แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชนโดยให้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากปราชญ์ชุมชนและผู้สูงอายุสอนเยาวชน ให้เกิดรายได้ในครอบครัว
ตัวชี้วัด : เชิงคุณภาพ 1. กลุ่มสามวัย ประกอบด้วย กรรมการ 15 คน ผู้สูงอายุ 40 คน เด็กและเยาวชน 20 คน ปราชญ์ชุมชน 5 คน รวมกันทำหมอนสุขภาพและโมบายปลาตะเพียน ร้อยละ 80 2. กลุ่มสามวัยร่วมติดตามผลการใช้หมอนสุขภาพ ร้อยละ 80 3. กลุ่มผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีขึ้น ร้อยละ 80 เชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายช่วยกันจัดกิจกรรมเรียนรู้การจักสานเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

 

 

  1. กลุ่มสามวัย ประกอบด้วย กรรมการ 10 คน ผู้สูงอายุ 36 คน เด็กและเยาวชน 25คน ปราชญ์ชุมชน 8 คน รวมกันทำหมอนสุขภาพและโมบายปลาตะเพียนได้สำเร็จ ได้ขายและใช้งานได้
  2. กลุ่มสามวัยร่วมติดตามผลการใช้หมอนสุขภาพทุกคน
  3. กลุ่มผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีขึ้นทุกคน
    คนสามวัยได้มีการรวมตัวกันทำหมอนสุขภาพและโมบายปลาตะเพียน เรียนรู้เรื่องเล่าภูมิปัญญาการละเล่น ประเพณีพื้นบ้านการร้องเพลง การออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ในขณะที่ทำโครงการได้ความรัก ความสามัคคี ระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก ได้สืบสานภูมิปัญญาจักรสานจากขยะมาใช้ประโยชน์ เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสุขจากความสัมพันธ์อันดี มีการรวมตัวของคนสามวัยทุกวัน

เมื่อดำเนินงานในโครงการได้มีขึ้น พบว่า ได้พัฒนาศักยภาพทุกคน เกิดคุณค่าในตนเอง มีความผูกพัน ร่วมกันติดตามผลงาน นำผลงานไปทำที่บ้านอย่างต่อเนื่อง จนมีผลงานคือ หมอนสุขภาพ และโมบายปลาตะเพียน จำหน่าย และใช้งานเองได้ดี

มีการพัฒนาความรู้เพิ่มเรื่องการจัดการขยะมาเป็นรายได้และเพิ่มกิจกรรมสร้างความสุขให้คนสามวัย คือ 1) การนำขวดน้ำมาตัดแล้วนำสานเป็นตะกร้า 2) เกิดการออกกำลังกายเพื่อคลายเมื่อยขึ้นมา โดยไม่ได้กำหนดมาก่อน เกิดมาเองตามการดำเนินงานของโครงการ และมีกิจกรรมสร้างสุขอื่นๆ อีก ที่ผู้สูงอายุ ทำเอง เช่น ร้องเพลงกล่อมเด็ก เต้นง่ายๆ 3) เกิดการช่วยเหลือกันในกลุ่มมากขึ้น เช่น ช่วยบริจาคของให้เด็กและผู้สูงอายุที่ยากจน 4) มีการติดตามโดยสมาชิกโดยวิธีการถามไถ่เมื่อพบกัน และมีกรรมการเดินไปถามไถ่ตามบ้านเมื่อถึงเวลาทำกิจกรรมจะมีเด็กๆ มาช่วยเป็นผู้นำออกกำลังกาย และช่วยผู้สูงอายุขยับกาย เด็กมาช่วยทีมงานจนกลายเป็นทีมงานเอง 5) มีการประเมินผลจากการโชว์ผลงาน และติดตามการทำที่บ้าน แล้วนำมาทำต่อที่สนามกีฬา

2 เพื่อให้กลุ่มคนสามวัยมีการพัฒนาทักษะสืบสานภูมิปัญญาและสามารถจัดการกลุ่มได้อย่างยั่งยืนโดยจัดตั้งกองทุนกลุ่มคนสามวัย เกิดสวัสดิการชุมชน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. เกิดกองทุนคนสามวัยเพื่อสวัสดิการชุมชน 1 กองทุน 2. เกิดกติกากองทุนเพื่อพัฒนาสวัสดิการชุมชน เชิงคุณภาพ มีกองทุนคนสามวัยเป้นสวัสดิการชุมชน ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่ถูกทอดทิ้ง เด็กนักเรียนมีทุนเรียนหนังสือ

 

 

  1. เกิดกองทุนคนสามวัยเพื่อสวัสดิการชุมชน 1 กองทุน
  2. เกิดกติกากองทุนเพื่อพัฒนาสวัสดิการชุมชน

เกิดการจัดตั้งกองทุนเพื่อเด็กและผู้สูงวัย ใช้เป็นสวัสดิการชุมชน ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่ถูกทอดทิ้ง เด็กนักเรียนมีทุนเรียนหนังสือ

3 เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส หรือ สจรส.มอ. 2. ส่งรายงานงวดได้ทันเวลาและถูกต้อง

 

 

เข้าร่วมการประชุมกับ สสส ทุกครั้ง ส่งรายงานครบถ้วน ถูกต้อง