directions_run

ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1.เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและอาชีพให้กับประชาชนในชุมชน ให้สามารถพึ่งพาตนเอง มีสุขภาพที่ดี มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และลดภาวะหนี้สิน โดยใช้ทรัพยากรและทุนท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่ในชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัด : 1.1 ประชาชนมีอาชีพเสริม และมีกระบวนการบริหารจัดการตนเองให้มีรายได้และเงินออมเพิ่มขึ้น ภาวะหนี้สินลดลง1.2 มีการบริโภคและใช้พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ 1.3 มีเงินออมสมทบสำหรับหมุนเวียนในชุมชน จากรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

 

 

  1. ประชาชนมีอาชีพเสริมด้วยการทำการแปรรูปพืชสมุนไพรเช่น ลูกประคบ ยากันยุง การะบูนดูดสารพิษ ยาแก้ปวดข้อ ขายที่รพสต.สลุยและตลาดนัดเคลื่อน และทำเครื่องแกงขายให้กับกลุ่มเครื่องแกงบ้านเนินทอง ทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นบางส่วนจากการขายแต่ยังไม่เพียงพอต่อการใช้ต้องทำกิจกรรมต่อเนื่องต่อไป และมีการบริหารจัดการกลุ่มด้วยการมีคณะกรรมการรับผิดชอบร่วมกัน และมีกลุ่มออมในโรงเรียนจากการทำบัญชีครัวเรือน
  2. มีการบริโภคและใช้พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพด้วยการใช้ลูกประคบเมื่อปวดเมื่อยพร้อมกับทายาแก้ปวดข้อและปวดเมื่อยแก้คัน อีกส่วนหนึ่งนำพืชสมุนไพรเช่นขมิ้น พริกแกง ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม พริกไทย ใบมะกรูด และกระชายเป็นเครื่องแกงปักใต้รับประทานเพื่อสุขภาพ
  3. มีเงินออมสมทบสำหรับหมุนเวียนในชุมชนจากรายได้ร้อยละ 20 ในครั้งก่อนปิดโครงการจำนวน 2,350 บาท
2 เพื่อการบริหารและจัดการโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมทำกิจกรรมในโครงการ สสส. หรือ สจรส.

 

 

มีการเข้าร่วมกิจกรรมกับสสสและสจรส.ด้วยการปฐมนิเทศ พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อตรวจสอบรายงานและงบดำเนินการ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการปี2558 อีกหนึ่งครั้ง