แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 ประชาชนในชุมชนเทศบาลตำบลบ้านคอกช้างมีพฤติกรรมการจัดการขยะที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. ร้อยละ90 ของประชาชนเทศบาลตำบลบ้านคอกช้างที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ มีความเข้าใจ ในด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง 2. มีครัวเรือนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายโครงการนำร่อง ไม่น้อยกว่า 40 ครัวเรือน 3. ปริมาณขยะลดลง อย่างน้อย 200 กิโลกรัม/วัน 4. มีเครือข่ายเยาวชนตาสัปรด เฝ้าระวังการทิ้งขยะ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. ชุมชนหันมาเปลี่ยนพฤติกรรมและใส่ใจกับปัญหาขยะของชุมชนโดยรวมได้

 

 

  1. ประชาชนเข้าร่วมโครงการมีความรู้ มีความเข้าใจ ในด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง ร้อยละ 90
  2. จัดตั้งครัวเรือนต้นแบบ 40 ครัวเรือน
  3. ปริมาณขยะลดลง 200 กิโลกรัมต่อวัน
  4. เกิดเครือข่ายเด็กนักเรียนในโรงเรียนในการจัดการขยะ
2 เพื่อให้ประชาชนเทศบาลตำบลบ้านคอกช้างมีการจัดการขยะให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เป้าหมายเพื่อลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคจากมลภาวะของขยะ
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. เกิดพื้นที่ ที่สามารถใช้ประโยชน์ทดแทนกองขยะอย่างน้อย 6 จุด และเกิดวันทำความสะอาดประจำปีของชุมชน 2. สภาพแวดล้อมของชุมชน สะอาด เรียบร้อย น่าอยู่อาศัย ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค เช่น แหล่งเพาะพันธุ์ยุง แมลงวัน เป็นต้น ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านสะอาด น่าอยู่มากขึ้น 2. มีการรีไซเคิลขยะในครัวเรือนมากขึ้น

 

 

  1. เกิดพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ทดแทนขยะ ชุมชนสะอาด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  2. กำหนดวันทำความสะอาดของชุมชนปีละ 2 ครั้ง
  3. มีการประกวดนวัตกรรมขยะรีไซเคิล
  4. มีอุปกรณ์สำหรับแยกขยะรีไซเคิล
3 เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. ได้คณะทำงานการจัดการขยะที่สมัครใจและเป็นตัวแทนของกลุ่มหรือภาคีต่างๆ จำนวน 30 คน 2. มีข้อตกลง กฎกติกาของชุมชนในการจัดการเรื่องขยะ 3. กิดแนวทางจัดทำกองทุนหรือธนาคารขยะในอนาคต 1 กองทุน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. เกิดความร่วมมือ และมองเป็นปัญหาขยะเป็นเป้าหมายของการแก้ไข และจะทำให้เกิดเวทีการพูดคุยแลกเปลี่ยนสร้างความเข้าใจในปัญหาอื่นของชุมชนได้อีกเช่นปัญหาเด็กเยาวชน 2. คณะทำงานร่วมกันผลักดันให้ เทศบาลตำบลบ้านคอกช้างมีการจัดทำนโยบายการจัดการขยะในระดับองค์กร มีการจัดการขยะในส่วนที่ประชาชนไม่สามารถดำเนินการได้

 

 

  1. จัดตั้งคณะทำงานบริหารขยะแบบยั่งยืน จำนวน 30 คน
  2. เทศบาลคอกช้างได้นำโครงการขยะบรรจุในแผน 3 ปีของเทศบาล
4 เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับสสส และสจรส

 

 

จำนวน 5ครั้ง