แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด) ”

บ้านหัวลำภู หมู่ที่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นางภูษณิศา แก้วเนิน

ชื่อโครงการ ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)

ที่อยู่ บ้านหัวลำภู หมู่ที่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 57-01533 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0991

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2557 ถึง 10 กรกฎาคม 2558


กิตติกรรมประกาศ

"ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด) จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านหัวลำภู หมู่ที่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)



บทคัดย่อ

โครงการ " ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด) " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านหัวลำภู หมู่ที่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 57-01533 ระยะเวลาการดำเนินงาน 10 มิถุนายน 2557 - 10 กรกฎาคม 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 177,800.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 150 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดคณะปฏิรูปหัวลำภูเพื่อการจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน
  2. เพื่อพัฒนาบ้านต้นแบบให้มีการถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ ใช้วิธีการเพื่อนช่วยเพื่อนและพี่สอนน้อง
  3. เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศน์

    วันที่ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เจ้าหน้าที่ สจรส.อธิบายการจัดทำรายงานทางเวบไซค์ การกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ทำโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ คณะผู้ทำงานโครงการผู้รับทุนจากสสส.เข้าร่วมประชุม ได้รับฟังการชี้แจงจากสสส.เจ้าหน้าที่สจรส.มอ.และทีมงานพร้อมทั้งพี่เลี้ยง และซักถามรายละเอียดการดำเนินงาน การรายงานกิจกรรม ฝึกทำรายงาน การรายงานทางเวปไซด์ สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ฝึกปฏิบัติจริง ตลอดจนสามารถกำหนดปฏิทินการดำเนินโครงการได้เพื่อการดำเนินกิจกรรมได้อย่างเกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ต่อไป ขอบคุณพี่เลี้ยง คณะเจ้าหน้าที่สสส.และสจรส.มอ.ทุกท่าน

     

    2 2

    2. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (1)

    วันที่ 19 มิถุนายน 2557 เวลา 12:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะวิทยากร ชี้แจงรายละเอียด ทำความเข้าใจ การทำกิจกรรมกลองยาว และรำพรานโนราห์ ให้ผู้ร่วมกิจกรรมทราบและร่วมกันกำหนดแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน มอบหมายหน้าที่ผู้ร่วมกิจกรรม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมปฏิรูปศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยนางภูษณิศา แก้วเนิน และทีมวิทยากรวัฒนธรรมท้องถิ่น กับผู้ปกครองเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู จำนวน 35 คน ร่วมกับครู 2คน คณะวิทยากร 3คน ร่วมประชุมชีแจงรายละเอียดโครงการและการร่วมกิจกรรมด้านวัฒนธรรมให้ทุกคนรับทราบอีกครั้งและร่วมกันเสนอแนะแนวทางการทำกิจกรรม ร่วมกำหนดกติกาเพื่อร่วมกันปฏิบัติที่ศูนย์ฯ โดยกำหนดกติกาดังนี้
    1.ร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมทุกวันอังคารแรกของเดือนช่วงบ่าย
    2.อาหารที่ให้เด็กรับประทานต้องไม่ปรุงด้วยเครื่องปรุงรส
    3.เครื่องดื่มต้องไม่ใช้น้ำอัดลม
    4.ร่วมกิจกรรมพัฒนาและปรับภูมิทัศน์ของศูนย์ฯทุกเดือน ซึ่งเป็นการเริ่มต้นแบบก่อนเพื่อการปฏิรูปสู่ข้อที่
    5.ต่อไป หลังจากเสร็จประชุมในครั้งนี้ผู้ปกครองและเด็กๆช่วยกันกวาดทำความสะอาด ปรับภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบของศูนย์ฯด้วยกัน โดยไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้าว่าจะเกิดกิจกรรมนี้ทำร่วมกัน

     

    30 30

    3. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

    วันที่ 23 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดแผนการดำเนินงาน มอบหมายภารกิจ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมราษฏรของหมู่บ้าน ร่วมประชุมคณะทำงาน 6 คน ร่วมกับคณะกรรมการกลุ่มบ้านต้นแบบมหาวิทยาลัยหมู่บ้าน ร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินงานให้สำเร็จตามบริบทของชุมชน มอบหมายภารกิจในการดำเนินโครงการตามความสมัครใจ และความถนัด นางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ - นายบุญธรรม สังผอม ทำหน้าที่เหรัญญิก - นายวิรยุทธ หวังแก้ว ทำหน้าที่เลขานุการ - นายพิชชาบดี ดำจันทร์ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ -นางสาววิชชุดา สุขช่วย  ทำหน้าที่ฝ่ายทะเบียนและบัญชี -นายสุมาศ จันทร์ศรี ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สนับสนุนและร่วมดำเนินกิจกรรม โดยกำหนดให้บ้านสร้างสุข เป็นศูนย์ประสานงานชุมชน และร่วมประชุมคณะกรรมการ ร่วมกับประชุมราษฏร ทุกวันที่ 5 ของเดือน -นางภูษณิศา แก้วเนิน เสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาเรื่อง การจัดทำป้ายหมู่บ้าน เพื่อความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นด้วยให้จัดสร้าง และให้นางภูษณิศา แก้วเนิน ไปดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

     

    32 32

    4. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (2)

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมจัดเวทีที่ศูนย์ประสานงานชุมชน วิทยากรนางภูษณิศา แก้วเนิน นางสาววิชชุดา สุขช่วย นางสาวติ้ม แซ่พั่ว ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรม สร้างความเข้าใจ เสนอแนะข้อคิดเห็นร่วมกัน และชวนทำกระบวนการและท่าทางการออกกำลังกายรำพราน ให้ผู้ปกครองได้มีความเข้าใจและให้ผู้ปกครองร่วมคิดกระบวนท่าการออกกำลังกายร่วมกันโดยใช้ดนตรีมโนราห์ประกอบท่าทาง และร่วมกันกำหนดกติการ่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมประชุมและฝึกซ้อมการรำพราน และกลองยาว กับผู้ปกครองเด็กเล็ก- เด็กๆ -ครู และวิทยากรท้องถิ่น  สมาชิกต่างร่วมกันคิดกระบวนท่ารำ ตามความถนัดเพื่อเพิ่มเติมเป็นท่ารำใช้ในการฝึก พร้อมกับกำหนดให้มีกิจกรรมทำร่วมกัน กำหนดการทำกิจกรรมรำพรานโนราห์ และกลองยาวสลับกันเรียนรู้ทุกเดือน วิทยากรน้อยรำพรานโนราห์ ดญ.ภัทรลภา สุขช่วย -ดญ.สุชาวดี คงแก้ว-ดช.ปิยะวัฒน์ แก้วเนิน -ดช.รฐนนท์ ณ กาศ  และนายไชยา นุ่นสังข์ เป็นคณะวิทยากร กลองยาว ได้แก่ นางสาวติ้ม แซ่พั่ว หัวหน้า และนางจิดาภา แก้วเนิน นางหนูเล็ก คงขลิก  สร้างสัมพันธภาพที่ดีของครู ผู้ปกครอง  เตรียมพร้อมในการร่วมกันทำกิจกรรมตลอดทั้งปี

     

    30 35

    5. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

    วันที่ 3 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำปฏิทินโครงการที่ช่วยกันกำหนดการทำกิจกรรมมาร่วมกันทบทวน ตามลำดับก่อนหลัง มอบหมายงานตามความถนัดและความสมัครใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการทั้งหมดร่วมประชุมที่ศูนย์ประสานงานชุมชน และร่วมกันนำเสนอข้อตกลงร่วมกันในการทำงานดังนี้ ข้อ 1.แยกทีมงานรับผิดชอบร่วมกันแต่ละด้าน ดังนี้ 1.ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน นายบุญธรรม สังผอม เป็นหัวหน้าคณะ  ทีมงานประกอบด้วย นางมนธิรา แก้วเนิน , นางส่อง คงเล่ห์ ,นายสุมาศ จันทร์ศรี (ผู้ใหญ่บ้าน),นายสร้วง เขียวทองจันทร์ , นายสวย ดำนุ้ย ,นายไพโรจน์ หวานอม นายวิรยุทธ หวังแก้ว (ผช.) 2.ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น นางสาววิชชุดา สุขช่วย (ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู) เป็นหัวหน้าคณะ ทีมงานประกอบด้วย นายไชยา นุ่นสังข์ นางสาวติ้ม แซ่พั่ว นางหนูเล็ก คงขลิก นางจิดาภา แก้วเนิน ดญ.ภัทรลภา สุขช่วย นายเสกสรรค์ สุขเกษม
    3.ด้านสวัสดิการชุมชน นางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นหัวหน้าคณะ ทีมงานประกอบด้วย  นายสุพิศ นุนทองหอม (ผช.)นางจุฑามาศ แก้วจันทร์ (สมาชิก อบต.) 4.ด้านปฏิรูปเศรษฐกิจชุมชน นางเตือนใจ คงกำไร เป็นหัวหน้าคณะ ทีมงานประกอบด้วย นายสัมพันธ์ จันทร์เรือง นางเพชรรัตน์ พลายด้วง นางบุญเรือน สุขช่วย นางหวล จันบรรจง นางผิ้น กวนซัง นางแจ้ง หวานอม นางปราณี ไขแก้ว นายสุรศักดิ์ หวานอม  นางสาวนภนันภ์ หนูจุ้ย
    5.ด้านปฏิรูปการศึกษา นายพิชชาบดี ดำจันทร์ เป็นหัวหน้าคณะ ทีมงานประกอบด้วย สมาชิกบ้านต้นแบบที่มีที่พักให้ผู้มาเรียนได้พักอาศัยขณะเรียนรู้ จำนวน 15 บ้าน ข้อ 2. ให้แต่ละด้านเตรียมงานตามปฏิทินกิจกรรมของด้านตนเอง
    ข้อ 3. มอบหมายงานแต่ละด้านกันเอง แล้วนำมาร่วมหารือร่วมกัน

     

    30 30

    6. รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอรายละเอียดโครงการตั้งแต่เริ่มปีแรก โครงการคลีนิคชุมชนคนรักสุขภาพ โครงการมหาวิทยาลัยหมู่บ้าน บ้านหัวลำภู และต่อยอดโครงการปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการนางภูษณิศา แก้วเนิน เล่าเรื่อง โครงการคลีนิคชุมชนคนรักสุขภาพ โครงการมหาวิทยาลัยหมู่บ้าน บ้านหัวลำภู และการต่อยอดโครงการปฏิรูปหัวลำภู สู่หมู่บ้านจัดการตนเอง เล่าความเป็นมา เริ่มทำ ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไรบ้าง การเกิดกติกากลุ่ม ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ ว่าต่อไปจะทำทั้งหมู่บ้านเพื่อปฏิรูปให้เกิดกติกาของหมู่บ้าน สู่การจัดการตนเองได้ และให้ต้นแบบ 30 ครัวเรือนขยายสู่คนในชุมชน 1ต่อ 5 และรับสมัครผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมของโครงการ หรือผู้สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรมของแต่ละด้าน

    1. ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน มีนายบุญธรรม สังผอม เป็นหัวหน้าคณะ
    2. ด้านวัฒนธรรมชุมชน มีนางสาววิชชุดา สุขช่วย เป็นหัวหน้าคณะ
    3. ด้านสวัสดิการชุมชน มีนางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นหัวหน้าคณะ
    4. ด้านเศรษฐกิจชุมชน มีนางเตือนใจ คงกำไร เป็นหัวหน้าคณะ
    5. ด้านการศึกษา มีนายพิชชาบดี ดำจันทร์ เป็นหัวหน้าคณะ

    ผู้ที่สนใจเข้าร่วมตามด้านที่ตนเองสนใจและถนัดที่จะทำกิจกรรมด้านนั้นๆ และกำหนดการทำกิจกรรมร่วมกันของแต่ละด้าน โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลหัวไทร นางรจนา ทรงสังข์ และทีมงาน ฝ่ายเวชปฏิบัติชุมชนและครอบครัว ร่วมคัดกรองสุขภาพให้กับทุกคน

     

    150 150

    7. เรียนรู้การเป็นมัคคุเทศน์ท้องถิ่น

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรม เป้าหมายการเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มบ้านต้นแบบและสมาชิกในครัวเรือน เรียนรู้การเป็นวิทยากรท้องถิ่น โดยมีนายนิพนธ์ มากมณี พัฒนากร เป็นวิทยากร เรียนรู้ การต้อนรับผู้มาเยือน การพูด การตอบคำถาม และร่วมกันกำหนดโฮมสเตย์ตามความ สมัครใจและพร้อมที่จัดบ้านของตนเองให้เป็นโฮมสเตย์ ดังนี้ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน "แหล่งเรียนรู้ คู่ธรรมชาติ บนวิถีชีวิตคนหัวลำภู"

    1.บ้านนายบุญธรรม สังผอม รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน

    2.บ้านนางส่อง คงเล่ห์  รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน

    3.บ้านนางจิดาภา แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน  15 คน

    4.บ้านนางสาวติ้ม แซ่พั่ว รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน

    5.บ้านนางเตือนใจ คงกำไร รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน

    6.บ้านนางหวน จันบรรจง รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน

    7.บ้านนางฉิ้น สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน

    8.บ้านนางสาววิชชุดา สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน

    9.บ้านนางมนธิรา แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน

    10.บ้านนางภูษณิศา  แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 50 คน

      11.บ้านนางชาลี นพรัตน์ รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน  20 คน

    12.บ้านนางบุญเรือน สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน  10 คน

    13.บ้านนางสาวสุมณฑา หนูสีคง รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน  10 คน

    14.บ้านนายสุมาศ จันทร์ศรี รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน

    15.บ้านนางหนูเล็ก คงขลิก  รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน

    บ้านหัวลำภู มีบ้านต้นแบบที่สามารถรับผู้มาเรียนรู้ พักอาศัยและร่วมเรียนรู้ได้ครั้งละ 200 คน

     

    30 35

    8. เรียนรู้การเป็นมัคคุเทศน์ท้องถิ่น

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียนรู้การเป็นวิทยากรท้องถิ่น การสอนผู้มาเรียนให้ฝึกปฏิบัติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มบ้านต้นแบบเรียนรู้การเป็นวิทยากรท้องถิ่น ฝึกปฏิบัติการสอนวิชาตามหลักสูตรของตนเอง ตามความถนัดของสมาชิกแต่ละบ้าน  บางครัวเรือนช่วยกันสอน บางครัวเรือนมอบหมายให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้สอนและนำผู้เรียนฝึกปฏิบัติ

     

    30 32

    9. เรียนรู้การเป็นมัคคุเทศน์ท้องถิ่น

    วันที่ 12 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกนำผู้เรียนปฏิบัติจริงในพื้นที่บ้านต้นแบบแต่ละด้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มบ้านต้นแบบเรียนรู้และปฏิบัติจริง โดยทีมวิทยากรจากพัฒนาชุมชนอำเภอหัวไทร นำผู้เรียนลงพื้นที่ที่บ้านของต้นแบบแต่ละด้าน  และทุกบ้านช่วยกันแนะนำและเติมเต็มร่วมกัน ประเมินร่วมกัน ช่วยกันคิดและร่วมกันเสนอแนะว่าแต่ละบ้านควรจะต้องเพิ่มเติมอย่างไรให้เตรียมพร้อมและสามารถพร้อมที่จะรับผู้มาเรียนให้พักอาสัยอยู่กับเจ้าบ้านได้ ทีมอสม.นางเตือนใจ คงกำไร นางเพชรรัตน์ พลายด้วง นายสัมพันธ์ จันทร์เรือง ช่วยเสนอแนะเรื่องการจัดบริเวณบ้านให้น่าอยู่และถูกสุขลักษณะ

     

    30 33

    10. ฝึกปฏิบัติโฮมสเตย์พื้นที่จริง

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียนรู้การจัดการบ้านเป็นโฮมสเตย์ การจัดตั้งกลุ่มโฮมสเตย์ หลักการเป็นเจ้าของบ้านที่ดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย เรียนรู้เรื่องโฮมสเตย์ ที่ครูสายันต์โฮมสเตย์ ตลาดน้ำคลองแดน ซึ่งจัดให้มีตลาดทุกวันเสาร์ ครูสายันต์  ชลสาคร เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่สมาชิก ซึ่งเป็นโฮมสเตย์หลังแรกของตลาดแห่งนี้
    เรียนรู้ เรื่องการจัดการบ้านเป็นโฮมสเตย์
    -อันดับแรกคือความตั้งใจในการทำโดยต้องมีจิตสาธารณะก่อน - ตลอดจนความมีีคุณธรรม - การรู้จักให้กับผู้มาเยือน - การจัดการบ้านหลักสำคัญคือความสะอาดของบ้าน แบ่งบ้านและจัดการบ้านให้มีระบบ - จัดสรรพื้นที่ของบ้านให้เป็นประโยชน์ การต้อนรับผู้มาเยือนอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส อ่อนโยน พูดจาไพเราะ - การบอกเล่าที่มาหรือประวัติของชุมชนเป็นสิ่งที่ทุกคนควรรู้จักชุมชนของตนเอง - การจัดห้องนอนไม่จำเป็นต้องหรูหรา
    -การมีห้องน้ำให้เพียงพอต่อผู้มาพัก - การเตรียมอาหารให้ผู้มาพัก - ตลอดจนการบริหารจัดการกลุ่มโฮมสเตย์ และร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิก ได้ร่วมกันชมการสาธิตการจัดบ้านให้เหมาะสม น่าสนใจ ตลอดจนสมาชิกทั้งหมดเดินชมตลาดน้ำคลองแดน ผลิตผล อาหารต่างๆ และผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านนำมาขายในตลาด ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีเวทีแสดงให้ผู้มาเที่ยวได้ชม เป็นการแสดงรำมโนราห์ของเด็กและเยาวชน การสีซอของคุณลุง ที่ให้ผู้มาเที่ยวเดินผ่านไปมาได้ฟัง

     

    30 33

    11. เวทีปฏิรูปเกษตรกรรมยั่งยืน (1)

    วันที่ 2 สิงหาคม 2557 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มต้นที่วัดหัวลำภู
    • ตรวจสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมาย
    • ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมสุขภาพดีบนวิถีพอเพียง
    • รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เริ่มต้นร่วมกิจกรรมที่วัดหัวลำภู
    • ตรวจสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายโดยกลุ่มอสม.หมู่บ้าน นางเพชรรัตน์ พลายด้วง นายสัมพันธ์ จันทร์เรือง และให้ความรู้เรื่อง1.หลัก 3 อ.( 1.อาหาร 2. อารมย์ 3.ออกกำลังกาย ) 2.เรื่อง 2ส.3.เรื่องผลกระทบการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย โดยนางรจนา ทรงสังข์ เจ้าหน้าที่เวชปฏิบัติโรงพยาบาลหัวไทร / ผู้ทรงคุณวุฒิโครงการ
    • ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมสุขภาพดีบนวิถีพอเพียง โดยการลงพื้นที่จริงในการเรียนรู้ร่วมกันที่บ้านต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน นายบุญธรรม สังผอม  นายวิรยุทธ หวังแก้ว นายไพโรจน์ หวานอม  เป็นวิทยากรท้องถิ่น
    • รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน โดยอาหารประกอบด้วยแกงเลียงผักรวมที่ปลูกในชุมชน แกงส้มปลากับยอดมะขามจากริมรั้ว หุงข้าวด้วยข้าวสังหยด ไม่ใช้ถุงพลาสติกบรรจุอาหารและใส่ข้าว
    • ผู้สูงอายุบางคนไม่สามารถลงพื้นที่จริงได้เนื่องจากสุขภาพไม่เอื้ออำนวยแต่ก็ส่งสมาชิกในครัวเรือนลงพื้นที่แทน

     

    40 73

    12. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3

    วันที่ 5 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่ร่วมทำแล้วสำเร็จ ผลการทำกิจกรรม ให้ที่ประชุมทราบ และร่วมประเมินผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ใหญ่บ้าน นายสุมาศ จันทร์ศรี คณะทำงาน ประธานการประชุม ร่วมประชุมราษฏรประจำเดือน นางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ
              เรื่องที่ 1)  การดำเนินงานโครงการหมู่บ้านสุขภาวะ  ดังนี้
    1.การประชุม มีการประชุมทุกวันที่ 5 ของเดือน ร่วมกับเวทีประชุมราษฏรและประชาคมหมู่บ้าน และชี้แจงการดำเนินงานโครงการให้ที่ประชุมทราบอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้ผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการผลัดเปลี่ยนกัน และแจ้งที่ประชุมทราบเรื่องกิจกรรมชวนลูกจูงหลานรำพรานโนราห์ และบ้านหัวลำภู ได้รับเลือกเป็นตัวแทนเข้าร่วมงาน ร้อยพลังสร้างสุข ที่ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กทม.วันที่ 26 - 28 สิงหาคมนี้ จะมีตัวแทนหัวลำภูเดินทางไปร่วมทั้งหมด 16 คน

    2.เวทีปฏิรูปด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ร่วมกิจกรรมที่เวทีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู ทุกอังคารแรกของเดือน ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำแล้วสนุกสนาน สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง ครู และวิทยากรน้อย ดญ.ภัทรลภา สุขช่วย และดญ.สุชาวดี คงแก้ว

    3.เวทีปฏิรูปด้านเกษตรกรรมยั่งยืน กำหนดขยายเครือข่ายครั้งที่1 วันที่ 2 สิงหาคม ซึ่งจัดกิจกรรมเป็นที่เรียบร้อย ได้รับความสนใจและร่วมมือจากลุ่มผู้สูงอายุเป็นอย่างดี ทำสัญญาใจเรื่องกติการ่วมกัน 10 ข้อด้วย และครั้งที่ 2 วันที่ 16 ส.ค นี้ ใช้เวทีบ้านวิถีพอเพียงนายบุญธรรม สังผอม เป็นเวที มีกลุ่มผู้สูงอายุเป็นเป้าหมาย

    4.เวทีปฏิรูปเศรษฐกิจชุมชน กำหนดวันที่ 23 ส.ค นี้ ใช้เวทีบ้านต้นแบบวิถีพอเพียงเป็นเวทีขยายเครือข่ายสู่กลุ่มอาชีพ       เรื่องที่ 2.) บ้านหัวลำภูได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษา 1อำเภอ 1หมู่บ้าน โดยรับสมัครผู้ร่วมงดเหล้าในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา และผู้ที่ทำได้จริงเป็นต้นแบบได้รับเกียรติบัตรจากผู้ว้าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 10 คนประเภทบุคคลและครอบครัว

            เรื่องที่ 3.) บ้านหัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ชาวประชาสุขใจ ของกระทรวงวัฒนธรรม 1อำเภอ 1หมู่บ้าน รณรงค์ให้คนในหมู่บ้านรักษาศีล ๕

          เรื่องที่ 4.)บ้านหัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน จากสำนักงานพัฒนาชุมชน และนำเสนอผลงานเพื่อขอรับพระราชทานเงินขวัญถุงจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

     

    30 30

    13. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (3)

    วันที่ 6 สิงหาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นางสาวติ้ม แซ่พั่ว เป็นวิทยากรแนะนำกระบวนท่ารำกลองยาว ให้ทุกคนร่วมกันรำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มเป้าหมายผู้ปกครอง และเด็กเล็ก ร่วมกันรำกลองยาว ฝึกท่ารำ โดยมีวิทยากรท้องถิ่น ต้นแบบกลองยาว นางสาวติ้ม แซ่พั่ว เป็นผู้นำทำ และนางจำเนียร รามแก้ว ซึ่งไม่ได้เป็นวิทยากรกลองยาวและไม่ได้เป็นผู้ปกครองของเด็ก แต่มาร่วมรำด้วยเพราะรักและชอบกลองยาว  และต่างร่วมกันกำหนดกิจกรรมในครั้งต่อไป โดยบอกว่า อยากให้จัดกิจกรรมนี้ทุกสับดาห์ ไม่อยากให้จัดเดือนละครั้ง เวลาน้อยไปอยากรำเป็นเร็วๆ โดยวิทยากรรับปากว่าจะขอมาหารือเรื่องดังกล่าวกับคณะทำงานก่อน

     

    30 32

    14. เวทีปฏิรูปเกษตรกรรมยั่งยืน(2)

    วันที่ 16 สิงหาคม 2557 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กำหนดกติการ่วมกัน
    • บันทึกข้อตกลงร่วมกัน
    • สัญญาใจเริ่มปฏิรูป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กำหนดกติกากลุ่มร่วมกัน จำนวน 10 ข้อ 1.ใช้วิถีพอเพียง 2.ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตอาหาร 3. ไม่บริโภคแกงถุง 4.ไม่ใช้เครืองปรุงรส 5. ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหาร 6. ทำบัญชีครัวเรือน 7. ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด 8.การจัดการขยะอย่างถูกวิธี 9. ร่วมประชุม ตรวจสุขภาพ ทุกปี 10.ร่วมกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล 5
    • ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันแล้วนำไปปิดไว้ที่บ้านของตนเองเพื่อเป็นสัญญาต่อชุมชน
    • มีสัญญาใจต่อกันว่า จะร่วมกันปฏิรูปหัวลำภู ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

     

    40 46

    15. ต้นแบบขยายผลสู่กลุ่มอาชีพ ครั้งที่ 1

    วันที่ 23 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกกลุ่มเป้าหมายร่วมเรียนรู้วิถีพอเพียงที่บ้านต้นแบบ นายบุญธรรม สังผอม เพื่อนำไปปรับใช้ในวิถีชีวิตของตนเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย นัดพบที่ศูนย์ประสานงานชุมชนช่วงหัวค่ำ นางภูษณิศา แก้วเนิน เล่าเรื่องลำนำหัวลำภู และผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา ร่วมคิดและนำเสนอแนวทางการร่วมกันดำเนินกิจกรรมและการรวมกลุ่มกันทำงาน เรียนรู้เรื่องการปลูกผัก และการจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยนายสุพัฒน์ แก้วเนิน บ้านต้นแบบน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ได้หันมาทำวิถีพอเพียงหลังจากเลิกงานประจำตอนเย็น เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน และอาหารปลอดภัยจากสารเคมี
    การเลี้ยงด้วง โดย ดต.กิ่ง โยมมาก ตำรวจจากสภ.หัวไทร ที่ทำอยู่ก่อนมาช่วยแนะนำ หลังจากนั้นไป ร่วมเรียนรู้ ที่บ้านต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน นายบุญธรรม สังผอม และ นายสุมาศ จันทร์ศรี นายวิรยุทธ หวังแก้ว นายไพโรจน์ หวานอม ร่วมกันเป็นวิทยากร สมาชิกร่วมเรียนรู้วิถีพอเพียง และฝึกปฏิบัติจริง การทำนาอินทรีย์ และมีข้าวเปลือกไว้สีกินเองในครัวเรือน ที่เหลือนำไปขายในตลาดชุมชน การทำปุ๋ยหมัก การปลูกผัก การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหมู การเลี้ยงปลา การทำน้ำหมักชีวภาพ ฯลฯ ซึ่งทุกอย่างเป็นวิถีพอเพียงที่อยู่ในบ้านเดียวโดยเอื้อต่อกันอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปปรับใช้ในวิถีชีวิตของตนเองที่บ้าน โดยสมาชิกที่มีความคิดเหมือนกัน จัดทำกันในรูปแบบของกลุ่มๆละ 5 คน ตอนกลางวันนัดพบกันที่ศูนย์ประสานงานอีกครั้ง เพื่อจัดทีมในการรวมกลุ่มอาชีพ

     

    50 53

    16. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (4)

    วันที่ 2 กันยายน 2557 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรท้องถิ่น รำพรานโนราห์ ดญ.ภัทรลภา สุขช่วย และเด็กหญิงสุชาวดี คงแก้ว นำสมาชิกทุกคนร่วมกันรำพรานโนราห์  ประกอบดนตรี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกร่วมกันทำกิจกรรม โดยมีวิทยากรน้อย ดญ.ภัทรลภา สุขช่วย และเด็กหญิงสุชาวดี คงแก้ว เป็นผู้นำทำ  เด็กๆทำท่าทางตามอย่างสนุกสนาน เด็กบางคนทำตามได้ บางคนก็เล่นพลางรำพลางตามแตถนัด

     

    30 31

    17. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4

    วันที่ 5 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมรายงานผล สรุป ประเมินการทำกิจกรรม ที่ผ่านมา และกำหนด วางแผนการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เวทีประชุมหมู่บ้านทุกวันที่ 5 ของเดือน นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานการประชุม ชี้แจงรายละเอียดงานต่างๆที่ทางราชการแจ้งมาให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้ นางภูษณิศา แก้วเนิน ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานกิจกรรมโครงการหมู่บ้านสุขภาวะให้ที่ประชุมรับทราบร่วมกัน 1.ผลการเป็นตัวแทนร่วมงาน"ร้อยพลังสร้างสุข" ที่กทม.ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากทุกคน ทุกหน่วยงาน สมาชิกทุกคนเดินทางโดยสวัสดิภาพและไม่มีปัญหาอุปสรรคใดๆ ผลผลิตของหัวลำภู ที่นำไปจัดนิทรรศการ ของดีบ้านฉัน ได้แก่ ข้าวปลอดสารพิษ ขนมลา กะปิกุ้ง น้ำมันมะพร้าวสะกัดเย็น ผักต่างๆ กล้วยอบ หมวกเปี้ยวฯลฯ ของที่ขายดี คือขนมลา กับกะปิ 2.บ้านหัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ปี 2557 โดยมีกติการ่วมกันในชุมชนเพื่อถือปฏิบัติ 3.นายวิระยุทธ หวังแก้ว ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้ยื่นหนังสือขอลาออก เนื่องจากต้องทำธุรกิจนอกพื้นที่ แต่ตำแหน่งเลขานุการ และต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืนของโครงการยังดำเนินงานตามปกติ 4.กลุ่มที่สนใจจัดตั้งกลุ่มอาชีพ กลุ่มละ 5 คน ตอนนี้ ที่เริ่มดำเนินงานได้จริงแล้วและเห็นเป็นรูปธรรม คือ -กลุ่มปลูกผัก มีนายประยูร ทองศรีจันทร์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม - กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ นางเพชรรัตน์ พลายด้วง เป็นหัวหน้ากลุ่ม - กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง มีนางปราณี ไขแก้ว เป็นหัวหน้ากลุ่ม - กลุ่มขนมท้องถิ่น มีนางสำลี เขียวทองจันทร์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม ขณะนี้กำลังทำขนมลาขาย ตรงกับเทศกาลเดือนสิบของภาคใต้พอดี โดยใช้อุปกรณ์ในการทำกับกลุ่มต้นแบบบ้านนางเตือนใจ คงกำไร- กลุ่มเลี้ยงด้วง มีนายประยูร รัตนบุรี เป็นหัวหน้ากลุ่ม ส่วนกลุ่มที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ และกำหนดวันที่ 20 กันยายน นี้ นัดประชุม ร่วมประเมินและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2 เชิญทุกท่านร่วมกิจกรรมดังกล่าวที่บ้านต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืนนายบุญธรรม สังผอม

     

    30 30

    18. ต้นแบบขยายผลสู่กลุ่มอาชีพ ครั้งที่ 2

    วันที่ 20 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียนรู้วิถีพอเพียงที่บ้านต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน และนำไปจัดตั้งกลุ่มอาชีพปฏิบัติได้จริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มเป้าหมายทุกคน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน นายบุญธรรม สังผอม และมีวิทยากรท้องถิ่น นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน นายไพโรจน์ หวานอม นายวิรยุทธ หว้งแก้ว ร่วมแลกเปลี่ยนด้วย สมาชิกล้อมวงคุยกันตามกลุ่มที่แต่ละคนได้จับจองกันไว้แล้วตามความถนัดและสนใจ และต่างร่วมกันนำเสนอข้อคิดเห็น ปัญหาอุปสรรคในการทำกิจกรรมของกลุ่ม
    1. กลุ่มเลี้ยงด้วง นายประยูร รัตนบุรี เริ่มเลี้ยงแล้วแต่เปลือกมะพร้าวที่จะต้องทุบให้ด้วงกินทุกวันมีน้อย

    2.กลุ่มปลูกผัก นายประยูร ทองศรีจันทร์  สมาชิกกลุ่มเริ่มปลูกผักไว้ทานเองแล้ว

    3.กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ นางเพชรรัตน์ พลายด้วง สมาชิกเริ่มทำคอกไก่ และอยู่ระหว่างหาพันธูไก่

    4.กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง นางปราณ๊ ไขแก้ว สมาชิกเริ่มทำคอกไก่ และอยู่ระหว่างหาพันธูไก่

    5.กลุ่มขนมท้องถิ่น นางสำลี เขียวทองจันทร์ สมาชิกร่วมกันทำขนมลาขาย ใช้อุปกรณ์จากบ้านต้นแบบที่มีอยู่ก่อนแล้ว ช่วงแรกๆหัดกันหลายรอบ ต้นแบบช่วยฝึกและปฎิบัติจริง ตอนนี้ทำไว้กินเอง แจกลูกหาน และขายในชุมชน ไม่พอกับความต้องการ

    6.กลุ่มเลี้ยงปลา อยู่ระหว่างดำเนินการ 7.กลุ่มเลี้ยงกบ  อยู่ระหว่างดำเนินการ 8.กลุ่มนาอินทรีย์  อยู่ระหว่างดำเนินการ 9.กลุ่มเลี้ยงเป็ด  อยู่ระหว่างดำเนินการ 10.กลุ่มทำเคย มีนางสาวนภนันท หนูจุ้ย สมาชิกร่วกกันหากุ้งมาร่วมกันทำ ตอนนี้ส่งขายเป็นกระปุก เพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

     

    50 50

    19. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5

    วันที่ 5 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดแผนการดำเนินงาน สรุปผลการจัดกิจกรรม ร่วมประเมินผล มอบหมายงานในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภูษณิศา แก้วเนิน สรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาให้ที่ประชุมทราบ

    1.ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน สมาชิกกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มชมรมผู้สูงอายุม.4 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเริ่มดำเนินการ

    2.ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น สมาชิกกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ปกครองและเด็กเล็กที่ศูนย์เด็กเล็กบ้านหัวลำภู ทุกวันอังคารของทุกเดือน และจะเพิ่มการจัดกิจกรรมให้เพิ่มขึ้นเนื่องจากกลุ่มเป้าหมายต้องการที่จะเพิ่มเวลาในการจัดกิจกรรมให้มากขึ้น ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป 7 ตค.นี้จะนำผู้ปกครองและแกนนำชุมชน แกนนำอสม.ช่วยกันทำความสะอาดเนื่องจากพบโรคมือ เท้า ปาก เปื่อย 1 ราย

    3.ด้านการศึกษา มีวิทยากรท้องถิ่นและมีบ้านต้นแบบที่สามารถให้ผู้มาเรียนพักอาศัยในขณะเรียนได้ จำนวน 20 หลัง 200 คน

    4.ด้านเศรษฐกิจชุมชน เกิดกลุ่มอาชีพต่างๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ

    5.ด้านสวัสดิการชุมชน อยู่ระหว่างขอสมทบเงินจากอบต.หัวไทร และมีแผนงานที่จะพาคณะกรรมการศึกษาดูงานนอกสถานที่ ยังไม่กำหนดสถานที่และเวลา

    6.วันที่ 10 ตุลาคมนี้ ได้รับเชิญจากโรงพยาบาลหัวไทร ให้ผู้นำชุมชนร่วมนำเสนอผลงานการมีส่วนร่วมของชุมชนในการประเมินคุณภาพของโรงพยาบาล ใช้โปรแกรมพาวเวอร์พอย ในการนี้มอบหมายให้ทีมงานอสม.ม.4 นายสุมาศ จันทร์ศรี ,นางเตือนใจ คงกำไร, นางเพชรรัตน์ พลายด้วง, นายสัมพันธ์ จันทร์เรือง, ร่วมกิจกรรมกับหัวหน้าต้นแบบ นางภูษณิศา แก้วเนิน ,นายศานิต นุ่มคง, นางสาวสุมณฑา หนูสีคง เวลา 8.30 น.ผลสรุปจะนำมาเล่าในการประชุมครั้งต่อไป

    7.งานร้อยพลังสร้างสุข ทุกคนที่ไปร่วมกิจกรรม ได้รับความชื่นชมจากผู้ร่วมงานอย่างน่ายินดี

     

    30 30

    20. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (5)

    วันที่ 7 ตุลาคม 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขยายผลวัฒนธรรมท้องถิ่น กลองยาว และรำพรานโนราห์ สู่เครือข่าย โดยใช้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภูเป็นเวทีขยายผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายร่วมทำกิจกรรมช่วงเช้า เสร็จแล้ว  ร่วมกันทำความสะอาดอุปกรณ์ทั้งหมด และนำไปตากแดด และอาคารเรียน ห้องเรียน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เปื่อย ที่พบในเด็ก 1 ราย และให้หยุดเรียน 3 วัน และปิดเทอมต่อไป จะเปิดเรียนวันที่ 3 พฤษจิกายน นี้ โดยมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลหัวไทร มาร่วมด้วย แกนนำอสม.ผู้ปกครอง และครู ต่างช่วยกันทำความสะอาดจนเรียบร้อย และนัดการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป เปิดเทอมหน้า โดยสมาชิกทุกคนมีช่องทางที่ติดต่อประสานงานกันทางโทรศัพท์ และการติดต่อทางไลน์กลุ่ม คณะทำงานสร้างสุข และ 1669
    - นัด่ทีมคณะทำงาน และแกนนำอสม.ร่วมนำเสนอผลงานการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงพยาบาลหัวไทร วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม 2557 เวลา8.30น.ในการประเมินคุณภาพของโรงพยาบาลHA โดยนางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นผู้นำทีมนำเสนอในรูปแบบพาวเวอร์พอย

     

    30 30

    21. เวทีเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงานงวดที่1

    วันที่ 18 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงานงวดที่ 1 คณะทำงานโครงการ ร่วมเวทีเรียนรู้กับทีมพีึ่เลี้ยง ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สรุปเอกสารรายงานเป็นรายครั้งที่ทำกิจกรรม ประกอบด้วย รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม หลักฐานการเบิกจ่ายเงิน และรูปภาพการทำกิจกรรม ขั้นตอนที่ 2 บันทึกกิจกรรมวันนี้ โดยมีหลักฐาน ชื่อผู้เข้าร่วมในโครงการ ใบสำคัญรับเงินค่าอาหาร ๗๐๐ บาทจากที่ประชุม และค่าเดินทางของพื้นที่ ขั้นตอนที่ 3 นำเอกสารให้พี่เลี้ยงโครงการเสนอแนะ ขั้นตอนที่ 4 นำเอกสารมาสรุปผลงานงวดกับอาจารย์กำไล สมรักษ์ หรือพี่เลี้ยงสุดา ไพศาล พริ้นรายงานส่ง สสส ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำตามกิจกรรมได้ตามสัญญา และมีผลงาน คือ

    1 หัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านรักษาศีล๕ ของกระทรวงวัฒนธรรม

    2.หัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน

    3.หัวลำภู ได้รับเลือกเข้าร่วมกิจกรรม '' งานร้อยพลังสร้างสุข '' ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กทม.โดยจัดนิทรรศการน์ของดีบ้านฉัน และรำพรานโนราห์ ร่วมงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภูษณิศา แก้วเนิน ร่วมพิธีเปิด และปิด

    4.หัวลำภู ได้รับเลือกร่วมกิจกรรม ประเมินมาตรฐานโรงพยาบาลหัวไทร

    5.หัวลำภู มีกติกาชุมชนสีเขียว ร่วมกันเพื่อถือปฏิบัติ จำนวน 10 ข้อ 6.หัวลำภู มีกลุ่มอาชีพเพิ่มมากขึ้น กลุ่มเลี้ยงด้วง กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง กลุ่มปลูกผัก กลุ่มขนมท้องถิ่น

    7.หัวลำภู มีกลุ่มวัฒนธรรมท้องถิ่นเกิดขึ้น จากผู้ปกครองและเด็กๆ ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู

    8.หัวลำภู มีโฮมสเตย์เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้มาเรียนไดพักอาศัยขณะเรียน จำนวน 15 หลัง

    9.กลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืน มีแปลงนาอิทรีย์สาธิต เพื่อให้ผู้มาเรียนได้ฝึกปฏิบัติ

    10.แผนพัฒนาหมู่บ้านและตำบล กำหนดชุมชนสุขภาวะและตำบลสุขภาวะ อยู่ในแผนพัฒนา

    11.หัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้าน งดเหล้าเข้าพรรษา

    12.หัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2558 ของพัฒนาชุมชนอำเภอหัวไทร

    13.การเงินโครงการงวดที่ 1รับเงินจากสสส. 71120 บาท ใช้ไปทั้งหมด 110160บาท  ติดลบ -38540  บาท เนื่องจากกำหนดการจัดกิจกรรมตามแผนงาน และการต่อเนื่องของกิจกรรม โดยกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ได้สำรองจ่ายเงินสำหรับจัดกิจกรรม

     

    3 3

    22. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (6)

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรท้องถิ่น สอนกลองยาว ให้ครู ผู้ปกครอง และเด็กเล็กร่วมกันทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วิทยากรท้องถิ่น โดยครูติ้ม นำผู้ปกครอง ครู และเด็กๆ ร่วมกันรำกลองยาวประกอบดนตรีกลองยาวพื้นบ้าน ทุกคนร่วมกันรำอย่างสนุกสนาน บางคนจำท่ารำได้ดี บางคนจำท่าไม่ได้ก็ย้ายสะเอวตามจังหวะ เด็กๆบอกว่าอยากให้ครูติ้มมาสอนกลองยาวทุกอาทิตย์ จะได้รำเป็นเร็วๆ

     

    30 30

    23. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุป ประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา กำหนดแผนการดำเนินงาน มอบหมายงานในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวเปิดการประชุมหมู่บ้านประจำเดือนพฤศจิกายน แจ้งเรื่องจากหน่วยงานราชการต่างๆให้ที่ประชุมทราบ
    นางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ

    1.เรื่องผลการดำเนินงานโครงการงวด1 ปิดรายงานงวดเรียบร้อยแล้ว

    2.กิจกรรมด้านเกษตรกรรมยั่งยืน ตอนนี้ มีการจัดตั้งกลุ่มกองทุนชาวนาขึ้น เพื่อช่วยเหลือกันในการประกอบอาชีพ มีระเบียบกติกากลุ่มเพื่อถือปฏิบัติ

    3.การอบรมโครงการหลักสูตร ผู้นำการพัฒนา ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งบ้านหัวลำภูและตำบลหัวไทร ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้เข้ารับการอบรม ระหว่างวันที่ 10 - 12พย.2557นี้ ที่อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช มีกลุ่มแกนนำต่างๆทั้งหมด 40 คน โดยบ้านหัวลำภู ผู้ที่ไปร่วมอบรมดังนี้ - นางภูษณิศา แก้วเนิน - นางปราณี ไขแก้ว- นางเพชรรัตน์ พลายด้วง- นางเตือนใจ คงกำไร -นางส่อง คงเล่ห์ -นายบุญธรรม สังผอม - นายสุมาศ จันทร์ศรี - นายสร้วง เขียวทองจันทร์-นางจิดาภา แก้วเนิน - นางสาวจุฬาลักษณ์ มุสิกพันธ์ -นางธนภรณ์ จันทร์นวล -นางสะอิ้ง หนูคงบัตร์ -นางสาวศรีสุดา สังข์ชุม -นางสาวติ้ม แซ่พั่ว

    4.กิจกรรมด้านเศรษฐกิจชุมชน การจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆตอนนี้ อยู่ระหว่างดำเนินการ และร่วมกันประเมินผล

    5.กิจกรรมกองทุนแม่ของแผ่นดิน ผ่านการพิจารณาจากจังหวัดเรียบร้อยแล้ว และต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนในการดำเนินงานกิจกรรมทุกอย่าง การดำเนินงานทุกอย่างจะนำมาสรุปและแจ้งให้ที่ประชุมทรายร่วมกับการประชุมหมู่บ้านทุกวันที่ 5 ของเดือน

     

    30 38

    24. ติดตามผลผู้เรียนหลังจากกลับไป3เดือน แยกเวทีเป็นคณะรวม5เวที

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เวทีคณะเกษตรกรรมยั่งยืน ที่บ้านต้นแบบเกษตรกรรม 2.เวทีวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู 3.เวทีสวัสดิการชุมชน ที่ศูนย์ประสานงานชุมชน 4.เวทีคณะเศรษฐกิจชุมชน ที่บ้านต้นแบบเกษตรกรรม 5.เวทีการศึกษา ที่ศูนย์ประสานงานชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แยกแต่ละเวทีสรุปและติดตามผลหลังการเรียนรู้แล้วนำมาสรุปร่วมกันอีกครั้งที่ศูนย์ประสานงานชุมชน

    เวทีเกษตรกรรมยั่งยืน

    เวทีเศรษฐกิจชุมชน

    เวทีการศึกษา

    เวทีสวัสดิการ

    เวทีวัฒนธรรมท้องถิ่น

    เมื่อนำหัวหน้าคณะปฎิรูปมาสรุปร่วมกัน แล้วช่วยกันกำหนด เกิดกติกาชุมชนสีเขียว หรือ ชุมชนจัดการตนเอง ในการปฎิบัติร่วมกัน คือ
    1.) ใช้วิถีพอเพียง 2.) ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตอาหารทั้งระบบ 3.) ไม่บริโภคแกงถุง
    4.) ไม่ใช้เครื่องปรุงรส 5.) ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหาร 6.) ทำบัญชีครัวเรือน 7.) ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด 8.) การจัดการขยะอย่างถูกวิธี 9.) ประชุม / ตรวจสุขภาพ ร่วมกัน อย่างน้อยปีละ 1ครั้ง 10.) ร่วมกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และกำหนดเป็นกติกาชุมชนร่วมกัน นำเสนอในแผนชุมชนของหมู่บ้านต่อไป

     

    150 155

    25. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (7)

    วันที่ 2 ธันวาคม 2557 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกิจกรรมรำพรานโนราห์ กับวิทยากรน้อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วิทยากรนางสาวติ้ม แซ่พั่ว  เป็นผู้นำทำกิจกรรมรำพรานโนราห์ ประกอบดนตรี ทุกคนต่างร่วมกันรำอย่างสนุกสนาน บางคนยังจำท่ารำไม่ได้ แต่ก็เต้นไปตามจังหวะของดนตรี

     

    30 32

    26. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7

    วันที่ 4 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่จากรพ.หัวไทร ขี้แจงการร่วมทำกิจกรรม แผนกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เจ้าหน้าที่จากร.พหัวไทร โดยนางสาวนุศรา บัวเชย และทีมงาน ร่วมตรวจสุขภาพ วัดความดัน เจาะเลือดเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน และให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ แจ้งผลการตรวจและให้คำแนะนำแก่ผู้ร่วมประชุม นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน /คณะทำงานปฎิรูป ได้แจ้ง
    1.กำหนดการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 87 พรรษา วันที่ 5ธันวาคม 2557 ที่เทศบาลหัวไทร 2. แจ้งค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
    3.แจ้งเรื่องการพัฒนาหมู่บ้าน ปรับภูมิทัศน์หมู่บ้านเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 4.แจ้งเรื่องการรณรงค์ให้ใส่เสื้อเหลืองเดือนธันวาคม 5.แจ้งเรื่องจากหน่วยงานต่างๆ
    6.กองทุนแม่ของแผ่นดิน ได้รับพระราชทานเงิน8,000 บาท
    7.แจ้งการจัดงานบุญทานไฟของวัดหัวลำภูและสวดมนต์ข้ามปีคืนวันที่31ธ.ค

    .8.การจัดงานปีใหม่ของกองทุนเงินล้าน

    9.แจ้งการได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปี 2558โดยจะอบรมแกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างวันที่ 17 - 21 ธันวาคม นี้เป็นเวลาจำนวน 5 วันติดต่อกัน ที่ศูนย์ประสานงานชุมชน ที่ทำการสารวัตรกำนัน

    10.การฝึกอบรมโครงการพัฒนาขีดความสามารถคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ(กพสอ.) เพื่อให้พลังสตรีเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชน การส่งเสริมครอบครัวแข็งแรงตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วันที่ 3 ธันวาคมนี้ ที่ศูนย์ประสานงานชุมชน ที่ทำการสารวัตรกำนัน จากพัฒนาชุมชนอำเภอหัวไทร

     

    30 65

    27. ขยายเครือข่ายสวัสดิการชุมชน

    วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขยายเครือข่ายด้านสวัสดิการชุมชน โดยการร่วมกิจกรรมบุญทานไฟและสวดมนต์ข้ามปี ในวัดหัวลำภู 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตอนกลางวันคณะทำงานร่วมกับเครือข่าย  มอบของขวัญเด็กๆและผู้สูงอายุตามหมู่บ้าน หลังจากนั้น ร่วมกับคณะกรรมการวัดหัวลำภู จัดกิจกรรมบุญทานไฟ และสวดมนต์ข้ามปี ในศาลาการเปรียญวัดหัวลำภู เริ่มกิจกรรมตั้งแต่หัวค่ำ 19.00 น.คืนวันที่ 31 ธันวาคม 2557มีพระกฤษตพล หนูคงบัตร เจ้าอาวาสวัดหัวลำภู เป็นประธานในการจัดกิจกรรม และพักรับประทานอาหารว่างเป็นน้ำเต้าหู้ และข้าวต้มร้อนๆ นั่งบ้างนอนบ้างกันในวัด ทุกคนมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสอิ่มบุญ หลังจากนั้นเริ่มสวดมนต์อีกครั้งเวลา 23.00 น.โดยสวดมนต์ทั้งหมด 108 จบ ทุกคนสามารถทำได้จนเสร็จพิธี และพักผ่อนนอนกันในศาลาการเปรียญ ตี 3 ทุกคนก็จัดเตรียมทำขนมถวายพระในกิจกรรมบุญทานไฟ ที่หลายคนไม่เคยเห็น มีการก่อกองไฟ และคนที่นำอุปกรณืมาทำขมก็จะไปจุดไฟจากกองไฟนั้นเพื่อนำมาใช้ที่เตาของตัวเอง กลุ่มวัฒนธรรมท้องถิ่น นางกัลยา ขวัญเกิด ทำขนมพิม นางวรรณา คงเส้ง ทำขนมเจาะรู นางเตือนใจ คงกำไร ทำข้าวต้ม กลุ่มปลูกผักปลอกสารพิษ นางสะอิ้ง หนูคงบัตร และนางสาวศรีสุดา ดำชุม นางสมบูรณ์ คงนวลมี นางเพชรรัตน์ พลายด้วง ร่วมกันทำขนมโค กลุ่มน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ร่วมกันทำข้าวต้มมัด กลุ่มบางไร่ โดยนายประเทือง มิ่งใหญ่ ทำข้าวต้ม กลุ่มทะเลปัง โดยนางภัทรณัญ มณีเพชร ทำเครื่องดื่ม กลุ่มลำคลอง โดยนางพิชญา ดวงจันทร์ นำข้าวเหนียวปิ้ง มาร่วมงาน กลุ่มหนองนกไข่ โดยนางสาวสุภาวดี ชูมี ทำขนมโค และกลุ่มบ้านพัฒนา โดยนางสาวกมลพรรณ หวานอม และทึมงานรับด้านบริการ ล้างถ้วยชาม โดยเมื่อจัดเตรียมขนมเสร็จแล้ว นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน นายสุพิศ นุ่นทองหอม ผช.ได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดรับบิณฑบาตรและรับการถวายอาหาร โดยนางกิ่งกาญจน์ รักษาสัตย์ ตำแหน่งวัฒนธรรมอำเภอหัวไทร ประธานฝ่ายคฤหัส เสร็จแล้วมีการจับของขวัญพระ หลังจากนั้นพระให้พร และเจ้าอาวาสร่วมกับคณะทำงานสร้างสุขหารือและกำหนดจัดกิจกรรมนี้ในปีต่อๆไป โดยจะให้ชาวบ้านได้ร่วมจับของขวัญในกิจกรรมนี้ด้วย และเสนอต่อวัฒนธรรมอำเภอหัวไทร กำหนดให้วัดหัวลำภู เป็นต้นแบบอำเภอในการจัดงานบุญทานไฟ และเข้าแผนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

     

    30 120

    28. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8

    วันที่ 5 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แจ้งผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา สรุป และประเมินผล มอบหมายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน ดำเนินการประชุม ชี้แจงรายละเอียด ประชาสัมพันธ์ข่าวจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
    นางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวขอบคุณผู้ร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี และบุญทานไฟ เมื่อคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยกิจกรรมบุญทานไฟ เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวนครศรีธรรมราช ที่หายไปไม่มีใครได้เคยร่วมกิจกรรมดังกล่าว นางกิ่งกาญจน์ รักษาสัตย์ วัฒนธรรมอำเภอหัวไทร ได้เลือกเอาวัดหัวลำภู ทำกิจกรรมนี้เพื่อสืบทอดให้คนรุ่นหลัง การทำบุญทานไฟเป็นการทำบุญขนมที่ทำกันในวัด ก่อกองไฟ 1 กอง แล้วผู้ที่ทำขนมจะจุดไฟจากกองไฟนั้นมาที่เตาของตนเอง เสร็จแล้วร่วมกันถวายพระภิกษุสงฆ์ รับพร เป็นสิริมงคลวันขึ้นปีใหม่ หลังจากนั้นทุกคนจะรับประทานร่วมกัน ในการนี้มีผู้ร่วมทำขนมคือ นางเตือนใจ คงกำไร ข้าวต้ม 1 เตา นางกัลยา ขวัญเกิด ขนมพิมพ์ 1 เตา นางวรรณา คงเส้ง ขนมเจาะรู 1 เตา นางสะอิ้ง หนูคงบัตร ขนมโค 1 เตา หมู่ที่ 5 บ้านหนองนกไข่ ข้าวต้มมัด 1 เตา หมู่ที่ 2 บ้านทะเลปัง น้ำชา 1 เตา หมู่ที่ 8 บ้านบางไร่ ข้าวต้ม 1เตา โดยกิจกรรมประเพณีบุญทานไฟนี้ผู้ร่วมกิจกรรมเสนอให้เป็นต้นแบบของอำเภอหัวไทร และนัดกันว่าจะมาร่วมกิจกรรมนี้อีกคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และนัดจะเอาของขวัญมาร่วมกันแลกเนื่องในวันปีใหม่ด้วย โดยพระกฤษตพล หนูคงบัตร เจ้าอาวาสวัดหัวลำภู เป็นประธานจัดกิจกรรมดังกล่าวด้วย

        และแจ้งการศึกษาดูงานของนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากประเทศจีน kunming medical university เดินทางมาเรียนรู้เรื่องการปฎิบัติการพยาบาล วิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมไทยในจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมคณะสื่อมวลขนมาร่วมถ่ายทำสารคดีด้วย วันพุธที่ 21 มกราคมนี้ และมอบหมายให้นายไชยา นุ่นสังข์ นางสาววิชชุดา สุขช่วย นางสาวติ้ม แซ่พั่ว เป็นผู้นำทีมรำพรานโนราห์ เป็นฝ่ายต้อนรับ และจะนำลงพื้นที่บ้านต้นแบบตามวิถีของคนหัวลำภู และขอเชิญพี่น้องหัวลำภูทุกคนร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานดังกล่าวด้วย

     

    30 50

    29. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (8)

    วันที่ 6 มกราคม 2558 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันรำพรานโนราห์ และรำกลองยาว โดยวิทยากรท้องถิ่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครอง และเด็กๆร่วมกันรำกลองยาว โดยใช้จังหวะจากเสียงอัดที่คณะกลองยาวซ้อมตอนหัวค่ำ ในตอนกลางวันคณะกลองยาวส่วนใหญ่จะต้องประกอบอาชีพ และซ้อมตีกลองยาวข่วงหัวค่ำหลังเลิกงาน ทุกคนรำอย่างสนุกสนาน ผู้ปกครองเสนอให้รำทุกวัน หรือบรรจุเป็นชั่วโมงสอนในตารางเวลาเรียนของเด็กๆ 

     

    30 37

    30. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมชุมชน (9)

    วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกิจกรรมรำพรานโนราห์ รำกลองยาว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู็ปกครอง ครูและเด็กๆร่วมกันรำพรานโนราห์ โดยวิทยากรน้อย ดญ.ภัทรลภา สุขช่วย และดญ.สุชาวดี คงแก้ว ทุกคนร่วมกันรำอย่างสนุกสนาน ผู้ปกครองบางคนยังแสดงอาการเขินอาย บางคนนำลูกๆรำได้อย่างดี

     

    30 32

    31. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แจ้งผลการดำเนินงาน สรุป มอบหมายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน ดำเนินการประชุม ชี้แจงรายละเอียดเรื่องต่างๆที่หน่วยงานราชการแจ้งมา - ให้ผุู้ปลูกข้าวไปขึ้นทะเบียน -ตำรวจฝากเรื่องการแต่งรถทุกชนิด - ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านตอนนี้ ยังมีการเฝ้าระวัง -การขึ้นทะเบียนทหาร -เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแจ้งบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 20 - 50 ปีไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบได้ในวันศุกร์ที่ 13 กพ.นี้ที่วัดหัวลำภู เวลา 8.30- 12.00 น .-วัดหัวลำภู จัดทอดผ้าป่าสามัคคี วันที่ 12 เมษายน 2558 นี้ นางสาวศรีสุดา ดำชุม ตัวแทนคณะทำงานได้รับมอบหมายจากนางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการ ขี้แจงต่อที่ประชุม เรื่องชมรมคนรักษ์สมุนไพรอำเภอหัวไทร ประกอบด้วยกลุ่มปลูกสมุนไพร จำนวน 9 กลุ่ม และได้ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม จังหวัดสงขลา ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ และกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ จะขอรับงบสนับสนุนจากกองทุนสปสข.อบต.หัวไทร หากใครสนใจเรื่องใดให้สอบถามได้ที่คณะทำงาน

     

    30 36

    32. ติดตามผลผู้เรียนหลังจากกลับไป3เดือน

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามผลการร่วมกิจกรรม สรุปผลการดำเนินงานของแต่ละคณะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นางภูษณิศา แก้วเนิน หัวหน้าคณะทำงาน ได้ดำนินการปราศรัย เปิดเวทีให้แต่ละคณะได้แสดงความคิดเห็น แยกเป็น 5 คณะ

    1.คณะเกษตรกรรมยั่งยืน นายบุญธรรม สังผอม หัวหน้าคณะและสมาชิกร่วมกันพูดคุย สรุปได้ว่า สมาชิกปลูกผักกินเองเพิ่มมากขึ้น โดยลดการใช้สารเคมี ช่วงแรกๆลองผิดลองถูก และบางคนมาถามขอคำแนะนำที่บ้านต้นแบบ และมีเครือข่ายมาศึกษาดูงานเพิ่มมากขึ้น เข้าร่วมกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และได้รับการสนับสนุนทุนชุมชน จัดทำแปลงนาสาธิต จำนวน 30,000 บาท ด้วย

    2.คณะวัฒนธรรมท้องถิ่น นายไชยา นุ่นสังข์และสมาชิกร่วมพูดคุย สรุปได้ว่า ตอนนี้วิทยากรน้อย และวิทยากรใหญ่ ได้ไปสอนรำพรานโนราห์ และกลองยาว ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภูทุกเดือน ผู้ปกครองเสนอมาว่าให้บรรจุไว้ในตารางเรียนของเด็กเพื่อเด็กจะได้รำเป็นได้เร็วขึ้น คณะกลองยาวบ้านหัวลำภูซ้อมกันทุกหัวค่ำ และจะร่วมขบวนแห่ผ้าจังหวัดในวันที่ 3 มีนาคม วันแห่ผ้าขึ้นธาตุนี้ด้วย

    3.คณะการศึกษา นางสาววิชชุดา สุขช่วย แสดงความคิดเห็นว่า ตอนนี้ บ้านโฮมสเตย์พร้อมรับคณะศึกษาดูงานจำนวน 15 หลัง

    4.คณะเศรษฐกิจชุมชน นางสาวศรีสุดา ดำชุม แสดงความคิดเห็นว่า กลุ่มปลูกผักตอนนี้กำลังดำเนินการปลูกผักกินเอง แต่มีปัญหาคือฝนทิ้งช่วง 3 เดือนแล้ว ขาดน้ำรดผัก แต่ทุกคนยังสู้จะทำต่อไป บางคนก็มีผักกินและได้แบ่งเพื่อนแล้ว

    5.คณะสวัสดิการชุมชน นางสอิ้ง หนูคงบัตร แสดงความคิดเห็นว่า สมาชิกตอนนี้มีกระปุกหยอดวันละบาท ทำจากกระป๋องแป้งที่ใช้แล้ว

    และทุกคนได้ร่วมกันกำหนดกติกากลุ่มคือ 1.ใช้วิถีพอเพียง (ร่วมครัวเรือนต้นแบบหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง) 2.ไม่กินแกงถุง 3.ลดการใช้สารเคมี 4.ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหารร้อน 5.ปลูกผักกินเอง 6.ร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ และจัดพิมพ์แจกให้แต่ละครัวนำไปติดไว้ที่บ้านของตนเอง

     

    150 170

    33. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (10)

    วันที่ 3 มีนาคม 2558 เวลา 11:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกิจกรรมแห่ผ้าขึ้นธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการ ร่วมกับหน่วยงานราชการ แกนนำ กำนันผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มกลองยาวบ้านหัวลำภู จำนวน 120 คน จัดขบวนแห่ผ้าพระบฏนานาชาติเมืองนครศรีธรรมราช

     

    30 30

    34. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10

    วันที่ 5 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปและรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มอบหมายงานตามกิจกรรมที่กำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน ดำเนินการประชุม ชี้แจงรายละเอียดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    นางภูษณิศา แก้วเนิน แจ้งผลการดำเนินกิจกรรมหมู่บ้านสร้างสุข ตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเป็หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยมี 30 ครัวเรือนเป็นต้นแบบ มีพัฒนากรอำเภอมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ และติดตามการดำเนินงาน หลังจากนี้จะได้มีผญ.เป็นคณะกรรมการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ได้บริหารต่อไป  และตนเองได้รับการคัดเลือกไปอบรมsmart leader ที่ชลบุรี ตัวแทนจังหวัด เป็นเวลา 10 วัน ในการอบรมได้รับการโหวตให้เป็นผู้ที่มีวาทศิลป์ยอดเยี่ยมด่วย

     

    30 36

    35. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 11

    วันที่ 5 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ประเมินผล มอบหมายงาน กำหนดแผนงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการเปิดเวทีให้ทุกคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ประเมินผลกิจกรรมที่ผ่านมา

    นางธรภรณ์ จันทร์นวล ตัวแทนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง เสนอว่า ตอนนี้กลุ่มเลี้ยงไก่สามารถฟักไก่ได้เอง และสอนคนอื่นทำได้

    นางกัลยา ขวัญเกิด ตัวแทนกลุ่มทำขนม บอกว่า กลุ่มทำขนมตอนนี้ปลูกผักกินเอง และนำมาขายร่วมกับขายขนม

    นางสาวศรีสุดา ดำชุม ตัวแทนกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ บอกว่า ตอนนี้กลุ่มปลูกผักกินเองแล้วยังปลูกร่วมกันที่แปลงของนางสอิ้ง หนูคงบัตร ด้วย และตาหลวงแสร์ พระในวัด ยังปลูกผักใส่ถังสังฆทานไว้ให้ชาวบ้านได้นำมากินด้วย

    กลุ่มเกษตรกรรม นายบุญธรรม สังผอม บอกว่าตอนนี้แปลงนาสาธิตเกี่ยวข้าวเรียบร้อยแล้ว ข้าวหอมนิลพันธ์ุพื้นเมือง ที่นา 5 ไร่ ได้ข้าว 4300กก. และสีกินเอง สีขายเอง กก.ละ50บาท กิจกรรมเวทีประกาศชัยชนะ จะร่วมกันจัดกิจกรรมสรงน้ำหลวงพ่อพวยองคมุนี พระคู่บ้าน และรดน้ำผู้สูงอายุ ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย

     

    30 37

    36. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (11)

    วันที่ 7 เมษายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมรำพรานโนราห์ และรำกลองยาว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เนื่องจากเป็นช่วงที่โรงเรียนปิดภาคเรียน จึงได้นัดทำกิจกรรมที่ศูนย์ประสานงานชุมชน โดยวิทยากรน้อยและวิทยากรใหญ่ได้ช่วยกันนำทุกคนรำกลองยาว อย่างสนุกสนาน และได้ทานอาหารมื้อเที่ยงด้วยกัน อีกทั้งมีขนมจีนได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองนำมาร่วม ใช้เวลาร่วมกิจกรรมกันหลายชั่วโมงเพราะไม่ต้องเรียนวิชาอื่น และมีเวลาที่เด็กๆว่างจากการเรียน จนเกือบค่ำจึงได้แยกย้ายกันกลับบ้าน หลายคนเสนอแนะว่าให้เปิดโรงเรียนสอนโนราห์ และรำพราน เนื่องจากลูกๆชอบ ในช่วงปิดภาคเรียน มีผู้ปกครองสนใจอยากให้ลูกๆได้มาเรียนอย่างเต็มที่

     

    30 35

    37. กำหนดกติกาชุมชนร่วมกัน

    วันที่ 13 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดกติกาชุมชน ร่วมสรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตอนกลางคืน มีรำวงย้อนยุค โดยกลุ่มวัฒนธรรมท้องถิ่น และวงดนตรีจากบ้านทะเลปังมาร่วมกิจกรรม นำรายได้เข้าวัดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย
    แจ้งกติกาชุมชนให้ทุกคนรับทราบและใส่ไว้ในแผนชุมชน ทำเป็นบันทึกข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบและร่วมกันปฎิบัติต่อไปดังนี้ 1.ใช้วิถีพอเพียง เข้าร่วมเป็นแกนนำต้นแบบหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 2.ลดการใช้สารเคมี
    3.ไม่กินแกงถุง

    4.ไม่ใช้เครื่องปรุงรส
    5.ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหารร้อน 6.ทำบัญชีครัวเรือน
    7.ปลูกผักกินเอง
    8.การจัดการขยะอย่างถูกวิธี 9.ประชุม ร่วมตรวจสุขภาพ ร่วมกัน
    10.ร่วมกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล 5
    โดยแจกให้ทุกคนได้นำไปปิดไว้ที่บ้าน และร่วมกันต้อนรับนายสิทธิชัย เผ่าพันธ์ นายอำเภอหัวไทร ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานสรงน้ำพระ พบปะชาวบ้าน และได้รดน้ำขอพรจากนายอำเภอด้วย และหลังจากนั้นได้ร่วมกันไหว้ขอพรพระ สรงน้ำหลวงพ่อพวย หลวงพ่อทวด พระภิกษุสงฆ์ และรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

     

    150 204

    38. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 12

    วันที่ 20 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปผลการดำเนินงาน มอบหมายงาน กำหนดแผนการทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมประชุมหมู่บ้านโดยนายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้านดำเนินการประชุม แจ้งเรื่องของหน่วยงานราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง

    นางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวขอบคุณทุกคนที่ได้ร่วมงานกันมาตลอดโครงการ และสรุปผลการดำเนินงานของโครงการจากได้ร่วมประชุมแกนนำที่ศูนย์ประสานงานชุมชน 2 วัน ก่อนหน้านี้ โดยการเปิดเวทีให้ทุกคนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าทำโครงการแล้ว ดีกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน อย่างไรบ้าง

    นายบุญธรรม สังผอม หัวหน้ากลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืน กล่าวว่า ตนเองและคนในครอบครัวได้กินอาหารดีๆปลอดสารพิษแน่นอนเพราะปลูกเอง อาหารทำเองได้ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างความมั่นคงให้กับชีวิต มีเพื่อน มีเครือข่ายมาเรียนรู้มากมาย ตอนนี้ในครัวเรือนที่ต้องซื้อคือเกลือ อยากให้ทุกคนได้ทำอย่างนี้ไปตลอดอย่าหยุด

    นางสาวศรีสุดา ดำชุม ตัวแทนกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ กล่าวว่า ตนเองสุขภาพไม่ดี จึงได้เห็นความสำคัญและหันมาปลูกผักกินเองปลอดสารเคมีดีต่อสุขภาพ และได้เพื่อนร่วมกันทำ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณสมทบจากกองทุนสปสช.อบต.หัวไทร อีกด้วย

    นายไชยา นุ่นสังข์ และนางติ้ม แซ่พั่ว นำเสนอเรื่องรำพรานและกลองยาว ว่า เป็นครูสอนร่วมกับวิทยากรน้อย ทำแล้วชอบ มีความสุข มีเครือข่ายมาร่วมมากขึ้น อยากเปิดโรงเรียนสอนรำพรานโนราห์ และกลองยาว เพื่อให้เด็กรุ่นหลังได้รำเป็นและสืบทอดต่อไปได้

    นางปราณี ไขแก้ว กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง กล่าวว่า รวมกลุ่มกันทำงาน ช่วยเหลือกัน ตอนนี้เลี้ยงไก่ในเล้ารวมกัน และสามารถฟักได้เอง ลูกไก่ให้เพื่อนไปเลี้ยงต่อได้

    นางกัลยา ขวัญเกิด กลุ่มทำขนม กล่าวว่า สมาชิกกลุ่มร่วมกันทำขนมร่วมกันในช่วงที่วัดมีงาน หรือมีเทศกาลต่างๆ ได้รวมตัวกันทำงาน ช่วยเหลือกันและกัน ช่วยเหลือหมู่บ้าน หรือส่วนรวมได้ด้วย

    นางสาวอรวรรณ สงวนปราง บอกว่า ไม่เคยเข้ามาร่วมกับหมู่บ้านเลย เห็นเพื่อนปลูกผักกิน และร่วมกันทำงานแล้วชอบ เลยร่วมด้วยเห็นว่ามีประโยชน์

    ที่ประชุมได้เสนอว่า ควรจะมีการทำกิจกรรมต่อเนื่องโดยพี่นำน้องทำ อยากให้หัวลำภูทุกบ้านเป็นเหมือนบ้านของบุญธรรม สังผอม ถึงจะไม่เหมือนทั้งหมดแต่อยากให้ทุกบ้านเป็นบ้านต้นแบบต่อไปได้ และคงเอกลักษณ์ความเป็นหัวลำภู เอาไว้ แผนชุมชนบ้านหัวลำภู เปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ว่า '' หลวงพ่อพวยคู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำวิถีพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข สร้างเสริมเติมสุขทุกครัวเรือน " และใส่ไว้ในแผนชุมชนฉบับบูรณาการเรียบร้อยแล้ว

     

    30 33

    39. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (12)

    วันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมรำพรานโนราห์ และรำกลองยาว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เนื่องจากยังเป็นช่วงปิดภาคเรียน ทุกคนนัดกันมาร่วมกิจกรรมที่ศูนย์ประสานงานชุมชน มีวิทยากรน้อย และวิทยากรใหญ่ร่วมกันนำรำ มีผู้ปกครองและเด็กเล็กรำร่วมกันอย่างสนุกสนาน มีน้องตัวเล็กๆที่พี่พามาร่วมรำด้วยกัน มีผู้สูงอายุที่เป็นปู่ย่า ตายาย มานั่งเชียร์ด้วย เมื่อเวลารำเสร็จ เด็กๆต่างนัดกันว่าพรุ่งนี้จะมารำกันอีกดีกว่า ช่วงบ่ายวัฒนธรรมอำเภอหัวไทร นางกิ่งกาญจน์ รักษาสัตย์ ร่วมประชุมเครือข่ายวัฒนธรรม เพื่อกำหนดการจัดประเพณีสมโภชขวัญข้าว ที่วัดศาลาแก้ว เป็นประเพณีประจำอำเภอ กำหนดจัดงานวันที่ 3พค.2558 นี้

     

    30 36

    40. เรียนรู้ บันทึก รายงานโครงการ

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปผลกิจกรรม เรียนรู้ และ บันทึกรายงานกิจกรรม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    อาจารย์กำไล สมรักษ์ พี่เลี้ยง เดินทางมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีคณะทำงานหมู่บ้านสร้างสุขตำบลหัวไทร จำนวน 6 หมู่บ้านๆละ 6 คน เข้าร่วมกิจกรรม เริ่มฝึกปฎิบัติและเรียนรู้ ส่งรายงาน บันทึกกิจกรรมทางเวปไซค์ เริ่มจากหมู่ที่ 2 ไปจนครบ 6 หมู่บ้าน มื้อเที่ยงยกชั้นมากินด้วยกัน อาหารทำจากผลผลิตของเหล่าสมาชิก  นัดร่วมกันทำกิจกรรม ทบทวนอีกที วันที่ 13 พ.ค.2558 นี้ ที่เก่าเวลาเดิม

     

    6 9

    41. ตืดตามผลผู้เรียนหลังจากกลับไป 3 เดือน

    วันที่ 12 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทบทวน ติดตามการดำเนินกิจกรรมหลังการเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แยกเวทีการติดตามหลังการเรียนรู้ตามบ้านต้นแบบ เป็น 5 เวที ตามบ้านต้นแบบ และได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปี 2558 เวทีได้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมได้ดังนี้

    1.คณะเกษตรกรรมยั่งยืน บ้านบุญธรรม สังผอม จากบ้านวิถีพอเพียง ตอนนี้ได้รับทุนชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืน จัดทำแปลงนาอินทรีย์สาธิต มีข้าวกินและขายข้าวสารในตลาดชุมชน มีเครือข่ายมาศึกษาดูงานเพิ่มมากขึ้น ทั้งสมาชิกในชุมชนและนอกชุมชน จำนวน 150 คน เลี้ยงไก่พื้นเมือง ไว้กินและขาย มีทุกอย่างไม่ต้องซื้อซื้อเฉพาะเกลือ ข้าวสารจดทะเบียนโอทอป และได้รับการสนับสนุนสติ้กเกอร์ พร้อมทั้งเครื่องซีนถุง จากมหาวิทยาลัยการอาชีพหัวไทร

    2.คณะเศรษฐกิจชุมชน นางสาวศรีสุดา ดำชุม หัวหน้ากลุ่มอาชีพ  มีทุนชุมชน ทุนมนุษย์ ทุนทรัพยากร มีกลุ่มอาชีพเพิ่มขึ้นหลากหลาย กลุ่มขนม กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มเลี้ยงด้วง กลุ่มปลูกผัก กลุ่มทำเคย กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง กลุ่มนาอินทรีย์ กลุ่มกลองยาว กลุ่มสมุนไพรเพื่อชุมชน กลุ่มวัฒนธรรมสมุนไพร กลุ่มรักษ์สมุนไพร และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อม ในการดำเนินงานของกลุ่มสมุนไพร

    3.คณะการศึกษา นางสาววิชุดา สุขช่วย ร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานโฮมสเตย์ที่ตลาดน้ำคลองแดน ตอนนี้สมาชิกบ้านต้นแบบ มีโฮมสเตย์พร้อมต้อนรับแก่ผู้มาเรียนรู้ได้พักอาศัยกับบ้านต้นแบบ จำนวน 15 บ้าน 200 คน

    4.คณะสวัสดิการชุมชน ขณะนี้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 30 คนอบต.หัวไทร ได้เข้าแผนเพื่อสมทบสวัสดิการไว้แล้วด้วย

    5.คณะวัฒนธรรมท้องถิ่น นายไชยา นุ่นสังข์ บอกว่า สมาชิกรำพรานและกลองยาวมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู และเครือข่ายหมู่บ้านใกล้เคียง ทั้งหญิงและชาย มีชื่อเสียงมากขึ้น และอยากเปิดเป็นโรงเรียนสอนเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ

      - นางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติจากกรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โดยนายอำเภอหัวไทร เป็นผู้มอบ   - เมื่อวันที่ 3 พค.ที่ผ่านมาได้ร่วมกิจกรรมประเพณีสมโภชขวัญข้าว ซึ่งในการนี้ได้รับการจัดเป็นประเพณีประจำอำเภอ ตามโครงการสร้างภูมิคุ้มกันทางมิติของวัฒนธรรม ใช้ชื่อว่า ขวัญข้าวหัวไทร ขวัญใจแม่โพสพ มีเครือข่ายสภาวัฒนธรรมทุกตำบลนำขวัญข้าวมาร่วมในงานด้วย ปราชญ์ท้องถิ่น ได้สืบทอดการทำกระเฌอขวัญข้าว การบูชาแม่โพสพ

     

    150 157

    42. ติดตาม สรุปผลโครงการ

    วันที่ 13 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    บันทึกรายงานกิจกรรมทางเวปไซค์ สรุปผลกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานโครงการ และเครือข่ายหมู่บ้านสร้างสุข ร่วมกันสรุปผลการดำเนินงาน บันทึกรายงานกิจกรรม เอกสารการเงินที่เกี่ยวข้อง รับประทานอาหารมื้อเที่ยงด้วยกัน แล้วทำต่อ ตอนเย็นร่วมกันทำอาหารกินด้วยกัน จนตกดึกจึงเดืนทางกลับบ้าน

     

    6 6

    43. เวทีเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช สรุปงวด 2

    วันที่ 17 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปผลการดำเนินงาน งวด 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานโครงการ รายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ผลสรุปของโครงการ รายงานเวปไซค์

     

    3 3

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เกิดคณะปฏิรูปหัวลำภูเพื่อการจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. เกิดคณะสภาผู้นำชุมชนนำการปฏิรูปจำนวน 1 คณะ 2. มีเครือข่ายขยายผล 1 ต่อ 5 เป็นคณะปฏิรูปหัวลำภู 5 คณะ เชิงคุณภาพ 1. คณะสภาผู้นำ นำการปฏิรูปพัฒนากระบวนการจัดการตนเองของชุมชนได้อย่างเป็นระบบ 2. คณะปฏิรูปหัวลำภูมีกติกาในการจัดการตนเองร่วมกัน และกำหนดเป็นกติกาชุมชน

    1.1 มีการประชุมทุกเดือนเกิดสภาผู้นำคณะปฏิรูป 1 คณะ ชื่อคณะปฏิรูปบ้านหัวลำภู เกิดเครือข่ายคณะปฏิรูป 5 คณะ ได้แก่ 1) ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน มีนายบุญธรรม สังผอม เป็นหัวหน้า สมาชิก 150 คน 2) ด้านวัฒนธรรมชุมชน มีนางสาววิชชุดา สุขช่วย เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 3) ด้านสวัสดิการชุมชน มีนางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 4) ด้านเศรษฐกิจชุมชน มีนางเตือนใจ คงกำไร เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 5) ด้านการศึกษา มีนายพิชชาบดี ดำจันทร์ เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน

    1.2 มีกติกาชุมชนร่วมกันปฏิบัติ เป็นแผนปฏิรูปของชุมชนให้เป็นหมู่บ้านสีเขียว บรรจุไว้ในแผนชุมชนและเป็นชุมชนที่จัดการตนเองได้ โดยแผนชุมชนบ้านหัวลำภู เปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ว่า '' หลวงพ่อพวยคู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำวิถีพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข สร้างเสริมเติมสุขทุกครัวเรือน " และใส่ไว้ในแผนชุมชนฉบับบูรณาการเรียบร้อยแล้ว

    1.3 มีกติกาชุมชนร่วมกันปฏิบัติ เป็นแผนปฏิรูปของชุมชนให้เป็นหมู่บ้านสีเขียว บรรจุไว้ในแผนชุมชนและเป็นชุมชนที่จัดการตนเองได้ มีกติกาชุมชนจัดการตนเองร่วมกันกำหนดไว้เป็นแผนชุมชน เป็นหลักสูตรจัดการตนเองแบบฉบับคนหัวลำภู จำนวน 10 ข้อ ได้แก่ 1) ใช้วิถีพอเพียง 2) ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตอาหาร 3) ไม่บริโภคแกงถุง 4) ไม่ใช้เครืองปรุงรส 5) ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหาร 6) ทำบัญชีครัวเรือน 7) ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด 8)การจัดการขยะอย่างถูกวิธี 9) ร่วมประชุม ตรวจสุขภาพ ทุกปี 10) ร่วมกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล 5

    2 เพื่อพัฒนาบ้านต้นแบบให้มีการถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ ใช้วิธีการเพื่อนช่วยเพื่อนและพี่สอนน้อง
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. มีมัคคุเทศน์น้อยเป็นวิทยากรชุมชนเมื่อมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 30 คน 2. มีโฮมสเตย์เพื่อให้ผู้มาเรียนรู้ได้อยู่อาศัยในขณะฝึกปฏิบัติกับบ้านต้นแบบ จำนวน 20 บ้าน 3. มีหลักสูตรชุมชนบ้านหัวลำภู แบบฉบับหลักสูตรการจัดการตนเอง 1 หลักสูตร เชิงคุณภาพ 1. มีมัคคุเทศน์น้อยเป็นวิทยากรชุมชนสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้มาเรียนพักอาศัยและฝึกปฏิบัติได้อย่างมีระบบและมีคุณภาพ 2. มีโฮมสเตย์ให้ผู้มาเรียนพักอาศัยในขณะฝึกปฏิบัติ อย่างมีระบบและมีคุณภาพ ผู้เรียนมีความพึงพอใจ 3. มีหลักสูตรชุมชนบ้านหัวลำภู ฉบับการจัดการตนเองและขยายผลสู่เครือข่ายได้

    2.1มีมัคคุเทศก์น้อยคนรุ่นเด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน 35 คน เกิดภาคีการเป็นมัคคุเทศก์เพิ่มเติมจากนอกหมู่บ้าน 1 คน รวม 36 คน

    2.2 มีโฮมสเตย์ จำนวน 15 บ้าน ผู้มาเยือนมาเรียนรู้ได้อยู่อาศัยในขณะฝึกปฏิบัติกับบ้านต้นแบบ "แหล่งเรียนรู้ คู่ธรรมชาติ บนวิถีชีวิตคนหัวลำภู" 1) บ้านนายบุญธรรม สังผอม รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน 2) บ้านนางส่อง คงเล่ห์รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน 3) บ้านนางจิดาภา แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน15 คน 4) บ้านนางสาวติ้ม แซ่พั่ว รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน 5) บ้านนางเตือนใจ คงกำไร รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน 6) บ้านนางหวน จันบรรจง รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน 7) บ้านนางฉิ้น สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน 8) บ้านนางสาววิชชุดา สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน 9) บ้านนางมนธิรา แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน 10) บ้านนางภูษณิศาแก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 50 คน 11) บ้านนางชาลี นพรัตน์ รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน20 คน 12) บ้านนางบุญเรือน สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน10 คน 13) บ้านนางสาวสุมณฑา หนูสีคง รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน10 คน 14) บ้านนายสุมาศ จันทร์ศรี รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน 15) บ้านนางหนูเล็ก คงขลิกรับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน

    2.3 มีหลักสูตรชุมชนบ้านหัวลำภู แบบฉบับหลักสูตรการจัดการตนเอง 1 หลักสูตร

    3 เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส หรือ สจรส.มอ. 2. ส่งรายงานงวดได้ทันเวลาและถูกต้อง
    1. เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส สจรส.มอ. และพี่เลี้ยง ทุกครั้ง
    2. รายงานผลการดำเนินงานได้ทันเวลาตามงวดงาน เอกสารและรายงานการเงินถูกต้องครบถ้วน

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดคณะปฏิรูปหัวลำภูเพื่อการจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน (2) เพื่อพัฒนาบ้านต้นแบบให้มีการถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ ใช้วิธีการเพื่อนช่วยเพื่อนและพี่สอนน้อง (3) เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)

    รหัสโครงการ 57-01533 รหัสสัญญา 57-00-0991 ระยะเวลาโครงการ 10 มิถุนายน 2557 - 10 กรกฎาคม 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การจัดการตนเองเพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน เป็นชุมชนเข้มแข็ง เกิดจากการรวมตัวของคณะสภาผู้นำ ขยายทีมทำงาน 1 ต่อ 5 เป็นคณะปฏิรูปหัวลำภู 5 ด้าน ร่วมกันพัฒนากระบวนการจัดการตนเองของชุมชนได้อย่างเป็นระบบ ใช้กลยุทธ์จัดเวทีเพื่อเรียนรู้ให้กับทีมงานในคณะต่อเนื่อง โดยกำหนดกติกาชุมชนเป็นตัวช่วยขับเคลื่อน จัดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลของตัวเองนำมาแลกเปลี่ยนกันในวันประชุมประจำเดือน (ทุกวันที่ 5 ของเดือน)  และศึกษาดูงานจากพื้นที่ใกล้เคียง (บ้านคลองแดน) มาปรับปรุงหมู่บ้านตนเองให้มีการพึ่งตนเองได้มากยิ่งขึ้น เกิดขึ้นได้จากการร่วมคิดร่วมทำแบบรู้ตนเอง วิเคราะห์ตนเอง ทำกันเองเป็นแบบพี่ช่วยน้อง พ่อสอนลูก เพื่อสอนเพื่อน จนได้ผลงานเป็นเรื่องที่ทุกคนภูมิใจสามารถถ่ายทอดให้ทายาทได้ดูแลองค์ความรู้ได้อย่างต่อไป

    บันทึกการประชุม

    ให้ทายาทได้ดำเนินงานต่อเพื่อพัฒนาการจัดการตนเองต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    ผู้นำแบบมีส่วนร่วมนำจัดการปฏิรูปหมู่บ้านตนเอง

    นางภูษณิษา แก้วเนิน

    สืบทอดทายาท

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เวทีเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลตนเอง วิเคราะห์ตนเอง จัดทำแผนการปฏิบัติ และปฏิบัติด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

    รายงานโครงการ

    ถอดบทเรียนการจัดการ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    คณะปฏิรูป

    รายงานการประชุม

    พัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ เพิ่มเติม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    โฮมสเตย์

    15 บ้าน

    พัฒนาคุณภาพการถ่ายทอดความรู้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    หมู่บ้านงดเหล้างดบุหรี่ หมู่บ้านศีล 5

    คณะปฏิรูปหัวลำภู

    ติดตามผลต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    การจัดการตนเองเพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน เป็นชุมชนเข้มแข็ง เกิดจากการรวมตัวของคณะสภาผู้นำ ขยายทีมทำงาน 1 ต่อ 5 เป็นคณะปฏิรูปหัวลำภู 5 ด้าน ร่วมกันพัฒนากระบวนการจัดการตนเองของชุมชนได้อย่างเป็นระบบ ใช้กลยุทธ์จัดเวทีเพื่อเรียนรู้ให้กับทีมงานในคณะต่อเนื่อง โดยกำหนดกติกาชุมชนเป็นตัวช่วยขับเคลื่อน จัดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลของตัวเองนำมาแลกเปลี่ยนกันในวันประชุมประจำเดือน (ทุกวันที่ 5 ของเดือน)  และศึกษาดูงานจากพื้นที่ใกล้เคียง (บ้านคลองแดน) มาปรับปรุงหมู่บ้านตนเองให้มีการพึ่งตนเองได้มากยิ่งขึ้น เกิดขึ้นได้จากการร่วมคิดร่วมทำแบบรู้ตนเอง วิเคราะห์ตนเอง ทำกันเองเป็นแบบพี่ช่วยน้อง พ่อสอนลูก เพื่อสอนเพื่อน จนได้ผลงานเป็นเรื่องที่ทุกคนภูมิใจสามารถถ่ายทอดให้ทายาทได้ดูแลองค์ความรู้ได้อย่างต่อไป

    รายงานโครงการ

    พัฒนากลยุทธ์การจัดการตนเองเพิ่ม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    รำพรานโนราห์ รำกลองยาว

    บ้านหัวลำภู

    เพิ่มเยาวชนมาเรียนรู้เพิ่ม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    โฮมสเตย์

    บ้านหัวลำภู

    พัฒนาคุณภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    กติกาชุมชน 10 ข้อ

    กติกาหัวลำภู

    ติดตามการฏิบัติตามกติกา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เรียนรู้นอกพื้นที่เพื่อนำมาปรับปรุงในพืนที่

    รายงานโครงการ

    ติดตามผลการปรับปรุง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    คณะปฏิรูป

    รายงานประชุม

    ติดตามผลต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ภูมิปัญญารำพรานโนราห์ กลองยาว บุญทานไฟ การทำขวัญข้าว

    กิจกรรมในโครงการ

    ขยายผลกลุ่มเป้าหมายเพิ่ม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    คณะปฏิรูปทำต่อเนื่อง

    รายงานโครงการ

    ติดตามต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    เรียนรู้กันเองทุกเดือน

    การประชุมวันที่ 5 ของทุกเดือน

    ตามต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    ปรับแผนชุมชนใหม่

    แผนชุมชนหัวลำภู

    ตดตามการพัฒนาต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ฟื้นฟูประเพณีดั้งเดิมได้

    ให้ทานไฟ และขวัญข้าว

    ตามต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    ระดมทุน ทรัพยากรในหมู่บ้านมาร่วมเรียนรู้

    รายงานโครงการ

    ขยายผลกลุ่มเป้าหมายเพิ่ม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    ปฏิบัติตามการเรียนรู้ และใช้แผนชุมชนขับเคลื่อน

    รายงานการประชุม

    ติดตามต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด) จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 57-01533

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางภูษณิศา แก้วเนิน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด