แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ สร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ

ชุมชน บ้านบางวัน หมู่ 1 ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

รหัสโครงการ 57-01511 เลขที่ข้อตกลง 57-00-1071

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2014 ถึง 31 กรกฎาคม 2015

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2014 ถึงเดือน ตุลาคม 2014

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 14 มิถุนายน 2014 เวลา 09:00-15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการจัดทำแผนดำเนินงานและการบันทึกลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานที่เข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการเข้าใจแนวทางการบริหารจัดการโครงการมากขึ้น เข้าใจแนวทางการจัดทำเอกสารการเงินโครงการ
  • สามารถลงแผนการดำเนินงานของโครงการได้ และสามารถบันทึกรายงานโครงการลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ร่วมรับการปฐมนิเทศน์
  • ทำความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงาน
  • การกำหนดวันปฏิบัติกิจกรรมตามปฏิทินที่จะดำเนินกิจกรรมในโปรแกรมคอมพิวเตอร์

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ได้รับหนังสือจากทาง สสส.ให้เดินทางไปร่วมปฐมนิเทศน์ที่ มอ.หาดใหญ่ 2.คระกรรมการสรุปให้ คุณประเทือ 1. รับการปฐมนิเทศน์เกี่ยวกับการจัดทำแผนงานของโครงการ 2. ขั้นตอนการบันทึกโปรแกรม

 

2 2

2. ประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดการทำงาน (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 4 กรกฎาคม 2014 เวลา 18:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อชี้แจงการทำกิจกรรมและวางแผนการทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เริ่มประชุมทางผู้รับผิดชอบโครงการ คุณกฤษ ศรีฟ้า ได้กล่าวเปิดประชุม โดยได้แนะนำโครงการให้ที่ประชุมได้รับทราบ ในแต่ละ กิจกรรม ดังนี้ แผนการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1. -จัดประชุมเพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจโครงการ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ชี้แจงทำความเข้าใจในโครงการ
และแบ่งชุมชน ออกเป็น 4 โซน พร้อมทั้งคัดเลือกตัวแทนโซนละ 2 ท่าน เพื่อจัดตั้งแกนนำร่วมกับกรรมการ กิจกรรมที่ 2. จัดประชุมทุกๆเดือนเพื่อติดตามกิจกรรมที่ทุกเครือข่ายได้ปฏิบัติ โดยตั้งคณะทำงานคอยติดตามกิจกรรมและรายงานในที่ประชุมทุกเดือน กิจกรรมที่ 3. -ประชุมคณะกรรมการและแกนนำโซน เพื่อกำหนดแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน รวมทั้งวางแผนขั้นตอนการจัดเก็บ -ประชุมชี้แจงเยาวชนอาสาเก็บข้อมูลจนเป็นที่เข้าใจตรงกันและออกจัดเก็บข้อมูลชุมชน พ.ค.-มิ.ย.57 กิจกรรมที่ 4.
-ประชุมคณะกรรมการและกลุ่มภูมิปัญญา 7 ด้านในชุมชนเพื่อกำหนดกรอบการทำงานและรูปแบบกิจกรรมต่างๆที่จะนำไปปฏิบัติในการพัฒนาครัวเรือนในด้านต่างๆตามที่กำหนด -จัดทำฐานข้อมูลชุมชน แผนที่ครอบครัวชุมชนและครัวเรือนแกนนำ กิจกรรมที่ 5. -ประชุมทีมแกนนำและคณะกรรมการเพื่อกำหนดกิจกรรมที่ครอบครัวซึ่งประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก มีการทำกิจกรรมร่วมกัน กิจกรรมที่ 6. -จัดกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใน 7 ด้าน
กิจกรรมที่ 7. กิจกรรมธรรมะในโรงเรียนโดยการอบรมธรรมให้แก่เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านบางวันทุกวันจันทร์ กิจกรรมที่ 8. -ประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ลด ละ เลิก เหล้าและบุหรี่ โดยการให้ความรู้แก่นักเรียนให้ทราบถึงพิษภัยของการดื่มเหล้า และการสูบบุหรี่ และเด็กเป็นสื่อในการนำความรู้เพื่อกระตุ้นให้ครอบครัวเห็นความสำคัญที่จะทำให้พ่อ แม่ เลิกเหล้าและบุหรี่ได้ -สำหรับในชุมชนจัดกิจกรรมรณรงค์ลด ละ เลิก เหล้าและบุหรี่เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีความตระหนัก ในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ -สำรวจครอบครัวที่ไม่ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่
กิจกรรมที่ 9. -สรุปและเมินผลโครงการ -ถอดบทเรียน -ทำเอกสารสรุปและรายงานผลโครงการ -ชี้แจ้งผลการดำเนินโครงการให้คนในชุมชนรับทราบ 2.ที่ประชุมได้รับทราบกิจกรรมทั้งหมด และเริ่มพิจารณากิจกรรมแรก คือกิจกรรมการประชุมชี้แจงโครงการและแบ่งกลุ่มชุมชนด้ดังนี้ กลุ่ม 1 ตั้งแต่แนวเขตตะกั่วป่าฝั่งซ้ายถนนเพชรเกษมจนถึงบ้านน้องปลา และในซอยบางวันจนบ้านป้านุ้ย กลุ่ม 2 ตั้งแต่แนวเขตตะกั่วป่าฝั่งขวาจนถึงบ้านครูโน กลุ่ม 3 ตั้งแต่แนวบ้านทั้งสองฝั่งของถนนเพชรเกษมต่อจากกลุ่ม 1 และ 2 จนถึงบ้านโค้งศรราม กลุ่ม 4 ตั้งแต่บ้าน อบต.ยงยุทธในเหมืองทั้งหมด 3.ปิดการประชุมโดยกำหนดวันประชุมคณะกรรมการอีกครั้ง


  1. ได้รูปแแบการจัดกิจกรรมหล่อเทียนพรรษา
  2. กำหนดการเดินรณรงค์ลดละเลิกเหล้าบุหรี่วันอาสาฬหบูชา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ
  2. กำหนดวันในกการประชุมเพื่อชี้แจงในที่ประชุม วันที่ 8 ก.ค.57
  3. กำนดการแบ่งโซนว่ามีพื้นที่ไหนก่อนที่จะนำเสนอในที่ประชุมวันที่ 8 ก.ค.57
  4. การจัดกิจกรรมหล่อเทียนพรรษา ในวันที่ 6 ก.ค.57
  5. กิจกรรมนักเรียน รร.บ้านบางวันเดินรณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่ เหล้า ในวันที่ 10 ก.ค.57

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ชี้แจงแผนการดำเนินกิจกรรมให้ทางคณะทำงานที่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ
  2. กำหนดแนวทางในการประชุมเพื่อชี้แจงโครงการให้ที่ประชุมหมู่บ้านได้รับทราบ
  3. กำหนดเขตการแบ่งกลุ่มของหมู่บ้านออกเป็น 4 กลุ่ม
  4. การกำหนดกิจกรรมการหล่อเทียนพรรษา
  5. การกำหนดกิจกรรมเดินรณรงค์ลดละเลิกเหล้าบุหรี่วันอาสาฬหบูชา

 

15 12

3. กิจกรรมหล่อเทียนพรรษาเพื่อความสามัคคีคนในชุมชน (กิจกรรมที่ 5)

วันที่ 6 กรกฎาคม 2014 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างความรักความสามัคคีของคนในชุมชน โดยนำเอากิจกรรมหล่อเทียนพรรษามาดำเนินกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การหล่อเทียนพรรษา ถือว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน โดยเฉพาะในพื้นที่อื่นๆ แต่ในหมู่บ้านบางวัน ยังไม่เคยจัดขึ้นเลย ดังนั้น เริ่มด้วยความคิดของอดีตกำนันสถิตย์ ศรีฟ้า และนายดำ ศรีประเสริฐ (ปราญช์ชาวบ้าน) และพระอาจารย์สมนึก กนสีโล เจ้าอาวาสวัดบางวัน ได้ริเริ่มกิจกรรมหล่อเทียนพรรษาขึ้นเป้นครั้งแรก โดยร่วมมือกับู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มต่างๆ รร.บ้านบางวัน มีผู้มาร่วมกิจกรรมพอประมาณ ผลที่ได้รับมีหลายประการที่นำมาซึ่ง ความรักควมสามัคคีภายในชุมชน โดยงบประมาณใในการจัดกิจกรรมเกิดจากความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในชุมชนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดกิจกรรมหล่อเทียนพรรษา ซี่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความรักความสามัคคี โดยหล่อหลอมเทียนเล่มเดียวกัน แล้วตบแต่งเพื่อนำไปถวายวัดบางวัน เพื่อใช้จุดช่วงเข้าพรรษา ซึ่งทางชุมชนเริ่มทำเป็นครั้งแรกของหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประสานงานกับทางเจ้าอาวาสวัดบางวัน ถึงพิธีกรรมทางศาสนา โดยได้นิมนต์พระจำนวน 9 รูปมาสวดมนต์
  2. ก่อนวันจริง ได้ออกประชาสัมพันธ์โดยรถยนต์พร้อมเครื่องขยายเสียงไปทั้งหมู่บ้านบางวัน และหมู่บ้านตำหนัง,บางนายสังข์
  3. ผู้มาร่วมหล่อเทียนพรรษามาพร้อมเพรียงกันเวลา 13.00 น.
  4. เริ่มการแสดงของเด็กนักเรียน รร.บ้านบางวัน จำนวน 4 คน รำอวยพร
  5. จากนั้นเริ่มพิธีสงฆ์และเริ่มตักน้ำเทียนลงสู่เป้าเทียนตามลำดับ
  6. กล่าวขอบคุณผู้มาร่วมกิจกรรม

 

200 100

4. จัดประชุมเพื่อชี้แจงโครงการสร้างความเข้าใจโครงการ (กิจกรรมที่ 1)

วันที่ 8 กรกฎาคม 2014 เวลา 08:00-12.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ประชุมเพื่อชี้แจงโครงการฯและดำเนินกิจกรรมให้ที่ประชุมประจำเดือนหมุ่บ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เริ่มประชุม เวลา 09.00 น. 1.นายรวย รอดประชุม ได้กล่าวเปิดประชุม วันนี้มีหลายเรื่องที่จะต้องพิจารณาและทุกคนได้ทราบ โดยวันนี้จะขอเริ่มจากหัวข้อแรกที่สำคัญก่อน คือ โครงการสร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ ม.1 บ้านเรา โดยจะให้ทางคุณกฤษ ศรีฟ้า ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้ชี้แจง 2.นายกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจง ดังนี้ ก่อนอื่นขอแนะนำโครงการสร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ ม.1 ดังนี้  โครงการนี้เป็นโครงการที่ได้รับพิจารณาสนับสนุน 1 ใน 4 โครงการของจังหวัดพังงา ถือว่าเป็นเป็นโครงการที่สำคัญยิ่ง เพราะกว่าจะได้รับการสนับสนุนจะต้องเสนอโครงการกันอย่างดี ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนได้พิจราณาโครงการนี้ด้วย ซึ่งจะขอแนะนำคณะกรรมการโครงการมีดังนี้ นายรวย รอดประชุม เป็นผู้นำชุมชนได้รับรู้โครงการ 1.นายกฤษ ศรีฟ้า เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ 2.นายประเทือง เพ็ชรขาว เป็นเหรัญญิก 3.นายยงยุทธ โดยดี เป็นประชาสัมพันธ์ 4.นายประสิทธิ์ สังข์ขาว เป็นปฏิคม 5.นายนิคม ลำจวน เป็นเลขานุการ 6.นางอัมพร ศรีประเสิรฐ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ และในวันนี้จะขอแนะนำพี่เลี้ยงโครงการที่จะคอยมาให้คำแนะนำช่วยเหลือ คือ คุณอุรวรรณ ตัณฑอริยะ นักวิชาการชำนาญพิเศษสาธารณสุขจังหวัดพังงา 3.คุณอุไรวรรณ ตัณฑอริยะ ได้กล่าวในที่ประชุม ถึงความสำคัญของโครงการ และให้ทุกคนได้เชื่อมั่นว่า โครงการนี้มีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างไร 4.คุณกฤษ ศรีฟ้า ได้กล่าวถึงแผนงานของโครงการฯ มีทั้งหมด 9 กิจกรรมหลัก ดังน้ กิจกรรมที่ 1. -จัดประชุมเพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจโครงการ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ชี้แจงทำความเข้าใจในโครงการ
-และแบ่งชุมชน ออกเป็น 4 โซน พร้อมทั้งคัดเลือกตัวแทนโซนละ 2 ท่าน เพื่อจัดตั้งแกนนำร่วมกับกรรมการ กิจกรรมที่ 1. -จัดประชุมเพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจโครงการ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ชี้แจงทำความเข้าใจในโครงการ
-และแบ่งชุมชน ออกเป็น 4 โซน พร้อมทั้งคัดเลือกตัวแทนโซนละ 2 ท่าน เพื่อจัดตั้งแกนนำร่วมกับกรรมการ กิจกรรมที่ 2. 1.จัดประชุมทุกๆเดือนเพื่อติดตามกิจกรรมที่ทุกเครือข่ายได้ปฏิบัติ โดยตั้งคณะทำงานคอยติดตามกิจกรรมและรายงานในที่ประชุมทุกเดือน 2. สรุปและประเมินผลการปฏิบัติ กิจกรรมที่ 3. -ประชุมคณะกรรมการและแกนนำโซน เพื่อกำหนดแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน รวมทั้งวางแผนขั้นตอนการจัดเก็บ -ประชุมชี้แจงเยาวชนอาสาเก็บข้อมูลจนเป็นที่เข้าใจตรงกันและออกจัดเก็บข้อมูลชุมชน กิจกรรมที่ 4.
-ประชุมคณะกรรมการและกลุ่มภูมิปัญญา 7 ด้านในชุมชนเพื่อกำหนดกรอบการทำงานและรูปแบบกิจกรรมต่างๆที่จะนำไปปฏิบัติในการพัฒนาครัวเรือนในด้านต่างๆตามที่กำหนด -จัดทำฐานข้อมูลชุมชน แผนที่ครอบครัวชุมชนและครัวเรือนแกนนำ กิจกรรมที่ 5. -ประชุมทีมแกนนำและคณะกรรมการเพื่อกำหนดกิจกรรมที่ครอบครัวซึ่งประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก มีการทำกิจกรรมร่วมกัน -รับสมัครครัวเรือนที่มีความพร้อมในการร่วมกิจกรรม โดยการจัดกีฬาชุมชนสัมพันธ์ เพื่อเชื่อมความรักความสามัคคี สมานฉันท์ จัดกิจกรรมกีฬาที่เป็นกีฬาพื้นบ้าน สำหรับผู้สูงอายุ เช่น ตีปี๊บ สำหรับวัยกลางคน เช่น วิ่งกระสอบ สำหรับเด็กและเยาวชน เช่น ฟุตซอล วิ่งเปี้ยว มีกิจกรรมเชียร์ โดยแยกสีตามโซนชุมชนที่กำหนดไว้ -จัดกิจกรรมให้ครัวเรือนมีการทำกิจกรรมร่วมกัน -จัดเก็บข้อมูลเพื่อประเมินครัวเรือนที่มีการทำกิจกรรมร่วมกัน กิจกรรมที่ 6. -จัดกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใน 7 ด้าน จำนวน 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 1.ด้านลดรายจ่ายจากอบายมุข
2.การเพิ่มรายได้ครัวเรือน
3.การอดออม กลุ่มที่ 2
1.การนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต 2.ด้านความกตัญญูรู้คุณ กลุ่มที่ 3 1.การสร้างความรัก ความอบอุ่นในครัวเรือน
2.ด้านการดูแลรักษาสุขภาพ
-ครัวเรือนมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นใน 7 ด้าน ไปปฏิบัติ -สำรวจบ้านเพื่อให้ทราบจำนวนครัวเรือนที่มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปปฏิบัติ กิจกรรมที่ 7. กิจกรรมธรรมะในโรงเรียนโดยการอบรมธรรมให้แก่เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านบางวันทุกวันจันทร์ กิจกรรมที่ 8. -ประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ลด ละ เลิก เหล้าและบุหรี่ โดยการให้ความรู้แก่นักเรียนให้ทราบถึงพิษภัยของการดื่มเหล้า และการสูบบุหรี่ และเด็กเป็นสื่อในการนำความรู้เพื่อกระตุ้นให้ครอบครัวเห็นความสำคัญที่จะทำให้พ่อ แม่ เลิกเหล้าและบุหรี่ได้ -สำหรับในชุมชนจัดกิจกรรมรณรงค์ลด ละ เลิก เหล้าและบุหรี่เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีความตระหนัก ในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ -สำรวจครอบครัวที่ไม่ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ การบริหารจัดการโครงการ กิจกรรมที่ 9. -สรุปและเมินผลโครงการ -ถอดบทเรียน -ทำเอกสารสรุปและรายงานผลโครงการ -ชี้แจ้งผลการดำเนินโครงการให้คนในชุมชนรับทราบ จำนวนงบประมาณทั้งสิ้น 199,931 บาท ซึ่งในแต่ละกิจกรรมงบประมาณตามเอกสารที่แจกให้และบอร์ดประชาสัมพันธ์ ที่ประชุม ลงมติเห็นชอบที่จะดำเนินการร่วมกัน  โดยกิจกรรมแรก คือกิจกรรมที่จะดำเนินการในวันนี้ คือ จะแบ่งชุมชนออกเป็น 4 ชุมชน โดยให้นายรวย รอดประชุม ได้ชี้แจง 5.นายรวย รอดประชุม ได้ชี้แจงว่า การแบ่งชุมชนออกเป็น 4 กลุ่ม ไม่ใช่เป็นการแตกแยก แต่จะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอให้ทุกคนได้เข้าใจ ดังนี้ กลุ่ม 1 ตั้งแต่ถนนเพชรเกษมฝั่งซ้ายจากเขตแดนตะกั่วป่าจนบ้านน้องปลา (สิทธิ์) และในซอยจนถึงบ้านป้านุ้ย กลุ่ม 2 ตั้งแต่ถนนเพชรเกษมฝั่งขวาจากเขตแดนตะกั่วป่าจนบ้านครูโน กลุ่ม 3 สองฝั่งถนนเพชรเกษม จากบ้านครูโนและปลาจนถึงโค้งศรราม กลุ่ม 4 ตั้งแต่บ้าน อบต.ยุทธ ในเหมืองทั้งหมด
ที่ีประชุมรับทราบ และจะดำเนินการลงไปประชุมเพื่อคัดเลือกประธานโซนในพื้นที่คณะกรรมการจะกำหนดอีกครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมเพื่อชี้แจงโครงการให้ชุมชนได้รับทราบ,จัดหาตัวแทนโซน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. จัดให้มีการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
  2. แนะนำตัวโครงการให้ที่ประชุมรับทราบ
  3. แนะนำพี่เลี้ยงให้รู้จักและกล่าวถึงตัวโครงการ
  4. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวถึงรายละเอียดโครงการและกิจกรรม
  5. ให้ที่ประชุมยกมือแยกกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม
  6. เสนอตัวแทนกลุ่ม ๆ ละ 2 คน

 

86 100

5. รณรงค์ ลด ละเลิกเหล้าบุหรี่ โดยคณะครูนักเรียน รร.บางวันกับ อสม. (กิจกรรมที่ 8)

วันที่ 10 กรกฎาคม 2014 เวลา 08:30-10.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการรณรงค์ลดละเลิกเหล้าบุหรี่ในเทศกาลวันสำคัญต่างๆ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ช่วงเช้าก่อนที่จะมีพิธีถวายเทียนพรรษาให้กับเจ้าอาวาสวัดบางวัน ซึ่งจะมีหน่วยงานราชการต่างๆ พี่น้องประชาชนได้นำเทียนพรรษามาถวายวัด คณะกรรมการโครงการได้ประสานงานกับทางคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบางวันและคณครู ไว้วางแผนการเดินรณรงค์เลิกเหล้าเข้าพรรษาในชุมชนด้วย
-คณครูได้จัดทำขบวนพาเหรด โดยให้นักเรียนผู้หญิงใส่ชุดไทย และันักเรียนชายนุ่งผ้าจูงกระเบนสีแดง เพื่อให้ขบวนโด่นเด่น และให้นักเรียนถือป้ายคำขัญ "รักลูก เลิกเหล้า ครอบครัวอบอุ่น" "งดหเล้าเข้าพรรษา"
-กรรมการสถานศึกษาได้นำรถยนต์พร้อมเครื่อเสียงและไมโครโฟนมานำขบวน -โดยคุณครูปานอยู่บนรถนำขบวนประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการละเลิกเหล้าเข้าพรรษา -ขบวนได้เดินจากหน้าโรงเรียนมาตามถนนในซอยและออกถนนเพชรเกษม และเข้าซอยวัดบางวัน จนถึงวัด ผ่านหมู่บ้านที่มีผู้คนอาศัยอยู่ -นักเรียน คณครู คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมโครงการได้ร่วมกันทำพิธีถวายเทียนพรรษาบนโรงธรรมโดยพร้อมเพียงกัน ผลสรุปของกิจกรรม 1. เด็กนักเรียนได้มีความส่วนร่วมในกระบวนการ ลดละเลิกเหล้า บุหรี่วันเข้าพรรษา 2. เด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นอย่างดี 3. เด็กสามารถที่จะไปสานต่อความคิดลดละเลิกเหล้าบุหรี่ให้กับครอบครัว 4. ประชาชนที่ได้เห็นกิจกรรมได้มีความรู้สึกร่วมในโครงการลด ละ เลิกเหล้าเข้าพรรษา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดขบวนด้วย ป้ายผ้า/สัญลักษณ์ต่าง ๆ เดินรณรงค์ในที่ชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. คณะครู รร.บ้านบางวัน ได้จัดให้นักเรียนได้ร่วมเดินขบวน ลดละเลิกเหล้าบุหรี่ในช่วงวันเข้าพรรษา 57
  2. จัดให้มีการเขียนป้ายผ้า
  3. นักเรียนแต่งชุดถือป้าย
  4. เดินรณรงค์ตั้งแต่ รร.บ้านบางวัน ออกปากซอยแล้ววกกลับเข้าซอยวัดบางวัน จนกระทั่งถึงวัด

 

100 60

6. จัดทำป้ายปลอดบุหรี่ (กิจกรรมทำป้ายห้ามสูบบุหรี่)

วันที่ 17 กรกฎาคม 2014 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจำกัดพื้นที่เขตปลอดบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เพื่อให้พื้นที่การจัดทำโครงการ สสส.ของโครงสร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ ม.1 บางวัน ไว้เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ คือศาลาประชุมหมู่บ้าน หรือสถานที่จัดประชุมต่างๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดป้ายไวนิลเขตปลอดบุหรี่ไว้ที่ศาลาประชุมหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายไวนิลโดยทำกรอบไม้

 

6 6

7. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกิจกรรมประชุมกลุ่ม (กิจกรรมที่ 1)

วันที่ 18 กรกฎาคม 2014 เวลา 17:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงขั้นตอนและกำหนดการการจัดประชุมเพื่อคัดเลือกประธานกลุ่ม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินกิจกรรมการประชุมตัวแทนครัวเรือน 4 กลุ่ม โดยกำหนดวันเวลาสถานที่ ที่มุ่งเน้นในพื้นที่ของกลุ่มนั้นๆ ดังนี้
  1. กลุ่ม 1 วันที่ 20 กรกฎาคม 2557 เวลา 15.00 น. ณ ศาลาประชุมหมุู่บ้าน
  2. กลุ่ม 2 วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 เวลา 15.00 น. ณ.ร้านกาแฟบ้านป้าแอ๋ว (นายกเอียด)
  3. กลุ่ม 3 วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 เวลา 10.00 น. ณ.อาคารข้างปั๊มน้ำมันกะฉ้า
  4. กลุ่ม 4 วันที่ 23 กรกฎาคม 2557 เวลา 15.00 น. ณ.ร้านขายของชำบ้านไชยยัณต์ ในเหมือง

ผลสรุปที่จะได้รับในการประชุมแต่ละกลุ่มก็คือ

  1. ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีของคนในกลุ่ม 4 กลุ่ม ที่ได้มาจัดประชุมในพื้นที่
  2. จำนวนตัวแทนครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น เพราะอยู่ใกล้ที่ประชุม
  3. ได้ตัวแทนกรรมการ จำนวน 10 คน โดยได้ตำแหน่งประธาน รองประานและกรรมการ
  4. เกิดความรักในกลุ่มก้อน เคารพในการตัดสินใจของครัวเรือนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน เพื่อกำหนดวันประชุมกลุ่ม 4 กลุ่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินกิจกรรมการประชุมตัวแทนครัวเรือน 4 กลุ่ม โดยกำหนดวันเวลาสถานที่ ที่มุ่งเน้นในพื้นที่ของกลุ่มนั้นๆ ดังนี้
  1. กลุ่ม 1 วันที่ 20 กรกฎาคม 2557 เวลา 15.00 น. ณ ศาลาประชุมหมุู่บ้าน
  2. กลุ่ม 2 วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 เวลา 15.00 น. ณ.ร้านกาแฟบ้านป้าแอ๋ว (นายกเอียด)
  3. กลุ่ม 3 วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 เวลา 10.00 น. ณ.อาคารข้างปั๊มน้ำมันกะฉ้า
  4. กลุ่ม 4 วันที่ 23 กรกฎาคม 2557 เวลา 15.00 น. ณ.ร้านขายของชำบ้านไชยยัณต์ ในเหมือง

 

15 9

8. จัดประชุมตัวแทนครัวเรือนกลุ่ม 1 เพื่อคัดเลือกกรรมการกลุ่ม (กิจกรรมที่ 1)

วันที่ 20 กรกฎาคม 2014 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจะได้ตัวแทนคณะทำงานที่มาจากกลุ่ม 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ผลสรุปของกิจกรรมการประชุมได้ตัวแทนคณะกรรมการกลุ่ม 1 ดังนี้ 1. นายสมใจ บุญเสริม (ประธาน) 2. นายศักดิ์ชาย จรมาศ
3. นางสาววาสนา ขาวสุด
4. นายวิเชษฐ์ ปานเวช
5. นายวันชัย ศีรษะใหญ่
6. นายชัชวาลยื สร้อยแสง 7. นางสกุลรัตน์ ศรีฟ้า
2.นำเสนอกิจกรรมการแข่งขันกีฬาชุมชนในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมกลุ่ม 1 เพื่อคัดเลือกคณะกรรมการกลุ่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

-เริ่มประชุมโดยนายกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวถึงกิจกรรมแรกในโครงการสร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ ม.1 โดยกิจกรรมการแบ่งชุมชน ออกเป็น 4 กลุ่ม ว่า เป็นแนวทางในการบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ ได้สะดวกขึ้นและง่ายในการจัดการ ไม่ใช่แบ่งเพื่อสร้างความแตกแยก
-นายรวย รอดประชุม ได้กล่าวเสริมถึงกิจกรรมการแบ่งชุมชนว่าเป็นสิ่งที่ดี และขอให้ที่ประชุมเสนอชื่อผู้ที่จะมาเป็นประธานกลุ่ม -ที่ประชุมเสนอชื่อนายสมใจ บุญเสริม เป็นประธาน โดยให้ที่ประชุมได้รับรอง -นายสมใจ บุญเสริมได้การรับรองเป็นเอกฉันท์ โดยได้ให้ที่ประชุมเสนอผู้ที่จะเข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรมภายในกลุ่ม
-ที่ประชุมได้รับรองผู้เสนอชื่อทั้งหมดเป็นกรรมการกลุ่ม -นายกฤษ ศรีฟ้า ได้เชิญประธานนายสมใจ บุญเสริมกล่าวในที่ประชุม -ที่ประชุมปรบมือต้อนรับ -นายกฤษ ได้นำเสนอเรื่องพิจารณากิจกรรมต่อไป คือ กิจกรรมการแข่งขันกีฬาชุมชนให้ที่ประชุมได้รับทราบ

 

30 40

9. จัดประชุมตัวแทนครอบครัวกลุ่ม 3 เพื่อคัดเลือกกรรมการ (กิจกรรมที่ 1)

วันที่ 22 กรกฎาคม 2014 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้าใจในโครงการและคัดเลือกคณะกรรมการจำนวน 10 ท่าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ที่ประชุมได้เสนอชื่อ นายประสิทธิ์ สังขาว ซึ่งเป็นบุคคลที่สมควรให้เป็นประธานเพราะมีความสามารถ ที่ประชุมเห็นชอบการยกมือสนับสนุน ส่วนรองประธาน 2 คน ที่ประชุมเสนอนายอำนาจ เติมศักดิ์ และนายธวัชชัย พรมแก้ว ที่ประชุมเห็นชอบ สรุปตัวแทนกลุ่ม 3 มีดังนี้ 1.นายประสิทธิ์ สังข์ขาว เป็นประธานกลุ่ม 2.นายอำนาจ เติมศักด์ เป็นรองประธาน 1 3.นายธวัชชัย พรมแก้ว เป็นรองประธาน 2 2.ที่ประชุมได้รับทราบจากปรธานที่ประชุมถึงแผนงานกิจกรรมต่อไป คือ กิจกรรมการแข่งขันกีฬาชุมชน โดยกำหนดการไว้น่าจะเป็นวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2557 นี้
3.เรื่องอื่นๆ ไม่มี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.จัดประชุมตัวแทนครัวเรือนเพื่อให้ที่ประชุมเลือกกรรมการจำนวน 5-10 คนเพื่อมาร่วมกิจกรรม 2.ชี้แจงกิจกรรมต่อไป คือพิจารณาการแข่งขันกีฬาชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.คณะทำงานได้ดำเนินการขอสถานที่ประชุมโดยได้รับความร่วมมือจากปั๊มน้ำมันภายในชุมชน ได้ให้ใช้อาคารว่างชั่วคราวเป็นที่ประชุม 2.คณะทำงานได้ขนเก้าอี้และโต๊ะลงทะเบียนมาตั้งในที่ประชุม 3.ผู้เข้าร่วมประชุมได้ลงทะเบียน 4.ดำเนินการประชุมเพื่อชี้แจงวาระการประชุม 5.ที่ประชุมเสนอชื่อประธาน 6.ที่ประชุมเสนอชื่อกรรมการ 7.ชี้แจงกิจกรรมต่อไป คือ กิจกรรมการแข่งขันกีฬาชุมชน

 

30 26

10. จัดประชุมตัวแทนครอบครัวกลุ่ม 2 เพื่อคัดเลือกกรรมการ (กิจกรรมที่ 1)

วันที่ 22 กรกฎาคม 2014 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อคัดเลือกคณะกรรมการกลุ่ม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปในการประชุมกลุ่ม 2 ได้ดังนี้ 1.ที่ประชุมได้ทำการคัดเลือกคณะกรรมการกลุ่ม 2 คือ นายก้อง (หมี)  ศรีฟ้า เป็นประธาน นางติ๋ม คงหมุน รองประธาน 1 นายพรศิริ (โอม) อุดป้อม รองประน 2 2.ประธานในที่ประชุมได้แจ้งถึงกิจกรรมที่ดำเนินการต่อไป คือ การแข่งขันกีฬาภายในชุมชน กำหนดไว้ประมาณ 12 สิงหาคมนี้ โดยจะเริ่มประชุมตัวแทนกลุ่มต่างๆ อีกครั้ง 3.เรื่องอื่นๆ ไม่มี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อคัดเลือกประธานกลุ่ม 2 และกรรมการกลุ่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. กิจกรรมการลงทะเบียน
  2. ประชุมชี้แจงความเข้าใจในกิจกรรมวันนี้
  3. คัดเลือกกรรมการ
  4. เลือกประธานและรองประธาน 5.ปรธานชี้แจงกิจกรรมต่อไป คือ กิจกรรมแข่งขันกีฬาชุมชน

 

30 33

11. จัดประชุมตัวแทนครอบครัวกลุ่ม 4 เพื่อคัดเลือกกรรมการ (กิจกรรมที่ 1)

วันที่ 23 กรกฎาคม 2014 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างความเข้าใจในดครงการและคัดเลือกคณะกรรมการจำนวน 10 ท่าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การประชุมตัวแทนครัวเรือนของกลุ่มชุมชนที่ 4 บ้านในเหมืองท้ายราง ได้คัดเลือกคณะกรรมการได้ดังนี้

  1. นายนิตย์ จันทำ  ประธาน
  2. นายอุดร บุญเสริม รองประธาน
  3. นายสุทน หินเพ็ญ กรรมการ
  4. นายคณิต จงไรจักร์ กรรมการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ให้ที่ประชุมคัดเลือกตัวแทนกลุ่มมาเป็นกรรมการ 5-10 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. จัดประชุมตัวแทนครัวเรือน ๆ ละ 1 คน
  2. ให้ที่ประชุมคัดเลือกกรรมการตัวแทนชุมชน จำนวน 10 คน
  3. คณะกรรมการคัดเลือกประธาน รองประธาน 2 คนตามมติที่ประชุม
  4. ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ
  5. ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมย่อยของโครงการฯ

 

30 49

12. ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชน

วันที่ 27 กรกฎาคม 2014 เวลา 17:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงการดำเนินกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ที่ประชุมสรุปได้ดังนี้

  1. กำหนดการวันทำกิจกรรม
  2. กำหนดรายละเอียดกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมวางแผนการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

ประธานในที่ประชุม คุณกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวเปิดประชุมและแนะนำปรธานของทั้ง 4 กลุ่มให้ผู้เข้าร่วมประชุม ดังนี้ กลุ่ม 1 นายสมใจ บุญเสริม กลุ่ม 2 นายก้อง ศรีฟ้า กลุ่ม 3 นายประสิทธิ์ สังข์ขาว กลุ่ม 4 นายนิตย์ จันทำ
และให้ประธานในแต่ละกลุ่มได้กล่าวในที่ประชุม 2.ประธานได้ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการต่อไป โดยใช้ตัวแทนกลุ่ม ได้ช่วยกันขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ไปสู่เป้าหมายให้ได้ โดยขอความร่วมมือในการที่จะต้องเสียสละเวลามาร่วมกันดำเินกิจกรรม 3.ประธานได้ชี้แจงถึงกิจกรรมต่อไป คือ กิจกรรมที่เราถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดี คือ กิจกรรมการแข่งขันกีฬาชุมชน เพื่อต้องการละละายพฤติกรรมของทุกคนให้มีความรักความสามัคคี รู้แพ้รู้ชน รักใคร่กันภายในกลุ่ม ภายในชุมชน โดยจะกำหนดขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม 2557 นี้ ซึ่งเป็นวันแม่แห่งชาติ 4.ที่ประชุมเห็นสมควรให้มีการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เช่น หลับตาตีหม้อ วิ่งเปี้ยว วิ่งกระสอบ กินวิบาก และอื่นๆ
5.กลุ่ม 3 ต้องการให้มีกีฬาเซปัคตะกร้อเพื่อให้เยาวชนได้ร่วมด้วย 6.ที่ประชุมสรุปว่า ให้แต่ลบะกลุ่มได้ดำเนินการจัดหานักกีฬาแต่ละประเภทได้เลย

 

20 26

13. ประชุมคณะกรรมการ ประจำเดือนสิงหาคม (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 4 สิงหาคม 2014 เวลา 15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงการดำเนินกิจกรรมความก้าวหน้าวของกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กิจกรรมที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปด้วยดี 2.ความพร้อมของกิจกรรมวันที่ 11-12 สิงหาคม นี้ มีความพร้อม 60 เปอร์เซ็นต์แล้ว - กลุ่ม ทั้ง 4 กลุ่มได้กำหนดผู้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว โดยจะส่งรายชื่อในวันแข่งขัน -กรรมการในการจัดการแข่งขัน ให้เป็นคณะทำงานโครงการ เช่น นายประเทือง เพ็ชรขาว ,โฆษกประชาสัมพันธ์ ได้แก่ นายยงยุทธ โดยดี 3.วันที่ 8 สิงหาคมนี้วันประชุมหมู่บ้านจะได้ชี้แจงอีกครั้ง ซึ่งเป็นการประชุมหมู่บ้าน โดยจะแจ้งให้ทราบรายละเอียดในการดำเนินกิจกรรมอีกครั้ง 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเพื่อติดตามการดำเนินกิจกรรมของโครงการว่าไปถึงไหน.และกำหนดกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมติดตามโครงการและกิจกรรม

 

15 27

14. ประชุมหมู่บ้าน (กิจกรรมที่ 1)

วันที่ 8 สิงหาคม 2014 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมหมู่บ้านเพื่อกำหนดกิจกรรม 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เนื้อหาสำคัญของการประชุม "การตระเตรียมงานกิจกรรมวันแข่งขันกีฬาชุมชน 11 สิงหาคม 2557 และกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม" สรุปได้ดังนี้ 1.ประธานในการเปิดกิจกรรมในครั้งนี้ ทางผู้ใหญ่บ้านนายรวย รอดประชุมได้นำเรียนนายอำเภอคุระบุรี มาเป็นเป็นประธาน
2.เรียนเชิญ กำนันตำบลบางวัน นายสมควร จันทร์แดง , รองนายก อบต.บางวัน
3.เรื่องการจัดสถานที่ในวันนี้มีตัวแทนกลุ่ม  4 กลุ่ม มาร่วมกันไปจัดหาเต็นท์ที่บ้านบางด้ง จำนวน 5 หลัง เพื่อมาใช้ในการเชียร์ของทั้ง 4 สี คือ เต้นท์สีแดง สีเหลือง สีขาว สีฟ้า
4.ผู้ใหญ่รวย รอดประชุม แนะนำให้มีการเดินพาเหรด โดยเริ่มที่บ้านผู้ใหญ่ โดยจะจัดเลี้ยงกาแฟด้วย 5.ให้ทุกคนไปพร้อมกันตั้งแต่ เวลา 07.30 น.จัดขบวนพาเหรด 6.งานด้านการจัดสนามแข่งขัน ให้ตัวแทนทุกกลุ่มได้มาช่วยกันเตรียมสถานที่ 7.การจราจร ให้ทาง อพปร.บางวัน นายสมทรง ไชยช่วย ประสานขอ อพปร.จากหมู่บ้านอื่นมาช่วย จำนวน 5 ท่าน 8.งานด้านเครื่องเสียง ใช้เครื่องเสียงของนายอู็ด อุปไชย ซึ่งมาช่วยงาน 9.กลองยาว ให้ยืมจาก รร.บางวัน ประสาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมทีมแกนนำและคณะกรรมการเพื่อกำหนดกิจกรรมที่ครอบครัวซึ่งประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก มีการทำกิจกรรมร่วมกัน
  • รับสมัครครัวเรือนที่มีความพร้อมในการร่วมกิจกรรม โดยการจัดกีฬาชุมชนสัมพันธ์ เพื่อเชื่อมความรักความสามัคคี สมานฉันท์ จัดกิจกรรมกีฬาที่เป็นกีฬาพื้นบ้าน สำหรับผู้สูงอายุ เช่น ตีปี๊บ สำหรับวัยกลางคน เช่น วิ่งกระสอบ สำหรับเด็กและเยาวชน เช่น ฟุตซอล วิ่งเปี้ยว มีกิจกรรมเชียร์ โดยแยกสีตามโซนชุมชนที่กำหนดไว้
  • จัดกิจกรรมให้ครัวเรือนมีการทำกิจกรรมร่วมกัน
  • จัดเก็บข้อมูลเพื่อประเมินครัวเรือนที่มีการทำกิจกรรมร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.จัดประชุมประจำเดือน โดยนายรวย รอดประชุมเป็นประธานในที่ประชุม กล่าวเปิดประชุม
2.แจ้งเรื่องต่างๆ ที่ประชุมกับทางวอำเภอให้ทุกคนได้ทราบในที่ประชุม 3.การเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมวันที่ 11-12 สิงหาคมนี้

 

150 150

15. จัดการแข่งขันกีฬาสีเชื่อมความสัมพันธ์ในชุมชน (กิจกรรมที่ 5)

วันที่ 11 สิงหาคม 2014 เวลา 08:00-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวพ่อแม่ลูก 2. เกิดความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะ 3. สร้างความรักในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน มีดังนี้ 1.กีฬาหลับตาตีหม้อ ได้แก่ สีเหลือง 2.กีฬาลากกาบหมาก ได้แก่ สีขาว 3.กีฬาวิ่งเปรี้ยวซุปเปอร์แมน ได้แก่ สีแดง 4.กีฬาชักเยอร์ ได้แก่ สีแดง 5.กีฬากินวิบาก ได้แก่ สีแดง 6.กีฬาวิ่งกระสอบ ได้แก่ สีเหลือง กีฬาเซปัคตะกร้อ ได้แก่ สีเหลือง ผลการแข่งขัน สีที่ชนะเลิศการแข่งขัน ได้แก่ สีแดง โดยจะมีการมอบถ้วยรางวัลในวันที่ 12 สิงหาคม หลังจากกิจกรรมถวายพระพรเสร็จสิ้น ผลสรุปในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ 1.สร้างความรักความสามัคคีภายในกลุ่ม ในชุมชน 2.เกิดความร่วมแรงร่วมใจในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การตระเตรียมงาน หรือหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น 3.เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสที่มาร่วมกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครั้งนี้จำนวนมาก 4.สร้างความภาคภูมิใจของคนในชุมชน 5.เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหมู่บ้านอื่นๆ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดกลุ่มแยกเป็น 4 สี โดยแต่ละสีมีประธานสีและกรรมการ
  2. การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน หลับตาตีหม้อ ชักเยอร์ วิ่งเปรี้ยวซุปเปอร์แมน วิ่งกระสอบ กินวิบาก
  3. กีฬาสำหรับเด็ก เก้าอี้ดนตรี
  4. กีฬาสำหรับเยาวชน เซปัคตะกร้อ

กิจกรรมที่ทำจริง

เรียนเชิญ ท่านนายอำเภอคุระบุรี มาเป็นประธานเปิดงาน ร่วมด้วย สจ.สมหมาย แก้วจำปา  กำนันสมควร จันทร์แดง และรองนายก อบต.บางวัน

กำหนดการ การแข่งขันกีฬา “มิ่งมิตรสัมพันธ์ สร้างสรรค์ชุมชน ครั้งที่ 3” วันจันทร์ ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2557 ณ สนามศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านบางวัน

  • เวลา 08.00 น. นักกีฬา กองเชียร์ทุกกลุ่มสีชุมชนพร้อมกันที่ลานบ้านผู้ใหญ่รวย รอดประชุม เพื่อจัดขบวนตามลำดับ
  • เวลา 08.30 น. เริ่มเดินขบวนพาเหรด ตามลำดับ
  • เวลา 09.00 น. นายอำเภอคุระบุรี ประธานในพิธีเดินทางมาถึง
  • เวลา 09.30 น. ขบวนพาเหรดเดินทางมาถึงสถานที่จัดงาน และจัดขบวนแถวยืนโดยพร้อมเพรียง

พิธีกรกล่าวทำความเคารพ และเรียนเชิญคุณกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ หมู่ 1 บ้านบางวัน กล่าวถึงมาของโครงการ

  • เวลา 09.40 น. นายรวย รอดประชุม ผู้ใหญ่บ้าน ม.1  กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน
  • เวลา 09.50 น. นายอำเภอคุระบุรี ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาท และทำพิธีเปิดการแข่งขัน
    (ตีกลอง 9 ที)

  • เวลา 10.00 น. ตัวแทนนักกีฬาทั้ง 4 กลุ่มสีชุมชนกล่าวปฏิญาณตน

  • เวลา 10.30 น. ตัวแทนกรรมการและนักกีฬาทั้ง 4 กลุ่มสีชุมชนนำธงแต่ละสีขึ้นแท่นพิธี

  - ชมการแสดง “รำ 4 ภาครวมเป็นหนึ่งเดียวกัน” ของตัวแทนทั้ง 4 กลุ่มสีชุมชน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเปิดการแข่งขัน “มิ่งมิตรสัมพันธ์ สร้างสรรค์ชุมชน ครั้งที่ 3”

  • เวลา 10.00 น. ขบวนนักกีฬาและกองเชียร์ทั้ง 4 สี ประจำเต็นท์สี

  - กองเชียร์ทั้ง 4 สีร้องเพลงกราวกีฬาพร้อมกัน   - เริ่มการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ

  • เวลา 12.00 น. พักรับประทานอาหาร
  • เวลา 13.00 น. เริ่มการแข่งขันต่อจนจบการแข่งขัน

 

400 338

16. จัดกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ 12 ส.ค.2557 (กิจกรรมที่ 5)

วันที่ 12 สิงหาคม 2014 เวลา ตั้งแต่เวลา 08:00 น.- 21.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้มีกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว 2. เกิดความรักในหมู่คณะ 3. สร้างความสามัคคีในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2557 1.มีผู้เข้ามาร่วมกิจกรรม โดยทางแม่ที่อายุ 60 ปีขึ้นไปจะเข้ามาร่วมกิจกรรมโดยให้ลูกๆ พามาส่งที่งานกิจกรรม จำนวน 40 ท่าน
2.แม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 40 ท่าน ได้มาร่วมกิจกรรมรับประทานอาหารร่วมกัน ได้พบปะกันโดยการดูแลจากทุกคนที่ถือว่าเป็นลูกหลาน 3.คุณผ่อง พรมคีรี ซึ่งมีอายุมากที่สุดในหมู่บ้าน คือ 88 ปีได้มาร่วมกิจกรรมด้วย รองลงเป็นคุณแม่เพียร อินทร์พรม อายุ 87 ปี ซึ่งทุกคนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ 4.จำนวนผู้มาร่วมกิจกรรมในวันนี้ทั้งสิ้น 145 คน
5.กิจกรรมวันแม่ครั้งนี้ ถือว่าเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในชุมชน 6.การถวายพระพรสมเด็จพระราชินีเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม โดยได้จัดขึ้น ณ ศาลาประชุมหมู่บ้าน มีการจัดพระบรมฉายาลักษณ์ที่สวยงามสมพระเกียรติ
7.การถวายพระพร ตามลำดับ ตามกลุ่มต่างๆ ในชุมชนและผู้นำชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย สมาชิก อบต. โรงเรียนบ้านบางวัน 8.การกล่าวเทิดพระเกียรติ โดยนายรวย รอดประชุม ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้กล่าวนำประชาชนในหมู่บ้าน และร่วมร้องเพลงสดุดีมห่ราชาพร้อมกัน 9.การจุดเทียนถวายพระพร พร้อมเปล่งเสียงไชโยพร้อมกัน 10.เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านบางวันรำถวายพระพร 11.ตัวแทนกลุ่ม 4 ในเหมืองเป็นตัวแทนรำถวายพระพร 12.กลุ่มผู้สูงอายุ แสดงกิจกรรมถวายพระพร 13.เด็ก ๆ ได้ร่วมร้องเพลง "อิ่มอุ่น" แสดงถึงความรักกตัญญููต่อแม่ สรุปผลการจัดกิจกรรมวันแม่ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนได้ภูมิใจร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ตัวแทนกลุ่ม 4 กลุ่มส่งตัวแทนมาทำอาหารที่วัดและนำมาจัดเลี้ยงแม่ที่มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และจัดกิจกรรมรำอวยพร และจุดเทียนชัยถวายพระพร

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ให้แต่ละชุมชนส่งตัวแทนชุมชนละ  5 คนขึ้นไป มาร่วมกันทำอาหารหวานคาวที่วัดบางวัน
  2. ส่วนตัวแทนอื่น /คณะกรรมการได้ร่วมกันจัดเตรียมสถานที่บริเวณพิธีที่ศาลาประชุมบ้านบางวัน
  3. เวลา 16.00 น.ผู้สูงอายุทะยอยมาร่วมกิจกรรมทานอาหารร่วมกัน
  4. เวลา 17.00 น.ผู้เข้าร่วมงานทานอาหารร่วมกัน
  5. เวลา 18.00 น. ชมการแสดงรำอวยพรเด็กนักเรียนบ้าบาง

 

200 150

17. ประชุมร่วมกับคณะครู รร.บ้านบางวัน (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 3 กันยายน 2014 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดเตรียมหลักสูตรการสอนธรรมะและสมุดบันทึกความดี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ทางคณะครูได้เสนอรูปแบบของหลักสูตรในการใช้สอนธรรมะใน รร. โดยการฉายสไลด์ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้พิจารณา โดยเนื้อหาและแนวทางในการดำเนินงานจะใช้สื่อมัลติมิเดีย เช่น ภาพยนต์ หนังโฆษณา เรื่องสั้น สปอร์ตโฆษณา วิดิโอ นำมาแายให้นักเรียนได้ดูและทำแบบรายงาน  ซึ่งทางผู้เข้้าร่วมประชุมจะนำไปพิจารณาอีกครั้ง
  2. คุณกฤษ ได้นำเสนอรูปแบบของสมุดบันทึกความดี โดยจะสรุปอีกครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมเพื่อกำหนดรูปแบบของการทำสมุดบันทึกความดี
  2. ประชุมเพื่อกำหนดหลักสูตรในการอบรมเด็กนักเรียน
  3. วางแผนการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

คุณกฤษ ศรีฟ้า ประธานคณะกรรมสถานศึกษา รร.บ้านบางวันกล่าวเปิดประชุม

  • วาระที่ 1 เรื่องหลักสูตรในการสอนธรรมะใน รร.บางวัน
  • วาระที่ 2 รูปแบบของสมุดบันทึกความดี

สมุดบันทึกความดี ของ








............................................................................................ กำลังศึกษาอยู่ระดับ ชั้น  ......................................... ชื่อสถานศึกษา..........................................................................


โครงการสร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ หมู่ 1 บ้านบางวัน  ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา สนับสนุนโดย...สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

คำชี้แจงในการใช้สมุดบันทึกความดี สมุดเล่มนี้จะเป็นข้อมูลให้ผู้บันทึกได้พิจารณาว่าได้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ และสามารถพัฒนาปรับปรุงในด้านใดบ้าง ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์ เป็นการบ่มเพาะคุณลักษณะอันดีงาม ซึ่งจะเกิดผลดีต่อความสำเร็จ ความก้าวหน้าทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคมต่อไปในอนาคต
โดยความดีที่ควรปฏิบัติให้ครบถ้วนมี 8 ประการ ดังนี้ 1. ความดีที่ปฏิบัติต่อตนเอง
จะมีผลให้เป็นคนประสบความสุขความสำเร็จในชีวิต 2. ความดีที่ปฏิบัติต่อครอบครัวพ่อแม่ญาติพี่น้องและผู้มีพระคุณ จะมีผลทำให้พ่อแม่และญาติพี่น้องได้มีความสุข ความภูมิใจ สมกับที่ท่านได้เลี้ยงดูเรามาด้วยความยากลำบาก มีครอบครัวที่อบอุ่น เป็นที่รักใคร่แก่บุคคลทั่วไป 3. ความดีที่ปฏิบัติต่อโรงเรียนครูอาจารย์ จะมีผลทำให้สถาบันของเรามีชื่อเสียงในทางที่ดี เป็นการตอบแทนคุณครูบาอาจารย์ 4. ความดีที่ปฏิบัติต่อเพื่อนและเพื่อนร่วมโลก จะมีผลทำให้เราเป็นที่รักของเพื่อน อันจะได้ช่วยพึ่งพาอาศัยกันมีกัลยาณมิตรและความรักความเมตตาที่มีต่อกันและกันจะช่วยสร้างสันติสุขในโลก 5. ความดีต่อสังคม ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จะมีผลทำให้สังคมของเราน่าอยู่ ทุกคนอยู่กันอย่างมีความสุขสงบร่มเย็น 6. ความดีที่ปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
จะมีผลทำให้ลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ทำให้เรามีความสุขอย่างยั่งยืน ไม่มีมลภาวะและภัยธรรมชาติที่มีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์         7.การมองให้เห็นถึงความดีของผู้อื่น จะมีผลทำให้เป็นคนที่มีทัศนคติในเชิงบวก         8. การทบทวนข้อบกพร่องผิดพลาด                 จะมีผลทำให้เป็นคนกล้ารับผิดชอบในการกระทำของตนเอง การทบทวนความผิดพลาดแล้วแก้ไข ชีวิตจะมีแต่ความเจริญก้าวหน้า

ตัวอย่างของการทำดีในแต่ละด้าน

1.ความดีที่ปฏิบัติต่อตนเองเช่น เป็นคนมีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น  มุ่งมั่น ขยัน ประหยัด อดทน ตั้งใจเรียน ตรงต่อเวลา อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนมีมารยาท สะอาดเรียบร้อย ทานอาหารที่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ไม่ดื่มน้ำอัดลมไม่บริโภคอาหารขยะ ไม่เสพของเสพติด หมั่นออกกำลังกาย เป็นคนมีเหตุผล กล้าแสดงออก รู้จักประหยัดมัธยัสถ์  รักษาศีล  นำหลักศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 2. ความดีที่ปฏิบัติต่อครอบครัวพ่อแม่ญาติพี่น้องและผู้มีพระคุณ เช่น  การเคารพนพไหว้เชื่อฟังพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่  กอดพ่อแม่ปฏิบัติตัวให้พ่อแม่มีความสุข ไม่ดื้อ ไม่ดูดายการงานในครอบครัว  ไม่โกหกพ่อแม่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย มีความเคารพความรักให้ความช่วยเหลือต่อญาติพี่น้อง ทำตัวให้พ่อแม่  ญาติ-วงศ์ตระกูลภาคภูมิใจ สำนึกคุณและหาทางตอบแทนคุณผู้มีพระคุณ 3. ความดีที่ปฏิบัติต่อโรงเรียนครูอาจารย์ เช่น เคารพเชื่อฟังคุณครู  ตั้งใจเรียน ปฏิบัติตามกฎระเบียนของโรงเรียนโดยเคร่งครัด ช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียน เก็บกวาดขยะ ช่วยจัดโรงเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม สร้างชื่อเสียงที่ดีให้กับโรงเรียน 4. ความดีที่ปฏิบัติต่อเพื่อนและเพื่อนร่วมโลก เช่น ชักชวนแนะนำเพื่อนในทางที่ดี ที่ถูกต้อง มีความรักความสามัคคี รู้จักการให้อภัย ไม่พูดจายุยงให้เพื่อนทะเลาะกัน เอื้อเฟื้อช่วยเหลือแบ่งปัน มีความเห็นอกเห็นใจต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย 5. ความดีที่ปฏิบัติต่อสังคม ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เช่น การนำหลักศาสนามาประพฤติปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา งานประเพณี  การไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ไม่ทำตัวเป็นภาระแก่สังคมตั้งมั่นอยู่ในความสุจริต ไม่คิดฉ้อโกง การชักชวนให้พ่อแม่และบุคคลต่างๆ ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ให้มีการเลือกตั้งที่ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง ประชุมหมู่บ้านและร่วมกิจกรรมในชุมชน มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การแสดงออกต่อสถาบันฯในโอกาสต่างๆ
6. ความดีที่ปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร  เช่น การรู้จักการจัดการขยะที่ถูกต้อง การรู้จักคัดแยกขยะนำไปใช้ประโยชน์การไม่เผาขยะ การหลีกเลี่ยงการใช้ถุงพลาสติก กล่องโฟม การไม่ทิ้งขยะและของเสียลงแม่น้ำคูคลอง การชักชวนให้พ่อแม่ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ไม่ล่าและบริโภคเนื้อสัตว์สงวน  การช่วยปลูกต้นไม้ การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การลดการใช้พลังงาน เปิดเครื่องไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น ใช้จักยานแทนรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และเท่าที่จำเป็น 7. การมองให้เห็นถึงความดีของผู้อื่น  เช่น ในวันหนึ่งๆ ใครทำอะไรดีๆ ให้กับเราบ้าง หรือเราเห็นใครทำความดีที่เราชื่นชม  และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เราได้ประพฤติปฏิบัติตาม 8. การทบทวนข้อบกพร่องผิดพลาด เป็นการทบทวนพฤติกรรมของตนเองทุกๆ ด้านในรอบวันว่า มีความบกพร่องผิดพลาดตรงไหน มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วมีความพยายามที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ไม่ให้เกิดซ้ำอีก การให้คะแนนประเมินผล

เกณฑ์การให้คะแนน 5 = มีการปฏิบัติเป็นประจำ 4 = มีการปฏิบัติบ่อยครั้ง 3 = มีการปฏิบัติปานกลาง 2 = มีการปฏิบัติน้อย 1 = มีการปฏิบัติน้อยสุด

ประจำเดือน................................................................... หัวข้อที่ประเมิน ระดับผลการประเมิน 1 2 3 4 5 1.ความดีต่อตนเอง
2.ความดีต่อครอบครัว พ่อแม่ญาติพี่น้องและผู้มีพระคุณ
3.ความดีต่อโรงเรียน ครูอาจารย์
4.ความดีต่อเพื่อนและเพื่อนร่วมโลก
5.ความดีต่อสังคม ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
6.ความดีต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
7.การมองให้เห็นถึงความดีของผู้อื่น
8.การทบทวนข้อบกพร่อง ผิดพลาด
รวม

ผู้ประเมิน......................................................... (............................................................) ผู้ปกครอง........................................................... (...........................................................)

  • วาระที่ 3 อื่นๆ

 

12 17

18. ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนกันยายน (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 4 กันยายน 2014 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามโครงการและวางแผนการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา 1.กิจกรรมการแข่งขันกีฬาชุมชน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก มีผลตอบรับที่ดี 2.กิจกรรมการถวายพระพรถือว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่ชุมชนได้จัดขึ้นภายในชุมชน สร้างความรักความสามัคคี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ติดตามการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา สรุป ประเมินผล 2.วางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ดำเนินการประชุมเดือนกันยายน โดยที่ประชุมได้ให้รายงานผลการดำเนินการกิจกรรมที่ผ่านมา ดังนี้ กิจกรรมการแข่งขันกีฬาชุมชน โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีของพี่น้องประชาชนในหมู่บ้าน และพื้นที่ใกล้เคียง โดยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากการสอบถามทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรม สะท้อนให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับกิจกรรมการถวายพระพร ในวันที่ 12สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ ถือว่าเป็นกิจกรรมที่จัดเป็นครั้งแรกในหมู่บ้าน ทุกคนมาร่วสมกันจุดเทียนชัยพร้อมกัน บางคนถึงกับตื่นเต้นที่ได้ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีพร้อมกัน
2.กิจกรรมที่จะต้องดำเนินการต่อไปจะนัดหมายให้มีการประชุมเพื่อจัดกิจกรรมสอนะรรมะในโรงเรียนบางวัน 3.กิจกรรมสมุดบันทึกความดีให้กับนักเรียน

 

15 9

19. ประชุมคณะทำงานโครงการกับกรรมการสถานศึกษาและคณะครู รร.บางวัน (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 18 กันยายน 2014 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อพิจารณาหลักสูตรในการสอนนักเรียน 2. เพื่อได้รูปแบบสมุดบันทึกความดี 3. ประชุมผู้ปกครองนักเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ผลสรุปที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติเป็นไปตามที่คณะทำงานได้วางแผนไว้ โดยกำหนดให้ทดลองหลักสูตรในการสอนธรรมะ  มีดังนี้ ตารางกำหนดการจัดกิจกรรม ชื่อกิจกรรม :                        สร้างสรรค์สื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมสู่ต้นกล้า ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม  :  จัดต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นเวลา 32  ชั่วโมง  เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน
จำนวนเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรม :  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 – 6 โรงเรียนบ้านบางวัน และเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง กิจกรรมที่ 1 คุณธรรมและจริยธรรมคืออะไรหนอ
กิจกรรมที่ 2 ร้อยเรียงสื่อสิ่งพิมพ์สร้างสรรค์คุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดในใจ
กิจกรรมที่ 3 ละครสอนชีวิต
กิจกรรมที่ 4 ภาพยนตร์ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
กิจกรรมที่ 5 สื่อโฆษณาสร้างสรรค์คุณธรรม
กิจกรรมที่ 6  ไอซีทีกับการสร้างสรรค์คุณธรรมจริยธรรม
กิจกรรมที่ 7 ต้นกล้าแห่งคุณธรรมในโรงเรียน
2.พิจารณษรูปแบบสมุดบันทึกความดีคณะกรรมการเห็นสมควรตามที่เตรียมแบบอย่างมา และกำหนดวันที่จะประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างความเข้าใจในกาารดำเนินกิจกรรมสอนธรรมะในโรงเรียน  โดยกำหนดสมุดบันทึกความดีได้ ดังนี้

คำชี้แจงในการใช้สมุดบันทึกความดี

  • สมุดเล่มนี้จะเป็นข้อมูลให้ผู้บันทึกได้พิจารณาว่าได้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ และสามารถพัฒนาปรับปรุงในด้านใดบ้าง ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์ เป็นการบ่มเพาะคุณลักษณะอันดีงาม ซึ่งจะเกิดผลดีต่อความสำเร็จ ความก้าวหน้าทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคมต่อไปในอนาคต

โดยความดีที่ควรปฏิบัติให้ครบถ้วนมี 7 ประการ ดังนี้

  1. ความดีที่ปฏิบัติต่อตนเอง จะมีผลให้เป็นคนประสบความสุขความสำเร็จในชีวิต
  2. ความดีที่ปฏิบัติต่อครอบครัวพ่อแม่ญาติพี่น้องและผู้มีพระคุณ จะมีผลทำให้พ่อแม่และญาติพี่น้องได้มีความสุข ความภูมิใจ สมกับที่ท่านได้เลี้ยงดูเรามาด้วยความยากลำบาก มีครอบครัวที่อบอุ่น เป็นที่รักใคร่แก่บุคคลทั่วไป
  3. ความดีที่ปฏิบัติต่อโรงเรียนครูอาจารย์ จะมีผลทำให้สถาบันของเรามีชื่อเสียงในทางที่ดี เป็นการตอบแทนคุณครูบาอาจารย์
  4. ความดีที่ปฏิบัติต่อเพื่อนและเพื่อนร่วมโลก จะมีผลทำให้เราเป็นที่รักของเพื่อน อันจะได้ช่วยพึ่งพาอาศัยกันมีกัลยาณมิตรและความรักความเมตตาที่มีต่อกันและกันจะช่วยสร้างสันติสุขในโลก
  5. ความดีต่อสังคม ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จะมีผลทำให้สังคมของเราน่าอยู่ ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขสงบร่มเย็น
  6. ความดีที่ปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร  จะมีผลทำให้ลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ทำให้เรามีความสุขอย่างยั่งยืน ไม่มีมลภาวะและภัยธรรมชาติที่มีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์
  7. การทบทวนข้อบกพร่องผิดพลาด จะมีผลทำให้เป็นคนกล้ารับผิดชอบในการกระทำของตนเอง การทบทวนความผิดพลาดแล้วแก้ไข ชีวิตจะมีแต่ความเจริญก้าวหน้า

ตัวอย่างของการทำดีในแต่ละด้าน

  1. ความดีที่ปฏิบัติต่อตนเอง เช่น เป็นคนมีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น  มุ่งมั่น ขยัน ประหยัด อดทน ตั้งใจเรียน ตรงต่อเวลา อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนมีมารยาท สะอาดเรียบร้อย ทานอาหารที่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ไม่ดื่มน้ำอัดลมไม่บริโภคอาหารขยะ ไม่เสพของเสพติด หมั่นออกกำลังกาย เป็นคนมีเหตุผล กล้าแสดงออก รู้จักประหยัดมัธยัสถ์  รักษาศีล รู้จักพัฒนาและแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง นำหลักศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
  2. ความดีที่ปฏิบัติต่อครอบครัวพ่อแม่ญาติพี่น้องและผู้มีพระคุณ เช่น  การเคารพนพไหว้เชื่อฟังพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่  กอดพ่อแม่ปฏิบัติตัวให้พ่อแม่มีความสุข ไม่ดื้อ ไม่ดูดายการงานในครอบครัว ช่วยจัดตกแต่งทั้งในบ้านและนอกบริเวณบ้านให้สะอาดสวยงาม ไม่โกหกพ่อแม่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย มีความเคารพความรักให้ความช่วยเหลือต่อญาติพี่น้อง ทำตัวให้พ่อแม่  ญาติ-วงศ์ตระกูลภาคภูมิใจ สำนึกคุณและหาทางตอบแทนคุณผู้มีพระคุณ
  3. ความดีที่ปฏิบัติต่อโรงเรียนครูอาจารย์ เช่น เคารพเชื่อฟังคุณครู  ตั้งใจเรียน ปฏิบัติตามกฎระเบียนของโรงเรียนโดยเคร่งครัด ช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียน เก็บกวาดขยะ ช่วยจัดโรงเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม สร้างชื่อเสียงที่ดีให้กับโรงเรียน
  4. ความดีที่ปฏิบัติต่อเพื่อนและเพื่อนร่วมโลก เช่น ชักชวนแนะนำเพื่อนในทางที่ดี ที่ถูกต้อง มีความรักความสามัคคี รู้จักให้อภัยเพื่อน ไม่พูดจายุยงให้เพื่อนทะเลาะกัน เอื้อเฟื้อช่วยเหลือแบ่งปัน มีความเห็นอกเห็นใจต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
  5. ความดีที่ปฏิบัติต่อสังคม ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เช่น การนำหลักศาสนามาประพฤติปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา งานประเพณี การให้ความช่วยเหลือและเข้าร่วมกิจกรรมในงานด้านต่างๆ  ของชุมชน การไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ไม่ทำตัวเป็นภาระแก่สังคมตั้งมั่นอยู่ในความสุจริต ไม่คิดฉ้อโกง การชักชวนให้พ่อแม่และบุคคลต่างๆ ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ให้มีการเลือกตั้งที่ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง ประชุมหมู่บ้านและร่วมกิจกรรมในชุมชน มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การแสดงออกต่อสถาบันฯในโอกาสต่างๆ
  6. ความดีที่ปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร  เช่น การรู้จักการจัดการขยะที่ถูกต้อง การรู้จักคัดแยกขยะนำไปใช้ประโยชน์การไม่เผาขยะ การหลีกเลี่ยงการใช้ถุงพลาสติก กล่องโฟม การไม่ทิ้งขยะและของเสียลงแม่น้ำคูคลอง การชักชวนให้พ่อแม่ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ไม่ล่าและบริโภคเนื้อสัตว์สงวน  การช่วยปลูกต้นไม้ การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การลดการใช้พลังงาน เปิดเครื่องไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น ใช้จักยานแทนรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และเท่าที่จำเป็น
  7. การทบทวนข้อบกพร่องผิดพลาด เป็นการทบทวนพฤติกรรมของตนเองทุกๆ ด้านในรอบวันว่า มีความบกพร่องผิดพลาดตรงไหน มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วมีความพยายามที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ไม่ให้เกิดซ้ำอีก

การให้คะแนนประเมินผล

เกณฑ์การให้คะแนน 5 = มีการปฏิบัติเป็นประจำ 4 = มีการปฏิบัติบ่อยครั้ง 3 = มีการปฏิบัติปานกลาง 2 = มีการปฏิบัติน้อย 1 = มีการปฏิบัติน้อยสุด

ประจำเดือน................................................................... หัวข้อที่ประเมิน ระดับผลการประเมิน 1 2 3 4 5

  1. ความดีต่อตนเอง
  2. ความดีต่อครอบครัว พ่อแม่ญาติพี่น้องและผู้มีพระคุณ
  3. ความดีต่อโรงเรียน ครูอาจารย์
  4. ความดีต่อเพื่อน และเพื่อนร่วมโลก
  5. ความดีต่อสังคม ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  6. ความดีต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
  7. การทบทวนข้อบกพร่องผิดพลาด

ผู้ประเมิน........................................................ (............................................................)

ผู้ปกครอง.................................................... (...........................................................)

  • สรุปที่ประชุมเห็นชอบในรุปแแบของสมุดบันทึกความดี และให้ดำเนินการจัดทำ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมเพื่อพิจารณาหลักสูตรในการสอนธรรมะในโรงเรียน
  2. เพื่อพิจารณารูปแแบของสมุดบันทึกความดี
  3. กำหนดวันที่จะประชุมผู้ปกครองนักเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. จัดประชุมเพื่อพิจารณาหลักสูตรในการสอนธรรมะ
  2. ประชุมพิจารณารูปแบบสมุดบันทึกความดี
  3. การบันทึกสมุดบันทึกความดีของเด็กนักเรียน
  4. กำหนดวันประชุมผู้ปกครองนักเรียนเป็นวันที่ 25 กันยายน 2557 เวลา 14.00 น.

 

15 13

20. ประชุมผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านบางวัน (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 25 กันยายน 2014 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุดบันทึกความดีของเด็กให้ผู้ปกครองได้เข้าใจ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปที่เกิดจากการประชุม 1.ผู้ปกรองนักเรียนได้รับทราบถึงกิจกรรมสอนธรรมะให้กับนักเรียนในทุกวันจันทร์ เวลา 14.00 น.ถึง 15.00 น. 2.ผู้ปกครองได้ทราบถึงแนวทางในการนำสมุดบันทึกความดี เพื่อให้เด็กนักเรียนได้บันทึก และผู้ปกครองรับรองการปฏิบัติ 3.พระอาจารย์บุญนพ เจ้าอาวาสวัดสวนวาง ได้นำความรู้หรือตัวอย่างที่เกี่ยวกับความดีทั้ง 8 ด้านมาให้กับผู้ปกครองได้รู้ 4.ครูอิสลามได้พูดถึงความดีในหลักของศาสนาอิสลามให้กับเด็กนักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามได้ทราบ และอธิบายแนวทางในการทำความดี 5.คุณกฤษ ศรีฟ้าได้สรุปความดี ทั้ง 8 ข้อดังนี้ ตัวอย่างของการทำดีในแต่ละด้าน

1.ความดีที่ปฏิบัติต่อตนเองเช่น เป็นคนมีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น  มุ่งมั่น ขยัน ประหยัด อดทน ตั้งใจเรียน ตรงต่อเวลา อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนมีมารยาท สะอาดเรียบร้อย ทานอาหารที่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ไม่ดื่มน้ำอัดลมไม่บริโภคอาหารขยะ ไม่เสพของเสพติด หมั่นออกกำลังกาย เป็นคนมีเหตุผล กล้าแสดงออก รู้จักประหยัดมัธยัสถ์  รักษาศีล  นำหลักศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 2. ความดีที่ปฏิบัติต่อครอบครัวพ่อแม่ญาติพี่น้องและผู้มีพระคุณ เช่น  การเคารพนพไหว้เชื่อฟังพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่  กอดพ่อแม่ปฏิบัติตัวให้พ่อแม่มีความสุข ไม่ดื้อ ไม่ดูดายการงานในครอบครัว  ไม่โกหกพ่อแม่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย มีความเคารพความรักให้ความช่วยเหลือต่อญาติพี่น้อง ทำตัวให้พ่อแม่  ญาติ-วงศ์ตระกูลภาคภูมิใจ สำนึกคุณและหาทางตอบแทนคุณผู้มีพระคุณ 3. ความดีที่ปฏิบัติต่อโรงเรียนครูอาจารย์ เช่น เคารพเชื่อฟังคุณครู  ตั้งใจเรียน ปฏิบัติตามกฎระเบียนของโรงเรียนโดยเคร่งครัด ช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียน เก็บกวาดขยะ ช่วยจัดโรงเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม สร้างชื่อเสียงที่ดีให้กับโรงเรียน 4. ความดีที่ปฏิบัติต่อเพื่อนและเพื่อนร่วมโลก เช่น ชักชวนแนะนำเพื่อนในทางที่ดี ที่ถูกต้อง มีความรักความสามัคคี รู้จักการให้อภัย ไม่พูดจายุยงให้เพื่อนทะเลาะกัน เอื้อเฟื้อช่วยเหลือแบ่งปัน มีความเห็นอกเห็นใจต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย 5. ความดีที่ปฏิบัติต่อสังคม ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เช่น การนำหลักศาสนามาประพฤติปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา งานประเพณี  การไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ไม่ทำตัวเป็นภาระแก่สังคมตั้งมั่นอยู่ในความสุจริต ไม่คิดฉ้อโกง การชักชวนให้พ่อแม่และบุคคลต่างๆ ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ให้มีการเลือกตั้งที่ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง ประชุมหมู่บ้านและร่วมกิจกรรมในชุมชน มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การแสดงออกต่อสถาบันฯในโอกาสต่างๆ
6. ความดีที่ปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร  เช่น การรู้จักการจัดการขยะที่ถูกต้อง การรู้จักคัดแยกขยะนำไปใช้ประโยชน์การไม่เผาขยะ การหลีกเลี่ยงการใช้ถุงพลาสติก กล่องโฟม การไม่ทิ้งขยะและของเสียลงแม่น้ำคูคลอง การชักชวนให้พ่อแม่ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ไม่ล่าและบริโภคเนื้อสัตว์สงวน  การช่วยปลูกต้นไม้ การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การลดการใช้พลังงาน เปิดเครื่องไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น ใช้จักยานแทนรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และเท่าที่จำเป็น 7. การมองให้เห็นถึงความดีของผู้อื่น  เช่น ในวันหนึ่งๆ ใครทำอะไรดีๆ ให้กับเราบ้าง หรือเราเห็นใครทำความดีที่เราชื่นชม  และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เราได้ประพฤติปฏิบัติตาม 8. การทบทวนข้อบกพร่องผิดพลาด เป็นการทบทวนพฤติกรรมของตนเองทุกๆ ด้านในรอบวันว่า มีความบกพร่องผิดพลาดตรงไหน มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วมีความพยายามที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ไม่ให้เกิดซ้ำอีก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดประชุมเพื่อชี้แจงการขอความร่วมมือผู้ปกครองได้เข้าใจในกิจกรรมสมุดบันทึกความดีของเด็กนักเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. ประสานทางโรงเรียนให้ออกหนังสือเพื่อเรียนเชิญผู้ปกครองนักเรียนมาร่วมประชุม
  2. จัดสถานที่ประชุม เตรียมความพร้อม
  3. เรียนเชิญวิทยากร คือพระอาจารย์บุญนพ วัดสวนกวาง และตัวแทนครูอิสลาม
  4. ลงทะเบียนผู้เข้าประชุม
  5. บรรยายหัวข้อการกระทำความดีทั้ง

 

100 60

21. ประชุมประจำเดือนเพื่อติดตามโครงการ (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 4 ตุลาคม 2014 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามกิจกรรมโครงการและวางแผนการดำเนินกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กิจกรรมที่ผ่านมา กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสอนธรรมะให้กับเด็กนักเรียน รร.บางวัน ได้ดำเนินการแล้ว โดยจัดทำหลักสูตรและดำเนินการสอนแล้ว โดยนายดำ ศรีประเสริฐ ปราชญ์ชาวบ้าน และนายสถิตย์ ศรีฟ้า ปราชญ์ชาวบ้าน
2.กิจกรรมสมุดบันทึกความดี ที่ประชุมได้พิจารณารูปแแบและเนื้อหาของสมุดบันทึกความดี และเห็นชอบที่ประชุมได้จัดทำ 3.กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลชุมชน ที่ประชุมได้กำหนดให้มีการประชุมภายในกลุ่ม ทั้ง 4 กลุ่มเพื่อคัดเลือกตัวแทนในการเก็บข้อมูล กลุ่มละ 2 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เป็นการประชุมประจำเดือนของทุกเดือนเพื่อติดตามโครงการและวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประชุมชี้แจงผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา 2.รายงานกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่

 

15 8

22. ประชุมตัวแทนครัวเรือนกลุ่ม 2 เพื่อหาตัวแทนเก็บข้อมูล (กิจกรรมที่ 3)

วันที่ 14 ตุลาคม 2014 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมชี้แจงกิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ที่ประชุมได้คัดเลือกตัวแทน คือ นางกชนิภา นวลจันทร์ และนางสุภาพร ศรีฟ้า เป็นผู้จัดเก็บข้อมูล 2.กำหนดวันประชุมตัวแทนเก็บข้อมูลในวันที่ 27 ตุลาคม 2557 เวลา 09.00 น. ณ ศาลาประชุมหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อชี้แจงกิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลชุมชนและคัดเลือกผู้จัดเก็บข้อมูล จำนวน 2 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประชุมชี้แจงกิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลชุมชนให้ที่ประชุมได้รับทราบ 2.ให้ที่ประชุมได้คัดเลือกตัวแทน จำนวน 23 คนเพื่อจัดเก็บข้อมูล 3.กำหนดวันประชุมตัวแทนเก็บข้อมูล

 

30 10

23. ประชุมตัวแทนกลุ่ม 4 กิจกรรมเก็บข้อมูล (กิจกรรมที่ 3)

วันที่ 17 ตุลาคม 2014 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงกิจกรรมการจัดเก็บข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการประชุม มีดังนี้ 1.ที่ประชุมได้รับทราบการดำเนินกิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลชุมชน 2.ที่ประชุมได้คัดเลือกตัวแทน ดังนี้
นายนิตยื จันทำ ประธานกลุ่ม ได้เสนอนายชอน บุญเสริม เป็นคนแรก เพราะเป็นผู้รอบรู้ มีความชำนาญในพื้นที่ เนื่องจากเก็บค่าน้ำประปาอยู่แล้ว ที่ประชุมเห็นชอบด้วย  ส่วนนางอัมพร ศรีประเสริฐ เสนอน้องกิ๊บ (อรอุมา ดำด้วงโรม) อีกหนึ่งคนเพราะมีความชำนาญในการเขียนข้อมูล ที่ประชุม เห็นชอบ นายอุดร (ชอน)  บุญเสริม และนส.อรอุมา (กิ๊บ) ดำด้วงโรม 3.กำหนดวันประชุมตัวแทนทุกกลุ่มในวันที่ 27 ตุลาคม 2557 เวลา 09.00 น. ณ ศาลาประชุมหมู่บ้าน เพื่อประชุมพิจารณาแบบแฟอร์มการเก็บข้อมูลอีกครั้ง ตามแผนดำเนินงาน 4.กำหนดค่าตอบแทนในการเก็บข้อมูล ครัวเรือนละ 30 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเพื่อชี้แจงกิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลชุมชนและหาผู้จัดเก็บข้อมูล จำนวน 2 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประชุมชี้แจงกิจกรรมการจัดเก็บข้อมูล 2.ที่ประชุมคัดเลือกตัวแทน จำนวน 2 คนเพื่อเก็บข้อมูล 3.กำหนดวันประชุมตัวแทนเก็บข้อมูล

 

30 20

24. ประชุมกลุ่ม 3 และกลุ่ม 1 กิจกรรมจัดเก็บข้อมูล (กิจกรรมที่ 3)

วันที่ 24 ตุลาคม 2014 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงกิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลและคัดเลือกคนเก็บข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรปผลการประชุมตัวแทนครัวเรือน กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3  ดังนี้ 1.ผลการคัดเลือกตัวแทนกลุ่ม 2 คน ดังนี้
กลุ่ม 1 ได้แก่ นางจันจิรา เพ็ชรขาว และนางตรีชฎา ยงยุทธ
กลุ่ม 3 ได้แก่ นางประไพพรรณ จันทรทวี และ นส.เจนจิรา ละลอย 2.โดยในการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ จะได้รับค่าตอบแทน ครัวเรือนละ 30 บาท 3.กำหนดการประชุมตัวแทนเก็บข้อมูลทุกกลุ่ม ในวันที่ 27 ตุลาคม 2557 เวลา 09.00 น. ณ ศาลาประชุมหมู่บ้าน เพื่อสรุปแบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลอีกครั้ง 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ประชุมเพื่อชี้แจงกิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลชุมชนและเลือกผู้จัดเก็บข้อมูล กลุ่มละ 2 คน 2.กำหนดวันประชุมตัวแทนในการเก็บข้อมูล 3.กำหนดค่าตอบแทนในการเก็บข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

1.นายกฤษ ศรีฟ้า ประธานในที่ประชุมกล่าวเปิดการประชุม โดยชี้แจงถึงกิจกรรมที่ผ่านมา โดยให้นายนิคม ลำจวน เลขานุการโครงการได้ชี้แจงถึงกิจกรรมที่ผ่านมาว่า กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการแบ่งกลุ่ม ได้เสร็จสิ้นแล้ว ,กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการแข่งขันกีฬาก็ลุล่วงไปด้วยดี ,กล่าวถึงกิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสอนธรรมะในรร.บางวัน กำลังดำเนินการ,และกิจกรรมที่จะชี้แจงวันนี้คือกิจกรรมที่ 3 การเก็บข้อมูลชุมชน
2.ที่ประชุมได้รับฟังและแสดงความคิดเห็นกัน โดยที่ประชุมได้คัดเลือกตัวแทน 2 คน 3.กำหนดการประชุมตัวแทนเก็บข้อมูล

 

50 29

25. ประชุมคณะกรรมการและตัวแทนเก็บข้อมูล (กิจกรรมที่ 3)

วันที่ 27 ตุลาคม 2014 เวลา 09:00-12.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อกำหนดหัวข้อการจัดเก็บข้อมูลและแนวทางในการเก็บข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ตัวแทนในการจัดเก็บข้อมูล ดังนี้ กลุ่มที่ 1 นางจันจิรา จันทร์เนตร ,นางตรีชฎา ยงยุทธ ,กลุ่มที่ 2 นางกชนิกร นวลจันทร์ ,นางสภาพร ศรีฟ้า ,กลุ่มที่ 3 นางประไพพรรณ จันทรทวี ,นางสาวเจนจิรา ละลอย ,กลุ่มที่ 4 นางอัมพร ศรีประเสริฐ ,นางสาสอรอุมา ดำด้วงโรม
  2. สรุปแบบฟอร์มที่พิจารณาใหม่ได้ดังนี้

แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน โครงการสร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ หมู่ที่ 1 ตำบลบางวัน  อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา  โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คำชี้แจง
แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานนี้ใช้เพื่อเก็บข้อมูลครัวเรือนบุคลากรในครัวเรือนและชุมชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยข้อมูลที่ได้จะนำมาใช้เพื่อวางแผนพัฒนาสถาบันครอบครัวและชุมชนต่อไป แบบสอบถามสำหรับบ้านเลขที่.....................หมู่ที่ 1 ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
          อาศัยอยู่ในชุมชน กลุ่มที่        ⃝  1        ⃝  2        ⃝ 3        ⃝ 4 ชื่อผู้ตอบแบบสอบถาม.....................................................................ความสัมพันธ์กับหัวหน้าครอบครัว……………………………

1.รายได้ของครอบครัวของท่านมาจาก (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ เริ่มจากเลข 1 สำหรับรายได้หลัก)  รับราชการ  ค้าขาย         สวนยางพารา  สวนปาล์มน้ำมัน     สวนผลไม้  ประมง  ของป่า  งานบริการ     รับจ้าง  จากลูกหรือญาติส่งมาให้   บำเหน็จบำนาญ                                                                                          อื่นๆ ระบุ……………………………………………………………………………………………………………………..

2.การถือครองที่ดิน              มี         ไม่มี  หากมีเป็นที่มีเอกสารสิทธิ์ จำนวน...................................ไร่        ไม่มีเอกสารสิทธิ จำนวน .............................ไร่
การใช้ประโยชน์ที่ดิน 1..........................................................................  จำนวน............................ไร่ 2. ........................................................................  จำนวน.............................ไร่ 3. .........................................................................  จำนวน............................ไร่

3.อาชีพประมง ปริมาณต่อสัปดาห์          ............................ กก.ต่อปี   อาชีพหาของป่า ปริมาณต่อสัปดาห์      1.พืช ............................ กก.ต่อปี  2.สัตว์...............................กก.ต่อปี

4.บ้านที่อยู่อาศัย              เป็นของตนเอง  เช่า       อาศัยกับผู้อื่นหรือญาติ

6.ทรัพย์สินอื่น        ⃝  รถยนต์ จำนวน..............คัน ⃝  มอเตอร์ไซด์ จำนวน..........................คัน     ⃝  เรือ จำนวน....................ลำ ⃝  จักรกลการเกษตร จำนวน...................คัน

7.กิจกรรมในครัวเรือนที่ทุกคนมีโอกาสทำร่วมกัน คือ 1.......................................................................................................... ความถี่............ครั้ง/ปี 2. ........................................................................................................ ความถี่............ครั้ง/ปี 3. ........................................................................................................ ความถี่............ครั้ง/ปี

8.กิจกรรมชุมชนที่ครอบครัวมีส่วนร่วม คือ
1. กิจกรรม................................................................................................... ..........ความถี่...........ครั้ง/ปี 2. กิจกรรม...............................................................................................................ความถี่..........ครั้ง/ปี 3. กิจกรรม.............................................................................................................. ความถี่..........ครั้ง/ปี

9.สมาชิกในครอบครัวของท่าน.....สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มองค์กรใดในชุมชนบ้าง? 1. .......................................................................................................................................................... 2. ........................................................................................................................................................... 3. ..........................................................................................................................................................

10.ผู้วางแผน รายรับ-รายจ่ายในครัวเรือนของท่าน คือ.................................................................................... โดย          ⃝  ใช้บัญชีรายรับ-รายจ่ายครัวเรือน     ⃝  ใช้วิธีการจดจำ     ⃝  ใช้วิธีใช้ได้เท่าไรใช้ไปก่อน

11.ปัจจุบันหากในครัวเรือนของท่านมีภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นเร่งด่วน....ท่านสามารถหาจากที่ใด?   ⃝ ยืมกองทุนหมู่บ้าน   ⃝  ยืมญาติหรือเพื่อน     ⃝ กู้ธนาคาร       ⃝  ถอนเงินฝากจากธนาคาร   ⃝  หนี้นอกระบบ

12.ท่านมีรายจ่าย ค่าอาหารต่อเดือนสำหรับครอบครัว ประมาณ..............................บาท

13.ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาต่อเดือนสำหรับครอบครัว ประมาณ................................บาท

14.ค่าใช้จ่ายเหล้า/บุหรี่ ต่อเดือน ประมาณ...............................................บาท

15.พืชสวนครัวและพืชสมุนไพรที่ครอบครัวปลูกไว้และนำมาใช้ประโยชน์ได้บ่อย ๆ มีอะไรบ้าง...................... .......................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................

  1. ท่านได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้านไหนไปปฏิบัติบ้าง.............................................................................. ........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................

17.ท่านคิดว่าหลักคำสอนทางศาสนาข้อใด เหมาะสมที่จะนำมาใช้เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัวของท่าน ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................

  1. ท่านคิดว่า  “ในชุมชนของท่าน ใครคือบุคคลต้นแบบในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้” 18.1 ต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง คือ 1......................................................................   2..................................................................... 18.2 ด้านความกตัญญูรู้คุณ คือ 1......................................................................   2..................................................................... 18.3 ด้านความสุขในครัวเรือน และการดูแลสั่งสอนบุตร คือ 1......................................................................   2..................................................................... 18.4 ด้านการมีจิตสาธารณะ คือ 1......................................................................   2..................................................................... 18.5 ด้านเกษตรผสมผสาน คือ 1......................................................................   2..................................................................... 18.6 ด้านนำหลักธรรมทางศาสนาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิต คือ 1......................................................................   2..................................................................... 18.7 ด้านดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม คือ 1......................................................................   2..................................................................... 18.8 ด้านความมุ่งมั่นอดทนขยันทำมาหากิน คือ 1......................................................................   2.................................................................... 18.9 ด้านความซื่อสัตย์ สุจริต คือ 1......................................................................   2.....................................................................

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. แจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบถึงการดำเนินงาน
  2. แนะนำตัวแทนเก็บข้อมูลให้ที่ประชุม
  3. ดำเนินการจัดประชุม เพื่อแก้ไขปรับปรุงหัวข้อต่างๆ
  4. แนวทางในการจัดเก็บข้อมูลและระยะเวลาดำเนินการ

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา 09.00 น.

  1. คุณกฤษ ศรีฟ้า กล่าวเปิดการประชุม กล่าวถึงความสำคัญของข้อมูลชุมชนว่า ทุกคนที่เข้ามาร่วมในกิจกรรมนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง
  2. นายนิคม ลำจวน กล่าวแนะนำตัวแทนกลุ่มทั้ง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 นางจันจิรา จันทร์เนตร ,นางตรีชฎา ยงยุทธ ,กลุ่มที่ 2 นางกชนิกร นวลจันทร์ ,นางสภาพร ศรีฟ้า ,กลุ่มที่ 3 นางประไพพรรณ จันทรทวี ,นางสาวเจนจิรา ละลอย ,กลุ่มที่ 4 นางอัมพร ศรีประเสริฐ ,นางสาสอรอุมา ดำด้วงโรม
  3. พิจารณาแบบฟอร์มในการจัดเก็บข้อมูล จนแล้วเสร็จ
  4. กำหนดเวลาในการจัดเก็บข้อมูล
  5. ปิดประชุม

 

22 8

26. จัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ งวดที่ 1 (กิจกรรมปฐมนิเทศน์)

วันที่ 31 ตุลาคม 2014 เวลา 10.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • โครงการสามารถจัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการงวดที่ 1 และรายงานการเงินโครงการ งวดที่ 1 ได้อย่างถูกต้อง มีความสมบูรณ์ และสามารถจัดส่งให้กับทาง สจรส. มอ. ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ และรายงานการเงินวงดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดทำรายงานโครงการ
  • ตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการ

 

2 2

27. เบิกคืนเงินค่าเปิดบัญชี

วันที่ 31 ตุลาคม 2014 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เบิกคืนเงินค่าเปิดบัญชี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เบิกคืนเงินค่าเปิดบัญชี 500 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เบิกคืนเงินค่าเปิดบัญชี

กิจกรรมที่ทำจริง

เบิกคืนเงินค่าเปิดบัญชี

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 65 27                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,931.00 60,841.00                  
คุณภาพกิจกรรม 108 96                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.เนื่องจากจังหวัดพังงามีปริมาณฝนตกมากตลอดทั้งปี ทำให้หลายกิจกรรมต้องเลื่อนไปบ้าง 2.ปัญหาในเรื่องสัญญานอินเตอร์เน็ตของหมู่บ้านยังไม่มีความเร็วที่ดี 3.การกรอกข้อมูลช่วงแรกยังไม่เข้าใจ

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมเพื่อรวบรวมข้อมูลจากสมุดสำรวจข้อมูลชุมชน (กิจกรรมที่ 3) ( 15 พ.ย. 2014 )
  2. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 2 (กิจกรรมที่ 7) ( 17 พ.ย. 2014 )
  3. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 3 (กิจกรรมที่ 7) ( 24 พ.ย. 2014 )
  4. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและวางแผนกิจกรรมประจำเดือน (กิจกรรมที่ 2) ( 25 พ.ย. 2014 )
  5. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 4 (กิจกรรมที่ 7) ( 1 ธ.ค. 2014 )
  6. ประชุมคณะกรรมการ คณะทำงานเตรียมงาน (กิจกรรมที่ 5) ( 4 ธ.ค. 2014 )
  7. จัดกิจกรรมถวายพานพุ่มและจุดเทียนชัยถวายพระพร (กิจกรรมที่ 5) ( 5 ธ.ค. 2014 )
  8. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 5 (กิจกรรมที่ 7) ( 8 ธ.ค. 2014 )
  9. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 6 (กิจกรรมที่ 7) ( 15 ธ.ค. 2014 )
  10. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 7 (กิจกรรมที่ 7) ( 22 ธ.ค. 2014 )
  11. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 8 (กิจกรรมที่ 7) ( 29 ธ.ค. 2014 )
  12. ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนมกราคม (กิจกรรมที่ 2) ( 4 ม.ค. 2015 )
  13. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 9 (กิจกรรมที่ 7) ( 5 ม.ค. 2015 )
  14. จัดงานวันเด็กดี 8 ประการ (กิจกรรมที่ 7) ( 10 ม.ค. 2015 )
  15. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 10 (กิจกรรมที่ 7) ( 12 ม.ค. 2015 )
  16. กิจกรรมความดี 8 ประการนอกพื้นที่ (กิจกรรมที่ 7) ( 17 ม.ค. 2015 )
  17. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 11 (กิจกรรมที่ 7) ( 19 ม.ค. 2015 )
  18. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 12 (กิจกรรมที่ 7) ( 26 ม.ค. 2015 )
  19. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 13 (กิจกรรมที่ 7) ( 2 ก.พ. 2015 )
  20. ประชุมคณะกรรมการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ (กิจกรรมที่ 2) ( 4 ก.พ. 2015 )
  21. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 14 (กิจกรรมที่ 7) ( 9 ก.พ. 2015 )
  22. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 15 (กิจกรรมที่ 7) ( 16 ก.พ. 2015 )
  23. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 16 (กิจกรรมที่ 7) ( 23 ก.พ. 2015 )
  24. ประชุมคณะกรรมการ ประจำเดือนมีนาคม (กิจกรรมที่ 2) ( 4 มี.ค. 2015 )
  25. กิจกรรมบรรพชาสามเณร โกนผมนาค/ทำขวัญนาค (กิจกรรมที่ 7) ( 4 เม.ย. 2015 )
  26. บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ปี 2558 (กิจกรรมที่ 7) ( 5 เม.ย. 2015 )
  27. ประชุมคณะกรรมการโครงการ/ผู้นำชุมชน (เมษายน) (กิจกรรมที่ 2) ( 22 เม.ย. 2015 )
  28. ประชุมผู้เข้าร่วมกิจกรรมบุคคลต้นแบบ (กิจกรรมที่ 4) ( 1 พ.ค. 2015 )
  29. ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนพฤษภาคม (กิจกรรมที่ 2) ( 4 พ.ค. 2015 )

(................................)
นายกฤษ ศรีฟ้า
ผู้รับผิดชอบโครงการ