แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ สร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ

ชุมชน บ้านบางวัน หมู่ 1 ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

รหัสโครงการ 57-01511 เลขที่ข้อตกลง 57-00-1071

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2014 ถึง 31 กรกฎาคม 2015

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน พฤศจิกายน 2014 ถึงเดือน กรกฎาคม 2015

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. รายงานส่งงวดที่ 1 ที่สจ.รส มอ.หาดใหญ่ (กิจกรรมปฐมนิเทศน์)

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2014 เวลา 09:00-15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบเอกสารและส่งรายงานงวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สรุปผลการดำเนินการตรวจเอกสารและให้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่ สจ.สร.ของโครงการสร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ ม.1 ดังนี้ 1.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ส่งรายงานงวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เดินทางจากบ้านบางวัน หมู่ 1 ต.บางวัน อ.คุระบุรี จ.พังงา เวลา 02.00 น. ถึงสถานที่สัมมนา มอ.หาดใหญ่ เวลา 08.00 น.
  2. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม พร้อมกับตัวแทนอีก 3 กลุ่มของจังหวัดพังงา
  3. ผู้ติดตามโครงการคือ คุณอุไรวรรณ ตัณฑอริยะ และนายศักดิ์ชาย เรืองศรี ได้อธิบายขั้นตอนการส่งรายงานงวด
  4. คณะผู้ติดตามของ สจรส.ได้ดำเนินการตรวจเอกสาร และพิมพ์รายงานงวดที่ 1
  5. ร่วมสัมภาษณ์กับคณะจัดทำสื่อ

 

2 1

2. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2557 (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2014 เวลา 17:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • นายกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดประชุม ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่ามาร่วมประชุมประจำเดือนของโครงการฯ โดยเฉพาะผู้ที่ได้เป็นตัวแทนเก็บข้อมูลที่มีความตั้งใจที่จะทำในการนี้
  • นายนิคม ลำจวน เลขานุการ ได้ดำเนินการประชุม ดังนี้

1.เรื่องการจัดเก็บข้อมูลชุมชน ทั้ง 4 กลุ่ม ได้ดำเนินการไปแล้ว โดยสรุปได้ ดังนี้

  • กลุ่ม 1 จำนวน    เล่ม
  • กลุ่ม 2 จำนวน    เล่ม
  • กลุ่ม 3 จำนวน  เล่ม
  • กลุ่ม 4 จำนวน    เล่ม
  • รวมแล้วในวันนี้ จำนวน          เล่ม

2.มีการคัดเลือกตัวแทนกลุ่มเพื่อติดตามการทำงาน และรายงานผลการติดตามการบันทึกข้อมูล ดังนี้

  • ตัวแทนกลุ่ม 1 นางจันจิรา ได้แจ้งว่ายังขาด อีก 2 เล่ม คือ บ้านแปะเชี้ยง (ฟาร์มกุ้ง) และมูลนิธิ  โดยถามที่ประชุมว่า ต้องสำรวจไหม  ที่ประชุมสรุปว่า ต้องเก็บข้อมูลด้วย
  • ตัวแทนกลุ่ม 4 ยังไม่ครบยังขาด อีก 15 เล่มหรือครัวเรือน โดยขอส่งเป็นวันที่ 8 พย.57 นี้ในวันประชุม
  • ประธานที่ประชุมได้สุ่มตัวอย่างสมุดบันทึกมาดู แล้วพบว่า บางหัวข้อยังไม่ได้บันทึก จึงขอให้ทุกท่านได้หยิบสมุดมาเปิดดู
  • ผลการสำรวจให้ทุกคนได้เขียนหมายเลขกลุ่มไว้ที่ปกด้วย
  • ที่ประชุมเห็นชอบที่ จะมาร่วมกันสรุปข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง

3.ผลการติดตามกิจกรรมสอนธรรมะและสมุดบันทึกความดี

  • คุณครูปุ้ย ว่าได้ดำเนินการไปแล้ว 2 ครั้ง จากนั้นก็ปิดเทอมพอดี  โดยเปิดเทอมก็จะเริ่มสอนธรรมะอย่างต่อเนื่อง
  • ส่วนสมุดบันทึกความดี เด็กนักเรียนได้นำไปทำและส่งครูบ้างแล้ว

ผลจากการประชุมประจำเดือน สรุปดังนี้

  • ตัวแทนเก็บข้อมูลได้ส่งแบบสำรวจ จำนวน 3 กลุ่ม ยกเว้นกลุ่ม 4 จะทำการสำรวจและส่งในวันที่ 8 พ.ย.ในวันประชุมหมู่บ้าน
  • การสอนธรรมะในโรงเรียนบางวันก็ได้เริ่มแล้วตั้งแต่เปิดเทอมคือวันที่ 3 พ.ย.57 และทุกวันจันทร์ เวลา 14.00 น.
  • สมุดบันทึกความดีกำหนดให้ส่งให้คุณครูเดือนละ 1 ครั้งเพื่อประเมินการดำเนินกิจกรรม
  • สรุปกิจกรรมต้องล่าช้าไป แต่ก็ขอให้ทุกคนได้ช่วยกันต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การประชุมประจำเดือนพฤศจิกายน 2557 เพื่อติดตามการดำเนินกิจกรรมและวางแผนการดำเนินงานต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

นัดประชุม เวลา 16.00 น.

  • นายกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดประชุม
  • นายนิคม ลำจวน เลขานุการ ได้ดำเนินการประชุม ดังนี้
  1. เรื่องการจัดเก็บข้อมูลชุมชน

  2. ติดตามกิจกรรมสอนธรรมะและสมุดบันทึกความดี

 

21 16

3. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 1 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2014 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้เด็กนักเรียน ทราบถึงความหมายของธุปเทียน ดอกไม้ การกราบไหว้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นายดำ ศรีประเสริฐ ได้อธิบาย ดังนี้

  • ความหมายของ ธูปเทียน ดอกไม้ การกราบไหว้ หลังจากไหว้พระ อาราธนาศิล รับศิล แล้วกรวดน้ำ ดอกไม้เป็นเครื่องหมายในการบูชาพระสงฆ์ ดอกไม้นานาพันธุ์ หากสีต่างชนิด เมื่อช่างดอกไม้ผู้เชี่ยวชาญการจัดดอกไม้นำมาร้อยเป็นพวงมาลัยประดับในแจกันหรือภาชนะที่เหมาะสมย่อมดูสวยงามเป็นที่ชื่นชมของผู้พบเห็น
  • ธูปเป็นของหอมเป็นเครื่องบูชาพระพุทธเจ้าปกติใช้จำนวน ๓ ดอกหมายถึง บูชาพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ
  1. พระปัญญาคุณทรงมีพระปัญญาสูงสุดประเสริฐสุดหาผู้เสมอมิได้
  2. พระกรุณาคุณทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสมอกันในมวลสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าแม้แต่บุคคลที่มุ่งร้ายต่อพระองค์ ทรงหวังให้เกิดประโยชน์โดยสถานเดียว
  3. พระปริสุทธิคุณทรงมีพระทัยผ่องใสบริสุทธิ์จากอาสวกิเลสทั้งมวล
  • เทียนเป็นสิ่งให้แสงสว่าง ใช้บูชาพระธรรม ซึ่งให้แสงสว่าง คือ ปัญญาแก่ผู้นำไปปฏิบัติ โดยปกติใช้เทียน ๑ คู่ เพราะพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แบ่งเป็น ๒ประเภท คือ พระธรรม และพระวินัยแต่ในการจัดโต๊ะหมู่บูชากำหนดให้ตั้งเทียนประดับตามที่กำหนดในแต่ละประเภทของโต๊ะหมู่ เช่นหมู่ ๕ใช้เทียน ๔ คู่หมู่ ๗ใช้เทียน ๕ คู่หมู่ ๙ ใช้เทียน ๖ คู่แต่เมื่อบูชานิยมจุดเพียง ๑ คู่ ทึ่ตั้งอยู่ใกล้กับกระถางธูป
  • นายสถิตย์ ศรีฟ้า ได้สอนการกราบไหว้ โดยดังนี้

การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์

ท่าเตรียม

  • ชาย นั่ง คุกเข่าตัวตรงปลายเท้าตั้ง ปลายเท้าและส้นเท้าชิดกัน นั่งบนส้นเท้า เข่าทั้งสองห่างกันพอประมาณ มือทั้งสองวางคว่ำบนหน้าขา ทั้งสองข้าง นิ้วนิวชิดกัน (ท่าเทพบุตร)
  • หญิง นั่งคุกเข่าตัวตรง ปลายเท้าราบ เข่าถึงปลายเท้าชิดกัน นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางคว่ำบนหน้าขา ทั้งสองข้าง นิ้วชิดกัน (ท่าเทพธิดา)

ท่ากราบ

  • จังหวะที่ ๑ (อัญชลี) ยกมือขึ้นในท่าประนมมือ
  • จังหวะที่ ๒ (วันทนา) ยกมือขึ้นไหว้ตามระดับที่ ๑ การไหว้พระ
  • จังหวะ ที่ ๓ (อภิวาท) ทอดมือทั้งสองลงพร้อมๆ กัน ให้มือและแขนทั้งสองข้างราบกับพื้น คว่ำมือห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรด พื้นระหว่างมือได้
  • ชาย ศอกทั้งสองข้างต่อจากเข่าราบไปกับพื้น หลังไม่โก่ง
  • หญิง ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย ราบไปกับพื้น หลังไม่โก่ง จากนั้นก้มศีรษะลงให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือทั้งสองทำสามจังหวะให้ครบ ๓ ครั้ง แล้วยกมือขึ้นไหว้ในท่าไหว้พระ แล้ววางมือคว่ำลงบนหน้าขาในท่าเตรียมกราบ จากนั้นให้เปลี่ยนอิริยาบถตามความเหมาะสม

กราบผู้ใหญ่

  • กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส รวมทั้งผู้มีพระคุณ ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพ ผู้กราบทั้งชายและหญิงนั่งพับเพียบทอดมือทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประนมตั้งกับพื้นไม่แบมือ ค้อมตัวลงให้หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบไม่กระดกนิ้วมือขึ้นรับหน้าผาก กราบเพียงครั้งเดียว

ผลการเรียนรู้

  • นักเรียนปฏิบัติตามที่สอนได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น.โดยนายดำ ศรีประเสริฐและนายสถิตย์ ศรีฟ้า

  1. ผู้สอนอธิบายความหมายของธูป เทียน ดอกไม้และการกราบไหว้
  2. นักเรียนสอบถามข้อสงสัยหรือซักถาม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. คุณครูพานักเรียนมาพร้อมกันที่ศาลาวัดบางวัน
  2. ผู้สอนนายดำ ประเสริฐ กับนายสถิตย์ ศรีฟ้า ทำการสอน
  3. สรุปเนื้อหาและให้นักเรียนได้สอบถามหรือแสดงความคิดเห็น
  4. คุณครูพานักเรียนกลับโรงเรียนบางวัน

 

60 56

4. ประชุมเพื่อรวบรวมข้อมูลจากสมุดสำรวจข้อมูลชุมชน (กิจกรรมที่ 3)

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2014 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อรวบรวมข้อมูลจากสมุดสำรวจครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลของการดำเนินกิจกรรม มีดังนี้

1.ได้ดำเนินการแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็นกลุ่มละ 2 คน ดังนี้

  • กลุ่ม 1 ด.ญ.กนิษฐา จันทำ และด.ญ.ปทิตตา เนรมิตร
  • กลุ่ม 2 ด.ญ.จุดี และด.ญ.เบญญทิพย์ กลักดวงจิตร
  • กลุ่ม 3 ด.ญ.ปาริฉัตร เพ็ชรขาวและด.ญ.สุดารัตน์ บุญเสริม
  • กลุ่ม 4 ด.ช.มนัส จันทร์เนตร ,ด.ช.เชาว์เลิศ ขาวสุดและด.ช.ธนพล พบด้วง

2.นำสมุดสำรวจครัวเรือนแยกตามจำนวนที่ได้รับมา แล้วให้แต่ละกลุ่มทั้งหมด 4 กลุ่ม

3.แจกแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลแต่ละครัวเรือน

4.เด็กบันทึกข้อมูลตามที่อธิบายและสามารถสอบถามข้อสงสัยได้ตลอดเวลา

5.สามารถบันทึกข้อมูลได้เสร็จ


ผลการสำรวจข้อมูลชุมชน บ้านบางวัน หมู่ 1 มีดังนี้

ณ เดือนพฤศจิกายน 2557

  • จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 200ครอบครัว
  • ประชากรประจำพื้นที่ ทั้งสิ้น620คนแยกเป็นชาย305คนหญิง315คน
  • ข้อมูลด้านที่ดิน
  • ที่ดินมีแอกสารสิทธิ์ จำนวน1,417.8 ไร่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ จำนวน1,473.75ไร่
  • พื้นที่ปลูกยางพาราจำนวน 2,130.7 ไร่
  • พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน 275.25ไร่
  • พื้นที่ปลูกสวนผลไม้จำนวน86ไร่
  • พื้นที่ที่อยู่อาศัยจำนวน94.7ไร่
  • ข้อมูลด้านการทำประมงคิดเป็นมูลค่า 6,818,400 บาท

ข้อมูลด้านที่อยู่อาศัย

  • อยู่บ้านของตนเอง จำนวน173 ครอบครัว
  • อาศัยอยู่กับญาติ จำนวน 14 ครอบครัว
  • เช่าบ้านอยู่ จำนวน 13 ครอบครัว

ข้อมูลการศึกษา

  • ระดับการศึกษา ชั้นปริญาโท 4คน
  • ชั้นปริญญาตรี 21คน
  • ชั้นมัธยมศึกษา 86คน
  • ชั้นประกาศวิชาชีพ 22คน
  • ชั้นประถมศึกษา 231คน
  • ไม่ได้เรียนหนังสือ77คน

ข้อมูลการศึกษาเล่าเรียน

  • กำลังศึกษาอยู่ ระดับชั้นปริญญาโท2 คน
  • ระดับชั้นปริญญาตรี16 คน
  • ชั้นมัธยมศึกษา 41 คน
  • ชั้นประกาศวิชาชีพ2 คน
  • ชั้นประถมศึกษา 65 คน
  • ชั้นอนุบาล31 คน
  • ไม่ถึงเกณฑ์ศึกษา 14 คน

ข้อมูลการได้มาซึ่งรายได้ของครอบครัว ดังนี้

  • อันดับ 1 สวนยางพารา
  • อันดับ 2 สวนปาล์มน้ำมัน
  • อันดับ 3 ประมง
  • อันดับ 4 สวนผลไม้
  • อันดับ 5 งานบริการ
  • อันดับ 6 งานรับจ้าง
  • อันดับ 7 จากลูกหรือญาติส่งมาให้

ข้อมูลทรัพย์สินเกี่ยวพาหนะของชุมชน

  1. รถยนต์จำนวน 88 คัน
  2. รถมอเตอร์ไซต์ จำนวน 277 คัน
  3. เรือ จำนวน 68 ลำ
  4. จักรกลการเกษตร จำนวน 48 เครื่อง

ข้อมูลกิจกรรมในครัวเรือนที่ทุกคนมีโอกาสทำร่วมกัน มีดังนี้

  • อันดับ 1 การรับประทานอาหารร่วมกัน
  • อันดับ 2 การนั่งดูโทรทัศน์พร้อมกัน
  • อันดับ 3 การไปเที่ยวด้วยกัน
  • อันดับ 4 การทำสวนครัวร่วมกัน
    ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมชุมชนที่ครอบครัวมีส่วนร่วม มีดังนี้

  • อันดับ 1 การประชุมประจำเดือน

  • อันดับ 2 การไปวัดทำบุญตักบาตร
  • อันดับ 3 พัฒนาหมู่บ้าน

องค์กรที่สมาชิกในครัวเรือนสมัครเป็นสมาชิก

  • อันดับ 1 กองทุนหมู่บ้านบ้านบางวัน
  • อันดับ 2กองทุนบทบาทสตรี
  • อันดับ 3 อาสามัครสาธารณสุข (อสม.)

ข้อมูลผู้วางแผน รายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน

  • อันดับ 1 ภรรยา
  • อันดับ 2 สามี
  • อันดับ 3บุตร

ข้อมูลวิธีที่คนในชุมชนใช้ในการบริหารเงิน มีดังนี้

  • อันดับ 1 ใช้วิธีการจดจำ
  • อันดับ 2 ใช้ได้เท่าไรใช้ไปก่อน
  • อันดับ 3 ใช้การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายครัวเรือน

ข้อมูลการกู้ยืมค่าใช้ครัวเรือน กรณีจำเป็นเร่งด่วน

  • อันดับ 1 ยืมญาติพี่น้องหรือเพื่อน
  • อันดับ 2ถอนเงินฝากจากธนาคร
  • อันดับ 3 ยืมกองทุนหมู่บ้าน
  • อันดับ 4 กู้ธนาคาร
  • อันดับ 5หนี้นอกระบบ

ข้อมูลค่าใช้จ่ายรวมต่อเดือนในชุมชน

  • ค่าใช้จ่ายอาหารต่อเดือนต่อครอบครัว จำนวน1,227,520 บาท
  • ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อเดือนต่อครอบครัว จำนวน481,800 บาท
  • ค่าใช้จ่ายเหล้า/บุหรี่ต่อเดือนต่อครอบครัว จำนวน 97,585 บาท

ข้อมูลการปลูกพืชผักสวนครัว

  • กระเพา
  • ตะไคร้
  • มะกรูด
  • ข่า
  • ขิง
  • มะนาว
  • ใบรา
  • ใบเตย
  • อัญชัน
  • เสาวรส
  • พริก
  • มะเขือพวง
  • กล้วย
  • ชะอม
  • แค
  • ฟัก
  • แฟง
  • บวบ
  • ฟักทอง

ข้อมูลเกี่ยวกับนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ

  1. ปลูกผักกินเอง
  2. ประหยัด อดออม
  3. การทำความดี

ข้อมูลการนำหลักคำสอนมาใช้เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว

  1. สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  2. ศิล 5
  3. การให้อภัย
  4. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
  5. ทำดี ได้ดี
  6. เดินสายกลาง
  7. ไม่อิจฉาตาร้อน
  • ข้อมูลดังที่เก็บรวบรวมมานั้น นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งของชุมชน ที่เกิดจากชุมชนเอง ซึ่งสามารถวิเคราะห์มาใช้ในการวางแผนชุมชน หรือวางแผนพัฒนาต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เริ่มการทำกิจกรรม เวลา 08.00 น.
  • นายนิคม ลำจวน เลขานุการ ได้อธิบายให้เด็กทราบถึงขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล
  • จัดทำรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มดำเนินกิจกรรมเวลา 09.00 น.

  1. ขั้นตอนอธิบายถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมเก็บข้อมูลหมู่บ้านให้เด็ก ๆ ได้รับทราบ
  2. อธิบายแนวทางในการจดข้อมูลต่าง ๆ ตามแบบฟอร์มที่กำหนดมา
  3. แบ่งกลุ่มเพื่อแยกออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 2 คน

 

15 11

5. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 2 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2014 เวลา 14.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • อธิบายการนับถือศาสนาของชนชาติไทย พระมหากษัตริย์ไทยทรงผนวช 4 พระองค์ คือพระองค์ใดบ้าง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปของกิจกรรมการสอนธรรมะในครั้งนี้

นายดำ ศรีประเสริฐได้อธิบาย ดังนี้

  • พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ สมัยเดียวกันกับประเทศลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ๙ สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ไม่น้อยกว่า ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ
  • ผลนักเรียนความเข้าใจ ว่า ศาสนาพุทธนั้นมีต้นกำเนิดมาจากทางประเทศอินเดีย และเผยแผ่มาสู่ประเทศเรา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สอนธรรมะเพื่อให้ความรู้กับนักเรียนโดยวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับศานาพุทธ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น. โดยนายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้าได้อธิบายเกี่ยวการนับถือศาสนาพุทธของคนไทยว่าเป็นอย่างไรให้นักเรียนได้ทราบ

 

60 56

6. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 3 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2014 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสอนธรรมะให้กับเด็กโรงเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้า ได้ดำเนินการบรรยาย ดังนี้

  • ศีล 5 เป็นเครื่องบ่งชี้ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ดังนี้

    • ข้อ 1  ตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
    • ข้อ 2 ตั้งใจงดเว้นจากการลักขโมย
    • ข้อ 3 ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติในกาม
    • ข้อ 4 ตั้งใจงดเว้นจากการพูดเท็จ  พูดคำหยาบ คำส่อเสียด เพ้อเจ้อ
    • ข้อ 5 ตั้งใจงดเว้นจากดื่มสุราเมรัย อันเป็นต้นเหตุแห่งความประมาท
  • นักเรียนสามารถอธิบายถึงคำว่า ศีล 5 ว่ามีอะไรบ้าง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สอนธรรมะนักเรียน รร.บางวัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น.
  • นายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้าอธิบายเกี่ยว ศีล 5 ว่ามีอะไรบ้าง ความหมายเป็นอย่างไร
  • สรุปผลการสอน

 

60 56

7. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและวางแผนกิจกรรมประจำเดือน (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2014 เวลา 18.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อติดตามและดำเนินกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คุณกฤษ กล่าวว่า การประชุมวันี้ถือว่าเป็นการประชุมของวาระวันที่ 4 ธันวาคม เพราะวันที่ 5 ธันวาคม เราจะจัดกิจกรรมถวายพระพร องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาประชุมแห่งนี้  โดยสรุปได้ดังนี้

  1. ที่ประชุมวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมากำหนดให้มีการจัดถวายพระพร 5 ธันวาคม นี้ขึ้นายในหมุู่บ้าน
  2. กิจกรรมสอนธรรมะในดรงเรียนก็กำลังดำเนินการอยู่ โดยมีนายดำ ศรีประเสริฐ และคุณสถิตยื ศรีฟ้าดำเนินกิจกรรม
  3. เรื่องอื่นๆ เช้าวันที่ 1 ธันวาคมนี้ จะร่วมมือกันช่วยพัฒนาหมู่บ้าน โดยเฉพาะน้ำประปาในวัด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเพื่อติดตามกิจกรรมและวางแผนการดำเนินกิจกรรมประจำเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุม เวลา 16.00 น. 1. นายกฤษ ศรีฟ้า กล่าวเปิดประชุม เสนอวาระการประชุม 2. ที่ประชุมติดตามกิจกรรมที่ผ่านมา 3. ที่ประชุมกำหนดกิจกรรมต่อไป 4. เรื่องที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการจัดงานถวายพระพร 5 ธันวามหาราช

 

15 15

8. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 4 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 1 ธันวาคม 2014 เวลา 14.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ทราบถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปกิจกรรม ดังนี้

  • นายดำ ศรีประเสริฐ ได้เล่าพุทธประวัติช่วงพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีพระมเหสีคือพระนางสิริมหามายา แล้วทรงพระครรภ์แก่แล้ว เสด็จไปประสูติที่สวนลุมพีนี
  • นายสถิตย์ ศรีฟ้า ได้อธิบายเกี่ยวกับการนั่งสมาธิ โดยให้นักเรียนได้ทำการฝึกนั่งสมาธิกัน โดยใช้เวลา 3 นาที ผลการดำเนินกิจกรรม เด็กนักเรียนสามารถฝึกนั่งสมาธิได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เสริมธรรมะให้กับเด็กนักเรียนโดยปราชญ์ชาวบ้านที่ทีความรู้ด้านศาสนา

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น. นายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้า

  • อธิบายเกี่ยวพุทธประวัติ
  • นักเรียนสอบถาม

 

60 56

9. ประชุมคณะกรรมการ คณะทำงานเตรียมงาน (กิจกรรมที่ 5)

วันที่ 4 ธันวาคม 2014 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดเตรียมงานในวันที่ 5 ธันวาคม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นายกฤษ ศรีฟ้า ได้เสนอการพิจารณาเกี่ยวกับการจัดงาน 5 ธันวามหาราช
ผลจากการจัดประชุมเพื่อจัดเตรียมงานในวันที่ 5 ธันวาคม 2557 ดังนี้

  • ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่เราเคยทำกันมาแล้วในวันแม่แห่งชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนภูมิใจที่ร่วมกันถวายความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัติย์กันเองภายในหมู่บ้าน  โดยไม่มีต้องเดินทางไปถึงที่หน้าอำเภอคุระบุรีหรืออำเภอตะกั่วป่า

  • ที่ประชุมสรุปว่า ให้กำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมในวันพ่อแห่งชาติ

  1. การประสานงานคนในชุมชนให้ทางผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนได้ชวนเชิญชาวบ้าน
  2. การจัดเตรียมสถานที่มอบให้ทางผู้ช่วย/ประสานกับทางคุณครู รร.บ้านบางวันในการตกแต่งองค์พระฉายาลักษณ์
  3. ขั้นตอนพิธีการในการจัดถวายพระพรมอบให้ คุณยงยุทธ โดยดี สมาชิก อบต.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อจัดเตรียมงานถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวามหาราช

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นัดประชุม เวลา 16.00 น. ณ ศาลาประชุมหมู่บ้าน
  • นายกฤษ ศรีฟ้า เป็นประธานที่ประชุมเสนอวาระในการกระชุม
  • ขอความคิดเห็นในที่ประชุม

 

15 10

10. จัดกิจกรรมถวายพานพุ่มและจุดเทียนชัยถวายพระพร (กิจกรรมที่ 5)

วันที่ 5 ธันวาคม 2014 เวลา 18:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างความสามัคคีของทุกคนภายในหมู่บ้านให้เป็นใจหนึ่งเดียว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลที่ได้รับในการจัดกิจกรรม

  1. จัดกิจกรรมชื่อชุด "หอมพ่อ กราบเท้าพ่อ" โดยพิธีกรให้พ่อของแต่ละผู้เข้าร่วมกิจที่พาพ่อมา มานั่งรวมกันพร้อมกับลูกแต่ละครอบครัว ดูวิดีโอชุด ความรักของพ่อ ให้ทุกคนได้ดู จากนั้นให้ทุกคนกราบลงแทบเท้าของพ่อทุกคน  และหลังจากนั้น ให้ทุกคนหอมพ่อสักครั้ง
  2. ประชาชนในหมู่บ้านได้มีโอกาสมาร่วมกิจกรรมจุดเทียนชัยถวายพระพรร่วมกันในหมู่บ้าน ได้ถวายพานพุ่มของแต่ละกลุ่มภายในชุมชน กองทุนหมู่บ้านบ้านบางวัน กลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชัง กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ชมแอโรบิคบ้านบางวัน ขุมเพชรฟาร์ม รร.บ้านบางวัน มูลนิธิรักษ์พังงา สมาชิก อบต.บางวัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วย
  3. สร้างความรักความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวในชุมชน
  4. คณะกรรมการมีความสามารถในการจัดกิจกรรมมีประสบการณ์มากขึ้น
  5. เด็กๆ ในหมู่บ้านมีโอกาสเห็นพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดกิจกรรมการถวายพานพุ่มโดยแต่ละกลุ่มในชุมชน และกล่าวคำสดุดีเทิดพระเกียรติ
  • จุดเทียนชัยร้องเพลงสดุดีมหาราชาพร้อมกัน เป็นอันเสร็จพิธี

กิจกรรมที่ทำจริง

รายละเอียดกิจกรรม

  1. จัดทำซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯ พระบรมฉายาลักษณ์ ณ บริเวณเวทีศาลาประชุมหมู่บ้าน ติดตั้งไฟประดับให้สวยงาม
  2. ติดตั้งประดับธาติรอบบริเวณที่จัดกิจกรรม
  3. เวลา 17.00 น.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาพร้อมกันที่ศาลาประชุมหมู่บ้าน พร้อมลงทะเบียนตามบ้านเลขที่ี
  4. เวลา 17.30 น.จัดกิจกรรมชื่อชุด "หอมพ่อ กราบเท้าพ่อ"
  5. กิจกรรมคำกลอนของพ่อ โดยคุณตาดำ ศรีประเสริฐ อ่านบนเวที
  6. กิจกรรมชื่อชุด "คนดีของพ่อ" โดยครอบครัวขาวสุด นำแสดงโดย น้องปูน้องปลาและคุณพ่อประสิทธิ์ สังข์ขาว บนเวที
  7. กิจกรรมถวายพานพุ่มของแต่ละกลุ่มภายในชุมชน
  8. นายรวย รอดประชุม ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวคำราชสดุดีและถวายพระพรแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  9. นายรวย รอดประชุม ผู้ใหญ่บ้าน จุดเทียนชัยถวายพระพร พี่น้องทุกคนในพิธีร่วมกันจุดเทียนชัย  ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นอันเสร็จพิธี
  10. ร่วมรับประทานอาหารว่างร่วมกัน กลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

 

200 70

11. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 5 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 8 ธันวาคม 2014 เวลา 14.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • นายดำ ศรีประเสริฐ ได้เล่าถึงพุทธประวัติในช่วงที่พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีพระมเหสีคือพระนางสิริมหามายา แล้วทรงพระครรภ์แก่แล้ว เสด็จไปประสูติที่สวนลุมพีนี โดยสรุปให้ นักเรียนได้ทราบถึงว่าพระพุทธเจ้านั้น ช่วงก่อนจะตรัสรู้ว่า เป็นอย่างไร โดยเน้นถึงการเป็นอยู่ในทางโลก
  • นายสถิตย์ ศรีฟ้า ความหมายของคำว่า พยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น  หมายถึง การที่นักเรียนจะทำสิ่งใด แล้วไม่ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าทำแล้วทำอีกอย่างมีสติ สุดท้ายก็จะประสบความสำเร็จ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อให้นักเรียนได้ความรู้เกี่ยวกับศาสนาโดยปราชญ์ชาวบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น. -นายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้าอธิบายเกี่ยวกับพุทธประวัติ (ต่อ) -นายสถิตย์ ศรีฟ้า สรุปแนวคิด

 

60 56

12. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 6 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 15 ธันวาคม 2014 เวลา 14.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ทราบถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลกิจกรรม มีดังนี้

  • นายสถิตย ศรีฟ้า ได้เล่าถึงพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะขึ้นครองราชย์มีพระมเหสีคือ พระนางพิมพา เมื่อสิริอายุ 17 พระพรรษา แล้วมีพระราชโอรสชื่อ พระราหุล เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชเมื่อายุ 29 ปี
  • นายดำ ศรีประเสริฐ ได้อธิบายถึงข้อคิดของพุทธประวัติตอนนี้ว่า พระพุทธเจ้าทรงมีความตั้งใจสูงในการปฏิบัติธรรม ซึ่งถือว่าเป้นสิ่งสำคัญ ในการดำรงชีวิตของพวกเรา ก็คือ ถ้าจะทำอะไรต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนแน่วแน่ และผลที่ตามมาก็จะสำเร็จ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ให้นักเรียนได้รับความรู้เสริมเกี่ยวกับะรรมะจากปราชญ์ชาวบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น.
  • นายดำ ศรีฟ้า และนายสถิตย์ ศรีฟ้า อธิบายเกี่ยวกับพุทธประวัติ (ต่อ) และสรุปข้อคิดในการสอน

 

60 56

13. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 7 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 22 ธันวาคม 2014 เวลา 14.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ทราบถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปกิจกรรม มีดังนี้

  • นายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้า ได้เล่าถึงพุทธประวัติ ในช่วงที่พระพุทธเจ้าออกผนวช ทรงบำเพ็ญทุกกริยา โดยมีปัญจวัคคีย์คอยปรนนิบัติ 5 องค์ คือ โกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ
  • นักเรียนได้ทราบถึง คำว่า บำเพ็ญทุกกริยา หมายความว่า  การที่ส้รางความทุกข์ทรมานให้กับตนเอง เพื่อให้บรรลุถึงแก่นแท้ โดยพระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญทุกข์ทรมาน โดยการอดอาหาร
  • นักเรียน ได้รู้ถึง คำว่า ปรนนิบัติ  หมายถึง การรับใช้ ดูแลทุกอย่าง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สอนธรรมะนักเรียน รร.บางวัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น.

วิทยากร นายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้า

  • อธิบายเกี่ยวกับพุทธประวัติ (ต่อ)
  • สรุปข้อคิดให้นักเรียนได้รู้

 

60 56

14. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 8 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 29 ธันวาคม 2014 เวลา 14.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าและข้อคิดต่างๆ 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการจัดกิจกรรม ดังนี้

  • นายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้า ได้เล่าถึงพุทธประวัติในช่วงที่พระพุทธเจ้า ได้บำเพ็ญทุกข์ทรมาน หลังจากบำเพ็ญภาวนาไม่สำเร็จ ทำให้ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 หนีไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
  • ข้อคิดของพุทธประวัติช่วงนี้ คือ การที่คนเราถ้าทำสิ่งใดแล้วไม่ประสบความเร็จ แต่ก็จงอย่าหยุดยั้ง ต้องตั้งใจหาแนวทางหรือวิธีอื่นๆ อีก จนกว่าจะนำทางไปสู่ความสำเร็จ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สอนธรรมะนักเรียน รร.บ้านบางวัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น.
  • นายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้า อธิบายเกี่ยวกับพุทธประวัติ (ต่อ) และสรุปข้อคิดให้กับนักเรียน

 

60 56

15. ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนมกราคม (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 4 มกราคม 2015 เวลา 16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อติดตามกิจกรรมและวางแผนต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปของกิจกรรม

  • นายกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้นำเสนอให้ที่ประชุมได้พิจารณาถึง การที่ทางขุมเพชรฟาร์มได้จัดกิจกรรมวันเด็กขึ้น ในวันที่ 10 มกราคม ที่ศาลาประชุมแห่งนี้ซึ่งมีกิจกรรมและแจกของขวัญ ดังนั้น จึงขอเชิญชวนคณะกรรมการทุกท่านได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยสามารถมาช่วยกันในจัดสถานที่ได้ในวันที่ 9 มกราคม 2558 เวลา 09.00 น.
  • คณะกรรมการสรุปในที่ประชุมเพื่อสนับสนุนการจัดงานวันเด็กดี 8 ประการ ในวันที่ 10 มกราคม ซึ่งเป็นวันเด็กแห่งชาติ
  • การสอนธรรมะใน รร.บางวัน ได้ดำเนินการหลังจากผ่านเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ที่ผ่านมาถ้าผู้ใดที่มีเวลาสามารถที่จะเข้าไปช่วยดูแลการสอนธรรมะได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามโครงการปฏิบัติงานและสรุปประเมินผล

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุม เวลา 16.00 น. - นายกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการเสนอวาระการประชุม - ประชุมคณะกรรมการพิจารณากิจกรรมช่วยเหลือการจัดกิจกรรมวันเด็กดี 8 ประการ

 

15 16

16. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 9 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 5 มกราคม 2015 เวลา 14.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ทราบถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปของกิจกรรมมี ดังนี้

  • นายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้า ได้เล่าถึงพุทธประวัติ ในช่วงที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราได้ตรัสรู้ ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
  • นายสถิตย์ ศรีฟ้า ได้สรุปข้อคิดถึง ความพยายาม คือ ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติสิ่งใด ถ้ามีความอดทน ความอดกลั้น มันก็จะไปสู่ความสำเร็จนั่นเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สอนธรรมะให้กับนักเรียน รร.บ้านบางวัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น. นายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้า อธิบายเกี่ยวพุทธประวัติ (ต่อ) และสรุปข้อคิด

 

60 56

17. จัดงานวันเด็กดี 8 ประการ (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 10 มกราคม 2015 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในความดี 8 ประการให้กับเด็ก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปของกิจกรรมวันเด็กดี 8 ประการ มีดังนี้

1.มีการจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม โดย อบต.ยงยุทธ โดยดี

  • กิจกรรมที่ 1 เริ่มกิจกรรมชื่อชุด เรารักหนังสือพิมพ์ วิธีเล่น ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ 1 แผ่น/กลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มยืนบนหนังสือพิมพ์ให้ได้ ใครไม่ผ่านถือว่าแพ้ ส่วนกลุ่มผู้ชนะ  ต้องมาแข่งอีกครั้ง โดยให้พับหนังสือพิมพ์อีกครึ่งหนึ่ง แล้วให้แต่ละกลุ่มยืนบนหนังสือพิมพ์ที่พับ  ผลปรากฎว่า ทุกกลุ่มไม่สามารถยืนบนกระดาษหนังสือพิมพ์ได้

    • สรุป เกมส์นี้มีเป้าหมายเพื่อให้ททุกคนภายในกลุ่มมีความสามัคคีกัน ที่จะกอดกันช่วยกันให้ทีมยืนบนกระดาษให้ได้
  • กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแข่งขันอ่านข้อความ 8 ความดี โดยให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาอ่านความดี 8 ประการ

  • กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมให้คิดความดี 2 ประการให้ได้ โดยแต่ละกลุ่มส่งตัวแทน 2 คน กิจกรรมนี้จะมีคณะกรรมการเพื่อตัดสินกลุ่มที่ชนะ เพื่อรับรางวัลชนะเลิศคือจักรยาน 1 คน (โดยกลุ่มผู้ได้รับจะจับแลากผู้โชคดีภายในกลุ่ม) ผลปรากฎว่า กลุ่มที่มีคณะชนะเลิศคือ กลุ่มที่ 5
  • กิจกรรมสุดท้าย แจกรางวัลให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด ส่วนเวลาพัก ทุกคนร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน

2.ผลการจัดกิจกรรม ทำให้เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมมาเกินความคาดหมายที่ตั้งไว้ และทุกคนได้ทราบถึงความดี 8 ประการว่ามีอะไรบ้าง เด็กๆ มีความรักความสามัคคีกัน ร่วมกันทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน เด็กๆ ทุกโรงเรียนสามารถที่จะมาอยู่ด้วยกันได้ด้วยความสามัคคี และผู้ปกครองที่มาร่วมด้วยได้เห็นการทำงานของคณะความดี 8 ประการ และมีความเข้าใจมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดให้เด็กได้มารวมกันและแบ่งกลุ่มตามจำนวนที่เหมาะสม
  2. จัดเกมส์ต่างๆ เพื่อละลายพฤติกรรม
  3. จัดตอบปัญหาชิงรางวัล ความดี 8 ประการ

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมของวันเด็กดี 8 ประการ มีดังนี้

  • เวลา 15.00 น. ลงทะเบียนเด็กที่เข้ามาร่วมกิจกรรม
  • เวลา 15.30 น. นายกฤษ ศรีฟ้่า กล่าววัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมเด็กดี 8 ประการ
  • เวลา 15.45 น. ผู้นำกระบวนการ อบต.ยงยุทธ โดยดี ได้เริ่มให้มีกิจกรรมละลายพฤติกรรม โดยให้คงกลุ่มเดิมที่มีอยู่ไว้ ส่วนเด็กที่มาใหม่ให้ยืนเรียงแถวตามลำับความสูง และแบ่งออกได้เป็น 10 กลุ่ม
  • เวลา 19.00 น. เสร็จกิจกรรมแยกย้ายกันกลับบ้าน

 

70 125

18. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 10 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 12 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ทราบถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปกิจกรรม ดังนี้

นายดำ ศรีประเสริฐ ได้เล่าถึงพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง คือ

  1. เวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้
  2. เวลามัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ(ทิพยจักษุญาณ)คือรู้เรื่องเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้
  3. เวลาปัจฉิมยาม ทรงได้ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ 4
  • ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญา
  • อาสวักขยญาณ ที่ทรงได้ทำให้ทรงพิจารณาถึงขันธ์ 5 และใช่แห่งความเป็นเหตุที่ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นต้นทางให้เขาถึงอริยสัจ 4
  • เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแล้ว จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นายสถิตย์ ศรีฟ้า ได้สรุปข้อคิดว่า แนวทางที่พระพทธเจ้าทรงตรัสรู้ได้ ก็คือ วัฐจักรของชีวิตนั่นเอง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสิ่งทุกคนหรือนักเรียนไม่อาจจะหลุดพ้นได้ นั่นคือสัจจธรรม
  • เพราะฉนั้น ทุกคนโดยเฉพาะนักเรียน จะต้องหมั่นสร้างความดีให้มากที่สุด  ความดีที่ทุกคนควรนำมาปฏิบัติ ก็คือ ศิล 5

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพิ่มความรู้เกี่ยวกับะรรมะให้กับนักเรียนโดยปราชญ์ชาวบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น. นายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้า  อธิบายเกี่ยวกับพุทะประวติ (ต่อ) และสรุปข้อคิด

 

60 56

19. กิจกรรมความดี 8 ประการนอกพื้นที่ (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 17 มกราคม 2015 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมความดี 8 ประการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรมในวันนี้

1.จำนวนเด็กที่มาร่วมกิจกรรมทั้งหมด 34 คน สรุปได้ดังนี้

  • เพศชาย จำนวน  13  คน เพศหญิง 11 คน
  • รร.บ้านบางวัน 19 คน ,รร.นิลุบล 2 คน, รร.ย่านยาว 9 คน, รร.ตำหนัง 2 คน,รร.เสนานุกูล 2 คน
  • อายุ 7 ปี 1 คน, อายุ 8 ปี 3 คน,อายุ 9 ปี 6 คน,อายุ 10 ปี 6 คน, อายุ 12 ปี 9 คน,อายุ 13 ปี 6 คน,อายุ 14 ปี 2 คน,อายุ 17 ปี 1 คน
  • ระดับการศึกษา ชั้น ป.1 จำนวน 1 คน ,ชั้น ป.2 จำนวน 4 คน,ชั้น ป.3 จำนวน 7 คน,ชั้น ป.4 จำนวน 4 คน,ชั้น ป.5 จำนวน 1 คน,ชั้น ป.6 จำนวน 10 คน ,ชั้น ม.1 จำนวน 4 คน,ชั้น ม.2 จำนวน 2 คน ,ชั้น ม.6 จำนวน 1คน

2.จัดกลุ่มเด็กโดยคัดรุ่นพี่ จำนวน 4 คน ดังนี้

  • กลุ่ม 1 ด.ญ.กัญญารัตน์ มากมูล
  • กลุ่ม 2 ด.ญ.สุดารัตน์ บุญเสริม
  • กลุ่ม 3 ด.ญ.รมันยา คำเอียด
  • กลุ่ม 4 ด.ญ.มัสนา เขน็ดพืช

3.จัดผู้ดูแลรับผิดชอบแต่ละกลุ่ม เพื่อดูแลเด็ก ดังนี้

  • กลุ่ม 1 นางสาวเมธินี สุขศรีนวล
  • กลุ่ม 2 นายประเทือง เพ็ชรขาว
  • กลุ่ม 3 นายยงยุทธ โดยดี
  • กลุ่ม 4 นายนิคม ลำจวน  โดยมีนางพรจันทร์ ศรีฟ้า เป็นผู้รับผิดชอบดูแล

4.เด็กๆ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลับพลึงธาร ซึ่งเป็นพืชน้ำที่มีอยู่แห่งเดียว ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เพราะฉนั้นจึงต้องช่วยกันรักษาและช่วยกันสนับสนุนการปลูกให้ยืนยาว สมกับเป็นราชินีแห่งสายน้ำ
5.เด็กๆ ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรือพระทอง ซึ่งเป็นเรือหลวงที่ปลดระวางและทางชาวพังงาได้ขอมาเพื่อมาจมใต้ทะเลใกล้กับเกาะพระทอง โดยให้เป็นที่อาศัยของปะการัง สัตว์น้ำต่างๆ และจัดให้เป็นอุทยานใต้ทะเลที่สวยงาม ซึ่งจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งของจังหวัดพังงาและของประเทศไทย 6.เด็กๆ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเลที่นับว่าจะใกล้สูญพันธุ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดกลุ่มตามความเหมาะสม โดยหาพี่เลี้ยง 1 คนและหัวหน้ากลุ่ม 1 คน
  2. เดินทางสู่ที่ทำการอนุรักษ์พลับพลึงธารคลองตาเลื่อน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพลับพลึงธาร
  3. เดินทางสู่สถา่นที่จัดงานวันเรือพระทองเพื่อเยี่ยมชมนิทรรศการ
  4. เดินทางกลับมาศาลาประชุมบ้านบางวันเพื่อแยกย้ายกลับบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวลา 14.00 น. ลงทะเบียนเด็กที่มาร่วมกิจกรรม จำนวน 34 คน
  • เวลา 15.00 น. จัดกลุ่มเด็กโดยคัดรุ่นพี่ จำนวน 4 คน กลุ่ม 1 ด.ญ.กัญญารัตน์ มากมูล กลุ่ม 2 ด.ญ.สุดารัตน์ บุญเสริม กลุ่ม 3 ด.ญ.รมันยา คำเอียด กลุ่ม 4 ด.ญ.มัสนา เขน็ดพืช
  • จัดผู้ดูแลรับผิดชอบแต่ละกลุ่ม เพื่อดูแลเด็ก ดังนี้ กลุ่ม 1 นางสาวเมธินี สุขศรีนวล  กลุ่ม 2 นายประเทือง เพ็ชรขาว กลุ่ม 3 นายยงยุทธ โดยดี กลุ่ม 4 นายนิคม ลำจวน  โดยมีนางพรจันทร์ ศรีฟ้า เป็นผู้รับผิดชอบดูแล
  • จัดรถรับส่งจำนวน 3 คัน
  • เวลา 16.00 น. ถึงที่ทำการอนุรักษ์พลับพลึงธาร บ้านตาเลื่อน

    • อาจารย์ผู้ดูแล ได้ทำการต้อนรับและอธิบายถึงการอนุรักษ์พลับพลึงธาร
    • กลุ่มเยาวชนของกลุ่มอนุรักษ์ ได้แนะนำวิธีปลูกเม็ดพลับพลึงธาร
    • ตาเลื่อน ได้เล่าความเกี่ยวกับพลับพลึงธาร
    • เด็ก ๆ ได้ร่วมกันปลูกเม็ดพลับพลึงธารและได้เดินชมดอกพลับพลึงธารโดยรอบ
    • ถ่ายรูปรูปกัน และมอบของที่ระลึกให้กับตาเลื่อน
  • เวลา 17.30 น. เดินทางถึงซุ้มนิทรรศการมูลนิธิรักษ์พังงา ให่้เด็กๆ ได้พักผ่อน แจกนมกล่องพร้อมขนม ให้เด็กได้รับประทานร่วมกัน

  • 17.45 น. จัดกลุ่มตามเดิม เดินชมนิทรรศการต่างๆ ซึ่งจัดอยู่ในงานวันเรือพระทอง
  • 18.30 น. นัดพบกันที่ซุ้มมูลนิธิรักษ์พังงา
  • 19.00 น. เดินทางถึงศาลาประชุมหมู่บ้าน โดยสวัสดิภาพ

 

40 39

20. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 11 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 19 มกราคม 2015 เวลา 14.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ทราบถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปกิจกรรม

  • นายดำ ศรีประเสริฐ ได้อธิบายและเล่าเรื่องเกี่ยวพุทธประวัติช่วงที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ แสดงปฐมเทศนาจนพระอัญญาโกญญะบรรลถึงโสดาบรรณ
  • นายสถิตย์ ศรีฟ้า ได้อธิบายเสริมว่า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว  ก็มีแนวคิดที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แก่บุคคลอื่นด้วย
    แสดงให้เห็นถึง ความตั้งใจ ความพยามยามของพระองค์ท่านที่จะให้บุคคลอื่นหรือคนทั่วไปได้รับรู้ด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวธรรมะโดยปราชญ์ชาวบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น. นายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้า อธิบายเกี่ยวกับพุทธประวัติต่อจากครั้งที่แล้ว

 

60 56

21. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 12 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 26 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ทราบถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปของกิจกรรม มีดังนี้

  • นายดำ ศรีประเสริฐ ได้เล่าถึงพุทธประวัติในช่วงที่พระพทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัมปวัฒนสูตรในช่วงพรรษาแรก
  • นายสถิตยื ศรีฟ้า สรุปให้นักรียนได้ว่า คำว่า เข้าพรรษา หมายถึง การที่กิจของพระสงฆ์ที่อยู่วัด จะต้องปฏิบัติกิจอยู่ภายในเขตวัด ห้ามไปค้างแรมที่ไหน หรือเกิดเกตุสุดวิสัย เช่น โยมพ่อดยมแม่เจ็บป่วย  โดยมีเวลา 3 เดือน ประมาณ  เดือน 8 จนถึงเดือน 10 ของทุกปี
  • คำว่า ธรรมจักกัมปวัฒนสูตร หมายถึง ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นครั้งแรก  คือ การปฏิบัติทางสายกลาง  นักเรียนก็ต้องปฏิบัติในสิ่งที่พอดีพองาม ไม่โลภ ไม่โทสะ ตั้งใจเรียนดีที่สุด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • นักเรียนได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวธรรมะจากปราชญ์ชาวบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น. นายดำ ศรีประเสริฐและนายสถิตย์ ศรีฟ้า อธิบายเกี่ยวกับพุทธประว้ติ (ต่อ) และสรุปข้อคิด

 

60 56

22. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 13 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 14.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ทราบถึงผลการทำกิจกรรมสอนธรรมะในโรงเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลกิจกรรม

  • พระสหายและครอบครัวได้อุบาสกอุบาสิกาครั้งแรกในพระพุทธศาสนาแล้วส่งพระสาวกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาครั้งแรก มีพระสงฆ์ 60 องค์เป็นพระอรหันต์ทั้งนั้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ให้ผู้สอนธรรมะออกข้อสอบจำนวน 10 ข้อ
  2. กำหนดให้เป็นข้อปรนัยเพื่อให้ผู้เข้าสอบเลือกตอบ
  3. ตรวจให้คะแนน
  4. ประกาศผลสอบ

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น. โดยนายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้า

  • อธิบายเกี่ยวกับพุทธประวัติ (ต่อ)

 

60 56

23. ประชุมคณะกรรมการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อติดตามกิจกรรมและวางแผนต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปในการจัดกิจกรรมการประชุม

  • ที่ประชุมแจ้งวาระการประชุมให้ทราบ
  • การจัดกิจกรรมสอนธรรมะให้กับเด็กนักเรียน รร.บางวัน เหลือเพียง 3 ครั้ง ที่ประชุมมีความเห็นว่า เพื่อให้กิจกรรมสอนธรรมะในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ กำหนดให้มีการทดสอบเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมในสุดท้ายของกิจกรรมสอนธรรมะ และประกาศผลการสอบ
  • นายดำ ศรีประเสริฐ ผู้ดำเนินการสอนได้รับ ในการจัดทำข้อสอบ โดยจัดทำเป็นข้อสอบปรนัย โดยจะประสานงานกับทางโรงเรียนในการจัดพิมพ์ข้อสอบเพื่อเตรียมไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดประชุมประจำเดือนเพื่อติดตามผลการปฏิบัิตงานและสรุปประเมินผล

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามกิจกรรม

 

15 15

24. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 14 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 1400 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง คุณธรรมในการดำรงชีวิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลกิจกรรม ดังนี้

  • นายดำ ศรีประเสริฐ ได้เล่าถึง พุทธประวัติของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จไปกรุงราชคฤห์เพื่อโปรด พระเจ้าพิมพิสารเกิดความเลื่อมใสสร้างวัดถวายคือ วัดเวฬุวันมหาวิหาร เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา แสดงให้เห็นว่า ศาสนาพุทธนั้นมีผู้คนนับถือเลื่อมใสและเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในสมัยนั้น
  • นายสถิตย์ ศรีฟ้า ได้อธิบายถึงแนวทางปฏิบัติของนักเรียน ที่สามารถปฏิบัติได้
  1. การทำความดี นักเรียนสามารถทำความดีด้วยตนเองก่อนเพื่อน เช่น การช่วยเหลือตนเองที่สามารถทำได้ ตื่นนอนเอง อาบน้ำเอง ซักผ้าเอง
  2. การทำความดี ต่อพ่อแม่ เช่น การช่วยเหลือพ่อแม่ทงานบ้าน เช่น ล้างถ้วยล้างจาน ถูบ้าน
  3. การทำความดีต่อผู้อื่น เช่น เพื่อน การไม่ทะเลาะเบาะแว้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สอนความรู้เกี่ยวกับคุณธรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น. โดย นายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้าได้เล่าถึงพุทธประวัติ (ต่อ) และสรุปข้อคิด แนวปฏิบัติ

 

60 56

25. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 15 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 14.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ทราบถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปของกิจกรรม ดังนี้

นายดำ ศรีประเสริฐ ได้อธิบายถึง วันสำคัญทางศาสนา คือ วันมาฆะบูชา – วันวิสาขะบูชา-วันอาสาฬะบูชา และสังเวชนียสถาน 4

วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

  1. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
  2. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
  3. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
  4. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ

วันวิสาขะบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖

  • ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
  1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
  2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
  3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ ๔๕ ปี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

วันอาสาฬหะบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน

  • เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ อาสาฬหเป็นชื่อเดือน ๘ อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณ มีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะ เลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง
    หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง
  • จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่ พระธรรมที่ พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มี ชื่อ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมี อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่
  1. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
  2. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
  3. นิโรธ ความดับทุกข์
  4. มรรค ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์

นายสถิตย์ ศรีฟ้า ได้ให้ข้อปฏิบัติแก่นักเรียนถึงวันสำคัญทางศาสนาดังกล่าว ก็คือ การปกิบัติตามประเพณีนับถือที่ผ่านมา

  1. การตักบาตรทำบุญที่วัด จะทำให้นักเรียนรู้จักการให้ ทำให้ประเพณีสืบทอดต่อไป
  2. การได้เข้าท่องบทสวดมนต์ต่างๆ ในพิธีในวันสำคัญทางศาสนา เป็นสิ่งที่ดี ทำให้จิตใจสงบ
  3. การนั่งสมาธิ จะทำให้มีสติสัมปชัญญะนิ่ง เรียนหนังสือได้ดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพิ่มความรู้เกี่ยวกับธรรมะให้นักเรียนโดยปราชญ์ชาวบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มสอนธรรมะ เวลา 14.00 น. นายดำ ศรีประเสริฐและนายสถิตย์ ศรีฟ้า สอนความรู้เกี่ยววันสำคัญทางศาสนา และข้อปฏิบัติ

 

60 56

26. สอนธรรมะในโรงเรียน ครั้งที่ 16 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 14.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าและข้อคิดต่างๆ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปกิจกรรม มีดังนี้

ข้อสอบปรนัยวัดผลการสอนธรรมะในโรงเรียน

ข้อ 1 พระราชบิดาของพระพุทธเจ้าคือใคร

ก. พระเจ้าสุปะพุทธะ ข. พระเจ้าสุทโทธนะ
ค. พระเจ้าสุกโกธะนะ

ข้อ 2 วันมาฆะบูชาตรงกับวันอะไร

ก. วันเพ็ญ เดือน 6
ข. วันเพ็ญ เดือน 8
ค. วันเพ็ญ เดือน 3

ข้อ 3. พระสาวกหรือพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนาคือใคร

ก. พระสารีบุตร
ข. พระอานนท์
ค. พระอัญญาโกณฑัณญะ

ข้อ 4 วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือวัดอะไร

ก. วัดเชตวันมหาวิหาร
ข. วัดเวฬุวันมหาวิหาร
ค. วัดโฆสิตารามหาวิหาร

ข้อ 5 เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญทุกกริยาบทอยู่กี่ปี จงได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ก. 35 ปี
ข. 8 ปี
ค. 6 ปี

ข้อ 6 คำว่า “กาเมสุมิจฉาจารา” อยู่ในศีลข้อใด

ก. ข้อ 4
ข. ข้อ 2
ค. ข้อ 3

ข้อ 7 สังเวชนียสถานที่เราชาวพุทธควรจะไปสักการบูชามีกี่แห่ง

ก. 1 แห่ง
ข. 3 แห่ง
ค. 4  แห่ง

ข้อ 8 พระสาวกปัญจวัคคีย์มีกี่องค์

ก. 4 องค์
ข. 5 องค์
ค. 6 องค์

ข้อ 9 วันมาฆะบูชามีพระสาวกหรือพระสงฆ์ที่เข้าฟังโอวาทะปาติโมกข์ จำนวนทั้งหมดกี่องค์

ก. 1,200 องค์
ข. 1,250 องค์
ค. 1,150 องค์

ข้อ 10 พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาอยู่ที่ใด

ก. คงคาสิริ
ข. ป่าอิสิปะตะมฤคทายวัน
ค. เมืองพาราณสี


ผลการสอบวัดผลการเรียนธรรมะมีดังนี้

1.คะแนนสุงสุดจำนวน 5 คน คือ

  • ด.ช.เชาวเลิศ ขาวสุด
  • ด.ญ.สิริเกศ ทองเอียด
  • ด.ญ.ฐิติมา นวลประจวบ
  • ด.ช.วัชรินทรื ต้นสาลี
  • ด.ช.เด่นชัย สาระคาญ

2.นักเรียนที่มีความตั้งใจ สนใจ ใฝ่ธรรมะ  มี 8 คน ดังนี้

  • ด.ช.ภูวดล ชูแสง
  • ด.ช.สรวิชญ์ สุขภิมนตร
  • ด.ช.ธนพล พบด้วง
  • ด.ญ.วรัทยา ขาวสุด
  • ด.ญ.วาสิฏฐี ล้อมเขียว
  • ด.ญ.กรุณา ศรีฟ้า
  • ด.ญ.สุดารัตนื หมันมณี
  • ด.ญ.ฮุสนา ปรางปราสาท

บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมสอนธรรมะในโรงเรียนบ้านบางวัน มีดังนี้

  1. เด็กนักเรียนได้มีโอกาสเข้าวัด ซึ่งเป็นสิ่งที่บางคนนั้นยังไม่เคยได้ย่างก้าวเข้าวัดเลย
  2. สามารถกล่อมเกลาเพื่อให้ถึงความดีโดยใช้เนื้อเรื่องของพุทธประวัติ มาเป็นแนวทางในการสอนการทำความดี
  3. เด็กนักเรียนมีโอกาสได้ใกล้ชิดหรือพบเห็นกิจกรรมของพระในพระพุทธศาสนา
  4. เด็กนักเรียนบางคนที่มีความก้าวร้าวในช่วงแรกๆ ก็สามารถที่จะมีสมาธิที่ดีขึ้น โดยจากการสังเกตุเมื่อจบกิจกรรม
  5. ผลต่อเนื่องจากกิจกรรม ทำให้มีนักเรียนได้เข้าสู่กิจกรรมบวชเณรภาคฤดูร้อนมากขึ้น
  6. นักเรียนได้ข้อคิด ข้อปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ดำเนินการสอบวัดผลในการสอนธรรมะ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวลา 14.00 น. ทำการทดสอบโดยข้อสอบอัตนัย ใช้เวลา 30 นาที
  • เวลา 15.00 น. ประกาศผลสอบและสรุปการสอนธรรมะ

 

60 56

27. ประชุมคณะกรรมการ ประจำเดือนมีนาคม (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 4 มีนาคม 2015 เวลา 16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อติดตามกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปของกิจกรรมการประชุม

  • กิจกรรมสอนธรรมะในโรงเรียนบ้านบางวันก็ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ทางคณะกรรมการต้องขอขอบคุณ 1.นายดำ ศรีประเสริฐ 2. นายสถิตย์ ศรีฟ้า ที่ได้ร่วมกิจกรรมสอนธรรมะเด็กจนเสร็จสิ้นโครงการ ต้องขอขอบคุณเจ้าอาวาสวัดบางวันที่อำนวยความสะดวกสถานที่ ครูใหญ่และคณะครูที่ให้ความร่วมมืิเป็นอย่างดี
  • กิจกรรมที่ต่อเนื่องที่ทางคณะกรรมการ จะสนับสนุนช่วยเหลือกิจกรรมที่เป็นสิ่งดีภายในชุมชนของเราทุกปี คือ บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ที่วัดบางวัน โดยปีนี้มีทั้งเด็กภายในชุมชนและที่อื่น รวม 19 คน โดยเรียนเชิญทุกท่านและบอกข่าวยังชุมชนให้มาร่วมกิจกรรมกันเยอะๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมประจำเดือนเพื่อติดตามโครงการการปฏิบัติงานและสรุปประเมินผล

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุม เวลา 16.00 น. ณ ศาลาประชุมหมู่บ้านบ้านบางวัน

  • คณะกรรมการได้กล่าววาระการประชุม
  • ประชุมเพื่อพิจารณากิจกรรมบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ปี 58 วัดบางวัน

 

15 14

28. กิจกรรมบรรพชาสามเณร โกนผมนาค/ทำขวัญนาค (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 4 เมษายน 2015 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในช่วงปิดเทอม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้เข้าร่วมบรรพชาได้โกนผมและนุ่งขาวห่มขาว
  2. หลังจากทำขวัญนาค นาคมีความรู้สึกกตัญญูรู้คุณพ่อแม่มากขึ้น
  • ผู้ที่ทำขวัญนาคสอนสั่งนั้น เป็นหมอขวัญนาคในท้องถิ่นอยู่ที่บ้านบางม่วง
  • ความสำคัญของการทำขวัญนาคเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงหรือระลึกถึงคุณงามความดีของพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา  โดยการทำขวัญนาคจะดำเนินเรื่องตั้งแต่ได้ตั้งท้องจนกระทั่งคลอด  และเลี้ยงดูจนโต  ว่ามีความลำบากยากเย็นเพียงใด ที่ทุกคนจะต้องสำนึกถึงบุญคุณท่าน โดยการบวชเรียนในครั้งนี้
  • การทำขวัญนาคนั้น หลักใหญ่เพื่อที่จะเตือนใจพ่อนาคให้ระลึกถึงบุญคุณของบิดา มารดาที่ได้อุ้มชูมา นับจากเริ่มตั้งครรภ์ มารดาต้องประคับประคองทนทุกข์ยากกระวนกระวายมาตลอดทศมาศ ครั้นเมื่อบุตรคลอดออกมาแล้ว บิดา มารดาก็ดีใจปลื้มใจด้วยจิตเมตตารักสงสาร สู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงบำรุงมา เลือดในกายของแม่แปรเปลี่ยนมาเป็นน้ำนมให้ลูกดื่ม ยามใดที่ลูกร่ำร้อง แม่ก็ขับกล่อมปลอบโยนไม่ให้ลูกต้องวิปโยค ยามใดที่บุตรกระวนกระวาย พ่อแม่ก็กายามาบำบัดนับเป็นเวลาช้านาน กว่าลูกชายของแม่จะเจริญวัยแก่กล้า  พ่อแม่พร่ำสอนให้ลูกรู้จักพูดจา รู้จักเดิน รู้จักกิน รู้จักนอน จนถึงลูกรู้จักทำงานหาเงินมาเลี้ยงชีวิตของตนได้  อีกอย่างในการทำขวัญนาคนั้น เมื่อจะมาเป็นนาค นุ่งขาวห่มขาวจะต้องปลงผมโกนคิ้ว ขวัญของพ่อนาคที่อยู่ปลายผม เมื่อโกนผมออกไปขวัญก็หายไปด้วย จึงต้องทำการเรียกขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัวอย่างเดิม  ครั้นจะกล่าวอะไรกันไปมากกว่านี้ก็จะเปลืองเวลากันมากไปอีก จะขอเริ่มพิธีทำขวัญนาคกันเลย ขอให้พ่อนาคทำใจให้แน่วแน่และตั้งใจฟังเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ได้ ณ บัดนี้”

  • บทกลอนในการกล่าวทำขวัญนาค มีว่า ขวัญเจ้าเอ๊ย... อย่าไป  จงกลับมา  มาอยู่ยืนชื่นเชยอย่าเฉยชา  มานะมิ่งขวัญมา  อย่าถือดี  รุ่งพรุ่งนี้ขวัญพ่อจะบริสุทธิ์  เป็นบุตรพระพุทธเบื้องบาทบงสุ์  ศีลพระอริยสงฆ์ทรงสิกขา พ่อจะได้โปรดพระบิดรและมารดาพรุ่งนี้แน่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดบรรพชาสามเณร
  • โกนผมนาค/ทำขวัญนาค

กิจกรรมที่ทำจริง

รายละเอียด ขั้นตอนในวันนี้มีดังนี้

  • เวลา 15.00 น.  นักเรียนที่บรรพชานั้งเข้าแถวเตรียมความพร้อม
  • เวลา 15.09 น.  นักเรียนเข้าขอพรจากพระครูใบฎีกา สมนึก กนสีโล เจ้าอาวาสวัดบางวัน
  • เวลา 15.30 น.  เจ้าอาวาสวัดบางวัน ทำพิธีโกนผมนาคพร้อมด้วยพ่อแม่ญาติพี่น้องจนเสร็จสิ้น
  • เวลา 18.00 น.  นาคทั้งหมดร่วมรับประทานอาหาร
  • เวลา 19.00 น.  พระสงฆ์สวดแลองผ้าไตร
  • เวลา 19.30 น.  เริ่มพิธีทำขวัญ
  • เวลา 22.00 น.  เสร็จสิ้นพิธี

 

20 19

29. บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ปี 2558 (กิจกรรมที่ 7)

วันที่ 5 เมษายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างในวันหยุดมาศึกษาธรรมะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการจัดกิจกรรม

  • ผู้เข้าร่วมบรรพชาได้บรรพชาสู่ความเป็นสามเณรทั้งหมด 19 รูป และจำวัดอยู่ ณ วัดบางวัน โดยจะศึกษาธรรมะเพื่อให้ได้ความรู้ต่อไป โดยมีนายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตย์ ศรีฟ้า ปราชญ์ชาวบ้านได้มาร่วมบรรยายธรรมให้กับสามเณร รายชื่อผู้เข้าร่วมบรรพชา มีดังนี้
  1. ด.ช.ทิวากร    มหาโชติ
  2. ด.ช.ปิยะภพ  ใมมะมุด
  3. ด.ช.ชลวิทย์    ขาวสุด
  4. ด.ช.ไกรวิชญ์  ศิริสัมพันธ์
  5. ด.ช.ธนวัฒน์  สังข์ขาว
  6. ด.ช.นันทวัฒน์  แก้วประเสริฐ
  7. ด.ช.เอกรัตน์ บัวหลวง
  8. ด.ช.คณาธิป ตันติวิวัฒน์
  9. ด.ช.สิทธิโชค บุญเสริม
  10. ด.ช.สุริยัน พบด้วง
  11. ด.ช.ปัญญากร อุทน
  12. ด.ช.ทัศกรณ์ ศรีประเสริฐ
  13. ด.ช.วัชรินทร์ ต้นสาลี
  14. ด.ช.มนัส จันทร์เนตร
  15. ด.ช.ธนพล พบด้วง
  16. นายวงศ์ตะวัน สร้อยแสง
  17. นายอมรศักดิ์ เกิดผล
  18. นายสมยศ หนูอินทร์
  19. นายบุญญฤทธิ์ จรมาศ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แผนงานมีดังนี้

  1. เปิดรับสมัครนักเรียนที่สนใจบรรพชาสามเณร
  2. จัดบรรพชาสามเณร
  3. สอนเสริมธรรมะ

กิจกรรมที่ทำจริง

รายละเอียดขั้นตอนในการบรรพชา มีดังนี้

  • เวลา 09.00 น.  นาคและพ่อแม่ญาติพี่น้อง ของนาค 19 คนพร้อมกันหน้าโบสถ์
  • เวลา 09.09 น.  ทำพิธีแห่นาครอบโบสถ์ 3 รอบ
  • เวลา 09.30 น.  ทำพิธีบรรพชา โดยพระมหานครินทร์ เจ้าคณะอำเภอคุระบุรี
  • เวลา 11.00 น.  ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุ สามเณร
  • เวลา 12.00 น.  ผู้ร่วมงานร่วมกันรับประทานอาหาร

 

20 19

30. ประชุมคณะกรรมการโครงการ/ผู้นำชุมชน (เมษายน) (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 22 เมษายน 2015 เวลา 16:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อติดตามและดำเนินกิจกรรมของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา

1.กิจกรรมสอนธรรมะในโรงเรียนได้เสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว โดยเด็กที่ได้คะแนนสูงสุด มี 4 คน และเด็กที่มีความตั้งใจในการเข้าเรียน มี 8 คน โดยต้องอขขอบคุณนายดำ ศรีประเสริฐ และนายสถิตยื ศรีฟ้า ปราชญ์ชาวบ้านด้านวัฒนธรรม

2.กิจกรรมการเก็บข้อมูลได้สรุปผลของบุคคลต้นแบบเรียบร้อยแล้ว โดยจะขอให้ที่ประชุมได้คัดเลือกพิจารณาคัดกรองอีกครั้งหนึ่ง ผลของการพิจราณา มีดังนี้

บุคคลต้นแบบ บ้านบางวัน ต้นแบบแต่ละด้าน กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 4

  • ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
    • นางฉิ้ม  ปานเวช
    • นางจารุ  รักบำรุง
    • นายดำ  ชูพล
    • นายเลี่ยม  อุปไชย
  • ต้นแบบความกตัญญู รู้คุณ
    • นางวาสนา  ขาวสุด
    • น้องเอ็กซ์ นายเสมา  ใมมะมุด
    • นายจักรกฤษ  จันทำ
  • ต้นแบบความสุขในครัวเรือนและการสั่งสอนบุตร
    • นางเผียน  อินทร์พรม
    • นายวัฒโน  ไตรมาศ
    • นายแอร์  ใมมะมุด
    • นายอนันทยา  รัตนาคร
  • ต้นแบบมีจิตสาธารณะ
    • นางจันจิรา  จันทร์เนตร
    • นายสุทิน  หินเพ็ญ
    • นายอำนาจ  เติมศักดิ์
    • นายอุดร  บุญเสริม
  • ต้นแบบเกษตรผสมผสาน
    • นายวินัย  รักแต่งงาน
    • นายเนาว์  นวลจันทร์
    • นายสถิตย์ ศรีฟ้า
    • นายอิสรา  เครือพยัคย์
  • ต้นแบบนำหลักธรรมทางศาสนาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิต
    • นางปราณี  แก้วสะอาด
    • นางหยอย  สวัสดี
    • นางผิน  สังขาว
    • นายดำ  ศรีประเสริฐ
  • ต้นแบบการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
    • นางเบญจา  สุขภิมนตรี
    • นายสมพร  คงหมุน
    • นายรัตน์  รอดประชุม
    • นายเสนอ  แก้วสะอาด
  • ต้นแบบความมุ่งมั่นอดทนขยันทำมาหากิน
    • นายประเสริฐ  มากมูล
    • นางนิตยา  นวลจันทร์
    • นางนิว
    • นางสุวิมล  กิจไพโรจน์
  • ต้นแบบความซื่อสัตย์สุจริต
    • นางวาสนา  ขาวสุด
    • นายถาวร  คงหมุน
    • นายสุทัศน์  เพ็ชรขาว
    • นายวัฒนา  เครือพยัคย์

3.ที่ประชุมจะจัดให้มีการประชุมบุคคลต้นแบบในวันที่ 1 พ.ค.2558 เวลา 17.00 น. เพื่อเรียนชี้แจงให้ทราบถึงผลการพิจารณาที่ได้รับคัดเลือกและกิจกรรมต่อไป

4.คุณกฤษ ศรีฟ้า จะประสานงานเกี่ยววิทยากรในการอบรมเกี่ยวเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะมาให้การอบรมกับบุคคลต้นแบบด้านต่างๆ โดยจะกำหนดในวันหลัง

5.ที่ประชุมมอบหมายให้นายประเทือง เพ็ชรขาว ประสานงานติดต่อสถานที่จะไปศึกษาดูงานเกี่ยวเศรษฐกิจพอเพียง

6.กำหนดกิจกรรมการรณรงค์ ลด ละ เลิกเหล้าและบุหรี่ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา  โดยประสานไปยังตัวแทนกลุ่ม 1-4 ให้ช่วยกันไปคิดรูปแแบของแต่ละกลุ่มในการรณรงค์ ซึ่งจะมาประชุมในครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมกำหนดกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มประชุม เวลา 17.00 น.
  • นายกฤษ ศรีฟ้า กล่าวเปิดประชุม ยินดีต้อนรับทุกท่านที่มาร่วมประชุม เป็นการระชุมประจำเดือน เมษายน 2558 (เลื่อนมาจาก 4 เมษายน 2558)

 

15 11

31. ประชุมผู้เข้าร่วมกิจกรรมบุคคลต้นแบบ (กิจกรรมที่ 4)

วันที่ 1 พฤษภาคม 2015 เวลา 17.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้บุคคลต้นแบบภูมิปัญญาทั้ง 7 ด้านได้มากำหนดกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปในกิจกรรม

  • ประธานในที่ประชุมได้ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ในครั้งนี้  โดยได้อธิบายเกี่ยว บุคคลต้นแบบนั้นได้มาจากการที่ได้มีการสำรวจข้อมูลชุมชนของเรา และได้ให้ทุกครัวเรือนได้เลือกบุคคลต้นแบบที่กำหนดไปให้ ว่าในความคิดเห็นของท่าน ใครในชุมชนที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นบุคคลต้นแบบ ดังนี้
  1. ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
  2. ด้านความกตัญญูรู้คุณ
  3. ด้านความสุขในครัวเรือนและสั่งสอนบุตร
  4. ด้านมีจิตสาะารณธ
  5. ด้านเกษตรผสมผสาน
  6. ด้านนำหลักธรรมทางศาสนามาเป็นแวทางในการดำรงชีวิต
  7. ด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม
  8. ด้านความมุ่งมั่น ขยัน ทำมาหากิน
  9. ด้านความซื่อสัตย์สุจริต
  • ผลการคัดเลือกบุคคลต้นแบบได้พิจารณาจากการสำรวจข้อมูลและการพิจารณาของคณะกรรมการ /ผู้นำชุมชน
  • แจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบถึงบุคคลต้นแบบด้านต่างๆ ให้ทุกคนได้รับทราบ โดยการแนะนำตัว ดังนี้
  1. นางฉิ้ม ปานเวช เศรษฐกิจพอเพียง
  2. นายสมทรง ไชยช่วย จิตสาธารณะ
  3. นางจันจิรา จันทร์เนตร จิตสาธารณะ
  4. นางสุมล กิจไพโรจน์ มุ่งมั่นขยันทำมาหากิน
  5. นางวาสนา ขาวสุด กตัญญูรู้คุณ
  6. นายประเสริฐ มากมูล มุ่งมั่นขยันทำมาหากิน
  7. นายดำ ศรีประเสริฐ ใช้หลักธรรม
  8. นายเอ็ก เพ็ชรน้อย กตัญญูรู้คุณ
  9. นายเสมา ใมมะมุด กตัญญูรู้คุณ
  10. นายถาวร คงหมุน ซื่อสัตย์ สุจริต
  11. นายจักกฤษ จันทำ กตัญญูรู้คุณ
  12. นายเลี่ยม อุปไชย เศรษฐกิจพอเพียง
  13. นางจารุ รักบำรุง เศรษฐกิจพอเพียง
  14. นางเบญจา สุขภิมนตรี รักษาสิ่งแวดล้อม
  15. นายดำ ชูพล เศรษฐกิจพอเพียง
  16. นายสมพร คงหมุน รักษาสิ่งแวดล้อม
  17. นายอุดร บุญเสริม จิตสาธารณะ
  18. นายรัตน์ รอดประชุม รักษาสิ่งแวดล้อม
  19. นายเสนอ แก้วสะอาด รักษาสิ่งแวดล้อม
  20. นางอารี สวัสดี ใช้หลักธรรม
  21. นางผิน สังข์ขาว ใช้หลักธรรม
  22. นายวินัย รักแต่งาน เกษตรผสมผสาน
  23. นางนิตยา นวลจันทร์ มุ่งมั่นขยันทำมาหากิน
  24. นายนิว ใมมุด มุ่งมั่นขยันทำมาหากิน
  25. นายเนาว์ นวลจันทร์ เกษตรผสมผสาน
  26. นายสถิตย์ ศรีฟ้า เกษตรผสมผสาน
  27. นายอิสรา เครือพยัค เกษตรผสมผสาน
  28. นายสุทิน หินเพ็ญ จิตสาธารณะ
  29. นายอำนาจ เติมศักดิ์ จิตสาธารณะ
  30. นางเผียน อินทร์พรม ความสุขในครัวเรือน
  31. นายวัฒโน ไตรมาศ ความสุขในครัวเรือน
  32. นายแอร์ ใมมะมุด ความสุขในครัวเรือน
  33. นายเสมา ใมมะมุด กตัญญูรู้คุณ
  34. นายจักกฤษ จันทำ กตัญญูรู้คุณ

โดยให้ทราบถึงที่มาที่ไปของการได้มาซึ่งบุคคลที่กล่าวมา  โดยได้ทำการสรุปคะแนนจากแบบสอบถามที่ได้เคยสำรวจข้อมูลที่ผ่านมา

  • ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรมในการประชุมในครั้งนี้
  1. ทำให้บุคคลที่ได้รับคัดเลือกได้มีความภาคภูมิใจในตัวเองที่จะปฏิบัติในแนวที่แต่ละด้าน
  2. เกิดกลุ่มชุมชนที่เป็นกลุ่มที่มีความกระตือรือร้นในการทำความดี
  3. บุคคลดังกล่าว เป็นแบบอย่างที่ดีที่ทุกคนในชุมชนได้เลียนแบบหรือเอาอย่าง
  4. สร้างความเชื่อมั่นให้ตนเองในการปฏิบัติชีวิตประจำวัน
  5. ครอบครัวมีความภาคภูมิใจ
  6. ชุมชนมีฐานแห่งการทำความดีในภูมิปัญญาท้องถิ่น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเพื่อชี้แจงกิจกรรมภูมิปัญญาชาวบ้านให้บุคคลต้นแบบได้ทราบถึงวัตถุประสงค์และนำไปฏิบัติ

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา 16.00 น.

  • การประชุมเพื่อชี้แจงให้บุคคลต้นแบบภูมิปัญญา 7 ด้าน 3 ด้าน ได้เข้าใจในส่วนของการที่ได้รับเลือกมาจากการสำรวจข้อมูล
  • แนะนำบุคคลต้นแบบด้านต่างๆ ให้ที่ประชุมได้รู้จัก

 

48 48

32. ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนพฤษภาคม (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 4 พฤษภาคม 2015 เวลา 16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อติดตามกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลจากการประชุม

  1. ที่ประชุมสรุปจะจัดกิจกรรมในวันที่ 13-14 มิถุนายน 2558 โดยเดินทางไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
  2. ที่ประชุมให้นายประเทือง เพ็ชรขาว สมาชิก อบต.หาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่
  3. ให้นายยงยุทธ โดยดี ติดต่อเรื่องการเดินทาง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดประชุมเพื่อติดตามโครงการและผลการดำเนินงานสรุป

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุม เวลา 16.00 น. แจ้งให้ที่ประชุมถึงวาระการประชุม

  • สรุปบุคคลต้นแบบให้ทราบถึงบุคคลต้นแบบที่จะจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญา 7 ด้าน 3 กลุ่ม
  • กำหนดหาสถานที่จะไปศึกษาดูงาน

 

15 10

33. ประชุมเพื่อวางแผนกิจกรรมที่จะทำต่อไป (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 21 พฤษภาคม 2015 เวลา 16:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดเตรียมการดำเนินกิจกรรมในการสัมมนาภูมิปัญญา 7 ด้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปของกิจกรรม นายกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการเสนอวาระการประชุม

  • ที่ประชุมกำหนดให้แบ่ง การประชุมสัมมนา ภูมิปัญญา 7 ด้าน 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1

  1. ด้านลดรายจ่ายจากอบายมุข
  2. การเพิ่มรายได้ครัวเรือน
  3. การอดออม

กลุ่มที่ 2

  1. การนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต
  2. ด้านความกตัญญูรู้คุณ

กลุ่มที่ 3

  1. การสร้างความรัก ความอบอุ่นในครัวเรือน
  2. ด้านการดูแลรักษาสุขภาพ
  • เนื่องจากวันที่ 1 มิถุนายน 2558 เป็นวันวิสาขบูชา กิจกรรมที่ทางคณะกรรมการวางแผนไว้ คือ การเดินรณรรงค์ลด ละเลิกเหล้าบุหรี่ นั้นแต่ด้วยวันที่ 6 มิถุนายน 2558 ทางวัดบางวันจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคีขึ้น ซึ่งมีผู้คนมาจำนวนมาก จึงขอให้ทางคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนไปจัดในวันดังกล่าวที่ประชุมเห็นชอบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเตรียมความพร้อมแบ่งหน้าที่ในการสัมมนา

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มประชุม เวลา 16.00 น.
  • พิจารณาภูมิปัญญา 7 ด้าน ว่ามีอะไรบ้าง
  • พิจารณากิจกรรมเตรียมงานวันรณรงค์ลด ละ เลิก เหล้าบุหรี่

 

15 10

34. จัดประชุมประจำเดือน เพื่อเตรียมความพร้อมกิจกรรมรณรงค์ (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 1 มิถุนายน 2015 เวลา 16:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดเตรียมการดำเนินกิจกรรมในการเดินรณรงค์ลด ละ เลิกเหล้าและบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ในการจัดกิจกรรมเดินรณรงค์ ซึ่งกำหนดไว้ในวันวิสาขะบูชา สรุปว่าให้จัดให้มีการเดินรณรงค์ ในวันที่ 6 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นวันทอดผ้าป่าสามัคคีที่วัดบางวัน ที่จะมีผู้มาร่วมกิจกรรมจำนวนมาก โดยนักเรียนและคณะครู รร.บางวัน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการ ตัวแทนโซน และประชาชน โดยเคลื่อนขบวนไปสมทบกับประชาชนที่วัดบางวัน
  • ให้ทางคุณเมทนี สุขศรีนวล ประสานกับตัวแทนโซนเป็นจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์
  • ให้คุณยงยุทธ โดยดี ได้ประสานกับทาง รร.บ้านบางวัน
  • สรุปกำหนดการ เวลา 08.00 น.ทุกขบวนเดินทางไปพบกัน ณ ปากทางเข้าหมู่บ้าน และเริ่มเดินรอบหมู่บ้านจนถึงบริเวณวัดบางวัน
  • เดินรอบโบสถ์ และร่วมทอดผ้าป่าสามัคคีร่วมกัน
  • รับประทานอาหาร เป็นอันเสร็จสิ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดประชุมคณะกรรมการโครงการตามที่กำหนดไว้

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มประชุม เวลา 16.00 น. โดยคณะกรรมการเสนอวาระในการประชุม

 

15 14

35. จัดกิจกรรมรณรงค์ ลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ (กิจกรรมที่ 8)

วันที่ 6 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00-12.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัวในชุมชนตระหนักถึงการลดละเลิกเหล้าและบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เวลา 08.00 น. คณะคุณครูและนักเรียน รร.บ้านบางวัน ได้เดินทางมาจุดนัดพบที่บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้าน พร้อมคณะของชุมชนทั้ง 4 โซน พร้อมแผ่นป้ายรรรงค์เลิกเหล้าและบุหรี่
  • เวลา 08.30 น. คุณกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม พร้อมปล่อยขบวนการเดินรรณรงค์เข้าสู่ซอยหมู่บ้านบางวัน และเลี้ยวขบวนเข้าสู่บริเวณวัดบางวัน ซึ่งกำลังมีการจัดงานถวายผ้าป่าสามัคคี
  • เวลา 09.00 น. คณะเดินรณรงค์ทั้งหมดได้เข้าสู่บริเวณวัดบางวัน และประชาสัมพันธ์ผ่านทางเครื่องขยายเสียงของวัด ถึงกิจกรรมการรรณรงค์ในครั้งนี้ พร้อมกับกล่าวถึงพิษภัยของเหล้าและบุหรี่ให้กับทุกคนที่อยู่ในบริเวณจัดงานผ้าป่าสามัคคีทั้งหมด ซึ่งทำให้ผู้คนที่มาร่วมงานและนักเรียนและผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก ทำให้เกิดแนวร่วมในการที่จะช่วยกันลด ละ เลิกเหล้าและบุหรี่ ภายในชุมชน ซึ่งเป็นนิมิตรที่ดีขึ้น

โดยสรุปในการทำกิจกรรมครั้งนี้

  1. เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเดินรณรงค์ได้มีส่วนร่วมในเป้าหมายในครั้งนี้
  2. ชาวบ้านในชุมชนที่พบเห็นได้ตระหนักถึง การรณรงค์ในครั้งนี้
  3. เกิดความรักความสามัคคีของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  4. เป็นกระตุ้นเตือนให้พิษภัยของเหล้าและบุหรี่
  5. เป็นสิ่งเตือนใจของผู้ปกครองเด็กนักเรียนที่ได้พบเห็นบุตรของตนเองเดินรณรงค์
  6. แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของคนในชุมชนที่จะช่วยกันทำสิ่งดีๆ ภายในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ในวันวิสาขะบูชาตรงกับวันที่ 1 มิถุนายน 2558 แต่คณะกรรมการต้องการให้จัดวันที่ 6 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นวัดทอดผ้าป่าสามัคคี จะได้มีคนมาร่วมจำนวนมาก

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวลา 08.00 น.ขบวนประกอบด้วยครูและนักเรียน รร.บ้านบางวัน เดินออกจาก รร.ไปตามซอย และคณะของชุมชนรอพบกันที่บริเวณปากทางชุมชน
  • เวลา 08.30 น. ทั้งสองขบวนเดินทางตามซอยในชุมชน
  • เวลา 09.00 น. เดินทางเข้าสู่วัดบางวัน โดยมีคนในวัดได้ร่วมกันเดินรณรงค์รอบโบสถ์วัดบางวัน โดยมีการประชาสัมพันธ์ผ่านเครื่องเสียงของวัด
  • เวลา 10.00 น. ทั้งหมดได้ร่วมกันทอดผ้าป่าสามัคคคี

 

103 135

36. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (กิจกรรมที่ 6)

วันที่ 13 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00-15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้บุคคลต้นแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นใน 7 ด้าน 3 กลุ่ม คือ ได้รับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปกิจกรรม มีดังนี้

  • ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์บ้านโงกน้ำ หมู่ 8  ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

จุดแข็งบ้านโงกน้ำ

  • ทำนา ทำสวน ปลูกผักกินเอง
  • ทำนากินเอง
  • มีงานทำอย่างน้อย 4 อาชีพ ทุกครัวเรือน
  • มีเงินฝากทุกคนทุกครัวเรือน

ชุมชนบ้านโงกน้ำชาวบ้านสวนใหญ่จะเน้นทำเกษตรและการเลี้ยงปลาดุกซึ่งเลี้ยงในบ่อดิน สามารถจับขายได้หลายตันและมีการแปลรูปของปลาดุก โดยการสาธิตการทำปลาดุกร้าเพื่อเพิ่มยอดขาย ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้

ส่วนผสม

  1. ปลาดุก 5 ก.ก. การเลือกซื้อปลาดุกที่มีขนาดใหญ่เกินไปไม่ได้ เพราะจะทำให้เนื้อแข็ง ควรเลือกขนาด 6-8 ตัวต่อกิโลอายุปลาไม่เกิน  4  เดือน และต้องเป็นปลาที่เลี้ยงในบ่อดิน
  2. เกลือ 2 ขีด
  3. เกลือ 2 ขีด
  4. น้ำตาลทายแดง 5 ขีด

วิธีทำ

  1. ทำให้ปลาตายเสียก่อน โดยนำปลาใส่ในกระสอบและเกลือ 1 ถุง ปิดปากถุงไว้รอจนปลาตาย
  2. ตัดหัวปลาให้คางติดอยู่กับตัวปลา ส่วนหัวปลาสามารถนำไปทำปุ๋ยได้
  3. ล้างปลาจนเมือกจากตัวปลาหมด
  4. นำปลาใส่ภาชนะพักไว้ 12 ชั่วโมง
  5. นำเกลือและน้ำทรายแดงผสมกันแล้วใส่ในท้องปลา เรียงปลาให้เรียบร้อยในภาชนะที่มีฝาปิด น้ำตาลที่เหลือโรยให้ทั่วตัวปลา ปิดปาทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง
  6. แล้วนำปลาไปตากแดด 6 วัน กลับปลาทุกครึ่งวัน พอแห้งใช้ลูกกลิ้ง  ๆ สลับไปมาให้แบน
  7. แพคใส่ถุงสุญญากาศ เก็บไว้ได้ 3 เดือน  รสชาติไม่เปลี่ยนแปลง

เทคนิคการทอดปลาดุกร้า

  1. เน้นไฟอ่อนๆ
  2. น้ำมันท่วมตัวปลา
  3. เวลาทอดให้พลิกตัวปลากลับไปกลับมา 30 วินาทีต่อครั้ง จนปลาสุก

วิธีทอดไม่ให้ปลาติดกระทะ      คลุกปลากับไข่ (ตีไข่ให้เข้ากัน)

การทำปุ๋ยหมัก

ส่วนผสม

  1. สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 1 ซอง ทำน้ำหมักได้ 20 ลิตร
  2. ผัก หรือผลไม้ 40 กก.  หรือหัวหลา 30 ก.ก.+ผัก ผลไม้ 10 กก.
  3. กากน้ำตาล 10 ก.ก. และน้ำ  10  ลิตร

วิธีทำ

  1. นำน้ำและการน้ำตาลผสมกัน
  2. ใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.21  คนให้เข้ากัน แล้วใส่ผักผลไม้ลงไป
  3. ปิดฝาทิ้งไว้ 3 สัปดาห์

การใช้ปุ๋ยหมัก (ปุ๋ยน้ำ)

  • เอากากออกก่อน แล้วผสมน้ำใช้ได้เลย โดยมีอัตราการใช้คือ  สำหรับรดผัก ผสมน้ำปุ๋ยหมัก  4 ช้อนโต๊ะ / น้ำ 20 ลิตร และสำหรับไม้ผล ใช้ 1:500 3 -5 วันฉีดเรื่อย ๆ เพื่อบำรุง
  • ถ้าน้ำในบ่อมีกลิ่น สามารถใช้ พด. 6  ในการบำบัดน้ำได้
  • คติการใช้ปุ๋ย “ ขี้หมูกินหัว  ขี้วัวกินใบ  ขี้ไก่กินลูก”

การทำไข่เค็ม

  • ไข่ 100 ฟอง / น้ำ  6 กก. / เกลือ  6 ถุง (ไอโอดีนปรุงทิพย์)
  • ต้มน้ำให้เกลือละลาย ทิ้งไว้ให้เย็น
  • ใส่ไข่ หาอุปกรณ์ทับไว้ไม่ให่ไข่ลอยืปิดฝาแช่ทิ้งไว้  10 วัน

หลักการเกษตรทฤษฎีสมัยใหม่  ไว้บริโภค        แบ่งปัน        ส่วนที่เหลือซื้อวัตถุดิบ

หลักการทำงานที่ประสบความสำเร็จ

  1. ต้องประชุมก่อนทำงาน ถ้าไม่ประชุม ไม่ทำ/จบงาน ทุกครั้งต้องประชุม
  2. ไม่ถือเงิน ถ้าเงินเหลือนำฝาก
  3. การทำงานทุกอย่างโปร่งใส บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง  2 เงื่อนไข

3 ห่วงคือ

  1. ความมีเหตุผล
  2. รู้จักพอประมาณ การใช้จ่ายสมฐานะ
  3. มีภูมิคุ้มกันที่ดี การรักษาสุขภาพ ออกกำลังกาย

2 เงื่อนไข

  1. การศึกษาตลอดเวลา นำความรู้มาพัฒนางาน
  2. การมีคุณธรรมกำกับการดำเนินชีวิต

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  • ขี้นพื้นฐาน  4 ขั้น
  1. ขั้นพอกิน
  2. ขั้นพอใช้ สร้างสิ่งที่ต้องใช้ให้พอ
  3. ขั้นพออยู่ อยู่ให้สมฐานะ
  4. พอร่มเย็น  ไม่มีหนี้สิน
  • ขั้นก้าวหน้า  5  ขั้น
  1. ขั้นทำบุญ คือการอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับ
  2. ขั้นทำทาน การให้ความรู้แก่ผู้อื่น , การให้อภัย
  3. ขั้นเก็บรักษาทรัพย์  ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติให้ยั่งยืน มี 5 อย่าง
  • การฝังดิน  คือปลูกให้มาก
  • ให้เขากู้  ส่งให้ลูกเรียนหนังสือ
  • ฝากธนาคาร การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ , ภาษีสังคม
  • ใช้หนี้เก่า  เลี้ยงดูตอบแทนพ่อแม่
  • ทิ้งลงเหว  การรู้จักบริโภค  การทำบัญชีครัวเรือน จ่ายอย่างประหยัด กินให้มีประโยชน์

4.ขั้นขายทรัพย์  ผลิตเพื่อกินแล้วก็ขาย เพื่อดำรงชีวิต การขายของให้พิจารณาที่ทุนเป็นสำคัญ อย่าเอากำไรให้มาก ให้ผู้ซื้อมีความสุข

5.ขั้นรวยทรัพย์  รวยการเงิน รวยน้ำใจ การมีเมตตา  ความเอื้ออาทร  การช่วยเหลือกัน

หลักการทรงงานของในหลวง

  1. หลักคิด เป็นนักประชาธิบไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น  รู้จักฟังคำคิดเห็น
  2. หลักวิชา
  3. หลักปฏิบัติ

หลักการทำงานของปราชญ์  เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช คือ ลดละการใช้สารเคมี

ความสุข 8 ประการ

  1. ความสุขทางร่างกาย (happy body) ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ หลีกเลี่ยงของแสลง ใช้หลักกินน้อย โรคน้อย ตายยาก กินมาก ตายง่าย
  2. หัวใจเป็นสุข (happy heart)    ใจเย็นไม่รุ่มร้อน
  3. สมองเป็นสุข (happy brain)
  4. สังคมหรือกลุ่มเป็นสุข (happy socialty)    ไม่อิจฉาริษยา  มองคนในแง่ดี
  5. ผ่อนคลายเป็นสุข (happy relaxtion)  ไม่เครียด
  6. วิญญาณเป็นสุข (happy soul)
  7. เงินเป็นสุข (happy money)  มีพอประมาณ สมฐานะ มีจ่ายได้
  8. ครอบครัวเป็นสุข (happy family) มีความเข้าใจ ให้เกียรติ

คติเตือนใจในการทำงานให้เป็นสุข

  • “ จงทำงานเสมือนว่าเราจะตายในวันพรุ่งนี้ แต่จงเรียนรู้หมั่นศึกษาเสมือนว่าเราไม่มีวันตาย”
  • “ การทำงานอย่าผัดวันประกันพรุ่ง”
  • “อย่าถามว่าประเทศชาติให้อะไรแก่เราบ้าง แต่จงถามว่าเราให้อะไรแก่ประเทศชาติบ้าง”

ผลผสรุปของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญา 7 ด้าน

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความกระตือรือร้นในการที่ไปได้ความรู้เพิ่มเติม
  2. สามารนำแบบอย่างที่ได้ไปศึกษาดูงานมาปรับในการปฏิบัติของครอบครัวในชุมชน
  3. ได้หลักแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของชุมชนให้มีความพอเพียง
  4. เกิดความรักความสามัคคีภายในกลุ่มคณะ
  5. บุคคลที่เดินทางไปสามารถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญร่วมบรรยาย

กิจกรรมที่ทำจริง

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน 2558

  • ช่วงเช้า อบรมหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง
  • ช่วงบ่าย อบรมหลักสูตรชุมชนพึ่งตนเอง

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2558

  • ช่วงเช้า อบรมศึกษาดูงานการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสำเร็จ
  • ช่วงเย็น อบรมดูงานการทำเกษตรแบบผสมผสาน

 

268 40

37. สรุปและประเมินผลโครงการ ชี้แจงผลการดำเนินโครงการให้คนในชุมชนรับทราบ (กิจกรรมที่ 9)

วันที่ 24 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชุมชี้แจงให้ที่ประชุมรับทราบการปิดกิจกรรมของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลจากการประชุม โดยคุณกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการได้สรุปการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา มีดังนี้

สรุปประเมินผลโครงการโดยคณะทำงาน โครงการสร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ ม.1 ต.บางวัน อ.คุระบุรี จ.พังงา

  • ชุมชนบ้านบางวันเป็นชุมชนเล็กๆมีประชากรอาศัยอยู่ในปัจจุบัน620 คน แยกเป็น ผู้หญิง 315 คน ผู้ชาย 305 คน มีพื้นที่ 2,890 ไร่ ด้านทิศตะวันออกจดอุทยานแห่งชาติศรีพังงา ทิศตะวันตกจดป่าชายเลนและคลองบางวันที่ไหลออกไปสู่ทะเลอันดามัน ทิศเหนือจดพื้นที่หมู่บ้านโค้งศรราม ทิศใต้จดกับอำเภอตะกั่วป่า มีถนนเพชรเกษมตามแนวเหนือใต้ ประชาชนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นเกษตกร โดยมีอาชีพปลูกยางพาราอย่างเดียวประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างเดียว 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีงานเกินสองอย่างคือ ปลูกยาง , ปลูกปาล์มน้ำมัน , ปลูกผัก , ทำเรือประมง หรืออาชีพอื่น ๆ ด้วยประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เมื่อผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำหรือราคาถูก ก็จะทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาทางเศรษฐกิจมาก ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต คุณภาพการศึกษาของเยาวชนในหมู่บ้าน รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ที่ทำให้บางครอบครัวอ้างภาวะเศรษฐกิจ ไม่สามารถมีเวลาที่จะทำเพื่อส่วนรวมได้รวมถึงข้ออ้างไม่มีเวลาให้กับบุตรหลานมาก เพราะต้องทำงานหาเงิน มีผลทำให้เด็กจำนวนหนึ่งขาดความอบอุ่น ขาดการเอาใจใส่จากครอบครัว หันไปหาเพื่อน ติดเพื่อน ติดเกมส์ จนบางกลุ่มนำไปสู่การติดยาเสพติด
  • สภาพเศรษฐกิจที่ไร้ความหวังนำไปสู่ความหวังลมๆ แล้งๆ กับการพนัน หรือหวยเบอร์ ทำให้บางครอบครัวยิ่งประสบปัญหาหนักขึ้นไปอีก จนบางครอบครัวถึงกับบ้านแตก ครอบครัวแตกแยก
  • แต่ขณะเดียวกันในหมู่บ้านชุมชน ยังมีศาสนา ภูมิปัญญาดั้งเดิม มีประเพณีวัฒนธรรมมีบุคคลอันเป็นต้นแบบด้านต่าง ๆ และผู้นำที่มีความเป็นธรรม เป็นเครื่องร้อยรัดให้ชุมชนได้อยู่กันอย่างผาสุขในระดับหนึ่ง
  • ทางคณะทำงานได้เรียนเชิญคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำในชุมชน ร่วมปรึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาในหมู่บ้าน ได้ข้อสรุปตรงกันว่า หากเราจะสร้างสังคมของเราให้มีความสุขอย่างยั่งยืนได้ต้องเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัว ลงไปถึงบุคลากรในครอบครัว ที่จะต้องมีการพัฒนา มีการปรับทัศนคติ ความเชื่อ ให้เป็นธรรมมาทิฐิโดยสถาบันครอบครัวจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกันประคับประคอง ปลูกฝัง พัฒนา บุคลกรในครัวเรือนเพื่อให้ง่ายต่อการทำงานและติดตามประเมินผล คณะทำงานได้ร่วมกับชุมชนแบ่งหมู่บ้านบางวันออกเป็น 4 โซน มีคณะกรรมการโซน บริหารจัดการภายในโซนของตนเอง โดยมีการระดมสมองกำหนดกิจกรรมต่างๆ เช่น กีฬาสานสัมพันธ์ หรือการรณรงค์ต่อต้านเหล้า บุหรี่ และเก็บข้อมูลเพื่อค้นหาปัญหาและศักยภาพของชุมชน จะค้นหาครอบครัวและบุคคลต้นแบบด้านต่างๆ ในโซน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้บุคคลต้นแบบด้านต่างๆ ได้เป็นครู ได้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน เมื่อได้บุคคลต้นแบบมาแล้ว ก็มีการพัฒนาต่อยอดบุคคลต้นแบบ โดยการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปศึกษาดูงาน รับฟังการบรรยายจากปราชญ์ชุมชน ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านชุมชนพึ่งตนเอง ด้านการปลูกพืชแบบผสมผสาน ที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดตรัง โดยระหว่างการเดินทางไปก็มีการระดมสมอง ถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา กำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ของการไปศึกษาดูงาน และเมื่อไปศึกษาดูงานทุกคนก็ตั้งใจกันมากที่จะหาความรู้และซักถามข้อสงสัย เมื่อวันเดินทางกลับจากการใช้เวทีบนรถประชุมระดับผู้นำ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน เคยไปศึกษาดูงานมาก่อน ถึงภาคอีสานถึงประเทศลาว ก็ยืนยันว่าครั้งนี้เป็นการดูงานที่คุ้มค่าได้ประโยชน์มากที่สุดเท่าที่เคยได้ไปมา เมื่อมีการวิเคราะห์ไว้ทำไมที่บ้านโงกน้ำที่ไปดูงานกัน จากเดิมเป็นชุมชนที่ชาวบ้านยากจน มีโจรขโมย การพนัน และอาชญากรรม กลายเป็นหมู่บ้านพึ่งตนเอง ชุมชนเข้มแข็ง มีสวัสดิการชุนชน ทุกครัวเรือนมีอาชีพ ทุกคนมีเงินออม ครัวเรือนมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ ได้ข้อสรุปว่า
  1. ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและชุมชน
  2. มีผู้นำตามธรรมชาติ (ครูเกษียณ) ที่มีวิสัยทัศน์ มีอุดมการณ์ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ นำไปสู่การให้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
  3. ความโปร่งใสในการทำงาน การมีการเปิดเผยในทุกระดับ และผลประโยชน์ที่ได้รับ การจัดสรรอย่างเป็นธรรม
  4. ระบบประชาธิปไตยที่มีเริ่มต้นลงมือทำเองได้ในชุมชนจะต้องผ่านมติเสียงส่วนใหญ่ สร้างกติกาที่ทุกคนมีส่วนร่วม ทำความเข้าใจกับเสียงส่วนน้อย ประชุมชี้แจงการทำงานเป็นระยะจนถึงขั้นตอนสรุปประเมินผล
  5. ความใกล้ชิดสนิทสนมที่ชุมชนมีให้กัน โดยการไปดูงานด้วยกัน ไปเที่ยว ไปสังสรรค์ด้วยกัน
  • ในการประชุมสรุปโครงการในหมู่บ้าน ทุกภาคส่วนเห็นว่าแม้จะปิดโครงการไปแล้ว สิ่งที่ชุมชนจะต้องดำเนินการต่อเนื่อง คือ
  1. กิจกรรมสานสัมพันธ์พ่อแม่ลูกในครัวเรือน และ ครัวเรือนต่อครัวเรือนในโซนต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมกีฬาของหมู่บ้าน
  2. กิจกรรมศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละโซน
  3. กิจกรรมบุคคลต้นแบบที่จะต้องมีการพัฒนาต่อยอด ให้ชุมชนและนักเรียนเข้าไปศึกษาหาความรู้
  4. กิจกรรมบ่มเพาะต้นกล้ามนุษย์ สร้างคนดีที่มีความกตัญญูต่อผู้ที่มีพระคุณ 8 ด้าน โดยทำดีตอบแทนในแต่ละด้าน และการสอนธรรมะในโรงเรียน
  5. กองทุนเงินออมกลุ่มสัจจะของชุมชน
  6. จัดกิจกรรมวันแม่ วันพ่อ ในชุมชน รวมทั้งนิทรรศการของโซนต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
  7. การประชุมทุกเดือนเพื่อสรุปประเมินผลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน คณะทำงานและชุมชนเห็นว่า งบประมาณของ สสส. มีประโยชน์ต่อชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ชุมชนได้สร้างโอกาส มีมุมมองและทัศคติใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความอยู่ดีมีสุขของชุมชน และอนาคตที่สดใสอย่างยั่งยืนของเยาวชน ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดประชุมตัวแทนครัวเรือนเพื่อให้รับทราบถึงการปิดกิจกรรมโครงการที่ผ่านมา เพื่อสรุุปกิจกรรมที่ดำเนินการมาตั้งแต่เริ่มกิจกรรมจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มประชุม เวลา 16.00 น.ณ ศาลาประชุมหมู่บ้าน
  • คณะกรรมการในแต่ละตำแหน่งสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาให้ทุกคนได้รับทราบ

 

226 60

38. ประชุมคณะกรรมการ/กรอกรายงาน/รูปภาพลงเวบไซต์ (กิจกรรมที่ 9)

วันที่ 28 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00-15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุปกิจกรรมและจัดทำรายงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จัดทำรายงานกิจกรรมทั้งหมดลงในเวบไซต์
  • จัดส่งรูปถ่ายกิจกรรม
  • สรุปค่าใช้จ่ายรายรับรายจ่าย
  • สรุปหลักฐานการเงินให้ครบถ้วนสมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะกรรมการเพื่อสรุปโครงการ
  • จัดทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นัดประชุมเวลา 16.00 น.
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกฤษ ศรีฟ้า กล่าววาระการประชุม
  • ประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมโครงการสร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ ม.1
  • จัดทำรายละเอียดนำเข้าโปรแกรมและจัดพิมพ์รูปเล่ม

 

12 12

39. จัดทำรายงานปิดโครงการ

วันที่ 2 กรกฎาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงิน
  • เพื่อจัดทำรายงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • รายงานการเงินโครงการได้รับการตรวจสอบ และแก้ไขให้มีความถูกต้อง
  • รายงานผลการดำเนินงานโครงการได้รับกการตรวจสอบ ปรับแก้ เพิ่มเติมข้อมูลจนมีความสมบูรณ์
  • สามารถจัดทำรายงาน ง1 งวด 2 และ ง2 ได้เสร็จ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำรายงาน
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน
  • พี่เลี้ยงตรวจรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 65 66                    
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,931.00 194,231.00                  
คุณภาพกิจกรรม 264 229                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายกฤษ ศรีฟ้า
ผู้รับผิดชอบโครงการ