directions_run

โครงการสภาเด็กและเยาวชนกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (ปี 2 ต่อเนื่อง)

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1.เพื่อให้เกิดสภาเด็กและเยาวชนที่มีบทบาท เข้มแข็งในการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 60 ของเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกของสภาเด็กและเยาวชนฮูมอลานัส 2. สภาเด็กและเยาวชนมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. สมาชิกของสภาเด็กและเยาวชนฮูมอลานัส สามารถเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจงานด้านพัฒนาสังคม เพื่อสร้างให้เป็นชุมชนน่าอยู่ พร้อมทั้งเกิดระบบการบริหารจัดการภายในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

  • ในเชิงปริมาณ ถือว่าโครงการผ่านตัวชี้วัด เพราะมีเด็กและเยาวชนจำนวน86 คนเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาเด็กฯ จากจำนวนทั้งหมดที่เป็นกลุ่มเป้าหมายขับเคลื่อนโครงการในปีที่ 2 จำนวน 132 คน มากกว่า คิดเป็นร้อยละ 65.15 ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากใบสมัครเข้าเป็นสมาขิกของเด็กเยาวชนในชุมชน ส่วนด้านการพัฒนาบทบาทของเด็กเยาวชนในการกำหนดทิศทางสร้างความเข้มแข็งของชุมชนนั้น ถือว่าผ่านเช่นเดียวกัน เพราะสภาเด็กฯ และโครงสร้างต่างๆที่เกิดขึ้นสามารถนำเสนอความคิดเห็นและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาด้านต่างๆแก่ชุมชนมากขึ้น รวมทั้งสามารถขับเคลื่อนกิจกรรม/โครงการด้วยตนเอง
  • ในเชิงคุณภาพ ตัวชี้วัดที่ผ่านและเห็นชัดเจนที่สุดคือด้าน การยกระดับแนวคิดในเชิงการบริหารจัดการชุมชนของเด็กเยาวชนที่ทำให้สามารถดำเนินการกิจกรรม/โครงการต่างๆบรรลุตามเป้าหมาย รวมทั้งเกิดกลไกการพัฒนาในรูปแบบเครือข่ายที่พร้อมจะเกื้อหนุนตลอดเวลา การยกระดับแนวคิดการบริหารจัดการชุมชนได้แก่ โครงสร้างสภาเด็กฯที่เกิดขึ้น สามารถสร้างมาตรฐานในการต่อรอง หรือหาปัจจัยที่จะมาสนับสนุนการดำเนินโครงการได้อย่างต่อเนื่อง เช่น มีการระดมทุนมาสมทบในกิจกรรมที่ต้องอาศัยงบประมาณจำนวนมากจากยอดที่ตั้งไว้ ซึ่งสมาชิกสภาเด็กฯที่เกิดขึ้นเป็นผู้เสนอแนวคิดและระดมทุนด้วยตนเอง
2 ชุมชนสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมด้านเด็กเยาวชนที่มุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กเยาวชนโดยให้หลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. มีแผน/คู่มือการจัดการด้านเด็กและเยาวชนในชุมชนฮูมอลานัส ที่มีส่วนร่วมโดยเครือข่ายทุกกลุ่ม 2. จำนวนเด็กและเยาวชนที่ติดยาเสพติด กลุ่มเสี่ยง และเยาวชนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม มีอัตราลดลงร้อยละ 40 ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. กิจกรรมด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น สามารถแก้หรือลดปัญหาด้านด็กเยาวชน โดยใช้ฐานข้อมูลเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนา เพื่อทำให้เด็กเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของ ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงามที่อยู่ในชุมชน

 

 

  • สภาเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นสามารถสร้างคู่มือ/แนวทางการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชนที่เป็นของชุมชนเองและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ หรือเป็นแนวทางการพัฒนาด้านเด็กเยาวชนแก่ชุมชนอื่นได้
  • เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้ามาร่วมกิจกรรม จากจำนวนเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 80 คน หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการต่างๆสามารถลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 60สาเหตุสำคัญที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะเกิดจากการซึมซับในกิจกรรมที่สอดแทรกเข้าไป โดยเฉพาะกิจกรรมด้านศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
3 เกิดเป็นกลุ่มเยาวชนต้นแบบด้านการพัฒนาชุมชนและเสริมสร้างสุขภาวะทางสังคมรวมทั้งขยายการทำงานเชิงเครือข่ายเพื่อมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. จำนวนเครือข่ายกลุ่มเด็กและเยาวชนในชุมชนข้างเคียงจำนวนประมาณ 4 ชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาการดำเนินงานของกลุ่มเด็กและเยาวชนต้นแบบที่เกิดขึ้น ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. กลุ่มเด็กและเยาวชนฮูมอลานัสสามารถเป็นเยาวชนต้นแบบที่มีการยกระดับการทำงานในด้านการเสริมสร้างให้ชุมชนน่าอยู่อย่างต่อเนื่อง

 

 

  • กิจกรรมที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความสนใจและมีการแลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่ายเด็กเยาวชนต่างชุมชน จำนวน 3 ชุมชน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4 ชุมชน ได้แก่ 1)ชุมชนตาบาปอเยาะ 2)ชุมชนตาบาปาเระ และ3)ชุมชนเจ๊ะเห โดยเฉพาะเครือข่ายจาก 3 ชุมชนจะเข้ามาสังเกต มีส่วนร่วมในกิจกรรม เวทีเยาวชนคนเก่งฮูมอลานัส เพราะเป็นกิจกรรมแสดงให้เห็นถึงความสร้างสรรค์ในการจัดโครงการที่ยังไม่มีชุมชนไหนสามารถจัดได้มาก่อน
  • จิตสำนึกและอุดมการณ์ในการพัฒนาชุมชนตัวเอง ถือว่าได้เกิดกับคณะทำงานสภาเด็กฯ รวมทั้งผู้มีส่วนร่วมทุกคนในชุมชนฮูมอลานัส เพราะเป้าหมายที่ได้วางไว้ ได้แก่การก้าวไปสู่เยาวชนต้นแบบให้ได้นั่นเอง
4 -เพื่อบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ
ตัวชี้วัด : -จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. แล สจ.รส

 

 

  • ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการและตัวแทนได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเข้าร่วมกิจกรรมที่ สสส. / สจ.รส.จัดขึ้นทุกครั้ง และได้นำคำแนะนำมาปรับปรุง ปรับใช้ทั้งกระบวนการขับเคลื่อนโครงการและการรายงานผล