directions_run

บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ให้เกิดขึ้นกับเด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ครอบครัวของเด็ก 70 ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กเพิ่มขึ้น 2. ร้อยละ 50 มีเยาวชนศิลปินพื้นบ้านเพิ่มขึ้นในชุมชน 3. ร้อยละ 80 คนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชน โดยนำเอาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

-ร้อยละ 60 ผู้ปกครอง แกนนำชุมชน ปราชญ์ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของลูก หลานตนเอง ผู้ปกครองเห็นความสามารถในการแสดงบุตรหลานทำให้เกิดความภาคภูมิใจ

-มีกลุ่มศิลปินพื้นบ้านที่เป็นกลุ่มเด็ก เยาวชน และนักเรียนในโรงเรียนวัดไทรใหญ่ ในด้านมโนราห์ 20 คน กลองยาว 20 คน

2 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น
ตัวชี้วัด : 1. เกิดคลังภูมิปัญญาชุมชน ใน 3 ด้าน ด้านมโนราห์ ,ด้านกลองยาว และอาหารท้องถิ่นคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยผ่านการเรียนรู้และรวบรวมโดยเยาวชน จำนวน 1 เล่ม 2. เด็กและเยาวชน 70 คนเข้าร่วมเรียนรู้ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมชุมชนตามความสนใจและความถนัด

-เกิดการจัดการเรียน การสอน ด้านมโนราห์ กลองยาว และอาหารท้องถิ่น ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนวัดไทรใหญ่ จำนวน 1 ภาคเรียน

-ร้อยละ 50 เด็ก เยาวชนมีความรู้ด้านมโนราห์ และกลองยาว และสามารถปฎิบัติได้ แสดงได้โดยมีการแสดงร่วมกับกลุ่มผู้ใหญ่มีกลุ่มศิลปินตัวน้อยด้านมโนราห์ 20 คน กลองยาว 20 คน

3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนในโครงการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์กับชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. เกิดกิจกรรมเสริมในโรงเรียนของชุมชน (โครงการพี่สอนน้อง)

เกิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในหลักสูตรการเรียน การสอนของโรงเรียนวัดไทรใหญ่ โดยให้รุ่นพี่ที่มีความรู้ ความสามารถในการแสดงกลองยาวและมโนราห์ มาถ่ายทอดให้กับนักเรียน ระดับชั้น ป.4-ป.6

4 การสนับสนุนติดตามการดำเนินโครงการ โดยทีม สสส.,สจรส.มอ.
ตัวชี้วัด : 1. การเข้าร่วมประชุมติดตามการดำเนินโครงการ ร้อยละ 2. การจัดทำรายงานการโครงการ คือ รายงานการเงิน,รายงาน ส.1 ส.2

มีการประชุมร่วมกับ สจรส.มอ. ทุกครั้งและมีการจัดทำรายงานปิดโครงการนำส่ง สสส.ได้

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ให้เกิดขึ้นกับเด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชน (2) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น (3) เพื่อให้เด็กและเยาวชนในโครงการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์กับชุมชน (4) การสนับสนุนติดตามการดำเนินโครงการ โดยทีม สสส.,สจรส.มอ.

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh