกรรมโครงการที่ต้องทำว่ามีกิจกรรมเยาวชน ได้แก่ การเล่นกีฬา การบำเพ็ญประโยชน์ การทำกติกาด้านเยาวชน การเยี่ยมบ้านเยาวชน และการทำค่ายครอบครัว
  • จากนั้นสภาได้พูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาหมู่บ้าน และลงความเห็นว่าใช้โครงการ สสส. แก้ปัญหายาเสพติดในเยาวชน

 

40 45

9. ทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่

วันที่ 12 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรณรงค์ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดการรณรงค์ให้ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่  4 แผ่น

กิจกรรมที่ทำจริง

ทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่  4 แผ่น

 

1 1

10. อบรมบทบาทสภาซูรอ

วันที่ 17 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้สภาซูรอมีความรู้ในการทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สมาชิกสภาซูรอได้รับแรงกระตุ้นการทำงาน ได้รับความรู้บทบาทสภา ได้เข้าใจกระบวนการประชุม ดังนี้ ทุกคนที่เป็นสมาชิกสภามีหน้าที่ต้องมาประชุมตามนัดทุกเดือน อาจขาดได้แต่ไม่เกิน 2-3 ครั้ง และต้องติดตามว่าที่ประชุมมีเรื่องอะไรบ้าง ต้องให้ความร่วมมือในการทำงาน มีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านโดยเฉพาะการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เพิ่มขึ้นทุกวัน สภาต้องช่วยกันออกกติกาของสภา เช่น การออกเสียง การแสดงความคิดเห็น งานที่มอบหมายรับผิดชอบ สภาเป็นที่ร่วมกันคิดที่มาจากการนั่งพูดคุยกันอย่างเป็นกันเองตามปกติ ไม่มีใครมีสิทธิอำนาจเหนือใคร ให้คิดว่าทุกคนมีสิทธิเสนอความคิดเห็นเท่าเทียมกัน
  • สมาชิกได้ทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกันโดยเฉพาะเรื่องสวัสดิการชุมชนที่วิทยากรนำมาบอกกล่าว วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งเพื่อทราบ ผู้ใหญ่บ้านจะแจ้งเรื่องที่รับมาจากที่ว่าการอำเภอ หรือคนที่ไปรับรู้ข่าวสารอะไรก็มาลงเรื่องที่จะแจ้งแก่เลขา คือบัณฑิตอาสา  วาระที่ 2 รับรองการประชุม ให้นำเรื่องมติของที่ประชุมครั้งที่แล้วมาอ่านให้สมาชิกรับทราบเผื่อมีใครจะแย้งหรือแก้ไข วาระที่ 3 เรื่องติดตาม ในหมู่บ้านจะมีเรื่องอะไรติดตามเป็นประจำ เช่น สถานะการเงินของกองทุนต่างๆ  ความก้าวหน้าโครงการสสส เป็นต้น  วาระที่4 เรื่องเพื่อพิจารณา ว่ามีเรื่องอะไรที่ต้องตัดสินใจร่วมกันบ้าง  วาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ ให้สมาชิกเสนอเร่ืองที่ไม่ได้เตรียมไว้ในวาระการประชุมมาพูดคุย
  • ทำทำเนียบสมาชิกสภาซูรอ เลือกประธาน รองประธาน 2 คน เลขสนุการ เหรัญญิก กรรมการฝ่ายต่างๆ โดยมอบหมายให้บัณฑิตพิมพ์ให้เรียบร้อยต่อไป พร้อมระเบียบของสภา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • แกนนำกลุ่มที่ได้รับคัดเลือกมาอบรมให้ความรู้เรื่องบทบาทหน้าที่ การออกระเบียบกติกา

กิจกรรมที่ทำจริง

  • วิทยากรจากพมจ.สตูลมาให้ความรู้เรื่องจากจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน บทบาทหน้าที่ และสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ
  • วิทยากรจากสภาองค์กรชุมชนนายกิตติโชติ ชนะหลวง มาสอนการร่วมประชุมปรึกษาของสภาโดยให้จัดทำวาระการประชุม

 

40 40

11. สภาเยาวชน:พัฒนาบ้านผู้ด้อยโอกาศ ครั้งที่ 4

วันที่ 26 ตุลาคม 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกล่อมเกลาจิตใจเยาวชนด้วยการช่วยเหลือผู้อื่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีมติสภาผู้นำชุมชนว่าไปช่วยซ่อมแซมบ้านนายอาด ใบกาเด็ม อายุ 83 ปี คนชราพิการอยู่บ้านคนเดียว บ้านเสื่อมโทรมมากและมีงบช่วยเหลือมาจากอบต.ให้ซื้อวัสดุจึงตกลงกันว่าจะนำเยาวชนไปช่วยกันซ่อมแซมบ้านนี้
  • ผู้ใหญ่ 30 คน ช่วยกันรื้อฝาบ้านเก่า ต่อเติมบ้านออกมาอีก 1.5 เมตร กั้นฝาใหม่ มุงหลังคาและเทพื้น ทำให้นายอาดได้มีส่วนที่เป็นที่นอนแยกเป็นสัดส่วน บ้านกว้างขึ้น เยาวชนช่วยหยิบอุปกรณ์ ช่วยยกไม้ที่รื้อใช้ไม่ได้แล้วไปเก็บ
  • เมื่อบ้านเสร็จนายอาด ใบกาเด็มรู้สึกมีความสุขมาก หน้าตายิ้มแย้ม พูดขอบใจกลุ่มชาวบบบ้านและเยาวชนที่ไปช่วยเหลือตลอดเวลา
  • ผู้ใหญ่และเยาวชนได้ทำกิจกรรมด้วยกันเกิดความสัมพันธ์ระหว่างวัยที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
  • ผู้ใหญ่ได้ทำตัวอย่างการทำสิ่งที่ดีๆให้เด็กและชุมชนเห็น เอาไปเป็นเยี่ยงอย่าง
  • เด็กเยาวชนเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และอยากทำความดีแบบนี้อีก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • วางแผนพิจารณาบ้านผู้ด้อยโอกาส
  • เตรียมอุปกรณ์
  • ประชาสัมพันธ์กิจกรรม
  • ลงมือปฏิบัติ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ที่ประชุมสภาซูรอร่วมค้นหาผู้ด้อยโอกาสที่จะให้เยาวชนไปออกแรงช่วยเหลือ

 

80 70

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 42 11                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 167,200.00 53,950.00                  
คุณภาพกิจกรรม 44 34                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  • กิจกรรมล่าช้า
  • ทีมไม่เข้าใจการทำเอกสาร
  • สภาซูรอช่วง 3 เดือนแรกยังทำงานไม่คล่อง

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. อบรมบทบาทสภาซูรอ ( 17 ต.ค. 2557 )
  2. สภาเยาวชน:พัฒนาบ้านผู้ด้อยโอกาศ ครั้งที่ 4 ( 26 ต.ค. 2557 )
  3. สจรส.ติดตามปิดงวด 1 ( 2 พ.ย. 2557 )
  4. ประชุมสภาซูรอ ( 14 พ.ย. 2557 )
  5. สภาเยาวชน:แข่งกีฬา ครั้งที่ 5 ( 30 พ.ย. 2557 )
  6. ประชุมสภาซูรอ ( 7 ธ.ค. 2557 )
  7. สภาเยาวชน:พัฒนากุโบร์ ครั้งที่ 6 ( 28 ธ.ค. 2557 )
  8. ประชุมสภาซูรอ ( 7 ม.ค. 2558 )
  9. ปรับทัศนคติครอบครัว ( 15 ม.ค. 2558 )
  10. เพิ่มศักยภาพทีมชุมชน ( 17 ม.ค. 2558 - 18 ม.ค. 2558 )
  11. สภาเยาวชน:พัฒนาบ้านผู้ด้อยโอกาศ ครั้งที่ 7 ( 25 ม.ค. 2558 )
  12. พบพี่เลี้ยงติดตามแผนงาน ( 30 ม.ค. 2558 )
  13. ประชุมสภาซูรอ ( 7 ก.พ. 2558 )
  14. ติดตามเยี่ยมเยาวชน ( 8 ก.พ. 2558 )
  15. ทำความเข้าใจเก็บข้อมูล ( 18 ก.พ. 2558 )
  16. ลงภาคสนามเก็บข้อมูล ( 19 ก.พ. 2558 )
  17. แปลผลข้อมูล ( 20 ก.พ. 2558 )
  18. สภาเยาวชน:พัฒนามัสยิด ครั้งที่ 8 ( 22 ก.พ. 2558 )
  19. สรุปผลการทำงานทีมชุมชน ( 26 ก.พ. 2558 )
  20. สจรส.ติดตามโครงการ ( 28 ก.พ. 2558 )
  21. ประชุมสภาซูรอ ( 7 มี.ค. 2558 )
  22. ทำกติกาด้านเยาวชนระดับโรงเรียน ( 8 มี.ค. 2558 )
  23. ทำกติกาด้านเยาวชนระดับหมู่บ้าน ( 9 มี.ค. 2558 )
  24. สภาเยาวชน:พัฒนามัสยิด ครั้งที่ 9 ( 29 มี.ค. 2558 )
  25. ประชุมสภาซูรอ ( 7 เม.ย. 2558 )
  26. พบพี่เลี้ยงติดตามโครงการ ( 24 เม.ย. 2558 )
  27. สภาเยาวชน:ชรบ.น้อย ครั้งที่ 10 ( 26 เม.ย. 2558 )
  28. ประชุมสภาซูรอ ( 7 พ.ค. 2558 )
  29. ติดตามเยี่ยมเยาวชน ( 9 พ.ค. 2558 )

(................................)
นายมูฮัมหมัดใบกาเด็ม
ผู้รับผิดชอบโครงการ