directions_run

แนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2 : ป้อมหก Eco planet ปฎิบัติการชุมชนรักษ์โลก(ต่อเนื่อง)

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชนด้านการจัดการขยะ
ตัวชี้วัด : 1.1 ร้อยละ 90 ของประชาชนป้อมหกที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ การจัดการขยะต้นทาง (การแยกขยะจากครัวเรือน) ได้อย่างถูกต้องตามแบบประเมิน คู่มือการจัดการขยะ 1.2 เกิดคณะทำงาน เกี่ยวกับสวัสดิการชุมชนผ่านกองทุนขยะ อย่างน้อย 20 คน 1.3 เกิดกลุ่มเยาวชนจิตอาสาพัฒนาชุมชนอย่างน้อย 1 ทีม

 

 

1.คนในชุมชนป้อมหกที่เข้าร่วมโครงการ เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการขยะเช่น กองทุนขยะสร้างสุข ,ตลาดนัดขยะรีไซเคิล ,ร้านค้าสร้างสุข เป็นประจำทุกเดือน ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย140 คนโดยมีครัวเรือนที่มีความเข้าใจในการแยกขยะได้อย่างถูกต้อง130 คน ในการจัดการขยะภายในระดับครัวเรือน และชุมชนดังนี้

. ขยะรีไซเคิล แต่ละครัวเรือนจะมีการแยกและเก็บก่อนนำมาฝาก และขายให้กับกองทุนขยะสร้างสุข

. ขยะเปียก หรือขยะอินทรีย์แต่ละครัวเรือนจะมีการนำมาทิ้งรวมกันในถังสีฟ้า ซึ่งเป็นจุดรับขยะเปียกของชุมชน ก่อนที่จะส่งต่อให้กับรถเก็บขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่ลดการทิ้งเรี่ยราดในพื้นที่ ลดกลิ่นรบกวน และแหล่งเพาะเชื้อโรค เช่น แมลงวัน ,แมลงหวี่ ,และยุง

. ขยะอันตราย และขยะทั่วไป กองทุนขยะจะมีการเปิดรับ แลกกับสิ้นค้าอุปโภค บริโภคในส่วนของร้านค้าสร้างสุขเช่น ไข่ไก่ ,ขนม ,ผงซักฟอก ฯลฯทำให้ลดการทิ้งขยะตกค้างที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ โดยกองทุนจะจัดเก็บ และส่งต่อให้กับเทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง

2.เกิดคณะทำงานร่วมกันทั้งแกนนำชุมชน เด็ก เยาวชนจำนวน 15 คน ในการทำงานร่วมกัน ผ่านกองทุนขยะ เยาวชนจิตอาสา e-co kids ลงพื้นที่สำรวจและประเมินครัวเรือนร่วมกับแกนนำชุมชน /อสม. ทั้งในชุมชนป้อมหกและชุมชนเครือข่าย รวม 6 ชุมชนมีกระบวนการให้ความรู้กับสมาชิกทั้งในชุมชนป้อมหก และแรงงานเพื่อนบ้าน ตลอดจนชุมชนเครือข่ายอีก 5 ชุมชน (ชุมชนมุสลิม /ชุมชนโชคสมาน/ชุมชนริมทางรถไฟ/ชุมชนหมัดยาเหมาะ/ชุมชนศิคริน)

2 เพื่อจัดระบบสวัสดิการชุมชนผ่านกองทุนขยะ
ตัวชี้วัด : 2.1. ร้อยละ 90 คนในชุมชนนำขยะรีไซร์เคิล รวมเป็นกองกลาง ช่วยเหลื่อและแบ่งปันสู่สังคม และเกิดเป็นกองทุน 1 กองทุน

 

 

กองทุนขยะสร้างสุข มีการดำเนินกิจกรรมในการรับฝาก –ออม แก่สมาชิกที่นำขยะมาฝากกับกองทุนจำนวน 35คน สมาชิกมี สวัสดิการการเฉลี่ยให้กับสมาชิก 100 บาทต่อปี ต่อคน และในกรณีที่สมาชิกเสียชีวิตจะมี เงินฌาปนกิจ คนละ 3,000 บาท อีก 55 คนไม่ได้เป็นสมาชิก แต่ก็นำขยะมาขายกับกองทุนขยะสร้างสุข และขยะแลกสินค้าในร้านค้าสร้างสุข ตลอดจนกลุ่มแรงงานเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ,เขมร ฯ 5.กองทุนขยะสร้างสุข มีการรับบริจาคขยะรีไซเคิล จากสมาชิก และ ชุมชนใกล้เคียง ได้ทุนเป็นจำนวนเงิน8,200 บาท (แปดพันสองร้อย บาทถ้วน)โดยมอบให้กับกองทุนสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลสงขลา เพื่อเป็นปัจจัยในการรักษาพระสงฆ์ที่ป่วย ผ่านกิจกรรม ทอดผ้าป่าสามัคคีรีไซเคิล

3 สภาพแวดล้อมของชุมชน สะอาด เรียบร้อย น่าอยู่อาศัย
ตัวชี้วัด : 3.1 คนในชุมชนร้อยละ90 ร่วมกันพัฒนา ปรับภูมิทัศน์ชุมชน โดยการปลูกพืชสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ บริเวณริมถนนและพื้นที่สาธารณะของชุมชนทุกเดือน 3.2 สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 100 คน มีรายได้เพิ่มขึ้น จากผลผลิตในชุมชน(ดูจากบัญชีครัวเรือน ) 3.3 เกิดเครือข่ายชุมชนสีเขียว 5 ชุมชน 3.4 เกิดชุดความรู้เรื่อง การปลูกพืช ผักฉบับคนเมือง ตามวิถีแห่งความพอเพียง ผ่านธนาคารขยะชุมชน 3.5 เกิดครัวเรือนต้นแบบ อย่างน้อย 5 ครัวเรือน มีการจัดการขยะในรุปแบบพลังงานทางเลือก

 

 

1.เกิดกลุ่มเยาวชนจิตอาสาe-co kidsจำนวน 75 คน ใน 6 ชุมชน เข้าร่วมเรียนรู้กิจกรรม คัดแยกขยะ ร่วมกิจกรรมหน้าบ้านหน้ามอง ปลูกผักปลอดสารพิษ ปรับภูมิทัศน์ในชุมชน

2.ร้อยละ 80 ครัวเรือนในชุมชนป้อมหกมีการจัดการหน้าบ้านของตนเอง เช่น การปลูกต้นไม้,ดอกไม้ และการปลูกผักปลอดสารพิษในภาชนะที่ไม่สามารถใช้งานได้แต่สามารถนำมาตกแต่งและปลูกผักปลอดสารพิษ และัผักสวนครัว เช่น ล้อยางรถยนต์ ,กะละมัง ,

3.สมาชิกในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เดือนละ 400-500 บาท ดูจากบัญชีครัวเรือน และสมุดฝาก –ออม ของกองทุนขยะสร้างสุข

4.มีชุมชนเครือข่ายอีก 5 ชุมชน (ชุมชนมุสลิม /ชุมชนโชคสมาน/ชุมชนริมทางรถไฟ/ชุมชนหมัดยาเหมาะ/ชุมชนศิคริน)ที่เข้าร่วมโครงการ และมีการทำกิจกรรมการจัดการขยะร่วมกับชุมชนป้อมหก เช่น เรียนรู้การคัดแยกขยะ ,นำขยะมาฝากกับกองทุนขยะสร้างสุข ,ขยะแลกของกับร้านค้าสร้างสุข

5.มีชุดความรู้ วารสารที่ชุมมีการจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น ตลอดจนเกร็ดความรู้เล็ก น้อยๆ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยจากใส้เดือนดิน เป็นต้น

6.มีพื้นที่แหล่งเรียนรู้ในชุมชน จำนวน 2 จุด เป็นแหล่งเรียนรู้พลังงานทางเลือก คือ กองทุนขยะสร้างสุข เรียนรู้ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ โดยใช้โซล่าเซลล์ และแก๊สชีวภาพ ของชุมชน 1 จุด คือ บริเวณ บ้านบังชา เลขที่ 244 ถนน ถัดอุทิศ

4 การสนับสนุนติดตามโครงการโดยทีม สสส.,สจรส.มอ.
ตัวชี้วัด : 4.1. การเข้าร่วมประชุมติดตามการดำเนินงานจากทีม สสส.,สจรส.มอ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 4.2. การจัดทำรายงานโครงการ (ส.1 ,ส.2 ,ง.1 ,ง.2 ,ส.3)

 

 

ร้อยละ 90 ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานโครงการมีการเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง และมีการจัดทำรายงานได้อย่างถูกต้อง