ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1.1.เกิดสภาผู้นำชุมชนที่มาจากองค์กรและกลุ่มต่างๆในชุมชน จำนวน 19 คน เป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ และสร้างการเรียนรู้ กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 1.2.มีการติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ1ครั้ง

1.1 เกิดสภาผู้นำ จำนวน 15 คน ซึ่งมาจากตัวแทน แกนนำชุมชน เช่น ปราช์ญชาวบ้าน จำนวน 3 คน, กลุ่มอาชีพ จำนวน3 คน , เด็ก เยาวชนจำนวน 2 คน ,ตัวแทนครูโรงเรียนวัดป่าขาดจำนวน2 คน คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน3 คน , คณะกรรมการฟาร์มทะเล จำนวน2 คน

1.2 มีการประชุมสภาผู้นำ เดือนละ 1 ครั้ง ในวงประชุมหมู่บ้าน ซึ่งการประชุมมิใช่หารือเฉพาะการดำเนินงานโครงการ และรวมถึงวาระอื่นๆของชุมชนด้วย

2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน
ตัวชี้วัด : 2.1 ร้อยละ 60 คนในชุมชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ ในทรัพยากรประมง เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง 2.2 ร้อยละ 25 ของจำนวนครอบครัวชาวประมงบ้านหัวลำภู มีการสืบสานอาชีพประมงต่อจากบรรพบุรุษ 2.3 มีกติกา ข้อตกลง และแผนงานในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ 1 แผน 2.4 มีการฟื้นฟูเขตอนุรักษ์ทางทะเลและชายฝั่ง โดยการปลูกป่าริมเล ไม่น้อยกว่า 3 ชนิด ,ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปีละ 2 ครั้ง,การทิ้งอีเอ็มบอลในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา ไม่น้อยกว่า 10,000 ลูกและการทำซั้งบ้านปลา จำนวน 30 ลูก ( ซั้งบ้านปลา คือ ปะการังเทียม ที่นำเอาวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ไม้ใฝ่,ทางมะพร้าว )

2.1 ร้อยละ 80 เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมของการจัดการเขตอนุรักษ์ ทำให้ชุมชนหรือหมู่บ้านไกลเคียง ตลอดจนองค์กรเอกชน ,นักเรียน นักศึกษา ได้เข้ามาเรียนรู้ และศึกษาการทำเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำด้วย เช่น บ้านทำนบ

2.2 ร้อยละ 25 ของครอบครัวชาวประมงบ้านหัวลำภู มีการสืบต่ออาชีพประมง ด้วยสภาพพื้นที่ตามภูมิศาสตร์ของบ้านหัวลำภูประกอบอาชีพประมง และด้วยสภาพทรัพยากรมีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งคนในชุมชนให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากร

2.3 มีร่างกติกา ข้อตกลง การใช้ประโยชน์และการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำร่วมกับส่วนราชการ และ อปท. โดยมีการทำงานร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

-มีคณะกรรมการออกตรวจลาดตระเวณร่วมกับศูนย์บริหารประมงทะเลภาคใต้ตอนล่าง สงขลา เป็นประจำ

-เมื่อมีการตรวจพบผู้ที่เข้ามาทำประมงในเขตอนุรักษ์ ครั้งที่ 1 ตักเตือนพบครั้งที่ 2 ปรับ 1,000 บาท พบครั้งที่ 3 ยึดเครื่องมือประมงและสัตว์ที่จับได้ทั้งหมด

2.4 มีการฟื้นฟูเขตอนุรักษ์ โดยมีการปลูกป่าชายเลน และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 2 ครั้ง /ปีสัตว์น้ำ 78200 ตัว และทิ้งอีเอ็มบอล 9,000 ลูก และทำซั้งบ้านปลา จำนวน 40 ลูก

3 เพื่อให้เกิดมาตรการ การเฝ้าระวัง ลาดตะเวน และการบริหารแนวเขตอนุรักษ์อย่างเป็นรุปธรรมและมีความยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 3.1 เกิดกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 15 คน 3.2 หน่วยงานที่มีความพร้อม สามารถออกตรวจจับและปราบปราม รวมกับชุมชน อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง การวัดและหน่วยการวัดติดตามจากตารางการทำงานของชุดเฝ้าระวังเขตอนุรักษ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผลทางคดี พร้อมกับลงพื้นที่สำรวจ เดือนละครั้ง 3.3 มีป้าย กติกาข้อตกลงเขตอนุรักษ์ ในการทำประมงในแนวเขตอนุรักษ์ จำนวน 3 ป้าย

3.1 เกิดกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังทางทะเล จำนวน 15 คน

3.2 กลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังมีความพร้อม และสามารถออกตรวจลาดตระเวณเขตอนุรักษ์ได้ และนอกจากนี้ยังมีเครือข่ายในชุมชนที่คอยเป็นหูเห็นตาในการเผ้าระวังเมื่อเห็นผู้ที่ลักลอกเข้ามาในเขตอนุรักษ์

3.3 มีป้ายรณรงค์ และประชาสัมพันธ์ในพื้นที่เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ จำนวน 1 ป้าย และปักแนวเขตอนุรักษ์

4 ประชุมติดตามการดำเนินโครงการโดย สสส.สจรส.
ตัวชี้วัด : 4.1. การเข้าร่วมประชุมติดตามการดำเนินงานจากทีม สสส.,สจรส.มอ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 4.2. การจัดทำรายงานโครงการ (ส.1 ,ส.2 ,ง.1 ,ง.2 ,ส.3)

4.1 มีการเข้าร่วมประชุมร่วมกับ สสส., สจรส มอ. ทุกครั้งที่ได้จัดขึ้น

4.2 มีการดำเนินการการจัดทำรายงานเรียบร้อยและดำเนินการปิดงวดได้

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง (2) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน (3) เพื่อให้เกิดมาตรการ การเฝ้าระวัง ลาดตะเวน และการบริหารแนวเขตอนุรักษ์อย่างเป็นรุปธรรมและมีความยั่งยืน (4) ประชุมติดตามการดำเนินโครงการโดย สสส.สจรส.

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh