แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ เมล็ดพันธุ์สารวัน สานพลังสร้างสุข

ชุมชน หมู่ที่ 2 บ้านสาวรวัน ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี

รหัสโครงการ 57-02607 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0124

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2557 ถึง 20 พฤศจิกายน 2558

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มีนาคม 2558 ถึงเดือน ธันวาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เขียนรายงานพร้อมพื่เลี้ยงและสจรส

วันที่ 11 เมษายน 2558 เวลา 12:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปรึกษาและรายงานผลการดำเนินงาน งวดที่ 1 ก่อนส่งรายงานให้ สสส

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สามารถบันทึกรายงานตามโปรแกรมได้อย่างถูกต้องและมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับรายงานต่างๆที่ถูกบันทึกในโปรแกรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ขอคำปรึกษาการดำเนินกิจกรรมแต่การบันทึกรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ในรายงานงวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ปรึกษาพี่เลี้ยงเพื่อบันทึกกิจกรรมลงโปรแกรมและจัดทำรายงาน
  2. ลงโปรแกรมโดยมีพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา
  3. ตรวจสอบการบันทึกโดยพี่เลี้ยง

 

1 1

2. ประชุมสภาผู้นำ

วันที่ 16 เมษายน 2558 เวลา 12:00-16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมจัดทำแผนการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ติดตามการดำเนินงานของเมล็ดพันธุ์สุขภาพจากการสำรวจพบว่ายังมีอุปสรรค์เรื่องการเก็บข้อมูลซึ่งเป็นทั้งในตัวเมล็ดพันธุ์เองที่ยังไม่เข้าใจในบางประเด็นที่ไม่สามารถสอบถามได้และประเด็นเป้าหมายที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่นั้นกรรมการมีความเห็นว่าควรให้อสม.เข้ามามีส่วนร่วมในการสำรวจหากมีปัญหาเป็นรายกรณี มติที่ประชุมมีความเห็นชอบ
  2. กรรมการมีการร่วมกันวิเคราะห์ทุนและบริบทของพื้นที่ว่าควรมีการจัดเก็บเรื่องราวของทุนต่างๆในชุมชนเพื่อเป็นฐานในการช่วยแก้ปัญหาต่างๆเช่นภูมิปัญญาต่างๆที่มีอยู่หรือแหล่งเรียนรู้ด้านการประกอบอาชีพต่างๆทั้งทางด้านการเกษตรและการประมงมติเห็นชอบให้มีการรวบรวมเพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล
  3. การรับฟังเสียงสะท้อนจากชุมชน เรื่องการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีผู้ดูแลกรรมการมีการเสนอเรื่องของการสำรวจและเยี่ยมบ้านให้มีข้อมูลที่แท้จริงว่ากลุ่มนี้นั้นต้องการความช่วยเหลือด้านใดบ้าง อาจต้องให้เมล็ดพันธุ์ช่วยสำรวจร่วมกับอสม.แล้วนำมาสรุปเพื่อจัดการช่วยเหลือหรือประสานหน่วยงานต่างๆให้เข้ามามีส่วนร่วมอีก มติที่ประชุมมีความเห็นชอบให้มีการเยี่ยมบ้านและติดตามผลการเยี่ยม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 3 เพื่อติดตามการดำเนินงานของเมล็ดพันธุ์สารวัน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมสภาผู้นำชุมชน หารือ เรื่อง

  1. สรุปข้อมูลที่ได้จาการดำเนินงานในงวดที่ 1 กิจกรรมที่ผ่านมา ของโครงการ
  2. ร่วมวิเคราะห์บริบทของพื้นที่และ ทุนของพื้นที่
  3. รับฟังการสะท้อนปัญหาสุขภาพจากที่ประชุม

 

15 20

3. จัดอบรมการวิจัยชุมชน ครั้งที่ 3

วันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการสำรวจ

  • หมู่ที่ 2 บ้านสารวันมีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 213 หลังคาเรือน ประชากรที่มีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านและอยู่จริงมีจำนวน 508 คน มีชื่อในสำเนาทะเบียนบ้านแต่ไม่ได้อยู่จริงจำนวน 27 คน ไม่มีชื่อแต่มีคนมาอยู่จริงจำนวน 4 คน ตอนนี้รวมประชากรที่อยู่ในพื้นที่จริง 512 คน เพศชายจำนวน 244 คนเพศหญิงจำนวน 295 คน

  • ประชากรมีระดับการศึกษาดังนี้

  1. ไม่ได้ศึกษา/ไม่มีวุฒิการศึกษาจำนวน371คน
  2. ก่อนประถมศึกษาจำนวน33 คน
  3. ประถมศึกษา จำนวน30 คน
  4. มัธยมศึกษาจำนวน42 คน
  5. อนุปริญญาจำนวน17 คน
  6. ปริญญาตรีจำนวน30 คน
  7. สูงกว่าปริญญาตรีจำนวน 8คน
  8. ไม่ระบุฝไม่ทราบจำนวน 5 คน
  • ข้อมูลการนับถือศาสนา ศาสนาพุทธจำนวน 510 คน ศาสนาอิสลามจำนวน 29 คน
  • ข้อมูลการประกอบอาชีพ
  1. ในความปกครองจำนวน32 คน
  2. นักเรียน/นักศึกษา/แม่บ้าน/ไม่ได้ทำงาน จำนวน107 คน
  3. ชรา จำนวน 14 คน
  4. เกษตรกรรมจำนวน 25 คน
  5. รับจ้างจำนวน 130 คน
  6. รับราชการจำนวน 25 คน
  7. รับราชการ จำนวน130 คน
  8. อาชีพอื่นๆจำนวน206 คน
  • ประชากรมีสิทธิการรักษาดังนี้
  1. สิทธิบัตรทอง จำนวน 485 คน
  2. สิทธิข้าราชการจำนวน 53 คน
  3. สิทธิต่างด้าว จำนวน 1 คน
  • ประชากรแยกตามกลุ่มอายุ
  1. น้อยกว่า 1 ปีจำนวน6คน
  2. อายุ 1-4 ปี จำนวน5คน
  3. อายุ 5-9 ปี จำนวน10คน
  4. อายุ 10-14 ปี จำนวน29คน
  5. อายุ 15-19 ปี จำนวน39คน
  6. อายุ 20-24 ปี จำนวน31คน
  7. อายุ 25-29 ปี จำนวน22คน
  8. อายุ 30-34 ปี จำนวน32คน
  9. อายุ 35-39 ปี จำนวน43คน
  10. อายุ 40-44 ปี จำนวน29คน
  11. อายุ 45-49 ปี จำนวน35คน
  12. อายุ 50-54 ปี จำนวน38คน
  13. อายุ 55-59 ปี จำนวน32คน
  14. อายุ 60- 65ปี จำนวน33คน
  15. อายุ 65-69 ปี จำนวน26คน
  16. อายุ 70-74 ปี จำนวน18คน
  • ประชากรที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
  1. โรคเบาหวานจำนวน 20คน
  2. โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 95คน
  3. โรคหัวใจจำนวน 4 คน
  4. โรคหลอดเลือดสมองจำนวน6คน
  5. โรคมะเร็งเต้านม 2 คน
  6. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง 6 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

อบรมเพื่อจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจัดจากการสำรวจเพื่อจัดหมวดหมู่และประมวลผล

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดการอบรมแบ่งออกเป็น 2 วัน

25 เมษายน 2558

  1. ทบทวนข้อมูลจากการสำรวจ ข้อมูลพื้นฐานจากครัวเรือนบ้านสารวัน โดยนายสันติ อุทัยรัตน์ นักวิชาการสาธารณสุข
  2. สรุปผลจากการทบทวนถึงสิ่งที่ได้จากการสำรวจ
  3. กิจกรรมสันทนาการ

26 เมษายน 2558

  1. วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลจากข้อมูลที่ทบทวนเมื่อวาน โดยนางสาวนิวิลดาน ลอมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลไม้แก่น
  2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล

 

30 30

4. จัดทำป้ายรณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่

วันที่ 28 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสนับสนุนการจัดสิ่งแวดล้อมการไม่สูบบุหรี่ในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ติดป้ายที่ศาลาม่วงชุมและบริเวณ 3 แยกในชุมชนและสนับสนุนให้ติดเมื่อมีการจัดกิจกรรมในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายเพื่อรณรงค์เขตปลอดบุรี่ในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายการไม่สูบบุหรี่ในชุมชน  ติดตั้งในชุมชน ตรงปากทางเข้าหมู่บ้าน และศาลารวใจ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการพบปะหรือที่มองเห็นได้จัดและทั่วถึง และใช้ในการจัดกิจกรรมของชุมชน

 

200 200

5. ประชุมสภาผู้นำชุมชน

วันที่ 29 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทบทวนแผนงานและติดตามภาวะสุขภาพในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ให้กรรมการช่วยกันติดตามผู้ที่ต้องการการเยี่ยมบ้านตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดคือกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย/ กลุ่มผู้พิการ/ ผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงรวมจำนวนที่ต้องการการเยี่ยมบ้านของชุมชนสารวันจำนวน24 รายและส่งข้อมูลดังกล่าวให้เจ้าหนาที่สาธารณสุขช่วยกันเยี่ยมเพื่อสำรวจความต้องการและการช่วยเหลือต่างๆ
  2. วางแผนการออกเยี่ยมบ้านกลุ่มดังกล่าวในวันจันทร์ช่วงบ่ายและรวบรวมข้อมูล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามแก้ปัญหาชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. นำนโยบายการเยี่ยมบ้านในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องดูแลเป็นพิเศษมาทบทวนเป้าหมาย
  2. ออกแบบการดำเนินการร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาคส่วนต่างๆ

 

15 15

6. ประชุมสภาผู้นำชุมชน

วันที่ 15 พฤษภาคม 2558 เวลา 12:00-16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามการดำเนินงานและแก้ปัญหา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการเยี่ยมบ้านจำนวน 12 รายพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพจิตร่วมด้วยเนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นภาระของครอบครัว และยังพบปัญหาขาดคนดูแลในผู้สูงอายุที่ป่วยทำให้การรับประทานยาไม่ถูกต้องและการดูแลตัวเองไม่ดีนัก ทางสภาผู้นำจึงมีมติว่าควรแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้ประชาชนทราบและช่วยกันดูแลผู้ป่วยแบบจิตอาสา
  2. วางแผนการประสานงานและติดต่อทีมกายภาพและนักสุขภาพจิตเพื่อร่วมเยี่ยมในรายที่มีปัญหาด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามการดำเนินงานตามแผน ร่วมวิเคราะห์และวางแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. รายงานผลการเยี่ยมติดตามการดำเนินงานและสอบถามปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงาน
  2. วางแผนเพื่อประสานความช่วยเหลือในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส (ผู้สูงที่อยู่คนเดียว และ ผู้พิการ)

 

15 20

7. ประชุมสภาผู้นำชุมชน

วันที่ 12 มิถุนายน 2558 เวลา 12:00-16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามและรับฟังปัญหาสุขภาพชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สรุปการวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดปัญหาชุมชนบ้านสารวันส่วนใหญ่จะมีกลุ่มผู้สูงอายุอยู่ในพื้นที่เพราะกลุ่มวัยทำงานต้องทำงานต่างพื้นที่จึงไม่ได้อยู่ในพื้นที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในเรื่องกลุ่มผู้สูงอายุเป็นหลักเช่นผู้สูงอายุป่วยขาดคนดูแลและโรคเรื้อรังต่างๆที่ต้องการรักษาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาสุขภาพที่ได้จากการวิเคราะห์ ประชาชนส่วนใหญ่มีภาวะ BMI และค่าไขมันในเลือดสูง
    แผนงานการแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่สารวันเนื่องจากในพื้นที่มีการของบประมาณในส่งการสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่เรื่องแอร์โรบิกในชุมชนทุกวันซึ่งจะไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ ทางกรรมการและสภาผู้นำจึงจัดให้มีการดำเนินการออกกำลังกายในกลุ่มผู้สูงอายุไปพร้อมๆกับการแอร์โรบิคคือการรำไม้พลองที่ในชุมชนมีบุคคลสามารถเป็นวิทยากรอยู่แล้วและจะให้ทางเจ้าหน้าที่รพ.มีการเข้ามาประเมินสุขภาพทุก 6 เดือนเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพจากการออกกำลังการและอาจจะช่วยบำบัดอาการทางสุขภาพจิตได้อีกด้วย
  2. สรุปการดำเนินการเยี่ยมบ้านและช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้สูงอายุจากการสำรวจของเมล็ดพันธ์ผู้สูงอายุจำนวน78 ราย ได้รับการเยี่ยมจำนวน 56รายใช้แบบประเมิน ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Bathel ADL index)มีผลดังนี้ 1. Feeding (รับประทานอาหารเมื่อเตรียมสำรับไว้ให้เรียนร้อยต่อหน้า)

2.1ไม่สามารถตักอาหารเข้าปากได้ ต้องมีคนป้อนให้ 0%

  • ตักอาหารได้แต่ต้องมีคนช่วย เช่น ช่วยใช้ช้อนตักเตรียมไว้ให้ หรือตัดเป็นเล็กๆ ไว้ล่วงหน้า 8%
  • ตักอาหารและช่วยเหลือตัวเองได้เป็นปกติ 92%
  • ไม่สามารถตักอาหารเข้าปากได้ ต้องมีคนป้อนให้
  • ตักอาหารได้แต่ต้องมีคนช่วย เช่น ช่วยใช้ช้อนตักเตรียมไว้ให้ หรือตัดเป็นเล็กๆ ไว้ล่วงหน้า
  • ตักอาหารและช่วยเหลือตัวเองได้เป็นปกติ 100 %

2.2 Transfer (ลุกนั่งจากที่นอนหรือจากเตียงไปยังที่เก้าอี้)

  • ต้องการความช่วยเหลืออย่างมากจึงจะนั่งได้ 0 %
  • คนพยุงหรือดันขึ้นมาจึงจะนั่งอยู่ได้ 8%
  • ทำได้เอง 92%

2.3 Toilet use (ใช้ห้องน้ำ)

  • ทำเองได้บ้าง (อย่างน้อยทำความสะอาดตัวเองได้ หลังจากเสร็จธุระ) แต่ต้องการความช่วยเหลือในบางสิ่ง 24%
  • ช่วยตัวเองได้ดี (ขึ้นนั่งและลงจากโถส้วมเองได้ ทำความสะอาดได้เรียบร้อยหลังจากเสร็จธุระ ถอดใส่ เสื้อผ้าได้เรียบร้อย) 76%

2.4 Mobility (การเคลื่อนที่ภายในห้องหรือบ้าน)

  • ต้องใช้รถเข็นช่วยตัวเองให้เคลื่อนที่ได้เอง (ไม่ต้องมีคนเข็นให้) และจะต้องเข้าออกมุมห้อง หรือประตูได้ 2%
  • เดินหรือเคลื่อนที่ได้เอง 98 %

2.5 Dressing (การสวมใส่เสื้อผ้า)

  • ช่วยตัวเองได้ประมาณร้อยละ 50 ที่เหลือต้องมีคนช่วย 14%
  • ช่วยตัวเองได้ดี (รวมทั้งการติดกระดุม รูดซิบ หรือใช้เสื้อผ้าที่ดัดแปลงให้เหมาะสมก็ได้) 86%

2.6 Stairs (การขึ้นลงบันได 1 ชั้น)

  • ต้องการคนช่วย14%
  • ขึ้นลงได้เอง (ถ้าต้องใช้เครื่องเดิน เช่น Walker จะต้องเอาขึ้นลงได้ด้วย) 86%

2.7 Bathing (การอาบน้ำ)

  • กลั้นไม่ได้บางครั้ง (เป็นน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์) 32%
  • กลั้นได้เป็นปกติ 68%

2.8 Bowels (การกลั้นการถ่ายอุจจาระในระยะ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา)

  • กลั้นไม่ได้บางครั้ง (เป็นน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์) 32%
  • กลั้นได้เป็นปกติ68%

2.9 Bladder (การกลั้นปัสสาวะในระยะ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา)

  • กลั้นไม่ได้บางครั้ง (เป็นน้อยกว่าวันละ 1 ครั้ง) 32%
  • กลั้นได้เป็นปกติ68%

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมครั้งที่ 6 เพื่อติดตามการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. วิเคราะห์บริบทกับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุที่หมู่บ้านสารวัน
  2. รายงานผลการเยี่ยมประเมินผู้สูงอายุในพื้นที่ที่เพื่อนำไปวางแผนการดูแลต่อไป

 

15 20

8. ประชุมสภาผู้นำชุมชน

วันที่ 20 กรกฎาคม 2558 เวลา 12:00-16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการและร่วมกันกำหนดภาพฝันของชุมชนร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

รายงานการประชุม

  1. วาระการติตามผลการดำเนินงานของเมล็ดพันธุ์สุขภาพซึ่งสามารถดำเนินการเก็บรวยรวมข้อมูลได้ 80% พบปัญหาและอุปสรรคของการเก็บข้อมูลในเรื่องของไม่มีเจ้าบ้านอยู่ในช่วงที่สำรวจ และไม่สามารถเก็บข้อมูลในช่วงกลางคืนได้จึงทำให้การเก็บข้อมูลไม่เป็นได้ตามที่กำหนดซึ่งทางสภาผู้นำชุมชนมีมติว่าหากเป็นบ้านที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลเองได้นั้นให้ฝากแบบสัมภาษณ์ให้เจ้าของบ้านกรอกข้อมูลเอง
  2. วาระการกำหนดภาพฝันที่อยากเห็นคนสารวันมีภาวะสุขภาพที่ดีนั้นควรทำอย่างไรคนสารวันโดยให้กรรมการทุกคนเสนอแล้วออกไปเขียนเพื่อรวบรวมเป็นหัวข้อในการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ 4 ด้าน คือ

2.1 ภาคีเครือข่ายควรมีการรวมตัวและประสานงานเพื่อเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
2.2 รากฐานคือการที่ต้องมีข้อมูลที่ดีจัดเจนถูกต้องและเป็นปัจจุบัน 2.3 กระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นต้องมาจากการมีส่วนร่วมทั้งของชุมชนเองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย 2.4 ประชาชน ต้องสามารถดูแลตัวเองได้ทั้งเรื่องสุขภาพเศษฐกิจสังคมอย่างมีความสุขตามสภาพที่เป็นจริง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมครั้งที่ 10 เพื่อติดตามการดำเนินงานและกำหนดภาพฝันของชุมชนร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมติดตามงานสุขภาพของชุมชนและรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้นำ ร่วมกันกำหนดภาพฝันที่อยากให้คนสารวันมีสุขภาพดี

 

15 20

9. ประชาคมการคืนข้อมูลที่สำรวจ

วันที่ 11 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คืนข้อมูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ข้อมูลจากการสำรวจ

สรุปผลการสำรวจ

  • หมู่ที่ 2 บ้านสารวันมีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 213 หลังคาเรือน ประชากรที่มีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านและอยู่จริงมีจำนวน 508 คน มีชื่อในสำเนาทะเบียนบ้านแต่ไม่ได้อยู่จริงจำนวน 27 คน ไม่มีชื่อแต่มีคนมาอยู่จริงจำนวน 4 คน ตอนนี้รวมประชากรที่อยู่ในพื้นที่จริง 512 คน เพศชายจำนวน 244 คนเพศหญิงจำนวน 295 คน

ประชากรมีระดับการศึกษาดังนี้

  1. ไม่ได้ศึกษา/ไม่มีวุฒิการศึกษาจำนวน 371 คน
  2. ก่อนประถมศึกษาจำนวน 33 คน
  3. ประถมศึกษา จำนวน 30 คน
  4. มัธยมศึกษาจำนวน 42 คน
  5. อนุปริญญาจำนวน 17 คน
  6. ปริญญาตรีจำนวน 30 คน
  7. สูงกว่าปริญญาตรีจำนวน 8 คน
  8. ไม่ระบุฝไม่ทราบจำนวน 5 คน

ข้อมูลการนับถือศาสนา

  • ศาสนาพุทธจำนวน 510 คน
  • ศาสนาอิสลามจำนวน 29 คน

ข้อมูลการประกอบอาชีพ

  1. ในความปกครองจำนวน32 คน
  2. นักเรียน/นักศึกษา/แม่บ้าน/ไม่ได้ทำงาน จำนวน107 คน
  3. ชรา จำนวน 14 คน
  4. เกษตรกรรมจำนวน 25 คน
  5. รับจ้างจำนวน 130 คน
  6. รับราชการจำนวน 25 คน
  7. รับราชการ จำนวน130 คน
  8. อาชีพอื่นๆจำนวน206 คน

    ประชากรมีสิทธิการรักษาดังนี้

  9. สิทธิบัตรทอง จำนวน 485 คน

  10. สิทธิข้าราชการจำนวน 53 คน
  11. สิทธิต่างด้าว จำนวน 1 คน

ประชากรแยกตามกลุ่มอายุ

  1. น้อยกว่า 1 ปีจำนวน 6 คน
  2. อายุ 1-4 ปี จำนวน 5 คน
  3. อายุ 5-9 ปี จำนวน 10 คน
  4. อายุ 10-14 ปี จำนวน 29 คน
  5. อายุ 15-19 ปี จำนวน 39 คน
  6. อายุ 20-24 ปี จำนวน 31 คน
  7. อายุ 25-29 ปี จำนวน 22 คน
  8. อายุ 30-34 ปี จำนวน 32 คน
  9. อายุ 35-39 ปี จำนวน 43 คน
  10. อายุ 40-44 ปี จำนวน 29 คน
  11. อายุ 45-49 ปี จำนวน 35 คน
  12. อายุ 50-54 ปี จำนวน 38 คน
  13. อายุ 55-59 ปี จำนวน 32 คน
  14. อายุ 60- 65ปี จำนวน 33 คน
  15. อายุ 65-69 ปี จำนวน 26 คน
  16. อายุ 70-74 ปี จำนวน 18 คน

ประชากรที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

  1. โรคเบาหวานจำนวน 20คน
  2. โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 95คน
  3. โรคหัวใจจำนวน 4 คน
  4. โรคหลอดเลือดสมองจำนวน6คน
  5. โรคมะเร็งเต้านม 2 คน
  6. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง 6 คน

ข้อมูลสุขภาพจากสถานบริการ

  • ประชาชน ม.2 มารับบริการที่ผู้ป่วยนอกด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด รองลงมาโรคเบาหวาน ปวดท้องจุกเสียดและ วิตกกังวล ตามลำดับ ประชาชนม.2 มารับบริการที่ผู้ป่วยในและนอกพักรักษาตัวด้วยอาการปวดท้องจุกเสียดมากที่สุด รองลงมาท้องเสีย โรคหัวใจและ เวียนศรีษะตามลำดับ

เสียงสะท้อนจากชุมชน

  1. อยากให้มีบริการตรวจรักษาในหมู่บ้านเพราะกลัวไม่กล้าเดินทาง
  2. อยากให้มีชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอมีหลายหน่วยงานเข้ามาดูแล
  3. อยากได้ที่ออกกำลังกายและอุปกรณ์
  4. แลกเปลี่ยนและตรวจสอบข้อมูลจากการสำรวจเพื่อยืนยัน

ข้อมูลจากการสำรวจและจากพื้นที่มีความสอดคล้องกันและยืนยันจากผู้เกี่ยวข้องว่าเชื่อถือได้จริง

  • ประเด็นปัญหาสุขภาพจากพื้นที่แบบมีส่วนร่วม
  • เรื่องไขมันในเลือดสูงจากการไม่ออกกำลังกายและพฤติกรรมบริโภคที่ส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ทุกปี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คืนข้อมูลจากการสำรวจ เพื่อร่วมรับทราบสถานสุขภาพชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สรุปข้อมูลจากการสำรวจ
  2. สรุปข้อมูลสุขภาพจากสถานบริการ
  3. รับฟังเสียงสะท้อนจากชุมชน
  4. แลกเปลี่ยนและตรวจสอบข้อมูลจากการสำรวจเพื่อยืนยัน
  5. สรุปประเด็นปัญหาสุขภาพจากพื้นที่แบบมีส่วนร่วม

 

50 56

10. ประชุมสภาผู้นำชุมชน

วันที่ 14 สิงหาคม 2558 เวลา 12:00-16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามและรับฟังปัญหาสุขภาพชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในที่ประชุมเรื่องการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังในชุมชนนั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันโดยเฉพาะเรื่องการออกกำลังกายโดยให้สมาชิกเสนอข้อคิดเห้นและวิธีการดำเนินงาน และมติที่ประชุมเน้นการออกกำลังกายร่วมกันที่ศาลาม่วงชุมเวลา 18.00 น.- 19 .30 น.เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายทั้ง 2 กลุ่มนั้นควรมีการออกกำลังกายด้วยไม้พลองด้วยซึ่งเหมาะกับผู้สูงอายุที่จะได้ออกกำลังกายร่วมกัน พร้อมๆกันและต้องหางบประมาณสนับสนุนเรื่องผู้นำเต้นแอโรบิกและผู้นำไม้พลองซึ่งคิดว่าจะต้องนำเรื่องนี้เข้าไปในการประชุมคณะกรรมการบริกองทุนสุขภาพตำบลไทรทองเพื่อของบประมาณสนับสนุนต่อไปที่ประชุมมีมติเห็นชอบและคัดเลือกผู้นำเต้นและผู้นำไม้พลองส่วนเรื่องภาวะโภชนาการนั้นจะเชิญเจ้าหน้าที่รพ.มาให้ความรู้ครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามการดำเนินงานโครงการ และวางแผนการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่มีต่อโครงการ และการนำข้อมูลที่ได้การสำรวจและจากเวทีคืนข้อมูลไปสู่การแก้ปัญหาของชุมชน เรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เน้นเรื่องการออกกำลังกายของคนในชุมชน

 

15 20

11. ประชุมสภาผู้นำชุมชน

วันที่ 1 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามการดำเนินงานและแก้ปัญหา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ข้อมูลที่นำเสนอในวันนี้ต่อเนื่องจากกิจกรรมคืนข้อมูลเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2558 ซึ่งได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ และในวันนี้ทางสภาเด็กได้บอกว่า จากการทำกิจกรรมที่ผ่านมา ทำให้เด็กมีความมั่นใจมากขึ้น ได้รับความรู้จากการสำรวจ และรับรู้ข้อมูลชุมชน เกิดการนำข้อมูลไปทำปะโยชน์ในด้านอื่นต่อไปได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำเพื่อศึกษาสถานสุขภาพชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เรื่องการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ในกลุ่มสภาผู้นำกลุ่มเล็ก ๆซึ่งต่อเนื่องจากเวทีวันที่ 14 สิงหาคม 2558 ที่คุยหารือกันในวงกว้าง

 

15 15

12. เข้าร่วมมหกรรมคนใต้สร้างสุข

วันที่ 4 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดย สสส.และ สจรส.ม.อ.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมของต่างพื้นที่เพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่ และได้แลกเปลี่ยนกับเครือข่าย ได้ความรู้นำมาใช้กับคนในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เข้าร่วมงานมหกรรมคนใต้สร้างสุข วันที่ 4-6 กันยายน 2558 ณ ศูนย์ประชุมชนนานาชาติ มอ.

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้าร่วมกิจกรรมเวทีสานพลัง คนใต้สร้างสุข โดยเข้าร่วมทั้ง 3 วัน ร่วมฟังการเสวนาพลังประชาชน เยี่ยมชมบูธนิทรรศการ และแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายที่มาร่วม

 

2 2

13. ประชุมสภาผู้นำชุมชน

วันที่ 18 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามการดำเนินงานและแก้ปัญหา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1 รับฟังผลการดำเนินงานตามโครงการ เมล็ดพันธุ์สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์แต่มีปัญหาเรื่องระยะเวลาที่ไม่เป็นไปตามกำหนดซึ่งจะล่าช้าเพราะต้องใช้ความเข้าใจในการสัมภาษณ์ประกอบกับเป้าหมายไม่อยู่บ้านในเวลาปฏิบัติงานของเมล็ดพันธ์ 2. ที่ประชุมเสนแนะเรื่องอื่นๆ

  • เรื่องความปลอดภัยในหมู่บ้านที่ช่วงนี้มักเห็นคนแปลกหน้าเข้ามาในพื้นที่บ่อยๆแจ้งเตือนให้ช่วยกันเป็นหูเป็นตาเพื่อความปลอดภัยของทุกๆคน
  • เรื่องผลผลิตของฟาร์มตัวอย่างอยากให้กรรมการช่วยกันประชาสัมพันธืให้ซื้อของในฟาร์มก่อนที่จะซื้อสิ้นค้าจากภายนอกเพราะนอกจากจะสดและยังปลอดสารพิษด้วย
  • เรื่องการจัดงานต่างๆในชุมชนนั้นยังมีเรื่องการพนันและเหล้าบางงาน ต่อไปหากยังเจอควรมีบทลงโทษตามกติกาที่วางไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

รับฟังผลการประเมินการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมในโครงการที่ทำผ่านมา โดยทีมสภาผู้นำชุมชน

 

15 15

14. ประกวดนวัตกรรมชุมชน

วันที่ 9 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการพิจารณาเลือกบุคคลต้นแบบนั้นได้จัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาจำนวน 8 ท่านเป็นตัวแทนจากชุมชน 4 ท่าน ตัวแทนจากอบต. 2 ท่าน จากโรงพยาบาลไม้แก่น 2 ท่าน ดังนี้ คือ
  1. นายพันธ์พรหมเทพ ประธานกรรมการ (จากชุมชน)
  2. นายบรรจบหะวิเกตุกรรมการ (จากชุมชน)
  3. นายผล จรรยากรรมการ (จากชุมชน)
  4. นางเรวดี สมประกอบกรรมการ (จากชุมชน)
  5. นางประไพ กรรมการ (จากอบต.)
  6. นายมะตอฮาเปาะแต กรรมการ (จากอบต.)
  7. นางซาลีนา กอเสง กรรมการ (จากโรงพยาบาล)
  8. นางสาวอัสรีนามะแซ กรรมการ (จากโรงพยาบาล)
  • เกณฑ์การพิจารณาจากผลการตรวจร่างการและสมรรถภาพของร่างกายก่อนหลังเข้าร่วมสมัคร ประกอบกับดำเนินชีวิตประจำวันและการใช้นวตกรรมภูมิปัญญามาดูแลสุขภาพผลการคัดเลือกผู้ที่ได้รางวัลจำนวน 3 ราย ดังนี้
  • รางวัลที่ 1 คือ นางเพ็ญ ทองนวน บ้านเลขที่ 43/1 ม.2 ส่วนสูง 160 ซม. นำ้หนักก่อน 58 กก.หลัง 54 กก.BMI ก่อน22.6 หลัง 21.09 รอบเอว ก่อน83 ซม.หลัง 79.5 ซม. ชีพจร 86 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 119/72 มม.ปรอทไขมันใต้ผิวหนังก่อน 32% หลัง 28.4 % ระดับน้ำตาลในเลือด133 มก.% หลัง 108 มก.%
  • รางวัลที่ 2 คือ นางบุญชิตย์ พอศรีนวล อายุ 40 ปีบ้านเลขที่ 110/1 ม. 2 ส่วนสูง 152ซม. นำ้หนักก่อน 57 กก.หลัง 54 กก.BMI ก่อน24.6 หลัง 23.16 รอบเอว ก่อน84 ซม.หลัง 62 ซม. ชีพจร 78 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 122/78 มม.ปรอทไขมันใต้ผิวหนังก่อน 34% หลัง 32 % ระดับน้ำตาลในเลือด 105 มก.% หลัง 90 มก.%
  • รางวัลที่ 3 คือ นางทอง ฉัตรสุวรรณ อายุ 70 ปีบ้านเลขที่ 1 ส่วนสูง 157ซม. นำ้หนักก่อน 51 กก.หลัง 46 กก. BMI ก่อน20.6 หลัง 18.6 รอบเอว ก่อน76 ซม.หลัง 70 ซม. ชีพจร 70 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 136/82 มม. ปรอทไขมันใต้ผิวหนังก่อน 32.5% หลัง 30 % ระดับน้ำตาลในเลือด110 มก.% หลัง 90 มก.%

  • จากการถอดบทเรียนพบว่า บุคลต้นแบบ ตอนเช้าจะดื่มน้ำเปล่า 1-2 แก้วสักพักจะรับประทานอาหารส่วนใหญ่จะเป็นข้าวยำและข้าต้ม จากนั้นจะออกไปกรีดยางทำสวนและทำงานอื่นๆพยายามให้เหงื่อออกมากๆจะไปไหนมาไหนส่วนใหญ่จะปั่นจักรยานและเดินมื้อกลางวันรัปประทานปริมาณปกติลดของทอดของมันอาหารหวาน เพิ่มผักที่ปลูกบริเวณบ้านและที่ฟาร์มของหมู่บ้านตอนเย็นจะออกกำลังกายด้วยไม้พลองหรือแอร์โรบิก หลังจากนั้นจะรัปประทานอาหารเย็นลดปริมาณลงดื่มน้ำเยอะๆและจะกินก่อนนอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้คือการนำใบย่านางมาต้มดื่มน้ำก่อนอาหารเพื่อลดไขมันในหลอดเลือดและดื่มน้ำผสมน้ำผึ้งกับมะนาวเพื่อช่วยในการระบาย และออกกำลังการด้วยไม้พลองแอร์โรบิกประยุกต์

  • ให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องโภชนาการโดยคุณ ซาลีนา กอเสงเจ้าหน้าที่คลีนิกไร้พุงโรงพยาบาลไม้แก่น หลัก 3 อ. 2 ส. เพื่อชีวิตสดใส ไร้พุง ปลอดโรค โรคอ้วนลงพุง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบันได้แก่

  • โรคความดันโลหิตสูง-โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน - โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดสมอง-โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคเครียด เป็นต้น
  • อ.ที่ 1 คืออาหารรับประทานอาหารครบ 3 มื้อครบทั้ง 5 หมู่ ลดความหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันซ้ำหลายๆครั้งกินอาหารหลากหลายไม่ซ้ำจำเจ อาหารเช้า ให้รับประทานให้หลากหลาย เน้นอาหารประเภทโปรตีน ให้มาก งดอาหาร หวานทุกประเภทอาหารกลางวัน ลดปริมาณโปรตีนลง เน้นอาหารประเภทแป้ง อาหารเย็น ลดปริมาณโปรตีน และ แป้งลง เน้นอาหารประเภทผักอาหารเย็นควรรับประทานก่อนนอน 4 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานเกินเวลา 20.00 น.
  • อ.ที่ 2 คือ ออกกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้แข็งแรงอายุยืน ลดการเกิดโรคเรื้อรัง มี 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 อุ่นเครื่อง ประมาณ 5-10 นาที

ขั้นที่ 2 ออกกำลังกายอย่างจริงจัง อย่างน้อย 30 นาที ไม่เกิน 1 ชั่วโมง

ขั้นที่ 3 เบาเครื่องเป็นระยะผ่อนคลายประมาณ 5-10 นาที

ข้อควรระวังใจสั่นแน่นหน้าอกและปวดร้าวไปที่แขนไหล่และคอซีกซ้าย หายใจลำบากรู้สึกเหมือนจะเป็นลม หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดการออกกำลังกายและไปพบแพทย์

  • อ.ที่ 3 คือ อารมณ์ คนเรามีวิธีคลายเครียดต่างกัน ส่วนใหญ่จะเลือกวิธีที่ถนัด สนใจ ทำแล้ว เพลิดเพลิน มีความสุข เช่นฟังเพลง ร้องเพลง ดูโทรทัศน์นอนหลับพักผ่อนออกกำลังกาย เต้นแอโรบิกปลูกต้นไม้ เล่นกับสัตว์เลี้ยง พูดคุยพบปะกับเพื่อนฝูง สิ่งสำคัญ คือ เมื่อเครียดไม่ควร สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด เที่ยวกลางคืน เพราะจะทำให้เสียสุขภาพและเสียทรัพย์ได้
  • ส.ที่ 1 คือไม่สูบบุหรี่ซึ่งผลเสียของการสูบบุหรี่ก็คือ
  1. หัวใจขาดเลือดหลอดเลือดหัวใจตีบ
  2. เพิ่มโอกาสเป็น มะเร็งปอดมะเร็งกล่องเสียง ปอดอุดตันเรื้อรัง
  3. เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • ส.ที่ 2 คือลดการดื่มสุรา เพราะการดื่มสุราทำให้เกิดผลเสียคือ
  1. ทำให้ความดันโลหิตสูงเกิดโรคหัวใจ
  2. เพิ่มโอกาสเสี่ยง ตับอักเสบตับแข็ง
  3. ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง
  4. เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประกวดนวตกรรมในพื้นที่และจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ  สร้างการเรียนรู้การจัดการสุขภาพตามบริบทชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ขั้นเตรียมการ

  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์กิจกรรมและการดำเนินการ
  2. ร่วมจัดทำเกณฑ์การประกวดและคัดสรรกรรมการ
  3. รับสมัครผู้เข้าร่วมประกวด
  4. จัดเตรียมสถานที่และประสานพื้นที่เพื่อจัดการประกวด/กิจกรรมต่างๆ

ขั้นดำเนินการ

  1. เปิดงานโดยประธานชุมชน
  2. แจ้งกำหนดการการดำเนินงาน
  3. ประกาศผลผู้ได้รับรางวัลคนต้นแบบ จำนวน 3รางวัล
  4. ถอดบทเรียนคนต้นแบบ
  5. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง 3 อ 2 ส
  6. สรุปผลการดำเนินงาน

 

100 100

15. ประเมินผลภายในโดยใช้กลไกสภาผู้นำ

วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 12:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปรึกษาและรายงานผลการดำเนินงานผลการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากผลการสรุปผลการดำเนินงานโครงการเมล็ดพันธุ์สารวันสานพลังสร้างสุขในปีนั้น สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้วัตถุถุประสงค์

1.เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนให้ทราบถึงสถานสุขภาพของประชาชน ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนภัยสุขภาพปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพวมถึงภูมิปัญญาและทุนทางทรัพยากรต่างๆของชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  • มีเยาวชนนักวิจัยชุมชน จำนวน 20 คนซึ่งสามารถสำรวจข้อมูลได้อย่างถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 82%
  • มีชุดข้อมูลสุขภาพและชุดข้อมูลพื้นฐานที่มีความถูกต้องเชื่อถือได้คิดเป็นร้อยละ 100 แต่ความครอบคลุม ยังได้เพียง 78% และข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลที่เกิดจากความต้องการของคนในชุมชนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง

2.เพื่อส่งเสริมระบบการจัดการชุมชนให้เกิดกลไกสภาผู้นำและกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  • มีกลไกสภาผู้นำซึ่งเดิมนั้นมีกลไกนี้อยู่แล้วแต่ยังขาดการดูเรื่องสุขภาพและการทบทวนข้อมูลสุขภาพของชุมชน เมื่อมีการสนับสนุนกลไกสภาผู้นำจึงมีการประชุมบ่อยขึ้นมีวาระการประชุมเพิ่มขึ้นและมีส่วนร่วมในการออกแบบการเก็บข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลสุขภาพเพื่อนำผลมาวางแผนการดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้น

3.เพื่อให้ชุมชนสามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคโดยภูมิปัญญาและตามบริบทของพื้นที่

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  • มีนวัตกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโดยใช้การลดโรคลดเสี่ยงวิถีพุทธจนเป็นผลงานเด่นของพื้นที่ได้รับรางวัลระดับประเทศ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสรุปโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุปผลการดำเนินงานเพื่อวางแนวทางการดำเนินงานในการจัดการปัญหาสุขภาพต่อในปี 2559

 

15 20

16. ประชาคมเพื่อจัดทำแผนชุมชน

วันที่ 30 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประเด็นปัญหาที่เกิดจากการทำประชาคมของชุมชนและได้ลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหาแล้วดังนี้

  1. ปัญหาเรื่องการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้น
  2. ประชาชนส่วนใหญ่มีปัญหาค่าไขมันในเลือดสูงเกิดค่ามาตรฐาน
  3. ปัญหาเรื่องความเครียดจากสถานการณ์และความไม่ปลอดภัยในชีวิต
  4. มีผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแล

โครงการที่อยากให้มีการดำเนินการคือ

  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2 ส.ก็จะสามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้
  2. การจัดระบบการดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุและผู้พิการแบบครบวงจร
  3. การรณรงค์เรื่องภูมิปัญหาและการสืบสานวัฒนธรรมชุมชนและการสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิดแก่เยาวชนรุ่นใหม่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเวทีประชาคมครั้งที่ 2 เพื่อร่วมกันจัดทำแผนชุมชนในการดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ชี้แจงวัตถุประสงของการจัดกิจกรรมทำแผนชุมชน
  2. ร่วมเสนอข้อคิดเห็นและทิศทางการแก้ปัญหาร่วมกัน เรื่อง การแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน
  3. สรุปข้อมูลจากการนำเสนอ

 

50 50

17. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการ

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปวิเคราะห์การดำเนินงานและเตรียมข้อมูลเพื่อการจัดทำรายงานการดำเนินโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานได้วางแผนการทำกิจกรรม คืนข้อมูล เตรียมข้อมูลที่จะจัดเวที รูปแบบกระบวนการเวที และทีมจัดการ
  • เตรียมข้อมูลสำหรับทำรายงานเพื่อส่ง สสส.   

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำรายงานและสรุปรายงานผลการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สรุปผลการดำเนินงาน
  2. วิเคราะห์ผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์
  3. จัดทำรายงานสรุปเพื่อชี้แจงในที่ประชุมสภาผู้นำชุมชน

 

2 8

18. ประชุมสภาผู้นำ

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมสรุปผลการทำโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกณฑ์การประเมินโครงการอยู่ในระดับดี มีกลไกสภาผู้นำ มีสภาเด็กสำรวจข้อมูลชุมชน จนเกิดเป็นชุดความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ด้านการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนต่อไปได้
  • ผลสรุปจากที่ประชุม คือ ขอขยายเวลาทำกิจกรรมออกไป 1 เดือน เนื่องจากยังมีอีก 3 กิจกรรมที่ไม่สามารถทำได้ทันภายในวันที่ 20 พ.ย.58 และไม่สามารถเข้าร่วมแลกเปลี่ยนการทำรายงานงวดที่ 2 ที่จัดโดย สจรส.ได้ และจะเข้าไปพบ สจรส.เพื่อตรวจเอกสารการเงินเมื่อทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • รายงานการประเมินผลโครงการ
  • วางแผนการทำกิจกรรมเพื่อปิดโครงการ

 

15 20

19. คืนข้อมูลการดำเนินงานตามโครงการแกชุมชน

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10:00-15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรับฟังสถานะสุขภาพชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นำเสนอผลการบันทึกลงโปรแกรมข้อมูลพื้นฐานจากการสำรวจ

  1. ข้อมูลชุมชนและประชากร
  2. ข้อมูลต่างๆ ของหมู่บ้าน
  3. ข้อมูลหลังคาเรือน
  4. แสดงรายละเอียดหลังคาเรือนตามบ้านเลขที่
  5. แสดงรายละเอียดรายบุคคล
  6. แสดงรายละเอียดการเยี่ยมบ้าน
  7. แสดงรายละเอียดโรคเรื้อรัง (กรณีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง)
  8. ประวัติศาสตร์ชุมชน
  9. ปฏิทินชุมชน
  10. ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
  11. ปิรามิดประชากร
  12. จำนวนประชากรแยกตามกลุ่มอายุ
  13. จำแนกประชากรตามประเภทการอยู่อาศัย (Type area)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คืนข้อมูลสรุปผลการดำเนิงงานตามโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

นำเสนอผลการสำรวจข้อมูลสุขภาพชุมชนของเมล็ดพันธุ์สุขภาพที่บันทึกผ่านโปรแกรมออนไลน์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการให้บริการสุขภาพที่บ้านและเพื่อการวางแผนการดูแลประชาชนบ้านสารวันได้ตรงกับความต้องการและความเหมาะสมที่สุด

 

50 50

20. คืนข้อมูล

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10:00-15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทบทวนแผนงานและติดตามภาวะสุขภาพในชุมชนวะสุขภาพในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการทำการคืนข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 2

  • ได้ทบทวนสถานะสุขภาพและวิเคราะห์สาเหตุเพื่อร่วมกันวางแผนการแก้ปัญหาต่อซึ่งจะต้องมีการประสานงานกับทุกภาคส่วนและมีฐานข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็วและเป็นปัจจุบันมาช่วยในการจัดการภาวะสุขภาพโดยรวม
  • โครงการที่นำเสนอในการแก้ปัญหาของพื้นที่คือ
  1. โครงการการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร
  2. โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วย3 อ.2ส.
  3. โครงการการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและของดีบ้านสารวัน
  4. โครงการปลูกจิตสำนึกเยาวชนรักบ้านเกิด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คืนข้อมูลและวิเคราะห์การดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ทบทวนปัญหาสุขภาพและสถานะสุขภาพร่วมกันเพื่อการทำความเข้าใจของคนในพื้นที่และร่วมทบทวนแผนงงานต่างร่วมกันและปรับปรุงแนวทางแก้ปัญหาสุขภาพเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาต่อ กลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษ

 

50 50

21. จัดทำรายงานสรุปการดำเนินโครงการ

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่รุปผลการดำเนินงานของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แบบรายงานตามการบันทึกโปรแกรมและรวบรวมแบบประเมินต่างๆที่ดำเนินโครงการและจัดทำรูปเล่ม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ทบทวนการดำเนินการของโครงการ 2.บันทึกและวิเคราะห์การดำเนินงาน 3.สรุปและจัดทำรายงานต่างๆ

 

2 4

22. จัดรวบรวมภาพถ่ายกิจกรรมของโครงการทั้งหมด

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดเก็บภาพการเข้าร่วมกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดเก็บภาพตามกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อทำการเผยแพร่ต่อไป และใช้ในการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำอัลบัมรูปภาพกิจกรรมตลอดระยะเวลาของการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

รวบรวมภาพกิจกรรมเพื่อจัดทำอัลบั้มรูป

 

2 2

23. ประชุมพื่เลี้ยงและสจรส

วันที่ 1 ธันวาคม 2558 เวลา 15.00-19.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้รับผิดชอบสามารถดำเนินการลงรายละเอียดโครงการตามโปรแกรมได้อย่างถูกต้องและมีการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการจากพี่เลี้ยงเพื่อจัดทำรายงานการปิดโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พบพี่เลี้ยงเพื่อร่วมกันประเมินผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลและปรับแก้ไข
  2. ตรวจสอบเอกสารตามโครงการ
  3. เสนอแนะการจัดทำรายงานที่ถูกต้อง

 

2 2

24. ประชุมพื่เลี้ยงและสจรส

วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 15.00-19.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามประเมินโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

รายงานผลการดำเนินงานลงโปรแกรมได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามการบันทึกโปรแกรม

กิจกรรมที่ทำจริง

บันทึกแก้ไขรายงานที่ไม่ถูกต้องและประเมินการดำเนินงาน

 

2 0

25. ประชุมพื่เลี้ยงและสจรส

วันที่ 8 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อนำส่งรายงานสรุปผลโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

รายงานสรุปผลการดำเนินงานฉบับที่ถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำส่งรายงานโครงการเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

กิจกรรมที่ทำจริง

เพื่อตรวจสอบรายงานผลโครงการ ตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานในเวบไซต์

 

2 2

26. เบิกเงินคืนจากบัญชี

วันที่ 8 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเบิกเงินคืนจากการเปิดบัญชี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ถอนเงินคืนจากบัญชี และสามารถทำรายงานการเงินได้ถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เบิกเงินคืนบัญชี

กิจกรรมที่ทำจริง

เบิกเงินคืนจากบัญชี และจัดทำรายงานการเงินได้ถูกต้อง

 

2 1

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 32 33                    
การใช้จ่ายงบประมาณ 132,200.00 132,700.00                  
คุณภาพกิจกรรม 132 96                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางมาลินี ยามา
ผู้รับผิดชอบโครงการ