directions_run

พื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัยชุมชนหัวแหลมพัฒนา

assignment
บันทึกกิจกรรม
ถอดบทเรียน "ของดีของชุมชนสู่การพัฒนา"28 มิถุนายน 2558
28
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • สรุปกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ได้ทำร่วมกัน - สรุปบทเรียนที่ได้จากการทำกิจกรรม- สรุปสิ่งดีๆ ข้อค้นพบเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ผู้เข้าร่วมแนะนำตัว
  2. กิจกรรมมันดารา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ทำการใช้สมาธิ การภาวนาอยู่กับสิ่งที่ตนเองทำอยู่ โดยการระบายสีลงในกระดาษที่มีรูปภาพมันดารา
  3. การถอดบทเรียน และทบทวนกิจกรรมที่เคยทำมา และสิ่งที่อยากจะทำต่อไปในอนาคต
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เป้าหมายของโครงการ กิจกรรมที่ทำผ่านมา

  • เก็บข้อมูลชุมชน
  • ทำผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจาน
  • เรีรยนรู้การทำสมุนไพรลูกประคบ
  • เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ
  • จัดนิทรรศการ และ จัดรายการวิทยุ
  • เก็บขยะภายในชุมชน
  • ร่วมงานเทศกาลสำคัญในชุมชน เช่น ปีใหม่ สงกรานต์
  • อบรม อสม. น้อย
  • การประชุมประจำเดือน
  • การทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางศาสนา
  • การทำน้ำหมักชีวภาพ

กระบวนการทำกิจกรรม

  1. การประชุมวางแผนการทำงาน
  2. การปฏิบัติการ
  3. สรุปแลบันทึกกิจกรรม
  4. การสื่อสารต่อสารธารณะ

ผู้สนับสนุน

  1. กลุ่มผู้สูงอายุ
  2. กลุ่ม อสม. ในชุมชน
  3. กลุ่มสมุนไพรวัยทีน
  4. กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์
  5. สมาชิกในชุมชนที่ให้การสนับสนุนการทำงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ เยาวชน

  1. ได้ความสนุกสนาน
  2. มีความรณู้ในการเตรียมตัวการทำพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การเตรียมชุดตักบาตร  การเตรียมสิ่งของสำหรับการถวายสังฆทาน
  3. ได้เห็นตัวอย่างที่ดีจากผู้ใหญ่ในชุมชน  และนำมาปฏิบัติตาม เช่น การทำบุญตักบาตร
  4. พฤติกรรมของตนเองที่เปลี่ยนไป เช่น การกล้าแสดงออก การไม่ทิ้งขยะเรี่ยราด การพูดกับผู้ใหญ่ การกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น
  5. ความกล้าแสดงออก นำสิ่งดี ๆ ที่ได้เรียนรู้มาบอกต่อให้กับเพื่อน ๆ หรือคนในชุมชน
  6. ได้รับความรู้ เช่น การคัดแยกขยะ การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำยาล้างจาน การทำลูกประคบ
  7. รู้สึกภูมิใจที่สามารถทำผลิตภัณฑ์ไว้ใช้เองในครัวเรือน และสามารถแบ่งให้กับเพื่อนบ้าน และผู้สูงอายุในชุมชนได้

เกิดอะไรขึ้นในชุมชน

  1. เกิดการเรียนรู้ร่วมกันภายในชุมชน เด็กได้มีการพูดคุยกับผู้ใหญ่มากขึ้น จากการที่ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลประวัติชุมชน
  2. สมาชิกในชุมนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น วันสงกรานต์ วันปีใหม่ หรือการทำกิจกรรมเล็ก ๆ เช่น การทำน้ำหมัก การทำน้ำยาล้างจาน
  3. ทุกคนในชุมชนได้ร่วมกันสิบสานประเพณีวัฒนธรรมที่มีในชุมชน เช่น การทำบุญในวันพระใหญ่ การรดน้ำผู้สูงอายุในวันสงกรานต์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. เยาวชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม
  2. เยาวชนได้คิดต่อยอดในการทำกิจกรรมในชุมชนต่อไป ถึงสิ่งที่ตนเองสนใจ

สิ่งที่เยาวชนอยากทำต่อในอนาคต

  • สิ่งที่เยาวชนอยากทำต่อได้พูดคุยภายใต้ความสนใจของเยาวชนที่ชอบในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสนอให้แก่ที่ประชุมและเลือกกิจกรรมที่สนใจมาทำต่อในอนาคต คือ การเรียนรู้เรื่องการทำสิ่งประดิษฐ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • เยาวชน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เยาวชนโดยส่วนใหญ่ต้องไปโรงเรียนเนื่องจากมีกีฬา ทำให้มีเพียงความคิดเห็นที่เกิดขึ้นเป็นของเด็กจำนวนหนึ่ง
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

...

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
สานสัมพันธ์คนสองวัย27 มิถุนายน 2558
27
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างเยาวชนและผู้สูงวัย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. การประชุมวางแผนก่อนการปฏิบัติ เพื่อเลือกสิ่งที่เยาวชนและผู้ใหญ่สนใจ
  2. เชิญ น.ส.อรอุมา  ชูแสง มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการปลูกต้นไม้ และการดูแลรักษาและเชื่อมกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. การประชุมวางแผนก่อนการปฏิบัติ เพื่อเลือกสิ่งที่เยาวชนและผู้ใหญ่สนใจ ซึ่งในการปลูกต้นไม้ครั้งนี้นั้นได้เชิญ น.ส.อรอุมา  ชูแสง เพื่อมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการปลูกต้นไม้ และการดูแลรักษาและเชื่อมกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ
  2. วิธีการทำ
  • คัดเลือกเมล็ดพันธ์ผัก โดยการเลือกพันธุ์ผักที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในชุมชน เช่น มะละกอ พริก ผักกาดขาว ผักบุ้ง เป็นต้น
  • การเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูก เนื่องจากในชุมชนนั้นจะมีน้ำท่วมขังในทุก ๆ ปี จึงได้ทำการปลูกต้นไ้ในกระถางเพื่อให้ง่ายต่อการขนย้าย
  • เตรียมดินสำหรับการปลูก โดยก้นกระถางนั้นจะต้องใส่เศษไม้แห้งเพื่อรองไม่ให้ดินออกตามรูของกระถาง
  • ใส่ดินลงในกระถาง หรือยางรถยนต์พอประมาณ
  • นำต้นอ่อน หรือ เมล็ดพันธุ์ ใส่ลงในกระถาง หรือ ยางรถยนต์
  • นำดินมากลบ รดน้ำพอชุ่ม

การดูแลรักษา

  • เยาวชนทุกคนต้องดูแลต้นไม้ของตนเองเป็นอย่างดี โดยการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอเช้าเย็น
  • การให้ความรักความใส่ใจต่อต้นไม้ของตนเอง

ผลการปฏิบัติการ

  • มีการนำวัสดุที่ไม่ใช้นำกลับมาใช้อีกครั้ง เช่น ขวดน้ำพลาสติก ล้อยางรถยนต์
  • มีการทำกระถางต้นไม้ จากขวดน้ำพลาสติก
  • มีการประยุกต์การปลูกต้นไม้กับกระถางสีดำทั่วไปกับกระถางขวดพลาสติก
  • มีคำมั่นสัญญาในการมั่นดูแลใสใจ กับต้นไม้ที่ตนเองปลูกขึ้นมา
  • น้องๆ เยาวชน ได้นำต้นไม้ไปดูแลต่อที่บ้านของตนเองและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเดือนถัดไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ปกครองในชุมชน (พ่อ/แม่/ป้า)
  • เด็กและเยาวชนที่สนใจ
  • ผู้สูงอายุ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เวลาในการนัดหมาย เนื่องจากเด็กๆ จะตรงกับวันเรียนพิเศษ และกิจกรรมต่างๆ เป็นส่วนมาก
  • การแก้ไขโดยฝึกสอนน้องๆ ที่ว่างจากการเรียน การทำงาน และให้น้องๆ นำไปต่อยอดและบอกเล่าให้กับเพื่อนๆ ที่สนใจแต่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
พี่ชวนน้องเรียนรู้ภูมิปัญญา ครั้งที่ 626 มิถุนายน 2558
26
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเรียนรู้และสืบสานภูมิปัญญาที่มีในชุมชนจากครูภูมิปัญญา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. การวางแผนการทำกิจกรรม ซึ่งครั้งนี้ได้เลือกทำกิจกรรมของการทำอาหาร
  2. สอนการเลือกซื้อวัตถุดิบ
  3. สาธิตการทำอาหาร (แกงเขียวหวาน)
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วิทยากรสอนวิธีการทำอาหาร ดังนี้

ขั้นตอนวิธีการทำ

  • การเลือกซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพ หรือวัตถุดิบบางอย่างนั้นถ้าเราสามารถหาได้จากในชุมชนก็หาในชุมชน
  • การทำความสะอาด ในบางครั้งนั้นเนื้อที่เราซื้อมานั้นเราไม่สามารถมั่นใจได้ว่าอาหารชนิดนนี้ปลอดถัย ดังนั้นการทำความสะอาดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราได้รับสารเคมีน้อยลง
  • การปฏิบัตินั้น ในการปรุงรสของอาหารที่ทำนั้นเราควรคำนึงสุขภาพของตนเองและผู้อื่นที่เราทำอาหารให้รับประทาน โดยการปรุงรสที่ไม่เค็มจัด หวานจัด หรือเผ็ดจัดที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทุกคน

ผลจากการลงมือปฏิบัติการ

  1. เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้การทำอาหาร
  2. เกิดความใกล้ชิดสนิทสนมของเด็กและผู้ใหญ่ เพราะ ผู้ใหญ่จะทำหน้าที่สอนทำอาหารและมีเยาวชนเป็นผู้ช่วยหยิบจับภายในคราว
  3. การร่วมรับประทานอาหารที่เด็กและผู้สูงอายุทำร่วมกันนั้นทำให้เห็นถึงการสร้างความผูกพันธ์ที่ดี
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้สูงอายุในชุมชน
  • เด็กและเยาวชนในชุมชน
  • สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ24 มิถุนายน 2558
24
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำรายงานโครงการให้สมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำรายงานสรุปกิจกรรม สรุปรายงานการเงิน งวด 2 และบันทึกข้อมูลลงเว็บไซด์
  • ตรวจสอบ ปรับแก้เอกสารการเงินโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นำข้อมูลที่ได้จากการทำโครงการในช่วงที่ผ่านมา บันทึกลงในรายงานเว็บไซด์ และรวบรวมรายงานการเงิน
  • บันทึกปฏิทินโครงการเพิ่มเติมให้มีความสมบูรณ์
  • จัดทำเอกสารการเงิน ปรับแก้เอกสารการเงินให้ถูกต้องตามคำแนะนำ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย
  • น.ส.ชยาพร สะบู่ม่วง ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • น.ส.ธัญวรัตน์  ฐิตะโชติการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ความไม่พร้อมในการทำกิจกรรมร่วมกัน
  • การนำเอกสารที่จำเป็นมาไม่ครบ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

...

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

...

ชวนลูกหลานเยี่ยมบ้านตายาย ครั้งที่ 51 มิถุนายน 2558
1
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนสองวัย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. การวางแผนก่อนการลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุ ว่าจะลงไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่อยู่แถวไหน หรือผู้สูงอายุที่ช่วงนี้มีอาการไม่สบาย
  2. การปฏิบัติ
  • สอบถามพูดคุยเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุในช่วงนี้ ถึงสุขภาพที่แย่ลงหรือดีขึ้น เพื่อเป็นการสร้างกำลังใจให้กับผู้สูงอายุทีมีอาการเจ็บปวนในขณะนี้
  • การตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุเบื้องต้น เช่น วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก คำนวณดัชนีมวลกาย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เด็กและเยาวชนและผู้สูงอายุ ได้มีการพูดคุยมากขึ้น และฝึกฝนให้เด็กได้รู้วิธีการตรวจสุขภาพและดูแลสุขภาพ เพื่อนำไปดูแลบุคคลภายในครอบครัวตนเองได้ดียิ่งขึ้น
  • เป็นฝึกทักษะการใช้เครื่องมือในการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนักให้ผู้สูงอายุ และการคำนวณดัชนีมวลการยให้ผู้สูงอายุ ซึ่งพบว่า ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีความสุขที่ลูกหลานลงไปเยี่ยม โดยมีการเยี่ยมผู้สูงจำนวน 4 คน
  1. นางม้วย แซ่ลิ้ม
  2. นายจอย แป้นเพชร
  3. นายวิน  (ชาวมอญ)
  4. นางสำอางค์  สังสุวรรณ
  • เกิดการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอาการเจ็บป่วย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนในชุมชน
  • สภาเด็กแลเยาวชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • โดยผู้สูงอายุ มีภาระกิจมากมายทำให้การเยี่ยมบ้านค่อนข้างน้อย กับเวลาที่จำกัด
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ชวนลูกหลานสืบสานภูมิปัญญาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ครั้งที่ 3 (ทำไอศครีมน้ำกระเจี๊ยบ)31 พฤษภาคม 2558
31
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เยาวชนได้สืบสานเรียนรู้ ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญา จากรุ่นสู่รุ่น - เพื่อการต่อยอดภูมิปัญญาสู่การสร้างอาชีพ สร้างรายได้
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นำเยาวชนและผู้สูงวัยร่วมกิจกรรมเรียนรู้ สืบสานภูมิปัญญาที่สามารถนำมาต่อยอดสร้างเป็นอาชีพเสริม  โดยในครั้งนี้เรียนรู้การทำน้ำกระเจี๊ยบ

วิธีการเตรียมน้ำกระเจี๊ยบ

  • นำกระเจี๊ยบแห้งไปล้างให้สะอาด
  • นำมาต้นในน้ำสะอาดจนเดือด เติมเกลือ และน้ำตาล ในปริมาณที่ไม่หวานจนเกินไปเพื่อสุขภาวะที่ดี  หลีกเลี่ยงการทานรสหวานของเด็ก ๆ ในชุมชน
  • ต้มจนได้รสชาติที่ต้องการ ยกลงจากเตา

วิธีการทำไอศรีม

  1. นำน้ำแข็งใส่ในกะละมังพลาสติก ใส่เกลือลงไปเล็กน้อย
  2. นำถ้วยแสตนเลสวางในกะละมังที่มีน้ำแข็ง
  3. ใส่น้ำกระเจี๊ยบ 1 ทัพพี ลงในถ้วนสแตนเลส
  4. เขย่าถ้วยสแตนเลสเพื่อกระจายน้ำกระเจี๊ยบให้ทั่ว
  5. น้ำกระเจี๊ยบจะเริ่มแข็งตัว
  6. นำช้อนมาบอดน้ำกระเจี๊ยบที่เริ่มแข็งตัว พร้อมทั้งสลับกับการหมุนถ้วยไปมาในกะละมัง
  7. ใส่ภาชนะสามารถรับประทานได้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สิ่งที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้

  1. การแบ่งหน้าที่ในการทำงานร่วมกัน
  2. การรู้จักการทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยรู้ถึงสรรพคุณของผักผลไม้ที่รับประทาน ปริมาณการทานอาหารที่อยู่ในความต้องการของร่างกาย

สรรพคุณของน้ำกระเจี๊ยบ

  • กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลือที่ผล ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และในการช่วยลดน้ำหนัก โดยมีการทดลองกับกระต่ายที่มีไขมันสูง แล้วพบว่าระดับไครกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว (LDL) ลดลง และมีปริมาณของไขมันชนิดดี (HDL) เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความรุนแรงของการอุดตันหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจก็น้อยลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดงอีกด้วย (ผล,เมล็ด,น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  • สรรพคุณของดอกกระเจี๊ยบแดง ช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด (ดอก)
  • เมล็ด ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง (เมล็ด,น้ำกระเจี๊ยบแดง,ยอดและใบ)
  • ช่วยลดความดันโลหิต โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด โดยมีรายงานการวิจัยทางคลินิกพบว่าในวันที่ 12 หลังผู้ป่วยได้รับชาชงกระเจี๊ยบแดงทุกวัน ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัวลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลำดับเมื่อเทียบกับวันแรก และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชงความความดันโลหิตทั้งสองค่าก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  • สรรพคุณกระเจี๊ยบแดง เมล็ดช่วยบำรุงโลหิต (เมล็ด)
  • น้ำกระเจี๊ยบช่วยทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  • สรรพคุณของดอกกระเจี๊ยบแดง ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  • ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นของกระเจี๊ยบแดงนำมาต้มกินเพื่อเป็นยารักษาโรคหัวใจและโรคประสาท (ทั้งต้น)
  • ช่วยแก้อาการคอแห้ง กระหายน้ำ (น้ำกระเจี๊ยบแดง,ผล)
  • น้ำกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยแก้อาการร้อนใน (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันหวัด เนื่องจากกระเจี๊ยบแดงมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารสีแดงในกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้อย่างบลูเบอร์รี่ แต่กระเจี๊ยบแดงจะมีสารชนิดนี้มากกว่าบลูเบอร์รี่ถึง 50%
  • กระเจี๊ยบแดง สรรพคุณช่วยลดไข้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  • ดอกกระเจี๊ยบแดง สรรพคุณช่วยแก้อาการไอ (น้ำกระเจี๊ยบแดง,ใบ)
  • ใบ ใช้เป็นยากัดเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก (ใบ,ดอก)
  • ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีในปริมาณที่สูงอยู่พอสมควร (น้ำกระเจี๊ยบ)
  • ช่วยในการย่อยอาหาร ใช้เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น (น้ำกระเจี๊ยบ,เมล็ด,ยอดและใบ)
  • ในอียิปต์ มีการใช้ทั้งต้นนำมาต้นกินเป็นยาลดน้ำหนักเนื่องจากเป็นยาระบาย และยังช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ได้อีกด้วย (ทั้งต้น)
    • ช่วยรักษาโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วดื่มน้ำตามวันละ 3-4 ครั้ง (ผล)
    • ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (ผล)
    • ใบกระเจี๊ยบแดง สรรพคุณช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด หรือจะใช้ผลอ่อนนำต้มรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน หรือจะใช้ร่วมกับผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ หรือจะใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟจนงวดให้เหลือ 1 ส่วน แล้วผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง ใช้รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่าๆ ก็ได้จนจนหมดน้ำยา (ใบ,ผล,ทั้งต้น)
  • น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันได้อีกทางหนึ่ง โดยมีรายงานวิจัยทางคลินิกว่า เมื่อให้ผู้ป่วยดื่มผงกระเจี๊ยบขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน พบว่าได้ผลดีในการขับปัสสาวะ (น้ำกระเจี๊ยบแดง,เมล็ด,ยอดและใบ)
  • ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีอาการปวดแสบ โดยใช้กระเจี๊ยบแห้งบดเป็นผงประมาณ 3 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ใช้ดื่มวันละ 3 ครั้ง ประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหาย ซึ่งจากรายงานการวิจับพบว่าผู้ป่วยที่ดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าผู้ป่วยกว่า 80% มีปัสสาวะที่ใสขึ้นกว่าเดิม และยังพบว่าปัสสาวะมีความกรดมากขึ้น จึงช่วยในการฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง,เมล็ด)
  • ช่วยแก้อาการขัดเบา โดยใช้กลีบเลี้ยงของผลหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง นำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง นำมาใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (ประมาณ 3 กรัม) ใช้ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) แล้วนำมาเฉพาะน้ำสีแดงใส วันละ 3 ครั้ง ดื่มติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายไป (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  • ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  • ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ และช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลาย (น้ำกระเจี๊ยบแดง,เมล็ด)
  • สรรพคุณดอกกระเจี๊ยบแดง ช่วยรักษาไตพิการ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  • กระเจี๊ยบแดง สรรพคุณทางยาเมล็ดช่วยแก้ดีพิการ (เมล็ด)
  • กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ต้านการเกิดพิษต่อตับ และช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายจากสารพิษ โดยมีงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าสารสกัดด้วยน้ำ (Anthocyanins) และสาร Protocatechuic Acid ของกระเจี๊ยบแดง สามารถช่วยลดความเป็นพิษต่อตับจากสารพิษได้หลายชนิด (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  • ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระเจี๊ยบแดง ช่วยลดอาการบวม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อราอะฟลาท็อกซิน ไวรัสเริม ยับยั้งเนื้องอก ช่วยขับกรดยูริก คล้ายกล้ามเนื้อเรียบ และลดความเจ็บปวด
  • สารสกัดจากลีบดอกของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสตรีวัยทองไม่มากก็น้อย (กลีบดอก)
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยสารแอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งออกซิเดชั่นของไขมันเลส และยับยั้งกายตายของมาโครฟาจ โดยมีสาร Dp3-Sam ซึ่งเป็นแอนโทไซยานินชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในห้องทดลองได้ จึงมีผลในการช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและอาจช่วยชะลอการลุกลามของมะเร็งบางชนิดได้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)

3.การทำกิจกรรมทำให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่มเยาวชนด้วยกันเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนในชุมชน
  • สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

...

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

....

ประชุมคณะทำงานเดือนพฤษภาคม30 พฤษภาคม 2558
30
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้า การดำเนินงานโครงการ- เพื่อวางแผนการทำงานระยะต่อไปอย่างต่อเนื่อง- เพื่อรวบรวม วิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แลกเปลี่ยนการทำงานช่วงที่ผ่านมาในเดือนพฤษภาคม
  • พูดคุยเรื่องการทำงานและกิจกรรม ของเด็ก ๆ ว่าช่วงนี้gป็นอย่างไร
  • วางแผนการทำงานกิจกรรมต่อไปในเดือนหน้า
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วางแผนเรื่องการทำไอศครีมในช่วงวันเสาร์ หรือ อาทิตย์ตามความเหมาะสม
  • เด็กๆ ได้แลกเปลี่ยนกันเรื่องการเรียน และปรึกษาพี่ๆ เรื่องโรงเรียน
  • เด็กๆ ได้ร่วมถอดบทเรียนการทำกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมา และสามารถชักชวนเด็กๆ มาใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

....

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

....

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

.....

การประชุมเพื่อปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้แนวคิดและหลักการทำโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ปี 255814 พฤษภาคม 2558
14
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่- เพื่อนำเสนอภาพรวมจากการทำกิจกรรมโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัย ชุมชนหัวแหลมพัฒนา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นำเสนอ โดยผ่าน เว็บไซด์ คนใต้สร้างสุข ในการหาข้อมูลและนำไปเผยแพร่ภาพกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมาให้ผู้เข้าร่วมที่จะขอรับทุนในการทำกิจกรรมได้เข้าใจรายระเอียดในการดำเนินโครงการ เป็นรูปแบบแผนต่างๆ และได้นำเสนอกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนในชุมชนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้และสามารถนำไปต่อยอดจากทุนเดิมที่ชุมชนตนเองมีอยู่ ต่อไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการนำเสนอ ได้ผลสรุปภาพรวม ในการพัฒนาแหล่งอาหารและความมั่นคงทางอาหารและความเป็นอยู่ของพี่น้อง ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้ร่วมกันพูดคุยในการนำสิ่งดีๆ ในชุมชนมายกระดับให้เกิดผลิตภัณฑ์และผลิตผลที่ดี ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและการเป็นอยู่ของทุกคน ในทุกชุมชน ตำบล หมู่บ้าน และได้ร่วมกันนำเสนอสิ่งดีๆในชุมชนซึ่งนำไปสู่การต่อยอดในการพัฒนาศักยภาพให้คนในท้องถิ่นและชุมชนตนเองให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น โดยใช้ฐานทรัพยากรของชุมชนตนเองในแต่ละชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • นางสาวชยาพร  สะบู่ม่วง ผู้รับผิดชอบโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พี่ชวนน้องเรียนรู้ภูมิปัญญา ครั้งที่ 5 (ทำน้ำยาล้างจานจากน้ำหมัก)1 พฤษภาคม 2558
1
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิต การสร้างเสริมสุขภาวะให้กับเยาวชน- เพื่อเรียนรู้และสืบสานภูมิปัญญาที่มีในชุมชนจากครูภูมิปัญญา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อสาธิตการทำน้ำยาเอนกประสงค์ โดยมีวัสดุอุปกรณ์ คือ

  • N70 จำนวน 1 กิโลกรัม
  • น้ำหมัก
  • ภาชนะสำหรับคนน้ำยาอเนกประสงค์
  • ไม้พาย
  • ขวดพลาสติกสำหรับใส่น้ำยาอเนกประสงค์

ขั้นตอนการทำน้ำยาอเนกประสงค์

  • นำน้ำหมักที่ได้เตรียมไว้มาใส่ในภาชนะชนะที่เตรียมไว้
  • นำ N70 ผสมลงไปในภาชนะที่มีน้ำหมัก
  • คนให้เข้ากัน จนเริ่มเกิดฟอง
  • บรรจุขวดเพื่อความสะดวกในการใช้งาน

***ในการทำน้ำยาอเนกประสงค์นั้นใช้ N70 จำนวน 1 กิโลกรัมต่อน้ำหมัก จำนวน 10 ลิตร  ซึ่งน้ำหมักอเนกประสงค์นั้นสามารถนำไปใช้ล้างจาน ซักผ้า ล้างห้องน้ำเพื่อดับกลื่นได้ตามความต้องการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้

  • เด็ก ๆ เกิดการเรียนรู้ระหว่างการทำ  ซึ่งเด็ก ๆ จะต้องประเมินปริมาณของน้ำหมักเพื่อให้เพียงพอกับปริมาณของ N70
  • เด็กและผู้สูงอายุสนุกที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยผู้ใหญ่เป็นคนช่วยเติมส่วนผสม  ส่วนเด็ก ๆ ที่มีกำลังจะทำหน้าที่คน เมื่อเหนื่อยก็เปลี่ยนให้เพื่อนมาช่วย
  • ระหว่างทำกิจกรรม มีการพูดคุย เรื่องของช่วงวัยต่างๆ เรื่องเล่าในสมัยอดีตการทำอาชีพ ความเป็นอยู่ภายในอดีตจากกลุ่มผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ในการเล่าเรื่องเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆในกลุ่ม อย่างสนุกสนาน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้สูงอายุในชุมชน
  • เยาวชนในชุมชน เยาวชนภายนอกที่สนใจ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การกวนของ N70 ให้แตกตัว ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการกวนหลายนาที ติดต่อกัน และเนื่องจากให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้วิธีการทำน้ำยาล้างจานอย่างทั่งถึงและทุกคน ทำให้ต้องมีการสลับกันกวน จึงไม่ต่อเนื่องและไปในทางเดียวกัน ทำให้น้ำยา N70  ไม่แตกตัวละเอียด และเมื่อเราใส่น้ำหมักชีวภาพลงไปทำให้น้ำยาล้างจานยังเกิดก้อน  เนื่องจากเป็นการกวนครั้งแรกของกลุ่มเด็กๆ ทำให้น้ำยาล้างจานข้นจนเกินไป
  • แนวทางการแก้ไข เมื่อบรรจุลงภาชนะ (ขวดพลาสติกที่เด็กๆ ได้เก็บไว้) โดยมีวิธีการแก้ไขไม่ให้น้ำยาล้างจานเข้มข้นจนเกินไป โดยเมื่อจะนำมาใช้งานให้ผสมน้ำเปล่าอีกครึ่งหนึ่งของส่วนน้ำยาที่ใส่ไป ทำให้เราล้างภาชนะ หรือ ใช้ได้มากยิ่งขึ้น
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

...

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

....

เวทีกำหนดกติกาของชุมชน30 เมษายน 2558
30
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อกำหนดกติกาของชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะของตนเองและชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • คณะทำงานชี้แจงเรื่องการทำกติกาชุมชน
  • ร่วมกันกำหนดกติกาชุมชนเพิ่มเติม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานชี้แจงเรื่องการทำกติกาชุมชน ซึ่งมีการตั้งกติกาเดิมไว้แล้ว ดังนี้

  • อยู่กันด้วยความรักและความสามัคคี
  • ร่วมกันทำกติกาในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  • รักษาบ้านในชุมชนให้สะอาด
  • เข้าร่วมประชุมเมื่อมีการประชุม
  • สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์มีการฝากเงินออมทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน
  • วันสำคัญและงานประเพณีของวชุมชนควรร่วมกันทำกิจกรรมทุกครั้ง

กติกาของการเป็นสมาชิกบ้านมั่นคงชุมชนหัวแหลมพัฒนา

  • เป็นสมาชิกสหกรณ์
  • ต้องเพิ่มหุ้นปีละ 100 บาทต่อคน และลงหุ้นเดือนละ 50 บาทต่อคน
  • ฝากเงินออมทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 200 บาทต่อคน
  • ชำระค่าบริหารจัดการดือนละ 30 บาทต่อคน
  • ชำระกองทุนสวัสดิการวันละบาทปีละ 365 บาท
  • ชำระกองทุนรักษาดินรักษาบ้านปีละ 200 บาท และค่าธรรมเนียม 20 บาท เดือนมิถุนายนของทุกปี
  • ห้ามทำกำแพงและรั้วบ้าน
  • ส่งชำระเงินสินเชื่อดินและสินเชื่อบ้านทุกวันที่ 10 -15 ของทุกเดือน

นอกจากนี้ยังมีการกำหนดกติการเพิ่มเติม ได้แก่

-

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานกลุ่มเยาวชนและคณะกรรมการชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ประชุมคณะทำงาน เดือนเมษายน30 เมษายน 2558
30
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้า การดำเนินงานโครงการ
  • เพื่อวางแผนการทำงานระยะต่อไปอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อรวบรวม วิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • สรุปผล และสอบถามการทำกิจกรรมที่ดำเนินการ ที่ผ่านมา สิ่งที่ได้เรียนรู้ ปัญหา อุปสรรคต่างๆ และการแก้ไขปัญหา
  • วางแผนการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เรียนรู้กิจกรรมที่ผ่านมาในช่วงปิดภาคเรียน ได้แก่ กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ การตรวจสุขภาพเบื้องต้น ปัญหาอุปสรรคในการตรวจ และจะทำการต่อยอดกิจกรรมต่อไป ซึ่งกิจกรรมที่จะต่อยอด ได้แก่ การทำน้ำยาล้างจานจากผักผลไม้ ในรูปแบบกิจกรรมให้เด็กและผู้สูงอายุได้เรียนรู้และสานสัมพันธ์ร่วมกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนในชุมชน
  • ผู้สูงอายุในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เวลาในการรวมกลุ่มกันอาจจะไม่ตรงกัน เนื่องจาก ผู้ใหญ่ หรือ ผู้สูงอายุได้มีภารกิจอาชีพที่จะต้องทำ ส่วนเด็กและเยาวชนได้มีการทำงานให้ช่วงปิดภาคเรียนเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครองในช่วงเปิดภาคเรียน ทำให้เวลาน้อย และอาจจะไม่ตรงกัน โดยแนวทางการแก้ไข คือ การนัดและชี้แจงล่วงหน้า และแบ่งภาระหน้าที่สำหรับแต่ละช่วงเวลาที่ทุกคนว่างจากภารกิจทั้งหมด 
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ชวนลูกหลานสืบสานภูมิปัญญาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ครั้งที่ 2 (ทำน้ำหมัก EM)19 เมษายน 2558
19
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อการต่อยอดภูมิปัญญาสู่การสร้างอาชีพและรายได้ 
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เยาวชนร่วมเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพจากผู้ใหญ่ในชุมชมที่เป็นแกนนำกลุ่มผู้สูงอายุ ได้เป็นผู้ฝึกสอนวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนได้
    กระบวนการขั้นตอนมีดังนี้
      1.  วางแผนการแบ่งหน้าที่ในการเตรียมวัสดุทำปุ๋ยหมัก
      2.  น้ำผลไม้ ผัก ที่มีอยู่ตามบ้านมารวมกัน แล้วคัดแยกเอาเศษที่ไม่ใช้ออก
      3.  น้ำผลไม้และผัก หั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อทำให้ย่อยสลายง่ายมากขึ้น
      4.  นำปุ๋ย EM 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำเปล่า 5 ลิตร มาผสมรวมกัน
      5.  ใช้ไม้พาย กวนให้เข้ากัน จากนั้นปิดฝาถัง แล้วรอ ประมาณ 2 สัปดาห์
      6.  เมื่อได้ปุ๋ยน้ำหมักครบ 2 สัปดาห์ ให้นำแบ่งมาโดยน้ำหมัก 1 ลิตร ผสมกับ น้ำยา เอ็ม 70
    และจะได้ปุ๋ยน้ำหมักที่ใช้เป็นน้ำยาล้างเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น จาน ช้อน ห้องน้ำ หรือ สามารถเช็ดสิ่งสกปรกให้หมดไป โดยวิธีธรรมชาติและไม่มีสารเคมี
      7. สรุปผลที่ทำกิจกรรมที่เกิดขึ้นในกลุ่ม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

น้ำจุลินทรีย์

  น้ำจุลินทรีย์  มีลักษณะเป็นของเหลว  สีน้ำตาลดำ  มีกลิ่นอมเปรี้ยวอมหวาน ค่า พีเอช อยู่ที่ประมาณ 3.5  ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจำนวนมากกว่า 80 ชนิด จึงไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี หรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้      อีเอ็ม ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต  เช่น  คน  สัตว์  พืช  และแมลงที่เป็นประโยชน์    แต่ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม  ถ้านำไปใช้ในการล้างตลาด จะช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น  ลดจำนวนสัตว์และแมลงพาหะนำโรค  ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก  อีเอ็ม จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้น การล้างตลาด ควรกระทำในช่วงเวลาเย็น เพื่อให้การกำจัดสิ่งสกปรกทั้งหลายเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ

  ลักษณะเฉพาะของ อีเอ็ม คือ  เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ ดังนั้น เวลาจะใช้ อีเอ็ม ต้องคิดอยู่เสมอว่า อีเอ็ม เป็นสิ่งมีชีวิต ต้องการที่อยู่ที่เหมาะสมในอุณหภูมิปกติ  ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต  เราจึงสามารถขยายหรือผลิต อีเอ็ม  ได้เองจากพืชผักผลไม้และผลผลิตจากธรรมชาติ โดยนำไปหมักตามกรรมวิธีที่ถูกต้อง
การผลิต อีเอ็ม เพื่อใช้ในกิจกรรมตลาดสด หรือกิจกรรมอื่นใดก็ตาม ก่อนอื่นต้องผลิต  หัวเชื้อจุลินทรีย ในปริมาณตามที่ต้องการ  แล้วจึงนำหัวเชื้อที่ได้ไปขยายเป็น  อีเอ็ม อีกทีหนึ่ง

  • วัสดุและอุปกรณ์ในการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพในถังขนาด 60 ลิตร
  1. ผลไม้สุก 12  กิโลกรัม เช่น ฟักทอง(เอาทั้งเมล็ด), กล้วยน้ำว้า, มะละกอ, สับปะรด(เอาทั้งเปลือก) ให้ทำการสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามภาพ
  2. น้ำตาลธรรมชาติ เช่น น้ำตาลอ้อย, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลโตนดที่ไม่ผ่านการฟอกสีหรือเจือปนด้วยน้ำยากันเสีย หรือใช้กากน้ำตาล  จำนวน 4 กิโลกรัม
  3. น้ำสะอาด 40 ลิตร ควรเป็นน้ำฝน หากจำเป็นต้องใช้น้ำประปาก็ควรใส่ตุ่มตากแดดเพื่อไล่คลอรีนให้หมดก่อน
  4. ภาชนะหมัก ควรเป็นภาชนะชนิดทึบแสงและมีฝาปิดสนิท ก่อนใช้ควรล้างให้สะอาดและถ้าตากแดดก่อนใช้ก็ยิ่งดี ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะเนื่องจากเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะถูกกัดจนทะลุได้
  5. ไม้พาย ควรเตรียมไว้ โดยล้างให้สะอาดพร้อมตากแดดก่อนใช้
  • วิธีทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ
  1. ใส่น้ำสะอาด 40 ลิตร ลงในถังหมักขนาด 60 ลิตร
  2. ใส่กากน้ำตาล  จำนวน 4 กิโลกรัม ลงในถังหมัก แล้วใช้ไม้พายกวนให้เข้ากัน
  3. ใส่ผลไม้สุก 12  กิโลกรัม ลงในถังหมัก กวนให้พอเข้ากัน (หลักการผสมคือ ผลไม้สุก 3 กิโลกรัม : กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม : น้ำ 10 ลิตร)
  4. หลังจากใส่ส่วนผสมทั้งหมดแล้วควรมีพื้นที่ว่างเพื่อให้มีอากาศอยู่ประมาณ หนึ่งในห้า ของภาชนะ ทำการปิดฝาให้สนิท เขียนป้ายบอกวันที่ผลิต และถังหมักควรอยู่ในที่ร่ม
  5. เมื่อครบ 7 วันให้เปิดฝาถังหมักดู ถ้ามีราขาวเกิดขึ้น พร้อม ๆ กับมีกลิ่นส้มฉุน แสดงว่าการหมักของเราได้ผลดี  แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นบูด และน้ำเป็นสีดำ ให้ทำการเพิ่มน้ำตาลหรือกากน้ำตาลลงไปอีก แล้วปิดฝา (ถ้ามีหนอนเกิดขึ้น ก็ไม่เป็นไร เพราะอาจจะเกิดจากการปิดฝาไม่สนิท ต่อมาหนอนจะตายกลายเป็นอาหารพืชไปเอง)
  6. เมื่อครบกำหนด 3 เดือน ก็เป็นอันเสร็จ ให้กรองเอาเฉพาะน้ำใส ๆ ด้านบนหรือน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพไปใช้งาน โดยต้องผสมน้ำก่อน ตามอัตราส่วน ดังนี้
      - น้ำหมัก : น้ำ 1: 200 เมื่อนำไปใช้ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
      - น้ำหมัก : น้ำ 1: 200 เมื่อนำไปใช้ฉีดพ่นหน้ากรีดหรือหน้ายางเพื่อเพิ่มน้ำยาง(1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง)
      - น้ำหมัก : น้ำ 1: 500 เมื่อนำไปใช้กับจำพวกไม้ยืนต้น
      - น้ำหมัก : น้ำ 1:1000 เมื่อนำไปใช้กับจำพวกพืชผัก
      - น้ำหมัก : น้ำ 1:1 หรือใช้น้ำหมักอย่างเดียว(ให้ทดลองว่าแบบใดได้ผลดีกว่า) เพื่อฉีดพ่นกำจัดวัชพืช

  นอกจากนี้ เมื่อหมักครบ 3 เดือนแล้ว ก็สามารถนำไปขยายหัวเชื้อต่อ ได้อีก นำกากที่เหลือไปทำปุ๋ย โดยเทรอบ ๆ โคนต้นในรัศมีพุ่มใบต้นไม้ หรือปล่อยกากที่เหลือไว้ก้นถังหมักเพื่อขยายหัวเชื้อต่อ

มายเหตุ: ระหว่างการหมัก หรือก่อนครบ 3 เดือน ถ้าสังเกตุเห็นว่าถังบวม ให้รีบเปิดฝาเพื่อระบายอากาศออก แล้วรีบปิดฝาให้สนิททันทีเพื่อป้องกันเชื้ออื่นแทรกลงไป

  โดยกิจกรรมในครั้งนี้เด็ก ไ ดร่วมเรียนรู้การทำจากป้านา  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่อยู่ในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนในชุมชน 15 คน
  • ผู้สูงอายุ 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ชวนลูกหลานเยี่ยมบ้านตายาย ครั้งที่ 413 เมษายน 2558
13
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์

...

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. นัดพบเด็ก ๆ เพื่อจัดทำชุดของเยี่ยมผู้สูงอายุ  ซึ่งในชุดเยี่ยมประกอบด้วย นม และยาดม ยาหม่อง
  2. พบผู้สูงอายุ และมอบชุดของเยี่ยมให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน ที่ไม่ได้มาร่วมงานรดน้ำผู้สูงอายุ เนื่องจากอาการเจ็บป่วยเรื่อรัง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เด็ก ๆ ได้ร่วมกันจัดเตรียมุดเยี่ยมตายาย โดยหลักการเลือกของเพื่อเยี่ยมผู้สูงอายุนั้น ได้เลือกจากสิ่งที่ผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้ได้ เช่น นมเสริมแคลเซียม ยาหม่องแก้ปวดเมื่อย ยาดม
  2. วางแผนเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน
  3. เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุแลกเปลี่ยน พูดคุย และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุที่ไม่ได้ไปร่วมงานรดน้ำผู้สูงอายุของชุมชน ซึ่งผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกไปร่วมงานนั้นจะเป็นผู้สูงอายุที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ไม่สะดวกที่จะไปร่วมงาน เด็ก ๆ จึงได้ร่วมกับกลุ่มผู้สูงอายุมาร่วมรดนำให้แก่ผู้สูงอายุที่อยู่กับบ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เด็ก ๆ ในชุมชน
  • ผู้สูงอายุ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การลงเยี่ยมเฉพาะผู้สูงอายุ ไม่ได้เยี่ยมผู้ป่วยที่อยู่ภายในชุมชนด้วย
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

....

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

....

พี่ชวนน้องเรียนรู้ภูมิปัญญา ครั้งที่ 4 (รดน้ำผู้สูงอายุ)12 เมษายน 2558
12
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิตการเสริมสร้างสุขภาวะให้กับเยาวชน- เพื่อเรียนรู้และสืบสานภูมิปัญญาที่มีในชุมชนจากครูภูมิปัญญา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนการเตรียมข้าวสารอาหารแห้งสำหรับตักบาตร (คืนก่อนวันจัดกิจกรรม)
1. การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่จะบรรจุห่อ จะเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นของแห้ง ที่พระสงฆ์สามารถเก็บไว้ฉันได้ เช่น ขนมปังอบกรอบ นม น้ำผลไม้ กาแฟ  ข้าวสาร และข้าวของเครื่องใช้ที่มีความจำเป็นต่อพระสงฆ์ 2. ในการบรรจุห่อนั้นเด็ก ๆ ได้ช่วยกันบรรจุข้าวสาร และขนม เครื่องดื่มในห่อเพื่อให้สะดวกแก่การตักบาตร และสังฆทานนั้นก็มีพี่ ๆ เป็นผู้ช่วยในการห่อสังฑทาน

วันจัดกิจกรรม

  1. นายธีระกิจ  หวังมุฑิตากุล นายกเทศมนตรีเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ร่วมเป็นประธานในพิธี
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมทำบุญตักบาตรอาหารแห้ง ถวายปิ่นโต และสังฆทาน การจัดปิ่นโตนั้นก็ได้ทำอาหารที่มีรสชาติกลาง ๆ ไม่จัดจนเกินไป ไม่มัน โดยเด็ก ๆ ก็ได้หิ้วปิ่นโตมาจากบ้าน
  3. พระสงฆ์สวดทำบุญบังสกุลให้กับเจ้าที่เจ้าทางและบรรพบุรุษที่อยู่ภายในชุมชน  เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวชุมชนหัวแหลมพัฒนา
  4. มอบรางวัลแด่ผู้สูงอายุดีเด่นในชุมชน
  5. ทำพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และมอบของที่ระลึกให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งทางชุมชนเองก็ได้เตรียมน้ำอบไว้ให้กับชาวชุมชนหัวแหลมพัฒนา และทุกคนจะน้ำขันใบเล็ก ๆ เพื่อมาแบ่งน้ำไปใช้รดน้ำผู้สูงอายุ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เยาวชนและผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การร่วมกันตักบาตร การชวนพ่อแม่มารดน้ำให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน
  2. ทุกคนในชุมชนได้ร่วมสืบทอดประเพณีอันดีงามสืบต่อไป
  3. เยาวชนได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำบุญ การเตรียมอาหารสำหรับการถวายแด่พระสงฆ์
  4. เยาชนเกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และทำงานอย่างมีระบบร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่ในการเตรียมชุดตักบาตรอาหารแห้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เยาวชน
  • ผู้สูงอายุ

รวม 40 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

...

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

....

ประชุมประจำเดือนมีนาคม31 มีนาคม 2558
31
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์

....

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กล่าวทักทายสวัสดี
  2. เยาวชนแลกเปลี่ยนเรื่องราวในช่วงเดือนที่ผ่านมาถึงการทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องการเรียน เรื่องการทำกิจกรรม
  3. บอกเล่าเรื่องราวกิจกรรมที่จะทำกันในเดือนถัดไป โดยในเดือนถัดไปจะมีการทำกิจกรรมในช่วงของวันสงกรานต์ ที่จะมีการรดน้ำผู้สูงอายุนั้น ก็ได้นัดหมายกันเพื่อนเตรียมทำกิจกรรมต่อไป
  4. กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเด็ก ๆ คณะทำงาน อย่างการกระโดดยาง ซึ่งยังคงพบเห็นได้ภายในชุมชน ที่ทุกเย็นเด็ก ๆ จะชวนกันมาเล่นกระโดดยางที่ศาลาอเนกประสงค์ของชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมยามว่างให้เกิดประโยชน์
  2. ได้แลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบ ทำให้เกิดความสนืทสนมกันมากขึ้นในหมู่เยาวชน
  3. ได้ทำกิจกรรมดี ๆ ร่วมกัน ใครที่ไม่เคยเล่นกับเพื่อนก็มีโอกาสได้เล่นกับเพื่อน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เยาวชนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

....

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

....

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

....

ชวนลูกหลานเยี่ยมบ้านตายาย ครั้งที่ 316 มีนาคม 2558
16
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองวัย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เยาวชนพบปะเพื่อชี้แจงกิจกรรมในก่อนการปฏิบัติการจริง
  2. เตรียมอุปกรณ์สำหรับการออกไปพบผู้สูงอายุ เช่น เครื่องวัดความดัน ที่ชั่งน้ำหนัก
  3. ทดลองการใช้อุปกรณ์ก่อนไปพบผู้สูงอายุ

ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ได้ลงไปตรวจวัดความดันให้กับ

  1. ป้าสร้อย...
  2. ตาปลั่ง....
  3. ป้าแต๋ว....
  4. ป้าเป้า....
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชนนั้นพบว่า

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนชุมชนหัวแหลมพัฒนา
  • ผู้สูงอายุภายในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผู้สูงอายุส่วนมากจะมีรูปร่างอ้วนมาก โดยทำให้สายวัดความดันซึ่งเป็นขนาดมาตรฐาน ทำให้วัดยาก และผู้สูงอายุและบุคคลในชุมชนมีโรคประจำตัวเป็นส่วนมาก 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
เปิดชุมชนเพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 (มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมลงเยี่ยมชุมชน)15 มีนาคม 2558
15
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อการประชาสัมพันธ์ แนะนำชุมชนและผลผลิตที่มีในชุมชนให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไป- เพื่อส่งเสริมการกล้าแสดงออกของเด็กและเยาวชนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. น.ส.ชยาพร  สะบู่ม่วง กล่าวแนะนำทักทายผู้มาเยี่ยมชมชุมชนหัวแหลมพัฒนา
  2. ประทานผู้สูงอายุกล่าวทักทายและแนะนำชุมชน ร้อมทั้งเล่าประวัติและการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุและเด็กเยาวชนในชุมชม
  3. ผู้มาเยี่ยม เยี่ยมชมการทำกิจกรรม การสาธิตและตรวจวัดความดันโดนเด็กและเยาวชน พร้อมให้คำแนะนำเรื่องการบริโภค 
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. การได้แนะนำชุมชนให้กับบุคคลภายนอกได้รู้จัก
  2. ผู้ทีมาเยี่ยมชุมชนได้นำความรู้เรื่องการบริโภคน้ำตาลในแต่ละวัน เพราะผู้มาเยี่ยมชมโดยส่วนใหญ่นั้นเป็นวัยรุ่น ชอบดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เมื่อเยาวชนได้แนะนำและแสดงปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่นที่วัยรุ่นนิยมบริโภคแล้วนั้นทำให้เค้าเห็นว่าในแต่ละวันเค้ารับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มากเกิดความจำเป็นที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
  3. เยาวชนได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้แก่ผู้มาเยี่ยมชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เพื่อนเครือข่าย จาก มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
  • สมาชิกในชุมชน
  • เด็กและเยาวชนชุมชนหัวแหลม
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

.....

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

...

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

....

อบรม อสม.น้อย เพื่อผู้สูงวัย14 มีนาคม 2558
14
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อต้องการให้เยาวชนสามารถดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนได้
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแนะนำตัว และชี้แจงวัตถุประสงค์ในการอบรม
  • ทำความเข้าใจเรื่องสุขภาพในผู้สูงอายุ
  • ทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และทดลองใช้เครื่องมือ
  • หลักการแนะนำเรื่องสุขภาพให้ผู้สูงอายุ
  • การดูแลสุขภาพในครอบครัว
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้เข้าร่วมประชุมแนะนำตัว

  • ในการอบรม อสม. น้อยครั้งนี้เพื่อสอนให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การดูแลสุขภาพผผู้สูงอายุในเบื้องต้น การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุรวมถึงเรียนรู้เรื่องสุขภาพเบื้องต้นที่พบในวัยต่าง ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดูแลเรื่องสุขภาพภายในครอบครัว โดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

2.ทำความเข้าใจเรืองสุขภาพในผู้สูงอายุ โรคต่างๆ ที่พบในผู้สูงอายุ

  • โรคข้อเข่าเสื่อม

    • ลักษณะอาการของโรค โดยพบในเพศหญิงบ่อยกว่าชาย ผู้ป่วยมักมีอาการปวดในเข่า บริเวณรอบๆ ลูกสะบ้า หรือในข้อพับเข่า มีเสียงดังเวลาขยับเคลื่อนไหวข้อ มีอาการฝืดหรือคล้ายข้อยึด หรือมีอาการบวมอักเสบในเข่า เป็นต้น

สาเหตุของโรค

  1. การใช้ข้อเข้าที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งพับเข้านาน ๆ เป็นประจำ การแบกรับน้ำหนักมากเป็นเวลานาน
  2. น้ำหนักตัวมากเกินไป เนื่องจากแรงที่กระทำผ่านเข่าจะมีค่าประมาณ 2-3 เท่าของน้ำหนักตัวเวลาเดิน
  3. เคยได้รับอุบัติเหตุจนเกิดการบาดเจ็บในข้อเข่ามาก่อน เช่น เอ็นยึดข้อเท้าฉีกขาดหลังจากเล่นกีฬา หรือกระดูกข้อเข่าแตกเคลื่อน
  4. เคยมีการอักเสบอย่างรุนแรงในข้อเข่ามาก่อน เช่น เอ็นยึดข้อเข่าอื่นๆ เช่น เก๊าท์ หรือ รูมาตอยด์ เรื้อรัง
  5. มีความพิการผิดรูปของข้อเข่าหรือ แนวขา ตั้งแต่กำเนิดหรือหลังอุบัติเหตุ กระดูกหักข้อเคลื่อน

การดูแลเบื้องต้น

  1. การให้ผู้สูงได้นั่งบนเก้าอี้ที่มีระดับสูงพอดีกับขา เท้าสามารถวางได้บนพื้น โดยที่ขาตั้งฉากกับเข่า มีพนักพิงหลัง มีที่เท้าแขนเพื่อความสะดวกของผู้สูงอายุในการลุกนั่ง
  2. หากผู้สูงอายุมีอาการปวดเข่าให้ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณที่ปวดครั้งละประมาณ 10 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
  3. หลีกเลี่ยงการนั่งขอเข่าเป็นเวลานาน ๆ
  4. การลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • โรคกรดไหลย้อย

    • ลักษณะอาการของโรค  ผู้ป่วยจะมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ การไหลย้อนของกรดถ้ามีมากอาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อลำคอ กล่องเสียง และปอดได้ ผู้ป่วยจะมี อาการไอเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง หรือรู้สึกสำลักในเวลากลางคืน เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไป เวลานอน กรดจะไหลย้อนขึ้นมาได้มาก ปวดแสบ ปวดร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ ทำให้หลอดอาหารอักเสบ มีอาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก เหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ หายใจไม่ออกเวลานอน กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอ หรือแสบลิ้นเรื้อรัง ถ้าเป็นมาก จะเจ็บคอมาก จนอาจจะกลืนอาหารไม่ได้ คลื่นไส้ มีอาการเรอเปรี้ยว หรือรู้สึกถึงรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในปากหรือลำคอ มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา  คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร จึงไปซื้อยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหารมารับประทานเอง เกิดการรักษาไม่ตรงจุด ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานลดลง หากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นโรคปอดอักเสบและมะเร็งหลอดอาหารได้
    • สาเหตุของโรค  เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ หลอดอาหารส่วนปลายมีการคลายตัวอย่างผิดปกติ ความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วน  ปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารบีบตัวอย่างผิดปกติ รวมถึงพันธุกรรมด้วย ในคนบางคน หูรูดหลอดอาหารทำงานได้น้อย  พฤติกรรมบางอย่างก็เป็นปัจจัยเสริม เช่น รับประทานอาหารเสร็จอิ่ม ๆ หรือรับประทานอาหารเสร็จ ยังไม่ถึง 4 ชั่วโมงแล้วนอน สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม รับประทานอาหารประเภทของทอด ของมัน หรืออาหารที่มีรส เปรี้ยวจัดเผ็ดจัด
    • การดูแลเบื้องต้น  งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ ลดอาหารมัน ของทอด ของหวาน รับประทานอาหารให้เป็นเวลา  หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง ลดน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี
    • การรักษาโรคกรดไหลย้อน  สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวัน จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการอีก และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เป็นการลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจส่วนบน การรักษาด้วยวิธีนี้ควรทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แม้จะมีอาการดีขึ้นหรือหายดีแล้ว
  • โรคอัลไซเมอร์

    • ลักษณะของอาการ เป็นกลุ่มอาการผิดปกติซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมองหลายส่วนที่พบได้ในผู้สูงอายุโดยมีลักษณะเด่นได้แก่ ความจำที่แย่ลง นอกจากนี้ ยังอาจมีภาวะเสื่อมถอยของของทักษะต่าง ๆ อันเกิดจากการทำงานของสมองจนกลายเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต หรือประกอบกิจวัตรประจำวัน เช่น การใช้ภาษาและความเข้าใจภาษา เป็นต้น ในระยะแรกผู้ป่วยจะอาการซึมเศร้า เครียด หงุดหงิดง่าย เมื่อผ่านไปสักระยะจะเริ่มมีความจำถดถอย จำได้บ้างไม่ไดบ้าง บางครั้งจำไม่ได้ว่าของสิ่งนั้นหยิบมาเพื่ออะไร จำไม่ได้ว่าหยิบมาแล้วไปตั้งที่ไหน จำไม่ได้กว่ากินข้าวหรือยัง ทั้ง ๆ ที่เพิ่งกินข้าวเสร็จ  และระยะท้ายผู้ป่วยอาการแย่ลง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย
    • สาเหตุของโรค
    1. ภาวะสมองเสื่อมที่อาจหายได้ ได้แก่ ภาวะเลือดออกในสมอง เนื้องอกในสมองบางชนิด การขาดวิตามิน บี12 โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น ไทรอยด์ และผลข้างเคียงจากการใช้ยา
    2. ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ที่พบได้บ่อย และโรคอื่น ๆ ที่ทำให้สมองเสื่อมคล้ายอัลไซเมอร์อีก 5-6 โรค
    • การดูแลรักษา
    1. ควบคุมน้ำหนัก เพราะความอ้วนสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังหลายชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม
    2. เลือกรับประทานอาหารเพื่อบำรุงสมอง อาทิ กรดโอเมก้า 3 ในรูปดีเอชเอที่ช่วยปกป้องกรดไขมันที่หุ้มเซลล์ประสาท
    3. นอนหลับให้มากพอในแต่ละวัน
    4. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่เสมอ
    5. ลองฝึกเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำอะไรที่ขัดกับชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหารด้วยมือซ้าย
    6. ออกกำลังกายแบบแอโรบิควันละประมาณ 30 นาที อย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์

3.ทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และทดลองใช้เครื่องมือ

  • เครื่องวัดความดัน ใช้ในการวัดความดันของผู้สูงอายุเนื่องจาก ผู้สูงอายุจะมีค่าความดันที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพร่างกาย ดังนั้นลูกหลานจึงจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังภาวะความดันในผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอในผู้สูงอายุที่มีภาาวะเสี่ยง การวัดความดันนั้น

    • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความดัน
      ค่าความดันโลหิต (Blood Pressure) คือค่าที่แสดงความดันของโลหิตในร่างกายมี 2 ค่า คือค่าบน (Systolic Pressure) และค่าล่าง (Diastolic Pressure) มีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท ค่าบน คือค่าความดันที่อยู่ในหลอดเลือดแดง ขณะที่หัวใจสูบฉีดเลือดอย่างเต็มที่  หลังจากนั้น กล้ามเนื้อหัวใจจะผ่อนคลายชั่วครู่ ให้ค่าแรงดันมีกำลังอ่อนลงที่สุด ซึ่งค่าที่ได้ก็คือ ค่าล่าง

    • ข้อแนะนำทั่วไปในการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต

  1. ให้ผู้สูงอายุเตรียมร่างกายให้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ผ่อนคลาย ก่อนทำการวัด หากผู้สูงอายุเพิ่งเดิน หรือเพิ่งมากจากการออกกำลังกายคสรให้ผู้สูงอายุนั่งพักก่อนทำการวัด
  2. วัดความดันโลหิตที่แขนซ้าย ซึ่งอยู่ใกล้หัวใจ โดยให้จุดที่รับสัญญาณ อยู่ในระดับหัวใจ
  3. สวมปลอกแขนที่บริเวณต้นแขน ให้จุดรับสัญญาณอยู่ตรงกลางท้องแขนด้านใน เหนือข้อพับประมาณ 2 - 3 ซม.
  4. ติดเทปที่ปลอกแขนให้พอดีกับขนาดแขน ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป
  5. หงายต้นแขนขึ้น แล้ววางแขนบนโต๊ะให้รู้สึกสบาย โดยปลอกแขนจะอยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
  6. การวัดความดันโลหิต อาจจะวัดวันละหลายครั้ง จะได้ผลดีกว่าการวัดครั้งเดียว และควรพักประมาณ 5 นาที ก่อนจะวัดครั้งที่ 2
    • ค่าความดันโลหิต
    1. ความดันโลหิตต่ำ                ค่าบน  (Systolic) ต่ำกว่า 100   ค่าล่าง (Diastolic) ต่ำกว่า 60    ควร ปรึกษาแพทย์
    2. ความดันโลหิตปกติ              ค่าบน  (Systolic) ต่ำกว่า130   ค่าล่าง (Diastolic) ต่ำกว่า85       ควรมีการเช็คด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ
    3. ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย       ค่าบน  (Systolic) 130 - 139 ค่าล่าง (Diastolic) 85 - 89        ควร ปรึกษาแพทย์
    4. ความดันโลหิตสูง                 ค่าบน  (Systolic)140 - 159     ค่าล่าง (Diastolic) 90 - 99         ควรรีบพบแพทย์
    5. ความดันโลหิตสูงมาก             ค่าบน  (Systolic) 160 - 179  ค่าล่าง (Diastolic) 100 - 109    ควร รีบพบแพทย์
    6. ความดันโลหิตสูงมากอันตราย ค่าบน  (Systolic) สูงกว่า 180   ค่าล่าง (Diastolic) สูงกว่า 110   ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
  • ปรอทวัดไข้ วิธีวัดปรอทหรือวิธีวัดไข้ที่บ้าน โดยทั่วไปในบ้านเรายังใช้ปรอทวัดไข้อยู่ (Mercury glass thermometer) เพราะมีราคาถูก เข้าถึงได้ทุกครัวเรือน วัดไข้ได้แม่นยำ ใช้ได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ ไม่ต้องดูแลมากและเก็บรักษาง่าย

    • วิธีการใช้ปรอท
    1. นำปรอทวัดไข้ออกจากที่เก็บ เช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาแอลกอฮอล์ ในส่วนกระเปาะที่มีปรอทอยู่ และในส่วนที่จะอมในปาก
    2. สะบัดให้ปรอทลงไปอยู่ในกระเปาะให้หมดหรือลงต่ำอย่างน้อยถึงระดับ 35 องศาเซลเซียส
    3. ควรบ้วนล้างปากให้สะอาดด้วยน้ำ เปล่าสะอาด เพื่อไม่ให้เศษอาหารติดค้าง ก่อนการวัดปรอททุกครั้ง
    4. หากต้องการวัดที่รักแร้ กระเปาะปรอทวัดไข้ต้องอยู่ในรักแร้ หนีบปรอทให้แน่น และทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที
    5. ภายหลังการวัดปรอททุกครั้ง ต้องทำความสะอาดหลอดแก้วหรือปรอทวัดไข้ด้วยน้ำสบู่ โดยล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง เก็บในหลอดที่เก็บปรอทเสมอ เก็บปรอทวัดไข้ในที่ๆไม่โดนแสงแดด อุณหภูมิปกติ และที่สำคัญเก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
    • วิธีอ่านปรอท

    เมื่อวัดปรอทเสร็จแล้ว ใช้สำลีหรือกระดาษชำระแห้งเช็ดคราบน้ำลายหรืออุจจาระที่อาจติดอยู่ออก แล้วอ่านปรอทว่ามีไข้หรือไม่ โดยถือปรอทในระดับตา สังเกตระดับสารปรอทที่เห็นเป็นแถบสีเงิน  เริ่มจากกระเปาะว่าไปสิ้นสุดทีเลขจำนวนใด ตรงนั้นจะเป็นค่าอุณหภูมิ อ่านค่าเป็นองศา ซึ่งมีอยู่ 2 มาตรา คือ องศาเซลเซียส (C ํ) กับองศาฟาเรนไฮด์  (F ํ)

    • อุณหภูมิเท่าไรจึงเรียกว่า “มีไข้”
    1. ถ้าปกติ อุณหภูมิของร่างกายเฉลี่ยประมาณ 37 C ํ หรือ 98.6 F ํ
    2. มีไข้ต่ำ ๆ คืออุณหภูมิระหว่าง 37.5-37.9 C ํ
    3. มีไข้สูง คืออุณหภูมิตั้งแต่ 38.5 C ํ ขึ้นไป
      ค่าของอุณหภูมิที่วัดแต่ละทางจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือถ้าวัดทางรักแร้จะต่ำกว่าวัดทางปากประมาณ 1 ฟาเรนไฮต์ และถ้าวัดทางทวารหนักจะสูงกว่าวัดทางปากประมาณ 0.6 ฟาเนไฮต์
        เมื่อวิทยากรได้ให้ความรู้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  เด็ก ๆ และผู้สูงอายุก็ได้มีการหัดทดลองการใช้เครื่องวัดความดัน ตามที่วิทยาได้สอนมีเพื่อการปฏิบัติการจริงที่ถูกต้องและเหมาะสม

4.หลักการแนะนำเรื่องสุขภาพในผู้สูงอายุ

  • โภชนาการในผู้สูงอายุ

    ผู้สูงอายุนั้นมีโอกาสเป็นได้ทั้งโรคขาดอาหาร และเกินอาหาร โดยเฉพาะโรคเกินอาหารในบุคคลที่มีอาหารสมบูรณ์ อยู่ดีกินดี จะทำให้มีโอกาสอ้วน และลงพุงได้มาก แต่ขาดการออกกำลังกาย หรือใช้แรงงานน้อย ยิ่งผู้ที่ทำงานในร่ม หรือนั่งโต๊ะจะเกิดโรคนี้ได้ง่าย จึงระวังเรื่องอาหารการกิน เพราะอาหารที่กินเข้าไปส่วนมากเพื่อบำรุงและซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และการเคลื่อนไหวก็เป็นไปด้วยความเชื่องช้า ทำให้เกิดการสะสมของไขมันเมื่อกินอาหารมากจนเกินไป

    สำหรับโรคขาดอาหาร เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยเสื่อมโทรม โรคภัยไข้เจ็บ และการขาดอาหารจึงเกิดได้ง่าย และการขาดอาหารทำให้ร่างกายทรุดโทรม จึงจำเป็นต้องกินอาหารดีมีคุณค่าครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง วัยนี้มักขาดโปรตีน เหล็ก แคลเซียม และวิตะมีนบี1 เป็นช่องทางให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายและอวัยวะบางส่วนเสื่อมสมรรถภาพ ความต้องการอาหารและพลังงานของผู้สูงอายุ

    • สารอาหารที่ผู้สูงอายุต้องการ
  1. แคลอรี  ควรลดอาหารที่ให้แคลอรี่ เพราะจะเป็นโรคอ้วน ซึ่งง่ายแก่การเกิดโรคอื่นตามมาอีกมาก จึงควรลดปริมาณแคลอรี่ลง 7.5 % ทุก 10 ปี ที่มีอายุเพิ่มจาก 50-70 ปี และลดอีก 10% เมื่ออายุ 60-80 ปี
  2. คาร์โบไฮเดรท ควรลดให้น้อยลง โดยเฉพาะข้าว น้ำตาล และขนมหวาน
  3. ไขมัน ให้แคลอรี่สูง และย่อยยาก จึงควรกินให้น้อยลง วันหนึ่งไม่ควรกินเกิน 80 กรัม และเพื่อป้องกันโรคหัวใจ เส้นโลหิตอุดตัน ควรกินไขมันจากพืชให้มาก
  4. โปรตีน ควรกินที่มีคุณภาพดี ย่อยง่ายให้มาก เพราะคนสูงอายุไม่มีฟันหรือฟันไม่ดี จึงไม่สะดวกในการเคี้ยว และอวัยวะย่อยอาหารทำงานมีประสิทธิภาพน้อยลง ซึ่งโปรตีนนอกจากใช้ซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อที่สึกหรอแล้ว ยังจะใช้เผาผลาญเป็นพลังงานด้วย เนื่องจากต้องลดคาร์โบไฮเดรทและไขมันลง การกินโปรตีนทำให้ได้เหล็ก ไขมัน วิตะมิน และแคลเซียม  ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนหรือเป็นโพรง
  5. แคลเซียมและเหล็ก ผู้สูงอายุควรได้แคลเซียมอย่างน้อยวันละ 800 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ช่วยการแข็งตัวของเลือด การยืดหดของกล้ามเนื้อและประสาทสมบูรณ์ด้วย ส่วนเหล็กนั้นช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
  6. วิตะมิน โดยเฉพาะวิตะมิน บี1 บี2 และ ซี ควรกินให้มาก ด้วยวิตะมิน บี1 ช่วยการทำงานของหัวใจและระบบประสาท ทำให้อยากอาหารมากขึ้น อวัยวะย่อยอาหารทำงานดีขึ้นและป้องกันท้องผูก ส่วน บี2 ก็ควรกินเพิ่มขึ้นเช่นกัน สำหรับวิตะมิน ซี นั้น ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และสุขภาพแข็งแรง
  7. น้ำ คนวัยนี้มักมีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยและการขับถ่าย จึงควรดื่มน้ำวันละประมาณ 5-8 แก้ว

5.การดูแลสุขภาพในครอบครัว

  • การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัว ทั้งวัยเด็ก วัยกลางคน และผู้สูงอายุ
  • การดูแลรักษาสุขภาพเมื่อเกิดอาการผิดปกติในร่างกาย
  • การเลือกวิธีการปรุงอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีการต้ม ตุ๋น ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการปรุงอาหาร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนในชุมชน
  • ผู้สูงอายุ
  • เจ้าหน้าที่ อสม.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมประจำเดือนกุมภาพันธ์28 กุมภาพันธ์ 2558
28
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้า การดำเนินงานโครงการ- เพื่อวางแผนการทำงานระยะต่อไปอย่างต่อเนื่อง- เพื่อรวบรวม วิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. พบปะน้อง ๆ แลกเปลี่ยนพูดคุย สอบถามเรื่องการเรียน เนื่องจาก น้อง ๆ อยู่ในช่วงกำลังสอบ
  2. ชี้แจงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในช่วงปิดเทอมแก่น้อง ๆ
  3. ร่วมทำกิจกรรมยามว่างกับน้อง ๆ 
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. พบปะน้อง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรื่องราวที่โรงเรียน และความเคลื่อนไหวของแต่ละคน  พบว่า น้อง ๆ จะปิดเทอมในวันที่ 13 มีนาคม 2558 และสอบถามเรียนการเรียนต่อทั้งในสายสามัญ และสายอาชีพ
  2. ชี้แจงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในช่วงปิดเทอม โดยมีกิจกรรมเบื้องต้น ดังนี้
  • วันที่ 14 มีนาคม 2558  การจัดอบรม อสม. น้อย ให้แก่น้อง ๆ เพื่อใช้ในการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านตายาย ซึ่งในการอบรมครั้งนี้จะอบรมเกี่ยวกับ

    • การใช้เครื่องวัดความดัน
    • การวัดค่า BMI
    • การให้ความรู้เบื้องต้นในการดูแลผู้สูงอายุ
    • การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน
  • วันที่ 15 มีนาคม 2558  พี่ ๆ จากเครือข่าย สสส. จะลงพื้นที่ศึกษาการทำกิจกรรมของเยาวชนในพื้นที่  โดยรายละเอียดของกิจกรรมนั้นต้องรอการประชุมเพิ่มเติมจากพี่อุ๊ นางสาวอรอุมา ชูแสง พี่จากเครือข่ายยุวชนสร้างสรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ทำหน้าที่ในการประสานงานมาทำการชี้แจงขยายความอีกครั้ง

  • วันที่ 20 มีนาคม 2558  อสม.น้อย ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านตายาย  โดยจะนำความรู้ที่ได้รับการอบรม อสม.น้อย ไปตรวจวัดความดันให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน
  • วันที่ 21 มีนาคม 2558  การเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน ในการทำพวงมะหวด ซึ่งจะสอนโดยครูภูมิปัญญาในชุมชน
  1. การทำกิจกรรมร่วมกับน้อง ๆ เช่น การกระโดดยาง หรือเล่นน้ำที่ริมคลอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ตัวแทนเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • กิจกรรมต้องเลื่อนออกไป รอให้น้องเยาวชนสอบเสร็จ จึงจะดำเนินการได้ตามปกติ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่(ประชุมที่โรงแรมร้อยเกาะ)26 กุมภาพันธ์ 2558
26
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อแลกเปลีี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงานของโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ผู้เข้าร่วมกระบวนการแนะนำตัว

2.แนะพื้นที่และแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติกิจกรรม

  • โครงการอยู่อย่างวิถีไทยควนสินชัยสบายดี อ.ชัยบุรี
  • โครงการปลูกผักสานสันพันธ์สู่บ้านทับคริสต์
  • โครงการบ้านนาเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาชนร่วมใจพัฒนา
  • โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง สุขภาพบ้านไสยง
  • โครงการคนพรุกะแชสุขภาพดีด้วยแพทย์แผนไทย
  • โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนควนทัง

3.สรุปการเรียนรู้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแนะนำ และโครงการที่รับผิดชอบ  เป็นผู้ดำเนินรายการ

2.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการทำงานของโครงการต่าง ๆ

  • โครงการผักสานสัมพันธ์สู่หมู่บ้านทับคริสต์
    โดยบริบทของบ้านทับคริสต์นั้นประชากรมาจากทางภาคกลาง พื้นที่ของหมู่บ้านเป็นป่าต้นน้ำอยู่ทางอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรในชุมชน 100 % นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งทางชุมชนเองจะมีการจัดพิธีกรรมทางศาสนาในทุก  ๆวันอาทิตย์เพื่อเป็นการรวมตัวกันของชาวบ้านในชุมชน  และได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกันภายในชุมชน โดยใช้วิธีการปลูกผักเพื่อเป็นการสานสัมพันธ์ภายในชุมชน  ซึ่งผู้ใหญ่และเด็กจะมีเวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันในวันอาทิตย์  ซึ่งจะสอนแทรกเนื่้อหาพระธรรมคำสอนของพระเจ้า

    • สิ่งที่เกิดในชุมชน
    1. เด็ก ๆ ในชุมชนเกิดการเรียนรู้  การปลูกผัก
    2. การรู้จักวัฒนธรรมของตนเอง
    3. การเรียนรู้ศาสนา
    4. เกิดการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
  • โครงการบ้านนาเหนือสะอาดสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา
    ชุมชนบ้านนาเหนือเป็นชุมชนที่ประสบปัญหาเรื่องขยะในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการที่ส่งเสริมเรื่องความสะอาดในชุมชน  โดยการใช้ธงเพื่อบอกถึงระดับความเรียบร้อยของพื้นที่ระดับผิดในหมู่บ้านของตนเอง  มีการให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่

3.สรุปการเรียนรู้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนเด็กและเยาวชน 1 คน (นางสาวฐินันวา  ฐิตะโชติการ) ตัวแทนคณะทำงาน โครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ (นางสาวชยาพร สะบู่ม่วงและนางสาวธัญวรัตน์ ฐิตะโชติการ)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

กิจกรรมซึ่งตรงกับวันเรียนของเด็กและเยาวชน ซึ่งทำให้การมามีส่วนร่วมพูดคุยได้จำนวนน้อย โดยการส่งตัวแทนมา 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
สังเคราะห์ชุดความรู้โครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่(ประชุมที่โรงแรมทวินโลตัส)22 กุมภาพันธ์ 2558
22
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพูดคุยและเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานในพื้นที่  และวิเคราะห์การทำงานในหัวข้อต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ กับโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมในโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ 2.เติมข้อมุลในการกลับไปดำเนินการกิจกรรมครั้งต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการแลกเปลี่ยนการทำงานในพื้นที่ และได้นำข้อเสนอแนะกลับไปดำเนินการต่อยังพื้นที่ต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

เจ้าของโครงการ และคณะกรรมการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การติดต่อประสานงานในการเข้าร่วมกิจกรรมกระทันหันไป
  • ระยะเวลาในการดำเนินน้อยไป ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็น้อยลง
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
อบรมการเขียนรายงานโครงการ10 กุมภาพันธ์ 2558
10
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมทักษะการเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผศ.จรูญ ตันสูงเนิน อาจารย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ อบรมการจัดทำรายงานโครงการ โดยการแนะนำการเขียนรายงาานที่ถูกต้อง ในเรื่องวิธีการเขียน  เทคนิคการเขียนรายงาน  ขั้นตอนการเขียนรายงาน การจัดทำรูปเล่มรายงานที่ถูกต้อง  และสวยงาม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมแนะนำตนเอง และความคิดหวัง
  • ผศ.จรูญ ตันสูงเนิน อาจารย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ อบรมการจัดทำรายงานโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุม โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญของการจัดทำรายงาน ดังนี้

1.การสื่อสาร (Communication)
การสื่อ = การรับ = ฟัง ~ อ่าน = การส่ง = พูด ~ เขียน สาร (MESSAGE) คือ ความรู้สึกนึกคิด สาร มี 4 ประเภท คือ

  • รู้  = ความรู้ ข้อเท็จจริง (Knowledge, Fact)
  • ความ (รู้) สึก  = ความรู้สึก (Sense) อารมณ์ ( Emotion)
  • นึก  = จินตนาการ (Imagination)
  • คิด  = ความคิด ทรรศนะ ข้อคิดเห็น (Opinion)

2.การเขียน คือ กระบวนการ  = คิด → เขียน → ตรวจทาน / ส่งสาร = ความรู้สึกนึกคิด ให้เป็นลายลักษณ์อักษร ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์

3.การจัดทำรายงาน รายงาน เป็นรูปแบบการเขียนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานการประชุม  รายงานประจำปี รายงานการสอบสวน การจัดทำรายงาน ความหมาย “รายงาน  น. คำบอกกล่าวเรื่องราวที่ไปทำ ไปรู้ หรือไปเห็นมา / ก. บอกเรื่องของการงาน” การจัดทำรายงาน  = การจัดทำเอกสารเพื่อบอกเรื่องการงานที่ได้ทำ ได้รู้ หรือได้ไปเห็นมา ได้ทำ =  รายงานการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุม รายงานประจำปี / ได้รู้ =  รายงานการศึกษาค้นคว้า สืบสวน สอบสวน รายงานการศึกษา วิจัย สำรวจ / ได้ไปเห็น  =  รายงานการทัศนศึกษา ดูงาน ตรวจงาน

ประเภทของรายงาน

  • รายงานปากเปล่า ในสถานการณ์พิเศษ
  • รายงานลายลักษณ์อักษร
  • รายงานลายลักษณ์อักษรและการนำเสนอด้วยวาจาในที่ประชุม

องค์ประกอบของรายงาน ต้อง ครบถ้วน เป็นระเบียบ รูปแบบของรายงาน “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” สวยงาม สม่ำเสมอ ถูกต้อง สบายตา เหมาะสม พอเหมาะ น่าหยิบ น่าอ่าน สะอาดเรียบร้อย

4.จรรยาบรรณของผู้ทำรายงาน

  • ซื่อสัตย์ สุจริต
  • โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
  • ติดคุณธรรมที่ปลายปากกา

5.คุณลักษณะของรายงานที่ดี

  • องค์ประกอบ คือ สิ่งที่ควรจะมี
  • รูปแบบ        คือ สภาพหรือลักษณะที่ควรจะเป็น
  • เนื้อหา          คือ พลังในการสื่อสาร
  • ภาษา          คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร

6.เนื้อหาของรายงาน - มีเอกภาพ ( Unity ) มีความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน - มีสัมพันธภาพ ( Coherence ) มีความเป็นระบบระเบียบ ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน - มีสารัตถภาพ ( Emphasis ) มีสาระชัดเจนหนักแน่น น่าเชื่อถือ

7.การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน  ควรใช้ภาษามาตรฐานในการเขียน  ภาษาต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น ภาษาพูด คำภาษาต่างประเทศ คำหยาบ คำสแลง คำย่อ คำผวน คำตัด คำภาษาถิ่น

8.ลักษณะภาษาที่ดีในการเขียนรายงาน

  • ถูกระดับ
  • กะทัดรัด ประหยัด
  • ชัดเจน
  • ถูกความหมาย
  • ถูกความนิยม-วัฒนธรรม
  • สุภาพเรียบร้อย
  • ถูกไวยากรณ์

9.ขั้นตอนการทำรายงาน

  • กำหนดวัตถุประสงค์
  • กำหนดผู้รับทราบ
  • รวบรวมข้อมูล
  • วางโครงร่าง
  • วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความข้อมูล
  • จัดระเบียบเนื้อหา
  • เรียบเรียงเนื้อหา
  • ตรวจทาน
  • จัดทำรูปเล่ม

10.องค์ประกอบ (โครงสร้าง) ของรายงาน รายงานที่ดี ควรมีองค์ประกอบหรือโครงสร้าง 3 ส่วน คือ

  • ส่วนต้น (ส่วนนำ) องค์ประกอบส่วนต้น  ได้แก่

    • ปก
        - จะต้องใช้หน้าปกสีเรียบ สามารถมองเห็นเนื้อหาบนหน้าปกชัดเจน
        - มีตราสัญลักษณ์และชื่อของหน่วยงานหรือองค์กรที่สนับสนุนงบประมาณ
        - ชื่อโครงการที่รับผิดชอบ และชื่อผู้รับผิดชอบ

    • สัญลักษณ์ คำย่อ และ ตัวย่อ (ถ้ามี)

    • คำนำ
    • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร หรือบทคัดย่อ
    • กิตติกรรมประกาศ
    • สารบัญ
    • บัญชี (รายการ) ตาราง (ถ้ามี)
    • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ (ถ้ามี) ได้แก่ แผนภูมิ แผนที่ ภาพประกอบ ภาพถ่าย แผนผัง
  • ส่วนเนื้อหา ส่วนเนื้อหา แบ่งเป็นบท หรือ ตอน ได้แก่

    • ความเบื้องต้น หรือ บทนำ
    • เนื้อความสำคัญ หรือ ผลการทำ การรู้ การเห็น
    • สรุป และ ข้อเสนอแนะ
  • ส่วนท้าย ส่วนท้ายของรายงาน อาจประกอบด้วย

    • บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง
    • ภาคผนวก ได้แก่ ตาราง แผนภูมิ กราฟ แผนที่ ภาพถ่าย ภาพประกอบ เอกสารหลักฐาน คำให้การ ใบเสร็จรับเงิน คำสั่ง เป็นต้น
    • เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม แบบสำรวจ ข้อสอบ
    • ดัชนี

11.การเขียนส่วนต้นของรายงาน

  • คำนำ สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ ไม่ยาวไม่สั้นเกินไป วัตถุประสงค์ของคำนำ ความสนใจ ประกอบด้วย

    • ชื่อรายงาน
    • วัตถุประสงค์ของรายงาน
    • ขอบข่ายเนื้อหา
    • ประโยชน์ที่จะได้รับ
    • คำอุทิศ
  • กิตติกรรมประกาศ  คือ ข้อความกล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนช่วยเหลือและ ให้ความร่วมมือในการจัดทำรายงาน ระบุว่าขอบคุณใคร เรื่องอะไร อย่ากล่าวละเอียดมากเกินไป

  • สารบัญ ทำหน้าที่บอกส่วนประกอบทั้งหมด คือ ตอน บท และ หัวข้อต่างๆของรายงาน ตั้งแต่คำนำ จนถึงหน้าสุดท้าย  โดยมีเลขหน้ากำกับแต่ละส่วนเรียงตามลำดับ
  • บัญชี (รายการ) ตาราง  (ถ้ามี) เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของตารางทั้งหมดในรายงาน รวมทั้งตารางในภาคผนวกด้วย
  • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ  เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของภาพประกอบทั้งหมด ในรายงาน เช่น แผนภูมิ กราฟ แผนผัง แผนที่ ภาพประกอบ และภาพถ่าย เป็นต้น
  • สัญลักษณ์ คำย่อ และตัวย่อ เป็นส่วนอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ คำย่อและอักษรย่อที่ปรากฏใช้ในรายงาน ยกเว้นที่รู้กันโดยทั่วไป
  • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร  หมายถึง การสรุปภาพรวมของรายงาน ให้ใช้เวลาอ่านน้อยที่สุด แต่สามารถเข้าใจสาระสำคัญทั้งหมดที่นำเสนอไว้ในรายงาน
  • บทคัดย่อ  เป็นการสรุปเนื้อหาของรายงานการวิจัย อย่างสั้น กะทัดรัด ชัดเจนแต่ได้ภาพรวม และสาระสำคัญ คือผลการวิจัย

12.การเขียนส่วนเนื้อหาของรายงาน เป็นส่วนสำคัญที่สุด

  • จำแนกเนื้อหารายงาน เป็น 3 ตอน

    • ความเบื้องต้น เพื่อจูงใจให้สนใจใคร่อ่าน ควรนำเสนอประเด็นต่อไปนี้
        1) ความเป็นมาของรายงาน (หลักการและ  เหตุผล)
        2) ความพยายามครั้งก่อนๆในการแก้ปัญหา (ทบทวน)
        3) จุดประสงค์หลักของการดำเนินงานตามรายงานนี้

    • เนื้อความสำคัญ เป็นหัวใจของรายงาน
        1) เลือกเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับรายงาน
        2) จัดลำดับความสำคัญ
        3) สิ่งไหนไม่สำคัญตัดออก
        4) เพิ่มสิ่งที่คิดว่าสำคัญ เพื่อ “ความพอเพียง”

    • สรุปและข้อเสนอแนะ
        1) สรุปให้ครอบคลุมความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีจัดทำ และผลความรู้ ความจริงในรายงาน
        2) การเขียนข้อเสนอแนะในรายงาน เนื้อความรายงานต้อง เป็นความจริง เป็นเรื่องที่ถูกต้อง มีการสรุปอย่างสมเหตุสมผล สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ข้อเสนอแนะ

ความรู้เพิ่มเติม

  • ในการต้องทำรายงานนั้น จะต้องมีพจนานุกรม เพื่อความสะดวกในการเขียนรายงาน การดูคำถูกคำผิด

13.การเขียนส่วนท้ายของรายงาน การเขียนเนื้อหาของรายงานจะต้องมีการอ้างอิง และจัดทำบรรณานุกรม

  • ความหมาย การอ้างอิง      = การระบุแหล่งที่มาของข้อมูล / บรรณานุกรม  = รายการอ้างอิงทั้งหมด
  • ความสำคัญ เป็นจรรยาบรรณ เป็นมารยาท เป็นการเคารพความรู้ความคิดภูมิปัญญาผู้อื่น เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ - ยอมรับ

14.ภาคผนวก.หมายถึง : รายละเอียดประกอบรายงาน อยู่ต่อจากบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง เป็นส่วนที่รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับรายงานโดยตรง แต่สามารถอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมจากในรายงานได้อย่างง่าย

  • ข้อควรคำนึงสำหรับภาคผนวก
      1) ไม่ต้องพยายามหาข้อมูลมาเพียงเพื่อจะให้มีภาคผนวก
      2) ใช้ดุลยพินิจคัดเลือกตรวจสอบ อย่าให้รายงานใหญ่โตรุ่มร่ามโดยใช่เหตุ
      3) อาจแบ่งหมวดหมู่เป็นภาคผนวกย่อย ก. ข. ค.

15.สรุปหลักการจัดทำรายงาน  คิดให้ชัด  จัดให้เป็นระเบียบ  เรียบเรียงด้วยภาษาที่เหมาะสม  ตรวจทานอย่างชื่นชม

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมครั้งนี้

  • มีความรู้ ความเข้าใจในการเขียนรายงานที่ถูกวิธี
  • ได้เรียนรู้เทคนิคการเขียนรายงานผลการดำเนินงานโครงการให้เข้าใจง่าย และน่าสนใจ
  • ได้ทบทวนความรู้  ในเรื่องรูปแบบการจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ
  • สามารถนำความรู้ไปปรับแก้ไขกับรายงานในความรับผิดชอบของตนเอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นางสาวชยาพร สบู่ม่วง ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นางสาวธัญวรัตน์ ฐิตะโชติการ คณะกรรมการโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมน้อยเกินไป
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

อบรมการจัดทำรายงานโครงการ10 กุมภาพันธ์ 2558
10
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมทักษะการเขียนรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผศ.จรูญ ตันสูงเนิน อาจารย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ อบรมการจัดทำรายงานโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมอบรม แนะนำตัว พร้อมทั้งบอกความคาดหวังในการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ โดยส่วนใหญ่พบว่า มีความคาดหวังในการเขียนรายงานที่สมบูรณ์ มีเนื้อหาสาระสำคัญ ตรงความความต้องการของแหล่งทุน
  • ผศ.จรูญ ตันสูงเนิน อาจารย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ อบรมการจัดทำรายงานโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุม โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญของการจัดทำรายงาน ได้แก่

1.การสื่อสาร (Communication)

  • การสื่อ = การรับ = ฟัง ~ อ่าน = การส่ง = พูด ~ เขียน
  • สาร (MESSAGE) คือ ความรู้สึกนึกคิด สาร มี 4 ประเภท รู้  = ความรู้ ข้อเท็จจริง (Knowledge, Fact) / ความ (รู้) สึก  = ความรู้สึก (Sense) อารมณ์ ( Emotion) / นึก  = จินตนาการ (Imagination) / คิด  = ความคิด ทรรศนะ ข้อคิดเห็น (Opinion)

2.การเขียน คือ กระบวนการ  = คิด → เขียน → ตรวจทาน / ส่งสาร = ความรู้สึกนึกคิด ให้เป็นลายลักษณ์อักษร ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์
3.การจัดทำรายงาน

  • รายงาน เป็นรูปแบบการเขียนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานการประชุม  รายงานประจำปี รายงานการสอบสวน
  • การจัดทำรายงาน ความหมาย “รายงาน  น. คำบอกกล่าวเรื่องราวที่ไปทำ ไปรู้ หรือไปเห็นมา / ก. บอกเรื่องของการงาน”
  • การจัดทำรายงาน  = การจัดทำเอกสารเพื่อบอกเรื่องการงานที่ไดhทำ ได้รู้ หรือได้ไปเห็นมา ได้ทำ =  รายงานการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุม รายงานประจำปี / ได้รู้ =  รายงานการศึกษาค้นคว้า สืบสวน สอบสวน รายงานการศึกษา วิจัย สำรวจ / ได้ไปเห็น  =  รายงานการทัศนศึกษา ดูงาน ตรวจงาน
  • ประเภทของรายงาน
    • รายงานปากเปล่า Oral Reports ในสถานการณ์พิเศษ
    • รายงานลายลักษณ์อักษร Written Reports
    • รายงานลายลักษณ์อักษรและการนำเสนอด้วยวาจาในที่ประชุม
  • องค์ประกอบของรายงาน ต้อง ครบถ้วน เป็นระเบียบ
  • รูปแบบของรายงาน “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” สวยงาม สม่ำเสมอ ถูกต้อง สบายตา เหมาะสม พอเหมาะ น่าหยิบ น่าอ่าน สะอาดเรียบร้อย

4.จรรยาบรรณของผู้ทำรายงาน

  • ซื่อสัตย์ สุจริต
  • โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
  • ติดคุณธรรมที่ปลายปากกา

5.คุณลักษณะของรายงานที่ดี

  • องค์ประกอบ คือ สิ่งที่ควรจะมี
  • รูปแบบ        คือ สภาพหรือลักษณะที่ควรจะเป็น
  • เนื้อหา          คือ พลังในการสื่อสาร
  • ภาษา          คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร

6.เนื้อหาของรายงาน

  • มีเอกภาพ ( Unity ) มีความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน
  • มีสัมพันธภาพ ( Coherence ) มีความเป็นระบบระเบียบ ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน
  • มีสารัตถภาพ ( Emphasis ) มีสาระชัดเจนหนักแน่น น่าเชื่อถือ

7.การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน ควรใช้ภาษามาตรฐานในการเขียน

  • ภาษาต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น ภาษาพูด คำภาษาต่างประเทศ คำหยาบ คำสแลง คำย่อ คำผวน คำตัด คำภาษาถิ่น

8.ลักษณะภาษาที่ดีในการเขียนรายงาน

  • ถูกระดับ
  • ถูกไวยากรณ์
  • กะทัดรัด ประหยัด
  • ชัดเจน
  • ถูกความหมาย
  • ถูกความนิยม-วัฒนธรรม
  • สุภาพเรียบร้อย

9.ขั้นตอนการทำรายงาน

  • กำหนดวัตถุประสงค์
  • กำหนดผู้รับทราบ
  • รวบรวมข้อมูล
  • วางโครงร่าง
  • วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความข้อมูล
  • จัดระเบียบเนื้อหา
  • เรียบเรียงเนื้อหา
  • ตรวจทาน
  • จัดทำรูปเล่ม

10.องค์ประกอบ (โครงสร้าง) ของรายงาน รายงานที่ดี ควรมีองค์ประกอบหรือโครงสร้าง 3 ส่วน คือ

  • ส่วนต้น (ส่วนนำ) องค์ประกอบส่วนต้น  ได้แก่

    • ปก
    • สัญลักษณ์ คำย่อ และ ตัวย่อ (ถ้ามี)
    • คำนำ                                   
    • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร หรือบทคัดย่อ
    • กิตติกรรมประกาศ
    • สารบัญ
    • บัญชี (รายการ) ตาราง (ถ้ามี)
    • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ (ถ้ามี) ได้แก่ แผนภูมิ แผนที่ ภาพประกอบ ภาพถ่าย แผนผัง
  • ส่วนเนื้อหา ส่วนเนื้อหา แบ่งเป็นบท หรือ ตอน ได้แก่

    • ความเบื้องต้น หรือ บทนำ
    • เนื้อความสำคัญ หรือ ผลการทำ การรู้ การเห็น
    • สรุป และ ข้อเสนอแนะ
  • ส่วนท้าย ส่วนท้ายของรายงาน อาจประกอบด้วย

    • บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง
    • ภาคผนวก ได้แก่ ตาราง แผนภูมิ กราฟ แผนที่ ภาพถ่าย ภาพประกอบ เอกสารหลักฐาน คำให้การ ใบเสร็จรับเงิน คำสั่ง เป็นต้น
    • เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม แบบสำรวจ ข้อสอบ
    • ดัชนี

11.การเขียนส่วนต้นของรายงาน

  • คำนำ สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ ไม่ยาวไม่สั้นเกินไป วัตถุประสงค์ของคำนำ สะท้อนความสำคัญ ความจำเป็น และลักษณะเฉพาะของรายงาน เพื่อสร้างความสนใจ มีสาระสำคัญดังนี้ :-

    • ชื่อรายงาน
    • วัตถุประสงค์ของรายงาน
    • ขอบข่ายเนื้อหา
    • ประโยชน์ที่จะได้รับ
    • คำอุทิศ
  • กิตติกรรมประกาศ  หรือ ประกาศคุณูปการ (Acknowledgment) ข้อความกล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนช่วยเหลือและ ให้ความร่วมมือในการจัดทำรายงาน ระบุว่าขอบคุณใคร เรื่องอะไร อย่ากล่าวละเอียดมากเกินไป

  • สารบัญ ทำหน้าที่บอกส่วนประกอบทั้งหมด คือ ตอน บท และ หัวข้อต่างๆของรายงาน ตั้งแต่คำนำ จนถึงหน้าสุดท้าย  โดยมีเลขหน้ากำกับแต่ละส่วนเรียงตามลำดับ
  • บัญชี (รายการ) ตาราง ( List of Tables ) (ถ้ามี) เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของตารางทั้งหมดในรายงาน รวมทั้งตารางในภาคผนวกด้วย
  • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ (List of Illustrations/Figures) เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของภาพประกอบทั้งหมด ในรายงาน เช่น แผนภูมิ กราฟ แผนผัง แผนที่ ภาพประกอบ และภาพถ่าย เป็นต้น
  • สัญลักษณ์ คำย่อ และตัวย่อ (List of Abbreviations and Symbols) เป็นส่วนอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ คำย่อและอักษรย่อที่ปรากฏใช้ในรายงาน ยกเว้นที่รู้กันโดยทั่วไป
  • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ( Executive Summary ) หมายถึง การสรุปภาพรวมของรายงาน ให้ใช้เวลาอ่านน้อยที่สุด แต่สามารถเข้าใจสาระสำคัญทั้งหมดที่นำเสนอไว้ในรายงาน
  • บทคัดย่อ ( Abstract ) เป็นการสรุปเนื้อหาของรายงานการวิจัย อย่างสั้น กะทัดรัด ชัดเจนแต่ได้ภาพรวม และสาระสำคัญ คือผลการวิจัย

12.การเขียนส่วนเนื้อหาของรายงาน เป็นส่วนสำคัญที่สุด

  • หลักการเขียน :~
    • เอกภาพ =  ไม่มีส่วนสร้างความรำคาญ
    • สัมพันธภาพ  =  ไม่สร้างความวกวน
    • สารัตถภาพ    =  ไม่ “น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง”
  • จำแนกเนื้อหารายงาน เป็น 3 ตอน

    • ความเบื้องต้น เพื่อจูงใจให้สนใจใคร่อ่าน ควรนำเสนอประเด็นต่อไปนี้ 1) ความเป็นมาของปัญหาหรือรายงาน (หลักการและ  เหตุผล) 2) ความพยายามครั้งก่อนๆในการแก้ปัญหา (ทบทวน) 3) จุดประสงค์หลักของการดำเนินงานตามรายงานนี้

    • เนื้อความสำคัญ เป็นหัวใจของรายงาน 1) เลือกเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับรายงาน 2) จัดลำดับความสำคัญของเนื้อหา 3) ตัดเนื้อหาที่ไม่สำคัญออก 4) เพิ่มสิ่งที่คิดว่าสำคัญลงไป เพื่อ “ความพอเพียง”

    • สรุปและข้อเสนอแนะ
      1) สรุปให้ครอบคลุมความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีจัดทำ และผลความรู้ ความจริงในรายงาน 2) การเขียนข้อเสนอแนะในรายงาน เนื้อความรายงานต้อง เป็นความจริง เป็นเรื่องที่ถูกต้อง มีการสรุปอย่างสมเหตุสมผล สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ข้อเสนอแนะ (สารประเภทความคิด) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจดำเนินการต่อไป

13.การเขียนส่วนท้ายของรายงาน

  • การเขียนเนื้อหาของรายงานจะต้องมีการอ้างอิง และจัดทำบรรณานุกรม
    • ความหมาย การอ้างอิง      = การระบุแหล่งที่มาของข้อมูล / บรรณานุกรม  = รายการอ้างอิงทั้งหมด
    • ความสำคัญ เป็นจรรยาบรรณ เป็นมารยาท เป็นการเคารพความรู้ความคิดภูมิปัญญาผู้อื่น เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ - ยอมรับ

14.ภาคผนวก. Appendix/ Appendices หมายถึง : รายละเอียดประกอบรายงาน อยู่ต่อจากบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง ความจำเป็น : การเขียนรายงานต้องสั้น กะทัดรัด กระชับ จึงมีความรู้-ข้อมูลซึ่งไม่ใช่ส่วนของเนื้อหารายงานโดยตรง ที่นำเสนอในเนื้อเรื่องไม่ได้ แต่ถ้าได้ทราบข้อมูลส่วนนี้จะทำให้เข้าใจรายงานชัดเจน และ ลึกซึ้ง มากขึ้น

  • ข้อควรคำนึงสำหรับภาคผนวก 1) ไม่ต้องพยายามหาข้อมูลมาเพียงเพื่อจะให้มีภาคผนวก 2) ใช้ดุลยพินิจคัดเลือกตรวจสอบ อย่าให้รายงานใหญ่โตรุ่มร่ามโดยใช่เหตุ 3) อาจแบ่งหมวดหมู่เป็นภาคผนวกย่อย ก. ข. ค.

15.สรุปหลักการจัดทำรายงาน

  • คิดให้ชัด
  • จัดให้เป็นระเบียบ
  • เรียบเรียงด้วยภาษาที่เหมาะสม
  • ตรวจทานอย่างชื่นชม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นางสาวชยาพร สบู่ม่วง ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นางสาวธัญวรัตน์ ฐิตะโชติการ คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี 

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมในครั้งนี้ไปใช้ในการปรับแก้รายงานการดำเนินงานโครงการในงวดที่ 2 
เปิดพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 (โครงการเปิดบ้านมั่งคง)29 มกราคม 2558
29
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • การแลกเปลี่ยนเสวนาการทำโครงการบ้านมั่นคง
  • การแสดงละครสร้างปัญญาของเยาวชนในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมเปิดพื้นที่ในชุมชนเพื่อแสดงทุนและศักยภาพที่มีในชุมชน ในการเปิดให้นำสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนมา นำเสนอให้กับเครือข่ายและกลุ่มต่างๆได้รู้จัก และได้ประชาสัมพันธ์เพื่อเปิดเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวในรูปแบบการเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มภาคีเครือข่าย เช่น สมาชิกชุมชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี  เครือข่ายคนรุ่นใหม่ ใจอาสา กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ กลุ่มสมุนไพรวัยทีน ต.ท่าฉาง เครือข่ายองค์กรงดเหล้า จ.สุราษฎร์ธานี 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เวลาในการเตรียมการน้อย แก้ไขปัญหาโดยแบ่งหน้าที่ในการเตรียมงาน และนำมาพูดคุยกันในช่วงเวลาที่ตรงกันอีกครั้ง 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมประจำเดือนมกราคม25 มกราคม 2558
25
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของชุมชน- เพื่อรายงานความก้าวหน้า การดำเนินงานโครงการ- เพื่อวางแผนการทำงานระยะต่อไปอย่างต่อเนื่อง- เพื่อรวบรวม วิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • การประชุมประจำเดือนมกราคม วาระการประชุม เรื่อง การเตรียมงานเปิดโครงการบ้านมั่นคง  และการผนวกกิจกรรม "ชิม ชม ช็อบ"
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันกำหนดเปิดโครงการ วันที่ 29-30 มกราคม 2558 โดยกิจกรรมที่เด็กๆ จะต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมคือ การแสดงละครสร้างปัญญา และ นิทรรศการแสดงการทำวิจัยวัยทีน ซึ่งมีปฏิบัติการ ดังนี้

  1. การแสดงละครสร้างปัญญา
  • การเขียนบท โดยมีพี่กั้ง น.ส.ชยาพร  สะบู่ม่วงเป็นผู้ช่วยในการเขียนบทของน้องเยาาวชน โดยน้องเยาวชนจะช่วยกันเล่า  ทบทวนเรื่องราวความเป็นมาของชุมชน เพื่อช่วยกันเขียนบท
  • การเลือกนักแสดง  โดยเลือกจากความสมัครใจของน้องที่จะสามารถมาร่วมกิจกรรมได้ในวันงาน  เนื่องจากต้องมีการซ้อม จึงต้องขอความร่วมมือจากน้อง ๆ ที่พร้อมในการซ้อมละคร
  • การฝึก อบรม การละครขึ้นพื้นฐานเพื่อเติมเต็มความรู้ให้น้องเยาวชน  และเพิ่มความมั่นใจในการแสดงละครให้กับน้อง โดยพี่กั้ง น.ส.ชยาพร  สะบู่ม่วง
  • การเตรียมความพร้อม  โดยการนัดน้องเยาชนในเวลาหลังเลิกเรียน เพื่อทำการซ้อมละคร

2.การจัดนิทรรศการ การเรียนรู้นักวิจัยวัยทีน ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้

  • วางแผนการจัดนิทรรศการ  เลือกรูปแบบการจัดวางในการทำนิทรรศการนั้น ได้รวบรวมเรื่องราวการเรียนรู้ของเยาวชน ในการทำวิจัย  ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการทำงานของเบาชน ตั้งแต่การค้นหาประเด็น  การเติมเต็มความรู้  การออกแบบ - กำหนดแผน  การลงมือปฏิบัติ  และการสรุปการทำงาน สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
  • การเตรียมอุปกรณ์  สิ่งที่ต้องใช้ในการทำนิทรรศการ เช่น กระดาษ ผ้าดิบ เยื่อกาว แผ่นเคลือบ กรรไกร หมึกเครื่องปรื้นท์
  • นัดเตรียมวันในส่วนที่เด็ก สามารถช่วยทำนิทรรศการได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เยาวชนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • วันเวลาในการเตรียมความพร้อมก่อนการแสดง เนื่องจากเยาวชนต้องไปโรงเรียน  และวันเปิดงานเนื่องจากเป็นวันธรรมดา
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมประจำเดือนธันวาคม21 พฤศจิกายน 2557
21
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้า การดำเนินงานโครงการ- เพื่อวางแผนการทำงานระยะต่อไปอย่างต่อเนื่อง- เพื่อรวบรวม วิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เยาวชนร่วมกันทำกิจกรรมพัฒนาชุมชน

  • พบปะน้อง ๆ เยาวชน พูดคุยสอบถามเรื่องการเรียน ความเป็นอยู่ กิจกรรมที่อยากทำในช่วงนี้
  • ชี้แจงการทำกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ใกล้เคียง
  • ชวนน้องเก็บขยะ ทำความสะอาด พัฒนาชุมชน
  • แบ่งโซนการพัฒนา และอธิบายการเก็บขยะ โดยการคัดเแยกประเภทขยะ โดยแบ่งเป็นขยะแห้ง ขวดพลาสติก ขวดกระเบื้องเพราะขยะโดยส่วนใหญ่เป็นประเภทขยะแห้ง
  • สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในการทำกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แลกเปลี่ยน พูดคุยเรื่องราวที่โรงเรียน  โดยน้อง ๆ จะเล่าเรื่องราววและปรึกษา ถึงแนวทางการเรียนต่อ ปรึกษาปัญหาด้านการเรียน
  2. ชี้แจงกิจกรรม เปิดโครงการบ้านมั่นคง ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2558 โดยให้น้อง ๆ คืดกิจกรรมที่อยากจะร่วมในช่วงที่มีการเปิดโครงการบ้านมั่นคง
  3. ลงพื้นที่เก็บขยะ และทำความสะอาดชุมชน โดยแบ่งพื้นที่การรับผิดชอบเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 บริเวณริมคลอง ตั้งแต่ศาลาท่าเรือ จนมาถึงบริเวณแปลงผักไฮโดรโปนิค  และกลุ่มที่ 2 ตั้งแต่แปลงผักไฮโดรโปนิคไปจนถึงท้ายชุมชน
  4. สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
  • ปัญหาขยะที่มีในชุมชน เกิดจาก

    • สมาชิกในชุมชนขาดวินัยในการทิ้งขยะ
    • การเผาขยะในชุมชน แล้วส่งผลต่อเพื่อนบ้าน
    • การทิ้งขยะลงในแม่น้ำ
    • ไม่มีเจ้าหน้าที่เข้ามาเก็บขยะในพื้นที่ ส่วนเจ้าหน้าที่ของเทศบาลที่อยู่ในพื้นที่ ก็ใช้วิธีการทำความสะอาดเสร็จแล้วเผา แหละทิ้งลงในคลอง แทนการข้ามไปทิ้งที่ตลาด
  • วิธีการแก้ไขปัญหา

    • จัดการประชุมหมู่บ้านเพื่อชี้แจงปัญหาเรื่องขยะ และหาทางออกร่วมกัน โดยข้อเสนอเบื้องต้น คือการเก็บค่าเก็บขยะ อาทิตย์ละ 20 บาท โดยเจ้าของบ้านที่สนใจ จะทำการเก็บขยะและนำมาไว้ที่ ศาลาหมู่บ้านในทุกวันอาทิตย์ และจะมีเจ้าหน้าที่ / อาสาสมัครนำไปทิ่งที่ตลาดพร้อมกับเรือรับจ้าง
    • จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมเรื่องความสะอาดภายในชุมชน

**หมายเหตุ : ในการเด็ก ๆ ร่วมกันเก็บขยะนั้นผู้ใหญ่หลาย ๆ บ้านได้ให้ความสนใจ และเห็นด้วยกับการนำขยะไปทิ้งที่ตลาด แต่เนื่องจากความไม่สะดวกจึงอยากให้เด็ก ๆ ช่วยกันดำเนินการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เยาวชนชุมชนหัวแหลมพัฒนา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • บางบริเวณที่ติดริมน้ำไม่สามารถลงไปเก็บขยะได้  เนื่องจากเป็นพื้นที่ดินเลน
  • ขยะในบางพื้นที่นั้นเป็นขยะชิ้นเล็กที่อยู่ภายในบริเวณบ้านสมาชิกในชุมชน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พี่ชวนน้องเรียนรู้ภูมิปัญญา ครั้งที่ 3 (สืบสานงานลอยกระทง)6 พฤศจิกายน 2557
6
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิต  การสร้างเสริมสุขภาวะให้กับเยาวชน - เพื่อเรียนรู้และสืบสานภูมิปัญญาที่มีในชุมชนจากครูภูมิปัญญา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เยาวชนรุ่นพี่ในชุมชนนำรุ่นน้องลงไปเรียนรู้วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น ภูมิปัญญาประเพณีลอยกระทง
  2. มีการประชุมวางแผนการปฏิบัติงาน เตรียมสิ่งของที่ต้องใช้ (ประชุมเตรียมวันที่ 5 พ.ย.2557)
  3. วางตำแหน่งและหน้าที่ในการทำกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557

มีการประชุมเพื่อเตรียมสิงของสำหรับการร่วมประเพณีลอยกระทง ผลการประชุม สรุปได้ ดังนี้

1.ฝ่ายจัดหาวัสดุ - อุปกรณ์  ดูแล โดย พี่ธัญ (น.ส.ธัญวรัตน์  ฐิตะโชติการ) และน้องฟิล์ม (น.ส.ปุณยวีร์ ชัยธรนิธิวงศ์) โดยวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม คือ

  • ตะปูเข็ม
  • ดอกสามเดือน (จากบ้านตุ้ม นางพรทิพย์  สังข์สุวรรณ)
  • ดอกกล้วยไม้
  • ดอกดาวเรือง
  • หยวกกล้วย และใบตอง (จากบ้านน้องวิว น.ส.สริตา  คุ้มพิทักษ์)

2.ฝ่ายออกแบบ และเย็บกระทง โดยน้องแตง (น.ส.ศศิมา ขันทอง) และน้องวิว (น.ส.สริตา  คุ้มพิทักษ์) โดยกำหนดรูปแบบของกระทง (การพับใบตอง) คือ

  • แบบกลีบผกา
  • แบบกลีบกุหลาบ

3.ฝ่ายจำหน่ายกระทง

4.ฝ่ายดูแลจัดการสถานที่ โดยพี่กั้ง (น.ส.ชยาพร  สะบู่ม่วง) และน้องติงเตา (ด.ญ.ติงเตา)

ซึ่งพื้นที่ที่ใช้ในการทำกระทงนั้นเป็นบริวณศาลาริมน้ำหน้าบ้านน้องแตง และสถานที่ในการจำหน่าย คือ หน้าร้านขายกาแฟบ้านน้าแมว

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2557

พี่ๆ พาน้องๆ เยาวชนในชุมชนไปขายกระทง และร่วมงานลอยกระทงที่บริเวณสะพานนริศ เพื่อสืบสานประเพณีลอยกระทง

ผลการสร้างการเรียนรู้

  • เด็กๆ ได้รู้จักการวางแผนการทำงาน และการเตรียมความพร้อมหากเหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างที่หวัง
  • ผู้ใหญ่ในชุมชน เห็นความสำคัญของการทำกิจกรรมของเด็ก ๆ ทั้งยังส่งเสริม และสนับสนุน เช่น หยวกกล้วยจากบ้านน้องวิว ก็ได้ป้านา ซึ่งเป็นป้าของน้องวิวช่วยตัดต้นกล้วยให้
  • เห็นการมีส่วนร่วมระหว่างเด็ก และผู้ใหญ่ในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนในชุมชน
  • ผู้ใหญ่ภายในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ในวันลอยกระทงฝนตกหนัก จึงไม่สามารถทำการจำหน่ายกระทงได้  เด็ก ๆ จึงได้นำกระทงไปแจกลุง ป้า น้า อา ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
  • ดอกไม้ตกแต่งบางอย่างต้องหาซื้อ เนื่องจากดอกไม้ในชุมชนมีจำนวนไม่เพียงพอ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมประจำเดือนพฤศจิกายน2 พฤศจิกายน 2557
2
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้า การดำเนินงานโครงการ
  • เพื่อวางแผนการทำงานระยะต่อไปอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อรวบรวม วิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พูดคุยทักทาย ความเป็นอยู่ และให้คำปรึกษาเรื่องเรียน แก่น้องเยาวชน
  • ชี้แจงการทำกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยกิจกรรมหลักที่จะเกิดขึ้นคือ วันลอยกระทง
  • วางแผนหารือการทำกิจกรรม
  • สรุปการประชุม
  • รวมกันพัฒนาชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คืดกิจกรรม  เด็ก ๆ ให้ความสนใจกับงานลอยกระทงที่จะจัดขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 จึงได้ร่วมกันคิดกิจกรรมที่จะจัดในวันลอยกระทง คือ การขายกระทง
  2. วางแผนการดำเนินการ และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ โดยเด็ก ๆ ได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินการ ดังนี้
  • วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้

    • ใบตอง
    • เข็ม
    • หยวกกล้วย
    • ตะกร้า
    • ถ้วย
    • คัตเตอร์
    • กรรไกร
    • ลวดเย็บกระดาษ
    • ดอกไม้
  • กำหนดการวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558

    • เวลา 15.00 น. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ หยวกกล้วย ใบตอง ดอกไม้
    • เวลา 16.00 น. เด็ก ๆ พร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน
    • เวลา 17.00 น. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับการไปทำกิจกรรม (นั่งเรือข้ามฝากเพื่อไปขายยังตลาด)
    • เวลา 18.00 น. เปิดร้านขายกระทงบริเวณหน้าที่เรือตลาดแม่ครู
    • เวลา 21.00 น. เยาวชนร่วมลอยกระทงบริเวณท่าเรือตลาดแม่ครู
  • หน้าที่รับผิดชอบ

    • ฝ่ายเตรียมวัสดุอุปกรณ์  รับผิดชอบโดย  น้องวิว พี่ธัญ
    • ฝ่ายเตรียมสถานที่        รับผิดชอบโดย  น้องติงเตา น้องนุช
    • ฝ่ายประชาสัมพันธ์        รับผิดชอบโดย  พี่กั้ง น้องเบียร์
    • ฝ่ายผลิต                    รับผิดชอบโดย  น้องแตง น้องไอซ์ พี่ปอ
    • ฝ่ายขาย                      รับผิดชอบโดย  น้องฟิล์ม น้องนาถ
  • วัสดุที่สามารถหาได้ในชุมชน

    • หยวกกล้วย และใบตอง  จากบ้านน้องวิว
    • ดอกสามเดือน  จากบริเวณชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เยาวชนในชุมชน
  • เพื่อนเครือข่าย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ งวดที่ 130 ตุลาคม 2557
30
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำข้อมูลรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ งวดที่ 1 (ส.1)
  • แบบรายงานการสนับสนุนโครงการ - รายงานการเงินงวด 1
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำรายงานสรุปกิจกรรม สรุปรายงานการเงิน งวด 1 บันทึกข้อมูลลงเว็บไซด์
  • ตรวจสอบ ปรับแก้เอกสารการเงินโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นำข้อมูลที่ได้จากการทำโครงการ ตั้งแต่เริ่มต้น มาเรียบเรียงเขียนในรายงานเว็บไซด์ และรวบรวมรายงานการเงิน และวางแผนการทำกิจกรรมต่อไป
  • บันทึกปฏิทินโครงการเพิ่มเติมให้มีความสมบูรณ์
  • จัดทำเอกสารการเงิน ปรับแก้เอกสารการเงินให้ถูกต้องตามคำแนะนำ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย
  • นางสาวชยาพร สบู่ม่วง ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นางสาวธัญวรัตน์ ฐิตะโชติการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เวลาในการดำเนินกิจกรรม ไม่พร้อมเพรียงกัน  มีการวางแผนแต่ละเดือน ต่อไป
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ งวดที่ 130 ตุลาคม 2557
30
ตุลาคม 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบข้อมูลการเขียนรายงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำรายงาน บันทึกกิจกรรม
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถจัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ งวดที่ 1 รายงานการเงินโครงการ และรายงานการติดตามโครงการได้อย่างถูกต้อง สามารถส่งรายงานมห้ สจรส. สสส. เพื่อขอเบิกจ่ายงบประมาณโครงการในงวดที่ 2 ได้
  • เอกสารการเงินโครงการครบถ้วน สมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นางสาวชยาพร สบู่มวง ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นางสาวธัญวรัตน์ ฐิติโชติการ การเงินโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • พยายามรายงานผลการจัดกิจกรรมให้เป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อไม่ให้มีภาระงานตกค้าง 
กิจกรรมนักวิจัยวัยทีน ครั้งที่ 120 ตุลาคม 2557
20
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมสร้างทักษะการเก็บข้อมูลให้กับนักวิจัยวัยทีน ในการค้นหาข้อมูลชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 1

  • การเรียนรู้ อบรมการใช้ เครื่องมือ 7 ชิ้น วิธีการเก็บข้อมูลชุมชน  เช่น การเขียนผังเครือญาติ การวาดแผนที่ชุมชน การเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน การทำปฎิทินความสำคัญในชุมชน
  • การถ่ายภาพสิ่งดีๆ ในชุมชน และนำมาเล่าเรื่องราวให้กลุ่มเพื่อนๆ ฟัง
  • สรุปข้อมูลสิ่งดีๆ จากการเรียนรู้ และนำเสนอ

วันที่ 2

  • ศึกษาวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อทำปฏิทินชุมชน
  • ศึกษาประวัติชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน
  • ศึกษาระบบสุขภาพของคนในชุมชน กับ ป้าแต๋วประธาน อสม. ชุมชนหัวแหลมพัฒนา
  • ศึกษาโครงสร้างองค์กรชุมชนจากคณะกรรมการชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วิทยากรสอนทักษะ เครื่องมือการทำงานชุมชน ที่สำคัญ ได้แก่

1.ผังเครือญาติ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของคนในครับครัวที่สัมพันธ์กันโดยสสายเลือด และสัมพันธ์กันโดยการสมรส โดยการใช้สัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย เขียนง่าย เช่น วงกลม หมายถึง ผู้ชาย, สามเหลี่ยม หมายถึง ผู้หญิง , เครื่องหมาย "เท่ากับ" หมายถึง แต่งงานกัน , เครื่องหมาย "ไม่เท่ากับ" หมายถึง หย่าร้างกัน , วงกลม มีจุดสีดำด้านใน หมายถึง ผู้ป่วย หรือผู้พิการ

2.แผนที่ชุมชน เป็นการทำแผนที่ชุมชนด้วยมือ วาดจากการลงพื้นที่สำรวจบ้านของตนเองจริงๆ ตรงไหนวาดไม่ได้ ก็ลงไปสำรวจ ทำให้เข้าใจและรู้จักชุมชนของตนเองมากขึ้น

3.ประวัติศาตร์ชุมชน เป็นการช่วยกันสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ถึงประวัติ และความเป็นมาของชุมชน และนำมามาทำเป็นแผงผังแสดงเหตุการณ์สำคัญๆ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมน เพื่อให้เข้าใจง่าย และเห็นถึงภูมิหลังของชุมชน

4.ปฏิทินชุมชน เป็นการสัมภาษณ์คนในชุมชนเพื่อศึกษาถึงประเพณี วัฒนธรรม การประกอบอาชีพ แล้วมาจัดทำเป็นปฏิทิน ว่าภายใน 1 ปี ชุมชน มีประเพณีสำคัญๆ อยู่ในช่วงใดบ้าง  มีการประกอบอาชีพมด อยู่ในช่วงใดของปี ซึ่งปฏิทินของชุมชนพบว่า

  • เดือนมกราคม ทุกปีจะมีการจัดกิจกรรมวันปีใหม่ โดยทางชุมชนจะจัดหาของขวัญ เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมาร่วมกิจกรรมและจับของขวัญ อีกทั้งยังมีการแสดงจากเด็ก ๆ ในชุมชน
  • เดือนเมษายน จะมีการจัดกิจกรรมรดน้ำผู้สูงอายุในชุมชน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
  • เดือนกันยายน ช่วงวันส่งตายาย จะมีการทำขนมเข่ง ขนมเทียน และขนมใบพ้อ

5.ประวัติชีวิต เป็นการลงไปพุดคุยสอบถามคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน เพื่อให้ทราบข้อมูล ความเป็นของคนนั้นๆ ว่ามีความสำคัญกับชุมชนอย่างไร

จากการลงพื้นที่สอบถามนั้น ปู่ทิ้ง  สะบู่ม่วง นั้นได้มีบทบาทเป็นประธานชุมชน และนำพาชุมชนเข้าสู่การเรียนรู้การทำเกษตรด้วยการเริ่มต้นปลูกผักต่าง ๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุน และได้ทดลองทำผักไฮโดรโปนิค ซึ่งทำให้ชุมชนมีชื่อเสียงในเรื่องของผักปลอดสารพิษ

6.ระบบสุขภาพชุมชน เป็นการศึกษาระบบการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และการรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ

ระบบสุขภาพของคนนั้นชุมชนจะถูกดูแลโดย อสม.ชุมชนหัวแหลมพัฒนา ซึ่งทาง อสม.นั้นก็ได้มีการลงตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ ในชุมชนเป็นประจำทุกเดือน มีการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพร่วมกับผู้สูงอายุในชุมชน  โดยวิธีการรักษาของคนในชุมชนนั้นส่วนใหญ่หากเจ็บป่วยเล็กน้อยจะอาศัยการซื้อยาจากร้านขายยาทั่วไป หรือถ้าหากเป็นหนักก็จะเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลของรัฐ  บางบ้านมีความรู้ในเรื่องของสมุนไพร ก็จะใช้วิธีการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร

7.โครงสร้างองค์กรชุมชน เป็นการศึกษาความสัีมพันธ์ของคน กลุ่มคนที่มีอยู่ในชุมชน จากการศึกษากลุ่มคนต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงในชุมชนในเรื่องของสุขภาพ เช่น กลุ่มเยาวชนเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่เข้ามาทำกิจกรรมส่งเสริมการลดการดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอล์  เพื่อสุขภาพของชาวบ้านในชุมชน กลุ่ม อสม.ชุมชนหัวแหลมพัฒนา ที่คอยให้ความช่วยเหลือ ผู้ป่วยและดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน

  • เยาวชนที่เข้าร่วมอบรมได้วาดผังเครือญาติของตนเอง การเขียนผังเครือญาติ ทำให้เกิดการนับเครือญาติ และได้พูดคุยกับผู้ใหญ่และคนในครอบครัว ค้นพบญาติที่ห่างไกล ทราบความเป็นมาต่างๆ ของครอบครัวได้อย่างละเอียด  โดยมีการผังเครือญาติบ้านยายสำอางค์ บ้านลุงอ๊อด บ้านย่ามาลัย บ้านป้านา
  • เยาวชนในชุมชนการช่วยกันวาดแผนที่ชุมชน และพูดคุยเก็บข้อมูลบ้านแต่ละหลัง ว่าอยู่ทิศทางไหน ในชุมชน จนได้แผนที่ชุมชนที่มีความสวยงาม เป็นปัจจุบัน และเกิดจากฝีมือคนในชุมชนเอง
  • การลงพื้นที่ไปสอบถาม พูดคุย สำรวจข้อมูลเพื่อทำแผนที่ชุมชน ทำประวัติศาสตร์ชุมชน จากคนเฒ่าคนแก่ ผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งจากการบอกเล่าแลกเปลี่ยนประวัติชุมชนที่มีมาเดิม จากการเก็บข้อมูลชุมชน บุคคลสำคัญที่เด็กและเยาวชนแต่ละคนไปค้นหามา ทำให้ค้นพบศักยภาพชุมชน ทุน ภูมิปัญญา เพื่อที่จะนำมาในการสืบสานอาชีพเพื่อต่อยอดในการทำรายได้สู่ชุมชน เช่น การทำพวงมะหวด การทำอุปกรณ์ทางการประมง ความสามารถด้านงานฝีมือ การทำขนมไทย  ซึ่งต้นทุนของชุมชนนั้นจะมีย่ามาลัย  เป็นผู้ถ่ายทอดการทำขนมไทย สูตรเมืองเพชร โดยไข่เป็ดที่ใช้ทำนั้นก็เป็นของป้าแต๋ว ประธาน อสม.ของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 17 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนชุมชนหัวแหลมพัฒนา  11 คน
  • สภาเด็กและเยาวชนชุมชนหัวแหลมพัฒนา 3 คน
  • ทีมวิทยากรและพี่เลี้ยงโครงการ 3 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เรื่องราวชุมชนจะมีอายุหลายปี ทำให้ต้องมีการค้นหาข้อมูลกันอย่างละเอียดและสอบถามจากผู้สูงอายุ หรือปู่ ย่า ตา ยาย ในชุมชนเพื่อนำมาคิด วิเคราะห์ ให้เกิดข้อมูลประวัติที่แท้จริง  แนวทางการแก้ไข มีการแบ่งงานการเก็บข้อมูล สอบถาม สัมภาษณ์ และพูดคุยบอกเล่าเรื่องราว แล้วนำมาเสนอ ให้กับกลุ่มเพื่อนได้ฟัง คิด วิเคราะห์
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ร่วมกิจกรรมนักวิจัยวัยทีน20 ตุลาคม 2557
20
ตุลาคม 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนในชุมชนหัวแหลมพัฒนาสู่การเป็นนักวิจัย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • อบรมให้ความรู้และทักษะการทำงานเรื่อง “เทคนิค เครื่องมือ วิธีการจัดเก็บข้อมูลชุมชน” โดยเครื่องมือ ถ่ายภาพเล่าเรื่อง (Photo Novella) และเครื่องมือ 7 ชิ้นให้กับเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย
  • ปฏิบัติการจัดทำผังเครือญาติ แผนที่เดินดิน ปฏิทินชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชน
  • เยาวชนเป้าหมายลงพื้นที่เก็บข้อมูลพื้นฐานชุมชนโดยใช้ ถ่ายภาพเล่าเรื่อง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้เครื่องมือในการทำงานเพื่อเก็บข้อมูลชุมชน เครื่องมือ 7 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วย
  1. แผนที่เดินดิน
  2. ผังเครือญาติ
  3. โครงสร้างองค์กรชุมชน
  4. ประวัติศาสตร์ชุมชน
  5. ปฏิทินชุมชน
  6. ระบบสุขภาพ
  7. ประวัติบุคคลสำคัญ
  • เยาวชนได้ลงมือเขียนผังเครือญาติของตนเอง เพื่อวิเคราะห์ที่มา โครงสร้างในครอบครัว ได้ช่วยกันวาดแผนที่เดินดิน แผนที่ชุมชน ซึ่งเมื่อมีแผนที่ส่วนใดไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ก็มีการลงพื้นที่ไปสำรจ ไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้ได้แผนที่ชุมชนที่สมบูรณ์
  • เยาวชนมีการเก็บข้อมูลชุมชนเบื้องต้นไว้บ้างแล้ว จากกิจกรรม "รู้จักบ้านฉันผ่านการค้นหา" ทำให้พบของดีมากกมายในชุมชน ทั้งภูมิปัญญา การละเล่น อาหารการกิน ซึ่งทางวิทยากรในการอบรม คือ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรัตนา ชูแสง และนางสาวพจนีย์ แก้วเจริญ จากกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ ได้ให้เยาวชนลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในวันต่อไป เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ นำมาเขียนเป็นรายงานการศึกษาชุมชนต่อไป
  • เยาวชนมีความสุข สนุกสนานกับการลงพื้นที่พูดคุย เก็บข้อมูล และถ่ายภาพชุมชน มากกว่าการนั่งฟังการบรรยาย และลงมือช่วยกันวาดแผนที่ ระบายสีแผนที่ชุมชนจนสวยงาม สามารถนำมาใช้แทนแผนที่เดิมของชุมชนที่มีนักศึกษามาช่วยทำให้ตั้งแต่ปี 2545
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • เยาวชนชุมชนหัวแหลม 9 คน
  • เยาวชนเครือข่ายสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี 3 คน
  • กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ 2 คน
  • พี่เลี้ยงติดตามโครงการ 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เยาวชนเข้าร่วมเรียนรู้ได้น้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากบางส่วนเปิดเรียนแล้ว
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • จัดทำข้อมูลการศึกษาชุมชน ทั้งหมด ของดีชุมขน สิ่งที่ค้นพบในชุมชน เป็นรูปเล่มให้สวยงาม นำไปเก็บไว้ในห้องสมุดชุมชน เพื่อให้เยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้ ได้รู้จักชุมชนของตนเอง
กิจกรรมรู้จักบ้านฉันผ่านการค้นหา18 ตุลาคม 2557
18
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อนำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูลชุมชน เติมเต็มข้อมูล ชุมชนเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ผู้สูงวัย - เพื่อนำข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นำข้อมูลที่ได้ศึกษามารวบรวมรายละเอียด เช่น ข้อมูลพื้นฐานประชากรชุมชน ข้อมูลพื้นฐานอาชีพ ทุน ศักยภาพ ภูมิปัญญาชุมชน เป็นต้น
  • นำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูล และให้คนในชุมชนช่วยเติมเต็ม
  • จัดทำข้อมูลชุมชน แผนพัฒนาชุมชน และแผนการเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ศึกษาความเป็นมาและสภาพการเปลี่ยนแปลงของชุมชนโดยบทบาทของเยาวชน

  • ศึกษารวบรวมประวัติความเป็นมา  และศักยภาพของชุมชน
  • ศึกษาสภาพความเปลี่ยนแปลงของชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม อาชีพ วิถีชีวิต วัฒนธรรม
  • พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนในพื้นที่ (งานวิจัยวัยทีน)

สิ่งที่ได้รับ

  • การได้เรียนรู้เรื่องราวของชุมชนเพิ่มมากขึ้น / ความเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรม
  • มีความกล้าพูด กล้าคุย กล้าซักถามผู้ใหญ่ในชุมชนมากขึ้น

สิ่งที่น้องเยาวชนได้รับ

  • มีความสนใจเพิ่มขึ้น
  • มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น เช่น การแต่งกาย การพูดคุย
  • ความรับผิดชอบที่มีมากขึ้น
  • การพัฒนาฝีมือในการทำผลิตภัณฑ์
  • การพัฒนาทักษะของเยาวชน
  • ลดการเที่ยว / ภาวะเสี่ยงที่จะมีในเด็ก
  • ฟื้นสายสัมพันธ์ที่ดีของพี่ น้อง และเพื่อน
  • ได้รับความร่วมมือในการทำกิจกรรมจากน้อง ๆ มากขึ้น
  • ได้มีการพบปะพูดคุยกันมากขึ้นในชุมชน
  • เด็ก ๆ อยากทำกิจกรรมในชุมชนมากขึ้น

สิ่งที่เยาวชนแกนนำได้รับ

  • มีความรับผิดชอบ
  • เกิดทักษะการทำงานกับน้อง ๆ ในชุมชน
  • เกิดความอยากทำกิจกรรม อยากทำงาน สนับสนุนน้องเพิ่ม เช่น การสอนภาษา การส่งเสริมให้น้องเรียนหนังสือ
  • คิดทำงานเพื่อน้อง ๆ ผ่านกิจกรรมต้าง ๆ เช่น การสร้างรายได้ การทำผลิตภัณฑ์
  • ทำห้องสมุดชุมชน

2.จัดเวทีค้นหาศักยภาพชุมชน  และพัฒนาโครงการ

สิ่งที่ได้้รับ

  • เยาวชนรู้ข้อมูล และสนใจอยากทำงานต่อ
  • แบ่งงานให้น้อง ๆ ช่วยสร้างความเข้าใจกับชุมชน
  • รู้ว่าเยาวชนต้องทำอะไร และทำอย่างไร

3.ศึกษาดูงาน (พื้นที่บ้านเขาถ่าน อ.ท่าฉาง)

  • ศึกษาการทำลูกประคบจากสมุนไพร
  • ศึกษาการทำน้ำยาล้างจานจากน้ำหมัก
  • ศึกษาเศรษฐกิจพิเพียง (ปลูกผัก เลี้ยงหมู)

การปรับใช้ในชุมชน

  • เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานชุมชน เด็กสามารถทำงานในชุมชนได้ สร้างกลุ่มสร้างรายได้ให้กับเด็กในชุมชน
  • การแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น การนำต้นอ้อที่มีมากในชุมชนมาดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์
  • การทำห้องสมุดในชุมชน
  • การทำซุ้มประตูจากใบมะพร้าวถัก

แนวคิดการทำงานต่อ

  • ทำลูกประคบ ช่วยดูแลผู้สูงอายุ
  • การทำยาดมสมุนไพร
  • ทำกระเป๋าผ้า เพื่อเป็นของฝากจากชุมชน
  • การเพิ่มรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์

4.จัดทำแผนที่ชุมชน

  • การเติมเต็มความรู้ ทักษะการทำงนวิจัย
  • กระบวนการภาพเล่าเรื่อง
  • การเก็บข้อมูลชุมชน
  • ทำแบบสอบถาม

สิงที่ได้รับ

  • รู้วิธีการทำงานวิจัย และการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลชุมชน
  • ลงปฏิบัติการจริงในชุมชน
  • มีการวางแผนการทำงานที่ชัดเจนขึ้น

ขอบเขตการศึกษา

1.ประวัติความเป็นมาของชุมชน ในช่วงแรกของชุมชนนั้นยังมีสภาพแวดล้อมที่เป็นแม่น้ำ การสัญจรจะมีสะพานไม้ไว้เชื่อมบ้านเรือนในชุมชน จนต้อมาทางชุมชนได้ร่วมกันถมที่ดินเพื่อให้เกิดเป็นพื้นดินขึ้นมา และมีการจัดทำถมที่ดินเรื่อย ๆ จนเป็นแผ่นดินในปัจจุบัน ต่อมาชาวบ้านได้มีการจัดตั้งเป็นชุมชน เกิดการสหกรณ์

2.อาชีพของคนในชุมชน

  • การทำประมง = ประมงพื้นบ้าน และประมงพาณิชย์
  • ค้าขาย = ผักสด ปลา ของชำ

3.การสนับสนุนที่มีภายในชุมชน

  • สาธารณะสุขจังหวัด ที่ส่งเสริมเรื่องการจัดการขยะ อาหารปลอดภัย แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
  • พอช. บ้านมั่นคง
  • สปสช. ดูแลเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุ
  • เครือข่ายองค์กรงดเหล้า
  • สสส. สนับสนุนการทำโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
  • เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี

4.วัฒนธรรม ภูมิปัญญาและศักยภาพที่มีในชุมชน

  • การทำเครืื่องมือประมง เช่น ถักอวน ถักแห
  • เกษตรกรรม การปลูกผักไร้ดิน
  • งานช่าง เช่น ช่างต่อเรือ ช้างไม้ ช่างปูน
  • อาหาร และขนมหวาน เช่น ทองหยิบทองหยอด ฝอยทอง
  • งานฝีมือ เช่น การทำพวงมะหวด การถักกระเป๋า ผลิตภัณฑ์จากกะลา การทำสิ่งของเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ ของเล่น

5.สิ่งที่เยาวชนจะดำเนินการต่อไป

กิจกรรมให้ความรู้

  • ทำห้องสมุดในชุมชน
  • สอนหนังสือ และสอนภาษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาที่มีในชุมชน
  • กิจกรรมให้ความรู้ สอนทำผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ ศิลปะ
  • การเรียนทำขนม
  • การเรียนทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

กิจกรรมสร้างรายได้

  • เก็บขยะ ขายขยะแลกของเก่า
  • ทำผลิตภัณฑ์ของฝากขอที่ระลึกจากชุมชน เช่น ถุงผ้า กระเป๋าสาน ยาดม
  • ทำขนม เช่น ขนมดอกจอก ถั่วกรอบแก้ว
  • ทำแหนมเห็ด

กิจกรรมเพื่อชุมชน

  • ทำลูกประคบเป็นของฝากให้ผู้สูงอายุในชุมชน

กิจกรรมกลุ่ม (การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม)

  • ลดขยะในชุมชน โดยการใช้กล่องข้าว และกระติกน้ำ
  • การออม โดยการออมวันละบาท และออมรายกลุ่ม
  • ทุนการศึกษาสำหรับน้องเยาวชน

  • ค้นพบข้อมูลประวัติศาสตร์ในชุมชนก่อนที่จะก่อตั้ง พบเห็นข้อมุลประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสิ่งที่เป็นหลักฐานยืนยัน คือ อู่ต่อเรือญี่ปุ่นสมัยสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2

  • มีการพูดคุย แลกเปลี่ยน ในเรื่องราวชุมชน แต่ละช่วงวัยของตนเอง ทำให้ทราบว่า ชุมชนหัวแหลมพัฒนามีประวัติความเป็นมายาวนาน
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของเยาวชนในทิศทางที่ดีขึ้น
  • เยาวชนเกิดการเรียนรู้เรื่องราวในชุมชน
  • เยาวชนและพี่แกนนำ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในชุมชน
  • เยาวชนได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานอย่างมีระบบ รู้จักการคิดวิเคราะห์ การวางแผนเพื่อการสำรวจข้อมูล
  • มีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างเด็กและเยาวชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนชุมชน
  • สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • จำนวนผู้เข้าร่วม เวลาไม่ตรงกัน เนื่องจาก มีภาระกิจครอบครัว และงาน ทำให้การทำกิจกรรมไม่พร้อมกัน  แนวทางการแก้ไข  มีการจัดเวลา และแบ่งงานเพื่อให้เกิดการศึกษาข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครบทุกคน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ชวนลูกหลานเยี่ยมบ้านตายาย ครั้งที่ 216 ตุลาคม 2557
16
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนสองวัย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เยาวชนลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของชุมชน ชวนผู้สูงอายุเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านมาของชุมชน โดยทางเยาวชนเองก็พร้อมที่จะเรียนรู้และสนใจเรื่องราวความเป็นมาของชุมชน
  • เยาวชนได้สัมภาษณ์ข้อมูลของผู้สูงอายุในชุมชน คือ
  1. สัมภาษณ์นางวรรณี  แจ่มกระจ่าง (ป้าแต๋ว)
  2. สัมภาษณ์นางจันทนา  อ่อนหาด (ป้าแมว)
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เยาวชนได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุ ชอบที่ที่จะทำกิจกรรมร่วมกับเยาวชน
  3. เยาวชนสนใจอยากเรียนรู้เรื่องราวในชุมชน
  4. เยาวชนได้มีการเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนเพิ่มขึ้น โดยจากการพูดคุยกับคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน สามารถสรุปข้อมูลได้ ดังนี้
  • สัมภาษณ์นางวรรณี  แจ่มกระจ่าง (ป้าแต๋ว)
  • สัมภาษณ์นางจันทนา  อ่อนหาด (ป้าแมว)

  • โดยผู้สูงอายุได้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชุมชนในช่วงเวลาที่ตนเองเข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชน เริ่มจากการที่ชุมชนเป็นคลองไม่มีพื้นที่ดิน เป็นผืนน้ำ การสัญจรบนเกาะนั้นเป็นรูปแบบของการเดินบนสะพานไม้ และในช่วงเวลาต่อมาทางชุมชนได้รวมตัวกันและมีการถมทราย และได้ถมทรายมาเรื่อย ๆ จนเป็นชุมชนในปัจจุบันนี้

ผลของการดูแลสุขภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มเด็กและเยาวชนชุมชนหัวแหลมพัฒนา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  1. ในการเรียนรู้เรื่องราวในชุมชนนั้น ได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน เนื่องจากผ้สูงอายุที่มาอยู่ก่อนได้เสียชีวิตไปเกือบหมดแล้ว
  2. บางครั้งผู้สูงอายุก็หลงลืมข้อมูลภายในชุมชนไปบ้าง
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ชวนลูกหลานเยี่ยมบ้านตายาย ครั้งที่ 115 ตุลาคม 2557
15
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนสองวัย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ชวนเยาวชนลงไปเยี่ยมบ้านตา - ยาย เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ในชุมชน ที่ผู้สูงอยากถ่ายทอด และถามไถ่ดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกไม่ถูกทอดทิ้ง รู้สึกไม่เหงา  เพราะผู้สูงอายุที่อยู่กับบ้านจะไม่ค่อยได้ออกไปไหน ในยามกลางวันที่ลูกหลานตนเองไปทำงานข้างนอกบ้าน
  • การประชุมเพื่อทำกิจกรรมในครั้งถัดไปของชุมชน โดยในวันที่ 16 ตุลาคม 2557 จะมีการเข้าไปเยี่ยมบ้านตา - ยาย ท่านอื่นภายในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องราวในชุมชนจากผู้สูงอายุ โดยได้ลงไปสัมภาษณ์คนเฒ่าคนแก่ ดังนี้

  • สัมภาษณ์ย่ามาลัย  สะบู่ม่วง
  • สัมภาษณ์นางสอางค์  สังข์สุวรรณ

จากการสัมภาษ์ได้ทราบเรื่องราวสมัยที่ย่า / ยาย อยู่ครั้งเมื่อยังสาวนั้น บริเวณพื้นที่หัวแหลมนั้นเป็นเพียงแค่ที่พักค้างแรมชั่วคราวของเรือสำเภอที่เดินทางมาส่งสินค้าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาได้มีการเข้ามาอยู่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่เริ่มก่อตั้งเป็นชุมชนอย่างชัดเจน เพียงแต่มีการอาศัยกันอยู่อย่างปักหลักถาวร โดยการจับจองพื้นที่ใครอยากอยู่บริเวณก็จับจองตรงนั้น ไม่มีใครทราบว่าใครเป็นเจ้าของ จนต่อมาได้มีจัดตั้งเป็นชุมชน มีการซื้อทราบมาถมที่เพื่อสร้างเป็นแผ่นดินที่สูงขึ้น โดยชาวบ้านรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์และนำเงินส่วนนั้นมาพัฒนาชุมชน

2.เยาวชน และผู้สูงอายุมีเวลารวมกัน จากการสังเกตเยาวชนเองก็ชวนให้ผู้สูงอายุเล่าเรื่องราวที่ผ่านมา ส่วนตัวผู้สูงอายุเองก็มีความสุขเวลาเล่าเรื่องราวให้เยาวชนฟัง

3.เยาวชนและผู้สูงอายุ มีความคิดร่วมกันถึงการสร้างรายได้ให้ชุุมชน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เยาวชนชุมชนหัวแหลมพัฒนา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ชวนลูกหลานสืบสานภูมิปัญญาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ครั้งที่ 112 ตุลาคม 2557
12
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เยาวชนได้สืบสานเรียนรู้ ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญา จากรุ่นสู่รุ่น- เพื่อการต่อยอดภูมิปัญญาสู่การสร้างอาชีพ สร้างรายได้
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นำเยาวชนและผู้สูงวัยร่วมกิจกรรมเรียนรู้ สืบสานภูมิปัญญาที่สามารถนำมาต่อยอดสร้างเป็นอาชีพเสริม เป็นรายได้เสริมให้เยาวชนได้ จากครูภูมิปัญญาที่มีในชุมชน โดยมีรุ่นพี่ที่สามารถถ่ายทอดความรู้การทำกระเป๋าผ้าให้กับเยาวชนมาเป็นคนฝึกปฏิบัติให้ โดยมีการวางแผนจะนำกระเป๋าผ้าที่ทำได้ออกจำหน่ายเป็นของที่ระลึกในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เยาวชนเกิดการเรียนรู้ การทำสิ่งใหม่  เกิดความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก

แนวความคิด

  • เยาวชนช่วยกันคิดสิ่งที่คิดว่าตนเองน่าจะทำได้ และอยากให้ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นของที่ระลึกกันผู้ที่มาเยี่ยมชุมชน ซึ่งของฝากนั้นจะเป็นของฝากจากลุ่มเยาวชน จึงได้เกิดการทำกระเป๋าผ้าดิบที่ทำจากฝีมือของเยาวชน เพื่อเป็นที่ระลึกให้กับผู้ที่มาเยี่ยมชม

วัสดุ-อุปกรณ์

  1. กระเป๋าผ้าดิบ ขนาดตามใจชอบ
  2. ตัวอักษรเรซิ่น
  3. อุปกรณ์ตกแต่ง เพื่อความสวยงาม
  4. กาวร้อน

วิธีการ

  1. เยาวชนช่วยกันออกแบบ เลือกรูปแบบของกระเป๋าที่นำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์
  2. ทดลองปฏิบัติ โดยนำตัวอักษรมาวางลงบนกระเป๋าผ้า และปรับรูปแบบให้น่ารักและเหมาะสม
  3. ติดกาว เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการ
  4. รอให้แห้ง และสามารถนำไปใช้งานได้
  • เด็กสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • เยาวชนสามารถมีรายได้เป็นของตนเอง โดยจะมีการนำถึงผ้าออกจำหน่ายในชุมชน และในตลาดริมน้ำซึ่งอยู่ตรงข้ามชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวในวันหยุดเสาร์ -อาทิตย์ของคนสุราษฎร์ธานี
  • สร้างความภาคภูมิใจ และสร้างคุณค่าในเยาวชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มเยาวชนชุมชนหัวแหลมพัฒนา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมประจำเดือนกันยายน30 กันยายน 2557
30
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้า การดำเนินงานโครงการ
  • เพื่อวางแผนการทำงานระยะต่อไปอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อรวบรวม วิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • รายงานกิจกรรมที่ดำเนินการในเดือนกันยายน
  • สรุปเพิ่มเติมกิจกรรม และ สรุปบทเรียนกิจกรรมกับเด็กๆ ในการทำกิจกรรม
  • เด็ก ๆ และผู้ใหญ่ได้มีการวางแผนร่วมกันเพื่อหากิจกรรมที่สอดคล้องกับชุมชน
  • วางแผนการทำกิจกรรมครั้งต่อไป ซึ่งในเดือนตุลาคม จะจัดกิจกรรมชวนลูกหลานเยี่ยมบ้านตายาย และกิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญาสร้างมูลค่าเพิ่ม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.สรุปบทเรียน  การเรียนรู้จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เข้าร่วม

กิจกรรมประเพณีสารทเดือนสิบ

  • ได้เรียนรู้พิธีการในการสืบทอดวัฒนธรรม ในการส่งตา - ยาย
  • เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ วางแผนการทำกิจกรรม
  • ได้จัดเตรียมอุปกรณ์ด้วยตนเอง ซึ่งปกติจะเป็นผู้ปกครองเป็นคนจัดเตรียมให้ และตัวเองไปวัดในตอนเช้า
  • ได้รู้ถึงเรื่องของชุดสังฆทานที่ซื้อจากร้านว่าไม่สามารถใช้การได้ ต่างจากการเลือกซื้อสินค้าแล้วมาจัดเอง

กิจกรรมเรียนรู้การทำลูกประคบ

  • ได้เรียนรู้เรื่องสมุนไพรที่ใช้ในการลูกประคบ เรียนรู้ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง
  • ได้รู้ว่าที่ชุมชนของตนเองมีพื้ชสมุนไพรชนิดไหนบ้าง
  • ได้เรียนรู้ประโยช์ของสมุนไพรชนิดต่าง ๆ และเรียนรู้ประโยชน์ที่เกิดการลูกประคบ

กิจกรรมทำผลิตภัณฑ์โดยกลุ่มเยาวชน (กระเป๋าผ้าดิบ)

  • ได้ฝึกการใช้จินตนาการ
  • เรียนรู้การปรับใช้สิ่ง ๆ ต่างรอบตนเองในการสร้างสรรค์ผลงาน
  • ได้คิดวิธีการใหม่ ๆ ในการตกแต่งกระเป๋าผ้า เช่น การวาดภาพบนกระเป๋า
  • เกิดการต่อยอดความคิดตามจินตนาการจากวัสดุ - อุปกรณ์ที่มี เช่น การทำพวงกุญแจ เป็นต้น

2.สะท้อนความรู้สึกที่ได้ทำกิจกรรม

  • รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของชุมชน
  • ได้รู้ว่าตนเองมีศักยภาพในการทำสิ่งต่าง ๆ
  • เกิดความภาคภูมิใจ ในการมีส่วนร่วมที่จะสร้างรายได้ให้กับชุมชน และตนเอง
  • รู้สึกผูกพันกับชุมชน เพราะได้มีส่วนร่วมกับผู้ใหญ่ ในชุมชนในการเข้าวัดทำกิจกรรมด้วยกัน

3.ทำความเข้าใจและวางแผนกิจกรรมต่อไป เช่น วันสำคัญ และประเพณี และกิจกรรมที่ต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน

4.เด็ก ๆ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มผู้สูงอายุ
  • คณะกรรมการชุมชน
  • เด็กและเยาวชนชุมชน
  • กลุ่ม อสม.ชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมพี่ชวนน้องเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน ครั้งที่ 2 (สมุนไพร)27 กันยายน 2557
27
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิต  การสร้างเสริมสุขภาวะให้กับเยาวชน - เพื่อเรียนรู้และสืบสานภูมิปัญญาที่มีในชุมชนจากครูภูมิปัญญา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เยาวชนได้ไปเรียนรู้การทำสมุนไพรลูกประคบ จากกลุ่มสมุนไพรวัยทีนบ้านเขาถ่าน  โดยการทำกิจกรรมนั้นได้มีคุณขนิษฐา รักเขียว เป็นผู้ให้ความรู้แก่เด็กๆ ในเรื่องประโยชน์  ส่วนผสมของสมุนไพรลูกประคบ
  • เด็กๆ ยังได้ทดลองทำสมุนไพรลูกประคบได้ด้วยตนเอง ซึ่งครั้งนี้คุณขนิษฐา  รักเขียว ได้สอนเด็กๆ ทำลูกประคบตัว และลูกประคบหน้า
  • เด็กๆ ยังได้ทำน้ำยาล้างจานด้วยตนเอง พร้อมทั้ง ชวนเด็ก ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำกิจกรรม และชวนเด็ก ๆ คิดกิจกรรมที่เป็นผลิตภัณฑ์ของเยาวชนในชุมชนหัวแหลมพัฒนา  เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับเด็ก ๆ ชุมชน  หลังจากนั้นได้เด็กได้เดินเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้  ชมสวนสมุนไพร และเยี่ยมชมสวนลองกองของคุณขนิษฐา  รักเขียว
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ความรู้ที่ได้จากการทำสมุนไพรลูกประคบ

  • อุปกรณ์การทำลูกประคบ
  1. ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ ตัดเป้นผืนขนาด กว้าง 35 เซนติเมตร  x ยาว 35 เซนติเมตร
  2. เชือกหรือหนังยาง
  3. ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ
    นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์เสริมเวลาใช้งานอีก คือ
  4. หม้อสำหรับนึ่งลูกประคบ
  5. จานหรือชามอลูมิเนียมเจาะรู (เพื่อให้ไอน้ำผ่านได้) รองลูกประคบ
  • วิธีการทำลูกประคบ
  1. หั่นหัวไพล ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ผิวมะกรูด ตำมะกรูด ตำพอหยาบๆ (เวลาประคบจะได้ไม่ระคายเคือง)
  2. นำใบมะขาม ใบส้มป่อย (เฉพาะใบ) ผสมกับสมุนไพรข้อ1 เสร็จแร้ว ใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เป้นเนื้อเดียวกัน แต่อย่าให้แฉะจนเป้นน้ำ
  3. แบ่งตัวยาที่เรียบร้อยแล้วใส่ผ้าดิบห่อเป้นลูกประคบประมาณลูก ส้มโอ รัดด้วยเชือกให้แน่น
  • ประโยชน์ของการประคบ (จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน)
  1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย
  2. ช่วยลดอาการบวมอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อหลัง 24-48 เซนติเมตร
  3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  4. ช่วยให้เนื้อเยื่อ ผังผืด ยืดตัวออก
  5. ลดการติดขัดของข้อต่อ
  6. ลดอาการปวด
  7. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

ข้อควรระวังในการประคบสมุนไพร

  • ไม่ควรใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่เคยเป็นแผลมาก่อนหรือบริเวณที่มีกระดูกยื่น และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อัมพาต ในเด็กและผู้สูงอายุ เพราะมักมีความรู้สึกในการรับรู้และตอบสนองช้าอาจทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ง่าย
  • ไม่ควรใช้การประคบสมุนไพรในกรณีที่มีการอักเสบปวดแดงร้อน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก เพราะจะทำให้อักเสบบวมมากขึ้นและอาจมีเลือดออกมากตามได้

สิ่งที่เด็กๆ ได้จากการเรียนรู้

  1. การนำไปต่อยอดในชุมชน
  2. การเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยที่เด็ก ๆ อยากมีส่วนร่รวม และสนุกสนานกับกิจกรรมที่ทำ
  3. การจากสังเกตุพฤติกรรมของเด็ก ๆ สังเกตได้ว่าเด็ก ๆ ให้ความสนใจกับการทำกิจกรรม และชอบที่จะทำกิจกรรมในเชิงปฏิบัติ
  4. การทำน้ำยาล้างจานด้วยตนเองจากน้ำหมักชีวภาพ
  5. การได้เรียนรู้เรื่องสมุนไพร  และพบว่ามีสมุนไพรบางอย่างที่มีมากในชุมชน โดยที่เด็ก ๆ ไม่รู้ว่านั่นคือสมุนไพร

ข้อเสนอแนะจากคุณขนิษฐา  รักเขียว

  1. เด็กๆ ทุกคนดูมีความตั้งใจในการทำกิจกรรม
  2. อยากให้เด็กๆ มีผลิตภัณฑ์ของเยาวชนในชุมชน เป็นของฝากจากเด็ก ๆ ในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับเด็กๆ ในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มสมุนไพรวัยทีน บ้านเขาถ่าน
  • เยาวชนชุมชนหัวแหลมพัฒนา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • จำนวนผู้เข้าร่วมไม่ถึงเกินที่กำหนด เนื่องจากเยาวชนในพื้นที่อยู่ในช่วงสอบ และกำลังจะปิดเทอม จึงไม่สามารถมาร่วมงานได้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

พี่ชวนน้องเรียนรู้ภูมิปัญญา ครั้งที่ 1 (ประเพณีวันสารทเดือนสิบ ส่งตายาย)23 กันยายน 2557
23
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อส่งเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิต การสร้างเสริมสุขภาวะให้กับเยาวชน
  • เพื่อเรียนรู้และสืบสานภูมิปัญญาที่มีในชุมชนจากครูภูมิปัญญา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เยาวชนรุ่นพี่ในชุมชนนำรุ่นน้องลงไปเรียนรู้วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น ภูมิปัญญาที่ค้นพบในชุมชนกับครูภูมิปัญญา หรือคนที่มีความรู้ในชุมชนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต โดยไปร่วมทำบุญที่วัดและเรียนรู้ประเพณีวันสารทเดือนสิบ การส่งตายาย การแห่หมรับ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เยาวชนเกิดการเรียนรู้ในประเพณีวัฒนธรรมของตนเอง คือ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ ส่งตายาย การชิงเปตร การจัดร้านเปรต การจัดหมรับ การแห่หมรับ โดยเยาสวชนมาช่วยกันเตรียมของสำหรับการไปวัดด้วยตนเอง ได้แก่ การเตรียมของสำหรับการไปทำบุญ ตั้งแต่การซื้อข้าวสาร อาหารแห้ง การจัดสังฆทานด้วยตัวเด็ก ๆ เอง
  2. เยาวชนมีการเตรียมป้ายโครงการ โดยเด็ก ๆ มีส่วนร่วมในการเขียนป้ายผ้าโครงการแทนการใช้ป้ายไวนิล เพื่อเป็นการลดการใช้พลาสติก ลดปริมาณขยะในชุมชน
  3. เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการทำบุญ เข้าวัด ฟังธรรม และได้หันมาใส่ใจในการเข้าวัดมากขึ้น โดยในวันส่งตายาย
    เยาวชนเจอกันบริเวณหน้าวัดกลางเก่า และเยาวชนร่วมกันทำบุญตักบาตร
  4. การร่วมกันเข้าวัด ทำบุญ ของลูกหลานและตายาย เป็นการสืบทอดประเพณี เป็นการสานสัมพันธ์อันดีในครอบครัว เพราะโดยส่วนใหญ่นั้นเด็กๆ จะไปวิ่งเล่น แล้วตายายจะไปวัด ตอนนี้เด็กๆ ก็ได้มีช่วยกันเตรียมของเพื่อไปทำบุญแทนการวิ่งเล่น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

25 คน

  • กลุ่มเด็กและเยาวชนชุมชน
  • กลุ่ม อสม.ชุมชน
  • กลุ่มผู้สูงอายุชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา

  • การเตรียมการ เนื่องจากช่วงเวลาที่ทำกิจกรรมเป็นช่วงเวลาเปิดเรียน เด็ก ๆ จึงมาเตรียมกิจกรรมได้ในช่วงเย็นหลังเลิกเรียน

แนวทางแก้ปัญหา

  • ทางรุ่นพี่ในชุมชน ช่วยกันเตรียมการก่อนแล้วให้เด็กๆ มาสมทบภายหลัง
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมประจำเดือนสิงหาคม30 สิงหาคม 2557
30
สิงหาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้ากิจกรรมโครงการ
  • เพื่อวางแผนการดำเนินงานครั้งต่อไปอย่างต่อเนื่อง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • รายงานกิจกรรมที่ดำเนินงาน
  • นำเสนอข้อมูลและกิจกรรมที่ดำเนินการ
  • สรุปกิจกรรมประจำเดือนสิงหาคม
  • วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมอื่นๆ
  • สรุปกิจกรรมอื่นๆ ในชุมชน เช่น การประชุมผู้สูงอายุประจำเดือน การประชุมกลุ่มสหกรณ์ชุมชน โครงการบ้านมั่นคงชุมชนหัวแหลมพัฒนา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การคิดค้นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่นำมาต่อยอดให้ของดีชุมชน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาต่อยอดในชุมชนนั้น คือ ยาดมสมุนไพร และกระเป๋าผ้าที่ระลึกจากเด็กและเยาวชนชุมชนหัวแหลมพัฒนา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนในชุมชน ที่ชอบและรักในการทำงานฝีมือ โดยใช้ความคิดในแบบเด็ก เพื่อให้ผู้ใหญ่ได้เห็นถึงความคิดของเด็ก ๆ
  • กิจกรรมเปิดโครงการบ้านมั่นคง ในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมในช่วงเดือนตุลาคม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มเด็กและเยาวชน
  • กลุ่ม อสม.ชุมชน
  • คณะกรรมการชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เวลาในการจัดกิจกรรม หรือการวางแผน ไม่ตรงกัน กับกิจกรรมที่กำหนด

แนวทางการแก้ไข

  • การแบ่งกิจกรรมหน้าที่ ที่เหมาะสมกับเวลาแต่ละช่วงวัย เช่น ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีสร้างความเข้าใจคนสูงวัย / คนวัยทีน12 สิงหาคม 2557
12
สิงหาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจ รูปแบบการดำเนินงานโครงการ- เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนสองวัย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ที่จัดทำโครงการ พื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัย ชุมชนหัวแหลมพัฒนา
  • พูดคุยแลกเปลี่ยนกิจกรรมในโครงการ นำเสนอกิจกรรมครั้งต่อไป และสร้างความเข้าใจ
  • การรับสมัครและเปิดโอกาสให้กับเยาวชน ในชุมชนแสดงความคิดเห็น และกิจกรรมที่อยากจะให้มีการร่วมสร้างกันระหว่างสองวัย เช่น การทำผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างรายได้และความสนิทสนมใกล้ชิด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัย ชุมชนหัวแหลมพัฒนา ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจาก สสส. เพื่อให้ที่ประชุมทราบ โดยมีพี่เลี้ยงติดตามโครงการ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง ช่วยชี้แจงสร้างเข้าใจมากขึ้น
  • ที่ประชุมได้ร่วมคิด และเสนอการสร้างให้ชุมชนเข้มแข็งในการร่วมมือของชาวชุมชน โดยกลุ่มผู้สูงอายุกับเด็กและเยาวชนเป็นเป้าหมายหลัก ในการทำกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ทั้งชุมชน  เช่น การทำผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำได้ในชุมชน เพือเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และครอบครัว ทั้งยังเป็นการใช้เวลาว่างของเด็กร่วมกับผู้สูงอายุ และครอบครัว
  • เกิดข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชน เช่น การทำเรื่องของการรณรงค์ลดขยะภายในชุมชน การสร้างความร่วมมือภายในชุมชน เช่น การมีส่วนร่วมของเด็ก ๆ ในการทำห้องสมุดชุมชน และการนำภูมิปัญญามาสร้างคุณค่าให้กับชุมชน เช่น ภูมิปัญหาในการทำงานฝีมือของผู้ใหญ่ในชุมชน เช่น การพับกระดาษ การทำว่าว ที่สามารถนำมาถ่ายทอดให้เด็ก ๆ และสร้างเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนต่อไปได้หามีการพัฒนาและมองเห็นว่านี่คือสัญลักษณ์ของชุมชน และซึ่งมีการนัดหมายกิจกรรมในครั้งต่อไปกับผู้สูงวัย และเยาวชนในชุมชน มีการพูดคุยกันบ้างในการเสนอแนะความคิดเห็นต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มผู้สูงอายุ
  • เด็กและเยาวชน
  • คณะกรรมการชุมชน
  • อสม.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา

  • ความกล้าแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เนื่องจาก กลุ่มผู้สูงวัยกับเด็กและเยาวชน ยังไม่มีการพูดคุยเชื่อมร้อยความสัมพันธ์กันมากพอสมควร

แนวทาง

  • จะจัดกิจกรรมที่สามารถพูดคุยและปรึกษากันบ่อยๆครั้ง เช่น การฝึกสอนภูมิปัญญา ความรู้ที่แต่ละช่วงวัยมี เพื่อเป็นการสร้างคุณค่าให้กับตนเอง ในการมานั่งพูดคุยเล่าเรื่องราว ในชุมชน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • แนะนำกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่สามารถให้สองวัยมีความสนิทและความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น
ร่วมเวทีสร้างความเข้าใจคนสูงวัย / วัยทีน12 สิงหาคม 2557
12
สิงหาคม 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมเพื่อชี้แจงกระบวนการทำงาน รายละเอียดโครงการ และงบประมาณที่ได้รับ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัยชุมขนหัวแหลมพัฒนามากขึ้น
  • มีการประชุมเพื่อกำหนดปฏิทินในการทำงน โดยเฉพาะการกำหนดวันในการประชุมคณะทำงานโครงการ ซึ่งต้องเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเยาวชน เบื้องต้นยังไม่สามารถตกลงวันประชุมได้แน่นอน เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีเวลาว่างที่ไม่ตรงกัน ในขั้นต้นได้กำหนดให้ประชุมในวันพฤหัสบดี ที่ 2 ของทุกเดือน ในเวลา 17.00 - 18.00 น. ไปก่อน
  • ชุมชนยังใช้โอกาสในวันนี้สร้างความจงรักษ์ภักดี เทิดทูนสถาบันพระมหากษํทย์ให้คนในชุมชน โดยการร่วมกันจุดเทียนชัยถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต พระบรมราชินีนาถด้วย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้สูงอายุ
  • เยาวชน
  • แกนนำชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ปัญหาเรื่องเวลาในการจัดกิจกรรม เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีสองกลุ่มที่มีเวลาว่างไม่ตรงกัน ต้องหาทางแก้ไขปัญหา
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ควรจัดเวทีทำความเข้าใจโครงการที่ละประเด็นที่ละเรื่อง เพื่อให้คนในชุมชนไม่เกิดความสับสน
ประชุมประจำเดือนมิถุุนายน30 มิถุนายน 2557
30
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานคามก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ- เพื่อวางแผนการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
  • วางแผน แบ่งคณะทำงาน กิจกรรม
  • การคัดเลือกคณะทำงานกิจกรรมในชุมชน เช่น อาสาสมัครในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีกลุ่มแกนนำชุมชนในการทำงานพัฒนา และเพิ่มข้อเสนอในการจัดกิจกรรมโครงการพื้นที่สร้างสรรค์สานสัมพันธ์คนสองวัย ชุมชนหัวแหลมพัฒนา เกิดแกนนำเด็กและเยาวชนในการประสานงาน มาจัดกิจกรรมในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

เด็กและเยาวชน

  • ด.ญ.สุุทธินาถ  หนูจันทร์
  • ด.ญ.นันท์นภัส  เสถียรธนฉัตร์
  • ด.ญ.นุช
  • ด.ญ.ติงเตา
  • ด.ญ.ชยาทิพย์  สะบู่ม่วง
  • น.ส.ธัญวรัตน์  ฐิตะโชติการ
  • น.ส.ฐินันวา  ฐิตะโชติการ
  • น.ส.ศศิมา  ขันทอง
  • น.ส.ปุณยวีร์  ชัยธรนิธิวงศ์
  • น.ส.สริตา  คุ้มพิทักษ์
  • น.ส.ฐิติวรดา  เสนากุล
  • น.ส.ทิพวรรณ  วรรณดี

คณะกรรมการชุมชน

  • นางปนัดดา หนูจันทร์
  • น.ส.พรทิพย์  สังข์สุวรรณ

คณะทำงานโครงการพืื้นที่สร้างสรรค์สานสัมพันธ์คนสองวัย ชุมชนหัวแหลมพัฒนา

  • น.ส.ชยาพร  สะบู่ม่วง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปฐมนิเทศโครงการ14 มิถุนายน 2557
14
มิถุนายน 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่่นน่าอยู่ภาคใต้
  • เพื่ออบรมให้ความรู้เรื่องการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการทางเว็บไซด์
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ปฐมนิเทศโครงการ ทำความเข้าใจ
  • สอนการรายงานผลการดำเนินงานโครงการทางเว็บไซด์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผศ.ดร.พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ ให้ข้อคิด แนวทางการดำเนินงานโครงการเพื่อสรา้งความเข้าใจของชุมชน
  • ทีมพี่เลี้ยงโครงการ ประกอบด้วย อาจารย์ไพทูรย์ ทองสม อาจารย์เสนีย์ พี่เลี้ยงจังหวัดพัทลุง และนางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง พี่เลี้ยงสุราษฎร์ธานี ช่วยกันให้ข้อเสนอแนะ วิธีการดำเนินงานโครงการ วิธีการใช้งบประมาณ วิธีการทำเอกสารทางการเงิน และวิธีการลงรายงานกิจกรรมทางเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข
  • ทีมงาน สจรส. นายวินิจ ชุมนุรักษ์ ช่วยแนะนำการกรอกข้อมูลทางเว็บไซด์ ผ่านกระบวนการอบรมและแนะนำการทำงาน พร้อมกับการลงมือปฏิบัติการจริง ทำให้ผู้รับทุนโครงการเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการ การใช้จ่ายงบประมาณ และการจัดทำรายงาน จนสามารถจัดทำรายงานกิจกรรมในวันนี้ได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน
  • เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ 1 คน
  • คณะทำงานโครงการ 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ให้ลงรายงานกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ ทำกิจกรรมแล้ว ลงรายงานทันที
  • กลับไปลงปฏิทินกิจกรรมให้ครบทุกกิจกรรม โดยการวางแผนร่วมกันของทีมงาน
ปฐมนิเทศคณะทำงานโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภาคใต้ ปี255714 มิถุนายน 2557
14
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อปฐมนิเทศโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สร้างความรู้ความเข้าใจในการทำงาน
  • เพื่อเรียนรู้การกรอกข้อมูลลงเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข (การทำรายงานโครการ)
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. รับฟังรายละเอียดปฐมนิเทศโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
  2. เรียนรู้การกรอกข้อมูลลงเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข
  3. รู้จักทีมพี่เลี้ยง และ เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.หาดใหญ่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ทราบรายละเอียดข้อมูลต่างๆ เช่น เอกสารรายงานการดำเนินงาน 1.1. แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ (ส1)
    1.2. แบบรายงานการสนับสนุนโครงการ (ส2)
    1.3. แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส3)
    1.4. แบบรายงานสรุปเมื่อสิ้นสุดระยะโครงการ (ส4)

  2. เอกสารรายงานการเงิน
    2.1. แบบรายงานการเงินโครงการ (ง1)
    2.2. แบบรายงานสรุปการเงินปิดโครงการ (ง2)

รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม และ รายงานสรุปผล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัย ชุมชนหัวแหลมพัฒนา

  1. นางสาวชยาพร สะบู่ม่วง หัวหน้าโครงการ
  2. นางสาวสุกัญญา เชาว์พรหม เจ้าหน้าที่การเงิน
  3. นางสาวฐินัทวา ฐิตะโชติการ อาสาสมัครโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • จะแจ้งให้ทราบเมื่อมีความต้องการสนับสนุน