task_alt

ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น

ชุมชน ที่ทำการหมู่บ้าน ม.6 ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร

รหัสโครงการ 57-01502 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0940

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2557 ถึงเดือน ตุลาคม 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. รับฟังขั้นตอนการทำโครงการและทำความเข้าใจในการทำโครงการ

วันที่ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรับทราบแนวทางการปฏิบัติตามกิจกรรมโครงการอย่างถูกต้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้รับความรู้ และเข้าใจถึงวิธีการจัดทำและลงรายงานทางwww.คนใต้สร้างสุขที่ถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1).ได้ทำความรู้จักพี่เลี้ยง-ทีม สจรส.
2).ทบทวนโครงการทำแผนกิจกรรมที่ชัดเจน เช่น ลงรายละเอียด กำหนดวันที่ที่แน่นอน มีกิจกรรมอย่างน้อย 20 ครั้ง 3).อบรมและลงข้อมูลในระบบติดตามประเมินผล และระบบรายงานผ่าน WWW.happynetwork.org 4).ทำความเข้าใจเรื่องการทำรายงานและการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

1).ได้ทำความรู้จักพี่เลี้ยง-ทีม สจรส.
2).ทบทวนโครงการทำแผนกิจกรรมที่ชัดเจน เช่น ลงรายละเอียด กำหนดวันที่ที่แน่นอน มีกิจกรรมอย่างน้อย 20 ครั้ง 3).อบรมและลงข้อมูลในระบบติดตามประเมินผล และระบบรายงานผ่าน WWW.happynetwork.org 4).ทำความเข้าใจเรื่องการทำรายงานและการเงิน

 

2 2

2. ประชุมชี้แจงโครงการ

วันที่ 30 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและอาชีพให้กับประชาชนในชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเอง มีสุขภาพที่ดี มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และลดภาวะหนี้สินโดยใช้ทรัพยากรและทุนท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่ในชุมชนตามแนวทางเศรฐกิจพอเพียง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1).ให้คำแนะนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง   - การจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย -  เพิ่มรายได้ ให้กับคนในชุมชน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัว ที่เรียกว่า (ปรัชญาเศรษฐกิจพิเพียง)3 ห่วง 2 เงื่อนไข ให้ประชาชนอยู่อย่างพอมีพอกิน 2).การจัดตั้งกลุ่ม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
  - กลุ่มพืชสมุนไพร
  - กลุ่มทำสิ่งประดิษฐ์ 3).การลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่ม   - การลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มสามารถลงสมัครได้ทุกคนทุกเพศทุกวัย และได้ทุกวันที่ 8 ของเดือน ที่มีการประชุม ที่ศาลาประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน สามารถลงสมัครได้ที่ประธานของกลุ่ม 4).ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่จะต้องทำตลอดปีงบประมาณ 2557   - การชี้แจงรายละเอียดที่จะต้องจัดทำกิจกรรมตลอดปีงบประมาณ 2557 มีทั้งหมดประมาณ 30 กิจกรรม
5).พูดคุยขอความคิดเห็นกับประชาชนที่เข้าประชุม 6).แกว่งแขนลดโรค   - เคล็ดลับดีๆจากหัวหน้าฝ่ายโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลท่าแซะ การแกว่งแขนติดต่อกันเป็นเวลา 20 นาที เป็นการลดโรคที่สะสมในร่างกายเช่น ความดันโลหิต เบาหวาน การสะสมของไขมัน ช่วยลดอาการเครียด ช่วยลดโอกาศเกิดโรคหัวใจและหลอกเลือด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1). อบรมให้ความรู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
2). จัดตั้งกลุ่มชุมชน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสมุนไพร และกลุ่มทำสิ่งประดิษฐ์ พร้อมทั้งลงทะเบียนเป็นสมาชิกกลุ่ม และคัดเลือกคณะกรรมการ จาก จำนวน

กิจกรรมที่ทำจริง

1).ได้ทำความรู้จัก ชื่อพี่เลี้ยงผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส. 2).ให้ความรู้เรื่องแนวคิดเศรฐกิจพอเพียงห้กับประชาชนในชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเอง มีสุขภาพที่ดี มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และลดภาวะหนี้สิน 3).จัดตั้งกลุ่มชุมชน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสมุนไพร กลุ่มทำสิ่งประดิษฐ์ พร้อมกับลงทะเบียนเป็นสมาชิก

 

150 102

3. จัดทำข้อมูลและวางแผนการดำเนินการเพื่อการออมและลดภาวะหนี้สิน พร้อมทั้งร่างกติกาชุมชน

วันที่ 8 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำข้อมูลแผนการดำเนินงานการออมและลดภาวะหนี้สิน พร้อมกับร่างกติกาชุมชน และแจ้งให้ประชาชนทราบในเวทีประชุมประจำเดือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1).จัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อการออมและลดภาวะหนี้สินโดย     - จัดทำสมุดบัญชีครัวเรือน รายรับ - รายจ่าย จำนวน 150 เล่ม 2).ร่างกติกาชุมชน โดยมีเนื้อหาแบ่งเป็นหมวดหมู่ ดังนี้   หมวดที่ 1 บทความทั่วไป   หมวดที่ 2 แนวทางการดำเนินงานการบริหาร   หมวดที่ 3 อำนาจ – สิทธิ์ – หน้าที่คณะกรรมการกลุ่มฯและการเงิน   หมวดที่ 4 การหมดวาระหรืการพ้นวาระของคณะกรรมการในตำแหน่ง   หมวดที่ 5 สิทธิ์และหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มฯ   หมวดที่ 6 ข้อเพิ่มเติม 3).แจ้งให้ประชาชนทราบในเวทีประชุมประจำเดือน พร้อมกับเชิญชวนให้เข้ารับการอบรมในวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เวลา 9.00 น. ในหัวข้อเรื่อง อบรมให้ความรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมคณะกรรมการกลุ่มชุมชนและคณะกรรมการโครงการเพื่อจัดทำข้อมูลและวางแผนการดำเนินการเพื่อการออมและลดภาวะหนี้สิน พร้อมทั้งร่างกติกาชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1).จัดทำข้อมูลแผนการดำเนินงานเพื่อการออมและลดภาวะหนี้สิน
2).ร่างกติกาชุมชน 3).แจ้งให้ประชาชนทราบในเวทีประชุมประจำเดือน

 

32 32

4. อบรมให้ความรู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ประชาชนทราบถึงแนวคิดเศรฐกิจพอเพียง การจัดทำบัญชีครัวเรือน ข้อมูลการลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การออม และการดำรงชีวิตที่รู้จักพอประมาณ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

อบรมให้ความรู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดย อาจารย์โกวิทย์ ยังปักษี และอาจารย์กัลยารัตน์ บรรพต อาจารย์จากโรงเรียนบ้านคันธทรัพย์ พร้อมทั้งอาจารย์ณัฐวุฒิ วิวัฒภิญโญ เป็นผู้เปิดโครงการ เนื้อหาที่อบรมหลักๆมีดังนี้
1).ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
  3 ห่วง >>> ห่วงที่ 1 ความพอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน             ห่วงที่ 2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ             ห่วงที่ 3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล     2 เงื่อนไข >>> เงื่อนไขที่ 1 ความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต                 เงื่อนไขที่ 2 คุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 2).ความพอดี 5 ประการ หลักเหตุผล 5 ประการ หลักภูมิคุ้มกัน 2 หลัก ความพอดี 5 ประการ   ประการที่ 1 >>> ความพอดีด้านจิตใจ คือ ต้องเข็มแข็ง  พึ่งตนเองได้  มีจิตสำนึกที่ดี  เอื้ออาทร และนึกถึงประโยชน์ส่วนรวม   ประการที่ 2 >>> ความพอดีด้านสังคม คือ ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน  รู้จักผนึกกำลัง และมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรง   ประการที่ 3 >>> ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือ รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดรอบคอบ  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด  และใช้ทรัพยากรใน ประเทศเพื่อพัฒนาประเทศ  ให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป   ประการที่ 4 >>>  ความพอดีด้านเทคโนโลยี คือ  รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองเพื่อสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง   ประการที่ 5 >>> ความพอดีด้านเศรษฐกิจ คือ เพื่อรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร  พออยู่  พอกิน  สมควรตามอัตภาพและฐานะของตน หลักเหตุผล 5 ประการ   1).ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีวิต   2).ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีวิต   3).ละเลิกการเก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง   4).ไม่หยุดนิ่งที่หาหนทางในชีวิต หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก   5).ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลด เลิก สิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัวเอง ทำลายผู้อื่น พยายามเพิ่มพูนรักษาความดี ที่มีอยู่ให้งอกงามสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

อบรมให้ความรู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน  วิเคราะห์ข้อมูลการลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การออม และการดำรงชีวิตที่รู้จักพอประมาณ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคัดเลือกคณะกรรมการ

กิจกรรมที่ทำจริง

1.อบรมให้ความรู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 2.แจกสมุดบันทึก รายรับ - รายจ่าย

 

150 140

5. อบรมการทำดอกไม้ผ้าใยบัวและการจัดดอกไม้สด

วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้สมาชิกได้รับความรู้ในเรื่องการทำดอกไม้ผ้าใยบัวและการจัดดอกไม้สด และสามารถเป็นรายได้เสริมให้กับในครอบครัวได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.อบรมให้ความรู้เรื่องการทำดอกไม้ผ้าใยบัว มีรายละเอียดดังนี้     - ดอกไม้ผ้าใยบัวเหมาะกับการทำช่อดอกไม้รับปริญญา แจกันตั้งโต๊ะ กระเช้าตั้งโต๊ะ เป็นของขวัญให้ญาติผู้ใหญ่ งานมงคลต่างๆ     - สามารถนำดอกไม้ผ้าใยบัวมาดัดแปลงเป็น ดอกไม้การะบูล ใช้สำหรับตั้งหน้ารถ ใส้ตู้เสื้อผ้า ห้องต่างๆ เพื่อดับกลิ่นอับ
    - ดอกไม้การะบูลสามารถนำมาทำเป็นของชำร่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับคนที่ว่างงาน รอบเช้า   ดอกไม้การบูร อุปกรณ์   1.ผ้าใยบัว(สีอะไรก็ได้)   2.การบูร   3.ลวด(สีอะไรก้ได้)   4.ด้าย   5.ฟรอร่าเทปสีเขียว   6.กรรไกร   7.ก้านดอกไม้ วิธีทำ   1.นำลวดมาบิดเกลียว 2 เส้น บิดเกลียวรวมกันไว้ที่โคนด้านล่างแล้วหุ้มด้วยผ้าใยบัวจะได้ 1 กลีบ ทำทั้งหมด 5 กลีบ   2.นำการบูรมาปั้นเป็นลูกเล็กๆ หรือขนาดตามที่เราต้องการ   3.นำก้านดอกมาเสียบกับการบูรแล้วหุ้มด้วยผ้าใยบัว   4.นำกลีบดอกที่เตรียมไว้มาเข้าดอกโดยการหักโคนดอกที่บริเวณด้ายที่มัดไว้ด้านหลังวางต่อกันจนครบ 5 กลีบ นำด้ายมามัดให้เรียบร้อย   5.นำฟรอร่าเทปสีเขียวมาพันทับเพื่อเก็บงานให้เรียบร้อย เป็นอันเสร็จการทำดอกไม้จากการบูร รอบบ่าย   ดอกไม้ผ้าใยบัว(ดอกลีลาวดี) อุปกรณ์   1.ผ้าใยบัวสีเขียว(ใช้ทำใบ)   2.ผ้าใยบัวสีอะไรก็ได้(ตามที่ตนเองชอบ)   3.ลวด(สีอะไรก้ได้)   4.ด้าย   5.ฟรอร่าเทปสีเขียว   6.กรรไกร   7.ก้านดอกไม้ วิธีทำ   1.ขั้นตอนการทำกลีบดอก ให้ทำเหมือนกับดอกไม้การบูร(ขั้นตอนที่ 1) จำนวน 5 กลีบ   2.นำกลีบดอกลีลาวดีมาหุ้มผ้าใยบัวสีที่ตนเองชอบพันด้ายให้เรียบร้อย   3.นำกลีบดอกลีลาวดีที่หุ้มผ้าใยบัวเสร็จเรียบร้อยแล้วมาเข้าดอกโดยการนำกลีบอันแรกมาพันกับก้านดอก ทำเหมือนกันจนครบ 5 กลีบ   4.นำลวดมาดัดเหมือนกับกลีบดอกลีลาวดี แต่หุ้มผ้าสีเขียวเพื่อทำใบ จำนวน 3 ใบ   5.นำฟรอร่าเทปมาพันปิดก้านดอกพร้อมกันติดใบ เพื่อเก็บงานให้เรียบร้อย   6.การดัดดอกลีลาวดีทำได้โดยการดัดบริเวณปลายกลีบโค้งไปด้านหลัง เป็นอันเสร็จเรียบร้อยการทำดอกไม้ผ้าใยบัวดอกลีลาวดี 3.ให้สมาชิกที่เข้าร่วมอบรมหัดทำ พร้อมกับวิทยากรให้คำแนะนำไปพร้อมกับการสอน 4.สอนทำดอกไม้การะบูล โดยการทำนำลวดมาบิดให้เป็นสปริงแล้วยืดออก มาเข้าโครงให้เป็นกลีบดอก กุ้มด้วยผ้าใยบัว นำการะบูลมาห่อด้วยผ้าใยบัว และนำมาเข้าเป็นดอกพร้อมกับติดใบ พันก้านให้เรียบร้อย 5.วิทยากรให้คำแนะนำไปพร้อมกับการสอน 6.แนะนำถึงประโยชน์การทำดอกไม้ผ้าใยบัว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

อบรมเชิงปฎิบัติการเรื่องการทำดอกไม้ผ้าใยบัว 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. อบรมให้ความรู้เรื่องการทำดอกไม้ผ้าใยบัว
  2. ประดิษฐ์ดอกไม้ให้ดูเป็นตัวอย่างโดยวิทยากร
  3. ให้สมาชิกที่เข้าร่วมอบรมทดลองทำด้วยตนเอง
  4. ให้คำแนะนำพร้อมกับตรวจดูเป็นรายบุคคล

 

20 15

6. อบรมการทำดอกไม้ผ้าใยบัวและการจัดดอกไม้สด

วันที่ 20 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทราบถึงวิธีการจัดดอกไม้สดที่ใช้ตามงานพิธีต่างๆ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดดอกไม้สด มีรายละเอียดดังนี้   - จัดดอกไม้สด เหมาะกับงานพิธีต่างๆ เช่น งานมงคล งานศพ ทำช่อดอกไม้งานรับปริญญา จัดกระเช้า
รอบเช้า   - จัดดอกไม้สำหรับตั้งโต๊ะและจัดดอกไม้สำหรับงานศพ รอบบ่าย   - จัดดอกไม้สำหรับงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่ง งานบวช 2.สอนจัดดอกไม้สดโดยการทำเป็นแบบอย่างให้ดู การปักทำมุม การปักใบ การปักดอก โดยเน้นตรงกลางแล้วมุมข้าง การเลือกดอกไม้ให้เลือกสีที่ตัดกัน 3.สมาชิกหัดทำพร้อมกับมีวิทยากรคอยให้คำแนะนำไปพร้อมกับการสอน 4.วิทยากรบอกถึงประโยชน์ในการจัดดอกไม้สด และการสร้างรายได้เสริม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

อบรมเชิงปฎิบัติการเรื่องการทำดอกไม้ผ้าใยบัว และการจัดดอกไม้สดตามงานพิธีต่างๆ

กิจกรรมที่ทำจริง

1.อบรมให้ความรู้เรื่องของการจัดดอกไม้สด 2.สาธิตให้สมาชิกดูเป็นตัวอย่างก่อนที่จะให้สมาชิกลงมือปฎิบัติจริง 3.ให้สมาชิกลงมือปฎิบัติจริง พร้อมกับมีวิทยากรคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด 4.ให้คำแนะนำกับสมาชิกในเรื่องของประโยชน์การจัดดอกไม้สด

 

20 15

7. สมาชิกทำดอกไม้ที่บ้าน

วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้สมาชิกทำดอกไม้จากผ้าใยบัวได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.วิทยากรติดตามความก้าวหน้าของสมาชิกในกลุ่มที่บ้าน 2.ให้คำแนะนำเพิ่มเติมในส่วนที่สมาชิกไม่เข้าใจ 3.หลังจากการอบรมทำสิ่งประดิษฐ์ผ้าใยบัว สมาชิกในกลุ่มสว่นใหญ่สามารถทำสิ่งประดิษฐ์ได้โดยไม่ต้องให้วิทยากรให้คำแนะนำเพิ่มเติม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปฎิบัติการทำดอกไม้ผ้าใยบัว ที่บ้านของแต่ละสมาชิกในกลุ่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

ให้คำแนะนำเพิ่มเติมกับสมาชิกเกี่ยวกับการประดิษฐ์ดอกไม้ผ้าใยบัว

 

20 15

8. ปรับกติกาชุมชน การจัดการตลาด และประชาสัมพันธ์การใช้กติกา

วันที่ 8 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปรับกติกาชุมชน การจัดการตลาด และประชาสัมพันธ์การใช้กติกา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ปรับกติกาชุมชน จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ดังนี้   หมวดที่ 1 บทความทั่วไป   หมวดที่ 2 แนวทางการดำเนินงานการบริหาร   หมวดที่ 3 อำนาจ – สิทธิ์ – หน้าที่คณะกรรมการกลุ่มฯและการเงิน   หมวดที่ 4 การหมดวาระหรืการพ้นวาระของคณะกรรมการในตำแหน่ง   หมวดที่ 5 สิทธิ์และหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มฯ   หมวดที่ 6 ข้อเพิ่มเติม
  2. วางแผนการตลาด   1. วางแผนการตลาดด้วยการจะนำผลผลิตจากการทำดอกไม้นำเสนอขายตามหน่วยงานต่างๆ
      2. มีการกำหนดกติกาว่ารายได้ที่เกิดจากกลุ่มต้องหักค่าบริหารจัดการเข้ากลุ่มร้อยละ 20
      3. สมาชิกต้องมีการออมคนละ30บาท พร้อมทั้งให้สมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในเรื่องการออม ลดสิ่งฟุ่มเฟือยและสร้างรายได้เสริม
  3. ประชาสัมพันธ์การใช้กติกา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมคณะกรรมการกลุ่มชุมชนและคณะกรรมการโครงการเพื่อปรับกติกาชุมชน  การจัดการตลาด และประชาสัมพันธ์การใช้กติกา

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ปรับกติกาชุมชน 2.วางแผนการจัดการตลาด 3.ประชาสัมพันธ์การใช้กติกา

 

32 32

9. จัดทำแปลงสมุนไพรสาธิตในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน

วันที่ 9 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำแปลงสมุนไพรสาธิตในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ขุดหลุมฝังเสาเพื่อที่จะล้อมรั้วกั้นไม่ให้สัตว์ใหญ่เข้ามาเหยียบย่ำสมุนไพรในแปลง 2.คัดแยกพันธ์สมุนไพรเพื่อที่จะนำไปปลูกในแปลง 3.กำจัดวัชพืชที่อยู่ในแปลง 4.นำพันธ์พืชที่คัดเรียบร้อยแล้วลงปลูกในแปลงพร้อมกับรดน้ำ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำแปลงสมุนไพรสาธิตในพิ้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ปักหลักขุดหลุมเพื่อที่จะฝังเสา 2.คัดแยกพันธ์พืช 3.กำจัดวัชพืชที่อยู่ในแปลง

 

50 27

10. จัดทำแปลงสมุนไพรในพิ้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน

วันที่ 10 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำแปลงสมุนไพรสาธิตในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.สมาชิกช่วยกันนำเมล็ดพันธ์พืชลงปลูกในแปลง ได้แก่   1.ขมิ้นชัน   2.ฟ้าทะลายโจร   3.ว่านเอ็นเหลือง   4.ว่านหางจรเข้   5.หนุมานประสานกาย   6.ตะไคร้   7.หัวไพล   8.เสลดพังพอน   9.ทุเรียนน้ำ   10.ชุมเห็ดเทศ 2.ช่วยกันกำจัดวัชพืชที่อยู่รอบๆพร้อมกับรดน้ำ   - โดยการถอน ดายหญ้า และตัดหญ้าบริเวณในร่องทางเดิน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำแปลงสมุนไพรสาธิตในพิ้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.นำเมล็ดพันธ์พืชลงปลูก 2.กำจัดวัชพืชที่อยู่รอบๆ

 

50 30

11. สมาชิกจัดทำแปลงสมุนไพรที่บ้าน

วันที่ 11 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้สมาชิกแต่ละครัวเรือน จัดทำแปลงพืชสมุนไพรที่บ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.แต่ละครัวเรือนจัดทำแปลงพืชสมุนไพร 2.หาพันธ์พืชมาปลูก หลักๆอย่างน้อย 5 ชนิด   1.ชุมเห็ดเทศ   2.ตะไคร้หอม   3.ขมิ้นขัน   4.ฟ้าทะลายโจร   5.ว่านหางจรเข้   6.เสลดพังพอน 3.ดูแลรักษา แลกเปลี่ยนความรู้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำแปลงสมุนไพร และปลูกพืชสมุนไพรในแต่ละครัวเรือนของกลุ่มสมาชิก

กิจกรรมที่ทำจริง

1.สมาชิกกลุ่มพืชสมุนไพรจัดทำแปลงปลูกพืชสมุนไพร 2.หาพันธ์พืชสมุนไพรมาปลูก

 

50 17

12. จัดดอกไม้สดตามงานพิธีต่าง ๆ

วันที่ 15 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดดอกไม้สดตามงานพิธีต่างๆในช่วงเทศกาล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.สมาชิกในกลุ่มจัดดอกไม้สดหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ที่ทำการหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 2.สมาชิกในกลุ่มจัดซุ้มถ่ายรูปวันแม่ ณ โรงเรียนบ้านทรายขาว 3.สมาชิกในกลุ่มจัดบอร์ดประกาศข่าวสารวันแม่ ณ โรงเรียนบ้านทรายขาว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดดอกไม้สดตามงานต่างๆในช่วงที่มีเทศกาลงานต่างๆ โดยประชาสัมพันธ์และการตลาดของกลุ่มประดิษฐ์จะเป็นผู้รับงานมา และประธานจะเป็นผู้มอบหมายงานให้กับสมาชิกในกลุ่มดอกไม้สด

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประธานกลุ่มจะเป็นผู้มอบหมายงานให้กับสมาชิกในกลุ่ม 2.สมาชิกกลุ่มร่วมกันจัดดอกไม้สดตามงานพิธีต่างๆ ในช่วงเทศกาล

 

20 8

13. เก็บเงินออมสมาชิกคนละ 30 บาทเพื่อความเป็นเจ้าของ

วันที่ 8 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทราบถึงความก้าวหน้าของโครงการ และแผนการดำเนินงานครั้งต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชุมคณะกรรมการประจำเดือนในเรื่องการเก็บเงินออมสมาชิกคนละ 30 บาทเพื่อความเป็นเจ้าของ โดยมีรายละเอียดดังนี้   1) คณะกรรมการกลุ่มได้จัดเก็บเงินไปก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม 2557 คนละ 30 บาท พร้อมทั้งจัดทำบัญชีครัวเรือนของสมาชิก เพื่อลดสิ่งฟุ่มเฟือนในครัวเรือน   2) การจัดเก็บเงินออมคนละ 30 บาทนั้น สมาชิกสมัครเพื่อความเป็นเจ้าของ ทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งมีสมาชิกรวม 43 คน แบ่งเป็น     2.1) กลุ่มสมาชิกปลูกพืชสมุนไพร มีสมาชิก 23 คน     2.2) กลุ่มสมาชิกทำสิ่งประดิษฐ์ มีสมาชิก 20 คน             รวมทั้งหมด 43 คน เป็นเงิน 1,290 บาท   3) เงินในส่วนนี้ทางคณะกรรมการกลุ่ม ได้จัดทำบัญชีไว้เพื่อต่อยอด เมื่อสมาชิกนำรายได้เข้ากลุ่ม ถึงสิ้นปีทางกลุ่มจะมีปันผลจากการขายผลผลิตให้กับสมาชิก เพื่อความเป็นขวัญกำลังใจให้กับสมาชิกต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมคณะกรรมการกลุ่มชุมชนและคณะกรรมการโครงการเพื่อการขายผลผลิตทุกชนิดที่เกิดขึ้นในกลุ่มและการบริหารจัดการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะกรรมการกลุ่มและคณะกรรมการโครงการพร้อมทั้งชี้แจงการเก็บเงินออมสมาชิกคนละ 30 บาทเพื่อความเป็นเจ้าของ

 

32 25

14. การขายผลผลิตทุกชนิดที่เกิดขึ้นในกลุ่มและการบริหารจัดการ

วันที่ 8 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทราบถึงความก้าวหน้าของโครงการ และแผนการดำเนินงานครั้งต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1) การขยายผลผลิตในกลุ่มปลูกพืชสมุนไพรที่ผ่านมานั้น ผลผลิตยังไม่สามารถนำไปขายได้ แต่ทางกลุ่มได้นำผลผลิตสมุนไพรบางชนิดที่ขายพันธ์ได้เร็ว ไปขยายพันธ์ปลูกเพิ่มเติม เช่น ข่า ขมิ้น ว่านหางจระเข้ กระชาย และในบางชนิดสามารถนำไปแปรรูปได้เลย เช่น     - ตะไคร้หอม : นำไปเป็นส่วนผสมของลูกประคบ             : นำไปสกัดเป็นสารระเหยกันยุงได้
    - ตะไคร้แกงและขมิ้นเหลือง : นำไปทำเครื่องแกง 2) การบริหารจัดการ
    - ประธานกลุ่มได้แจ้งกับสมาชิกให้นำสมุนไพรไปปลูก เพื่อที่จะนำผลผลิตที่ได้มาขายกับทางกลุ่ม โดยประธานกลุ่มได้ติดต่อประสานงานหาตลาดรองรับไว้เรีบยร้อยแล้ว คือ รพ.สต. และพ่อค้าจากตลาดนัด แต่มีข้อแม้ว่าผลผลิตที่สมาชิกนำมาขายกับทางกลุ่มจะต้องเหลือกินและใช้ในครัวเรือนแล้ว     - ทางกลุ่มจะจัดอบรมในเรื่องการนำสมุนไพรไปแปรรูป เช่น อบรมทำลูกประคบ ทำเครื่องแกง การสกัดสารระเหยจากตะไคร้หอม และการทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมคณะกรรมการกลุ่มชุมชนและคณะกรรมการโครงการเพื่อการขายผลผลิตทุกชนิดที่เกิดขึ้นในกลุ่มและการบริหารจัดการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะกรรมการกลุ่มและคณะกรรมการโครงการพร้อมทั้งชี้แจงการขยายผลผลิตทุกชนิดที่เกิดขึ้นในกลุ่ม และการบริหารจัดการ

 

32 30

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 29 14                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 137,750.00 60,022.00                  
คุณภาพกิจกรรม 56 33                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ไม่มี

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. วิเคราะห์ผลการทำบัญชีครัวเรือนและจัดทำข้อกำหนดชุมชน ( 8 พ.ย. 2557 )
  2. ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของพีชสมุนไพรแต่ละชนิด วิธีการปลูกบำรุงรักษาแปลง การใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม ( 15 พ.ย. 2557 )
  3. จัดทำน้ำสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษาและดื่มเพื่อสุขภาพ ( 5 ธ.ค. 2557 )
  4. ปรับแผนการปฏิบัติและข้อกำหนดการลดสิ่งฟุ่มเฟือย การออม และสร้างรายได้เสริม ( 8 ธ.ค. 2557 )
  5. ปรับการดำเนินการของแต่ละกลุ่ม ( 8 ม.ค. 2558 )
  6. ทำปุ๋ยอินทรีย์ ( 21 ม.ค. 2558 )
  7. ทบทวนกิจกรรมของทุกกลุ่มเพื่อการดำรงชีวิตที่รู้จักพอประมาณ ( 8 ก.พ. 2558 )
  8. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายนอกหมู่บ้าน ( 20 ก.พ. 2558 )
  9. ปรับวิถีชีวิตชุมชนกิจกรรมที่เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( 8 มี.ค. 2558 )
  10. ทำเครื่องแกง ( 15 มี.ค. 2558 )
  11. ทำลูกประคบสมุนไพรในแต่ละครัวเรือน ( 17 มี.ค. 2558 )
  12. การแบ่งปันและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ( 8 เม.ย. 2558 )

(................................)
นางเกศินี สุวรรณรัตน์
ผู้รับผิดชอบโครงการ