assignment
บันทึกกิจกรรม
ถอดบทเรียนโครงการ17 พฤษภาคม 2558
17
พฤษภาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย กำไล
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อถอดบทเรียนโครงการ เขียนสรุปผลก่อนปิดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะกรรมการร่วมกับพี่เลี้ยงสรุปผลงาน ประเมินคุณค่า และนำข้อมูลมาบันทึกในรายงานปิดโครงการ 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อสรุปตามตัวชี้วัด พบว่า1) เพื่อฟื้นฟูความรู้การทำนาอินทรีย์ลดสารเคมีแบบดั้งเดิมของบ้านปากเหมือง ให้ประชาชนได้เรียนรู้และปฏิบัติจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน 1.1) มีเกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำการเรียนรู้การทำนา อินทรีย์มาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนและชุมชนได้ 6 กลุ่มบ้าน รวมจำนวน 60 ครัวเรือน 1.2) มี เกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์ ร้อยละ 70 1.3) มีกลุ่มชุมชนสารมารถผลิตสารอินทรีย์ใช้แทนสารเคมีได้ ร้อยละ 70 2) เพื่อให้เยาวชนและปราชญ์ชุมชนได้มีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสด สามารถเผยแพร่ข้อมูลการทำนาอินทรีย์ลดสารเคมีเอกลักษณ์ของบ้านปากเหมืองได้ 2.1) เยาวชนและปราชญ์ชุมชนมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสด จำนวน 30 คน 2.2) ชุมชนใกล้เคียงเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเยาวชนและปราชญ์ชุมชนและมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสดเผยแพร่ข้อมูลการทำนาอินทรีย์ลดสารเคมี จำนวน 160 คน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้นำเสนอผ

ถอดบทเรียนโครงการ17 พฤษภาคม 2558
17
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

สรุปผลโครงการที่ปฎิบัติมาตามระยะเวลา ของโครงการที่ได้ดำเนินการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อาจารย์พี่เลี้ยงได้กล่าวพูดคุยในเรื่องของการแนะนำหลักสูตรในการปฏิบัติเชิงลึก ของข้อมมูลในการปิดงวดของแต่ละครั้ง คือปิดโครงการนั้นเอง ให้ทุกคนมาเพื่อสรุปจัดทำข้อมูล ซึ่งมีเนื้อหาใหญ่ๆ อยู่ 2 ส่วนคือสรุปผลงานรวม ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปิดโครงการและเมื่อทุกคนเข้าใจให้ทุกโครงการทำสรุปถอดบทเรียน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หัวหน้าโครงการ และสมาชิกโครงการ ได้สรุปถอดบทเรียนที่ผ่านมาทั้งหมด สรุปดังนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ประชุมส่วนใหญ่ เกษตรกรที่ทำนาและปลูกผัก เป็นส่วนมาก สามารถเข้าใจที่ทำอย่างไรให้เกิดการประหยัดและปลอดภัยไม่กระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยการรณรงค์เผยแพรข้อมูลในลักษณะของการแสดงหนังตะลุงโขนคนสด ซึ่งพอสรุปตัวชี้วัดได้ดังนี้ 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 70 สามารถเข้าใจว่าวัตถุที่เป็นสารเคมีมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของตัวเอง เช่นเมื่อก่อนใช้สารเคมีในการฉีดยาฆ่าหญ้า เมื่อหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมแล้วก็เปลี่ยนพฤติกรรมจากฉีดยามาเป็นตัดหญ้าแทนการใช้สารเคมี 2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเข้าใจ กระบวนการ การทำปุ๋ยอินทรีย์ และสามารถทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองแทนปุ๋ยเคมีได้ทำให้มรการลดต้นทุน 3.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 70 ปลูกผักข้างบ้านไว้กินเองเพื่อสุขภาพในครัวเรื่อนที่ปลอดสารพิษจากการใช้สารเคมี 4.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจในกระบวนการทำนาอินทรีย์ เริ่มตั้งแต่ การเตรียมดิน เตรียมเมล็ดพันธุ์ และการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในรอบ ฤดูการต่อไป 5.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ศึกษาแรกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องของพืชผัก เรื่องข้าวและสิ่งมีชีวิตต่างๆที่เป็นห่วงโซ่อากหารที่เกื้อกุนต่อกันที่สมดุลตามธรรมชาติ ุ6.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนมีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง 7.มีกลุ่มผลิตข้าวสารอินทรีย์ที่ปลอดสารเคมีทำเป็นผลิตภันฑ์จำหน่ายในตลาดชุมชนและส่งร้านค้าขายปลีก 8.ชุมชนมีส่วนน่วมในการตั้งกฎกติกาเกี่ยวกับการบริหารน้ำ ร่วมกันกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 9.ได้มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒธรรมท้องถิ่นการแสดงหนังตะลุงโขนคนสดและสืบทอดลูกหลานไว้แสดงเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพ ในงานเทศกาลต่างๆ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

สจรส. 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดแสดงหนังตะลุงในงานอุปสมบท14 พฤษภาคม 2558
14
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการแสดงเป็นสื่อ เปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรในการใช้สารเคมี

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีประชาชนจำนวนมาก ชมการแสดงทีมหนังตะลุงโขน ซึ่งกำหนดการแสดง 20.00 น. บางคนบอกว่า แสดงได้แล้ว เราอยากจะดู ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ขึ้นมาพูดคุยบนเวที บอกว่าถึงกำหนดก็จะแสดง ซึ่งพูดว่า เราได้ฝึกซ้อมมาไม่มากด้วยความลำบาก และเหน็ดเหนื่อย ถ้าผิพลาดประการใด ถือว่าเป็นกระจกเงาที่ทีมงานหนังตะลุงโขนต้องปรับปรุงแก้ไข และหลังจากนั้นก็เริ่มบรรเลงเพลงโหมโรงก่อนออก ฤษี ฉากแรก และตัวละครที่ต้องแสดงตามลำดับ และได้ถึงเวลาเริ่มแสดงทุกคนชื่นชอบมากที่มาดูหนังตะลุงโขนในงานอุปสมบท เมื่อแสดงจบประชาชนที่รับชม ต่างก็ปรบมือชอบใจ ผู้รับผิดชอบโครงการก็ได้กล่าวแสดงความขอบคุณ และก็พูดกับประชาชนที่เข้ามาชม โอกาสหน้าค่อยพบกันใหม่ ผู้ชมได้ปรบมืออีกครั้งหนึ่ง และผู้รับผิดชอบก็ได้กล่าวปิดเวที และก็ให้ทุกคนได้เช้เวทีตามอัธยาศัยต่อไป 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีชาวบ้านที่เข้ามาชมการแสดง ต่างชื่นชมกันเป็นจำนวนมาก ต่างเสนอคำแนะนำต่างๆเพื่อที่จะให้ได้ดำเนินการแสดงหนังตะลุงให้เป็นของชุมชนตลอดไป และชาวบ้านอวยพรให้ทีมงานหนังตะลุงเจริญรุ่งเรืองและแสดงให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 160 คน จากที่ตั้งไว้ 160 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนทั่วไป

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

หนังตะลุงสดสร้างคน ครั้งที่ 313 พฤษภาคม 2558
13
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเผยแพร่การแสดงหนังตะลุงโขนเป็นสื่อในการลดการใช้สารเคมี

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีเยาวชนและชาวบ้านผู้ที่สนใจ เข้ามาชม ดูการแสดงฝึกซ้อมหนังตะลุงโขน เพื่อเตรียมการจัดการแสดงภาคกลางคืน อย่างสนใจ มีวิทยากรได้จัดหาของเซ่นไหว้ เรื่องบูชาตามคำแนะนำของแม่ยก เพื่ออธิฐานครูหมอในการฝึกซ้อมครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งสำคัญกว่าครั้งอื่น ฝึกซ้อมอย่างจริงจัง ให้เปรียบเสมือนว่าได้ขึ้นแสดงจริงบนเวที ชาวบ้านและเยาวชนนั่งฟังอย่างให้ความสนใจ ไม่มีเสียงดังแม้แต่คนเดียว ทุกคนจดจ่อไปที่พิธีการไหว้ครู ก่อนซ้อมการแสดง พอเสร็จพิธี ดนตรีหนังตะลุงก็เริ่มบรรเลง จาก ฉากแรกตามลำดับ ซ้อม 6 รอบ เช้า 3 รอบ เย็น 3 รอบ จึงจบการฝึกซ้อมครั้งนี้ ทุกคนปรบมือเรียกเสียงเฮฮา ผู้ฝึกซ้อมและผู้แสดง ผู้บรรเลงมีกำลังใจและมั่นใจที่จะแสดงต่อหน้าผู้คนมากมายบนเวที อย่างมั่นใจ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้สมัครแสดงเป็นฤษี 1 คน คือ นายชา คงบางปอ และมีผู้สมัครแสดงเป็นพระอิศวร 1 คน คือ นายสมใจ  และมีผู้สมัคร แสดงเป็นรูปปรายหน้าบท 1 คน คือ นายเอื้อม  รวมทั้งนักเรียนที่ได้คัดเลือกไว้ครั้งก่อน จำนวน 3 คน มีนาย ปณิธาน นายธนวิทย์ นายธนาทร  และมีมือกลองสมัครใหม่ 1 คน คือ นายโกเมศ  ปล้องคง ร่วมบรรเลงเพลงดนตรีหนังตะลุงโขน 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 54 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

มีชาวบ้านหมู่ที่ 1,3,6 จำนวน 54 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อาจารย์ กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

หนังตะลุงสดสร้างคน ครั้งที่ 212 พฤษภาคม 2558
12
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเผยแพร่ข้อมูล การลดการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีผู้เข้าร่วมชมการซ้อมหนังตะลุงโขน มีนักเรียน เยาวชน และผู้ที่สนใจทั่วไป มีวิทยากรหนังตะลุงโขนได้พูดคุย ในเรื่องของการฝึกหัดเครื่องดนตรีหนังตะลุง ผู้เข้าร่วมสนใจมาก โดยได้ให้เยาวชน ซึ่งเ็นลูกหลานของพวกเขา เข้ามาฝึกซ้อมจากวิทยากร คนละ 1 ชิ้น ซึ่งได้ถามเด็กๆว่าใครชอบเครื่องดนตรีอะไร โดยให้พวกเขาเลือกกันเอง และเขาก็เลือกได้คนละอย่าง 3 คน 3 อย่าง มี กลอง โหม่ง และฉิ่ง ซึ่งเครื่องดนตรีเหล่านี้ เป็นขั้นพื้นฐาน มันง่ายสำหรับการซ้อมฝึกเด็ก เด็กและเยาวชน เขาได้ฝึกซ้อมใช้เวลา 6 รอบ ส่วนรอบพิเศษ เป็นการซ้อมเพื่อเป็นการแสดงออกงานโดยใช้เวลากลางคืน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีชาวบ้านนำเสนอให้ซ้อมในเวลากลางคืน หรือตอนวันหยุด เช่นวันเสาร์ วันอาทิตย์ และซ้อมแต่ละครั้งควรเซ่นไหว้ครูหมอทุกครั้ง มีธูป เทียน ดอกไม้ เหล้า เงิน 9 บาท เพื่อเป็นศิริมงคล ให้ไหว้ครูหนังตะลุงโขนที่ล่วงลับไปแล้ว เขาได้ดนบันดานให้การเล่นดนตรีและฝึกซ้อมครั้งนี้เป็นไปได้ด้วยดี ราบรื่น ไม่ติดขัดใดๆ และไม่ทวด (เลิกร้าง)

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 55 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้านหมู่ที่ 1,3,6  จำนวน 55 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อาจารย์ กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

หนังตะลุงสดสร้างคน ครั้งที่ 111 พฤษภาคม 2558
11
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นสื่อแสดงเผยแพร่ รณรงค์การลดการใช้สารเคมี ในภาคเกษตรกรรม 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีผู้เข้าร่วม เด็กและเยาวชน ผู้สนใจ เข้ามาฝึกหัดและชมการบรรเลงดนตรีหนังตะลุง พร้อมฝึกซ้อม มีจำนวน 6 คน มีวิทยากรคอยบรรยายขั้นตอนดนตรี แต่ละชิ้นก่อนขึ้นเครื่อง และการลงเครื่องดนตรีหนังตะลุง มีแม่ยกที่ชอบหนังตะลุงมานั่งเป็นกำลังใจ เอาหมากและพลูมาให้วิทยากรกิน เพื่อทำพิธีจุดธูปเทียน เพื่อเซ่นไหว้ก่อนฝึกซ้อม และหลังจากนั้น ก็เริ่มซ้อมเพลงดนตรีหนังตะลุงเพื่อโหมโรงก่อนแสดงทุกครั้ง 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีเยาวชน และผู้ที่สนใจฝึกซ้อมเพลงดนตรีหนังตะลุง เกิดมีความชำนาญ พร้อมที่จะเล่นเป็นตัวสำรองในยามขาดนักดนตรีเพลงหนังตะลุง ได้ในระดับเบื้องต้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้านหมู่ที่ 1,3,6 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อาจารย์ กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การวิจัยเมล็ดพันธุ์ข้าว ครั้งที่ 37 เมษายน 2558
7
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เชิญกำนันประจำตำบล พูดคุย จากประสบการณ์ของกำนันในการทำนา เช่นนาปี นาปรัง และพันธุ์ข้าวปลูกต่างๆ มีข้าว กข.47  กข.29  กข.25  รวมทั้งข่้าวนาปีที่อายุยาว 120 วัน ถึง 135 วัน เช่น ข้าวไข่มดริ้น ข้าวกาบดำ ข้าวหอมจันทร์ ซึ่งมีลักษณะเมล็ดพันธุ์ที่แตกต่างกัน  ข้าวอายุยาวส่วนใหญ่สังเกตุเห็นได้เลยว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวจะยาว และกลม ส่วนข้าวที่มีอายุประมาณ 100 วัน ถึง 105 วัน ขนาดรวงจะสั้น เมล็ดก็จะสั้นด้วย  จำนวนรวงข้าวจะน้อย และกำนันก็ก็ได้พูดอีกหลายเรื่องมากมาย หลังจากนั้นก็เชิญวิทยากร คุณคณิต  มากแก้วพูดในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้พูดแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผูทำนา หลายๆเรื่อง ตั้งแต่เรื่องปักดำ จนกระทั่งเก็บเกี่ยว กันอย่างสนุกสนานทุกคนไม่มีความเครียดในการเข้าร่วมประชุม ผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดกล่าวว่ามีใครสงสัยเรื่องอะไรบ้าง ทุกคนตอบว่าไม่มี ถ้ามีก็ติดต่อได้ผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งสามารถติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมและผู้ทำนาสามารถเอาความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากวิทยากรและผู้รู้นำไปปฎิบัติได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 51 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้านหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 6วิทยากร และกำนันตำบลควนชะลิก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การวิจัยเมล็ดพันธุ์ข้าว ครั้งที่ 211 มีนาคม 2558
11
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้ประชุมลงทะเบียน ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเชิญเกษตรอำเภอพูดเกริ่นนำ เรื่องการทำนาเรื่องปุ๋ยเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว เรื่องสารปรับสภาพดิน เรื่องการรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว เรื่องโรคต่างๆ เรื่องการชดเชยไร่ละ 1000 บาทต่อปี และเรื่องอื่นๆ ต่อจากนั้นเชิญ อบต. หมู่ที่3 พูดเรื่องน้ำ สำหรับการทำนา แลถนนสำหรับการลำเลียงในการขนสินค้าเกษตรและพูดเรื่องอื่นๆ ต่อจากน้ันผู้รับผิดชอบโครงการ ได้พูดคุยกับชาวบ้านและเชิญวิทยากรคุยเรื่องการเก็บข้อมูลเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นครั้งที่2 ว่าเราจะต้องวางแผนการทำนาอย่างมีระบบ เพราะฝนฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงประกอบกับในพื้นที่ของเรานี้ยังไม่ระบบชลประทาน เราจึงควรทำราก่อนหน้าน้ำ คือดีที่สุด ช่วงนั้นระยะการเก็บเกี่ยวก็เข้าสู่หน้าร้อนคือระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม เราก็สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวในช่วงนี้ดีที่สุด ซึ่งวิทยากรได้พูดคุยสลับกับชาวบ้านกันตลอด ทุกคนยอมรับหลักกการของวิทยากรและเกษตรอำเภอ ในเรื่องของการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว และอื่นๆ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจ สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ และมีความรู้ เพิ่มเติมจาก นักวิชาการเกษตร 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 53 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้าน หมู่ 1,3,4 เกษตรอำเภอ ปราชญ์ชาวบ้าน และวิทยากร

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การวิจัยเมล็ดพันธุ์ข้าว ครั้งที่ 11 มีนาคม 2558
1
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้ร่วมประชุมลงทะเบียน ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวพูดคุยกับผู้เข้าร่วมประชุม อธิบายถึงเหตุผลที่ได้จัดเวทีการประชุม ในเรื่องของการเก็บข้อมูล เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ข้าว ถึงแม้ว่าทุกคน  หรือบางท่านมีความรู้ในเรื่องนี้ดีกว่าคนที่เขาไม่ได้ทำนาแต่ถือว่าเรามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  ไม่มีใครที่จะรู้ได้ทุกเรื่องทั้งหมด เรามาคุยกันคนละเรื่องสองเรื่อง ก็ถือว่าได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หลังจากนั้นก็เชิญวิทยากร และปราชญ์ชาวบ้านผู้รู้ได้ช่วยกันคุยเรื่องเกี่ยวกับการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะดี เพื่อเก็บเอาไว้ทำเมล็ดพันธุ์ และมีคุณภาพ คุณ โกเมศ ปล้องคง ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมประชุมที่มีประสบการณ์จากการทำนาอินทรีย์ ซึ่งเค้าเคยได้ไปศึกษาดูงานมาแล้วหลายแห่ง เช่น การทำนา 1 ไร่ 1 แสน  แต่สำหรับพวกเราเขาบอกว่า ขอแค่อย่าให้ขาดทุนก็พอแล้ว และมีวิทยากรอีก 1 ท่าน คือ นายบุญชม ซึ่งเขาก็เห็นด้วยและนำเสนอให้ น้อมนำเอาปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาขับเคลื่อนเคียงคู่กัน เพราะเศรษฐกิจพอเพียงต้องมีภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ที่ทำนา คือต้องมีข้าวให้กิน และต้องมีเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้สำหรับปลูกในรอบต่อๆไป และนำเสนอให้ป้ายประชาสัมพันธ์ สำหรับผู้ที่ทำนาอินทรีย์ พืชผักอินทรีย์ เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้คนอื่นๆทำตามต่อไป และวิทยากรได้พูดหลายๆเรื่องและปิดการประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเข้าใจและเก็บข้อมูลลักษณดีของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีได้ 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 48 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

มีชาวบ้านหมูที่ 1 หมูที่ 3 หมู่ที่ 4 วิทยากร และปราชญ์ชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การวิจัยเก็บข้อมูลต้นข้าว ครั้งที่ 37 กุมภาพันธ์ 2558
7
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตรฐาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวพูดคุย พร้อมให้ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน  และได้พูดถึงกิจกรรมที่ผ่านมา และต่อๆไป ในเรื่องขอกการลดต้นทุนในการทำนา เช่นเมล็ดพันธ์ข้าว และปุ๋ย  และก็เชิญวิทยากร อ.อรรนพ  เกตุแก้ว ได้พูดคุยกับชาวนา ในเรื่องของการไว้เมล็ดพันธุ์ข้าว เก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์  และสอบถามว่า มีใคร เก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้เป็นเมล็ดพันธุ์บ้าง ผู้ทำนา ควรจะคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ ไว้เพาะปลูกในรอบของการทำนาครั้งต่อๆไป และได้พูในหลายๆเรื่อง และได้เชฺญวิทยกรอีก 1 ท่านมาพูด เรื่องของลักษณะพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน ให้สังเกตุหลายๆอย่างเกี่ยวกับเมล็ด ทั้งนี้รวมถึงระยะเวลาการฟักตัวของเมล็ดข้าว ซึ่งถ้าเวลาฟักตัวไม่ครบกำหนดระยะเวลาเหมาะสม เมล็ดพันธุ์จะไม่งอก และบางครั้งหมด อายุ ถ้าเราได้เก็เมล็ดพันธุ์ข้าวไว้เอง เราก็สามารถควบคุมการเก็บรักษาไว้ได้ตามต้องการ เมล็ดข้าวโครงการที่ผ่านการอบเมล็ด ไม่เหมือนกับเมล็ดข้าวที่ชาวนาเก็บไว้เอง  ซึ่งชาวนาส่วนน้อยเก็บเมล็ดพันธ์ไว้เอง เลยทำให้ต้นทุนการซื้อเมล็ดพันธุ์สูง เพราะส่วนใหญ่ ซื้อเมล็ดข้าวจากภายนอก  กิโลกรัมละ 25 - 28 บาท และบางครั้งก็มีดอกหญ้าบางชนิดปะปนมาด้วย เช่นหญ้ากระดูกไก่  วิทยากรได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ต่อไปนี้ เราเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ปลูกเองกันเถอะ และได้พูดคุยสลับกันไปกับชาวนา ผู้รับผิดชอบโครงการตลอดเวลาการประชุม และเรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่อง ฯลฯ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทุกคนเห็นด้วยกับการเก็บเมล็ดข้าวไว้เป็นเมล็ดพันธุ์  1.ประหยัดต้นทุนในการซื้อเมล็ดพันธุ์  2. หมดปัญหาเรื่องดอกหญ้าและวัชพืชที่ปะปนกับเมล็ดพันธุ์  3. ประหยัดเวลาในการปราบศัตรูพืช 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 54 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้านหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 6และ หมู่ที่ 1

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การวิจัยเก็บข้อมูลต้นข้าว ครั้งที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558
2
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้วิธีการใส่ปุ๋ยเอาหญ้าออกและเรื่องโรคแมลงโดยใช้สูตรสารอินทรีย์ กำจัดวัชพืช 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครการได้กล่าวพูดคุยกับผู้เข้าร่วมประชุม ในเรื่องของการดูแลแปลงนาข้าว หลังจากนั้นก็ได้เชิญชาวนาที่ทำนาอาชีพ มีนายเชือน  แก้วนวล ได้พูดถึงการดูแลแปลงนาข้าว ได้เริ่มคุยตั้งแต่การดูแลแปลงนาข้าวในสมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน
นายเชือนพูดว่า เมื่อก่อน การดูแลแปลงนาข้าว ไม่ยากลำบากเหมือนสมัยปัจจุบัน เพราะปัจจุบันนีมันมีศัตรูข้าวมากกว่าเมื่อก่อน เช่น หอยเชอรี่ หนอนกอข้าว เพลี้ยกระโดด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยสีน้ำตาล หนอนหักกอข้าว เมื่อนายเชือพูดจบแล้ว ผู้รับผิดชอบโครงการ ก็เชิญวิทยากร นายคณิต มากแก้ว มาพูดคุยวิธีการ แก้ปัญหาในเรื่องของการกำจัดศัตรูข้าว โดยใช้สารอินทรีย์ เช่นน้ำส้มควันไม้ หรือยาที่ผลิดขึ้นโดย บริษัทที่เป็นสารอินทรีย์เท่านั้น และหลังจากนั้นก็เชิญปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งเป็นผู้ที่ทำนามาโดยอาชีพ ได้พูดคุยกันในเรื่องการ ทำนาแบบผสมผสาน และทำนาแบบเดิมๆ คือทำนานแบบน้ำตม  และได้เสนอ แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ว่าชาวนาเรา ควรปรับเปลี่ยนวิธีทำนานแบบใหม่ๆเสียบ้าง เพราะผืนดินทำนาของเรามันเสื่อมโทรมมานาน เนื่องจากเราใช้ประโยชน์ในที่ทำนาไม่ปรับเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น คือทำนาตลอด และเราสมควรหว่านพืชบำรุงดินบ้างบางช่วง และต่อจากนั้น วิทยากรก็ได้พูสลับกับชาวบ้านผู้ทำนา ในเรื่องของการดูแลแปลงนาข้าว ได้สลับปรับเปลี่ยน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตลอดในที่ประชุม 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คือ การทำนาให้ได้ผลผลิตที่สูงนั้นต้องดูแลแปลงนาข้าว เป็นอย่างดี เช่น ใส่ปุ๋ยประมาณ 3 ช่วงของอายุข้าว และวิธีการดูแลศัตรูข้าว 3 ระยะ  ระยะแรก ต้นข้าวได้ประมาณ 15 วัน  ระยะที่สอง 30 วัน ระยะที่สามข้าวเริ่มออกรวง หลังจากนั้นฉีดพ่นสารอาหารทางใบ ผสมสารอินทรีย์กำจัดศัตรูข้าว

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

มีชาวบ้านหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 ปราชน์ชาวบ้่าน และวิทยากร

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ติดตามโครงากร1 กุมภาพันธ์ 2558
1
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย กำไล
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินคุณค่าโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมพูดคุย สรุกคุณค่าโครงการ นำเสนอในที่ประชุมจังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดคุณค่าโครงการเรื่องการใช้วัฒนธรรมท้องถิ่น การเล่นหนังตะลุงโขนเล่นสด เป็นผู้เล่าเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี ทำนาอินทรีย์ จนเกิดความคิดใหม่ของชุมชนที่นำการแสดงตะลุงโขนมาสอนเด็กในโรงเรียน ในชุมชน และชวนเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาร่วมเพิ่มมาก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ พี่เลี้ยง ตัวแทนจากสสส สื่อชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้นำเสนอและสรุปผลในรายงานโครงการ

ติดตามโครงากร1 กุมภาพันธ์ 2558
1
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อนำเสนอโครงการที่ผ่านมา และโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการได้ออกไปพูดคุย และนำเสนอโครงการถึงสาเหตุที่ได้เริ่มต้นของโครงการและเล่าเรื่องราวของบริทบของชุมชนที่ผ่านมา ทำโครงการขับเคลื่อนโดยการแสดงหนังตะลุงโขนเพื่อดึงดูดให้คนสนใจและเข้ามาร่วมประชุมผู้รับผิดชอบโครงการจึงถือโอกาสถ่ายทอดความรู้ใส่เข้าไปในเรื่องของการรักษาสุขภาพให้ปลอดภัย ในการทำเกษตรกรรมของชุมชนและนำเอาผู้สูงอายุเข้ามาร่วม เล่นหนังตะลุงโขนแสดงถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ ที่มีความสามารถมาช่วยถ่ายทอดความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ได้ 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มของผู้ขอทุนสนับสนุนโครงการ กลุ่มอื่นๆที่เข้าร่วมประชุม ได้ฟังการนำเสนอของโครงการหนังตะลุงโขนคนสดลดสารเคมีสามารถนำข้อดีข้อเสียในการนำเสนอ กลุ่มอื่นนำไปประยุคเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของกลุ่มตัวเองได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและกรรมการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ถอดบทเรียน31 มกราคม 2558
31
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผนกิจกรรมครั้งต่อไปพร้อมกับแก้ไขปัญหา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้เเสดงความคิดเห็นเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องระบบชลประทาน เรื่องปุ๋ย เรื่องยาปราบศัสตรูพืช เรื่องศิลปวัฒนธรรม เรื่องกองทุน ผู้รับผิดชอบโครงการนำประชุม มีเลขา เหรัญญิก คอยบันทึกและเก็บข้อมูลเพื่อปฏิบัติ ครั้งต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เเสดงความคิดเห็นเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องระบบชลประทาน เรื่องปุ๋ย เรื่องยาปราบศัสตรูพืช เรื่องศิลปวัฒนธรรม เรื่องกองทุน สมาชิกนำเสนอให้มีการออมทรัพย์ในรูปของธนาคารชุมชน คณะกรรมการได้สรุปผลว่า โครงการนี้ดีควรทำต่อเนื่อง เรื่องของการลดสารเคมีในการทำข้าว ปลูกผัก และการแสดงหนังตะลุงโขน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน ทำแล้วคนในหมู่บ้านชอบใจ ฟื้นฟูจิตใจ ทำเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอและจังหวัดได้ เพราะมีที่เดียวคือหมู่บ้านเราเอง ควรระดมคนทั้งเด็กและคนใหญ่เข้ามาร่วมให้มากขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การวิจัยเก็บข้อมูลต้นข้าว ครั้งที่ 125 มกราคม 2558
25
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปลูกข้าวแบบใหม่ให้ได้ผลผลิตสูง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวพูดคุยกับผู้ที่เข้าร่วมประชุม ซึ่งมีเกษตรกรทำนาจาก หมู่ที่ 3 ได้พูดคุยถึงเรื่องการทำนาในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งมีความแตกต่างกันกับในปัจจุบัน เพราะเดี๋ยวนี้เขาปลูกข้าวที่มีอายุสั้น เกษตรกรนำเสนอ ให้ชาวนาปลูกข้าวนาปีที่มีอายุยาว 120 วัน และทำนาเป็นข้าวอินทรีย์ แต่ต้องปรับสภาพดินของแปลงนาเสียก่อนเพราะเราใช่ปุ๋ยเคมีมานานทำให้ดินเสื่อมสภาพ นางเลื่อง ช่วยจันทร์ ได้พูดว่า เขาได้ทำวิธีดูแลแปลงข้าวที่เคยทำนาใช้ปุ๋ยเคมีปีที่แล้ว ได้ข้าว 7 กระสอบ และในปีนี้การดูแลแปลงนาข้าวเหมือนเดิม ลองใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จากการแนะนำของผู้รับผิดชอบโครงการ จากเดิมใช้ปุ๋ยเคมี และก็ได้เปลี่ยนมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ลองดูก็ปรากฎว่าได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 10 กระสอบมากว่าการใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มขึ้น 3 กระสอบ นางปรีดา อุดมศิลป์ ได้นำเสนอการเตรียมแปลงนาข้าว ในการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ คือต้องใส่ก่อนแล้วจึงจะไถครบก่อนที่จะหว่านข้าวลงไป เพราะปุ๋ยอินทรีย์มันละลายช้ากว่าปุ๋ยเคมี มันก็พอดีกับการที่ข้าวงอกเพื่อนดูซึมเข้าไปเป็นอาหารต้นข้าว ต่อจากนั้นวิทยกรได้พูดถึงการเตรียมดิน ที่พื้นที่ต่างๆไม่เหมือนกัน บางแปลงมีกรดสูง บ้างแปลงเป็นด่าง สูงบ้าง ต่ำบ้าง วิทยากรได้พูดสลับคุยกันตลอด และเปิดโอกาศให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมซักถามทุกขั้นตอนจนเป็นที่พอใจของผู้เข้าร่วมประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ต้องปรับสภาพดินเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการปลูกข้าว เพราะดินเคยใช้ปุ๋ยเคมีมาก่อน จึงต้องปรับสภาพดินเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

50 คน จาก ชาวบ้านหมู่ที่ 3

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

วิจัยเรื่องการปลูกผักอินทรีย์ เปรียบเทียบเคมี (ครั้งที่ 3)28 ธันวาคม 2557
28
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้ปลูกผักได้แรกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการเตรียมดินปลูก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียนรายชื่อ ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวพูดคุยกับผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่มาจากเกษตรกร หมู่ที่3 และปราชญ่ชาวบ้านได้พูดคุยถึงการกำหนดสถานที่ปลูกพัก พูดยกตัวอย่างในเรื่องของการเปรียบเทียบในเรื่องของการลดต้นทุนเป็นหลัก และไม่มีสารเคมีที่ผลิตแบบอินทรีย์ ผลผลิตที่ได้จากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และไม่ใช้สารพิษจากการฆ่าหญ้าฆ่าเเมล็ง ผลผลิตสามารถเก็บไว้ได้นานกว่ากับการใช้ปุ๋ยเคมีผู้บริโภคและตลาดต้องการมากกว่า ยกตัวอย่างเช่นตลาดกลางหัวอิฐนครศรีธรรมราช เป็นต้น  ผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดว่ามีใครบ้างที่จะปลูกเป็นแปลงสาธิต มีเกษตรกรสนใจและสมัครที่จะปลูกแบบผักอินทรีย์ 100 % จำนวน 21 คน และปราชญ์ชาวบ้านอีกคนนำเสนอควรปลูกผักชนิดที่ถนอมอาหารได้ไว้นานๆ เช่น ผักกาดเขียวไว้ดองแปลรูป และมีผู้เข้าร่วมประชุมหมู่ที่ 3 เสนอว่า ควรปลูกพืชยืนต้นชนิดกินใบที่ไม่ใช่ผัก เช่น ชะอม มะมวงหินมพาน ผักหวานพื้นบ้าน ต้นมันปู และเสนอว่าควรปลูกพืชสมุนไพรไว้สลับกับพืชกินใบ และผู้รับผิดชอบโครงการก็ถามว่านอกจากนี้มีใครเสนออะไรบ้าง ไม่มี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีเกษตรกรหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 6 ได้กำหนดปลูกผักอินทรีย์ หลังน้ำลดมีแปลงทดลองปลูกเพื่อเปรียบเทียบเคมีและอินทรีย์ จำนวน 21 แปลงเช่นมี มะเขือแตงโมงถั่วฟักยาว ฟักเขียว ฟักทองและข้าวโพด สรุปผลว่าที่ไม่ใช้สารเคมีจะมีรสชาดดีกว่า กรอบหวาน ไว้ได้นานกว่า

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเกษตรกร หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 6 หมอดินอาสา ปราชญ์ช่าวบ้าน 2 คน พระสงฆ์ 1 รูป

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

วิจัยเรื่องการปลูกผักอินทรีย์ เปรียบเทียบเคมี (ครั้งที่ 2)18 ธันวาคม 2557
18
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้ปลูกผักได้แรกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการเก็บคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ผัก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวพูดคุย กับกลุ่มเกษตรกรที่มาจาก หมู่ที่3 และหมู่ที่4 ให้เข้าใจถึงการปลูกผักอินทรีย์ ที่ไว้บริโภค ปลอดสารพิษเหลือกินก็ขายต่อ มีวิทยากรพูดสลับกัน กับปราชญ์ชาวบ้าน ช่วงสุดท้าย ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเชิญหมอดินอาสามาคุย ชื่อคุณจรัญ ได้พูดเรื่องดินให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ว่าพืชแต่ละชนิดมีความต้องการธาตุอาหารต่างกันและอื่นๆหมอดินพูดว่าผมพร้อมที่จะช่วยเหลือทุกอย่างในเรื่องของการติดต่อประสานงาน ระหว่างหมอดินจังหวัดเพื่อนำความรู้มาให้กลุ่มเกษตรอินทรีย์ในโครงการที่ดำเนินการอยู่นี้ ชาวบ้านพอใจมาก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวบ้านได้มีความรู้ในเรื่องของการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชที่ต้องการจะนำไปปลูกและชาวบ้านได้มีความรู้ในเรื่องของดินและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเกี่ยวพืชผักที่จะนำไปปลูก หมอดินอาสามาคุย ชื่อคุณจรัญ ได้พูดเรื่องดินให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ว่าพืชแต่ละชนิดมีความต้องการธาตุอาหารต่างกันและอื่นๆหมอดินพูดว่าผมพร้อมที่จะช่วยเหลือทุกอย่างในเรื่องของการติดต่อประสานงาน ระหว่างหมอดินจังหวัดเพื่อนำความรู้มาให้กลุ่มเกษตรอินทรีย์ในโครงการที่ดำเนินการอยู่นี้ ชาวบ้านพอใจมาก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 53 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มชาวบ้าน จากหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

วิจัยเรื่องการปลูกผักอินทรีย์ เปรียบเทียบเคมี (ครั้งที่ 1)7 ธันวาคม 2557
7
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้ปลูกผัดได้แรกเปลี่ยนเรียนรู้ การเก็บข้อมูลปลูกพักข้างบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวพูดคุยกับผู่ที่เข้าร่วมประชุม ในเรื่องของการปลูกผักอินทรีย์ข้างบ้าน ถึงแนวทางหาวิธีแก้ปัญหาต่างๆ เพราะพวกเราต้องการปลูกผักอินทรีย์ ที่ปลอดสารพิษไว้บริโภค เหลือกินก็เก็บนำไปขายโดยการรวมกลุ่ม และก็เชิญวิทยากรสองท่าน ได้แก่ นายโกเมศ ปล้องคง  และ นายบุญชม สวัสดิ์เกลี้ยง ครูโรงเรียนวัดปากเหมือง พูดสลับคุยกัน พร้อมแรกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอให้ปลูกผักที่มีประโยชน์ทางโภชนาการ ทั้งประเภทล้มรุกและยืนต้นที่ปลูกแล้วมีอายุอยู่นาน เช่น ผักหวานพื่้นบ้าน ต้นมะม่วงหินมะภาน ต้นเดือย และให้ผู้เข้าร่วมประชุมนำเสนอ ปลูกผักที่แปลกๆบ้าง นอกเหนือจากที่เราเคยปลูกมา และให้ค้นหาได้เมื่อไหร่แล้วค่อยนำมา เสนอในที่ประชุมครั้งต่อไป ให้ชาวบ้านคิดเป็นการบ้านพร้อมนำมาปลูก ได้ทันที

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าใจของการปลูกผักอินทรีย์ ที่ไว้เพื่อบริโภค ที่ปลอดสารพิษ เนื่องจากเรากินเข้าไปแล้วมีผลกระทบต่อร่างกายที่ทำให้เกิดโรคเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น และเป็นการลดต้นทุนในการผลิต เพราะเราได้ทำปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง และยังได้ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเนื่องจากการบริโภคพืชผักที่มีสารพิษได้อีกด้วย ผู้เข้าร่วมในที่ประชุม ได้นำเสนอแต่ละบ้านปลูกผักในแต่ละบ้าน อย่าให้เหมือนกัน ทุกคนเห็นด้วยตามข้อเสนอนี้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารไล่เเมลงอินทรีย์เท่านั้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 53 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

มีชาวบ้าน ม.3,ม.6 ครูโรงเรียนวัดปากเหมือง และพระวัดปากเหมือง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช18 ตุลาคม 2557
18
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลการดำเนินงานงวดแรก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงชี้แจงการสรุปผลงานงวด พูดคุยซักถามผลงาน ให้สรุปผลการทำงาน และตรวจรายงานส่ง กำหนดการเวทีเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช     ขั้นตอนที่ ๑ สรุปเอกสารรายงานเป็นรายครั้งที่ทำกิจกรรม ประกอบด้วย รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม หลักฐานเบิกจ่ายเงิน และรูปภาพการทำกิจกรรม     ขั้นตอนที่ ๒ บันทึกกิจกรรมวันนี้ โดยมีหลักฐาน ชื่อผู้เข้าร่วมประชุมในโครงการใบสำคัญรับเงินค่าอาหาร ๗๐๐ บาทจากที่ประชุม และค่าเดินทางของพื้นที่     ขั้นตอนที่ ๓ นำเอกสารให้พี่เลี้ยงโครงการเสนอแนะ     ขั้นตอนที่ ๔ นำเอกสารมาสรุปผลงานงวดกับอาจารย์กำไล สมรักษ์ หรือ พี่เลี้ยงสุดา ไพศาล พริ้นรายงานส่ง สสส ได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปในงวดงานที่ 1 พบว่า มีการทำกิจกรรมหลักคือการทำวิจัยนาอินทรีย์ กับการทำปุ๋ยอินทรีย์ พบว่าชาวบ้านให้ความร่วมมือมาก ชาวบ้านได้มีการเปลี่ยนแปลงคือ หันมาทำมากขึ้นกว่าเดิม ประมาณ ร้อยละ 70 ของหมู่บ้าน ที่เข้าร่วม ได้ปรับเปลี่ยนจากการทำนาที่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี มาใส่อืนทรีย์ มีการกระตุ้นโดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อย เป็นสิ่งดีที่ช่วยให้ชาวบ้านได้แลกเปลี่ยน มีสมาชิกกลุ่มคิดงานเพิ่ม คือ ทำป้ายด้วยไม้ของกลุ่มตัวเอง ชื่อกลุ่มอินทรีย์ชุมชนบ้านจอแหล เกษตรอินทรีย์ร้อยเปอร์เซ็น เพื่อให้กลุ่มอื่นเห็นและทำตาม นอกจากนี้ได้มีการนำข้อมูลไปเสนอในการแสดงหนังตะลุงโขนที่ตลาดน้ำคลองแดน เขตอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา โดยเขาได้เห็นความสำคัญของภูมิปัญญา มาเชิญเอง สมาชิกดีใจกันมาก ไปเล่นในวันเสาร์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

กรรมการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทำปุ๋ยอินทรีย์ ครั่งที่ 317 ตุลาคม 2557
17
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารไล่แมลงอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีผู้เข้าร่วม จากเกตรกร หมู่ที่3  ได้จดบันทึกสูตรการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและสูตรนำหมักสารไล่เเมลง เพื่อเก็บเอาไว้อ่านเป็นความรู้ พร้อมที่จะนำพาไปปฏิบัติที่บ้าน โดยมีปราชญ์ชาวบ้านและวิทยากรได้เขียนสูตรปุ๋ย และพร้อมปฎิบัติจริงจากวัตสดุที่เตรียมเอาไว้ ตามสูตรที่ได้นำมาสาธิต ชาวบ้านได้จดบันทึกอย่างตั้งใจ ขณะที่พวกเขาจดบันทึกสูตรปุ๋ยอยู่นั้น เขาได้พูดว่าเขารู้สึกเหมือนกับว่าเขาได้เข้าโรงเรียนอีกครั้งและดีใจมากทีได้เขียน แม้เขียนถูกบ้างผิดบ้าง ก็ถือว่าจดจำได้ดีกว่าแจกเอกสารเสียอีก และจะเอาไปปฎิบัติที่บ้านทุกสูตรที่จดเอาไว้ หลักจากนั้นก็มีการลงสู่การปฎิบัติจริงซึ่งมีวิทยากรคอย แนะนำเป็นขั้นเป็นตอนในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและสารไล่แมลง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวบ้านได้มีความรู้ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและสารไล่แมลง สามารถนำความรู้ไปทำใช้เองได้ ได้จดบันทึกสูตรการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและสูตรนำหมักสารไล่เเมลง เพื่อเก็บเอาไว้อ่านเป็นความรู้ พร้อมที่จะนำพาไปปฏิบัติที่บ้าน โดยมีปราชญ์ชาวบ้านและวิทยากรได้เขียนสูตรปุ๋ย และพร้อมปฎิบัติจริงจากวัตสดุที่เตรียมเอาไว้ ตามสูตรที่ได้นำมาสาธิต ชาวบ้านได้จดบันทึกอย่างตั้งใจ ขณะที่พวกเขาจดบันทึกสูตรปุ๋ยอยู่นั้น เขาได้พูดว่าเขารู้สึกเหมือนกับว่าเขาได้เข้าโรงเรียนอีกครั้งและดีใจมากทีได้เขียน แม้เขียนถูกบ้างผิดบ้าง ก็ถือว่าจดจำได้ดีกว่าแจกเอกสารเสียอีก และจะเอาไปปฎิบัติที่บ้านทุกสูตรที่จดเอาไว้ หลักจากนั้นก็มีการลงสู่การปฎิบัติจริงซึ่งมีวิทยากรคอย แนะนำเป็นขั้นเป็นตอนในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและสารไล่แมลง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 53 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

อบต. ครู และปราชญ์ชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทำปุ๋ยอินทรีย์ ครั่งที่ 216 ตุลาคม 2557
16
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อต้องการให้เกษตรกรร่วมกลุ่มปรับเปลี่ยนความคิด จากการใช้สารเคมีมาเป็นสารอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีผู้เข้าร่วม จากชาวบ้าน หมู่ที่ 1,3 ทำปุ๋ยอินทรย์  ปราญช์ชาวบ้านและวิทยากร 2 คน เกษตรอำเภอหัวไทร 2 คน ได้มาพูดถึงการทำนาอินทรีย์ และค่าช่วยเหลือเงินจากรัฐบาล รัฐบาลจะไม่ส่งเสริมให้ทำนาปรัง ช่วยเหลือเพียงครั้งเดียวคือนาปี เกษตรอำเภอบอกว่าเป็นการดีที่สุดที่ชาวบ้านรวมตัวกันทำปุ๋ยอินทรรีย์ ซึงสอดคล้อง กับนโยบายรัฐบาลปัจจุบัน ที่อยากให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี และต่อจากนั้นชาวบ้านก็ได้นั่งแบ่งกันเป็นกลุ่มๆ แสดงความคิดเห็นเลือกสูตรปุ๋ยอินทรีย์ที่ในท้องถิ่นของตนมีอยู่ ชาวบ้านนำเสนอสูตรปุ๋ยที่แตกต่างกัน และถึงเวลาพอสมควร ชาวบ้านที่อาสาทำปุ๋ยอินทรีย์ ถ่ามกลางสายฝนสอดเสื้อ ลุยทำปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนคนอื่นไม่สามารถออกมาดูได้ เพราะฝนตกเกือบทั้งวัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวบ้านได้ทำปุ๋ยอินทรีย์และมีความเข้าใจในการเลือกสูตร ตามวัตถุดิบของท้องถิ่นที่มีอยู่ มีผู้เข้าร่วม จากชาวบ้าน หมู่ที่ 1,3 ทำปุ๋ยอินทรย์  ปราญช์ชาวบ้านและวิทยากร 2 คน เกษตรอำเภอหัวไทร 2 คน ได้มาพูดถึงการทำนาอินทรีย์ และค่าช่วยเหลือเงินจากรัฐบาล รัฐบาลจะไม่ส่งเสริมให้ทำนาปรัง ช่วยเหลือเพียงครั้งเดียวคือนาปี เกษตรอำเภอบอกว่าเป็นการดีที่สุดที่ชาวบ้านรวมตัวกันทำปุ๋ยอินทรรีย์ ซึงสอดคล้อง กับนโยบายรัฐบาลปัจจุบัน ที่อยากให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี และต่อจากนั้นชาวบ้านก็ได้นั่งแบ่งกันเป็นกลุ่มๆ แสดงความคิดเห็นเลือกสูตรปุ๋ยอินทรีย์ที่ในท้องถิ่นของตนมีอยู่ ชาวบ้านนำเสนอสูตรปุ๋ยที่แตกต่างกัน และถึงเวลาพอสมควร ชาวบ้านที่อาสาทำปุ๋ยอินทรีย์ ถ่ามกลางสายฝนสอดเสื้อ ลุยทำปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนคนอื่นไม่สามารถออกมาดูได้ เพราะฝนตกเกือบทั้งวัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 49 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

เกษตรอำเภอ ปราชญ์ชาวบ้าน วิทยากร ( จากเขาพังไกร) ส.อบต.

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ฝนตกหนักทั้งวัน การกิจกรรมไม่สะดวก

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทำปุ๋ยอินทรีย์ ครั่งที่ 115 ตุลาคม 2557
15
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อต้องการให้กลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดสารเคมีในภาคเกษตรกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมกันทำปุ๋ย มีวิทยากรจากตำบลเขาพังไกร ตำบลควนชะลิต มาสอนเรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์ ลงมือปฏิบัติการทำ ทำเป็นชั้นๆ ตามขั้นตอน จนค่ำจึงเสร็จ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวบ้านทุกคนเข้าใจถึงวิธการในการทำปุ๋ยอินทรีย์ และชอบใจในการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อต้องการให้กลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดสารเคมีในภาคเกษตรกรรม มีผู้เข้าร่วมประชุมทำปุ๋ยอินทรีย์ จากชาวบ้านหมู่ที่ 3  ปราชญ์บ้าน 1 คน วิทยากร 2 คน มาจาก ต.เขาพังไกร ได้มาสอนการทำปุ๋ยอินทรีย์ ให้แก่ชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านมีความสนใจเป็นอย่างมากในการทำปุ๋ย ทุกขั้นตอน ในขณะที่พวกเขากำลังทำปุ๋ยอินทรีย์อยู่นั้น ได้เยียบบนกองปุ๋ยเพื่อให้แน่น เขามีความสุข ชาวบ้าน ชื่อนางสวัสดิ์ เกิดแก้ว ไม่รู้เขาคิดอะไร ขึ้นไปเยียบพร้อมเต้นรำไปด้วยบนกองปุ๋ยอินทรีย์ ทุกคนต่างหัวเราะชอบใจไปด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้าน หมู่ที่ 3

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

วิจัยปลูกข้าวอินทรีย์ ครั้งที่ 3 (การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว)11 ตุลาคม 2557
11
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้จัดกลุ่มกันพูดคุย กลุ่ม 7-8 คนใ ห้เล่าเรื่องถึงวิธีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วิธีคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว ส่วนใหญ่เดี๋ยวนี้จะมีขาย แต่ในโครงการต้องการให้คัดเลือกพันธ์ ทำเอง โดยให้ทุกคนปลูกข้าวไว้ทำพันธ์กันเอง ทุกคนเห็นด้วย โดยทุกคนทำข้าวพันธ์ไว้ 2-4 ไร่ ต่อบ้าน เพื่อให้เป็นพันธ์ข้าง มีหมอดินอาสามาช่วย ชาวบ้านได้มีความเข้าใจในการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ปลูก ในอดีต ก่อนแล้ว ให้มาเล่าเรื่องในปัจจุบัน และให้ช่วยกันคิดหาวิธีกการเตรียมหาเมล็ดพันธุ์ข้าวแต่ละพื้นที่ความเหมาะสมในการปลูกไม่เหมือนกัน เช่น บางที่ ดินปรี้ยว เป็นกรด เป็นด่าง มีหมอดินอธิบายให้ผู้เข้าร่วมประชุมอธิบายให้เข้าใจในเรื่องของดินกอ่นที่จะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปปลูกในนา ถ้าไม่ได้รับการปรับปรุงให้มีค่าเป็นกลางแล้วข้าวก็จะไม่งอก เพราะปัจจุบันนาของชาวบ้านใช้สารเคมีกันมาหลายปี ปัจจุบันทำให้ดินเสื่อมสภาพหมดแล้ว จึงจำเป็นวัดค่าของดินให้เป็นกลางโดยใช้สารอินทรีย์เข้าช่วย เช่น โดโลไมค์ ใช้สารสลายต่อซัง ไม่เช่นนั้นถึงการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีก็จะไม่ได้ผลประโยชน์เท่าไหร่ ซึ่งทุกคนได้เข้าใจถึงสาเหตุต้องมีการคัดเลือกเมล็ดพันข้าว

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 53 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้าน ม.2 ม.4 ม.6

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

วิจัยปลูกข้าวอินทรีย์ ครั้งที่ 2 (การเตรียมดินปลูกข้าว)8 ตุลาคม 2557
8
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมกลุ่มเป้าหมายแรกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเตรียมดินปลูกข้าว 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการแลกเปลี่ยนกันของสมาชิก มีนายเอื้อม นางจำปา นางชะอุ่ม นำพูดคุย แลกเปลี่ยน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวนา เข้าในการเตรียมดินที่ทำนาหลายครั้งและเปรียบเทียบ กับทำนาหว่านแห้งที่มี ครั้งเดียวต่อปี ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เล่าลักษณะของการเตรียมดิน มีกลุ่มทัพจีน 1 คน กลุ่มปากเหมือง 1 คน กลุ่มผาสุก 1 คน ได้พูดถึงการเตรียมดินในอดีตหว่านไถ่กลบ ปัจจุบันกหว่านน้ำตม ซึ่งมีขั้นตอนมากกว่าในอดีต เครื่องมือก็มากกว่า ฝนตกไม่ตรงฤดูกาลแต่อายุข้าวก็เท่าเดิม การทำนาก็มาจำนวนครั้งขึ้น จึงจำเป็นต้องมีวิธีการเตรียมดินก่อนหว่านข้าว เช่นใช้ อีเอ็ม น้ำยาสลายตอซังข้าวแบบอินทรีย์ หว่านสารปรับปรุ่งดินแก้ความด่างกรด เพราะทำนาสองครั้งดินยังปรับสภาพไม่ได้ จึงจำเป็นต้องใช่สารปรับปรุงดินเข้าช่วยเพื่อให้ดินเหมาะสำหรับการทำนาที่ ทำมากกว่า 1 ครั้งต่อปี จึงทำให้ข้าวสามารถปลูกงอกเจริญเติมโตได้ สรุปผลได้ว่าใน 3 คน ได้ทำนาในวิธีที่แตกต่างกัน นายเอื้มเตรียมดินก่อน แต่นางจำปา ตัดหญ้าก่อนไถ นางชะอุ่ม ไถกลบ 3 คนทำ 3 แบบ ในกลุ่มที่ร่วมแลกเปลี่ยน โดยแยกกลุ่มย่อย เรื่องการเตรียมดิน ให้ทุกคนได้นำไปใช้ แล้วมารวมเพื่อแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มทั้งหมดอีกครั้ง ทุกคนพอใจมาก พูดว่า มีการหว่านน้ำตม หว่านแห้ง เพราะตอนนี้มีเครดื่องมือมาก ทำให้การทำนามีต้นทุนสูง จึงช่วยคิดกันต่อ เรื่องทำอย่างไรให้ต้นทุนต่ำ ช่วยคิดกลุ่มย่อยกันอีก หลังจากนั้นมาสรุป ได้ความรู้ว่า ต้องลดเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมี โดยได้รับการสนับสนุน พด.1-7 จาก พัฒนาที่ดิน จังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 63 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้าน ม.1  ม.3 ม.6

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

วิจัยปลูกข้าวอินทรีย์ ครั้งที่ 1 (การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก)7 ตุลาคม 2557
7
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ชาวนามีความเข้าใจแรกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการปลูกข้าวอินทรีย์ 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการนำพูด แล้วเชิญวิทยากร 5 คน ได้แก่ นายคณิต อาจารย์หิ้น กำนันเฉลียว สมาชิก อบต.ม.4 และผู้รับผิดชอบโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำนาอินทรีย์ รัฐบาลให้หนเดียวต่อปี ปากเหมืองกำลังขยับให้ได้ ข้าวอายุสั้นมีราคาถูก อาจจะต้องปรับมาปลูกข้างอินทรีย์ที่อายุยาว ได้แก่ ข้าว 25  ข้าวหอมประทุม ข้าวหอมนิล ข้าวสังหยด ข้าวไลเบอรี่ ช่วยกันเล่าทุกคน สลับกันทั้งวัน และเสนอแนะหาข้อสรุปเรื่องการทำพรธุ์กันเอง มีเล็ดพันธ์ข้าวของพี่ผล เป็นข้าวหอมประทุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เข้าใจในเรื่องการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ปลูก สามารถประหยัดต้นทุนในการซื้อข้าวปลูก วิทยากรผู้เรื่องการปลูกข้าว ไว้ทำเมล็ดพันธุ์เพื่อเตรียมการปลูกครั้งต่อไป ว่าปัจจุบันชาวนาไม่ได้เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ปลูก ว่ามีใครบ้างที่เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว ไม่มีใครยกมือสักคน ส่วนใหญ่จะซื้อจากที่จำหน่ายของเอกชน ชาวบ้านบอกว่าส่วนใหญ่เมล็ดพันธุ์ข้าวได้เตรียมมาจากร้านเอกชนทั่วไปแล้วโดยที่เราไม่ต้องทำอะไร สามารถนำมาปลูกได้เลย  ผูรับผิดชอบโครงการถามว่ามีใครเสนออะไรได้บ้าง ชาวบ้านบอกว่า ตอไปเราควรเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ปลูกเอง เพราะเห็นจากผู้ที่ทำโครงการครั้งที่เเล้วเขาได้เตรียมเมล็ดพันธ์ุข้าวไว้ปลูกเองช่วยในประหยัดต้นทุนมากกว่าที่เราไปซื้อมาจากร้านค้าเอกชน ทุกคนเห็นด้วยกว่าก่อนที่เราจะทำนา ชาวนาจะต้องเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว สำหรับพันธุ์ข้าวไว้ปลูก ที่ตัวเองปลูกจข้าวชนิดอะไร ก็สามารถเตรียมเมล็ดพันธุ์ชนิดนั้นไว้ได้เลย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำนาอินทรีย์ รัฐบาลให้หนเดียวต่อปี ปากเหมืองกำลังขยับให้ได้ ข้าวอายุสั้นมีราคาถูก อาจจะต้องปรับมาปลูกข้างอินทรีย์ที่อายุยาว ได้แก่ ข้าว 25  ข้าวหอมประทุม ข้าวหอมนิล ข้าวสังหยด ข้าวไลเบอรี่ ช่วยกันเล่าทุกคน สลับกันทั้งวัน และเสนอแนะหาข้อสรุปเรื่องการทำพรธุ์กันเอง มีเล็ดพันธ์ข้าวของพี่ผล เป็นข้าวหอมประทุม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 78 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้าน ม.1 ม.3 ม.6 และกำนันผู้ใหญ่บ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมชี้แจ้งโครงการ2 กันยายน 2557
2
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ได้เข้าใจในกิจกรรมของโครงการ ให้เป็นไปตามในทิศทางเดียวกัน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมชี้แจงทั้งหมด ท้าวความให้เห็นเมื่อปีที่แล้วได้อะไรบ้าง เกษตรกรมีความชัดเจนเรื่องลดการใช้สารเคมี ปีนี้ทำอะไรเพิ่ม มีอดีตนายกเทศมนตรีมาช่วยด้วย เป็นที่ยินดี ดีใจ ชื่นชมของทีมงานและชาวบ้านมาก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีแกนนำ กรรมการโครงการ ผู้สนใจทั่วไปได้ชี้แจงโครงการถึงที่มาที่ไป ของสาเหตุที่ได้ทำโครงการนี้ มาจากปัญหาสุขภาพของเกษตรกร และผู้บริโภคทั่วไปที่มีผลกระทบต่อสุขภาพไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดื่มสุรา สูบบุหรี่ และการใช้สารเคมีต่างๆ ในภาคเกษตรกรรม ที่ทำให้เกิดสารปนเปื้อนในอาหารที่บริโภค รวมทั้งความเสื่อมโทรมของธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเป็นพิษด้วย ทีเราคิดได้ดำเนินโครงการนนี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำเกษตรอินทรีย์ และวัฒนธรรม ถือว่าเป็นกิจการหลักในการดำเนินโครงการดังนี้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 102 คน จากที่ตั้งไว้ 102 คน
ประกอบด้วย

102

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะกรรมการ31 สิงหาคม 2557
31
สิงหาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผ่นกิจกรรมครั้งต่อๆ ไปและมอบหมายหน้าที่การทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการนำการประชุม มีเลขา และเหรัญญิก แกนนำกลุ่มช่วยเพิ่มเติม และเก็บข้อมูล บันทึก มอบหมายงานกันทำต่อเนื่อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มชาวบ้านได้ช่วยกันคิดแรกเปลี่ยนเรียนรู้เข้าใจในทิศทางเดียวกัน ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยคิดและเพื่อแรกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงความคิดเห็น ถึงวิธีการแก้ปัญหา จากประสบการณ์ต่างๆในการทำเกษตรอินทรีย์ ทำอย่างไรที่จะให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมและให้มีการปฎิบัติทำกันต่อเนื่อง หากจบโครงการแล้ว และก็ได้ผลสรุปว่า การตั้งกลุ่มย่อย ตามอาชีพที่คนใดคนหนึ่งที่ประกอบอาชีพอยู่ เช่น ชาวนาก็ต้องตั้งกลุ่มชาวนา ปลูกผักก็ต้องตั้งกลุ่มปลูกผัก อย่างนี้เป็นต้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 26 คน
ประกอบด้วย

แกนนำหมู่บ้าน และคณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปฐมนิเทศโครงการ14 มิถุนายน 2557
14
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้รับคำชี้แจง จากเจ้าหน้าที่ สสส.  สจรส. และพี่เลี้ยงโครงการ วางแผนการปฏิบัติโครงการ ตั้งแต่เริ่มปฎิบัติโครงการ จนเสร็จสิ้นโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หลายกลุ่มได้เข้ามาปฐมนิเทศโครงการ ที่ สจรส.มอ. และได้ดำเนินการวางแผนกิจกรรมร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

มีผู้เข้าร่วมประชุม 2 คน
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้บันทึกข้อมูล
และเจ้าหน้าประจำโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี