แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน บ้านสูแกเราเปลี่ยนได้

ชุมชน บ้านสูแก ต.โล๊ะจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส

รหัสโครงการ 57-02599 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0251

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 มกราคม 2558 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มกราคม 2558 ถึงเดือน มิถุนายน 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะกรรมการผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ

วันที่ 2 เมษายน 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชน ในการส่งเสริมและขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่อง และติดตาม สนับสนุนโดยพี่เลี้ยง สจรส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทีมคณะทำงานผู้รับผิดชอบได้วางแผนการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้ ทีมงานที่ประชุมได้เสนอให้ประชาสัมพันธ์โครงการแจ้งให้คนในชุมชนทราบ โดยผ่านเสียงตามสายของมัสยิดและรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนเพื่อให้ชุมชนได้เข้าใจวัตถุประสงค์การทำโครงการ ให้ผู้รับผิดชอบโครงการจัดตั้งคณะทำงาน คัดเลือกสภาสุขภาพเพื่อนัดหมายประชุมเดือนละครั้ง คณะกรรมการต้องดำเนินงานโครงการร่วมกับประชาชน เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมเป็นเจ้าของปัญหาที่มีในชุมชน กรรมการในที่ประชุมได้เสนอให้มีการติดตามผลการดำเนินของคณะทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขมีการติดตามผลงาน/ถอดบทเรียนร่วมกันประเมินผลงาน/รายงานผลการดำเนินงานโดยมีนักศักษา มอ.ร่วมเป็นผู้รายงานดำเนินงานให้ สจรส.ทราบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ชี้แจงการดำเนินโครงการให้ทีงานรับทราบ

  2. แจ้งวัตถุประสงค์โครงการ กิจกรรมการดำเนินโครงการความดันโลหิตสูง เบาหวานบ้านสูแกเราเปลี่ยนได้

  3. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนเงื่อนไขและข้อตกลงต่างๆ

กิจกรรมที่ทำจริง

08.30 น.-09.00 น.ลงทะเบียน 09.00 น.-10.30 น.ชี้แจงรายละเอียดโครงการ 10.45 น.-12.00 น.วางแผนการดำเนินงานโครงการ 13.00 น.-14.30 น.วางแผนการดำเนินงานโครงการ(ต่อ) 14.45 น.-16.00 น.สรุปแผนการดำเนินงานโครงการ

 

10 14

2. จัดประชุม ให้ความรู้ เรื่องโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน กับกลุ่มเป้าหมาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน

วันที่ 21 เมษายน 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง HT DM สามารถควบคุมโรคได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • โต๊ะอีหม่านได้ให้ความรู้ทางด้านสุขภาพในมิติของศาสนา และมีการยกตัวอย่างโองการกุรอ่านและฮาดิสดังต่อไปนี้ เช่น มุสลิมที่แข็งแรงนั้นดีกว่าและเป็นที่โปรดปรานของอัลลอฮ์(ซบ.)มากกว่ามุสลิมที่อ่อนแอ(รายงานโดยมุสลิม),โอ้มวลมนุษย์พวกเจ้าจงบริโภคจากสิ่งที่มีอยู่ในแผ่นดินเถิด เฉพาะสิ่งที่อนุมัติ(ฮาลาล)อีกทั้งที่มีคุณประโยชน์(ฏอยยิบัน)เท่านั้น(อัล-บะกอเราะฮฺ:168),อัลลอฮฺทรงปรารถนาความง่ายกับพวกท่าน และพระองค์ไม่ทรงปรารถนาความยากลำบากกับพวกท่าน(อัล-บะกอเราะฮฺ:185)
  • ในส่วนของการให้บรรยายของสภาสุขภาพนั้นก็จะมีการให้ความรู้ละทำความเข้าใจในโครงการพอคร่าวแต่จะเน้นในเรื่องของการให้ความสามัคคีภายในกลุ่มโดยจะมีแบมะอสม. นาย มาหามะ เจ๊ะอูมา เป็นผู้บรรยายโดยให้ความรู้ในลักษณะเป็นการปลูกจิตสำนึกในการให้ความสามัคคีภายในกลุ่ม เพราะวันนี้เราจะมีการจัดตั้งชมรมคนรักษ์สุขภาพบ้านสูแก ดังนั้นไม่ใช่เป็นการจัดตั้งกลุ่มเพื่อให้มีกลุ่มเท่านั้น แต่เป็นการจัดตั้งพร้อมมีกิจกรรมการออกกำลังกายในยามเย็นด้วย โดยแบมะให้การบรรยายในลักษณะที่ว่าน้อง(นายวีรชัย คาเร็ง บอ.มอ.รุ่นที่ 10) มีจิตอาสาที่จะมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเรา เราในฐานะเป็นคนในหมู่บ้าน เราต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก ดังนั้นเพื่อให้การจัดตั้งชมรมของเราในวันนี้ต้องมีกิจกรรมเป็นรูปเป็นร่าง และเพื่อไม่ให้เป็นการจัดตั้งกลุ่มที่เป็นกลุ่มในกระดาษและความทรงจำเท่านั้น แต่พวกเราต้องร่วมมือ สามัคคีในการเข้าร่วมและทำกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญการรวมตัวกันเพื่อออกกำลังกายในยามเย็น ซึ่งจะจัดในวันจันทร์,พุธ.ศุกร์ ขอให้พวกเรา(กลุ่มเป้าหมาย HT DM) มาร่วมกันทำกิจกรรมออกกำลังกายในยามเย็น โดยจะเริ่มต้นออกกำลังกายภายในอาทิตย์หน้า เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลากิจกรรมต่อไปนี้เป็นการจัดตั้งชมรมคนรักษ์สุขภาพบ้านสูแก โดยจะมีการทำฉันทามติเพื่อคัดเลือก ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก กรรมการ จึงให้พวกเรา(กลุ่มเป้าหมาย HT DM) เสนอกันเองว่าพวกเขาจะเลือกใครเป็นตำแน่งในโครงสร้างองค์กรชมรมคนรักษ์สุขภาพบ้านสูแก เมื่อได้โครงสร้างองค์กรแล้ว จึงเสนอหน้าที่และบทบาทของชมรมโดยมีรายละเอียดด้านล่าง จากนั้นจึงได้ปิดการประชุมโดยให้อุสตาซเลาะอ่านดุอาอ์เพื่อเป็นสิริมงคลในการประชุมในครั้งนี้ด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ประชุมสร้างการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ

  • คัดกรองความดันโลหิต/เบาหวาน/ค่า BMI/รอบเอว เพื่อจัดทำทะเบียนข้อมูลกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

  • ประเมินการสุขภาพก่อนทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องโดยใช้โมเดลอาหารและเมนูอาหารพื้นบ้าน

  • นำบุคคลตัวอย่างที่เปลี่ยนพฤติกรรม ได้สำเร็จ สุขภาพดี มาร่วมเป็นวิทยากร และเสนอแนะวิธีที่ได้ผล

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 08.30 น.-10.00 น.คัดกรองความดันโลหิต/เบาหวาน/ค่า BMI/รอบเอว เพื่อจัดทำทะเบียนข้อมูลกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  • 10.00 น.-10.30 น.อ่านดุอาอ์เพื่อความเป็นสิริมงคล
  • 10.45 น.-12.00 น.ประเมินการสุขภาพก่อนทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  • 13.00 น. -14.00 น.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องโดยใช้โมเดลอาหารและเมนูอาหารพื้นบ้าน
  • 14.10 -14.40 น.นำบุคคลตัวอย่างที่เปลี่ยนพฤติกรรม ได้สำเร็จ สุขภาพดี มาร่วมเป็นวิทยากร และเสนอแนะวิธีที่ได้ผล

 

160 160

3. ประชุมสร้างทีมคณะทำงานเพื่อสร้างชมรมคนรักสุขภาพบ้านสูแก

วันที่ 7 พฤษภาคม 2558 เวลา 08:30 น.-16:00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นแกนนำผลักดัน และเชิญชวนคนอื่นร่วมเปลี่ยนแปลง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการประชุมทีมงานได้จัดตั้งทีมสภาสุขภาพ โดยมี
  1. นายตูแวโวะ ทุแวโวะเป็น ประธาน
  2. นายมาหามะ เจ๊ะอูมา เป็นรองประธาน
  3. นายอาซิ นาพี เป็นเลขานุการ
  4. นายสตอปา ยะแนสะแม เป็นเหรัญญิก และมีสมาชิกอีก 17 คนเป็นกรรมการ

- ที่ประชุมเสนอให้มีผู้ติดตาม จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1. นางเจ๊ะมีเนาะ สะมะแอ 2. นางซารียะห์ ยาการียา 3. นางโรสมีนี ดาเระ - จากการประชุมได้มีการร่างกติกาข้อตกลงเป็นของชุมชนร่วมกันในเรื่อง การเน้นให้ประชาชนทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้งเนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้ไปตรวจสุขภาพประจำปี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมสร้างทีมงานชมรมคนรักษ์สุขภาพบ้านสูแก
  2. จัดตั้งผู้ติดตามผู้ป่วย
  3. จัดตั้งสภาสุขภาพจากกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานและคณะกรรมการและร่างกติการ่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

08.30 น.-09.00 น.ลงทะเบียน

09.00 น.-09.30 น.ชี้แจงรายละเอียดต่างๆของโครงการ

09.30 น.-10.30 น.คัดเลือกทีมสภาสุขภาพ

10.45 น.-12.00 น.คัดเลือกคณะผู้ติดตามผู้ป่วยและร้านอาหาร

13.00 น. -14.30 น.ร่างกฏกติกาข้อตกลงในชุมชน

14.45 น. -16.00 น.ร่างกฏกติกาข้อตกลงในชุมชน(ต่อ)

 

60 60

4. คัดเลือกบุคคล เพื่อเป็นคณะกรรมการสภาสุขภาพ โดยมีคณะทำงานเต็มจำนวนและตัวแทนจากแกนนำกลุ่มเป้าหมาย

วันที่ 7 พฤษภาคม 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างทีมงานผู้ดำเนินการในชมรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการประชุมทีมงานได้จัดตั้งทีมสภาสุขภาพ โดยมี
  1. นายตูแวโวะ ทุแวโวะเป็น ประธาน
  2. นายมาหามะ เจ๊ะอูมา เป็นรองประธาน
  3. นายอาซิ นาพี เป็นเลขานุการ
  4. นายสตอปา ยะแนสะแม เป็นเหรัญญิก และมีสมาชิกอีก 17 คนเป็นกรรมการ

- ที่ประชุมเสนอให้มีผู้ติดตาม จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1. นางเจ๊ะมีเนาะ สะมะแอ 2. นางซารียะห์ ยาการียา 3. นางโรสมีนี ดาเระ - จากการประชุมได้มีการร่างกติกาข้อตกลงเป็นของชุมชนร่วมกันในเรื่อง การเน้นให้ประชาชนทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้งเนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้ไปตรวจสุขภาพประจำปี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ประชุมสร้างทีมงานชมรมคนรักษ์สุขภาพบ้านสูแก 2.จัดตั้งผู้ติดตามผู้ป่วย 3.จัดตั้งสภาสุขภาพจากกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานและคณะกรรมการและร่างกติการ่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 08.30 น.-09.00 น.ลงทะเบียน
  • 09.00 น.-09.30 น.ชี้แจงรายละเอียดต่างๆของโครงการ
  • 09.30 น.-10.30 น.คัดเลือกทีมสภาสุขภาพ
  • 10.45 น.-12.00 น.คัดเลือกคณะผู้ติดตามผู้ป่วยและร้านอาหาร
  • 13.00 น. -14.30 น.ร่างกฏกติกาข้อตกลงในชุมชน
  • 14.45 น. -16.00 น.ร่างกฏกติกาข้อตกลงในชุมชน(ต่อ)

 

60 60

5. คณะติดตามทำกิจกรรมเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย และคัดเลือกสมาชิกในครอบครัว 1 คน เป็นตัวแทนทำหน้าที่ดูแล เช็คตรวจสุขภาพ รวมทั้งประเมิณสุขภาพ

วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามเยี่ยมผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะผู้ติดตามออกเยี่ยมบ้านและให้คำแนะนำผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 30 บ้าน และคัดเลือกตัวแทนครอบครัว 1 คน ทำหน้าที่ประเมินสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเดือนละครั้งลงสมุดบันทึกสุขภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

2.คัดเลือกสมาชิกในครอบครัวเป็นตัวแทนในการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

3.ตัวแทนมีการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานส่งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

กิจกรรมที่ทำจริง

08.30 น.-16.30 น. คณะผู้ติดตามออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และคัดเลือกตัวแทนครอบครัว 1 คน ทำหน้าที่ประเมินสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเดือนละครั้งลงสมุดบันทึกสุขภาพ

 

50 33

6. ประชุมตัวแทนชุมชนเพื่อถอดบทเรียนและปรับกิจกรรม

วันที่ 28 พฤษภาคม 2558 เวลา 08:30น.-16.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปรึกษาหารือ ติดตามการดำเนินงานเพื่อปรับแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. จากการประชุมกรรมการท้วงติงการรับงบประมาณที่ล่าช้าทำให้การทำงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทำให้การดำเนินงานล่าช้า
  2. กิจกรรมบางกิจกรรมในโครงการควรมีมีเรียงการดำเนนงานก่อนหลังไม่ชัดเจน ทำให้ชุมชนสับสนลำดับการเรียงในการดำเนินงานควรชัดเจน โดยบางกิจกรรมใช้ระยะเวลานานในการทำ แต่ในโครงการระบุระยะเวลาน้อยหรือใช้วันเดียวทำซึ่งไม่ทันและไม่ทั่วถึง
  3. กิจกรรมบางกิจกรรมไม่สอดคล้องกับงบประมาณที่ใช้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมปรึกษาหารือ ติดตามการดำเนินงานเพื่อปรับแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 08.30 น.-09.00 น.ลงทะเบียน
  • 09.15 น.-10.30 น.ชี้แจงรายละเอียดต่างๆของโครงการ
  • 10.45 น.-12.00 น.อภิปรายแนวทางการดำเนินงาน
  • 13.00 น. -14.30 น.อภิปรายแนวทางการดำเนินงาน(ต่อ)
  • 14.45 น. -16.00 น.สรุปแนวทางการดำเนินงาน

 

21 21

7. จัดอบรม ให้ความรู้ เรื่องโภชนาการด้านอาหาร แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร

วันที่ 2 มิถุนายน 2558 เวลา 08:30 น.-14.40 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารลด หวาน มัน เค็ม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประชุมสร้างการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารในชุมชน จำนวน 21 คน ชี้แจงรายละเอียดต่างๆ

  • ผู้ประกอบการร้านอาหารในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะและอาหารที่มีคุณค่า การปรับเปลี่ยน อาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม

  • มีร้านอาหารตามสั่งต้นแบบสำหรับ กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน

  • สร้างแกนนำร้านอาหารทางเลือกในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมสร้างการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารในชุมชน จำนวน 21 คน ชี้แจงรายละเอียดต่างๆ

  • ผู้ประกอบการร้านอาหารในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะและอาหารที่มีคุณค่า การปรับเปลี่ยน อาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม

  • สร้างแกนนำร้านอาหารทางเลือกในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

08.30 น.-09.00 น.ลงทะเบียน

09.00 น.-09.30 น.ชี้แจงรายละเอียดต่างๆของโครงการ

09.30 น.-10.30 น.การปรุงอาหารสำหรับ กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน

10.45 น.-12.00 น.อบรมให้ความรู้ ในหัวข้อ "การปรับเปลี่ยน อาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม"

13.00 น. -14.00 น.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะและอาหารที่มีคุณค่า

14.10 -14.40 น.สร้างแกนนำร้านอาหารทางเลือกในชุมชน

 

31 31

8. สภาสุขภาพร่างข้อตกลงร่วมกัน

วันที่ 17 มิถุนายน 2558 เวลา 13:00น.-16:30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อมีกฏกติกาเกี่ยวกับร้านอาหารในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สรุปผลการประชุมผู้ประกอบการร้านอาหารและสภาสุขภาพได้ตกลงตั้งกฏกติกาว่า 1.1 ให้ร้านอาหารมีมาตราการลอดรสหวาน มัน เค็ม โดยค่อยๆลดทีละนิดทีละน้อย 1.2 ร้านอาหารควรใช้ส่วนประกอบที่สะอาดและฮาลาล 1.3 มีการปกปิดอาหารให้มิดชิด ป้องกันแมลงนำโรคและสิ่งปนเปื้อน 1.4 ให้คณะกรรมการออกติดตามตรวจเยี่ยมพร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1.5 กำหนดให้ร้านอาหารตามสั่งมีเมนูอาหารสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 1.6 หากร้านอาหารไม่ปฏิบัติตาม จะใช้มาตราการตักเตือนและให้คำแนะนำ
  2. แต่งตั้งผู้ติดตามเยี่ยมร้านอาหาร 3 คน ได้แก่ 2.1 นายมูฮำมัด ยูโซะ 2.2 นายหามะรุสแล ดือราแม 3.3 นายสะแลแม มามะ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาสุขภาพและผู้ประกอบการร้านอาหารร่างกฏกติการ่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 13.00น.-13.15น. ลงทะเบียน
  • 13.16น.-14.30น. สภาสุขภาพและผู้ประกอบการร้านอาหารร่วมกันอภิปราย
  • 14.45น.-16.00น. ร่างกติกา
  • 16.10น.-16.30น. สรุปการประชุม

 

31 31

9. คณะติดตามจัดกิจกรรมเยี่ยมร้านอาหาร ตรวจสอบ

วันที่ 20 มิถุนายน 2558 เวลา 08:30น.-16.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเกิดการติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังร้านอาหาร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานออกติดตามร้านอาหาร ตรวจสอบกระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย จำนวน 21 ร้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อเกิดการติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังร้านอาหาร 3 เดือนต่อครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

08:30น.-16.00 น. คณะทำงานออกติดตามร้านอาหาร จำนวน 21 ร้าน

 

21 21

10. ปิดโครงการงวดที่ 1 และเบิกค่าเปิดบัญชี

วันที่ 28 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมและติดตามการดำเนินงานสนับสนุนจาก สสส. และพี่เลี้ยง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

โดยพี่เลี้ยง สจรส.ได้ตรวจสอบหลักฐานการเบิกจ่ายเงินในการดำเนินงานงวดที่1และปิดบัญชีเงินฝาก 100 บาท คืนให้กับชุมชน เพื่อวางแผนงวดที่ 2 ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ได้มาร่วมสรุปผลการดำเนินงานงวดที่1 ณ อาคารสถาบันการจัดระบบสุขภาพภาคใต้(สจรส.ภาคใต้) จัดสรรเอกสารและปิดบัญชี

กิจกรรมที่ทำจริง

เพื่อสรุปปิดงวดที่1และปิดบัญชีเงินฝาก 100 บาท คืนให้กับชุมชน

 

3 3

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 39 10                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 70,080.00 30,064.00                  
คุณภาพกิจกรรม 40 25                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.จากการดำเนินโครงการสำหรับร้านอาหารตามสั่งมีความกังวนในการปรับเปลี่ยนรสชาติ แต่ทางร้านจะลดเค็ม ลดหวานให้เหมาะแก่ผู้บริโภคที่มีโรคประจำตัว สำหรับร้านอาหารปรุงสุกไม่สามารถทำได้เลย เนื่องจากผู้บริโภคที่ไม่เป็นโรคอาจงดซื้อ เนื่องจากรสชาติเปลี่ยนไปจากเดิม จะส่งผลให้ร้านค้าขายไม่ดี 2.ทางร้านค้าอาจลดรสชาติเลยไม่ได้ แต่จะปรับลดรสชาติอย่างค่อยๆปรับลดที่ละนิด เพื่อให้รสชาติไม่เปลี่ยนจากเดิมและถูกผู้บริโภค 3.ทางร้านอาจจะคิดเมนูพิเศษเพื่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมตัวแทนชุมชนเพื่อถอดบทเรียนและปรับกิจกรรม ( 26 มิ.ย. 2558 )
  2. ปิดโครงการงวดที่ 1 และเบิกค่าเปิดบัญชี ( 28 มิ.ย. 2558 )
  3. จัดอบรม ให้ความรู้ เรื่องโภชนาการด้านอาหาร แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร ( 2 ก.ค. 2558 )
  4. พบพี่เลี้ยง ตรวจเอกสารก่อนส่งรายงาน ( 11 ก.ค. 2558 )
  5. จัดทำป้ายปลอดบุหรี่ ( 13 ก.ค. 2558 )
  6. เบิกค่าเปิดบัญชี ( 15 ก.ค. 2558 )
  7. ประชุมคณะกรรมการเพื่อดำเนินโครงการครั้งต่อไป ( 28 ก.ค. 2558 )
  8. กรรมการสภาประชุมต่อเนื่อง ( 3 ส.ค. 2558 )
  9. ติดตามเยี่ยมร้านอาหาร ( 5 ส.ค. 2558 )
  10. ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการก่อนดำเนินกิจกรรมออกกำลังกายโดยใช้ผ้าขนหนู โยคะ ( 6 ส.ค. 2558 )
  11. กิจกรรมออกกำลังกาย โดยใช้ผ้าขนหนู ( 7 ส.ค. 2558 )
  12. ประชุมเพื่อวางแผนการก่อนตรวจเยี่ยมร้านอาหารและสรุปผลการดำเดินงานครั้งที่ผ่านมา ( 10 ส.ค. 2558 )
  13. ตรวจเยี่ยมร้านอาหาร ( 11 ส.ค. 2558 )
  14. ประชุมเพื่อวางแผนก่อนการดำเนินงานกิจกรรมออกกำลังกาย โดยใช้ผ้าขนหนู โยคะ และสมาธฺ ( 13 ส.ค. 2558 )
  15. กิจกรรมออกกำลังกาย โดยใช้ผ้าขนหนู ( 14 ส.ค. 2558 )
  16. ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ ( 18 ส.ค. 2558 )
  17. คณะติดตามทำกิจกรรมเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย ( 19 ส.ค. 2558 )
  18. ประชุมคณะทำงานสภาชุมชน ( 26 ส.ค. 2558 )
  19. คณะติดตามทำกิจกรรมเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย ( 3 ก.ย. 2558 )
  20. การร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ( 4 ก.ย. 2558 )
  21. กรรมการสภาประชุมต่อเนื่อง ( 6 ก.ย. 2558 )
  22. ประชุมรายงานความคืบหน้าของโครงการและกิจกรรมถอดบทเรียนโดยSuper Star HT/DM ( 8 ก.ย. 2558 )
  23. ประชุมคณะกรรมการสภาชุมชนผู้รับผิดชอบโครงการ ( 11 ก.ย. 2558 )
  24. กิจกรรมภาพถ่ายเขตปลอดบุหรี่ ( 14 ก.ย. 2558 )
  25. พบพี่เลี้ยง ตรวจการทำรายงาน ( 19 ก.ย. 2558 )
  26. พบพี่เลี้ยงเพื่อถอดบทเรียนก่อนปิดงวด 2 ( 17 ต.ค. 2558 )
  27. พบพี่เลี้ยง ตรวจสอบเอกสารก่อนปิดงวด 2 ( 2 พ.ย. 2558 )
  28. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ( 2 พ.ย. 2558 )
  29. ปิดโครงการงวด 2 ( 21 พ.ย. 2558 )
  30. คณะทำงานสภาสุขภาพ 21 คน ( 1 ธ.ค. 2558 )
  31. ประชุมตัวแทนชุมชนเพื่อถอดบทเรียน ( 1 ธ.ค. 2558 )

(................................)
นาย มาหามะ เจ๊ะอุมา
ผู้รับผิดชอบโครงการ