directions_run

ชุมชนบ้านนครธรรม ต้นแบบนักจัดการขยะ นักจัดการสุขภาพ (ต่อเนื่อง)

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้เกิดชุมชนต้นแบบเรียนรู้ในการจัดการขยะด้วยสภาชุมชน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. สภาชุมชนไปผลักดันให้เกิดองค์กร หรือ เครือข่ายที่เป็นต้นแบบในการจัดการขยะได้แก่ โรงเรียน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง 2. สภาชุมชนทำให้้้ครัวเรือนที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายโครงการนำร่อง 40 ครัวเรือนเป็นต้นแบบในการเรียนรู้การจัดการขยะอย่างยั่งยืน 3. สภาชุมชนทำให้เกิดกระบวนการสร้างเครือข่ายการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ เชิงคุณภาพ 1.เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้ในการจัดการขยะแก่ชุมชนอื่น

 

 

1.1 มีสภาชุมชนที่ไปผลักดันโดยการสร้างกติการ่วมกันให้เกิดองค์กร หรือ เครือข่ายที่เป็นต้นแบบในการจัดการขยะได้แก่ โรงเรียน 1 แห่ง คือโรงเรียนบ้านศรีนคร วัด 1 แห่ง คือ วัดศรีนคร

1.2 เกิดสภาชุมชนขับเคลื่อนการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยมีการคัดแยกขยะก่อนนำมาบรจาคหรือขายต่อไป ทำให้ครัวเรือนที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายโครงการนำร่อง 40 ครัวเรือนเป็นต้นแบบในการเรียนรู้การจัดการขยะระดับครัวเรือนอย่างยั่งยืน

1.3 เกิดสภาชุมชนทำให้เกิดกระบวนการสร้างเครือข่ายการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ถูกหลักการจัดการขยะและการจัดเก็บขยะเพื่อนำไปขายต่อไป

เชิงคุณภาพ

1.1เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้ในการจัดการขยะตั้งอยู่ที่ รพ.สต.บ้านศรีนคร เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบแก่ชุมชนอื่น โดยชุมชนบ้านศรีนครเคยมาศึกษาดูงาน

2 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนบ้านนครธรรมเป็นต้นแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขภาพด้วยมาตราการจัดการขยะ
ตัวชี้วัด : 1. สภาพแวดล้อมของชุมชน สะอาด เรียบร้อย น่าอยู่อาศัย ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค เช่น แหล่งเพาะพันธุ์ยุง เป็นต้นทำให้เป็นต้นแบบของชุมชนอื่น 2. ประชาชนมีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการบริโภคอาหารที่เป็นพิษต่อสุขภาพลดลงร้อยละ 50 3. ประชาชนมีการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรวมถึงโรคอ้วนลดลง

 

 

  1. บ้านเรือนของชุมชนบ้านนครธรรม สถานที่สาธารณะและถนนสายหลักและสายรองสะอาดปราศจากขยะ
  2. ประชาชนที่มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกฮอล์และการบริโภคอาหารที่เป็นพิษต่อสุขภาพจากเดิม
    121 คน ลดลงเหลือ ุ67 คน คิดเป็นร้อยละ 55.37 โดยประเมินจากแบบสำรวจที่คณะทำงานลงไปสำรวจ
  3. อัตราการป่วยด้วยโรคความดัน โรคเบาหวาน และโรคอ้วนลดลงร้อย 10 โดยประเมินจากขอข้อมูลการตรวจสุขภาพผู้ป่วยโรคความดัน เบาหวาน จากรพ.สต.บ้านศรีนคร
3 เพื่อพัฒนาให้เกิดต้นแบบการเรียนรู้กลไกและการจัดสวัสดิการชุมชนจากธนาคารขยะด้วยความร่วมมือของอบต.คีรีเขต
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. มีประชาชนเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มสวัสดิการของธนาคารขยะ จำนวน 80 ครัวเรือน เชิงคุณภาพ 1. สภาชุมชนทำให้เกืดแนวทางต้นแบบการจัดการสวัสดิการต่างๆของธนาคารขยะ 2. อบต.คีรีเขตนำแนวทางกลไกการจัดการสวัสดิการชุมชนของธนาคารขยะไปประกาศเป็นนโยบายท้องถิ่นตลอดจนร่วมสมทบเงินสวัสดิการและสนับสนุนการจัดเป็นชุมชนต้นแบบในการเรียนรู้แก่ชุมชนอื่น

 

 

เชิงปริมาณ

  1. มีกลุ่มสวัสดิการของธนาคารขยะมีสมาชิกเข้าร่วมจำนวน 100 ครัวเรือน

เชิงคุณภาพ

  1. มีแนวทางการจัดสวัสดิการด้านต่างๆของธนาคารขยะที่เกิดจากสภาชุมชนฯ เช่น การให้ทุนการศึกษาแก่บุตรของผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมธนาคารขยะ ทุนละ 500 บาท จำนวน 10 ทุน ต่อปี
  2. อบต.คีรีเขตนำแนวทางกลไกการจัดการสวัสดิการชุมชนของธนาคารขยะไปประกาศเป็นนโยบายท้องถิ่น มีนโยบายการจัดการสวัสดิการชุมชนของธนาคารขยะของอบต.คีรีเขต ที่ประกาศให้ชุมชนนครธรรมรับทราบ เช่น นโยบายการตรวจสุขภาพฟรีแก่ประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมธนาคารขยะ จากเดิมตรวจสุขภาพประจำปีปีละ 1 ครั้ง เพิ่มเป็น 6 เดือนครั้ง
4 เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมิณผลโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับสสส.และสจรส.

 

 

1.จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับสสส.ไม่มี 2.จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับสจรส.จำนวน 5 ครั้ง โดยมีกิจกรรมที่เข้าร่วมดังนี้ 1.เสนอโครงการ 2. ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการ 3.ตรวจสอบรายงานงวด1 4.ถอดบทเรียน 5.ตรวจสอบรายงานงวดสุดท้ายพร้อมสรุปปิดโครงการ