directions_run

รูปแบบการจัดการตลาดเทศวิวัฒน์ 1 เพื่อสุขภาวะของชุมชน (ต่อเนื่อง)

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อหารูปแบบการจัดระเบียบชุมชน และตลาดเทศวิวัฒน์ 1 ลดการสร้างขยะและสร้างสุขภาวะร่วมกัน
ตัวชี้วัด : 1. เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน คือคณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการผู้ประกอบการตลาด เทศบาล และหน่วยงานต่าง ๆ 2. มีกติการ่วมกันของชุมชน พ่อค้าแม่ค้า ในการจัดระเบียบตลาด และ การจัดการขยะ 3. เกิดความร่วมมือของทุกฝ่าย คือ คนในชุมชน พ่อค้าแม่ค้า และผู้ซื้อสินค้า คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการผู้ประกอบตลาด เทศบาล สถานศึกษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปัตตานี ในการลดขยะ คือผู้บริโภคใช้ถุงผ้า และตะกร้าแทนการใช้ถุงพลาสติกมากขึ้น พ่อค้าแม่ค้า คัดแยกขยะนำไปใช้ประโยชน์มากขึ้น

 

 

ในการจัดดำเนินโครงการนี้เกิดผลคือ

1.ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน คือ คณะกรรมการชุมชน เป็นผู้สนับสนุนการทำงานของคณะทำงานโครงการอย่างเต็มที่ คณะกรรมการผู้ประกอบการตลาด สนับสนุนการประสานงานกับพ่อค้า แม่ค้า จนทำให้เกิดการจัดระเบียบ และกติกาตลาด เทศบาลเมืองปัตตานี สนับสนุนการจัดระเบียบตลาดเนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ดูแลตลาดเทศวิวัฒน์ 1 โดยตรง จึงทำให้สามารถจัดระเบียบ และมีกติกาตลาด ศูนย์แพทย์ชุมชน สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดปัตตานี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สนับสนุนความรู้ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการ

  1. จากการดำเนินโครงการทำให้เกิดกติกาตลาด เป็นข้อตกลงร่วมกันของพ่อค้า แม่ค้า ชาวชุมชน และเทศบาลเมืองปัตตานี ในด้านการจัดระเบียบตลาด และการจัดการขยะ

  2. ชาวชุมชน พ่อค้า แม่ค้า และผู้ซื้อต่างตระหนักถึงการคัดแยกขยะมากขึ้น ชาวชุมชนจัดให้มีกิจกรรมธนาคารขยะ คัดแยกขยะรีไซเคิลออกจากขยะรวม เพื่อนำมาขายเป็นรายได้ และรายได้ส่วนหนึ่งเข้าเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาตลาด พ่อค้า แม่ค้า มีการจัดคัดแยกขยะที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่นไส้ไก่ ไส้ปลา เศษผัก ไปเป็นอาหารสัตว์ น้ำมะพร้าวส่งให้ผู้ประกอบการวุ้นมะพร้าว กะลาให้ผู้ที่จะนำไปทำถ่าน จึงเหลือขยะที่เทศบาลจะนำไปกำจัดน้อยลง ในส่วนของผู้ที่มาซื้อของในตลาด มีผู้เห็นความสำคัญของการลดขยะใช้ถุงผ้า และตระกร้ามากขึ้น หากมีการซื้อของเล็กน้อย ก็จะร่วมใส่ในถุงใหญ่ที่มีอยู่แล้ว

2 เพื่อพัฒนากองทุนชุมชนที่มีรายได้จากการขายขยะเพื่อใช้ในกิจกรรมของชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. กองทุนเพื่อพัฒนาตลาด 1 กองทุน

 

 

มีกองทุน 1 กองทุน ชือ กองทุนเพื่อพัฒนาตลาด มีคณะกรรมการดูแลจำนวน 6 คน มีสมาชิกจำนวน 64 คน และมีเงินอยู่ในบัญชีกองทุนจำนวน 15,662.18 บาท

3 ตลาดเป็นพื้นที่เรียนรู้ในด้านการจัดการขยะ
ตัวชี้วัด : 1. ศูนย์เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ 1 แห่ง 2. บทเรียนที่ได้จากการจัดการขยะของชุมชน

 

 

ในส่วนนี้เกิดผลคือ

  1. มีศูนย์การเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ คือ 1. ห้องประชุมตลาด ซึ่งมีป้ายเกี่ยวกับการจัดการขยะในตลาด จำนวน 4 ป้าย และ ป้ายแสดงพัฒนาการของการทำงานและการมีส่วนร่วมของชุมชน จำนวน 1 ป้าย 2. กำแพงรักษ์สิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นความร่วมมือของคนในชุมชน และเครือข่ายภายนอกในการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน3. ลานน้ำหมักชีวภาพ แสดงวิธีการหมักน้ำหมักชีวภาพอย่างง่าย

  2. มีบทเรียนจากการจัดการขยะของชุมชน ทำเป็นแผ่นพับบอกเล่าการจัดการขยะในตลาดเทศวิวัฒน์ 1 ทำให้คณะกรรมการชุมชนภูมิใจในการทำงานของตนเอง ชาวชุมชนเรียนรู้นอกจากทำให้ตลาดสะอาดขึ้น ยังทำให้คนในชุมชนเกิดความสามัคคี รู้จักการเสียสละเพื่อส่วนรวมพ่อค้า แม่ค้าตระหนักเรื่องการจัดการขยะจากความร่วมมือของชาวบ้าน ชาวตลาด ทำให้เทศบาล และหน่วยงานต่าง ๆ เห็นความสำคัญและเข้ามาสนับสนุนการทำงาน

4 เพื่อการบริหารจัดการโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. จัดประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงในจังหวัด 3 ครั้ง 2. ประชุมร่วมกับ สจรส.มอ. อย่างน้อย 1 ครั้ง 3. เกิดป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ สสส. 4. มีรายงานฉบับสมบูรณ์ 1 เล่ม

 

 

ในส่วนของการสนับสนุนจากพี่เลี้ยง และสจรส. 1. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงจำนวน 5 ครั้ง ในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง และการดูแลเอกสาร รายงานจำนวน 3 ครั้ง 2. ประชุมร่วมกับ สจรส.มอ. 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นการปฐมนิเทศก่อนเริ่มโครงการ ครั้งที่ 2 ส่งเอกสารงวดที่ 1 ครั้งที่ 3 ประชุมความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขคนใต้ และครั้งที่ 4 เป็นการส่งเอกสารปิดโครงการ 3. เกิดป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ สสส. จำนวน 2 ป้าย
4. มีรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1 เล่ม