แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ เมล็ดพันธุ์สารวัน สานพลังสร้างสุข

ชุมชน หมู่ที่ 2 บ้านสาวรวัน ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี

รหัสโครงการ 57-02607 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0124

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2557 ถึง 20 พฤศจิกายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2557 ถึงเดือน มีนาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมชีแจงการดำเนินโครงการและการบันทึกข้อมูลลงโปรแกรม

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การบริหารโครงการและการบันทึกโปรแกรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการโครงการ และการจัดการเอกสารการเงิน ได้ฝึกทักษะในการใช้งานเว็บไซต์ คนใต้สร้างสุข เพื่อการวางแผนการจัดกิจกรรม (ทำปฏิทินกิจกรรมตลอดระยะเวลาโครงการ) จัดเขียนรายงาน และการทำรายงานการเงิน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รับฟังคำชี้แจงการดำเนินงานโครงการและการลงบันทึกข้อมูลตามโปรแกรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เริ่มจากการทำ ความคาดหวัง ประสบการณ์ และแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดย คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
    การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา โดยคุณกำไล สมรักษ์ - การบริหารการจัดการงบประมาณ  (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) โดยคุณสมบูรณ์ ขวัญสงค์ และคุณจุรีย์ หนูผุด - การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน โดยคุณกัญนภัส จันทร์ทอง
  • การจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุขโดยคุณภานุมาศ นนทพันธ์
  • ฝึกการป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม • การจัดทำรายงาน

 

3 2

2. ประชุมสภาผู้นำ

วันที่ 29 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงานตามโครงการและมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการสภาผู้นำมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการ  มีการปรับเปลี่ยนวันที่ดำเนินการเพื่อความสอดคล้องกับความเหมาะสมกับชุมชน  กรรมการมีความรู้สึกพอใจกับการเข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนซึ่งแสดงให้เห็นจากการซักถามและการเพิ่มรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมในโครงการ  และเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการ และปรับเปลี่ยนวันที่ดำเนินการเพื่อความสอดคล้องของปฏิทินชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวชี้แจงวัตถุประสงและรายละเอียด  เป้าหมายของการจัดทำโครงการ  และให้คณะกรรมการสภาผู้นำได้ซักถามประเด็นที่ยังไม่เข้าใจรวมถึงการรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆในการจัดกิจกรรมของโครงการเพื่อนำไปปรับรายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป

 

21 21

3. ชี้แจงสร้างความเข้าใจเปิดโครงการและประชุมสภาผู้นำ

วันที่ 14 มกราคม 2558 เวลา 13:00-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการให้กับสภาผู้นำสารวันทราบและร่วมวางแผนการดำเนินงาน
  2. เพื่อให้พี่เลี้ยงโครงการได้พบปะกรรมการโครงการเพื่อตอบข้อซักถาม3. เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและเสียงสะท้อนจากชุมชนในการนำมาปรับแผน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะกรรมการสภาผู้นำมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
  2. ข้อเสนอแนะในที่ประชุมมีเรื่องของการกำหนดสถานที่การดำเนินกิจกรรมและความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมาย
  3. ได้มีการปรับแผนกิจกรรมร่วมกันในเรื่องระยะเวลาของการดำเนินงานที่สอดคล้องกับปฏิทินชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดประชุมตัวแทนของชุมชนเพื่อจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนสารวัน
  • ชี้แจงวัตถุประสงโครงการและวางแผนการดำเนินงานโครงการเมล็ดพันธ์สารวันสร้างสุขร่วมกัน ให้พี่เลี้ยงโครงการได้มาพบปะคณะกรรมการโครงการและสภาผู้นำสารวันเพื่อชี้แจงหลักการดำเนินโครงการที่มาของโครงการและตอบข้อซักถามของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

แนะนำสมาชิกสภาผู้นำชุมชน แนะนำคณะกรรมการโครงการ ชี้แจงที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการโดยผู้รับผิดชอบโครงการ แจ้งกำหนดการและแผนการดำเนินงานตามโครงการ พี่เลี้ยงโครงการคุณกัลยา  เอี้ยวสกุล  พบประกรรมการและสมาชิก เพื่อเล่าที่มาที่ไปของโครงการและช่องทางการติดต่อ ร่วมกันอภิปรายและเสนอแนะการดำเนินงาน และปรับแผนและกิจกรรมตามข้อเสนอแนะ

 

20 21

4. ประชุมสภาผู้นำบ้านสารวัน

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ปัญหาสาธารณสุขอย่างเป็นรูปธรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้บทการวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน  กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน    และได้แผนการแก้ปัญหาด้านสุขภาพของชุมชน

  1. บทการวิเคราะห์ปัญหาชุมชน ที่ทราบถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงที่ได้คือการขาดความรู้การอ่านหนังสือไม่ออก  และการขาดจริยธรรม จึงส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆของชุมชนตามมามากมาย
  2. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน  โดยใช้เครื่องมือ  การวิเคราะห์ชุมชนโดยใช้ต้นไม้ปัญหา  ตุ๊กตาชมชน  และผีเสื้อ
  3. ได้แผนการแก้ปัญหาด้านสุขภาพของชุมชนอย่างเป็นระบบ  เป็นแผนต่อเนื่อง  5 ปี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คืนข้อมูลสุขภาพของพื้นที่เพื่อวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขและนำสู่การเกิดแผนชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.จัดเตรียมข้อมูลสถานะสุขภาพของพื้นที่จากฐานข้อมูลการรับบริการที่โรงพยาบาล เช่น อันดับโรคของการเข้ารับการรักษาของคน ม.2 บ้านสารวันตำบลไทรทอง  ที่จุดผู้ป่วยนอน  ผู้ป่วยใน  ห้องฉุกเฉิน  และ การรายงานโรคระบาด

2.ประสานกลุ่มเป้าหมาย  กำหนดวันและสถานที่

3.ดำเนินการจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม  โดยมีการนำเสนอข้อมูลจากสวนของโรงพยาบาลและส่วนของชุมชน

4.ร่วมกันวิเคราะห์สถานการสุขภาพและค้นหาสาเหตุของปัญหาร่วมกัน

5.ร่วมกันจัดทำแผนการแก้ปัญหาและจัดทำแผนสุขภาพประจำหมู่บ้าน

6.สรุปและทบทวนแผนที่ได้เพื่อนำสู่การจัดหางบประจากแหล่งต่างๆต่อไป

 

15 30

5. จัดอบรมการวิจัยชุมชน ครั้งที่ 1

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เยาวชนสามารถเก็บข้อมูลและเป็นนักวิจัยในชุมชน
  2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิดให้กับเยาวชน
  3. เพื่อให้ชุมชนมีชุดข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันโดยมาจากชุมชนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทีมนักวิจัยและทีมพี่เลี้ยงมีความรู้ความเข้าใจทักษะการสัมภาษณ์ การสังเกตุ และการสำรวจ  เพื่อลงบันทึกข้อมูลระหว่างการสำรวจ ทีมเยาวชนนักวิจัยมีความเข้าใจในข้อคำถามในแบบสอบถาม หากมีข้อสงสัยให้ซักถามทีมพี่เลี้ยง

  1. เยาวชนทีมวิจัย และพี่เลี้ยง มีความรู้ความเข้าใจการเก็บข้อมูล มี 3 รูปแบบ คือ การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกตุ และการสำรวจข้อมูล
  2. ได้เรียนรู้ทักษะการเก็บข้อมูลได้แก่น การตั้งคำถามการแนะนำตัวผู้ทำการเก็บข้อมูล การชี้แจงที่มาของการเก็บข้อมูล การชวนคุยเรื่องอื่นเพื่อสร้างความสนิทสนมก่อนเริ่มทำการสัมภาษณ์ หรือ การนำของฝากไปให้ผู้สัมภาษณ์  และการสร้างสัมพันธภาพ
  3. เยาวชนทีมวิจัยมีความเข้าใจแบบสอบถามจากการอธิบายของวิทยากร และการฝึกสัมภาษณ์ด้วยกันเอง เพื่อซักซ้อมก่อนลงพื้นที่เก็บข้อมูล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • วันแรก

        จัดการอบรมครั้งแรกในชุมชน    เปิดการอบรมโดยประธานสภาผู้นำบ้านสารวัน คุณบรรจบ  หะวิเกตุ    และแนะนำผู้รับผิดชอบโครงการ คุณมาลินี  ยามา    วิทยากร คุณซาลีนา  กอเสง  แนะนำและชี้แจงวัตถุประสงค์ของอบรม    ให้เยาวชนกลุ่มเป้าหมายได้แนะนำตัวเองและจัดหาประธาน  รองประธาน  เพื่อการนำเนินกิจกรรมกลุ่มต่อไปอย่างต่อเนื่อง  แล้วจึง ให้ความรู้เรื่องระเบียบการวิจัย  การเก็บข้อมูล  และการวิจัยชุมชนเบื้องต้น อย่างง่าย  โดยคุณสันติ  อุทัยรัตน์  รวมถึงการให้เทคนิคสร้างแรงจูงใจให้กับเยาวชนเพื่อสร้างความมั่นใจในการเป็นนักวิจัยน้อย

  • วันที่สอง

        จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมเพื่อสร้างสัมพันธภาพและการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้    จัดชี้แจงรายละเอียดของแบบสอบถาม ให้ความรู้เรื่องวิธีการเก็บข้อมูล  และการสังเกตุ โดยคุณ นิวิลดาน  ลอมา
สรุปบทเรียน และให้แบบสอบถามคนละ 1  ชุดเพื่อทดสอบและนำมาวิเคราะห์และให้ความรู้เพิ่มเติมอีกครั้ง/ซักถาม/ปิดการประชุม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. จัดทำแบบสอบถามเพื่อการเก็บข้อมูลในการสำรวจ
  2. ประสานกลุ่มเป้าหมาย  กำหนดวันเวลาและสถานที่  ประสานวิทยากร
  3. แนะนำทีมเยาวชนนักวิจัยและทีมพี่เลี้ยง
  4. ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการและการดำเนินงานตลอดโครงการ
  5. อธิบายการเก็บข้อมูลและฝึกทักษะการสำรวจ
  6. สรุปและประเมินผลการอบรมครั้งที่1U

 

30 30

6. ลงชุมชนเพื่อสำรวจข้อมูล

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชน เพื่อการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และวางแผนแก้ปัญหาต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้แบบสอบถามเพื่อรอการบันทึกจำนวน  178  ชุด  เพื่อรอการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลต่อไป

  • เก็บข้อมูลแบบสำรวจครัวเรือนจำนวน 210  ครัวเรือน แต่เก็บได้ทั้งสิ้น 178  ชุด เนื่องจากยังมีการบันทึกไม่ครบถ้วน
  • ปัญหาที่พบในการเก็บข้อมูลคือไปสำรวจแล้วไม่เจอเจ้าบ้าน  เพราะต้องไปทำงานต่างพื้นที่จะกลับมาเดือนละครั้ง  และบางบ้านมีผู้สูงอายุอยู่บ้านเพียงลำพังไม่สามารถให้ข้อมูลได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทีมเยาวชนนักวิจัยได้ลงพื้นที่สำรวจตามแบบสำรวจข้อมูลชุมชนครัวเรือนละ 1 ชุดๆจำนวน 210 ชุดละ 4 ตอน มีคำถามดังนี้

  • ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปพื้นฐาน ที่อยู่  รายชื่อสมาชิกของครอบครัว เพศ  อายุ  ศาสนา สถานภาพ  การศึกษา  อาชีพ สิทธิการรักษา  บทบาทในชุมชน
  • ตอนที่ 2 ด้านเศรษฐกิจ  อาชีพหลักและอาชีพเสริมของครอบครัวรายได้เฉลี่ยของครอบครัว  ความเพียงพอของรายได้
  • ตอนที่ 3 ข้อมูลโครงสร้างระบบสุขภาพ สมาชิกในครอบครัวตามช่วงวัย คืออายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์หรือไม่  หญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่แต่งงานแล้วมีการคุมกำเนิดหรือไม่ ด้วยวิธีใด  ในครัวเรือนของท่านมีหญิงตั้งครรภ์หรือไม่  ฝากครรภ์หรือไม่ ได้รับวัคซีนหรือไม่  สมาชิกในครอบครัวของท่านป่วยด้วยโรคประจำตัว/การเจ็บป่วยเรื้อรัง  ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาสมาชิกในครอบครัวมีการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อหรือไม่  ในครัวเรือนมีผู้พิการหรือไม่  เมื่อเกิดการเจ็บป่วยสมาชิกจะเข้ารับบริการที่ใด  ในครัวเรือนของท่านมีบุคคลอายุ 35  ปี  ขึ้นไปหรือไม่และได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่  ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ สมาชิกในครอบครัวมีผู้สูงอายุหรือไม่  ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีหรือไม่  สมาชิกในครัวเรือนของท่านสูบบุหรี่/ยาสูบ/ยาเส้นหรือไม่  สมาชิกในครัวเรือนของท่านดื่มสุรา/เบียร์/เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือไม่บ่อยเพียงใด  ในครัวเรือนของท่านมีการออกกำลังกายหรือไม่  อาหารเพื่อบริโภคมาจากแหล่งใด  ครัวเรือนของท่านเคยซื้อยาชุดมาบริโภคหรือไม่  ครัวเรือนของท่านอ่านฉลากยาก่อนบริโภคหรือไม่  ครัวเรือนของท่านดูวันผลิตวันหมดอายุก่อนรับประทานหรือไม่
  • ตอนที่ 4 ข้อมูลด้านสุขาภิบาล  ครัวเรือนของท่านใช้น้ำดื่มจากแหล่งใด  ลักษณะน้ำดื่ม  ท่านมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำมาอุปโภคหรือไม่  ปริมาณน้ำดื่มมีลักษณะอย่างไร  ครัวเรือนของท่านใช้น้ำจากแหล่งใด  ท่านมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำมาบริโภคหรือไม่  ปริมาณน้ำเพียงพอหรือไม่  ส้วมมีหรือไม่มีลักษณะเป็นอย่างไร  ครัวเรือนของท่านมีการกำจัดน้ำทิ้งอย่างไร  กำจัดขยะมูลฝอยอย่างไร  มียุงหรือกำจัดยุงอย่างไร  มีแหล่งเพาะพันธ์ุยุงหรือไม่อย่างไร  มีแมลงวันหรือไม่กำจัดอย่างไร  ตอนที่5 ข้อมูลด้านศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน  การเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มต่างๆในชุมชน  การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆของชุมชน  การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชน  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสืบสานวัฒนธรรม  การมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ทีมเยาวชนนักวิจัยลงเก็บข้อมูลในพื้นที่พร้อมพี่เลี้ยง ซึ่งได้แบ่งเขตความรับผิดชอบโดยให้นักวิจัยเป็นผู้เลือกโซนบ้านในการเก็บข้อมูล  ซึ่งนักวิจัยจะเลือกโซนใกล้บ้านและเครือญาติ แล้วให้เจ้าหน้าที่ลงบันทึกข้อมูล
  2. ทีมเยาวชนนักวิจัยได้ลงพื้นที่สำรวจตามแบบสำรวจข้อมูลชุมชนครัวเรือนละ 1 ชุดๆจำนวน 210  ชุดๆละ 4 ตอน มีคำถามดังนี้
  • ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปพื้นฐาน ที่อยู่  รายชื่อสมาชิกของครอบครัว เพศ  อายุ  ศาสนา สถานภาพ  การศึกษา  อาชีพ สิทธิการรักษา  บทบาทในชุมชน
  • ตอนที่ 2 ด้านเศรษฐกิจ  อาชีพหลักและอาชีพเสริมของครอบครัวรายได้เฉลี่ยของครอบครัว  ความเพียงพอของรายได้
  • ตอนที่ 3 ข้อมูลโครงสร้างระบบสุขภาพ สมาชิกในครอบครัวตามช่วงวัย คืออายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์หรือไม่  หญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่แต่งงานแล้วมีการคุมกำเนิดหรือไม่ ด้วยวิธีใด  ในครัวเรือนของท่านมีหญิงตั้งครรภ์หรือไม่  ฝากครรภ์หรือไม่ ได้รับวัคซีนหรือไม่  สมาชิกในครอบครัวของท่านป่วยด้วยโรคประจำตัว/การเจ็บป่วยเรื้อรัง  ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาสมาชิกในครอบครัวมีการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อหรือไม่  ในครัวเรือนมีผู้พิการหรือไม่  เมื่อเกิดการเจ็บป่วยสมาชิกจะเข้ารับบริการที่ใด  ในครัวเรือนของท่านมีบุคคลอายุ 35  ปี  ขึ้นไปหรือไม่และได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่  ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ สมาชิกในครอบครัวมีผู้สูงอายุหรือไม่  ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีหรือไม่  สมาชิกในครัวเรือนของท่านสูบบุหรี่/ยาสูบ/ยาเส้นหรือไม่  สมาชิกในครัวเรือนของท่านดื่มสุรา/เบียร์/เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือไม่บ่อยเพียงใด  ในครัวเรือนของท่านมีการออกกำลังกายหรือไม่  อาหารเพื่อบริโภคมาจากแหล่งใด  ครัวเรือนของท่านเคยซื้อยาชุดมาบริโภคหรือไม่  ครัวเรือนของท่านอ่านฉลากยาก่อนบริโภคหรือไม่  ครัวเรือนของท่านดูวันผลิตวันหมดอายุก่อนรับประทานหรือไม่
  • ตอนที่ 4 ข้อมูลด้านสุขาภิบาล  ครัวเรือนของท่านใช้น้ำดื่มจากแหล่งใด  ลักษณะน้ำดื่ม  ท่านมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำมาอุปโภคหรือไม่  ปริมาณน้ำดื่มมีลักษณะอย่างไร  ครัวเรือนของท่านใช้น้ำจากแหล่งใด  ท่านมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำมาบริโภคหรือไม่  ปริมาณน้ำเพียงพอหรือไม่  ส้วมมีหรือไม่มีลักษณะเป็นอย่างไร  ครัวเรือนของท่านมีการกำจัดน้ำทิ้งอย่างไร  กำจัดขยะมูลฝอยอย่างไร  มียุงหรือกำจัดยุงอย่างไร  มีแหล่งเพาะพันธ์ุยุงหรือไม่อย่างไร  มีแมลงวันหรือไม่กำจัดอย่างไร  ตอนที่5 ข้อมูลด้านศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน  การเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มต่างๆในชุมชน  การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆของชุมชน  การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชน  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสืบสานวัฒนธรรม  การมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

 

25 26

7. จัดอบรมการวิจัย ครั้งที่ 2

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามการดำเนินงานของเยาวชนนักวิจัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. นักวิจัยน้อยมีความรู้และทักษะการสัมภาษณ์มากขึ้น
  2. ได้รับทราบถึงปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานของนักวิจัยน้อยและร่วมหาทางแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
  3. เนื่องจากข้อมูลที่เก็บยังมีเนื้อหาไม่สมบูรณ์และยังเก็บข้อมูลไม่ครบตามเป้าที่วางไว้คือ 210  ครัวเรือน  การอบรมในครั้งนี้จึงเน้นการสร้างความเข้าใจของข้อคำถามให้ตรงกัน  และมีการนัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในวันที่21 เมษายน 2558

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามแบบการสำรวจเพื่อวิเคราะห์ความถูกต้องและความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมการสำรวจเพื่อชี้แจงและอธิบายให้ถูกต้องและปรับแก้ไข ซักถามปัญหาและอุปสรรค์ของการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 21  กุมภาพันธ์ 2558

  • เริ่มจากการนำรถไปรับนักวิจัยน้อยในพื้นที่เพื่อเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลไม้แก่น  หลังจากการลงทะเบียนเสร็จ  จัดให้มีกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพเพื่อลดความเครียดของและสร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง แล้วจึงนำแบบสำรวจที่นักวิจัยได้ดำเนินการไปแล้วมาวิเคราะห์ โดยคุณสันติ  อุทัยรัตน์  นักวิชาการสาธารณสุข ประเมินการสำรวจตามแบบสอบถามของนักวิจัยน้อยเพื่อทบทวนความถูกต้องและปรับความเข้าใจโดยใช้กระบานการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมและประเมินความเข้าใจของนักวิจัยน้อย เน้นเป็นการ    ซักถามปัญหาอุปสรรคของการสำรวจและหาวิธีการแก้ไขร่วมกันซึ่งส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเรื่องไม่พบเจ้าบ้านในเวลาช่วงกลางวัน  ส่วนตอนกลางคืนนั้นนักวิจัยน้อยไม่สามารถออกมาสำรวจได้ จึงต้องมีการติดต่อประสานงานกับอสม.ในพื้นที่เพื่อช่วยประสานเจ้าบ้านว่าสะดวกตอนไหนที่พอจะให้นักวิจัยน้อยสัมภาษณ์  และเรื่องที่พบแต่ผู้สูงอายุที่บ้านซึ่งให้ข้อมูลไม่ได้  ทั้งหมดเหล่านี้จะแก้ปัญหาโดยให้อสม.เป็นคนช่วยประสานและติดตาม แล้วจึง สรุปประเด็นการเรียนรู้ของวันนี้เรื่องการสัมภาษณ์ที่ให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความถูกต้องและทักษะการแก้ปัญหาต่างๆและนำส่ง นักวิจัยน้อยเดินทางกลับ เวลา 16.00 น.

วันที่ 22  กุมภาพันธ์ 2558

  • เริ่มต้นด้วยจัดกิจกรรมสันธนาการเพื่อละลายพฤติกรรมและสร้างสัมพันธภาพและหลังจากนั้นได้อธิบายรายละเอียดของแบบสอบถามเพิ่มเติมหลังจากประเมินความเข้าใจของนักวิจัยแล้วว่ายังไม่สามารถถามได้ตรงประเด็นหรือยังคลาดเคลื่อน. โดย คุณนิวิลดาน.  ลอมา  และมีการเสริมเรียนรู้การใช้ทักษะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม  และสรุปบทเรียน  เปิดให้ ซักถามประเด็นซึ่งส่วนใหญ่ยังคงกังวลประเด็นที่ไม่พบกับเจ้าบ้านและให้แก้ปัญหาโดยประสานอสม.เป็นกรณีๆไป    16.00  ส่งนักวิจัย กลับบ้าน

 

30 20

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 32 7                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 132,200.00 55,858.00                  
คุณภาพกิจกรรม 28 20                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. เขียนรายงานพร้อมพื่เลี้ยงและสจรส ( 11 เม.ย. 2558 )
  2. ประชุมสภาผู้นำ ( 16 เม.ย. 2558 )
  3. จัดอบรมการวิจัยชุมชน ครั้งที่ 3 ( 25 เม.ย. 2558 - 26 เม.ย. 2558 )
  4. จัดทำป้ายรณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่ ( 28 เม.ย. 2558 )
  5. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ( 29 เม.ย. 2558 )
  6. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ( 15 พ.ค. 2558 )
  7. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ( 12 มิ.ย. 2558 )
  8. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ( 20 ก.ค. 2558 )
  9. ประชาคมการคืนข้อมูลที่สำรวจ ( 11 ส.ค. 2558 )
  10. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ( 14 ส.ค. 2558 )
  11. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ( 1 ก.ย. 2558 )
  12. เข้าร่วมมหกรรมคนใต้สร้างสุข ( 4 ก.ย. 2558 - 6 ก.ย. 2558 )
  13. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ( 18 ก.ย. 2558 )

(................................)
นางมาลินี ยามา
ผู้รับผิดชอบโครงการ