แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 3

ชื่อโครงการ สร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ

ชุมชน บ้านบางวัน หมู่ 1 ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

รหัสโครงการ 57-01511 เลขที่ข้อตกลง 57-00-1071

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2014 ถึง 31 กรกฎาคม 2015

รายงานงวดที่ : 3 จากเดือน พฤษภาคม 2015 ถึงเดือน กรกฎาคม 2015

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมเพื่อวางแผนกิจกรรมที่จะทำต่อไป (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 21 พฤษภาคม 2015 เวลา 16:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดเตรียมการดำเนินกิจกรรมในการสัมมนาภูมิปัญญา 7 ด้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปของกิจกรรม นายกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการเสนอวาระการประชุม

  • ที่ประชุมกำหนดให้แบ่ง การประชุมสัมมนา ภูมิปัญญา 7 ด้าน 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1

  1. ด้านลดรายจ่ายจากอบายมุข
  2. การเพิ่มรายได้ครัวเรือน
  3. การอดออม

กลุ่มที่ 2

  1. การนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต
  2. ด้านความกตัญญูรู้คุณ

กลุ่มที่ 3

  1. การสร้างความรัก ความอบอุ่นในครัวเรือน
  2. ด้านการดูแลรักษาสุขภาพ
  • เนื่องจากวันที่ 1 มิถุนายน 2558 เป็นวันวิสาขบูชา กิจกรรมที่ทางคณะกรรมการวางแผนไว้ คือ การเดินรณรรงค์ลด ละเลิกเหล้าบุหรี่ นั้นแต่ด้วยวันที่ 6 มิถุนายน 2558 ทางวัดบางวันจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคีขึ้น ซึ่งมีผู้คนมาจำนวนมาก จึงขอให้ทางคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนไปจัดในวันดังกล่าวที่ประชุมเห็นชอบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเตรียมความพร้อมแบ่งหน้าที่ในการสัมมนา

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มประชุม เวลา 16.00 น.
  • พิจารณาภูมิปัญญา 7 ด้าน ว่ามีอะไรบ้าง
  • พิจารณากิจกรรมเตรียมงานวันรณรงค์ลด ละ เลิก เหล้าบุหรี่

 

15 10

2. จัดประชุมประจำเดือน เพื่อเตรียมความพร้อมกิจกรรมรณรงค์ (กิจกรรมที่ 2)

วันที่ 1 มิถุนายน 2015 เวลา 16:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดเตรียมการดำเนินกิจกรรมในการเดินรณรงค์ลด ละ เลิกเหล้าและบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ในการจัดกิจกรรมเดินรณรงค์ ซึ่งกำหนดไว้ในวันวิสาขะบูชา สรุปว่าให้จัดให้มีการเดินรณรงค์ ในวันที่ 6 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นวันทอดผ้าป่าสามัคคีที่วัดบางวัน ที่จะมีผู้มาร่วมกิจกรรมจำนวนมาก โดยนักเรียนและคณะครู รร.บางวัน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการ ตัวแทนโซน และประชาชน โดยเคลื่อนขบวนไปสมทบกับประชาชนที่วัดบางวัน
  • ให้ทางคุณเมทนี สุขศรีนวล ประสานกับตัวแทนโซนเป็นจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์
  • ให้คุณยงยุทธ โดยดี ได้ประสานกับทาง รร.บ้านบางวัน
  • สรุปกำหนดการ เวลา 08.00 น.ทุกขบวนเดินทางไปพบกัน ณ ปากทางเข้าหมู่บ้าน และเริ่มเดินรอบหมู่บ้านจนถึงบริเวณวัดบางวัน
  • เดินรอบโบสถ์ และร่วมทอดผ้าป่าสามัคคีร่วมกัน
  • รับประทานอาหาร เป็นอันเสร็จสิ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดประชุมคณะกรรมการโครงการตามที่กำหนดไว้

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มประชุม เวลา 16.00 น. โดยคณะกรรมการเสนอวาระในการประชุม

 

15 14

3. จัดกิจกรรมรณรงค์ ลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ (กิจกรรมที่ 8)

วันที่ 6 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00-12.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัวในชุมชนตระหนักถึงการลดละเลิกเหล้าและบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เวลา 08.00 น. คณะคุณครูและนักเรียน รร.บ้านบางวัน ได้เดินทางมาจุดนัดพบที่บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้าน พร้อมคณะของชุมชนทั้ง 4 โซน พร้อมแผ่นป้ายรรรงค์เลิกเหล้าและบุหรี่
  • เวลา 08.30 น. คุณกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม พร้อมปล่อยขบวนการเดินรรณรงค์เข้าสู่ซอยหมู่บ้านบางวัน และเลี้ยวขบวนเข้าสู่บริเวณวัดบางวัน ซึ่งกำลังมีการจัดงานถวายผ้าป่าสามัคคี
  • เวลา 09.00 น. คณะเดินรณรงค์ทั้งหมดได้เข้าสู่บริเวณวัดบางวัน และประชาสัมพันธ์ผ่านทางเครื่องขยายเสียงของวัด ถึงกิจกรรมการรรณรงค์ในครั้งนี้ พร้อมกับกล่าวถึงพิษภัยของเหล้าและบุหรี่ให้กับทุกคนที่อยู่ในบริเวณจัดงานผ้าป่าสามัคคีทั้งหมด ซึ่งทำให้ผู้คนที่มาร่วมงานและนักเรียนและผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก ทำให้เกิดแนวร่วมในการที่จะช่วยกันลด ละ เลิกเหล้าและบุหรี่ ภายในชุมชน ซึ่งเป็นนิมิตรที่ดีขึ้น

โดยสรุปในการทำกิจกรรมครั้งนี้

  1. เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเดินรณรงค์ได้มีส่วนร่วมในเป้าหมายในครั้งนี้
  2. ชาวบ้านในชุมชนที่พบเห็นได้ตระหนักถึง การรณรงค์ในครั้งนี้
  3. เกิดความรักความสามัคคีของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  4. เป็นกระตุ้นเตือนให้พิษภัยของเหล้าและบุหรี่
  5. เป็นสิ่งเตือนใจของผู้ปกครองเด็กนักเรียนที่ได้พบเห็นบุตรของตนเองเดินรณรงค์
  6. แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของคนในชุมชนที่จะช่วยกันทำสิ่งดีๆ ภายในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ในวันวิสาขะบูชาตรงกับวันที่ 1 มิถุนายน 2558 แต่คณะกรรมการต้องการให้จัดวันที่ 6 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นวัดทอดผ้าป่าสามัคคี จะได้มีคนมาร่วมจำนวนมาก

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวลา 08.00 น.ขบวนประกอบด้วยครูและนักเรียน รร.บ้านบางวัน เดินออกจาก รร.ไปตามซอย และคณะของชุมชนรอพบกันที่บริเวณปากทางชุมชน
  • เวลา 08.30 น. ทั้งสองขบวนเดินทางตามซอยในชุมชน
  • เวลา 09.00 น. เดินทางเข้าสู่วัดบางวัน โดยมีคนในวัดได้ร่วมกันเดินรณรงค์รอบโบสถ์วัดบางวัน โดยมีการประชาสัมพันธ์ผ่านเครื่องเสียงของวัด
  • เวลา 10.00 น. ทั้งหมดได้ร่วมกันทอดผ้าป่าสามัคคคี

 

103 135

4. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (กิจกรรมที่ 6)

วันที่ 13 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00-15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้บุคคลต้นแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นใน 7 ด้าน 3 กลุ่ม คือ ได้รับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปกิจกรรม มีดังนี้

  • ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์บ้านโงกน้ำ หมู่ 8  ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

จุดแข็งบ้านโงกน้ำ

  • ทำนา ทำสวน ปลูกผักกินเอง
  • ทำนากินเอง
  • มีงานทำอย่างน้อย 4 อาชีพ ทุกครัวเรือน
  • มีเงินฝากทุกคนทุกครัวเรือน

ชุมชนบ้านโงกน้ำชาวบ้านสวนใหญ่จะเน้นทำเกษตรและการเลี้ยงปลาดุกซึ่งเลี้ยงในบ่อดิน สามารถจับขายได้หลายตันและมีการแปลรูปของปลาดุก โดยการสาธิตการทำปลาดุกร้าเพื่อเพิ่มยอดขาย ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้

ส่วนผสม

  1. ปลาดุก 5 ก.ก. การเลือกซื้อปลาดุกที่มีขนาดใหญ่เกินไปไม่ได้ เพราะจะทำให้เนื้อแข็ง ควรเลือกขนาด 6-8 ตัวต่อกิโลอายุปลาไม่เกิน  4  เดือน และต้องเป็นปลาที่เลี้ยงในบ่อดิน
  2. เกลือ 2 ขีด
  3. เกลือ 2 ขีด
  4. น้ำตาลทายแดง 5 ขีด

วิธีทำ

  1. ทำให้ปลาตายเสียก่อน โดยนำปลาใส่ในกระสอบและเกลือ 1 ถุง ปิดปากถุงไว้รอจนปลาตาย
  2. ตัดหัวปลาให้คางติดอยู่กับตัวปลา ส่วนหัวปลาสามารถนำไปทำปุ๋ยได้
  3. ล้างปลาจนเมือกจากตัวปลาหมด
  4. นำปลาใส่ภาชนะพักไว้ 12 ชั่วโมง
  5. นำเกลือและน้ำทรายแดงผสมกันแล้วใส่ในท้องปลา เรียงปลาให้เรียบร้อยในภาชนะที่มีฝาปิด น้ำตาลที่เหลือโรยให้ทั่วตัวปลา ปิดปาทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง
  6. แล้วนำปลาไปตากแดด 6 วัน กลับปลาทุกครึ่งวัน พอแห้งใช้ลูกกลิ้ง  ๆ สลับไปมาให้แบน
  7. แพคใส่ถุงสุญญากาศ เก็บไว้ได้ 3 เดือน  รสชาติไม่เปลี่ยนแปลง

เทคนิคการทอดปลาดุกร้า

  1. เน้นไฟอ่อนๆ
  2. น้ำมันท่วมตัวปลา
  3. เวลาทอดให้พลิกตัวปลากลับไปกลับมา 30 วินาทีต่อครั้ง จนปลาสุก

วิธีทอดไม่ให้ปลาติดกระทะ      คลุกปลากับไข่ (ตีไข่ให้เข้ากัน)

การทำปุ๋ยหมัก

ส่วนผสม

  1. สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 1 ซอง ทำน้ำหมักได้ 20 ลิตร
  2. ผัก หรือผลไม้ 40 กก.  หรือหัวหลา 30 ก.ก.+ผัก ผลไม้ 10 กก.
  3. กากน้ำตาล 10 ก.ก. และน้ำ  10  ลิตร

วิธีทำ

  1. นำน้ำและการน้ำตาลผสมกัน
  2. ใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.21  คนให้เข้ากัน แล้วใส่ผักผลไม้ลงไป
  3. ปิดฝาทิ้งไว้ 3 สัปดาห์

การใช้ปุ๋ยหมัก (ปุ๋ยน้ำ)

  • เอากากออกก่อน แล้วผสมน้ำใช้ได้เลย โดยมีอัตราการใช้คือ  สำหรับรดผัก ผสมน้ำปุ๋ยหมัก  4 ช้อนโต๊ะ / น้ำ 20 ลิตร และสำหรับไม้ผล ใช้ 1:500 3 -5 วันฉีดเรื่อย ๆ เพื่อบำรุง
  • ถ้าน้ำในบ่อมีกลิ่น สามารถใช้ พด. 6  ในการบำบัดน้ำได้
  • คติการใช้ปุ๋ย “ ขี้หมูกินหัว  ขี้วัวกินใบ  ขี้ไก่กินลูก”

การทำไข่เค็ม

  • ไข่ 100 ฟอง / น้ำ  6 กก. / เกลือ  6 ถุง (ไอโอดีนปรุงทิพย์)
  • ต้มน้ำให้เกลือละลาย ทิ้งไว้ให้เย็น
  • ใส่ไข่ หาอุปกรณ์ทับไว้ไม่ให่ไข่ลอยืปิดฝาแช่ทิ้งไว้  10 วัน

หลักการเกษตรทฤษฎีสมัยใหม่  ไว้บริโภค        แบ่งปัน        ส่วนที่เหลือซื้อวัตถุดิบ

หลักการทำงานที่ประสบความสำเร็จ

  1. ต้องประชุมก่อนทำงาน ถ้าไม่ประชุม ไม่ทำ/จบงาน ทุกครั้งต้องประชุม
  2. ไม่ถือเงิน ถ้าเงินเหลือนำฝาก
  3. การทำงานทุกอย่างโปร่งใส บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง  2 เงื่อนไข

3 ห่วงคือ

  1. ความมีเหตุผล
  2. รู้จักพอประมาณ การใช้จ่ายสมฐานะ
  3. มีภูมิคุ้มกันที่ดี การรักษาสุขภาพ ออกกำลังกาย

2 เงื่อนไข

  1. การศึกษาตลอดเวลา นำความรู้มาพัฒนางาน
  2. การมีคุณธรรมกำกับการดำเนินชีวิต

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  • ขี้นพื้นฐาน  4 ขั้น
  1. ขั้นพอกิน
  2. ขั้นพอใช้ สร้างสิ่งที่ต้องใช้ให้พอ
  3. ขั้นพออยู่ อยู่ให้สมฐานะ
  4. พอร่มเย็น  ไม่มีหนี้สิน
  • ขั้นก้าวหน้า  5  ขั้น
  1. ขั้นทำบุญ คือการอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับ
  2. ขั้นทำทาน การให้ความรู้แก่ผู้อื่น , การให้อภัย
  3. ขั้นเก็บรักษาทรัพย์  ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติให้ยั่งยืน มี 5 อย่าง
  • การฝังดิน  คือปลูกให้มาก
  • ให้เขากู้  ส่งให้ลูกเรียนหนังสือ
  • ฝากธนาคาร การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ , ภาษีสังคม
  • ใช้หนี้เก่า  เลี้ยงดูตอบแทนพ่อแม่
  • ทิ้งลงเหว  การรู้จักบริโภค  การทำบัญชีครัวเรือน จ่ายอย่างประหยัด กินให้มีประโยชน์

4.ขั้นขายทรัพย์  ผลิตเพื่อกินแล้วก็ขาย เพื่อดำรงชีวิต การขายของให้พิจารณาที่ทุนเป็นสำคัญ อย่าเอากำไรให้มาก ให้ผู้ซื้อมีความสุข

5.ขั้นรวยทรัพย์  รวยการเงิน รวยน้ำใจ การมีเมตตา  ความเอื้ออาทร  การช่วยเหลือกัน

หลักการทรงงานของในหลวง

  1. หลักคิด เป็นนักประชาธิบไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น  รู้จักฟังคำคิดเห็น
  2. หลักวิชา
  3. หลักปฏิบัติ

หลักการทำงานของปราชญ์  เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช คือ ลดละการใช้สารเคมี

ความสุข 8 ประการ

  1. ความสุขทางร่างกาย (happy body) ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ หลีกเลี่ยงของแสลง ใช้หลักกินน้อย โรคน้อย ตายยาก กินมาก ตายง่าย
  2. หัวใจเป็นสุข (happy heart)    ใจเย็นไม่รุ่มร้อน
  3. สมองเป็นสุข (happy brain)
  4. สังคมหรือกลุ่มเป็นสุข (happy socialty)    ไม่อิจฉาริษยา  มองคนในแง่ดี
  5. ผ่อนคลายเป็นสุข (happy relaxtion)  ไม่เครียด
  6. วิญญาณเป็นสุข (happy soul)
  7. เงินเป็นสุข (happy money)  มีพอประมาณ สมฐานะ มีจ่ายได้
  8. ครอบครัวเป็นสุข (happy family) มีความเข้าใจ ให้เกียรติ

คติเตือนใจในการทำงานให้เป็นสุข

  • “ จงทำงานเสมือนว่าเราจะตายในวันพรุ่งนี้ แต่จงเรียนรู้หมั่นศึกษาเสมือนว่าเราไม่มีวันตาย”
  • “ การทำงานอย่าผัดวันประกันพรุ่ง”
  • “อย่าถามว่าประเทศชาติให้อะไรแก่เราบ้าง แต่จงถามว่าเราให้อะไรแก่ประเทศชาติบ้าง”

ผลผสรุปของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญา 7 ด้าน

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความกระตือรือร้นในการที่ไปได้ความรู้เพิ่มเติม
  2. สามารนำแบบอย่างที่ได้ไปศึกษาดูงานมาปรับในการปฏิบัติของครอบครัวในชุมชน
  3. ได้หลักแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของชุมชนให้มีความพอเพียง
  4. เกิดความรักความสามัคคีภายในกลุ่มคณะ
  5. บุคคลที่เดินทางไปสามารถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญร่วมบรรยาย

กิจกรรมที่ทำจริง

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน 2558

  • ช่วงเช้า อบรมหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง
  • ช่วงบ่าย อบรมหลักสูตรชุมชนพึ่งตนเอง

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2558

  • ช่วงเช้า อบรมศึกษาดูงานการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสำเร็จ
  • ช่วงเย็น อบรมดูงานการทำเกษตรแบบผสมผสาน

 

268 40

5. สรุปและประเมินผลโครงการ ชี้แจงผลการดำเนินโครงการให้คนในชุมชนรับทราบ (กิจกรรมที่ 9)

วันที่ 24 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชุมชี้แจงให้ที่ประชุมรับทราบการปิดกิจกรรมของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลจากการประชุม โดยคุณกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการได้สรุปการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา มีดังนี้

สรุปประเมินผลโครงการโดยคณะทำงาน โครงการสร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ ม.1 ต.บางวัน อ.คุระบุรี จ.พังงา

  • ชุมชนบ้านบางวันเป็นชุมชนเล็กๆมีประชากรอาศัยอยู่ในปัจจุบัน620 คน แยกเป็น ผู้หญิง 315 คน ผู้ชาย 305 คน มีพื้นที่ 2,890 ไร่ ด้านทิศตะวันออกจดอุทยานแห่งชาติศรีพังงา ทิศตะวันตกจดป่าชายเลนและคลองบางวันที่ไหลออกไปสู่ทะเลอันดามัน ทิศเหนือจดพื้นที่หมู่บ้านโค้งศรราม ทิศใต้จดกับอำเภอตะกั่วป่า มีถนนเพชรเกษมตามแนวเหนือใต้ ประชาชนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นเกษตกร โดยมีอาชีพปลูกยางพาราอย่างเดียวประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างเดียว 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีงานเกินสองอย่างคือ ปลูกยาง , ปลูกปาล์มน้ำมัน , ปลูกผัก , ทำเรือประมง หรืออาชีพอื่น ๆ ด้วยประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เมื่อผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำหรือราคาถูก ก็จะทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาทางเศรษฐกิจมาก ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต คุณภาพการศึกษาของเยาวชนในหมู่บ้าน รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ที่ทำให้บางครอบครัวอ้างภาวะเศรษฐกิจ ไม่สามารถมีเวลาที่จะทำเพื่อส่วนรวมได้รวมถึงข้ออ้างไม่มีเวลาให้กับบุตรหลานมาก เพราะต้องทำงานหาเงิน มีผลทำให้เด็กจำนวนหนึ่งขาดความอบอุ่น ขาดการเอาใจใส่จากครอบครัว หันไปหาเพื่อน ติดเพื่อน ติดเกมส์ จนบางกลุ่มนำไปสู่การติดยาเสพติด
  • สภาพเศรษฐกิจที่ไร้ความหวังนำไปสู่ความหวังลมๆ แล้งๆ กับการพนัน หรือหวยเบอร์ ทำให้บางครอบครัวยิ่งประสบปัญหาหนักขึ้นไปอีก จนบางครอบครัวถึงกับบ้านแตก ครอบครัวแตกแยก
  • แต่ขณะเดียวกันในหมู่บ้านชุมชน ยังมีศาสนา ภูมิปัญญาดั้งเดิม มีประเพณีวัฒนธรรมมีบุคคลอันเป็นต้นแบบด้านต่าง ๆ และผู้นำที่มีความเป็นธรรม เป็นเครื่องร้อยรัดให้ชุมชนได้อยู่กันอย่างผาสุขในระดับหนึ่ง
  • ทางคณะทำงานได้เรียนเชิญคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำในชุมชน ร่วมปรึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาในหมู่บ้าน ได้ข้อสรุปตรงกันว่า หากเราจะสร้างสังคมของเราให้มีความสุขอย่างยั่งยืนได้ต้องเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัว ลงไปถึงบุคลากรในครอบครัว ที่จะต้องมีการพัฒนา มีการปรับทัศนคติ ความเชื่อ ให้เป็นธรรมมาทิฐิโดยสถาบันครอบครัวจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกันประคับประคอง ปลูกฝัง พัฒนา บุคลกรในครัวเรือนเพื่อให้ง่ายต่อการทำงานและติดตามประเมินผล คณะทำงานได้ร่วมกับชุมชนแบ่งหมู่บ้านบางวันออกเป็น 4 โซน มีคณะกรรมการโซน บริหารจัดการภายในโซนของตนเอง โดยมีการระดมสมองกำหนดกิจกรรมต่างๆ เช่น กีฬาสานสัมพันธ์ หรือการรณรงค์ต่อต้านเหล้า บุหรี่ และเก็บข้อมูลเพื่อค้นหาปัญหาและศักยภาพของชุมชน จะค้นหาครอบครัวและบุคคลต้นแบบด้านต่างๆ ในโซน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้บุคคลต้นแบบด้านต่างๆ ได้เป็นครู ได้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน เมื่อได้บุคคลต้นแบบมาแล้ว ก็มีการพัฒนาต่อยอดบุคคลต้นแบบ โดยการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปศึกษาดูงาน รับฟังการบรรยายจากปราชญ์ชุมชน ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านชุมชนพึ่งตนเอง ด้านการปลูกพืชแบบผสมผสาน ที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดตรัง โดยระหว่างการเดินทางไปก็มีการระดมสมอง ถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา กำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ของการไปศึกษาดูงาน และเมื่อไปศึกษาดูงานทุกคนก็ตั้งใจกันมากที่จะหาความรู้และซักถามข้อสงสัย เมื่อวันเดินทางกลับจากการใช้เวทีบนรถประชุมระดับผู้นำ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน เคยไปศึกษาดูงานมาก่อน ถึงภาคอีสานถึงประเทศลาว ก็ยืนยันว่าครั้งนี้เป็นการดูงานที่คุ้มค่าได้ประโยชน์มากที่สุดเท่าที่เคยได้ไปมา เมื่อมีการวิเคราะห์ไว้ทำไมที่บ้านโงกน้ำที่ไปดูงานกัน จากเดิมเป็นชุมชนที่ชาวบ้านยากจน มีโจรขโมย การพนัน และอาชญากรรม กลายเป็นหมู่บ้านพึ่งตนเอง ชุมชนเข้มแข็ง มีสวัสดิการชุนชน ทุกครัวเรือนมีอาชีพ ทุกคนมีเงินออม ครัวเรือนมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ ได้ข้อสรุปว่า
  1. ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและชุมชน
  2. มีผู้นำตามธรรมชาติ (ครูเกษียณ) ที่มีวิสัยทัศน์ มีอุดมการณ์ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ นำไปสู่การให้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
  3. ความโปร่งใสในการทำงาน การมีการเปิดเผยในทุกระดับ และผลประโยชน์ที่ได้รับ การจัดสรรอย่างเป็นธรรม
  4. ระบบประชาธิปไตยที่มีเริ่มต้นลงมือทำเองได้ในชุมชนจะต้องผ่านมติเสียงส่วนใหญ่ สร้างกติกาที่ทุกคนมีส่วนร่วม ทำความเข้าใจกับเสียงส่วนน้อย ประชุมชี้แจงการทำงานเป็นระยะจนถึงขั้นตอนสรุปประเมินผล
  5. ความใกล้ชิดสนิทสนมที่ชุมชนมีให้กัน โดยการไปดูงานด้วยกัน ไปเที่ยว ไปสังสรรค์ด้วยกัน
  • ในการประชุมสรุปโครงการในหมู่บ้าน ทุกภาคส่วนเห็นว่าแม้จะปิดโครงการไปแล้ว สิ่งที่ชุมชนจะต้องดำเนินการต่อเนื่อง คือ
  1. กิจกรรมสานสัมพันธ์พ่อแม่ลูกในครัวเรือน และ ครัวเรือนต่อครัวเรือนในโซนต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมกีฬาของหมู่บ้าน
  2. กิจกรรมศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละโซน
  3. กิจกรรมบุคคลต้นแบบที่จะต้องมีการพัฒนาต่อยอด ให้ชุมชนและนักเรียนเข้าไปศึกษาหาความรู้
  4. กิจกรรมบ่มเพาะต้นกล้ามนุษย์ สร้างคนดีที่มีความกตัญญูต่อผู้ที่มีพระคุณ 8 ด้าน โดยทำดีตอบแทนในแต่ละด้าน และการสอนธรรมะในโรงเรียน
  5. กองทุนเงินออมกลุ่มสัจจะของชุมชน
  6. จัดกิจกรรมวันแม่ วันพ่อ ในชุมชน รวมทั้งนิทรรศการของโซนต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
  7. การประชุมทุกเดือนเพื่อสรุปประเมินผลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน คณะทำงานและชุมชนเห็นว่า งบประมาณของ สสส. มีประโยชน์ต่อชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ชุมชนได้สร้างโอกาส มีมุมมองและทัศคติใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความอยู่ดีมีสุขของชุมชน และอนาคตที่สดใสอย่างยั่งยืนของเยาวชน ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดประชุมตัวแทนครัวเรือนเพื่อให้รับทราบถึงการปิดกิจกรรมโครงการที่ผ่านมา เพื่อสรุุปกิจกรรมที่ดำเนินการมาตั้งแต่เริ่มกิจกรรมจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มประชุม เวลา 16.00 น.ณ ศาลาประชุมหมู่บ้าน
  • คณะกรรมการในแต่ละตำแหน่งสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาให้ทุกคนได้รับทราบ

 

226 60

6. ประชุมคณะกรรมการ/กรอกรายงาน/รูปภาพลงเวบไซต์ (กิจกรรมที่ 9)

วันที่ 28 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00-15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุปกิจกรรมและจัดทำรายงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จัดทำรายงานกิจกรรมทั้งหมดลงในเวบไซต์
  • จัดส่งรูปถ่ายกิจกรรม
  • สรุปค่าใช้จ่ายรายรับรายจ่าย
  • สรุปหลักฐานการเงินให้ครบถ้วนสมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะกรรมการเพื่อสรุปโครงการ
  • จัดทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นัดประชุมเวลา 16.00 น.
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกฤษ ศรีฟ้า กล่าววาระการประชุม
  • ประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมโครงการสร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ ม.1
  • จัดทำรายละเอียดนำเข้าโปรแกรมและจัดพิมพ์รูปเล่ม

 

12 12

7. จัดทำรายงานปิดโครงการ

วันที่ 2 กรกฎาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงิน
  • เพื่อจัดทำรายงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • รายงานการเงินโครงการได้รับการตรวจสอบ และแก้ไขให้มีความถูกต้อง
  • รายงานผลการดำเนินงานโครงการได้รับกการตรวจสอบ ปรับแก้ เพิ่มเติมข้อมูลจนมีความสมบูรณ์
  • สามารถจัดทำรายงาน ง1 งวด 2 และ ง2 ได้เสร็จ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำรายงาน
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน
  • พี่เลี้ยงตรวจรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 65 0                    
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,931.00 0.00                    
คุณภาพกิจกรรม 0                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายกฤษ ศรีฟ้า
ผู้รับผิดชอบโครงการ