directions_run

พื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัยชุมชนหัวแหลมพัฒนา

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. เกิดแกนนำเยาวชนในการพัฒนาสุขภาวะชุมชน อย่างน้อย 20 คน 2. มีกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มเยาวชน อย่างน้อย 5 กิจกรรม 3. เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมที่สร้างเสริมสุขภาวะในชุมชนเพิ่มขึ้น อย่างน้อยสัปดาห์ 2 ครั้ง 4. ผู้สูงอายุได้รับการดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จำนวน 30 คน 5. มีการค้นพบและรื้อฟื้นภูมิปัญญาจากผู้สูงอายุเพื่อนำมาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนในชุมชนและนอกชุมชน อย่างน้อย 5 แห่ง ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาสุขภาวะชุมชนให้น่าอยู่ 2. เด็กและเยาวชนมีทักษะในการคิดการวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาของชุมชน 3. เด็กและเยาวชนสามารถออกแบบกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ 4. สามารถสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่หันมาดูแล และพัฒนาชุมชนของตนเองให้น่าอยู่

 

 

  • เด็กและเยาวชนกล้าคิด กล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น นำเสนอกิจกรรมที่ตนเองสนใจและสร้างสรรค์
  • เด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ในชุมชน เช่น การปลูกต้นไม้ การเก็บขยะ  ร่วมถึงการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม
  • ผู้สูงอายุได้มีการสนใจในด้านสุขภาพมากยิ่งขึ้น และมีกิจกรรมในการดูแลตนเองและครอบครัวเพื่อไม่ให้เกิดความโดดเดี่ยวเวลาอยู่บ้านในช่วงกลางวัน
  • ค้นพบภูมิปัญญา ทุน ศักยภาพในชุมชน และนำไปสู่การต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและชุมชน
2 เพื่อสร้างเสริมให้ชุมชนหัวแหลมมีสุขภาวะอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. มีสภาผู้นำด้านสุขภาวะจากตัวแทนเครือข่ายต่างๆในชุมชนจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน 2. มีกติกาหรือมาตราการชุมชนในการสร้างสุขภาวะของชุมชนบ้านหัวแหลม 3. เกิดกิจกรรมปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ ปลอดภัยจากอุบัติเหตุในงานเทศกาลต่างๆ อย่างน้อย 4 เทศกาล เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง งานกีฬาชุมชน 4. จำนวนผู้บริโภคเหล้าและบุหรี่ลดลง ร้อยละ 20% จากผู้ที่บริโภคเหล้าและบุหรี่ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. สภาผู้นำมีการใช้ข้อมูล วางแผนและสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายเพื่อให้ชุมชนบ้านหัวแหลมมีสุขภาวะอย่างยั่งยืน 2. คนในชุมชนมีสุขภาพด้านจิตใจ อารมณ์ เพื่อให้คนในชุมชนสุขภาพที่ดีขึ้น 3. ลดอุบัติเหตุที่เกิดจากการเมา ในเทศกาลต่างๆ 4. เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกในการไม่นำอบายมุขต่างๆ เข้ามาในประเพณี 5. คนในชุมชนความรักความสามัคคีต่อกัน

 

 

  • มีการนำกติกาเดิมมาพูดคุยและปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมกับบริบทพื้นที่
  • มีการจัดโซนปลอดอบายมุข แอลกอฮอล์ ในพื้นที่สาธารณะ เช่น ศาลาชุมชน และบริเวณสนามเด็กเล่นในชุมชน
  • กิจกรรมประเพณี เด็กและเยาวชนและผู้สูงอายุ ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากยิ่งขึ้น
  • สมาชิกในชุมชนในสุขภาพดีขึ้น หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยการลดปริมาณการสูบบุหรี่
3 เพื่อติดตามและสนับสนุนโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. สามารถจัดทำรายงานกิจกรรม รายงานความก้าวหน้า รายงานการเงินได้อย่างถูกต้อง และสมบูรณ์ 2. ทีมงานมีทักษะความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น 3. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมติดตามจาก สสส. สจสร.มอ. และพี่เลี้ยง ทุกครั้ง

 

 

  • เกิดทักษะในการวางแผนกลุ่ม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มากยิ่งขึ้น ในระหว่างจัดกิจกรรม และการวางแผนนัดหมาย
  • ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม จาก สสส. สจรส.มอ และพี่เลี้ยง ทุกครั้ง เช่น อบรมการเขียนรายงาน การร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่างๆ