แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ ศรีท่าน้ำสุขภาวะดี วิถีพอเพียง

ชุมชน บ้านศรีท่าน้ำ ตำบลธารโต อ.ธารโต จังหวัดยะลา

รหัสโครงการ 57-01518 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0930

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน พฤศจิกายน 2557 ถึงเดือน มิถุนายน 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมจัดทำรายงานงวด

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่ออบริหารจัดการโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงคื

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดทำรายงานปิดงวด 1 โดยมีเอกสารนำส่ง คือ ส.1,ส.2,ง.1และสำเนาสมุดเงินฝากบัญชีธนาคาร พร้อมทั้งตรวจสอบเอกสารบิลค่าใช้จ่ายในกิจกรรมโดยเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.และพี่เลี้ยง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำรายงานปิดงวด1  โครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่  ภาคใต้ปี  2557  รุ่น1(ภาคใต้ตอนล่าง  7  จังหวัด  ได้แก่ปัตตานี  ยะลา  นราธิวาส  สงขลา  พัทลุง  สตูล  และตรัง

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำรายงา

 

2 2

2. เวทีหนุนเสริมการติดตามและการดำเนินโครงการในพื้นที่

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 เวลา 16:00-18.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ติดตามการสรุปรายงานงวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ทำกิจกรรมตามโครงการได้ครบถ้วน 2.หลักฐานรายงานทางการเงินตรงตามกิจกรรม 3.เพิ่มเติมการคีย์ข้อมูลในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขให้สมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามกิจกรรมตามโครงการ ตรวจสอบรายงานทางการเงิน ตรวจสอบการคีย์ข้อมูลในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ติดตามกิจกรรมตามโครงการ 2.ตรวจสอบรายงานทางการเงิน 3.ตรวจสอบการคีย์ข้อมูลในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข

 

2 2

3. เยาวชนรักษ์กีฬา รักษ์สุขภาพ

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เยาวชนมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เพื่อสร้างความรักความสามัคคีในกลุ่มเยาวชน 2.ผุ้ปกครองมาร่วมเชียร์ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัย 3.เยาวชนมีสุขภาพดี ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 4.เป็นการปลูกฝังทางวัฒนธรรม(อานาซีด) และความรู้ทางศาสนา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กิจกรรมกีฬานักเรียนตาดีกา กิจกรรมแข่งขันอานาซีด กิจกรรมแข่งขันตอบปัญหาทางศาสนา

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมภาคกลางวัน 1.ประชุมคณะทำงาน เตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
2.ลงทะเบียน
3.จัดกิจกรรมประเภทกีฬา/กีฬาพื้นบ้าน เช่น ฟุตบอล,ตะกร้อ,วอลเล่บอล,เปตอง,แชร์บอล,กีฬาพื้นบ้าน โดยผู้ใหญ่บ้านกล่าวเปิดงานและพบปะพูดคุยกับเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพ ผู้ปกครองและผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีรร.ตาดีกาชุมชนใกล้เคียงมาร่วมด้วย 5 โรง เริ่มด้วยกิจกรรมที่ 1 การแข่งวอลเลย์บอลระหว่างเด็กเยาวชนหญิง กิจกรรมที่ 2 การแข่งขันฟุตบอล 7 คนกิจกรรมที่ 3 การแข่งวอลเล่บอล กิจกรรมที่ 4 การแข่งขันเปตอง กิจกรรมที่ 5 การแข่งขันแชร์บอล ฯลฯ ภาคกลางคืน 1.กิจกรรมแข่งขันอานาซีด 2.กิจกรรมแข่งขันตอบปัญหาทางศาสนา 3.มอบของขวัญ/ของที่ระลึก แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ฯลฯ

 

40 80

4. การประชุมคณะทำงานและสภาซูรอ เพื่อเตรียมการศึกษาดูงาน

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตระเตรียมการศึกษาดูงาน ให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ได้สรรหาสถานที่ศึกษาดูงาน 2.ได้กำหนดกิจกรรมในศึกษาดูงาน 3.ได้ชี้แจงการประสานงานที่พัก  อาหาร วิทยากร ในการศึกษาดูงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.กำหนดวันศึกษาดูงาน
2.เลือกสถานที่ศึกษาดูงาน ยานพาหนะ และที่พัก 3.เปิดกันอภิปรายแสดงความคิดเห็น

กิจกรรมที่ทำจริง

1.กำหนดวันศึกษาดูงาน
2.เลือกสถานที่ศึกษาดูงาน ยานพาหนะ และที่พัก 3.สอบถามความสนใจในการศึกษาดูงาน 4.ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบและมีความเข้าใจตรงกันถึงเป้าหมายในการศึกษาดูงาน 5.เปิดกันอภิปรายแสดงความคิดเห็น

 

35 35

5. ศึกษาดูงาน

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน 2.เกิดมุมมองใหม่ๆในการจัดการชุมชน  การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต  การออม การทำกองทุนในชุมชน 3.เกิดความรักความสามัคคีในคณะศึกษาดูงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.เรียนรู้กลไกซูรอ ในการจัดการชุมชน 2.เรียนรู้การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต 3.เรียนรู้แนวทางการออม การทำกองทุนในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.เรียนรู้กลไกซูรอ ในการจัดการชุมชน 2.เรียนรู้การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต 3.เรียนรู้แนวทางการออม การทำกองทุนในชุมชน 4.เรียนรู้การสร้างสุขภาวะในชุมชนมุสลิม  โดยใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลาง 5.เรียนรู้การสร้างสุขภาวะในชุมชนของรพ.สต.  โดยใช้กระบวนการของอสม.และภาคประชาชนเป็นศูนย์กลาง 6.มีกิจกรรมกีฬา  และสันทนาการ เพื่อละลายพฤติกรรมในคณะศึกษาดูงาน

 

35 35

6. ศึกษาแนวทางการทำแผนชุมชน

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.คนในชุมชนรับรู้สถานการณ์ สภาพปัญหา ในชุมชน และหาทางแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาสู่ชุมชนเข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการดำเนินกิจกรรมนี้ได้ผลสรุปเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินโครงการฯดังนี้:

  1. ควรมีแผนงานกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม คือ กลุ่มอสม. กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ

  2. มีตัวแทน มีชมรม หรือทีมงานของแต่ละกลุ่ม เพื่อประสานงานและดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน

  3. แต่ละกลุ่มร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาแผนงานกิจกรรมให้เกิดอย่างต่อเนื่อง

4.ข้อเสนอเพิ่มเติมซึ่งเป็นผลจากการดงาน คือกลุ่มอสม.และสตรีเสนอให้มีกิจกรรมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์โดยเริ่มจากกลุ่มอสม.และขยายไปยังกลุ่มอื่นๆ

สิ่งที่ได้จากการทำแผนชุมชน

1.ชุมชนอยากให้มีกิจกรรมเพิ่อเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีในชุมชนและกิจกรรมกีฬาและคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเยาวชนห่างไกลยาเสพติด

2.มีการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส เรื่องสุขภาพ ความเป็นอยุ่ และที่อยู่อาศัย

3.ฟื้นฟูกลุ่มสตรี และกิจกรรมเพื่อสตรีให้ต่อเนื่อง

4.พัฒนามัสยิดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนอย่างแท้จริง

5.ขยายครัวเรือนตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.สรุปผลการศึกษาดูงาน เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านพลีใต้ อ.นาทวี จ.สงขลา 2.ร่วมกันเสนอแผนงานของชุมชน 3.สอบถามความคิดเห็นในที่ประชุมในการดำเนินการทำแผนชุมชน 4.ผู้เข้าร่วมประชุมได้พิจารณาและได้นำเสนอความคิดเห็นในแต่ละแผน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.นายฮาซันอาแด รายงานความก้าวหน้าโครงการและให้คณะทำงานเข้าการทำแผนชุมชน หลังจากไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านพลีใต้ อ.นาทวี จ.สงขลา 2.แบ่งคณะทำงานเป็นกลุ่มอสม. กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ ร่วมกันเสนอแผนงานของชุมชน 3.สอบถามความคิดเห็นในที่ประชุมในการดำเนินการทำแผนชุมชน 4.ผู้เข้าร่วมประชุมได้พิจารณาและได้นำเสนอความคิดเห็นในแต่ละแผน 5.ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบและมีความเข้าใจตรงกันถึงแนวปฏิบัติตามแผนแผนงานของชุมชน

 

100 100

7. การประชุมคณะทำงานและสภาซูรอเพื่อซ่อมแซมบ้านให้ผู้พิการ

วันที่ 5 ธันวาคม 2557 เวลา 13:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตระเตรียมการเก็บข้อมูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้ใหญ่เยาวชนและทหาร ได้ทำกิจกรรมด้วยกันเกิดความสัมพันธ์ระหว่างวัยที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

•ผู้ใหญ่ได้ทำตัวอย่างการทำสิ่งที่ดีๆให้เด็กและชุมชนเห็น เอาไปเป็นเยี่ยงอย่าง

•เด็กเยาวชนเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และอยากทำความดีแบบนี้อีก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันวางแผนการการจัดกิจกรรมต่อไป เพื่อเตรียมการเก็บข้อมูลชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

•มีมติสภาผู้นำชุมชนว่าไปช่วยซ่อมแซมบ้านนายมะปอซีอายุ 33 ปีผู้พิการอยู่บ้านกับมารดาบ้านเสื่อมโทรมมาก •อบตผู้นำชุมชน ทหารพราน 10 คน ช่วยกันรื้อฝาบ้านเก่า ต่อเติมบ้านออกมาอีก 1.5 เมตร
•มารดานายนายมะปอซีรู้สึกมีความสุขมาก หน้าตายิ้มแย้ม พูดขอบใจกลุ่มชาวบ้านทหาร และเยาวชนที่ไปช่วยเหลือตลอดเวลา •

 

35 35

8. กิจกรรมการการรณรงค์ป้องกันโรคนำโดยแมลงใน บ้าน โรงเรียน มัสยิด(บรม)

วันที่ 8 ธันวาคม 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

กลุ่มเยาวชนมีกิจกรรมรณรงค์ด้านสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มเป้าหมายได้รู้จักโรคติดต่อนำโดยแมลงการป้องกัน การดูแลตนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

บรรยายเรื่องปัญหาโรคติดต่อนำโดยแมลงในชุมชน แนะนำการดูแลตนเองโดยการนอนกางมุ้งกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ในชุมชน เดินรณรงค์คว่ำกะลาแจกมุ้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

1.บรรยายเรื่องปัญหาโรคติดต่อนำโดยแมลงใน บ้านโรงเรียน มัสยิด ชุมชน
2.แนะนำการดูแลตนเองโดยการนอนกางมุ้ง

3.กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ในชุมชน เดินรณรงค์คว่ำกะลา

4.แจกมุ้ง

5.แจกแผ่นพับให้ดูภาพพลิก

 

35 35

9. เก็บข้อมูลชุมชน

วันที่ 8 ธันวาคม 2557 เวลา 13:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคณะทำงานในการจัดทำข้อมูลสถานการณ์ของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดข้อมูลด้านอาชีพ รายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน และชุมชน นำไปสูการวิเคราะห์ ชี้ให้เห็นสถานการณ์ด้านการเงินและการดำรงชีวิตของคนในชุมชนจนนำไปสู่ การแก้ไขปัญหาและการปรับตัวในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง มีกิน มีใช้ และใช้ชีวิตอย่างมีสติ

พบว่ามีครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 113 ครัวเรือนเป็น135 ครัวเรือนอาชีพหลักของประชาชน คือกรีดยางกับสวนผลไม้โดยพบว่าร้อยละ 38.51(52 ครัวเรือน)เป็นลูกจ้าง (รับจ้างกรีดยาง,รับจ้างตัดหญ้าในสวน,รับจ้างขนขี้ยางไปขายในตัวเมือง)ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้3000-5000 ต่อเดือนและจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงฤดุผลไม้(จากการขายผลไม้หรือรับจ้างตัดผลไม้)ส่วนใหญ่เป้นหนี้ผ่อนรถไฟแนนซ์หนี้สหกรณ์การเกษตรธารโตและหนี้ธนาคารไม่มีหนี้บัตรเครดิต

ช่วงที่ภาวะการเงินไม่คล่องตัว คือช่วงเปิดเทอมของนักเรียนโดยเด้กนักเรียนส่วนใหน่เรียนประถมในหมุ่บ้านจากนั้นส่วนใหญจะไปเรียนต่อในโรงเรียนปอเนาะบางส่วนไม่เรียนต่อ

ในชุมชนยังไม่มีแหล่งออมบางส่วนไปออมที่สหกรณ์การเกษตรธารโต สหกรณ์อิสลาม หรือธนาคารของรัฐ

การเก็บข้อมูลให้ชุมชน มีการนัดประชาชน และตัวแทนกลุ่มต่างออกมาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะที่ศาลาประชาคมหมู่บ้านได้รับข้อมูลเพื่อไปนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. ส่วนราชการต่างๆ เช่นสาธารณสุข เกษตร ประมง พัฒนาชุมชน และที่ว่าการอำเภอ

การคืนข้อมูล ชุมชนจะมีการชี้แจงกับชุมชนและกลุ่มต่างๆในกิจกรรมต่างๆของชุมชน และหลังสิ้นสุดโครงการ จะมีการนัดอีกครั้งที่ รพ.สต.บ้านศรีท่าน้ำเพื่อถอดบทเรียนโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคณะทำงานในการจัดทำข้อมูลสถานการณ์ของชุมชน 2. มีการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรวจผังเครือญาติ ข้อมูลชุมชน 3. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ชี้แจงคณะทำงานในการจัดทำข้อมูลสถานการณ์ของชุมชน 2. มีการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรข้อมูลชุมชน

 

35 35

10. ร่วมกันปรับปรุงสถานที่ปลูกผักปลอดสารพิษ แปลงที่ 2

วันที่ 19 ธันวาคม 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นแปล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการปลุกผักปลอดสารพิษ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เกิดความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนคนในชุมชนมีความผูกพันกันมากขึ้น ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน 2.คนในชุมชนมีความรักความสามัคคี มีการแบ่งปัน นำไปสู่ชุมชนที่เอื้ออาหาร 3.คนในชุมชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นัดกันลงแขกทำแปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษ แปลงที่ 2

กิจกรรมที่ทำจริง

1.สำรวจสถานที่ที่จะจัดทำแปลงสาธิต 2.แปลงสาธิตเกษตรพอเพียง แปลงที่ 1 ของนายฮาซันอาแด และทำการคัดเลือกสถานที่ดำเนินการทำแปลงที่ 2 บ้านเลขที่ 61 บ้านนายฮัมดัน ดอเลาะ
3.หาซื้อพันธ์ผัก พันธ์พืช ที่จะมาลงแปลง 4.นัดกันลงแขกทำแปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษ

 

40 40

11. กิจกรรมทำขนมโดนัท ครั้งที่ 1

วันที่ 9 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

กลุ่มสตรีมีกิจกรรมเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.วิทยากรได้บรรยายกรรมวิธีในการนำโดนัทและทำให้ดูเป็นตัวอย่าง 2.ผลผลิตในชุมชนสามารถเพิ่มมูลค่าได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเป้าหมายร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตขนมขนมโดนัท

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตขนมขนมโดนัทครั้งที่ 1

ส่วนผสม แป้งโดนัทได้แก่ น้ำตาลทราย
ยีสต์
น้ำ
นมสดรสหวาน เกลือป่น
ไข่ไก่
แป้งสาลีอเนกประสงค์
เนยจืด
ไขมันถั่วเหลืองสำหรับทอดโดนัท

วิธีทำ
นวดผสมน้ำตาลทราย ยีสต์น้ำนมสดรสหวาน เกลือป่น 5 กรัม ไข่ไก่ แป้งสาลีและเนยจืด คลึงแป้งให้หนาประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วใช้แก้วกับก้นพิมพ์คุกกี้มากดแป้งตัดแล้วก็พักต่ออีกให้โดนัทฟูขึ้นอีกเท่าตัวใส่ไขมันถั่วเหลืองสำหรับทอดโดนัทลงในกระทะใช้ไฟกลาง ทอดให้ขาวฟูทั้งสองด้านก่อน แล้วค่อยปล่อยให้เหลืองที่ละด้านจากนั้นตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน

 

35 35

12. การประชุมคณะทำงานและสภาซูรอ

วันที่ 9 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

มีสภาซูรอขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชน ร่วมคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

•สมาชิกสภาซูรอได้รับแรงกระตุ้นการทำงาน ได้รับความรู้บทบาทสภา ได้เข้าใจกระบวนการประชุม ดังนี้
•ทุกคนที่เป็นสมาชิกสภามีหน้าที่ต้องมาประชุมตามนัดทุกเดือน ไม่ควรขาดถ้าไม่จำเป็น •ต้องติดตามว่าที่ประชุมมีเรื่องอะไรบ้าง
•ต้องให้ความร่วมมือในการทำงาน มีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน •สมาชิกได้ทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน


พื้นที่แปลงสาธารณะที่ปลูกพืชผัก สมุนไพร รอบมัสยิด และรร.ตาดีกาควรมีการดูแล เนื่องจากเริ่มมีหญ้าขึ้นรก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงาน5คน,เยาวชน 10 คน ผู้สูงอายุ10 คน กลุ่มสตรี 10 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งเพื่อทราบ ผู้ใหญ่บ้านจะแจ้งเรื่องที่รับมาจากที่ว่าการอำเภอ เช่นผุ้ใหญ่บ้านบัณฑิตอาสา แกนนำสตรี วาระที่ 2เรื่องติดตาม ในหมู่บ้านจะมีเรื่องอะไรติดตามเป็นประจำ เช่น ความก้าวหน้าโครงการสสส เป็นต้น
วาระที่3 เรื่องเพื่อพิจารณา ว่ามีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไป วาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ

 

35 35

13. ร่วมกันปรับปรุงสถานที่ปลูกผักปลอดสารพิษ แปลงที่ 3

วันที่ 23 มกราคม 2558 เวลา 10:00-15.00 น น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นแปล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการปลุกผักปลอดสารพิษ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ได้แปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษ อีก 1แปลง
2.เกิดความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นัดกันลงแขกทำแปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษ

กิจกรรมที่ทำจริง

หลังจากมีแปลงสาธิตเกษตรพอเพียง แปลงที่ 1 ของนายฮาซันอาแด และทำการคัดเลือกสถานที่ดำเนินการทำแปลงที่ 2 บ้านเลขที่ 61 บ้านนายฮัมดัน ดอเลาะ 1.สำรวจสถานที่ที่จะจัดทำแปลงสาธิตแปลงที่ 3

2.ใช้พื้นทีในโรงเรียนศรีท่าน้ำ

3.หาซื้อพันธ์ผัก พันธ์พืช ที่จะมาลงแปลง

4.นัดปรับปรุงแปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษ

 

40 40

14. กิจกรรมทำโดนัท ครั้งที่ 2

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

กลุ่มสตรีมีกิจกรรมเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.วิทยากรได้สาธิตกรรมวิธีในการนำโดนัทและกลุ่มเป้าหมายร่วมกันทำจนออกมาเป็นขนมโดนัทเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น 2.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเป้าหมายร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตขนมขนมโดนัท

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตขนมขนมโดนัท ครั้งที่ 2

ส่วนผสม แป้งโดนัทได้แก่ น้ำตาลทราย
ยีสต์
น้ำ
นมสดรสหวาน เกลือป่น
ไข่ไก่
แป้งสาลีอเนกประสงค์
เนยจืด
ไขมันถั่วเหลืองสำหรับทอดโดนัท

วิธีทำ
นวดผสมน้ำตาลทราย ยีสต์น้ำนมสดรสหวาน เกลือป่น 5 กรัม ไข่ไก่ แป้งสาลีและเนยจืด คลึงแป้งให้หนาประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วใช้แก้วกับก้นพิมพ์คุกกี้มากดแป้งตัดแล้วก็พักต่ออีกให้โดนัทฟูขึ้นอีกเท่าตัวใส่ไขมันถั่วเหลืองสำหรับทอดโดนัทลงในกระทะใช้ไฟกลาง ทอดให้ขาวฟูทั้งสองด้านก่อน แล้วค่อยปล่อยให้เหลืองที่ละด้านจากนั้นตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน

 

35 35

15. คณะทำงานนำเสนอกิจกรรมต่อทีมงานสาธารณสุขอำเภอธารโต

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

มีสภาซูรอขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชน ร่วมคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

•จากนั้นสภาซูรอได้พูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาหมู่บ้าน และลงความเห็นว่าใช้โครงการ สสส. สร้างสุขภาวะในชุมชนได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะทำงานและสภาซูรอมาร่วมกันวางแผนการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการกิจกรรมต่อไป 2.เตรียมการจัดกิจกรรมต่างๆในเดือนนี้ 3.เปิดกันอภิปรายแสดงความคิดเห็น

กิจกรรมที่ทำจริง

•ผู้รับผิดชอบพูดคุย ชี้แจงโครงการแก่สาธารณสุขอำเภอ ในโอกาสลงมาในพื้นที่
•คณะทำงานชี้แจงกิจกรรมโครงการที่ต้องทำว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพได้แก่ การเล่นกีฬา การบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ

 

35 0

16. กิจกรรมทำขนมโดนัท ครั้งที่ 3

วันที่ 16 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

กลุ่มสตรีมีกิจกรรมเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กลุ่มเป้าหมายร่วมกันทำจนออกมาเป็นขนมโดนัท โดยในครั้งนี้กลุ่มเป้าหมายมีความชำนาญมากขึ้น 2.มีแนวคิดที่จะนำกิจกรรมหรือผลิตภัณฑไปต่อยอดอย่างไร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเป้าหมายร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตขนมขนมโดนัท ครั้งที่ 2

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตขนมขนมโดนัท ครั้งที่ 3

ส่วนผสม แป้งโดนัทได้แก่ น้ำตาลทราย
ยีสต์
น้ำ
นมสดรสหวาน เกลือป่น
ไข่ไก่
แป้งสาลีอเนกประสงค์
เนยจืด
ไขมันถั่วเหลืองสำหรับทอดโดนัท

วิธีทำ
นวดผสมน้ำตาลทราย ยีสต์น้ำนมสดรสหวาน เกลือป่น 5 กรัม ไข่ไก่ แป้งสาลีและเนยจืด คลึงแป้งให้หนาประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วใช้แก้วกับก้นพิมพ์คุกกี้มากดแป้งตัดแล้วก็พักต่ออีกให้โดนัทฟูขึ้นอีกเท่าตัวใส่ไขมันถั่วเหลืองสำหรับทอดโดนัทลงในกระทะใช้ไฟกลาง ทอดให้ขาวฟูทั้งสองด้านก่อน แล้วค่อยปล่อยให้เหลืองที่ละด้านจากนั้นตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน

 

35 0

17. คณะทำงานนำเสนอผลการดำเนินงานในกิจกรรมชุมชนเข้มแข็งบ้านศรีท่าน้ำ

วันที่ 16 มีนาคม 2558 เวลา 13:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

มีสภาซูรอขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชน ร่วมคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการแนะนำกิจกรรมอื่นๆของทหารที่จะลงมาร่วมสร้างความเข้มแข็งในชุมชนเช่นกองทุนแม่ของแผ่นดิน จากนั้นคณะทำงานร่วมซ้อมแผนเผชิญเหตุกรณีเกิดอัคคีภัยในโรงเรียนร่วมกับภาคีเครือข่ายด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะทำงานและสภาซูรอมาร่วมกันวางแผนการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการกิจกรรมชุมชนเข้มแข็ง

กิจกรรมที่ทำจริง

•ผู้รับผิดชอบพูดคุย ชี้แจงโครงการแก่ทางทีมงานความมั่นคง ในโอกาสลงมาในพื้นที่
•คณะทำงานชี้แจงกิจกรรมโครงการที่ต้องทำว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างในโครงการที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเข้มแข็ง ได้แก่ การเล่นกีฬา การบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ

 

35 35

18. คณะทำงานนำเสนอผลการดำเนินงานต่อหน.ส่วนราชการที่มาประชุมกาแฟยามเช้า

วันที่ 20 เมษายน 2558 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

มีสภาซูรอขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชน ร่วมคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

•หัวหน้าส่วนราชการมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการในชุมชนมากขึ้น และยินดีสนับสนุนทุกกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะทำงานและสภาซูรอมาร่วมกันวางแผนการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลงานต่อหัวหน้าส่วนราชการ

กิจกรรมที่ทำจริง

•ผู้รับผิดชอบโครงการมีการแนะนำกิจกรรมต่างๆของโครงการแก่หัวหน้าส่วนราชการ ที่มาร่วมพบปะ ทานกาแฟยามเช้า ที่สนามหน้าอบต.ธารโต•ผู้รับผิดชอบพูดคุย ชี้แจงโครงการแก่ทางทีมงานความมั่นคง ในโอกาสลงมาในพื้นที่
•คณะทำงานชี้แจงกิจกรรมโครงการที่ต้องทำว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างในโครงการที่ดำเนินการในชุมชนได้แก่ การเล่นกีฬา การบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการและยินดีหากมีการสนับสนุน

 

35 35

19. กิจกรรมทำน้ายาล้างจาน เพื่อใช้ในครัวเรือน

วันที่ 20 เมษายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

กลุ่มสตรีมีกิจกรรมเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คุณสายสุนีย์  สาธิตกรรมวิธีในการทำน้ำยาล้างจาน  และกลุ่มเป้าหมายร่วมกันทำจนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์  ซึ่งสามารถนำไปใช้ในครัวเรือนหรือจำหน่ายอันจะนำไปสู่การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเป้าหมายร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำน้ำยาล้างจาน

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำน้ำยาล้างจาน วัสดุ – อุปกรณ์

1.มะกรูด 2.น้ำเปล่า 3.กะละมัง หม้อ มีด เขียง ไม้พาย ตะกร้าที่มีรูเล็กๆ 4.เตาถ่าน ถ่าน 5.ขวดพลาสติก 6.ผ้าบางๆ 7. N70
8.เกลือแกง 9.ขี้เถ้า โดยมีวิธีการดังนี้ ขั้นเตรียม 1.เตรียมขี้เถ้ามาร่อนให้เหลือแต่ผงที่ไม่มีเศษถ่าน 2.เมื่อร่อนเสร็จแล้วให้นำน้ำมาเทใส่ทิ้งไว้ 7 วันแล้วขี้เถ้าจะตกตะกอนจนเป็นน้ำใสๆเรียกว่า “น้ำด่าง”
ขั้นดำเนินการ 1.ให้นำมะกรูดมาล้างให้สะอาดแล้วผ่าครึ่งเป็น 2 ซีก เสร็จแล้วนำไปต้มด้วยน้ำเดือด
2.เมื่อต้มเสร็จแล้วให้เทมะกรูดใส่กะละมังที่เตรียมไว้รอจนกว่ามะกรูดจะเย็น
3.เมื่อมะกรูดเย็น ให้บีบน้ำออกจากลูกมะกรูด จากนั้นนำตะกร้ามากรองเอาเม็ดออกเมื่อกรองเสร็จ ให้นำผ้าบางๆมากรองอีก 1 รอบ
4.เท N70 ใส่กะละมัง แล้วกวนให้ไปทางเดียวกันเป็นเวลา 5 นาที
5.เมื่อครบ 5 นาทีให้ค่อยๆใส่เกลือ น้ำด่าง และน้ำมะกรูดลงไปแล้วคนให้เข้ากันจนกว่าจะหมด
6.ใส่สีผสมอาหารแล้วกวนให้เข้ากัน รวมเป็นเวลา 30 นาที แล้วหยุดกวน
7.จากนั้นทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง เพื่อให้ฟองหมด 8.หลังจากฟองหมดให้ตักใส่ขวดพลาสติกให้เรียบร้อยและสามารถนำไปใช้ได้เลย

 

35 35

20. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องนวตกรรมการดูแลสุขภาพ

วันที่ 21 เมษายน 2558 เวลา 13:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คนในชุมชนการเรียนรู้ในการสรรหาวัสดุในชุมชนมาดูแลสุขภาพตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นำยางยืดเหยียด ที่ผลิตจากยางเส้นไม้ใผ่ หรือไม้ หรือ ท่อ PVC มาให้กลุ่มตัวอย่างทดลองประสิทธิภาพ ผลของการใช้นวัตกรรมผลของการใช้นวัตกรรมยางยืดเหยียดร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันในผู้พิการ ผู้สูงอายุสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ เป็นแนวทางและการประเมินผลกิจกรรมที่ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้ผลที่ยืนยันว่า กิจกรรมที่ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุเกิดผลลัพธ์ที่ดีตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ รวมทั้งเป็นการนำเอาภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ในการรักษาสุขภาพ มีการขยายผลโดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม และเป็นการพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านที่มีความชัดเจน ลดค่าใช้จ่าย และเวลาที่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลอีกด้วย
บทเรียนที่ได้รับ 1) การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 2) เกิดการเรียนรู้และการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองที่บ้าน 3) สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการออกกำลังกายในชุมชนได้ด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ชี้แจงการทำนวตกรรมการดูแลสุขภาพจากวัสดุในชุมชน 2.ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจแนวทางการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น

กิจกรรมที่ทำจริง

การจัดกิจกรรมครั้งนี้มีภาคีเครือข่ายมาร่วมกิจกรรมคือหน่วยควบคุมโรคมาลาเรียอ.ธารโตหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ของทหารอสม. ทหารทพ.ร้อยร. 3315

ในส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นวตกรรมด้านสุขภาพ มีขั้นตอนดังนี้ 1.ชี้แจงการทำนวตกรรมการดูแลสุขภาพจากวัสดุในชุมชน

2.ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจแนวทางการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น

3.นวตกรรมแรกที่ผลิตจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น คือยางยืดเหยียดเพื่อคลายกล้ามเนื้อ และสำหรับการขยับแขน ข้อมือ ไหล่ ของผุ้พิการผู้สูงอายุและได้นำมาให้

 

40 40

21. คณะทำงานและสภาซุูรอ นำเสนอแนวทางโครงการ ต่ออบต.ธารโต

วันที่ 18 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

มีสภาซูรอขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชน ร่วมคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

•ผู้ใหญ่บ้านฮาซันอาแด ในฐานะ ประธานสภาซุรอ ผอ.รพ.สต.ศรีท่าน้ำในฐานะกรรมการสภาซูรอ นางตาฮานู ลายีประธานอสม. มีนายอุเซ็ง บือราเฮง อดีตผู้ใหญ่บ้านและประธานผู้สูงอายุเข้าร่วมประชุมทำแผนสามปี ของอบต.ธารโตทำให้อบต.ธารโตมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการในชุมชนมากขึ้น และยินดีสนับสนุนทุกกิจกรรม

ข้อเสนอของทีมสภาซูรอ บ้านศรีท่าน้ำ 1.ขอสนับสนุนงบประมาณสำหรับกลุ่มสตรี 2.ขอสนับสนุนทางคอนกรีตเสริมเหล็กเส้นทางไปยังบ้านผู้พิการ 3.ขอสนับสนุนเครื่องพ่นหมอกควัน สำหรับชุมชนหนึ่งเครื่อง 4.ขอสนับสนุนโครงการสำหรับ อสม.คระกรรมการหมุ่บ้าน และ รพ.สต.ศรีท่าน้ำ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะทำงานและสภาซูรอมาร่วมกันวางแผนการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลการดำเนินงานต่อ อบต.ธารโต

กิจกรรมที่ทำจริง

•ผู้รับผิดชอบโครงการมีการแนะนำกิจกรรมต่างๆของโครงการแก่ทีมงานอบต.ธารโต ในโอกาสเข้าร่วมประชุมจัดทำแผนงานชุมชน 3 ปี
•คณะทำงานชี้แจงกิจกรรมโครงการที่ต้องทำว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างในโครงการที่ดำเนินการในชุมชนได้แก่ การเล่นกีฬา การบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการและยินดีหากมีการสนับสนุน

 

35 35

22. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาการออมและร่วมวิเคราะห์รายรับรายจ่าย

วันที่ 20 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การวิเคราะห์รายรับรายจ่ายและการออม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์รายรับรายจ่ายและการออมของแต่และครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิเคราะห์รายรับรายจ่ายในครัวเรือน ศึกษาแนวทางการออม การรวมตัวทำกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิเคราะห์รายรับรายจ่ายในครัวเรือน ศึกษาแนวทางการออม การรวมตัวทำกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในชุมชน มีผู้เข้าร่วม 40 กว่าครัวเรือน โดยวิทยากรจากพัฒนาชุมชน อำเภอธารโตนายทองพึ่งประเสริฐ ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร บรรยายเรื่องการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายและแนวทางการทำบัญชีครัวเรือนและแนวการออม และช่องทางหางบประมาณมาทำกิจกรรมหรือพัฒนาหมู่บ้าน

หลังบรรยายมีผู้สมัครกลุ่มออมทรัพย์ 20 ครัวเรือน ป

 

40 40

23. กิจกรรมเรียนรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก

วันที่ 31 พฤษภาคม 2558 เวลา 10.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ชุมชนได้รับรู้ถึงพิษภัยบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เพื่อให้เยาวชนรับรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่ที่มัสยิดและเกิดกระแสบอกต่อในชุมชนจึงเริ่มด้วย ครูและนักเรียนอสม.กลุ่มสตรีชรบ. และทหารพรานร่วมเดินรณรงค์ในชุมชนตั้งแต่ โรงเรียนผ่านรพ.สต. ผ่านชุมชน กลุ่มบ้านเข้าไปที่มัสยิด และมีการแจกสติกเกอร์ปลอดบุหรี่ในมัสยิด และบ้านเรือนจากนั้นเดินย้อนไปที่โรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่ที่มัสยิด  และเดินรณรงค์ในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่ที่มัสยิดและเดินรณรงค์ในชุมชน

 

35 35

24. ถอดบทเรียนโครงการ

วันที่ 26 มิถุนายน 2558 เวลา 13:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ถอดบทเรียนโครงการเพื่อเตรียมรายงานส่งทาง สสส

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการถอดบทเรียนแล้วนำมาแลกเปลี่ยน แล้วอธิบาย นำเสนอแลกเปลี่ยนและนำมาสรุปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน พบว่าผลจากการถอดบทเรียนครั้งแรก ชุมชนเกิดแนวทางและกิจกรรมพอที่จะนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานคือ เรื่องของปลูกพืชปลอดสารพิษ การรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อชุมชนต่างๆของกลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี และกลุ่มผู้สูงอายุการทำขนมและทำน้ำยาอเนกประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือนลดการจับจ่ายใช้สอยในเรื่องที่ไม่จำเป็น การรู้จักบัญชีครัวเรือน เพื่อต้องการวิเคราะห์รายจ่ายที่ไม่จำเป็นของครอบครัวและหันมาประหยัดรายจ่ายมากขึ้นและการเกิดกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในชุมชน

สรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ตลอดจนปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอ

  1. เกิดสภาซุรอ 1 สภา มีสมาชิก39 คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน/อบต., ผู้นำศาสนา/กรรมการมัสยิด , ชรบ. , อสม. , กลุ่มสตรี/แม่บ้าน , เยาวชน ครูตาดีกา/ข้าราชการในพื้นที่ และทหารพราน มีผู้ใหญ่ฮาซัน อาแด เป็นประธาน มีนายก อบต.ธารโต ฮูเซ็น กอตา เป็นที่ปรึกษา

  2. มีมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้าน(ฮูกมปากัต)ในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด เช่นการไม่อยู่รวมกลุ่มนอกบ้านหลังเที่ยงคืนการไม่ซิ่งรถจักรยานยนต์ในหมู่บ้านการมีมาตรการกรณีเกิดการละเมิดกฏครั้งที่ 1ตักเตือนครั้งที่ 2 ตักเตือนและเรียกผู้ปกครองมารับฟังปัญหาครั้งที่ 3 หากเป็นโทษร้ายแรง ส่งดำเนินการทางกฏหมายหากโทษไม่ร้ายแรงจะไม่ร่วมกิจกรรมงานบุญ หรือช่วยเหลือใดๆ

  3. เกิดเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดในชุมชนทุกคนช่วยกันสอดส่องบุตรหลานดูแลไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด

  4. เกิดกลุ่มการเล่นกีฬา 1 กลุ่ม สมาชิก 56 คน

  5. เกิดแกนนำเกษตรปลอดสารพิษ 2 ครัวเรือน(ที่บ้านผู้ใหญ่ฮาซัน อาแดและบ้านนายฮัมดันดอเลาะ) 1 โรงเรียน(ที่รร.บ้านศรีท่าน้ำ)และแปลงสมุนไพรตัวอย่าง 1 แปลง(ที่รพ.สต.บ้านศรีท่าน้ำ)เกษตรบนพื้นที่สาธารณะ 1 แปลง(รอบมัสยิด และรร.ตาดีกา)และแจกต้นไม้และเมล็ดพันธ์ พืช ผักสมุนไพรให้ชาวบ้านคนละต้นสองต้นเพื่อนำไปปลุกเพิ่มเติมที่บ้าน

  6. มีการอบรมจริยธรรม/สอนศาสนาแก่เด็กและเยาวชน มีการอบรมจริยธรรม/สอนศาสนาแก่ประชาชนทั่วไปทุกวันศุกร์ช่วงเช้าโดยการเปิดเทปบรรยายธรรมส่วนหลังละหมาดวันศุกร์ มีการแจ้งข่าวสารทั้งข่าวในชุมชนข่าวจากภายนอกประชาสัมพันธ์การร่วมกิจกรรมต่างๆ และข่าวสารสุขภาพส่วนในเดือนรอมฎอนมีกิจกรรมเปิดบวชร่วมกันทุกเย็นที่มัสยิดมีบรรยายธรรมหลังละหมาดมีละหมาดตารอแวะห์และมีเอียะตีกาฟ(ปฏิบัติศาสนกิจและนอนที่มัสยิด ตลอดช่วง 10 วันสุดท้าย)

7.เกิดกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้พิการ มีการลงไปเยี่ยมบ้าน ปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน เสนออบต.ขอทางคอนกรีตเสริมเหล็กผ่านทางบ้านผู้พิการ(ปัจจุบัน อบต.อนุมัติแล้ว)เพื่อสะดวกกรณีไปรักษษหรือกายภาพบำบัด

8.เกิดกลุ่มสัจจะออมทรัพย์โดยเริ่มต้นมีเงินสมทบทุน 4,000 กว่าบาท นำไปฝากที่สหกรณ์การเกษตรธารโต

9.กลุ่มสตรีมีการทำขนม ทำน้ำสมุนไพร ทำน้ำยาล้างจาน สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  เป็นเวทีเสวนาชุมชนว่าแต่ละกลุ่มได้เรียนรู้อะไรบ้างกับโครงการนี้ -กลุ่มเยาวชน -กลุ่มสตรี -กลุ่มผู้สูงอายุ คณะทำงานร่วมกับแกนนำร่วมกันนำข้อมูลการถอดบทเรียนมาเขียนเอกสารถอดบทเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานร่วมกับแกนนำพร้อมผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมถอดบทเรียนโดยการถอดบทเรียนครั้งนี้ได้ผลตามที่ต้องการและเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของชุมชนเป็นอย่างมากจากการดำเนินงาน 1.โต๊ะบีลาลกล่าวดูอาอ์เปิดการประชุม

2.ผู้ใหญ่บ้านกล่าวพูดคุยในที่ประชุม

3.ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

4.ให้สมาชิกสภาซูรอ/กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สุงอายุ/ทีมงาน แต่ละคนสรุปประเด็นในเนื้อหาที่ตนเองได้รับมอบหมายหรือรับผิดชอบ พร้อมสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ตลอดจนปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อไปปรับปรุงแก้ไข/หากลวิธีใหม่ๆ พร้อมนำข้อมูลไปบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ

5.มีผู้กอง ทพ.ร้อยร 3315 คนใหม่มาแนะนำตัวกับชาวบ้าน 6. มีวิทยากรยาเสพติดของอำเภอธารโตมาบรรยายเรื่องยาเสพติดในชุมชนด้วยและเชิญชวนสมัครกองทุนแม่ของแผ่นดินด้วย 7.มีการแจกอินทผาลัมเนื่องจากใกล้ถึงช่วงเดือนรอมฎอนและแจกเกลืไอโอดีนให้ทุกครัวเรือนเพื่อรณรงค์การบริโภคเกลือไอโอดีน

 

40 80

25. ทำรายงานปิดโครงการ

วันที่ 27 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตรวจสอบเอกสารหลักฐาน เตรียมปิดโครงการศรีท่าน้ำสุขภาวะดี วิถีพอเพียง  ทำรายงานส่ง สสส

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นำผลการดำเนินงานโครงการศรีท่าน้ำสุขภาวะดี วิถีพอเพียง ไปที่ตึกสจรส. ชั้น 14 มอ.หาดใหญ่ สงขลาในวันที่ 28มิ.ย 58 และมีบางส่วนที่ต้องกลับไปแก้ไข เพิ่มเติม เช่น 1.เอกสารบางกิจกรรมไม่ครบถ้วน 2.เพิ่มรูปภาพในแต่ละกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกับพี้เลี้ยงช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ที่ จะต้องจัดส่ง สสส  มี รายงาน  ส 2  รายงาน  ส  3  รายงาน ส 4  รายงาน  ง 1 งวด 2  รายงาน ง 2  สรุปทำรายงานและนำเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานสรุปผลและจัดทำเอกสารโครงการ เพื่อส่งรายงานให้ สสส จากกิจกรรมที่ดำเนินการในงวดที่ 1 ผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมตลอดโครงการเกิดคณะทำงานสภาซุรอบ้านศรีีท่าน้ำ จำนวน 1 คณะ เกิดแปลงผักปลอดสารพิษในชุมชน 1 กลุ่ม กลุ่มต่างๆเช่นกลุ่มสตรีกลุ่มผู้สุงอายุ กลุ่มเยาวชน มีการรวมตัวทำกิจกรรมกันมากขึ้น เกิดกลุ่มออมทรัพย์ ในกิจกรรมที่จัดมาแล้วทั้งหมดได้เก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานไว้เป็นชุดๆเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ จัดทำรายงานการปิดงวด เก็บรวบรวมและตรวจสอบหลักฐานการเงิน

 

3 5

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 45 44                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 207,400.00 204,136.00                  
คุณภาพกิจกรรม 176 161                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายริซกีสาร๊ะ
ผู้รับผิดชอบโครงการ