แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ลดปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านสะแตน่าอยู่ ”

บ้านสะแต ถนนสะแต1 ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นายอันวา มูนา

ชื่อโครงการ ลดปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านสะแตน่าอยู่

ที่อยู่ บ้านสะแต ถนนสะแต1 ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 57-02571 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0087

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2557 ถึง 15 พฤศจิกายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"ลดปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านสะแตน่าอยู่ จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านสะแต ถนนสะแต1 ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ลดปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านสะแตน่าอยู่



บทคัดย่อ

โครงการ " ลดปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านสะแตน่าอยู่ " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านสะแต ถนนสะแต1 ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส รหัสโครงการ 57-02571 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 ตุลาคม 2557 - 15 พฤศจิกายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,900.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 125 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อให้คนหรือกลุ่มคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด
  2. 2.เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนได้รับการบำบัดและดูแล
  3. 3.เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชุมชนมีความรู้เรื่องยาเสพติดและหลักคำสอนของศาสนาว่าด้วยยาเสพติดและนำไปประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง
  4. ติดตามสนับสนุนจากสสส.สจรส. และพี่เลี้ยง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 - 10.00 น. - กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    10.00 - 11.00 น  - ความคาดหวัง ประสบการณ์ และแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดย คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

    11.00 - 12.00 น. - การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา โดยคุณกำไล สมรักษ์ - การบริหารการจัดการงบประมาณ  (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) โดยคุณสมบูรณ์ ขวัญสงค์ และคุณจุรีย์ หนูผุด

      -  การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน โดยคุณกัญนภัส จันทร์ทอง 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 14.00 น. การจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org โดยคุณภานุมาศ นนทพันธ์ 14.00 – 21.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ • การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับความรู้เรื่องการลงโครงการในคอมพิวเตอร์
    • ได้รับข้อเสนอแนะจากคณะทำงาน สจรส.มอ.หาดใหญ่ในการรายงานทางเวปไซต
    • ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ
    • มอบหมายให้มีผู้รับชอบรวบรวมการจัดเก็บหลักฐานการเบิกจ่ายเงินโครงการให้ชัดเจน อาจเป็นในลักษณะหลัก รอง กรณีที่ผู้รับผิดชอบหลักไม่อยู่ผูรับผิดชอบรองสามารถนำหลักฐานการเบิกจ่ายต้องพร้อมในการตรวจสอบ ติดตาม

     

    2 2

    2. สำรวจข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหายาเสพติดในชุมชน

    วันที่ 8 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สำรวจข้อมูลเด็กและเยาวชน แยกเป็นกลุ่มเสียงและกลุ่มปกติ
    • สำรวจปัญหาและปัจจัยที่จะเกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหายาเสพติดในชุมชน โดยแบ่งเป็น ด้านคน ครอบครัว กลไกล และทางด้านสิ่งแวดล้อม
    • การสำรวจจะแบ่งการสำรวจเป็นกลุ่มของเป็นชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมากกว่าจะเป็นเยาวชนกลุ่มปกติ
    • ส่วนที่เป็นกลุ่มที่ติดยาเสพติดไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่ยินดีเข้าร่วมโครงการ
    • บางครอบครัวไม่ให้ความร่วมมือในการสำรวจข้อมูล กลัวว่าจะนำข้อมูลไปให้ตำรวจ

     

    15 15

    3. ทำป้ายไวนิลห้ามสูบบหรี่

    วันที่ 11 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่
    • นำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่มาติดไว้ในที่ประชุมหมู่บ้าน
    • ผู้ใหญ่บ้านเชิญชวนให้ชาวบ้านมีการงดสูบบุหรี่ในที่ประชุมหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จัดทำป้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นำป้ายมาติดไว้ในสถานที่สาธารณะชุมชนของหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้มีการลด ละเลิกสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
    • ชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือ ไม่มีการสูบบุหรี่ในที่สถานที่สาธารณะเช่น ในบริเวณโรงเรียน ในพื้นที่ที่มีการประชุม และสถานที่จัดการอบรมต่างๆ

     

    100 100

    4. จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการตลอดจนเพื่อสร้างความเข้าใจและทำให้ชุมชนมีทัศนคติที่ดีในการดำเนินงานโครงการ(เปิดโครงการ)พร้อมจัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องศาสนาอิสลามว่าด้วยยาเสพติด

    วันที่ 12 ธันวาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการตลอดจนเพื่อสร้างความเข้าใจและทำให้ชุมชนมีทัศนคติที่ดีในการดำเนินงานโครงการ
    • เปิดโครงการโดยนายดัลนียา  สาแม (โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดบ้านสะแต) พร้อมจัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องศาสนาอิสลามว่าด้วยยาเสพติด บทบาทของผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาในศาสนาอิสลามกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน บทบาทของสถาบันครอบครัวในศาสนาอิสลามกับการป้องกันยาเสพติดในครอบครัวแก่ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน/ผู้นำศาสนา/กรรมการมัสยิด ชรบ. อสม. กลุ่มสตรี/และครูตาดีกา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชุมชน และทุกภาคส่วนยินดีให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะผู้นำศาสนา ครูตาดีกา เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนเป็นคนดี โดยเริ่มตั้งแต่เด็กที่อยู่ในโรงเรียนตาดีกา
    • การบรรยายในเรื่องยาเสพติดโดยหยิบยกให้เป็นเรื่องเดียวกันในหลักการอิสลามที่จะต้องดูแลให้เยาวชนห่างใกลยาเสพติด ซึ่งครอบครัวสำคัญ โดยได้รับความร่วมือจากผู้นำศาสนา

     

    100 104

    5. จัดตั้งสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา ซึ่งเป็นสภาที่มีบาทหน้าที่ในการแก้ปัญหาต่างๆของชุมชน

    วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 100 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม ผู้นำชุมชน=8คน/กรรมการหมู่บ้าน=10คน, ทต.=5คน, ผู้นำศาสนา=3คนกรรมการมัสยิด =12คน, ชรบ.=30คน , อสม. =10คน, กลุ่มสตรี=3คน , ครูตาดีกา/ข้าราชการในพื้นที่=7คนตัวแทนของครัวเรือน =16 คนรวมทั้งหมดจำนวน 100 คน 1.ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดกิจกรรม 2.ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม และติดตามกลุ่มเป้าหมาย 3.จัดประชุมเพื่อจัดตั้งสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา มีขั้นตอนดังนี้    3.1 โต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิดประชุม        3.2โต๊ะอีหม่ามชี้แจงวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวาจากตัวแทนกลุ่มต่างให้แต่ละกลุ่มเสนอชื่อ พร้อมชี้แจงบทบาทหน้าที่ของสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา    3.3 ผู้เข้าร่วมประชุมได้ดำเนินการคัดเลือกสมาชิกสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา    3.4 สมาชิกสภาดำเนินการคัดเลือกตำแหน่งต่างๆของสภา    3.5 โต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์ปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา ประกอบด้วยจากตัวแทนกลุ่มต่างๆ ดังนี้ผู้นำชุมชน=8คน/กรรมการหมู่บ้าน=10คน, ทต.=5คน, ผู้นำศาสนา=3คนกรรมการมัสยิด =12คน, ชรบ.=30คน , อสม. =10คน, กลุ่มสตรี=3คน , ครูตาดีกา/ข้าราชการในพื้นที่=7คนตัวแทนของครัวเรือน =16 คนรวมทั้งหมดจำนวน 100 คน โดยมี โต๊ะอีหม่ามเป็นประธาน, ผู้ใหญ่บ้านเป็นรองประธานสภาคนที่1,นายอัมรัน เจ๊ะเลาะ  เป็นรองประธานคนที่ 2 ,นายสามัน มามะสะ เป็นเลขานุการสภา บทบาทของสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา 1. กำหนดแผนและกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน เช่น พัฒนามัสยิด,โรงเรียนตาดีกา และพัฒนาสิ่่งสาธารณประโยชน์ 2. กำหนดการทำกิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีต่างตามรูปแบบอิสลาม เช่น จัดกิจกรรมวันเมาลิด,วันอาซูรอ,กิจกรรมเดือนรอมฎอน,กิจกรรมโรงเรียนตาดีกา 3. พิจารณาการจัดทำโครงการต่างๆที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นๆ เช่น โครงการ พนม. 4. พิจารณาในการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน

     

    100 100

    6. จัดประชุมสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา/เครือข่าย/ทีมงาน

    วันที่ 21 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ 63 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผู้นำชุมชน=8คน/กรรมการหมู่บ้าน=10คน,ทต.=5คน, ผู้นำศาสนา=3คนกรรมการมัสยิด =12คน, ชรบ.=1คน , อสม. =1คน, กลุ่มสตรี=1คน , ครูตาดีกา=1คน.ข้าราชการในพื้นที่=8คน,ครูกีรออาตี=1คน,ตัวแทนของครัวเรือน =1 คน,ตัวแทนเยาวชน=1คน,ผู้ทรงคุณวุฒิ=1คน,ปราชญ์ชาวบ้าน=1คน,วิทยากรสอนอิสลามศึกษา=1คนรวมทั้งหมดจำนวน 63 คน รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง 1.ลงทะเบียน 2.โต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิดประชุม 3.โต๊ะอีหม่าม(ประธานสภา) 4.สมาชิกสภาแต่ละคน เสนอและแสดงข้อคิดเห็น 5.เลขานุการสภาจดบันทึกการประชุมและสรุป  6.โต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์ปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ชุมชนได้หลักสูตรในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน 1 หลักสูตร
    2.ชุมชนได้กำหนดมาตรการทางสังคมของหมู่บ้าน ในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด คือ พบเด็กกำลังเสพยาเสพในหมู่บ้านครังแรกจะมีการตัดเตือนก่อนและถ้าพบครั้งที่2จะส่งให้ตำรวจทันที่

     

    63 63

    7. จัดกิจกรรมสัมพันธ์แก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน

    วันที่ 28 ธันวาคม 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน
    2.พิธีกรเชิญผู้ใหญ่บ้านกล่าวพบปะ เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยง
    3.พิธีกรเชิญโต๊ะครูบรรยายให้ความรู้
    4.จัดกิจกรรมสัมพันธ์ตามรูปแบบอิสลามทีมงานจัดจัดกิจกรรมสัมพันธ์
    5.ซักถามปัญหา
    6.อดีดกำนันตำบลบเระเหนือ เป็นคนในพื้นที่กล่าวปิดการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติมีความไว้วางใจ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้นำชุมชน,ผู้นำศาสนา ต่อผู้ปกครองและกับเพื่อน
    2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด และกลุ่มเสี่ยงยอมรับตัวเองและกล้าพูดความจริงมากขึ้น
    3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติมีความรู้จักกันและสนิทสนมมากขึ้นและสามาถทำกิจกรรมร่วมกันได้
    4.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด มีความเข้าใจและยอมรับต่อการเข้าร่วมกิจกรรมและการบำบัด

     

    55 55

    8. ประชุมทีมงานในการวิเคราะห์ข้อมูล

    วันที่ 4 มกราคม 2558 เวลา 20.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คอเต็บกล่าวดูอาอ์เปิดประชุม - สมาชิกเทศบาลกล่าวนำและเปิดการประชุม - ผู้รับผิดชอบโครงการฯชี้แจงแนวทางและประเด็น,เนื้อหาการวิเคราะห์ข้อมูล - ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล - สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล - คอเต็บกล่าวดูอาอ์ปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการวิเคราะห์ดังนี้ - เก็บข้อมูลได้ 55 คน ,โสด 45 คน,สมรส 10 คน,กลุ่มอายุ น้อยกว่า 12 ปี  2 คน,อายุ 12-20 ปี 25 คน,อายุ 21 ปีขึ้นไป 28 คน - เด็กและเยาวชน ติดสารเสพติดแยกตามประเภท ดังนี้ บุหรี่ 10 คน,กระท่อม 30 คน,ยาบ้า 3 คน,กลุ่มเสียง 12 คน - สถานที่ที่เด็กและเยาวชนรวมกลุ่มเสพสารเสพติดในชุมชน มี 2 จุด - กลุ่มในบ้าน - กลุ่มในสวน  - ในชุมชนไม่มีแหล่งจำหน่ายสารเสพติด 5.เด็กและเยาวชนออกไปหาซื้อสารเสพติดนอกพื้นที่ - เด็กและเยาวชน รวมกลุ่มกันประมาณ 5-10 คน และลงขันเก็บเงินคนละ 20-30 บาท ในการเสพสารติดแต่ละครั้ง - ส่วนผสมในสารเสพติดที่พบส่วนใหญ่ ประกอบด้วย ใบกระท่อม,น้ำโคก,ยาแก้ไอ บางครั้งก็มี ยาอัลฟาโซแลม ช่วงเวลาที่เด็กและเยาวชน เสพสารเสพติด ส่วนใหญ่มี 2 เวลา คือ เที่ยงเวลา 13.00น-14.00นและ เย็นเวลา 19.00น.-23.00น.

     

    15 15

    9. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่1)

    วันที่ 9 มกราคม 2558 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน
    2.พิธีกรแนะนำและเชิญวิทยากร(โต๊ะครู) 3.วิทยากร(โต๊ะครู)บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักปฎิบัติ หลักการปฎิบัติ(การบริจาคซะกาต) ตามหลักของศาสนาอิสลาม 4.ซักถามปัญหา 5.โต๊ะครูกล่าวดูอาอ์และปิดการอบรม 6.ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 49 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน 35 ราย ,เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง 14 คน รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงตั้งใจฟัง มีสมาธิ มีความอดทนและเสียสละมากขึ้น
    2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีการซักถามปัญหา
    3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องหลักการปฎิบัติ(การบริจาคซะกาต) ตามหลักของศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง
    4.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยง ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)
    5.จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงหลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมศาสนบำบัดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 1 โดยรวมแล้วมีจิตใจเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

     

    50 50

    10. จัดกิจกรรมตามหลักสูตรของชุมชนที่ชุมชนจัดทำขึ้นในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

    วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน 2.พิธีกรเชิญโต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิด 3.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน  4.ฝ่ายทหารบรรยายเรื่องสถานการณ์และความรู้เรื่องยาเสพติด 5.โต๊ะครูบรรยายให้ความรู้ศาสนาว่าด้วยเรื่องยาเสพติด  6.พักรับประทานอาหารกลางวันและละหมาดซุห์รีร่วมกัน 7.ฝ่ายตำรวจบรรยายเรื่องกฎหมายว่าด้วยเรื่องยาเสพติดและบทลงโทษ  8.ฝ่ายสาธารณสุขบรรยายเรื่องโทษและพิษภัยของยาเสพติด 9.โต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์ปิดการอบรม 10.ทำกิจกรรมละหมาดอัสรีร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดส่วนใหญ่ตั้งใจฟัง
    2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีการซักถามปัญหา
    3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดทราบถึงถานการณ์ยาเสพติดและได้รับความรู้เรื่องยาเสพติด,ศาสนาว่าด้วยเรื่องยาเสพติด ,กฎหมายว่าด้วยเรื่องยาเสพติดและโทษและพิษภัยของยาเสพติด 4.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)
    5.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นและกล้าแสดงออกมากขึ้น 6.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดพัฒนาความสะอาดสองข้างเข้าไปมัสยิด 7.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีความขยันมากขึ้น

     

    75 75

    11. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่2)

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน 2.พิธีกรแนะนำและเรียนเชิญวิทยากร(โต๊ะครู) 3.วิทยากร(โต๊ะครู)บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักศรัทธา 6 ประการในศาสนาอิสลาม(หลักศรัทธาต่อบรรดามะลาอิกะฮฺ และคัมภีร์ต่าง ๆ ของอัลลอหฮ)แก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน 4.ซักถามปัญหา 5.โต๊ะครูกล่าวดูอาอ์และปิดการบรรยาย 6.จัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดส่วนใหญ่ตั้งใจฟัง 2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดไม่กล้าซักถาม 3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน) 4.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีความกระตือรือร้นในการปฎิบัติศาสนกิจมากขึ้นกว่าครั้งที่1  5.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดพัฒนาและทำความสะอาดภายนอกและภายในมัสยิด 6.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนมีความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ดีขึ้นและช่วยเหลืองานการพัฒนาในชุมชนเพิ่มขึ้น

     

    50 50

    12. จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่1)

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน 2.พิธีกรเชิญโต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิด 3.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชนและชาวบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปัจจุบันสถานการณ์การติดยาเสพติดของของเยาวชนมีจำนวนมากขึ้น เพื่อให้เยาวชนในหมู่บ้านและชาวบ้านใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของตนเอง เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของชาวบ้าน เพื่อให้เกิดความรักสามัคคีมากขึ้น เพื่อส่งเสริมพลานามัยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม

     

    36 36

    13. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่3)

    วันที่ 1 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน 2.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน 3.พิธีกรแนะนำและเรียนเชิญวิทยากร(โต๊ะครู) 4.วิทยากร(โต๊ะครู)บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักศรัทธา 6 ประการในศาสนาอิสลาม(หลักศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูตต่าง ๆ  ,ศรัทธาต่อวันสิ้นสุดท้าย และศรัทธาต่อกฎสภาวะ สิ่งที่เป็นการกำหนด และเงื่อนไขการกำหนดจากพระผู้เป็นเจ้า)แก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน 4.ซักถามปัญหา 5.โต๊ะครูกล่าวดูอาอ์และปิดการบรรยาย 6.จัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดส่วนใหญ่ตั้งใจฟัง 2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีการซักถามเล็กน้อย 3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน) 4.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีความกระตือรือร้นในการปฎิบัติศาสนกิจและมีการอ่านซิกรุลลอฮหลังละหมาด 5.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดพัฒนาความสะอาดสองข้างเข้าไปมัสยิด 6.พฤติกรรมการเสพยาของเด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนเปลี่ยนแปลงไป เดิมเสพยาแบบเปิดเผยเป็นกลุ่มใหญ่ มาเป็นแบบหลบๆซ่อนๆและเป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 2-4 คน

     

    50 50

    14. จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่2)

    วันที่ 7 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน 2.พิธีกรเชิญโต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิด 3.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชนและชาวบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนในหมู่บ้านและชาวบ้านใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของตนเอง
    • ชาวบ้านมีความรักสามัคคีมากขึ้น
    • ส่งเสริมพลานามัยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม

     

    35 35

    15. ปิดงวดโครงการงวดที่ 1 ปี 57 รุ่น 2 จ.นราธิวาส

    วันที่ 17 มีนาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ส่งรายงานกิจกรรมงวดที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้ในการทำกิจกรรมงวดที่ สจรส.มอ.ชั้น 10

     

    1 1

    16. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่1)

    วันที่ 28 มีนาคม 2558 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน
    2.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน
    3.ครูได้สอนองค์ประกอบของการแสดงสิละต่างๆ และการแสดงปัจจะสีลัต ให้กับเยาวชนที่มาร่วมกิจกรรม กลุ่มเสี่ยงเป็นคนมาเรียนและจัดแสดงเอง โดยแสดงการรำสิละเดี่ยว และการรำสิละคู่ สำหรับใช้เพื่อการแสดงและแข่งขัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มติดยาเสพติด ได้มาเรียนการแสดงปัตจสิละร่วมกัน เกิดความสนุก สร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน ระหว่างครูผู้สอนและกลุ่มที่มาเรียน เมื่อเขาได้เข้ามาทำกิจกรรมนี้ ช่วยลดช่องว่างการพูดคุยและไม่หันไปหมกมุ่นกับยาเสพติด

     

    75 95

    17. จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่3)

    วันที่ 4 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน
    2.พิธีกรเชิญโต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิด
    3.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชนและชาวบ้าน
    4.วิทยาการได้สอนทฤษฏีและเทคนิคการครอบครองและการเลี้ยงลูกบอล
    5.เด็กและเยาวชนได้ฝึกการอบอุ่นร่างกาย
    6.ให้เด็กและเยาวชนฝึกครอบครองและการเลี้ยงลูกบอลที่ละคน
    7.เด็กและเยาวชนได้สอบถามปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้ปกครองและเยาวชนในหมู่บ้าน ได้มาร่วมเล่นฟุตลอลร่วมกันในตอนเย็น ทำให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของตนเอง สร้างสัมพันธุ์ระหว่างครอบครัวด้วยกัน เป็นการส่งเสริมพลานามัยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม
    • เยาวชนได้เรียนท่าทางการเตรียมรับลูกตบ พื้นฐานการรับลูกตบ และสัมผัสบอลด้วยแขนทั้ง 2 ข้าง ทำให้กลุ่มเยาวชนชอบเล่นกีฬาและได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้ห่างไกลยาเสพติด เพราะเดิมทีมเยาวชนกลุ่มเสี่ยงจะมีเวลาว่างเยอะ ทำให้หันไปมั่วสุม แต่เมื่อมีกิจกรรมที่เขาชอบทำให้เขาสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

     

    75 75

    18. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่4)

    วันที่ 10 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน
    2. ผู้ใหญ่บ้านกล่าวเปิดการอบรม
    3. วิทยากรบรรยายให้ความรู้เรื่องหลักปฎิบัติ 5 ประการในศาสนาอิสลาม(การปฎิบัติ ละหมาด 5 เวลาและการเตรียมตัวก่อนละหมาด)แก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน
    4. ซักถามปัญหา
    5. กล่าวปิดการอบรม
    6. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)
    7. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดร่วมกันพัฒนามัสยิดกับกูโบร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดตั้งใจฟัง มีสมาธิ ตรงต่อเวลาและมีระเบียบวินัยมากขึ้น
    2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีการซักถามปัญหา ในเรื่องการละมาด 5 เวลา 3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดส่วนใหญ่สามารถปฎิบัติการละหมาด 5 เวลาได้ถูกต้องและการเตรียมตัวก่อนละหมาด เช่น การอาบน้ำละหมาดได้ถูกต้อง

    • จากการทำกิจกรรมนี้ ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้ปกครอง ทำให้มีพาเด็กเยาวชนทั่วไปเข้ามาร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้รับความสนใจการผู้ใหญ่ในชุมชนที่เข้ามาร่วมฟังการบรรยายเช่นกัน
    • เด็กเยาวชนกลุ่มเสียงได้ร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจ และได้ฟังการบรรยายร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนร่วมกับผู้ใหญ่เรื่องยาเสพติด ผิดหลักการศาสนา การเลิกยาเสพติดจะทำให้การปฏิบัิศาสนกิจของเราสมบูรณ์ขึ้น

     

    45 45

    19. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่2)

    วันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน
    2.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน
    3.ครูสอนการเล่นปัจจะสิละ ในวันนี้ได้สอนวิธีการป้องกันตัวกับคู่ต่อสู้ในการเล่นสีลัต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนมีความสนุกและตั้งใจในการเรียนปัจจะสิลัต ซึ่งการเรียนรู้ในวันนี้เยาวชนสามารถนำเอาท่ารำไปใช้ป้องกันตัวเองเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้
    • ผู้ปกครองที่ส่งลูกหลานเข้ามาร่วมกิจกรรม มีความสบายใจ ไม่กังวลเมื่อลูกเข้ามาเรียนปัจจะสิลัต
    • เยาวชนได้ทำกิจกรรมในยามว่างและมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น

     

    75 75

    20. จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่4)

    วันที่ 2 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน
    2.พิธีกรเชิญโต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิด
    3.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชนและชาวบ้าน
    4.ครูสอนกีฬาฟุตลอลให้กับกลุ่มเยาวชน ในวันนี้สอนเทคนิคการรับลูกตบเป็นเทคนิคที่ยากพอสมควรจะต้องฝึกซ้อมเป็นประจำและบ่อย หลายครั้งที่การรับลูกตบเป็นเทคนิคที่วัดผลแพ้ชนะในการแข่งขันเลยทีเดียว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้ชาย และชอบกีฬาฟุตบอลทำให้ตั้งใจฝึกซ้อม และมาเรียนตรงเวลา เกิดความสนุกสนาน ในวันนี้ได้ความรู้เรื่อง การงัดบอลจากพื้น การงัดบอลด้วยมือข้างเดียว การเกี่ยวบอล การรับบอลไกลตัวด้านข้าง การรับลูกตบที่รุนแรง การรับบอลด้วยมือข้างเดียว จากความรู้ที่ได้ ในช่วงเย็นเยาวชนจะไปเล่นฟุตลอลร่วมกัน และนำสิ่งที่ได้เรียนไปใช้ในสนามฟุตบอล เมื่อแข่งกันเล่นในช่วงตอนเย็น

     

    75 75

    21. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่5)

    วันที่ 9 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน
    2.พิธีกรแนะนำและเชิญวิทยากร(โต๊ะครู)
    3.วิทยากร(โต๊ะครู)บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักปฎิบัติ 5 ประการในศาสนาอิสลาม(การถือศิลอดและวิธการถือศิลอดรวมทั้งข้อห้ามต่างในช่วงการถือศิลอด)แก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน
    4.ซักถามปัญหา
    5.โต๊ะครูกล่าวดูอาอ์และปิดการอบรม
    6.ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงตั้งใจฟัง มีสมาธิ มีความอดทนและเสียสละมากขึ้น
    2. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีการซักถามปัญหา
    3. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้การถือศิลอดวิธการถือศิลอดและข้อห้ามต่างในช่วงการถือศิลอดที่ถูกต้อง จากการแลกเปลี่ยนสนทนาธรรม กลุ่มเยาวชนมีความตั้งใจว่าจะถือศีลอดให้ครบใน 1 เดือน โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เพราะหากยุ่งเกี่ยวหรือเสพยาจะทำให้การถือศีลอดใช้ไม่ได้
    4. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยง ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)

     

    45 45

    22. จัดกิจกรรมฝึกอบรมด้านอาชีพ แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดสารเสพติด

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน
    2.พิธีกรแนะนำและเชิญวิทยากร(เลี้ยงนกกระทา)
    3.ขั้นตอนแรก การให้อาหารและน้ำ โดยน้ำจะให้ไว้ในรางตลอด ส่วนอาหารจะให้วันละ 2 ครั้งคือ ตอนสาย ๆ และบ่าย ๆ อาหารที่ให้จะเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทาโดยเฉพาะก็ได้หรืออาจจะเป็นสูตรอาหารที่คิดขึ้นเองโดยเน้นโปรตีนเป็นหลัก

    4.ขั้นตอนที่สอง การทำความสะอาดรางน้ำและกรงนก ถ้าหากกรงนกไม่เปื้อนอาหารนั้นก็จะไม่สกปรกมากจึงไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดประจำ แต่รางน้ำจำเป็นต้องทำความสะอาดทุกวัน เพราะถ้าสกปรก อาจทำให้นกเป็นโรคและติดเชื้อได้ง่าย การทำความสะอาดอาจติดตั้งเป็นระบบปั๊มน้ำไว้ แล้วเปิดน้ำไปตามรางใช้แปรงถูรางน้ำ ปล่อยน้ำล้างให้สะอาด วิธีนี้ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาถอดรางน้ำออกมาล้าง ส่วนตาข่ายที่ใช้ทำกรงต้องถอดออกไปทำความสะอาดนำไปขัดล้างแค่เพียง 2 ปีต่อครั้ง

    5.ขั้นตอนสุดท้าย การเก็บไข่เวลาที่ใช้เก็บไข่ควรเก็บช่วงเย็นประมาณ 18.30 - 19.00 น. แล้วเตรียมใส่ถุงส่งให้ลูกค้าในวันรุ่งขึ้น หากมีไข่หลังจากเก็บไปแล้วก็จะนำไปรวมกันวันต่อไป ควรออกแบบกรงให้สะดวกต่อการเก็บไข่โดยให้ไข่ไหลเทออกมาที่รางด้านนอกกรง ถ้าหากมีไข่ติดอยู่ใต้กรงให้ใช้ไม้เขี่ยออกมาเบา ๆ ไข่ที่เก็บได้แล้วต้องรีบนำไปขาย เพราะอายุของไข่นกสด ๆ อยู่ได้ประมาณ 10 วันเท่านั้น นก 7 ตัว ควรจะให้ไข่ 4 - 5 ฟอง หากให้ต่ำกว่านี้ ต้องพยายามตรวจสอบว่านกตัวไหนไม่ให้ไข่ จะจับแยกออกมาเลี้ยงเป็นนกเนื้อแทน ปกตินกจะให้ไข่ประมาณ 8 - 9 เดือน และจะให้ไข่น้อยลงจนไม่ให้ไข่เลยเมื่ออายุ 10 - 12 เดือน จึงต้องปลดขายเป็นนกเนื้อ และทยอยเลี้ยงรุ่นใหม่หมุนเวียนกันไปตลอด นำข้อมูลที่ได้มาปฏิบัติและให้ผู้รู้ทางด้านการเลี้ยงนกกระทาได้มาดูว่าการทำกรงถูกต้องหรือเปล่าและพื้นที่เหมาะสมในการเลี้ยงนกหรือไม่และตอนนี้ทางชุมชนบ้านสะแตได้เลี้ยงนกกระทาเกียบ 40 กว่าตัวและมีการออกไข่แต่ละวันได้เกินกว่า 90-100 ลูก ลูกค้าที่ซื้อไข่ส่วนใหญ่จะเป็นคนในชุมชนและบุคคลภายนอกที่มีอาชีพ ค้าขายและบางที่ก็มีลูกค้ามาซื้อมูล นกเพื่อทำปุ๋ยและตอนนี้ทางชุมชนก็มีรายได้ส่วนนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดสารเสพติด จะร่วมการทำงานและจะทำให้กลุ่มนี้มีความสามัคคีมากขึ้น จะแบ่งกลุ่มในการทำงานเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงกับกลุ่มติดสารเสพติด ส่วยรายได้ของการเลี้ยงนกกระทานั้นยังไม่มีการแบ่งกำไรอีก เพื่อกำหนดแนวทางการจัดสรรผลผลิตหรือรายได้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและสามารถสร้างเป็นอาชีพได้เพื่อเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดสารเสพติดที่ขาดรายได้ก็จะมีรายได้จากการเลี้ยงนกกระทาเข้ามาช่วยในส่วนนี้

     

    60 60

    23. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่3)

    วันที่ 30 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน
    2. ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน
    3. สอนปัจจะสีลัตของชุมชน แก่เด็กและเยาวชน ทำการสอนทักษะโดยมีผู้ฝึกสอนเป็นคนกลุ่มปัจจะสีลัตของชุมชน โดยในวันนี้สอนวิธีการต่อสู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการต่อสู้ สำหรับใช้ป้องกันตนเอง เมื่อเกิดภัย และได้แสดงท่าสิละคู่ต่อสู้ด้วยกัน เกิดความสนุกสนาน และเนาวชนกล้าแสดงออกมากขึ้น ไม่หันไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

     

    75 75

    24. จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่5)

    วันที่ 6 มิถุนายน 2558 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน
    2.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชนและชาวบ้าน
    3.เยาวชนฝึกซ้อมการเล่นฟุตบอล พร้อมมีครูฝึกคอยสอนการรับบอล หลังจากที่ฝึกซ้อมการรับบอลจากการรุกแดนหลังแล้ว แบบฝึกต่อไปที่จะนำเสนอคือ การรับบอลจากการรุกหน้าตาข่าย ซึ่งการรุกหน้าตาข่ายโดยหลัก ๆ แล้วจะมีการรุกอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1.การตบหัวเสา 2.การตบบอลกลาง และ 3.การตบบอลเร็ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนได้เรียนรู้ท่าการรับบอลเพิ่มขึ้น คือ การรุกด้วยการตบหัวเสา การรุกด้วยการตบบอลกลาง และการรุกด้วยการตบบอลเร็ว เกิดทักษะการเล่นฟุตบอลที่เก่งขึ้น และในช่วงเวลาว่างตอนเย็นก็จะนำไปเล่นฟุตบอลในชุมชนร่วมกัน

     

    83 83

    25. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่6)

    วันที่ 12 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมศาสนบำบัด โดยกลุ่มเยาวชนร่วมกันทำความสะอาดมัสยิด และบริเวณรอบ ๆ มัสยิด เพื่อเตรียมพร้อมต้อนรับการทำกิจกรรมละมาดร่วมกันในช่วงเดือนรอมฏอน
    ได้ละมาดร่วมกัน และโต๊ะครู ได้บรรยายธรรมเพิ่มเติมเรื่องการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ผลบุญที่ได้รับจากการทำความดีละเว้นความชั่ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องการปฎิบัติ ตามหลักจริยธรรมของศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ได้ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)
    • จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงหลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมศาสนบำบัดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 6 โดยรวมแล้วมีพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น การมั่วสุมเสพยาในชุมชนลดลง จะแอบเสพยาแบบลับๆ เป็นกลุ่มเล็กๆ และไม่มีการลักขโมย
    • เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงร่วมกับชาวบ้านในการพัฒนามัสยิดและเส้นทางในหมู่บ้าน

     

    45 45

    26. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่4)

    วันที่ 13 มิถุนายน 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน
    2. ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน
    3. สอนปัจจะสีลัตของชุมชน ทำการสอนทักษะโดยมีผู้ฝึกสอนเป็นคนกลุ่มปัจจะสีลัตของชุมชน ในวันนี้สอนสิละคู่ และแสดงให้ผู้ชมดู สิละคู่เพื่อแสดง ความสวยงามของท่าทางการต่อสู้ เป็นการ ต่อสู้ที่ไม่อันตราย แสดงให้ผู้ชมดู ไม่เอา จริง สิละชนิดนี้ใช้ผู้ชาย หรือผู้หญิงแสดงก็ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนในหมู่บ้านและชาวบ้านใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของตนเอง มีความสนุก และกล้าแสดงออกมากขึ้น เยาวชนรำเก่งขึ้น จากการสังเกตุผู้ชมการแสดงปัจจัสิลัต เยาวชนจะมีความชอบในการชม และชอบในการแสดง มีความสุขเมื่อได้มาเรียนรู้ร่วมกัน

     

    75 75

    27. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่7)

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน
    2.พิธีกรแนะนำและเชิญวิทยากร(โต๊ะครู)
    3.วิทยากร(โต๊ะครู)บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักปฎิบัติ หลักการปฎิบัติ(การบริจาคซะกาต) ตามหลักของศาสนาอิสลาม
    4.ซักถามปัญหา
    5.โต๊ะครูกล่าวดูอาอ์และปิดการอบรม 6. ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องหลักการปฎิบัติ(การบริจาคซะกาต) ตามหลักของศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง
    2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยง ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)
    3.จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงหลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมศาสนบำบัดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 7 โดยรวมแล้วมีจิตใจเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

     

    45 45

    28. จัดกิจกรรมสันทนาการชุมชน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก่เด็กและเยาวชน

    วันที่ 8 สิงหาคม 2558 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมคณะทำงาน เตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
    2.ลงทะเบียน
    3.เปิดงานโดยผู้ใหญ่บ้าน
    4.จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เช่น ฟุตบอล,วอลเล่บอล
    5.มอบของขวัญ/ของที่ระลึก แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีประชุมคณะทำงาน เตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
    2.มีการลงทะเบียนผู้เขัาร่วมกิจกรรม แต่ไม่ครบทุกคน
    3.ผู้ใหญ่บ้านกล่าวเปิดงานและพบปะพูดคุยกับเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพ ผู้ปกครองและผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม
    4.เริ่มด้วย กิจกรรมที่ 1 การแข่งขันฟุตบอล 5 คน เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพ จำนวน 10 คู่ กิจกรรมที่ 2 การแข่งวอลเล่บอลระหว่างของเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพ จำนวน 4 คู่ กิจกรรมที่ 4 การแข่งขันชักเย่อระหว่างเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพจำนวน 2 คู่ 5.เด็ก และ เยาวชน ทั้งกลุ่มเสี่ยง กลุ่มปกติและกลุ่มติดยาเสพติด ตลอดจนผู้ปกครองและผู้นำต่างๆในชุมชน มีความสัมพันธ์ที่ดีมาก และชุมชนมีการยอมรับเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพมากขึ้นพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษา

     

    75 75

    29. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่5)

    วันที่ 15 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน
    2.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน 3. ดำเนินการสอนปัจจะสิลัต โดยครูในชุมชน วันนี้สอนท่า สิละคู่เพื่อแสดง ความสวยงามของท่าทางการต่อสู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการป้องกันตัวเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
    • เด็กและเยาวชนได้พูดคุยกัน เรื่อง ยาเสพติด ต่างรู้โทษของยาเสพติด และจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะทำให้พ่อแม่เสียใจ

     

    49 49

    30. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่8)

    วันที่ 21 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พัฒนาในหมู่บ้าน บริเวณสองข้าทางถนน ด้วยการตัดหญ้าสิ่งกีดขวาง และช่วยกันเก็บขยะ ปรับภูมิทัศน์สองข้างทางให้มีความสวยงาม น่ามอง หลังจากพัฒนาเสร็จ ทีมเยาวชนได้ละมาดร่วมกัน และฟังการบรรยาย เรื่อง ความสามัคคีในหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการบรรยายธรรม เรื่อง ความสามัคคี ทำให้เด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง มองเห็นว่า การมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การบรรยายธรรม การละมาดร่วมกัน และการมาทำโครงการร่วมกัน สิ่งเหล่านั้นคือการสร้างความสามัคคี

     

    45 45

    31. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่9)

    วันที่ 3 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดร่วมกันพัฒนามัสยิดถนนในหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดตั้งใจฟัง มีสมาธิ ตรงต่อเวลาและมีระเบียบวินัยมากขึ้น
    2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีการซักถามปัญหา
    3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดส่วนใหญ่สามารถปฎิบัติการละหมาด 5 เวลาได้ถูกต้องและการเตรียมตัวก่อนละหมาด เช่น การอาบน้ำละหมาดได้ถูกต้อง
    4.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)
    5.เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้มีการพัฒนาในหมู่บ้านร่วมกับชาวบ้าน บริเวณมัสยิดในมัสยิด หลังจากการพัฒนาเสร็จแลัว มีการฟังการบรรยาย เรื่อง คุณธรรมและจริยธรรม

     

    45 45

    32. จัดงานความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของฅนใต้ปี2558

    วันที่ 4 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ้เข้าร่วมกิจกรรมงานสร้างสุข ในวันแรก เข้าร่วมแลกเปลี่ยน ห้องความมั่นคงทางสุขภาพ วันที่ 2 เข้าร่วมห้องชุมชนน่าอยู่ และร่วมเรียนรู้นิทรรศการที่จัดแสดงในงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เรียนรู้ในการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อนำมาปฏิบัติในหมู่บ้าน

     

    2 2

    33. จัดทำรายงาน

    วันที่ 12 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง สรุปผลการทำโครงการ และดำเนินการจัดทำรายงานโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลที่นำไปสู่การเขียนโครงการได้

     

    4 4

    34. จัดกิจกรรมศาสนาบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ครั้งที่10

    วันที่ 20 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน
    2.พิธีกรแนะนำและเชิญวิทยากร(โต๊ะครู)
    3.วิทยากร(โต๊ะครู)บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักปฎิบัติ 4.ซักถามปัญหา
    5.โต๊ะครูกล่าวดูอาอ์และปิดการอบรม 6.ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน

    • ตอนเช้ามีการพัฒนาหมู่บ้าน พื้นที่สาธารณะร่วมกัน
    • กลางคืนบรรยาย เรื่อง โทษของยาเสพติด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การพัฒนาหมู่บ้าน เป็นหลักศรัทธาอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม และเป็นซุนนะห์ (แบบอย่างของท่านศาสดา) ที่ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติอยู่เป็นประจำ ซึ่งเด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงได้สัญญากับทีมงานจะพยายามปฏิบัติตามแนวซุนนะห์ของท่านศาสดามูฮัมหมัด คือ การรักษาความสะอาดตามแหล่งสาธารณะในชุมชน
    • เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยง ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)

     

    45 45

    35. จัดประชุมสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา/เครือข่าย/ทีมงาน

    วันที่ 27 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.โต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิดการประชุม
    2.ผู้ใหญ่บ้านกล่าวพูดคุยในที่ประชุม
    3.ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
    4.สมาชิกสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา เครือข่าย ทีมงาน แต่ละคนสรุปประเด็นในเนื้อหาที่ตนเองได้รับมอบหมายหรือรับผิดชอบ พร้อมสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ตลอดจนปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อไปปรับปรุงแก้ไข/หากลวิธีใหม่ๆ พร้อมนำข้อมูลไปบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินโครงการ ดังนี้

    1. เกิดสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา 1 สภา มีสมาชิก 45 คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน อบต., ผู้นำศาสนา กรรมการมัสยิด , ชรบ. , อสม. , กลุ่มสตรี แม่บ้าน , เยาวชน และครูตาดีกา ข้าราชการในพื้นที่
    2. มีมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด 1 เรื่อง คือ เด็กและเยาวชนต้องไม่เสพหรือดื่มสารเสพติดทุกชนิดในชุมชน กรณีฝ่าฝืน ครั้งที่ 1 กล่าวตักเตือน ครั้งที่ 2 กล่าวตักเตือนและเรียกผู้ปกครองมาคุยพร้อมให้เด็กและเยาวชนฟังบรรยายธรรมและทำบำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 3 ส่งดำเนินคดีตามกฏหมาย
    3. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดเข้ารับการบำบัด จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 100
    4. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดสามารถเลิกสารเสพติดแล้วไม่กลับติดสารเสพติดซ้ำและสามารถกลับตัวเป็นคนดีของสังคมทำให้สังคมยอมรับ จำนวน 3 คน
    5. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดสามารถลดปริมาณการเสพ เหลือวันละ 1 ครั้ง จำนวน 25 คน
    6. เกิดเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดในชุมชน 7 เครือข่าย กลุ่มบ้านๆละ 7 คนประกอบด้วย ตัวแทนผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน อบต., ผู้นำศาสนา กรรมการมัสยิด , ชรบ. , อสม. , กลุ่มสตรี แม่บ้าน , เยาวชน และครูตาดีกา ข้าราชการในพื้นที่
    7. เกิดกลุ่มอาชีพไข่นกกระทาจำนวน1 กลุ่ม มีสมาชิก 25 คน
    8. เกิดกลุ่มการเล่นกีฬา 1 กลุ่ม
    9. เกิดกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ 1 กลุ่ม
    10. มีการอบรมจริยธรรม/สอนศาสนาแก่เด็กและเยาวชน ทุกคืนวันศุกร์ของเดือน
    11. ทางชุมชนมีความสัมพันธ์และยอมรับกับเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดดีขึ้นอยากให้ต่อยอดการดำเนินงานโครงการต่อไป

     

    105 105

    36. ภาพถ่าย

    วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จ่ายค่าจ้างถ่ายรูปและล้างรูป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    1 1

    37. เบิกคืนค่าเปิดบัญชี

    วันที่ 2 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ถอนเงินคืนค่าเปิดบัญชี จำนวน 100 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สามารถจัดทำบัญชีได้ และจำนวนตัวเลขในรายงานถูกต้อง

     

    1 1

    38. มาร่วมกิจกรรมกับ สจรส.เพื่อตรวจเอกสารโครงการ

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เพื่อมาตรวจสอบเอกสารโครงการ รายงานการเงิน และรายงานฉบับสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับคำแนะนำการทำรายงานการเงิน และรายงานฉบับสมบูรณ์

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อให้คนหรือกลุ่มคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. จัดตั้งเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดในชุมชนอย่างน้อย 1 เครือข่าย 2. มีมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด 1 เรื่อง 3. มีสภาชุมชนศรัทธาในการดูแลและแก้ไขปัญหาของชุมชน 1 สภา 4. มีหลักสูตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยชุมชนจัดทำขึ้นเอง 1 หลักสูตร เชิงคุณภาพ 1.เครือข่ายในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดในชุมชนมีความเข้มแข็งและมีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 2.สมาชิกในครัวเรือนปฏิบัติตามมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดอย่างสม่ำเสมอ 3.สภาชุมชนศรัทธามีความเข้มแข็งและมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง
    • เกิดเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดในชุมชน 7 เครือข่าย/กลุ่มบ้านๆละ 7 คนประกอบด้วย ตัวแทนผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน/อบต., ผู้นำศาสนา/กรรมการมัสยิด , ชรบ. , อสม. , กลุ่มสตรี/แม่บ้าน , เยาวชน และครูตาดีกา/ข้าราชการในพื้นที่ มีบทบาททำหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยและความสงบสุขของชุมชน โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันและควบคุมยาเสพติดในชุมชน มีมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด 1 เรื่อง
      • มีมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด 1 เรื่อง 2.1 เด็กและเยาวชนต้องไม่เสพหรือดื่มสารเสพติดทุกชนิดในชุมชน กรณีฝ่าฝืน
        ครั้งที่ 1 กล่าวตักเตือน
        ครั้งที่ 2 กล่าวตักเตือนและเรียกผู้ปกครองมาคุยพร้อมให้เด็กและเยาวชนฟังบรรยายธรรมและทำบำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 3 ส่งดำเนินคดีตามกฏหมาย
      • มีสภาชุมชนศรัทธาในการดูแลและแก้ไขปัญหาของชุมชน 1 สภา มีสมาชิก 50 คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน/อบต., ผู้นำศาสนา/กรรมการมัสยิด , ชรบ. , อสม. , กลุ่มสตรี/แม่บ้าน , เยาวชน และครูตาดีกา/ข้าราชการในพื้นที่

    เชิงคุณภาพ
    1.เครือข่ายในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดในชุมชนมีความเข้มแข็งและมีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
    2. สมาชิกในครัวเรือนปฏิบัติตามมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดอย่างสม่ำเสมอ
    3. สภาชุมชนศรัทธามีความเข้มแข็งและมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง โดยจะประชุมทุกเดือน เดือนละครั้งละ

    2 2.เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนได้รับการบำบัดและดูแล
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1.) จัดตั้งเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดในชุมชนอย่างน้อย 1 เครือข่าย 2.)มีมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด 1 เรื่อง 3.)มีสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวาในการดูแลและแก้ไขปัญหาของชุมชน 1 สภา 4.)มีหลักสูตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยชุมชนจัดทำขึ้นเอง 1 หลักสูตร เชิงคุณภาพ 1.) เครือข่ายในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดในชุมชนมีความเข้มแข็งและมีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 2.)สมาชิกในครัวเรือนปฏิบัติตามมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดอย่างสม่ำเสมอ 3.)สภาชุมชนศรัทธากำปงตักวามีความเข้มแข็งและมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง
    • เกิดเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดในชุมชน 7 เครือข่าย/กลุ่มบ้านๆละ 7 คนประกอบด้วย ตัวแทนผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน/อบต., ผู้นำศาสนา/กรรมการมัสยิด , ชรบ. , อสม. , กลุ่มสตรี/แม่บ้าน , เยาวชน และครูตาดีกา/ข้าราชการในพื้นที่ มีบทบาททำหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยและความสงบสุขของชุมชน โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันและควบคุมยาเสพติดในชุมชน มีมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด 1 เรื่อง
      • มีมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด 1 เรื่อง 2.1 เด็กและเยาวชนต้องไม่เสพหรือดื่มสารเสพติดทุกชนิดในชุมชน กรณีฝ่าฝืน
        ครั้งที่ 1 กล่าวตักเตือน
        ครั้งที่ 2 กล่าวตักเตือนและเรียกผู้ปกครองมาคุยพร้อมให้เด็กและเยาวชนฟังบรรยายธรรมและทำบำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 3 ส่งดำเนินคดีตามกฏหมาย
      • มีสภาชุมชนศรัทธาในการดูแลและแก้ไขปัญหาของชุมชน 1 สภา มีสมาชิก 50 คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน/อบต., ผู้นำศาสนา/กรรมการมัสยิด , ชรบ. , อสม. , กลุ่มสตรี/แม่บ้าน , เยาวชน และครูตาดีกา/ข้าราชการในพื้นที่

    เชิงคุณภาพ
    1.เครือข่ายในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดในชุมชนมีความเข้มแข็งและมีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
    2. สมาชิกในครัวเรือนปฏิบัติตามมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดอย่างสม่ำเสมอ
    3. สภาชุมชนศรัทธามีความเข้มแข็งและมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง โดยจะประชุมทุกเดือน เดือนละครั้งละ

    3 3.เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชุมชนมีความรู้เรื่องยาเสพติดและหลักคำสอนของศาสนาว่าด้วยยาเสพติดและนำไปประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1.)เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องยาเสพติดและหลักคำสอนของศาสนาว่าด้วยยาเสพติด 2.)เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนได้รับการบำบัดและดูแล ร้อยละ 80 หรือเท่ากับ 45 คน 3.)เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนร้อยละ 45 สามารถเลิกสารเสพติดได้ 4.)เด็กและเยาวชนติดสารเสพติดรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดทั้งหมด เชิงคุณภาพ 1.)เด็กและเยาวชนสามารถนำหลักคำสอนของศาสนาไปประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง 2.)เด็กและเยาวชนที่เลิกสารเสพติดแล้วไม่กลับติดสารเสพติดซ้ำและสามารถกลับตัวเป็นคนดีของสังคมทำให้สังคมยอมรับ

    1.เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และมีความรู้เรื่องยาเสพติดและหลักคำสอนของศาสนาว่าด้วยยาเสพติด จำนวน 70 คน

    -เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง = 20 คน และกลุ่มติดสารเสพติด = 30 คน

    -เด็กและเยาวชนกลุ่มปกติ = 10 คน คิดเป็นร้อยละ 85.71

    2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนได้รับการบำบัดและดูแล จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 100

    3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน สามารถเลิกสารเสพติดได้
    -เด็กและเยาวชนที่เลิกได้ = 3 คน

    -เด็กและเยาวชนที่ลดละ = 30 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33


    4.เด็กและเยาวชนติดสารเสพติดรายใหม่ มี 2 คนเยาวชนทั้งหมด 70 คน คิดเป็นร้อยละ 2.85

    เชิงคุณภาพ

    1.เด็กและเยาวชนสามารถนำหลักคำสอนของศาสนาไปประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง

    2.เด็กและเยาวชนที่เลิกสารเสพติดแล้วไม่กลับติดสารเสพติดซ้ำและสามารถกลับตัวเป็นคนดีของสังคมทำให้สังคมยอมรับ

    4 ติดตามสนับสนุนจากสสส.สจรส. และพี่เลี้ยง
    ตัวชี้วัด : เข้าร่วมกิจกรรมกับ สจรส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด มีภาพถ่ายทุกกิจกรรม มีป้ายปลอดบุหรี่ที่สถานที่จัดประชุม ส่งรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด

    เข้าร่วมทุกครั้ง ส่งรายงานให้สจรส.ม.อ. ตามเวลาที่กำหนด แต่พบว่าต้องมีการแก้ไขและปรับปรุงรายงาน และรายงานการเงินจึงทำให้ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์และถูกต้องไปยัง สสส.ล่าช้า

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้คนหรือกลุ่มคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด (2) 2.เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนได้รับการบำบัดและดูแล (3) 3.เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชุมชนมีความรู้เรื่องยาเสพติดและหลักคำสอนของศาสนาว่าด้วยยาเสพติดและนำไปประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง (4) ติดตามสนับสนุนจากสสส.สจรส. และพี่เลี้ยง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ลดปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านสะแตน่าอยู่

    รหัสโครงการ 57-02571 รหัสสัญญา 58-00-0087 ระยะเวลาโครงการ 15 ตุลาคม 2557 - 15 พฤศจิกายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ทีมเยาวชนมีความรู้เรื่องทักษะการเล่นฟุตบอลและการเลี้ยงนกกระทา และวิธีการป้องกันตัวด้วยการละเล่นปัจจะสิลัต

    หลักสูตรการสอนฟุตบอลและการอบรมการเลี้ยงนกกระทา และปัจจะสิลัต

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    กระบวนการสภาชุมชนตักวา

    การประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มสภาชุมชนศรัทธากัมปงตักวา 1 กลุ่ม

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    การเล่นกีฬาฟุตบอล และการจัดกิจกรรมสัทนาการ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    เยาวชนกลุ่มติดยาเสพติดสามาถเลิกติดยาเสพติดได้

    ผู้ติดยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดจำนวน 45 คน สามารถเลิกยาเสพติดได้ 3 คน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    ใช้หลักศาสนบำบัดเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องยาเสพติดในชุมชน

    กิจกรรมศาสนบำบัดที่จัดร่วมกัน มีการบรรยายธรรม และปฏิบัติศาสนกิจร่วมกัน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    ผู้ปกครองเข้าใจกลุ่มเยาวชน และให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกัน

    กิจกรรมเรียนรู้ศาสนบำบัด ที่ทำให้เกิดการพูดคุยร่วมกัน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    ใช้หลักศาสนบำบัดในการพูดคุย และปฏิบัติศาสนกิจร่วมกัน

    กิจกรรมหลักศาสนบำบัด

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เกิดกลุ่มอาชีพเลี้ยงนกกระทา 1 กลุ่ม

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    เกิดข้อตกลงร่วมของชุมชนในการป้องกันเยาวชนจากยาเสพติด

    ข้อตกลงในการป้องกันยาเสพติด 1 เรื่อง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    มาตรการป้องกันยาเสพติด

    คนที่ติดยาเสพติดในครั้งที่ 1 จะเรียกมาตักเตือน ครั้งที่ 2 เรียกผู้ปกครองมาคุย และครั้งที่ 3 ส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    การแก้ปัญหาเยาวชนติดยาเสพติด

    การใช้ศาสนบำบัด และข้อตกลงร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาเยาวชนติดยาเสพติด

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    เกิดกลุ่มอาชีพเลี้ยงนกกระทา 1 กลุ่ม

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    ใช้หลักศาสนบำบัดกลุ่มติดยาเสพติด

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    กลุ่มเยาวชน 3 คนที่เลิกสารเสพติดได้ รู้สึกภูมิใจมากที่สามารถเลิกได้

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ลดปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านสะแตน่าอยู่ จังหวัด นราธิวาส

    รหัสโครงการ 57-02571

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายอันวา มูนา )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด