directions_run

ผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อส่งเสริมการผลิตพืชผักปลอดภัย และถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปลูกผักสำหรับการบริโภคในครัวเรือนให้กับคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ - เกิดครอบครัวต้นแบบในการพัฒนารูปแบบการผลิตผักที่หลากหลายตามความถนัดของตน จำนวน 20 ครัวเรือน - เกิดองค์ความรู้ ชุดความรู้ ในการปลูกผักปลอดภัย - ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในการซื้อผักบริโภคลดลงอย่างน้อย 2,000 บาท/ครัวเรือน เชิงคุณภาพ - เกษตรกรมีทักษะสามารถวางแผนการปลูกพืชผักหมุนเวียนสำหรับบริโภคในชุมชนได้ตลอดทั้งปี - คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีจากการบริโภคอาหารปลอดภัย

 

 

  1. เกิดครอบครัวต้นแบบที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มผลิตผักปลอดภัยและได้มาตรฐานจำนวน 22 ครอบครัวที่ทำงานร่วมกันโดยมีโรงเรือนผักจำนวน 10 โรงเรือนจนสามารถมีผักปลอดภัยออกจำหน่ายให้ชุมชนเป็นประจำทุกสัปดาห์
  2. บริเวณที่ตั้งของกลุ่มกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ผลิตผักปลอดภัยในชุมชนจนได้ใบรับรองมาตรฐานระบบการจัดการที่ดี(GAP)เป็นแหล่งแรกในอำเภอพนม มีผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้เช่น นักเรียนโรงเรียนอุปถัมภ์วิทยาพนม กลุ่มผู้ฝึกหัดบ้านซาวีโอสุราษฎร์ธานี กลุ่มคนงานโรงเรียนอุปถัมภ์ฯ พร้อมผู้บริหาร และชาวบ้านที่สนใจขอเข้ามาเรียนรู้สอบถามกระบวนการผลิตอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 คน
  3. เกิดกองทุนของกลุ่มจากการจำหน่ายผลผลิตสัปดาห์ละ 1,000 บาทซึ่งกลุ่มมีมติให้นำเป็นเงินทุนหมุนเวียนจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับโรงเรือนผักและนำฝากบัญชีในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสัปดาห์ละ 500 บาท
2 เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนสองวัยโดยใช้ผักเป็นเครื่องมือ
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ - เกิดยุวเกษตรกร อย่างน้อย 20 คน ที่มีทักษะด้านการเพาะปลูกผักสำหรับการบริโภคที่บ้าน - มีการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับผู้สูงอายุ โดยเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุในชุมชน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง - ผู้สูงอายุในชุมชนมีผักไว้บริโภคในครัวเรือน อย่างน้อย 50 คน เชิงคุณภาพ - เด็กเกิดทักษะในการเพาะปลูกผักสำหรับบริโภค - เกิดกลุ่มเด็กที่มีจิตอาสาออกเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ - เชื่อมสายสัมพันธ์ระหว่างวัยก่อเกิดสุขภาวะในครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน

 

 

  1. เกิดกลุ่มยุวเกษตรกรจำนวน 25 คนที่เข้ามาร่วมกิจกรรมเป็นประจำทุกสัปดาห์และเรียนรู้กระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยด้วยกระบวนการเกษตรชีวภาพเพื่อนำสู่การผลิตเกษตรอินทรีย์ในชุมชน เด็กๆ ได้เรียนรู้กระบวนการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ การเตรียมวัสุดปลูกสำหรับพืช การเพาะเมล็ดในแผงปลูกและการปลูกพืชผักในโรงเรือนซึ่งเป็นการทำเกษตรแนวใหม่ ในปัจจุบันเด็กได้เรียนรู้ทักษะการผลิตเมล่อนเพื่อการค้าในโรงเรือนและนำบางส่วนไปฝากผู้สูงอายุตามบ้าน
  2. เด็ก ๆ ได้ออกเยี่ยมผู้สูงอายุเดือนละหนึ่งครั้งโดยการนำพืชผักที่เด็กเพาะเลี้ยงที่สำนักงานฝากผู้สูงอายุเช่น มะเขือ พริก และเมล่อน รวมทั้งร่วมปลูกผักในแปลงบ้านผู้สูงอายุ การผลิตโรงเรือนผักด้วยระบบท่อพีวีซีที่เด็ก ๆ ได้ร่วมกันตั้งแต่การเจาะรูท่อ การทาสีท่อ การประกอบเป็นโรงเรือนผักมอบให้กับผู้สูงอายุตามบ้านจำนวน 12 โรงเรือน (ครอบครัว) ที่มีความสนใจที่จะผลิตผักปลอดภัยด้วยระบบท่อ และในแต่ละสัปดาห์ได้ออกไปตรวจค่าของน้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ จนบ้านผู้สูงอายุมีผักปลอดภัยไว้บริโภคและเหลือสามารถขายให้กับแม่ค้าตามตลาดนัดอีกด้วย
3 เพื่อติดตามและสนับสนุนโครงการ
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ - รายงานพร้อมภาพประกอบโครงการจำนวน 1 ฉบับ - คณะทำงานเข้าร่วมเวทีร่วมกับสจรส.จำนวน 3 คร้ัง เชิงคุณภาพ - คณะทำงานสามารถจัดทำรายงานความก้าวหน้า รายงานการเงินอย่างถูกต้อง - คณะทำงานเข้าใจแนวทางการบริหารจัดการโครงการอย่างมีส่วนร่วมและร่วมเวทีการเรียนรู้ของสจรส.ได้

 

 

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรมพร้อมทั้งโหลดภาพประกอบกิจกรรมได้หลังจากได้เข้าร่วมประชุมชี้แจงโครงการและเข้ารับการอบรมการเขียนรายงานที่ มอ.วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี นอกจากนั้นยังเข้ารับการถอดบทเรียนองค์ความรู้โครงการที่โรงแรมทวินโลตัส นครศรีธรรมราชโดยทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับเชิญให้แบ่งปันการทำงานโครงการให้กับชุมชนที่สนใจเขียนโครงการเสนอสสส.ในโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่ประจำปี 2558
  2. ในชุมชนเกิดคณะทำงานขับเคลื่อนงานจำนวน 20 คนเพื่อวางแผนและขับเคลื่อนงานผลิตอาหารปลอดภัยนำสู่การสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารอย่างยั่งยืนในชุมชน