แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อลดหนี้สินของประชาชน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. ครัวเรือนสามารถลดภาระหนี้สิน ได้ร้อยละ 60 ของครัวเรือนที่มีหนี้สิน(120 ครัวเรือน จาก 201 ครัวเรือน) 2. มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้บัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือ ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ - ครัวเรือนมีหนี้สินลดลงและหนี้สินหมดไปในรายที่หนี้สินไม่มากหนัก

 

 

1.จากการตรวจประเมินผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนพบว่า ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมจำนวน 86 ครัวเรือน มีหนี้สินลดลง จำนวน 8 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 9.30และไม่มีหนี้สินเพิ่มขึ้น จำนวน 78 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 90.70มีการน้อมนำแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ ทุกครัวเรือน ทำให้ประชาชนมีการดำรงชีวิตอย่างพอกิน พอใช้ลดรายจ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็น มีการปลูกผักบริโภคเพิ่มขึ้น จำนวน 14 ครัวเรือน 2. ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้บัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือ จำนวน 86 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 71.67 ส่วนน้อยยังมีการลงข้อมูลยังไม่ตรงตามประเภท แต่การใช้บัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือทำให้มีวินัยในการใช้จ่ายเงินมากขึ้นสามารถมองเห็นว่าส่วนไหนที่ฟุ่มเฟือยได้แก่ ค่าหวยเป็นต้น

2 เพื่อให้ประชาชนมีการดำรงชีวิตภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัด : ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในหลักเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปปรับใช้ในครัวเรือนร้อยละ 70 ของครัวเรือนชุมชน

 

 

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในหลักเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปปรับใช้ในครัวเรือนจำนวน 122 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ60.70

3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้ายสถานทีนี้ปลอดบุหรี่ติดตั้งในสถานทีจัดกิจกรรม มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม และจัดทำรายงานส่งสสส.ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

1.โครงการเข้าร่วมประชุมกับ สสส.สจรส.มอ. ทุกครั้งที่จัด 2. จัดทำป้ายสถานทีนี้ปลอดบุหรี่ติดตั้งในสถานทีจัดกิจกรรม มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม และจัดทำรายงานส่งสสส.