แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย

ชุมชน วัดธรากร (วัดบ้านบางน้อย) หมู่ 4 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ

รหัสโครงการ 57-02606 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0069

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2557 ถึง 20 พฤศจิกายน 2558

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มีนาคม 2558 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมครั้งที่1

วันที่ 4 มีนาคม 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เยาวชนและผู้สูงอายุได้มีการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมสู่ลูกหลาน 2. เพื่อสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการจัดกิจกรรม

  1. ประเมินจากการสังเกตุของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ลงทะเบียนจำนวน 140 คนและมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ไม่ได้ลงทะเบียนอีกจำนวนหนึ่ง (มีประชาชนมาเพิ่มเมื่อเริ่มพิธีเวียนเทียน) ประมาณ 160 คน รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นประมาณ 300 คน
  2. ประเมินจากการสังเกตของคณะทำงานพบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมทีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการประกอบศาสนพิธีทุกขั้นตอนเป็นอย่างดียิ่ง เช่น
  • ผลการพัฒนาลานวัด มีความสะอาดเรียบร้อยอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
  • การปฏิบัติกิจกรรมเจริญสติภาวนาผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจและกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าคุ้มค่ากับการมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความตั้งใจและมีความพึงพอใจในการสวดทำนองสรภัญญะได้อย่างพร้อมเพรียงและไพเราะ
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินเวียนเทียนรอบอุโบสถอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ส่งเสียงรบกวนและปักธูปเทียน วางดอกไม้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกต่อการทำความสะอาดของทางวัด

สรุปจากการประเมินพบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้และการปฏิบัติกิจกรรมตามตารางกิจกรรมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงคณะทำงาน กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน มอบหมายงาน ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้

กิจกรรมที่ทำจริง

ก่อนดำเนินการ

  • ศึกษาแนวทางเพื่อกำหนดกรอบการจัดกิจกรรม
  • ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง มอบหมายงาน
  • ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม
  • จัดสถานที่และจัดเตรียมอุปกรณ์

การจัดกิจกรรม

  • เวลา 12.30น.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
  • ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ฝึกปฏิบัติเจริญจิตภาวนา
  • พักรัปฃบประทานอาหารว่าง
  • ร่วมพัฒนากวาดลานวัด
  • เวลา17.00น.รับประทานอาหารเย็นและพักผ่อน
  • เวลา18.30น. เริ่มพิธีเวียนเทียน

 

120 140

2. เข้าร่วมประชุมปิดงวดที่1

วันที่ 14 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เข้าร่วมกิจกรรมกับ สจรส. ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปของกิจกรรม มีดังต่อไปนี้ ได้ตรวจสอบเรื่องเอกสารต่างๆการจัดกิจกรรม และการใช้งบประมาณรวมถึงการตรวจการลงทะเบียน

  • ชี้แจงรายละเอียดการสรุปงบประมาณลงเว็บไซต์ ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับด้านเอกสาร และเอกสารการเงิน ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เข้าร่วมรับการตรวจสอบเอกสารและปิดงวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

มีรายละเอียดดังนี้ มีการตรวจสอบเอกสารกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่ดำเนินการไปตามงวดที่ 1 มีทั้งหมด 4 กิจกรรม และมีการตวจสอบการลงทะเบียน การตรวจสอบใบสำคัญรับผิดและเอกสารต่างๆ พร้อมการรายงานกิจกรรมต่อไป

 

2 2

3. ประชุมคณะทำงาน ชี้แจงโครงการ และกิจกรรม

วันที่ 21 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-12:00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ให้คณะทำงานทราบรายละเอียด และหน้าที่ให้การจัดกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

              คณะทำงานมีความเข้าใจในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย อาสาทำหน้าที่ด้วยความเต็มใจ แม้มีการถกเถียง ข้อขัดแย้งในบางประเด็น แต่สามารถพูดคุยจนมีเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาศัยหลักเหตุ และผลในการเจรจา การเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปในการจัดกิจกรรม เพราะจุดประสงค์ของทุกฝ่ายคือการทำเพื่อชุมชน 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม
  2. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้แต่ละฝ่าย
  3. ให้สมาชิกในคณะทำงาน เสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
  4. สรุปผลการประชุม

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม
1.1.ชื่อกิจกรรมอนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรมประเเพณีท้องถิ่น กิจกรรมย่อยที่ 2 กิจกรรมรดน้ำผู้สูงวัย
1.2.จัดกิจกรรมวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 13:00 น. ณ อาคารธารากร 1 วัดธารากร (บางน้อย) หมู่ที่ 4 บ้านบางน้อยตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
2.การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบชี้แจงรายละเอียดย่อยของแต่ละฝ่าย แบ่งเป็น
2.1.ฝ่ายแจ้งข่าวสารให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ปกครองนักเรียนธรรมะ นักเรียนธรรมะ และผู้ที่สนใจ ได้ทราบข่าวการจัด-กิจกรรมดังกล่าว 2.2.ฝ่ายจัดเตรียมสถานที่ จัดกิจกรรมบริเวณในอาคารธารากร 1และลานหน้าอาคารธารากร 1
2.3.ฝ่ายจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในการจัดกิจกรรม ได้แก่ โต๊ะ-เก้าอี้ ผ้าปูโต๊ะ ดอกไม้ ภาชนะใส่น้ำ(โอ่ง) ขันใหญ่-ขันเล็ก มาลัยมือ
2.4.ฝ่ายจัดเตรียมของขวัญสำหรับผู้สูงอายุ
2.5.ฝ่ายจัดเตรียมน้ำดื่ม - อาหารว่าง 3.ให้สมาชิกในคณะทำงาน เสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ 3.1.สมาชิกเสนอให้มีการยืมอุปกรณ์บางส่วน เช่น ขันน้ำ จากหน่วยงานเทศบาล ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 4.สรุปผลการประชุม 4.1.สมาชิกเข้าใจขั้นตอนการเตรียมจัดกิจกรรม 4.2.แบ่งหน้าที่ชัดเจน

 

10 14

4. กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมครั้งที่ 2

วันที่ 4 เมษายน 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่ออนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น 2. เพื่อสร้างความตระหนักให้เยาวชนเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ 3. เพื่อเสริมสร้างความรักสามัคคีในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการจัดกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมครั้งที่ 2 กิจกรรมรดน้ำผู้สูงวัย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มทุกท่าน แสดงให้เห็นถึงความสุขของผู้เข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งยังทำให้ผู้สูงวัยได้ตระหนักว่าตนยังมีความสำคัญต่อ สถาบันครอบครัว ชุมชน เป็นการส่งเสริมภูมิต้านทานด้านสุขภาพกายและใจให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อป้องกัน และลดโรคในผู้สูงอายุ และกิจกิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุน รับเกียติจากหน่วยงานราชการต่างๆ ในพื้นที่มาเข้าร่วมกิจกรรมหลายหน่วยงาน ได้แก่ ท่านปลัดอวุโสตัวแทนจากอำเภอตากใบ องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน (อบต.พร่อน) สถานีตำรวจอำเภอตากใบ หน่วยทหารนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ฉก.31 ประชาชนในพื้นที่และผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเป้นจำนวนมาก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ศึกษาแนวทางเพื่อกำหนดกรอบและแนวทางการจัดกิจกรรม
  2. ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงาน มอบหมายงาน กำหนดกิจกรรมม
  3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์
  4. สรุปและประเมินผลกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ก่อนการดำเนินกิจกรรม คณะทำงานกำหนดกรอบการจัดกิจกรรม ประชุมชึัแจงคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละฝ่าย ทำการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของหมู่บ้าน และให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านประจำพื้นที่รับผิดชอบลงพื้นที่แจ้งข่าวการจัดกิจกรรมแก่ประชาชนในหมู่บ้านอีกทางหนึ่ง เพื่อเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมทำกิจกรรม
  • ในวันจัดกิจกรรม เริ่มเวลา 08.30น.เยาวชนธรรมะ ผู้ปกครองเยาวชนธรรมะ ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไปร่วมสรงน้ำพระ และร่วมทำความสะอาด พรมน้ำอบ เจดีย์บรรจุอัฐิของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
  • หลังจากนั้นเวลา10.00 น.ร่วมรับศีล ฟังธรรม ถวายสังฆทาน
  • เวลา 12.00 น.ร่วมรับประทานอาหารในช่วงบ่าย
  • เวลา 13.00 น.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรายงานตัว ลงทะเบียนพร้อมเพรียงกัน ประธานในพิธี นายชยุตย์ ชูดวง ปลัดอวุโสประจำอำเภอตากใบ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน (อบต.พร่อน) กล่าวนำคำขออโหสิกรรมต่อผู้สูงอายุ และมอบพระพุทธรูปแก่ครูจิตอาสาจำนวน 3 ท่าน เพื่อเป็นการให้กำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่สั่งสอนนักเรียนเยาวชนธรรมะบ้านบางน้อย เวลาถัดมาตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆเข้ามอบมาลัยมือ ของที่ระลึกแก่ผู้สูงอายุ หลังจากนั้นพระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์ ประธานในพิธีรดน้ำผู้สูงอายุ ตามด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน (อบต.พร่อน) เจ้าหน้าที่ตำรวจอำเภอตากใบ หน่วยทหารนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ฉก.31 เยาวชนธรรมะ ผู้ปกครองเยาวชนธรรมะ ประชาชนในพื้นที่ และผู้ที่มีความสนใจร่วมรดน้ำผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก

 

120 128

5. ผู้สูงวัยถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่เยาวชนครั้งที่1

วันที่ 28 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้ผู้สูงวัยในท้องถิ่นที่มีความรู้ความชำนาญในแต่ละสาขาถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่เยาวชน และครูจิตอาสา
  2. เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการจัดกิจกรรม - ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 96 คน
- ประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรม และการฝึกปฏิบัติ จากการสังเกต สรุปได้ดังนี้

1.ฐาน การจักสาน พบว่า เยาวชนสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ในขั้นตอนที่ 1 คือ การจักสานฐานของเสวียนหม้อ โดยใช้ก้านใบจาก แต่ยังไม่สามารถปฏิบัติในขั้นตอนที่ 2 คือการ จักสานขอบเสวียนหม้อ ซึ่งจะได้ฝึกปฏิบัติในครั้งที่ 2 และ 3 ต่อไปจนกระทั่งเกิดทักษะและจักสานด้วยตนเองได้
2.ฐาน การทำน้ำยาซักผ้า เยาวชน สามารถทำได้ แต่มีความจำเป็นต้องมีผู้แนะนำและควบคุม ในขั้นตอนต่างๆ ซึ่ง จะได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะและความชำนาญต่อไป

3.ฐาน การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น จากการสังเกต พบว่า เยาวชนสามารถทำได้ตามขั้นตอนที่คณะวิทยากรแนะนำ แต่ยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ มีความจำเป็นจะต้องฝึกปฏิบัติซ้ำ ในครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับเยาวชนในวันที่ 28 มิถุนายน 2558 เวลา 08:30 -14:00 น.

กิจกรรมที่ทำจริง

ก่อนดำเนินกิจกรรม

  • คณะทำงาน ศึกษาแนวทางและกำหนดกรอบการจัดกิจกรรม
  • ประสานงานติดต่อวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • จัดหาวัสดุอุปกรณ์
  • ประชุมชี้แจง คณะทำงาน คณะวิทยากร และมอบหมายงาน

การจัดกิจกรรม - เวลา 08:30 น. ประชุมชี้แจงผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม
- ให้แต่ละกลุ่ม เข้าเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ตามฐานต่างๆทั้ง 3 ฐาน ประกอบด้วย
1. สาธิตการจักสาน การทำน้ำยา และการทำน้ำมันมะพร้าว โดยคณะวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ทีละขั้นตอน พร้อมตอบคำซักถามของเยาวชน 2. แบ่งกลุ่มเยาวชน และลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่วิทยากร ให้คำแนะนำ
3. ทุกกลุ่มเข้ารับฟังการสาธิตและลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนทุกกิจกรรม พร้อมทั้งจดบันทึกตามแบบบันทึกที่คณะทำงานได้จัดทำขึ้น

 

90 96

6. ผู้สูงวัยถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่เยาวชนครั้งที่2

วันที่ 5 กรกฎาคม 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้ผู้สูงวัยในท้องถิ่นที่มีความรู้ความชำนาญในแต่ละสาขาถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่เยาวชน และครูจิตอาสา
  2. เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการจัดกิจกรรมครั้งที่ 2 โดยการสังเกตของคณะทำงาน พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้และการปฏิบัติกิจกรรม เยาวชน ผู้ปกครอง และคณะครู ให้ความสนใจ และตั้งใจฝึกปฏิบัติอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
1. ทักษะในการจักสานของเยาวชน จากการตรวจผลงาน พบว่า เยาวชนสามารถเรียนรู้ และปฏิบัติได้ดีขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 30 อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ร้อยละ 55 อยูในระดับปานกลาง และ ร้อยละ 15 อยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง ทั้งนี้เพราะ การจักสานนั้นเป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะและการสังเกต เพราะฉะนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องฝึก อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และต้องมีผู้แนะนำ

2.ฐาน การทำน้ำยาล้างจาน (ครั้งที่ 1 ทำน้ำยาซักผ้า)เยาวชน สามารถทำได้ แต่มีความจำเป็นต้องมีผู้แนะนำและควบคุม ในขั้นตอนต่างๆ ซึ่ง จะได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะและความชำนาญต่อไป

3.ฐาน การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น จากการสังเกต พบว่า เยาวชนสามารถทำได้ตามขั้นตอนที่คณะวิทยากรแนะนำ เมื่อเปรียบเทียบกับการปฏิบัติครั้งที่1 สังเกต พบว่าคุณภาพของน้ำมันมะพร้าวดีขึ้นกว่าเดิม กลิ่นน้ำมันมีกลิ่นหอมขึ้น

  • สรุป ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และการปฏิบัติกิจกรรม อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ประเมินผลคุณภาพกิจกรรม อยู่ในระดับ 4

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การดำเนินกิจกรรม วันที่ 5 กรกฎาคม 2558 เวลา 08:30 -14:00 น. ลักษณะกิจกรรม

  1. สาธิตการจักสาน การทำน้ำยา และการทำน้ำมันมะพร้าว โดยคณะวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ทีละขั้นตอน พร้อมตอบคำซักถามของเยาวชน
  2. แบ่งกลุ่มเยาวชน และลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่วิทยากร ให้คำแนะนำ
  3. ทุกกลุ่มเข้ารับฟังการสาธิตและลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนทุกกิจกรรม พร้อมทั้งจดบันทึกตามแบบบันทึกที่คณะทำงานได้จัดทำขึ้น

กิจกรรมที่ทำจริง

ก่อนดำเนินกิจกรรม

  • คณะทำงาน ศึกษาแนวทางและกำหนดกรอบการจัดกิจกรรม
  • ประสานงานติดต่อวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • จัดหาวัสดุอุปกรณ์
  • ประชุมชี้แจง คณะทำงาน คณะวิทยากร และมอบหมายงาน

การจัดกิจกรรม

  • เวลา 08:30 น. ประชุมชี้แจงผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม
  • ให้แต่ละกลุ่ม เข้าเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ตามฐานต่างๆทั้ง 3 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ 1 จักสาน ฐานที่ 2 การทำน้ำยาซักผ้า ฐานที่ 3 การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
  • ลักษณะกิจกรรม
  1. สาธิตการจักสาน การทำน้ำยา และการทำน้ำมันมะพร้าว โดยคณะวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ทีละขั้นตอน พร้อมตอบคำซักถามของเยาวชน
  2. แบ่งกลุ่มเยาวชน และลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่วิทยากร ให้คำแนะนำ
  3. ทุกกลุ่มเข้ารับฟังการสาธิตและลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนทุกกิจกรรม พร้อมทั้งจดบันทึกตามแบบบันทึกที่คณะทำงานได้จัดทำขึ้น
  • เมื่อแต่ละกลุ่ม ได้เรียนรู้ จนครบกระบวนการทุกขั้นตอน ให้เปลี่ยนฐาน จนได้เรียนรู้ครบทั้ง 3 ฐาน
    ผลการจัดกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 105 คน
  • ประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรม และการฝึกปฏิบัติ จากการสังเกต สรุปได้ดังนี้

 

90 105

7. ผู้สูงวัยถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่เยาวชนครั้งที่3

วันที่ 12 กรกฎาคม 2558 เวลา 08:30-14:00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้ผู้สูงวัยในท้องถิ่นที่มีความรู้ความชำนาญในแต่ละสาขาถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่เยาวชน และครูจิตอาสา
  2. เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการจัดกิจกรรม - ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 92 คน
- ประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรม และการฝึกปฏิบัติ จากการสังเกต สรุปได้ดังนี้

  1. ฐาน การจักสาน พบว่า เยาวชนสามารถเรียนรู้ และจักสานสำเร็จเป็นชิ้นงานได้
  2. ฐาน การทำน้ำยาล้างห้องน้ำ (ครั้งที่ 1 ทำน้ำยาซักผ้า)เยาวชน สามารถทำได้ แต่มีความจำเป็นต้องมีผู้แนะนำและควบคุม ในขั้นตอนต่างๆ ซึ่ง จะได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะและความชำนาญต่อไป
  3. ฐาน การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น จากการสังเกต พบว่า เยาวชนสามารถทำได้ตามขั้นตอนที่คณะวิทยากรแนะนำ เมื่อเปรียบเทียบกับการปฏิบัติครั้งที่2 สังเกต พบว่าคุณภาพของน้ำมันมะพร้าว กลิ่นน้ำมันอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การดำเนินกิจกรรม วันที่ 12 กรกฎาคม 2558 เวลา 08:30 -14:00 น. ลักษณะกิจกรรม

1.สาธิตการจักสาน การทำน้ำยา และการทำน้ำมันมะพร้าว โดยคณะวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ทีละขั้นตอน พร้อมตอบคำซักถามของเยาวชน

2.แบ่งกลุ่มเยาวชน และลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่วิทยากร ให้คำแนะนำ

3.ทุกกลุ่มเข้ารับฟังการสาธิตและลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนทุกกิจกรรม พร้อมทั้งจดบันทึกตามแบบบันทึกที่คณะทำงานได้จัดทำขึ้น

กิจกรรมที่ทำจริง

ก่อนดำเนินกิจกรรม
- คณะทำงาน ศึกษาแนวทางและกำหนดกรอบการจัดกิจกรรม - ประสานงานติดต่อวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น - จัดหาวัสดุอุปกรณ์ - ประชุมชี้แจง คณะทำงาน คณะวิทยากร และมอบหมายงาน

การจัดกิจกรรม - เวลา 08:30 น. ประชุมชี้แจงผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่มลักษณะกิจกรรม

1.สาธิตการจักสาน การทำน้ำยา และการทำน้ำมันมะพร้าว โดยคณะวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ทีละขั้นตอน พร้อมตอบคำซักถามของเยาวชน

2.แบ่งกลุ่มเยาวชน และลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่วิทยากร ให้คำแนะนำ

3.ทุกกลุ่มเข้ารับฟังการสาธิตและลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนทุกกิจกรรม พร้อมทั้งจดบันทึกตามแบบบันทึกที่คณะทำงานได้จัดทำขึ้น

  • ให้แต่ละกลุ่ม เข้าเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ตามฐานต่างๆทั้ง 3 ฐาน

  • เมื่อแต่ละกลุ่ม ได้เรียนรู้ จนครบกระบวนการทุกขั้นตอน ให้เปลี่ยนฐาน จนได้เรียนรู้ครบทั้ง 3 ฐาน

 

90 92

8. เปิดโลกโภชนาการ

วันที่ 19 กรกฎาคม 2558 เวลา 08:30-16:00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารด้านสุขภาพ
  2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและเหมาะสมกับผู้สูงวัย3.เพื่อให้กลุ่มเยาวชนธรรมะและผู้สูงวัยมีกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการจัดกิจกรรม

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่ปรากฏในบันชีลงทะเบียน จำนวน 150 คน

  2. ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริงประมาณ 300 คน (ไม่ได้ลงทะเบียน)

  3. ประเมินผล โดยการสังเกต และสอบถามผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า

- ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ทราบถึงประโยชน์ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และได้เรียนรู้อาหารเพื่อสุขภาพจาก แผนภูมิ รูปภาพ ที่นำมาจัดนิทรรศการ

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสรรพคุณของพืชสมุนไพรใกล้ตัวและมีอยู่ในท้องถิ่น

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำข้าวยำและสรรพคุณจากพืชผักที่นำมาปรุงข้าวยำตามสูตรดั้งเดิมของท้องถิ่นตากใบ

  • จากการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพบว่า มีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการปรุงอาหารของท้องถิ่นที่รู้จักนำพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่อยู่ใกล้ตัว มาปรุงอาหารให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพโดยใช่ส่วนผสมที่ได้สัดส่วนไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสรับประทานอาหารและดื่มน้ำสมุนไพร และกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ต่อไปนี้ "เราจะไปทำดื่มที่บ้านบ้างไม่เห็นยากเลยและไม่ต้องลงทุน"

4.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจและเข้าร่วมกิจกรรมเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ สรุปผลการประเมินคุณภาพกิจกรรมอยู่ในระดับ 4

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. ศึกษาแนวทางเพื่อกำหนดกรอบการทำงาน
  2. ศึกษาเอกสาร สรุปรวบรวมความรู้ เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับผู้สูงวัยจากวิทยากรที่ให้ความรู้ในกิจกรรมที่ผ่านมา
  3. ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงแนวทางปฏิบัติและ จัดทำป้ายนิเทศ
  4. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ และประสานงาน ติดต่อวิทยากร ขอใช้สถานที่จัดงาน
  5. แจ้งวันเวลาให้กลุ่มเป้สหมายทราบเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม
  6. ดำเนินกิจกรรมตามแผนและแนวทางที่กำหนดไว้
  7. ประเมินผล สรุปรายงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ก่อนดำเนินกิจกรรม

  1. คณะทำงานศึกษาศึกษาแนวทางและกำหนดกรอบกิจกรรม
  2. ศึกษาเอกสาร ความรู้ เกี่ยวกับโภชนาการของผู้สูงวัย สรุปรวบรวมความรู้จากวิทยากรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการจากกิจกรรมที่ผ่านมา
  3. คณะทำงานประชุม เพื่อสรรหาวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ การทำอาหารเพื่อสุขภาพในท้องถิ่น เช่น การทำน้ำสมุนไพร การปรุงอาหารจากสมุนไพรในท้องถิ่น การทำข้าวยำ เป็นต้น
  4. ดำเนินการจัดทำป้ายนิเทศ เพื่อจัดนิทรรศการ
  5. ดำเนินการจัดกิจกรรม เปิดโลกโภชนาการ ตามวันเวลาที่กำหนดไว้

5.1สาธิตการทำข้าวยำท้องถิ่นตากใบ ใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่น โดยมีผู้สูงอายุในท้องถิ่น สรุปวิธีทำได้ดังนี้ ส่วนผสมสำหรับทำน้ำหุงข้าวยำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ประกอบด้วย

1.ใบไม้สมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ใบพันสะหมอ ใบยอป่า ใบไม้เท้าพันยา ใบมะกรูด ใบมะนาว ฯลฯ 2.หัวกะเปราะ หัวกระชาย หัวกะทือ หัวขมิ้น
วิธีทำ 1.นำใบไม้สมุนไพรและหัวพืชสมุนไพรมาใส่ครกตำให้เข้ากัน 2.ใส่น้ำ แล้วคั้นและกรองเอาเฉพาะน้ำใส่ในข้าวสาร 3.ตั้งไฟ หุงเป็นข้าวสวย

แกล้มข้าวยำ(ส่วนประกอบของการรับประทานข้าวยำ) ประกอบด้วย

1.ปลาย่างเอาแต่เนื้อ 2.มะพร้าวคั่ว 3.พริกไทยป่น 4.ผักในท้องถิ่นชนิดต่างๆหั่นซอย เช่น ดอกดาหลา ใบกะเสม (จันทร์หอม) ใบมะกรูด ถั่วฝักยาว ถั่วงอก แตงกวา มะม่วงสับ ใบกะเปราะ ตะไคร้ เมล็ดกระถิน ยอดมะม่วงหินพานต์(แตรแหร) ยอดตาเป็ด ฯลฯ

บูดู

1.บูดูสดไม่มีส่วนผสม 2.บูดูเคี่ยวประกอบด้วยส่วนผสมและวิธีทำดังนี้ บูดู ใบมะกรูด ตะไคร้ น้ำตาลแว่น

วิธีทำ นำส่วนผสมทั้งหมดตั้งไฟนำเคี่ยวให้เดือด ปรุงรสตามความต้องการ

วิธีนำมารับประทาน นำข้าวสวยที่หุงด้วยใบไม้สมุนไพร ใส่ปลาย่าง มะพร้าวคั่ว กับแกล้มผัก ราดบูดู (ปรุงรสตามต้องการ) มาผสมคลุกเคล้าให้กัน เหมือนลักษณะการยำจึงเรียกว่า ข้าวยำสมุนไพร

5.2สาธิตการทำน้ำดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ มีน้ำกระเจี๊ยบ น้ำตะไคร้ น้ำใบบัวบก ผสมใบเตยและใบย่านาง

 

120 150

9. กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่ 3

วันที่ 29 กรกฎาคม 2558 เวลา 08:30-16:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น 2. เพื่อเสริมสร้างความรักสามัคคีในชุมชน 3. เพื่อสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เยาวชนและผู้ปกครอง มีความสนใจและให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก จากการสังเกตการจัดทำต้นกัลปพฤกษ์ มีการนำผลไม้ในท้องถิ่นมาร่วมเกินเป้าหมายที่กำหนด สำหรับการก่อเจดีย์ทรายมีผู้เข้าร่วม ก่อเจดีย์ทรายอย่างสวยงาม มีการประดับธงทิว และทำบุญด้วยการนำธนบัตรมาปักฉลองเจดีย์ทราย คณะทำงานช่วยกันสรุปยอดเงินและนำไปถวายพระสงฆ์จากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีจำนวนมากกว่าเป้าหมายที่กำหนด แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นความสำคัญของกิจกรรม และกล่าวสรุปเป็นเสียงเดียวกันว่า นอกจากได้ทำบุญแล้วยังได้ทำทาน เช่น ได้นำเงินไปพัฒนาวัด สำหรับผลไม้ที่นำมาจัดทำต้นนกัลปพฤกษ์ ได้นำไปถวายพระ และแบ่งปันให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันรับประทาน
  2. การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เยาวชนและผู้ปกครอง เห็นถึงความสำคัญ และกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ควรจัดทำทุกปี ในโอกาสก่อนวันเข้าพรรษา แสดงให้เห็นว่าประชาชนให้ความร่วมมือ ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ศึกษาแนวทางเพื่อกำหนดกรอบและแนวทางการจัดกิจกรรม 2.ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงาน มอบหมายงาน กำหนดกิจกรรมม 3.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ 4.สรุปและประเมินผลกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

ก่อนการดำเนินกิจกรรม

  • คณะทำงานกำหนดกรอบการจัดกิจกรรม ประชุมชึัแจงคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละฝ่าย ทำการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของหมู่บ้าน และให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านประจำพื้นที่รับผิดชอบลงพื้นที่แจ้งข่าวการจัดกิจกรรมแก่ประชาชนในหมู่บ้านอีกทางหนึ่ง เพื่อเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมทำกิจกรรม

วันก่อนเริ่มกิจกรรม

  • เตรียมการจัดทำต้นกัลปพฤกษ์ เตรียมทราย และจัดสถานที่

ในวันจัดกิจกรรม

  • เริ่มเวลา 08.30น.เยาวชนธรรมะ ผู้ปกครองเยาวชนธรรมะ ผู้สูงอายุ และประชาชน มาร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ปักธงทิว และร่วมขบวนแห่เทียนพรรษารอบอุโบสถ
  • เวลา10.00น. เริ่มพิธี จุดธุปเทียนบูชาพระรัตนตรัย รับศีล กล่าวคำถวายสังฆทาน ถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน ต้นกัลปพฤกษ์และเจดีย์ทราย ถวายภัตตาหารเพล ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับประทานอาหารกลางวัน
  • ภาคบ่ายเวลา 14.00 น. ฟังธรรม ปฏิบัติกิจกรรมเจริญจิตภาวนา จนถึงเวลา 16.00 น.

 

120 300

10. การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต

วันที่ 11 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพกาย
  2. เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพจิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. กลุ่มเป้าหมาย และผู้ที่เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพกาย ควบคู่ไปกับสุขภาพจิต กล่าวคือ ปฏิบัติตนตามเขตปลอดบุหรี่ และสุรา ไม่ฝ่าฝืน และเมื่อผู้ใดหลงลืมก็ช่วยกันตักเตือน
  2. สภาพแวดล้อมในวัดสะอาด ร่มรื่น สวยงาม อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนดำเนินการ ตามโครงการ ระมัดระวังในหารสูบบุหรี่ การทิ้งขยะ เมื่อมีการนัดหมายในการพัฒนาสภาพแวดล้อมมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมาย
  3. มีป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ ป้ายรณรงค์งดดื่มสุราในบริเวณวัด ป้ายแนวทางการปฏิบัติเมื่อเข้าในบริเวณวัด และขณะประกอบศาสนพิธี ตั้งไว้ในสถานที่ ที่มองเห็นได้ชัดเจน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมชี้แจงให้เกิดความตระหนักของโทษจากสิ่งเสพติดให้โทษ
  2. ร่วมกันกำหนดข้อตกลงในชุมชนเกี่ยวกับสถานที่ปลอดสิ่งเสพติดให้โทษ
  3. จัดกิจกรรมร่วมพัฒนาบริเวณวัดให้เป็นสถานที่ ที่ปลอดจากสิ่งเสพติดให้โทษ
  4. จัดทำป้ายรณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามนำเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลมาดื่มในบริเวณวัด

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เชิญวิทยากรให้ความรู้ เกี่ยวกับโทษภัยของบุหรี่และสุรา ในกิจกรรมตามโครงการ และสร้างความตระหนักถึงโทษภัยของสิ่งเสพติด ให้แก่เยาวชน และผู้ปกครอง
  2. เยาวชน ครูจิตอาสา ผู้แกครอง และผู้สูงวัยร่วมกันสร้างข้อตกลงสถานที่และเขตปลอดบุหร่ ปลอดสุรา
  3. ผู้สูงวัย ผู้ปกครอง นัดหมายพัฒนาบริเวณวัดเป็นระยะๆเช่นจัดเก็บขยะ กวาดวิหารลานวัด ตลอดจนโรงครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม ให้เป็นไปตามวัตุประสงค์ คือสะอาด ร่มรื่น น่าอยู่ เหมาะสมเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และเจริญจิต
  4. จัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ เขตปลอดสุรา และแนวทางกการปฏิบัติตนในวัดเพื่อให้เป็นบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมแห่งการพัฒนาสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

 

15 15

11. มหกรรมสุขภาพครั้งที่1

วันที่ 12 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพและการผ่อนคลายทางอารมณ์
  2. เพื่อให้เยาวชนร่วมกับอสม.ติดตามสุขภาพผู้สูงวัย3.เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้สูงวัย ร่วมกับเยาวชนติดตามดูแลผู้สูงวัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการจัดกิจกรรมมหกรรมครั้งที่ 1 เป็นมหกรรมการตรวจสุขภาพเบื้องต้น สรุปผลการจัดกิจกรรมได้ดังนี้

  1. ผู้สูงวัย เยาวชนธรรมะ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลผู้สูงวัย ร่วมกิจกรรม จำนวน128คนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติการเจริญจิตภาวนาเบื้องต้นโดย ท่านพระครูสุนทรธรรมานุรักษ์ เป็นวิทยากรให้คำแนะนำ และควบคุมการฝึกปฏิบัติ ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนั่งสมาธิได้ตามเวลาที่กำหนด
  3. ผู้สูงวัย ผู้ปกครอง และครูจิตอาสา รับการสุขภาพเบื้องต้น โดยการตรวจวัดความดัน ชั่งน้ำหนัก โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตากใบและอาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้านดำเนินการให้ความร่วมมือในการตรวจสุขภาพ ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพทราบผลสภาวะสุขภาพของตนเอง และได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพทั้งในด้านความดันโลหิต และการควบคุมน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหหนดไว้
  4. วิทยากรจากโรงพยาบาลตากใบ ให้ความรู้วิทยากรบรรยายให้ความรู้ เกี่ยวกับ รักษาสุขภาพ การดูแลตนเองเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย และการออกกำลังกาย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กิจกรรมให้เยาวชนติดตามสุขภาพผู้สูงอายุ ในการติดตามสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยจะให้อสม. และเยาวชนติดตามการออกกำลังกาย ตามสมุดบันทึก และมีกิจกรรมการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การตรวจวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ของผู้สูงอายุ โดยเยาวชนคิดรูปแบบกิจกรรมนันทนาการ และมีบอร์ดให้ความรู้สาธิตการผ่อนคลายความเครียด

กิจกรรมที่ทำจริง

มหกรรมครั้งที่ 1 เป็นมหกรรมการตรวจสุขภาพเบื้องต้น มีกิจกรรม ดังนี้

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
  2. ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
    • ฝึกปฎิบัติการเจริญจิตภาวนาเบื้องต้น
    • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตากใบ ร่วมกับ อสม. ตรวจสุขภาพเบื้องต้นโดย วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และบันทึกลงในสมุดบันทึก
    • วิทยากรบรรยายให้ความรู้ เกี่ยวกับ รักษาสุขภาพ การดูแลตนเองเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

- ร่วมรับประทานอาหาร

 

120 120

12. มหกรรมสุขภาพครั้งที่2

วันที่ 23 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพและการผ่อนคลายทางอารมณ์
  2. เพื่อให้เยาวชนร่วมกับอสม.ติดตามสุขภาพผู้สูงวัย3.เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้สูงวัย ร่วมกับเยาวชนติดตามดูแลผู้สูงวัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการจัดกิจกรรมมหกรรมครั้งที่ 2 เป็นการให้ความรู้ด้านการปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง และการตรวจสุขภาพเบื้องต้น สรุปผลได้ดังนี้

  1. ผู้สูงอายุ เยาวชนธรรมะ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลผู้สูงอายุ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 125 คน เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว โดยเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้าน บันทึกลงในสมุดบันทึก และทำให้ทราบสุขภาวะของตนเอง พร้อมทั้งได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตากใบเกี่ยวกับการดูแลตนเองที่ถูกต้อง
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคเรื้องรัง จากคณะวิทยากร และจากการชมนิทรรศการ
  4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ออกกำลังกาย โดยผ้าขนหนู ไม้พลอง และออกกำลังกายตามรูปแบบที่เยาวชนได้ร่วมกันคิด
  5. ผู้สูงวัย ได้รับการนวดจากเยาวชน นอกจากได้รับการนวดแล้ว เกิดความผูกพันธ์ระหว่างเยาวชนและผู้สูงวัย สังเกตได้จากพฤติกรรมของผู้สูงวัยมีความสุข มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ร่าเริง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง
  2. ตรวจสุขภาพเบื้องต้น การวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และบันทึกลงในสมุดบันทึก
  3. ร่วมกันออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ผ้าขนหนู และการออกกำลังกายตามรูปแบบที่เยาวชนช่วยกันคิด
  4. ฝึกปฏิบัติการนวดเพื่อผ่อนคลาย
  5. จัดนิทรรศการให้ความรู้การปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง(NCD)

กิจกรรมที่ทำจริง

มหกรรมครั้งที่ 2

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
  2. ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
  3. กิจกรรมการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก โดยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตากใบ และ อสม.
  4. วิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ การป้องกันให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง
  5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมนิทรรศการ การป้องกันให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง
  6. ผู้สูงอายุและเยาวชนร่วมออกกำลังกายด้วยผ้าขนหนู ไม้พลอง และตามรูปแบบการออกกำลังกายที่เยาวชนร่วมกันคิดและออกแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย
  7. ฝึกปฏิบัติการนวดเพื่อผ่อนคลาย ให้เยาวชนจับคู่กับผู้สูงวัย และนวดให้ผู้สูงวัย
  8. รับประทานอาหารร่วมกัน

 

120 125

13. ร่วมเวทีเสริมพลังสร้างสุขภาวะ

วันที่ 4 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เข้าร่วมกิจกรรมกับ สจรส. ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดการเรียนรู้รูปแบบชุมชนเข้มแข็งที่หลากหลาย ซึ่งมีโครงการมาจัดนิทรรศการใน 14 จังหวัดภาคใต้และนำผลผลิตจากการทำโครงการมาแสดง เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เข้าร่วมกิจกรรมมหกรรมคนใต้สร้างสุข

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้าร่วมกิจกรรม มหกรรมตนใต้สร้างสุข ทำให้เกิดมุมมอง ด้านสุขภาพ ที่ประกอบด้วย คน สิงแวดล้อมและกลไก ที่จะต้องร่วมกันให้เกิดชุมชนสุขภาวะ และภาคกลไกมีการผลักดันหลายภาคส่วน คือ สปสช  สช  สสส  เห็นมุมมอง ในกระบวนการการร่วมร่วมทำ  ผลักดันให้เกิดการทำงานในรูปแบบสภาชุมชน แก้ปัญหาชุมชน เพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง  ได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนที่หลากหลาย

 

1 1

14. มหกรรมสุขภาพครั้งที่3

วันที่ 6 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพและการผ่อนคลายทางอารมณ์
  2. เพื่อให้เยาวชนร่วมกับ อสม.ติดตามสุขภาพผู้สูงวัย3.เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้สูงวัย ร่วมกับเยาวชนติดตามดูแลผู้สูงวัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการจัดกิจกรรมมหกรรมครั้งที่ 3 สรุปผลได้ดังนี้

  1. ผู้สูงอายุ เยาวชนธรรมะ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลผู้สูงอายุ ได้มาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 135 คนเกินกว่าเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติการรักษาสุขภาพจิตตามแนวพุทธศาสนาโดยการเจริญจิตภาวนาจากการสังเกตพบว่า ผู้สูงวัยมีความสนใจ และฝึกปฏิบัติอย่างตั้งใจ บอกประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ สรุปได้ว่า ทำให้สบายใจขึ้น และมีความรู้มากขึ้น ส่วนเยาวชนธรรมะ จากการสังเกตพบว่าเยาวชนมีความตั้งใจปฏิบัติ และนั้งสมาธิได้ระยะเวลามากขึ้นกว่าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

  3. วิทยากรให้ความรู้และสาธิตการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย จากการสัมภาษณ์ พบว่าผู้สูงวัยเห็นความสำคัญของการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเหมาะสมกับวัย เห็นประโยชน์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นที่ดีต่อสุขภาพ

  4. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง โดยการชมนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง (NCD) จากการสัมภาษณ์ผู้สูงวัย พบว่ามีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น แต่ยังต้องการให้ทำอย่างต่อเนื่อง

  5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และบันทึกลงในสมุดบันทึก จากการประเมินโดยภาพรวมในสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพพบว่า ผู้สูงวัยมีความดันโลหิต และน้ำหนัก อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ มีบางรายเท่านั้นที่จะต้องติดตามผล และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน และการรับประทานยาต่อไป

  6. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ผ้าขนหนู และการออกกำลังกายตามรูปแบบที่เยาวชนช่วยกันคิด จากการสัมภาษณ์และสังเกต พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในกิจกรรมการออกกำลังกาย และเสนอแนะให้ทำอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในรูปแบบการออกกำลังกายที่เยาวชนสาธิต และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติ

  7. เยาวชน จับคู่กับผู้สูงวัย และปฏิบัติการนวดให้ผู้สูงวัยเพื่อผ่อนคลาย ผลจากการปฏิบัติ พบว่า ผู้สูงวัยมีความสุข สังเกตจากใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส และสนุกสนาน จากการที่ลูกหลานได้สัมผัสร่างกายโดยการนวด ตามที่ได้รับการฝึกปฏิบัติ อันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเยาวชนและผู้สูงวัย

  8. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ร่วมรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวยำพื้นบ้าน(สมุนไพร) น้ำดื่มสมุนไพร เช่น น้ำใบย่านาง บัวบก ตะไคร้ อัญชัญ กระเจี๊ยบ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนสนใจและรับประทานข้าวยำ และดื่มน้ำสมุนไพรมากขึ้นโดยการเปรียบเทียบจากกิจกรรมอื่นๆที่ผ่านมา และพบว่าผู้สูงวัยผู้หญิงและเยาวชนผู้หญิง ชอบข้าวยำมากกว่าผู้ชาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. การรักษาสุขภาพจิตตามแนวพุทธศาสนาโดยการเจริญจิตภาวนา
  2. การให้ความรู้และสาธิตการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย
  3. การให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง
  4. จัดนิทรรศการให้ความรู้การปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง(NCD)
  5. การตรวจสุขภาพเบื้องต้น การวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และบันทึกลงในสมุดบันทึก
  6. การออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ผ้าขนหนู และการออกกำลังกายตามรูปแบบที่เยาวชนช่วยกันคิด
  7. การนวดเพื่อผ่อนคลาย

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติการรักษาสุขภาพจิตตามแนวพุทธศาสนาโดยการเจริญจิตภาวนา
  3. วิทยากรให้ความรู้และสาธิตการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย
  4. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง
  5. ชมนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง(NCD)
  6. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และบันทึกลงในสมุดบันทึก
  7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ผ้าขนหนู และการออกกำลังกายตามรูปแบบที่เยาวชนช่วยกันคิด
  8. เยาวชน จับคู่กับผู้สูงวัย และปฏิบัติการนวดให้ผู้สูงวัยเพื่อผ่อนคลาย
  9. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ร่วมรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวยำพื้นบ้าน(สมุนไพร) น้ำดื่มสมุนไพร เช่น น้ำใบย่านาง บัวบก ตะไคร้ อัญชัญ กระเจี๊ยบ

 

120 135

15. การประชุมปฏิบัติการคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปและรายงานโครงการ

วันที่ 4 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อประชุมปฏิบัติการคณะทำงานจัดทำรายงาน สรุปการดำเนินงานโครงการ (แบบ ส.3 ส.4 ง.2 ง.3 และ ง.2)
  2. เพื่อให้คณะทำงานทราบผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดของโครงการ
  3. เพื่อชี้แจงรายละเอียดการใช้งบประมาณในการดำเนินงานให้คณะกรรมการดำเนินงาน และผู้เกี่ยวข้องทรา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องทราบผลการดำเนินงานตามโครงการ
  2. ได้ข้อสรุปและข้อมูลการจัดทำรายงานตามที่ สสส.กำหนดไว้
  3. ได้ข้อสรุปการรายงานการเงินและเอกสารการเบิกจ่ายงบประมาณ ดังนี้

    3.1 รายงานการเบิกเงินตามที่เบิกจริง

    3.2 รายงานการเงินให้ตรงตามเอกสารหลักฐาน ใบสำคัญ

    3.3 วันการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องตรงตามฤดูกาลแห่งกิจกรรมเช่นวันรดน้ำขอพร การจัดกิจกรรมวันสำคัญ เป็นต้น

4.ได้เอกสารการรายงานโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ชี้แจงแนวทางการสรุปรายงานให้ที่ประชุมทราบ
  2. แบ่งกลุ่มสรุป จัดทำรายงาน ตรวจสอบความถูกต้องหลักฐานการเบิกจ่ายตามความเป็นจริง
  3. ประสานงานปรึกษาซักถามปัญหาพี่เลี้ยงโครงการในพื้นที่
  4. กลุ่มรายงานที่ประชุมและสรุป
  5. จัดทำรายงานตามรูปแบบ ของ สสส.
  6. ชี้แจง สรุป ตอบปัญหาข้อสงสัยให้ที่ประชุมทราบ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ชี้แจงแนวทางการสรุปรายงานให้ที่ประชุมทราบ
  2. แบ่งกลุ่มสรุป จัดทำรายงาน ตรวจสอบความถูกต้องหลักฐานการเบิกจ่ายตามความเป็นจริง
  3. ประสานงานปรึกษาซักถามปัญหาพี่เลี้ยงโครงการในพื้นที่
  4. กลุ่มรายงานที่ประชุมและสรุป
  5. จัดทำรายงานตามรูปแบบ ของ สสส.
  6. ชี้แจง สรุป ตอบปัญหาข้อสงสัยให้ที่ประชุมทราบ

 

15 15

16. เบิกค่าเปิดบัญชี

วันที่ 13 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เบิกค่าเปิดบัญชี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประธานโครงการเบิกค่าเปิดบัญชี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เบิกเงินค่าเปิดบัญชีคืนให้กับผู้รับผิดชอบโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ประธานโครงการเบิกค่าเปิดบัญชี ที่ ธนาคาร ธกส. สาขาอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

 

2 2

17. เข้าร่วมประชุมปิดโครงการ

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เข้าร่วมกิจกรรมกับ สจรส. ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สามารถจัดการเอกสารการเงินให้เรียบร้อยสมบูรณ์ ปรับยอดค่าใช้จ่ายให้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์การเบิกจ่ายเงินของสสส. และสามารถจัดทำรายงานการเงินเพื่อปิดโครงการได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

มีรายละเอียดดังนี้ มีการตรวจสอบเอกสารกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่ดำเนินการไปตามงวดสุดท้าย

กิจกรรมที่ทำจริง

ผลสรุปของกิจกรรม มีดังต่อไปนี้
- ได้ตรวจสอบเรื่องเอกสารต่างๆการจัดกิจกรรม และการใช้งบประมาณรวมถึงการตรวจการลงทะเบียน
- ชี้แจงรายละเอียดการสรุปงบประมาณลงเว็บไซต์ ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับด้านเอกสาร และเอกสารการเงิน - ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และปิดโครงการได้

 

2 2

18. ถ่ายภาพกิจกรรม

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

มีภาพถ่ายทุกกิจกรรม มีป้ายปลอดบุหรี่ที่สถานที่จัดประชุม ส่งรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ภาพถ่ายกิจกรรมที่สามารถจัดทำรายงานได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ถ่ายภาพกิจกรรมเพื่องลงรายงาน และเก็บเป็นผลลัพธ์การทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำภาพถ่ายและเก็บไว้ในแฟ้ม สำหรับไว้ทำรายงานฉบับสมบูรณ์

 

1 3

19. ทำรายงานส่ง สสส

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ส่ง สสส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทำรายงานการเงิน และลงข้อมูลในรายงานบนเว็บไซต์เรียบร้อย สามารถส่งรายงานได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำรายงานการเงิน และรายงานฉบับสมบูรณ์ ส่ง สสส

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำรายงาน ส่ง สสส ให้เสร็จสมบูรณ์

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 32 32                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 132,375.00 130,717.00                  
คุณภาพกิจกรรม 128 112                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายธานี แก้วโยธา
ผู้รับผิดชอบโครงการ