แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อฟื้นฟูความรู้การทำนาอินทรีย์ลดสารเคมีแบบดั้งเดิมของบ้านปากเหมือง ให้ประชาชนได้เรียนรู้และปฏิบัติจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1.1 มีเกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำการเรียนรู้การทำนา อินทรีย์มาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนและชุมชนได้ ร้อยละ 70 1.2 มี เกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์ ร้อยละ 70 1.3 มีกลุ่มชุมชนสารมารถผลิตสารอินทรีย์ใช้แทนสารเคมีได้ ร้อยละ 70 เชิงคุณภาพ กลุ่มนาอินทรีย์มีการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูความรู้การทำนาอินทรีย์ลดสารเคมีแบบดั้งเดิมของบ้านปากเหมือง ให้ประชาชนได้เรียนรู้และปฏิบัติจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน

 

 

เชิงปริมาณ

1.1 มีเกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำการเรียนรู้การทำนา อินทรีย์มาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนและชุมชนได้ 6 กลุ่มบ้าน รวม 60 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 70

1.2 มีเกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์ 6 กลุ่มบ้าน รวม 60 ครัวเรือน ร้อยละ 70

1.3 มีกลุ่มชุมชนสารมารถผลิตสารอินทรีย์ใช้แทนสารเคมีได้ 6 กลุ่มบ้าน รวม 60 ครัวเรือน ร้อยละ 70

เชิงคุณภาพ

กลุ่มนาอินทรีย์มีการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูความรู้การทำนาอินทรีย์ลดสารเคมีแบบดั้งเดิมของบ้านปากเหมือง ให้ประชาชนได้เรียนรู้และปฏิบัติจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน เนื่องจากได้มีการประชุมชี้แจงจนชาวบ้านเข้าใจ และมีแกนนำไปชวนถึงบ้าน ไปติดตามการทำที่ถูกวิธี ร่วมกันทำงานเพื่อจัดการดินให้ดี ไม่เสื่อมโทรม ทำเกษตรอินทรีย์ได้เหมือนเดิม ได้ร่วมกลุ่ม 6 กลุ่มบ้านเพื่อทำงานอย่างต่อเนื่องแม้ว่าโครงการเสร็จสิ้น แต่ชาวบ้านยังรวมตัว ประชุม เรียนรู้ และจัดกลุ่มทำเหมือนเดิม ต่อยอดเป็นกลุ่มวัวอีก 1 กลุ่ม พัฒนาเพิ่มเติมจากกลุ่มนาอินทรีย์ จากคำตอบของผู้รับผิดชอบโครงการเล่าว่า “คนที่เข้าร่วมมีความเข้าใจ เมื่อก่อนไม่เคยรู้ ในโครงการได้เรียนรู้จากวิทยากร และบอกคนอื่นได้ต่อว่าต้องทำแบบไหน เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมเวทีก็ตอบได้ และแนะนำให้คนที่ไม่มาเข้าร่วมได้นำไปปฏิบัติได้”

2 เพื่อให้เยาวชนและปราชญ์ชุมชนได้มีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสด สามารถเผยแพร่ข้อมูลการทำนาอินทรีย์ลดสารเคมีเอกลักษณ์ของบ้านปากเหมืองได้
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 2.1 เยาวชนและปราชญ์ชุมชนมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสด ร้อยละ 70 2.2 ชุมชนใกล้เคียงเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเเยาวชนและปราชญ์ชุมชนและมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสดเผยแพร่ข้อมูลการทำนาอินทรีย์ลดสารเคมี ร้อยละ 70 เชิงคุณภาพ เยาวชนและปราชญ์ชุมชนได้มีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสด สามารถเผยแพร่ข้อมูลการทำนาอินทรีย์ลดสารเคมีเอกลักษณ์ของบ้านปากเหมืองได้

 

 

เชิงปริมาณ

2.1 เยาวชนและปราชญ์ชุมชนมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสด รวม 30 คน

2.2 ชุมชนใกล้เคียงเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเเยาวชนและปราชญ์ชุมชนและมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสดเผยแพร่ข้อมูลการทำนาอินทรีย์ลด สารเคมี จำนวน 160 คน

เชิงคุณภาพ

เยาวชนและปราชญ์ชุมชนได้มีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสด สามารถเผยแพร่ข้อมูลการทำนาอินทรีย์ลดสารเคมีเอกลักษณ์ของบ้านปากเหมืองได้ เนื่องจากตะลุงโขนเป็นภูมิปัญญาของชาวปากเหมืองที่มีดั้งเดิม เมื่อได้รับหารฟื้นฟูทำให้ชาวบ้านสนใจมาชม มาร่วมเรียน และร่วมถ่ายทอดมาก ในเนื้อหาได้บอกเรื่องการทำนาอินทรีย์ เป็นบทกลอนและการแสดงที่เป็นการให้ข้อมูลความรู้แบบกลางๆ เพื่อให้ผู้ร่วมได้ความรู้และเกิดความสนใจไปทำนาอินทรีย์ต่อ มีครูกลอนคือ ครูลำดวน ข้าราชการครูบำนาญ ให้คณะกรรมการเล่าเรื่องโครงการ แล้วครูได้แต่งเป็นกลอนตะลุงสด ให้เด็กและคณะหนังตะลุงโขนได้ฝึกฝน ฝึกว่ากลอนจนชำนาญ แล้วสามารถไปแสดงได้ในงานต่างๆ ที่แสดงมาแล้ว ได้แก่ งานปีใหม่ งานบวชนาค งานกระตุ้นการท่องเที่ยวตลาดน้ำกลางคืน การแสดงในโรงเรียน และในวิชาดนตรี ให้เด็กได้เรียนรู้ได้ต่อในโรงเรียน โดยมีแกนนำนักเรียน และครูไพศาล (ผู้อำนวยการโรงเรียน) เป็นผู้สืบสานต่อเนื่อง ให้เด็กโรงเรียนวัดผาสุก ได้เรียนรู้ได้ต่อเนื่อง เป็นต้น

3 เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส หรือ สจรส.มอ. 2. ส่งรายงานงวดได้ทันเวลาและถูกต้อง

 

 

เข้าร่วมประชุมกับ สสส ทุกครั้ง

ส่งรายงานได้ทันเวลา เอกสารครบถ้วน ถูกต้อง