directions_run

ชุมชนบ้านเจริญทรัพย์น่าอยู่เชิดชูผู้สูงวัย (ต่อเนื่อง)

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการให้มีความรู้ ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนแนวคิดและสร้างพฤติกรรมการเกิดสุขอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : 1ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพได้ถูกต้องร้อยละ 80 และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน (ผู้สูงอายุมีจำนวน 142 คน เป็นโรคเรื้อรัง 126 คน ) 2 แกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจในการสร้างสุขและสามารถแนะนำผู้อื่นได้ 3 ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการเป็นจิตอาสา มีอาชีพเสริม

 

 

  1. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพได้ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80 (พบผู้สูงอายุติดบ้าน 12 คน ติดเตียง2 คน)ด้วยมีการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการที่มีการนำพืชผักสมุนไพรไทยและปลอดสารพิษมาปรุงเอง การออกกำลังกายโดยการประยุกต์ท่าทางจากการรำมโนราห์และกลองยาว มีจิตใจดีจากการเยี่ยมของคนสามวัยและได้เล่าความหลังที่เป็นประโยชน์ การเข้าวัดฟังธรรม การไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข (ไม่ดื่มเหล้า และลด(ยังสูบใบจากอยู่ 2ราย)/ไม่สูบบุหรี่) และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และผู้พิการได้รับการช่วยเหลือปรับปรุงในเรื่องสุขาภิบาลที่พักอาศัย เหมาะสมกับความต้องการของประเภทผู้พิการนั้นๆ สิ่งของเครื่องใช้สะอาดขึ้น16คน
  2. กลุ่มคนสามวัยได้รับการพัฒนาเป็นแกนนำสุขภาพที่มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างสุขและสามารถแนะนำผู้อื่นได้
  3. ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการเป็นจิตอาสาในการทำจักสานไม้ไผ่ผูกไม้กวาดผูกผ้างานพิธ๊ทำดอกไม้รังไหม ทำดอกไม้จันทน์เพื่อไว้จำหน่ายในชุมชน เป็นอาชีพเสริม และมีรายได้
2 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชนผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน
ตัวชี้วัด : 1 ร้อยละ 30ของกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม 2 สามารถสร้างคนรุ่นใหม่ที่หันมาพัฒนาชุมชนตนเองให้น่าอยู่

 

 

  1. กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมการเยี่ยมบ้านและฝึกศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านจนเกิดคณะกลองยาวเยาวชนในชุมชนอีก 1 วง มีเยาวชนเป็นนางรำ 24 คน มีกลุ่มพายเรือบก 34คน กลุ่มมโนราห์ประยุกต์ 64 คนมากกว่าร้อยละ 30 (เยาวชนมี 95คน)
  2. คนรุ่นใหม่ที่เป็นเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมเป็นแกนนำ และถอดบทเรียนเพื่อลดกิจกรรมที่ไม่่ตรงกับวัตถุประสงค์และให้การดำเนินงานสำเร็จโดยง่ายผลจากการเยี่ยมบ้านคลังสมองได้ประวัติชุมชนเล่านิทานพื้นบ้านได้เรียนรู้ภูมิปัญญาไทยจนได้เนื้อเพลงกล่อมเดิ็กนำมาทำรูปเล่มแจกจ่ายให้โรงเรียนให้ชุมชนและกลุ่มผู้สนใจ
3 บริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมของสสส.หรือ สจรส.

 

 

ได้รับความร่วมมือและข้อเสนอแนะจากอาจารย์พี่เลี้ยงด้วยดีเสมอมาทุกครั้งที่มีการร้องขอคำปรึกษามาเป็นเกียรติและเป็นวิทยากรเสริมมากกว่า10 ครั้ง